กระบวนการทำงานและการเจริญเติบโตของ อ้อย
อ้อย
การเจริญเติบโตของอ้อยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะการงอก (germination phase) เริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มปลูกจนหน่อโผล่พ้นผิวดิน ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ หากอ้อยมีความงอกดีก็จะได้จำนวนกอต่อไร่ที่สูง
ระยะแตกตอ (tillering phase) เริ่มตั้งแต่อายุ 2-4 เดือน นับจากการปลูกจนอายุ 150 วัน โดย 100 วันแรกจะมีการสะสมน้ำหนักแห้งช้ามาก แต่จะสะสมได้มากขึ้นใน 50วันต่อมา เนื่องจากเริ่มเข้าระยะปล้อง
ระยะปล้อง (elongation phase) เป็นระยะที่ต่อเนื่องจากระยะแตกกอ เริ่มตั้งแต่อายุ 3-4 เดือนเป็นต้นไป มีน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกว่าช่วงเติบโตมโหฬาร (grand growth period, GGP) จนถึงอายุประมาณ 290 วัน อันเป็นระยะที่ปล้องยืดตัวมาก ในช่วงที่มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักแห้ง 24 กิโลกรัม/ไร่/วัน ร้อยละ 64 ของน้ำหนักแห้งทั้งหมดสะสมได้ในช่วงเวลานี้ นอกจากนั้นดัชนีที่ใบ (leaf area index, LAI) คือพื้นที่ใบต่อหน่วยพื้นที่ดิน ก็จะเพิ่มรวดเร็วเช่นเดียวกัน หากดัชนีพื้นที่ใบมีค่า 2.0-3.0 เมื่ออายุ 120-180 วัน ต้นอ่อนในกอก็จะเริ่มตาย เนื่องจากถูกใบแก่บังแสงแดด จึงมักเหลือจำนวนต้น 10-20 ต้นต่อตารางเมตร การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าควรนำเนินการในช่วงนี้ เนื่องจากอ้อยจะต้องการไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงมาก
ระยะแก่และสุก (maturity and ripening phase) เป็นช่วงสุดท้าย ซึ่งอัตราสะสมน้ำหนักแห้งช้าลง
เมื่อทราบถึงระยะการเจริญเติบโตของอ้อยแล้ว ส่วนสำคัญต่อมานั่นคือการเอาใจใส่ดูแลอ้อยที่ปลูก ให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการดูแลความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึงธาตุอาหารหลัก,ธาตุอาหารรอง,ธาตุอาหารเสริม ที่อ้อยดูดซึมนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตอีกด้วย ซึ่งการใช้ปุ๋ยกับอ้อยนั้น มีความแตกต่างกันพอสมควร ตามแต่สายพันธุ์ ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ด้วย เพื่อประสิทธิภาพของผลผลิตที่จะได้รับในอนาคตนั่นเอง
ประโยชน์ของซาร์คอนต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย
• แตกรากดี
• มีเกราะป้องกันเชื้อโรคและหนอนกอ
• ชะลอการเปลี่ยนน้ำตาล
• ต้านทานโรค
• ต้านการหักล้ม
• ทนแล้ง
ซิลิคอน (Si) เป็นธาตุหนึ่งที่พบได้ในแร่ธรรมชาติ แต่เป็นธาตุที่มีการละลายน้อย และพบว่าพืชแต่ละชนิดมีความสามารถในการนำซิลิคอนไปใช้ได้ต่างกันขึ้นกับชนิดของพืช ซึ่งในซิลิคอนสามารถพบได้ในเนื้อเยื่อพืช ซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืชโดยมีปริมาณตั้งแต่ 0.1-10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ซิลิคอนมีความสัมพันธ์กับพืช โดยซิลิคอนอยู่ในส่วนของเซลลูโลสของผนังเซลล์ทำให้ลำต้นพืชตั้งตรง พืชตระกูลหญ้ามีความสามารถในการดูดนำซิลิกาจากดินมาใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ พืชกลุ่มข้าว และอ้อย
อ้อย เป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ซิลิคอนได้ดีมาก จากการวิเคราะห์พบว่า การปลูกอ้อย 12 เดือน ต้นอ้อยจะมีธาตุซิลิคอนสะสม 60.8 กิโลกรัม ต่อไร่ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนในการปลูกอ้อยแต่ละพื้นที่ทั่วโลก ช่วยทำให้ผลผลิตต่อไร่และปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ซิลิคอน
ประโยชน์ของซาร์คอนที่มีต่ออ้อย
1. เพิ่มผลผลิต จากงานทดลองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ บราซิล พบว่าการใช้ซิลิคอนในดินที่มีปริมาณธาตุซิลิคอนในระดับที่ต่ำในไร่อ้อยจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยได้ 10-50% และพบว่า ช่วยทำให้ปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูงขึ้น 15-30% ด้วย ซึ่งมีข้อเสนอแนะของผู้ที่ทดลองว่า ซิลิคอนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของอ้อย
2. ช่วยการต้านทานโรค ซิลิคอนจะช่วยทำให้พืชสามารถต้านทานโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น
โรคราสนิม ใบขีดแดง โดยซิลิคอนเมื่อเข้าสู่พืชจะถูกส่งไปสะสมที่บริเวณใบในรูปผลึกของซิลิคอนไดออกไซด์ในช่องว่างของเซลลูโลส ทำให้ใบอ้อยทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อก่อโรคและป้องกันไม่ให้เชื้อราสร้างเส้นใยเข้าไปใช้สารอาหารที่มีอยู่ในพืช เช่น สารประกอบไนโตรเจน กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อการเจริญของเชื้อรา ทำให้ราไม่สามารถ
แพร่ขยายทำลายใบอ้อยได้
3. ช่วยลดระดับการทำลายของหนอนกอ มีรายงานพบว่า ต้นอ้อยที่มีการสะสมซิลิคอนที่ใบในเปอร์เซ็นต์ที่สูงจะช่วยลดระดับการทำลายของหนอนกอได้ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนจะช่วยลดการทำลายของหนอนกอได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว
4. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด มีรายงานว่า อ้อยที่ได้รับแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่สูง เช่น แมงกานีส พบว่า อ้อยที่มีสัดส่วนของแมงกานีสต่อซิลิคอนไดออกไซด์ ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า 0.7 จะช่วยป้องกันไม่ให้อ้อยได้รับความเสียหาย โดยซิลิคอนจะช่วยป้องกันการสะสมแมงกานีสที่บริเวณใบปริมาณที่สูงจนทำให้ใบอ้อยเกิดจุดสีน้ำตาล ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงลดลง
5. ช่วยทำให้อ้อยทนแล้ง พบว่า การสะสมซิลิคอนที่ใบจะช่วยทำให้ใบอ้อยมีการคายน้ำลดลง โดยเป็นผลเนื่องมา
จากซิลิกาในรูปวุ้นที่อยู่ในเซลลูโลสที่บริเวณปากใบ จะมีผลทำให้การคายน้ำของอ้อยลดลงซึ่งจะส่งผลดีในอ้อยที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทาน ทำให้สามารถจัดการกับการให้น้ำแก่อ้อยได้ง่ายขึ้น
6. ป้องกันการหักล้มของต้นอ้อยทำให้ต้นอ้อยแข็งแรง พบว่า ต้นอ้อยที่มีปริมาณของซิลิคอนในปริมาณที่สูงในเนื้อเยื่อ จะทำให้มีโครงสร้างของลำต้นที่แข็งแรง และทำให้ใบตั้งชัน มีพื้นที่ในการสัมผัสกับแสงแดดเพิ่มขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง ส่งผลทำให้อ้อยมีผลผลิตและปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้น
7. ยืดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำตาลซูโครสในน้ำอ้อยไปเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว จากการทดลองพบว่า น้ำอ้อยที่มีส่วนประกอบของซิลิคอนสูงจะเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำตาลซูโครสช้ากว่าน้ำอ้อยที่มีปริมาณของซิลิคอนในระดับต่ำ
เมื่อตรวจสอบโครงสร้างของน้ำตาลซูโครสพบว่า จะรวมตัวกับซิลิคอนเป็นสารประกอบเชิงซ้อน นอกจากนี้ ยังพบการรวมตัวกันของน้ำตาลฟรัคโทสกับซิลิคอน ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถนำน้ำตาลฟรัคโทสไปใช้ในการเจริญได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าน้ำอ้อยเมื่อเผาจนเหลือเถ้า เมื่อวิเคราะห์พบว่า จะมีปริมาณของธาตุ โพแทสเซียม และซิลิคอนในปริมาณที่สูง ดังนั้น การมีปริมาณของซิลิคอนจะช่วยเพิ่มปริมาณของแข็งในน้ำอ้อย ทำให้ได้ค่า CCS สูงขึ้น
จากบทบาทของซิลิคอนที่มีต่ออ้อยจะพบว่า ธาตุซิลิคอนจำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตของอ้อยอย่างมาก ในประเทศไทยพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดธาตุซิลิคอนในดิน ในการปลูกอ้อยทุกครั้งเราจะสูญเสียอ้อยไปกับผลผลิต ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรควรจะมีการเติมซิลิคอนลงกลับไปสู่ดินเพื่อชดเชยธาตุซิลิคอนที่สูญเสียไปกับผลผลิตของอ้อย
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตระหนักดีถึงประโยชน์ของธาตุซิลิคอนที่มีต่ออ้อย จึงได้นำผลิตภัณฑ์ “ซาร์คอน” ที่มีส่วนประกอบของ Orthosilisicacid 27% และกรดอินทรีย์ที่สำคัญและจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์พืชในกลุ่ม Hydroxy acid มาให้กับอ้อยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ของอ้อยและช่วยเพิ่มผลผลิตและป้องกันโรคต่างๆ ทั้งจากเชื้อไวรัส, แบคทีเรียให้กับอ้อย
กระบวนการทำงานและการเจริญเติบโตของ พริก
กระบวนการทำงานและการเจริญเติบโตของ มันฝรั่ง