FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทบาทและหน้าที่ของกรดอินทรีย์ Hydroxy acid

บทบาทและหน้าที่ของกรดอินทรีย์ Hydroxy acid ที่มีอยุ่ใน "อีเรเซอร์-1"

 

กระตุ้นให้เซลล์ สร้างโปรตีนและสารต่างๆ ออกมาเพื่อสมานแผลจากการกรีด ป้องกันโรคแทรกซ้อน และสร้างหน้ายางใหม่ ขึ้นมาทดแทน
กลไกป้องกันตนเองของต้นยางด้วย Hydroxy  acid
- กระตุ้นการสมานแผลจากการกรีด   โดยกระตุ้นการสร้างและสะสม lignin  เสริมความแข็งแรงที่ผนังเซลล์
   - กระตุ้นการสร้าง phenolics ,phytoalexin , PR-proteins เพื่อช่วยป้องกัน เชื้อโรคแทรกซ้อน จาก
     บาดแผลที่กรีด
   - กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและสารอาหาร (water circulation ) ในระบบท่อลำเลียงดีขึ้น มากขึ้น
   - เพิ่มการแบ่งเซลล์ของเยื่อเจริญสร้างเป็นหน้ายางใหม่ได้เร็วขึ้น และรักษาสมดุลของเซลล์ ทำให้การแบ่งเซลล์
     สมบูรณ์ไม่ผิดรูปร่าง
   - ฟื้นฟูสภาพและการทำหน้าที่ต่างๆของเซลล์ให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเซลล์ใหม่ (revitalize)
พาร์ทเวย์ กับ การเลียนแบบ ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารา  มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และPyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate  Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)
โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง  โดยต้นยางไม่โทรมด้วยวิธีทางชีวเคมีเคมี เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยวิธีทางชีวเคมีที่ดีและถูกต้อง  เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการบำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง และไม่ใช่วิธีเร่งแบบเดิมๆ ด้วยการใช้สารเร่งการแก่ของพืชอย่าง เอทีฟอน (Ethephon) ซึ่งสามารถ
เพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ดี แต่ก็จะทำให้ต้นยางโทรม ต้นยางตายและต้นยางอาจตายก่อนอายุกำหนดในที่สุด
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยสารเคมีที่เหมาะสมอย่างถูกวิธีประกอบด้วย 3 แนวทางประกอบกัน ได้แก่
1. การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง
2. การบำรุงสภาพหน้ายางและเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer)
   ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
3. ให้ต้นยางแบ่งเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น

การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง
น้ำยางที่เกิดขึ้นต้องมีวัตถุดิบในการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสงแดด ดังนั้น ถ้าต้องการน้ำยางมากก็จำเป็นต้องให้วัตถุดิบเหล่านี้มากตามไปด้วยแต่ในสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม หรือสภาพต้นยางที่ไม่สมบูรณ์ ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางจะไม่สมบูรณ์ ทำให้บางครั้ง การนำปุ๋ยและธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ไม่เต็มที่ การให้ สารตั้งต้น(Precursor) อย่างสาร Malate ( PATHWAY )
เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาจากสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ เพิ่มวัตถุดิบในการผลิตน้ำยางได้ทันทีทุกสภาพแวดล้อม
บำรุงสภาพหน้ายางและเซลผลิตน้ำยางให้สมบูรณ์แข็งแรง
ถ้าเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) แข็งแรงไม่เกิดเชื้อโรคเข้าทำลาย การผลิตน้ำยางก็จะสม่ำเสมอเป็นปกติ  การใช้เอทีฟอน เป็นประจำจะเร่งการตายของเซลล์ผลิตน้ำยาง น้ำยางได้มากช่วงแรก แต่เมื่อเซลล์ตายก็ไม่สามารถผลิตน้ำยางได้ในที่สุด การทำให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรงและการลดเชื้อโรคบริเวณหน้ายาง ทำได้โดยการกระตุ้นภูมิต้านทานป้องกันตนเอง
(self  defense mechanism) ให้ต้นยาง ด้วยกรดอินทรีย์  Hydroxy acid
(อย่าง ERASER-1) ทำให้สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าทำลายเซลล์ผลิตน้ำยาง
บริเวณหน้ายางได้ดีขึ้น และยังส่งเสริมให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรง ผลิตน้ำยางสม่ำเสมอ สร้างหน้ายางใหม่สมบูรณ์และกรีดง่าย

การเพิ่มจำนวนเซลล์ผลิตน้ำยาง
ถ้ามีเซลล์ผลิตน้ำยางมากก็จะมีผลผลิตน้ำยางมาก ซึ่งโดยธรรมชาติเซลล์ผลิตน้ำยาง
จะเกิด จากการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อเจริญที่อยู่ใต้ชั้น เปลือกของต้นยาง (ลึกกว่ารอยกรีดเล็กน้อย) การให้ MeJA (อย่าง LATEK)  เพียงเล็กน้อย จะทำให้การแบ่งตัวของเยื่อเจริญได้เป็นเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น