FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ



ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ

         น้ำยางในต้นยางพารามีส่วนประกอบของสาร cis-polyisoprene(C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ
Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA
GAP/Pyrubate Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้น จาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10), FPP(C15), และ GGPP(C20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลีเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT) โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis-polyisoprene

            กว่าจะมาเป็น "น้ำยางพาราธรรมชาติ"  ต้องผ่านกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) โดยมีสาร " ตั้งต้น" (Precursor) ในการเริ่มต้นสังเคราะห์น้ำยาง  ให้มั่นใจว่า"พาร์ทเวย์" (PATHWAY)ที่มี "สารตั้งต้น" ในกระบวนการสร้างน้ำยาง ยิ่งใช้ยิ่งดี น้ำยางยิ่งมีน้ำหนัก เนื้อแน่น (โมเลกุลน้ำยางยาวขึ้น) เปอร์เซนต์น้ำยางสูงขึ้น  เปอร์เซนต์น้ำยางไม่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเจอภาวะอากาศแปรปรวนใดๆก็ตามที "พาร์ทเวย์"(PATHWAY)จะไปช่วยให้ต้นยางที่สร้าง"สารตั้งต้น" (Precursor) ไม่ดีหรือมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสังเคราะห์น้ำยาง ให้มี "สารตั้งต้น" (Precursor) ที่เพียงพอต่อการสังเคราะห์น้ำยางได้มากขึ้นหรือเป็นปกติขึ้น  ไม่ต้องถามว่าเป็น "สารเร่ง"  หรือไม่? ตอบได้เลยว่า   "ไม่ใช่" เพราะมันไม่มี "เอทธิลีน"(Ethylene) จริงๆแล้วต้นยางพาราขาด"สารตั้งต้น"( Malate) ตัวนี้ไม่ได้จริงๆ ถ้ายังคิดว่าต้องการน้ำยางพาราอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไป  การสร้าง"น้ำยางพารา" จึงต้องผ่านสารตัวนี้อยู่ดี 

(ที่ให้ใช้"พาร์ทเวย์"ควบคู่กับ"อีเรเซอร์-1" ก็เพราะมันมีความจำเป็นต้องรักษาแผลที่หน้ายางตลอดเวลาไม่ให้ติดเชื้อโรค และต้องฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงที่จะเข้าทำลายบริเวณแผลที่หน้ายางด้วยสารฆ่าเชื้อแบบเฉียบพลัน  และยังต้องป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับหน้ายางอีกด้วย  ที่สำคัญต้นยางเองยังต้องมีการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อเปลือกทดแทน(Revitalize) ส่วนที่เสียหายไปจากการกรีดให้กลับคืนมาเป็นหน้าปกติอีกด้วย ซึ่งกรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่ม Hydroxy acid บางตัวที่มีอยู่ใน"อีเรเซอร์-1"สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น