FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

ไวรัสยาสูบ

2 มกราคม 2560
ลงพื้นที่ตรวจไร่ยาสูบ
รุ่นปลูก 5 พฤศจิกายน 2561
ต้อนรับการก้าวย่างสู่ปีใหม่ 2018
ปีนี้..จะเป็นปีปราบเซียนไหมหนอ?
เพราะ..ดินฟ้าอากาศไม่ค่อยปกติมากนัก
เลยได้พบเห็นโรคจากไวรัส ตัวใหม่ๆ
ที่ไม่เคยพบเห็นมันระบาดมาก่อน
ก็ได้พบได้เห็นกันในปีนี้




ที่มีโรคไวรัสตัวใหม่ๆให้เห็นขึ้นมา
อาจเป็นเพราะว่าพื้นที่รอบข้างแปลงยาสูบในปีนี้
มีพืชใหม่ตัวอื่นๆมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกัน
เพิ่มขึ้น อาทิ ฟักทอง พริก ผักกาดเขียวปลี ข้าวโพดหวาน ที่เป็นพืชอาศัย (Host Plant) ของแมลงพาหะชั้นดี และเป็นพืชอาหารของเหล่าเพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ ตั๊กแตน และพืชเหล่านั้นอาจไม่มีการป้องกันแมลงพาหะเหล่านี้ให้ดี ก็เท่ากับว่ามันเป็น เสมือน “สายล่อฟ้า” หรือว่าเป็นตัว “เรียกแขก” ชั้นดีที่เรียกแมลงพาหะเหล่านี้เข้ามาและลามขยายมาสู่พืชยาสูบของเราไปด้วย นั่นเอง
เหนื่อยใจครับ กับปัญหาดินฟ้าอากาศ
และการระบาดของโรคต่างๆ






แต่เราก็ยังดีที่เรามีโปรแกรมป้องกันไว้แล้วบ้าง
แต่พืชอื่นๆที่ปลูกข้างๆหรือใกล้เคียงกับเรานั้นแย่
ไปตามๆกัน เพราะมันเสียหายแบบ 100 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว มีทั้งเน่า ทั้งเหี่ยว ทั้งใบไหม้ ทั้งใบด่างใบหงิก จนใช้ไม่ได้ และบางแปลงก็เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ไปเลยก็มี






จากนี้ไป..คงต้องหาวิธีตั้งรับกับปัญหาเหล่านี้
และหาวิธี ตลอดจนหนทางแก้ไขที่ดีต่อไป
เพราะมันเพิ่งจะเริ่มพบเห็นปัญหาใหม่ๆเล็กน้อยอยู่

...............

ไวรัส..ถือเป็นปัญหาสำคัญ
อีกปัญหาหนึ่งของเกษตรกร
ที่ปลูกใบยาสูบทั่วประเทศโดยไม่รู้ตัว
เสมือนเป็น "มหันตภัยเงียบ"




• โดยสถิติแล้วจำนวนความเสียหาย
ต่อการปลูกใบยาหนึ่งครั้ง (1 รุ่น)
จะถูกไวรัสคุกคาม เฉลี่ยประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งเทียบเป็นเม็ดเงินที่สูญเสียไป ก็ประมาณปีละกว่า 2,000 ล้านบาท


• และที่ผ่านมา
เราคิดไปเองว่า ยังไม่มียาตัวใดๆ
ที่จะมารักษาหรือแก้ปัญหาหรือฆ่าเชื้อไวรัสได้
ไม่ว่าจะเป็นในคน สัตว์ และพืช

• แต่..ตอนนี้ มัน "ไม่ใช่"
มีการศึกษาเพื่อหาวิธี "การสร้างภูมิต้านทานไวรัส"
ให้กับยาสูบ เพื่อให้ต้านทานเขื้อไวรัส กันแล้ว
เสมือนมีการให้ "วัคซีน" กับยาสูบ

• "เชื้อไวรัส
สามารถทำให้เกิดโรคกับต้นยาสูบได้ ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่เป็นต้นกล้าในแปลงเพาะ
หรือเข้าทำลายต้นยาสูบในช่วงที่ต้นยาสูบโตแล้ว
ซึ่งมีรายงานการพบโรคไวรัสยาสูบประมาณ 10 กว่าชนิด และมีมากกว่า 6 ชนิดที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่

• ไวรัสโรคใบหด (Tobacco Leaf-Curl virus,
TLCV)

• ไวรัสโรคใบด่าง (Tobacco Mosaic Virus, TMV) • โรคไวรัสใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Virus,
CMV)

• ไวรัสโรคแผลละเอียด (Tobacco Streak Virus,
TSV)

• ไวรัสโรคใบจุดเหี่ยวมะเขียเทศ (Tobacco
Spotted With Virus, TSWV)

• ไวรัสโรคเส้นใบแห้งมันฝรั่ง (potato virus Y,
PVY)

• ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อจำนวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและระดับคุณภาพใบยาที่มีผลต่อราคาที่รับซื้อ ส่งผลต่อชีวิตและรายได้ของชาวไร่ยาสูบโดยตรง
• นอกจากนี้..วิธีการดั้งเดิมในการป้องกันเชื้อไวรัสระบาดในใบยาสูบ ที่ต้องพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยความระมัดระวังในการใช้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วยและแก้ปัญหาไม่ได้มากนัก
• และ..บางครั้งอาจจะมีสารเคมีตกค้างในใบยาสูบ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย"
.





เตือนภัย..
การระบาดของไวรัสยาสูบ




ไวรัส..ที่เห็นในกลุ่มนี้ 
ก็สร้างความเสียหายได้ไม่น้อยเหมือนกันกับยาสูบ  นอกหนือจากไวรัสตัวหลักๆ อย่างเช่น
Tobacco Leaf Curl Virus (TLCV), Tobacco Mosaic Virus (TMV), Tobacco Spotted Wilt Virus (TSWV), Potato Virus V (PVY), Tobacco Etch Virus (TEV), Tobacco Rosetted and Bunchy Top Virus (TRBTV)

ซึ่งในปีนี้มีให้พบเห็นอย่างหนาตามากกว่าทุกๆปี อาจเนื่องมาจากว่ามีแมลงพาหะในปริมาณมากกว่าทุกปี และพบเห็นความเสียหายในแหล่งที่มีพืชอาศัย (Host Plants) ของแมลงพาหะอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับแปลงยาสูบที่พบโรคมากกว่าบริเวณอื่นๆ


การป้องกันสำคัญมาก
เพื่อลดความเสียหายให้ได้มากที่สุด (ให้พืชถูกทำลายให้น้อยที่สุด)

- ป้องกันแมลงพาหะ (ฆ่าโดยสารเคมี, ขับไล่ด้วยกลไก ISR ทางกระบวนการชีวเคมี, สร้างเกราะ
ป้องกันด้วยการสร้างผนังเซลล์ให้แข็ง)

- ป้องกัน & ควบคุมเชื้อไวรัส (SystemicAcquired Resistance : SAR กระตุ้นการสร้าง
ภูมิต้านทานโรคให้พืชเสมือนการให้วัคซีนพืช)



โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (VIRAL DISEASES)

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับยาสูบ มีโดยประมาณ 18 ชนิด ดังต่อไปนี้

5.1.3.1 MOSAIC เกิดจากเชื้อ TOBACCO MOSAIC VIRUS (TMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus Persicae ฯลฯ

5.1.3.2 VEIN BANDING เกิดจากเชื้อ POTATO VIRUSY (PVY) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Myzuz spp., Neomyzus spp., Acrythoosiphen spp.

5.1.3.3 ETCH เกิดจากเชื้อ TOBACCO ETCH VIRUS มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Aulacorthium., Macrosiphiun., Myzuz spp. ฯลฯ

5.1.3.4 TOMATO SPOTTED WILT เกิดจากเชื้อ TOMATO SPOTTED WILT VIRUS (TSWV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยไฟ อาทิ Thrip tabaci, Frankliniella

5.1.3.5 CUCUMBER MOSAIC VIRUS เกิดจากเชื้อ CUCUMBER MOSAIC VIRUS (CMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae, Aphis gossypii

5.1.3.6 VEIN MOTTLE เกิดจากเชื้อ TOBACCO VETH MOTTLE VIRUS (TVMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae

5.1.3.7 ROSETTE AND BUSHY TOP เกิดจากเชื้อ TOBACCOROSETTE AND BUSHY TOP VIRUS (TRBTV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน (Aphids) อาทิ Myzus sp.

5.1.3.8 PAENUT STUNT เกิดจากเชื้อ PAENUT STUNT VIRUS (PSV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน

5.1.3.9 ALFALFA MOSAIC เกิดจากเชื้อ ALFALFA MOSAIC VIRUS (AMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis gossypii, Macrosiphium pisi, Macrosiphium solanifolii, Aphis fabae

5.1.3.10 LEAF CURL เกิดจากเชื้อ TOBACCO LEAF CURL VIRUS (TLCY) มีพาหะนำเชื้อโดย แมลงหวี่ขาว (whitefly) อาทิ Bemisia tabaci Bemisia gossypiperda, Trialeurodes natatensis Aleurotuberculatus psidii (in Taiwai)

5.1.3.11 BEET CURLY TOP เกิดจากเชื้อ BEET CURLY TOP VIRUS (BCTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจักจั่น (Leafhopper) อาทิ Circulifer tenellus

5.1.3.12 RATTLE VIRUS เกิดจากเชื้อ TOBACCO RATTLE VIRUS (TRV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Trichodorus spp.

5.1.3.13 RING SPOT เกิดจากเชื้อ TOBACCO RINE SPOT VIRUS (TRSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Xiphinema americanum

5.1.3.14 STEAK เกิดจากเชื้อ TOBACCO STEAK VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ตั๊กแตน (grasshopper)

5.1.3.15 NECROSIS เกิดจากเชื้อ TOBACCO NECROSIS VIRUS (TNV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae

5.1.3.16 STUNT เกิดจากเชื้อ TOBACCO STUNT VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae

5.1.3.17 WOUND TUMOR เกิดจากเชื้อ WOUND TUMOR VIRUS (WTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจั๊กจั่น (Leafhopper) อาทิ Agallia constricta. Agallia quadripunctata, Agalliopsis novella

5.1.3.18 LETTUCE BIG VEIN เกิดจากเชื้อ LETTUCE BIG VEIN VIRUS (LBVV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (fungus) อาทิ Olpidium spp.



ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) จะมีลักษณะโดยทั่วไปที่แสดงอาการ อาทิ แผลจุดเป็นดวง, ด่างลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งต้น, แคระแกร็น, หยุดและชะงักการเจริญเติบโต, ลักษณะรูปร่างผิดปกติ, แตกตา, กิ่ง, ช่อ ยอด มากกว่าปกติ





#ยาสูบเงินล้าน

https://www.facebook.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-431771140269455/







ปี 2557
โรงงานยาสูบ เพิ่งจะเริ่มมาศึกษา

ว่าด้วยเรื่อง.."การสร้างภูมิต้านทานไวรัส" ให้ยาสูบ
เพื่อแก้ปัญหาความเสียหายจากเชื้อไวรัส


แต่..ในขณะเดียวกัน
ปี 2545

บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ ได้เริ่มมีการนำ "สารกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานไวรัส" (วัคซีน) มาใช้ในยาสูบ ที่จังหวัดน่านกว่า 1,000 ไร่ ด้วยกลไกและแนวทางของกระบวนการ "Systemic Acquired Resistance" (SAR) ตามที่กล่าวมา



หลายท่านสงสัย
ว่า ทำไม? 

กระบวนการ SAR ก็ไม่ใช่..เรื่องใหม่
แต่ทำไม? ยังไม่ค่อยเห็นมีใครนิยม
นำ "สารกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานไวรัส" มาใช้กัน
อาจเพราะยังไม่เข้าใจในกระบวนการนี้
หรือว่ายังไม่มีสารที่ "ใช่" ที่จะนำมาใช้กัน
หรือเปล่า
.
(ภาคผนวก : โรงงานยาสูบจับมือต่างชาติวิจัย
"สร้างภูมิต้านทานไวรัสในยาสูบ" ลดความสูญเสีย
• โรงงานยาสูบ จับมือ ต่างชาติทำการวิจัยร่วม คิดค้นนวัตกรรมสร้างภูมิต้านทานไวรัสในใบยาสูบเป็นครั้งแรกของโลก
นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ผู้อำนวยการยาสูบ โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โรงงานยาสูบได้ร่วมมือกับ บริษัท โกลด์ ดาร์กอน อินเวสเมนท์ จำกัด (Gold Dragon Investment Pte. Ltd.) จากประเทศสิงคโปร์ จัดทำโครงการทดลองร่วม "การสร้างภูมิต้านทานยาสูบเพื่อต้านทานโรคไวรัส" (Boosting Immunity against Viral Diseases in Tobacco) เพื่อศึกษากลไกทางสรีระวิทยาในการเสริมสร้างภูมิต้านทานของยาสูบเวอร์ยิเนีย เบอร์เลย์ และเตอร์กิช ที่มีต่อการต้านทานโรคไวรัสยาสูบ นับเป็นการทดลองกับพืชใบยาสูบเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อนำผลการทดลองไปพัฒนาและช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบ ด้านการเพาะปลูกใบยา และเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ตั้งเป้านวัตกรรมใหม่ของการสร้างภูมิต้านทานไวรัสในวงการพืชและเกษตรของประเทศไทย
ไวรัสถือเป็นปัญหาของเกษตรกรที่ปลูกใบยาสูบทั่วประเทศ โดยสถิติแล้วจำนวนความเสียหายต่อการปลูกใบยาหนึ่งครั้งจะถูกไวรัสคุกคามเฉลี่ย 10-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเทียบเป็นเม็ดเงินที่สูญเสียประมาณปีละ 2,000 ล้านบาท และที่ผ่านมายังไม่มียาตัวใดที่สามารถรักษาหรือฆ่าเชื้อไวรัสได้ ไม่ว่าจะเป็นในคน สัตว์ และพืช ซึ่งโรงงานยาสูบได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยพยายามคิดค้นหาวิธีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของโรงงานยาสูบในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยโครงการทดลองร่วม "การสร้างภูมิต้านทานยาสูบเพื่อต้านทานโรคไวรัส" ครั้งนี้นับเป็นการทดลองกับพืชใบยาสูบเป็นครั้งแรกของโลก โดยร่วมกับบริษัท โกลด์ ดาร์กอน อินเวสเมนท์ จำกัด โดยมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทำวิจัยเรื่องไวรัส เป็นที่ปรึกษา และมีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับไวรัสในพืช และสัตว์ ประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนั้น ด้วยความสามารถและศักยภาพของบริษัทพร้อมด้วยทีมวิจัยที่มีประสบการณ์ ผนวกกับงานวิจัยที่โรงงานยาสูบได้ทำไว้ นำมาทดลองร่วมกันจะช่วยวิจัยใบยาสูบ ให้ได้รับผลลัพท์ที่เป็นประโยชน์ และสามารถต่อยอดไปสู่การวิจัย และพัฒนาด้านอื่นได้ต่อไป
"เชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดโรคกับต้นยาสูบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่เป็นต้นกล้าในแปลงเพาะหรือเข้าทำลายต้นยาสูบในช่วงที่ต้นยาสูบโตแล้ว ซึ่งมีรายงานการพบโรคไวรัสยาสูบประมาณ 10 ชนิด และมี 6 ชนิดที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไวรัสโรคใบหด (Tobacco Leaf-Curl virus, TLCV) ไวรัสโรคใบด่าง (Tobacco Mosaic Virus, TMV) โรคไวรัสใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Virus, CMV) ไวรัสโรคแผลละเอียด (Tobacco Streak Virus, TSV) ไวรัสโรคใบจุดเหี่ยวมะเขียเทศ (Tobacco Spotted With Virus, TSWV) ไวรัสโรคเส้นใบแห้งมันฝรั่ง (potato virus Y, PVY) ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อจำนวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและระดับคุณภาพใบยาที่มีผลต่อราคาที่รับซื้อ ส่งผลต่อชีวิตและรายได้ของชาวไร่ยาสูบโดยตรง นอกจากนี้วิธีการดั้งเดิมในการป้องกันเชื้อไวรัสระบาดในใบยาสูบต้องพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยความระมัดระวังในการใช้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และบางครั้งอาจจะตกค้างในใบยาที่เกี่ยวอีกด้วย" นายต่อศักดิ์กล่าว
ทางด้านนายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท โกลด์ ดาร์กอน อินเวสเมนท์ จำกัด (Gold Dragon Investment Pte.Ltd.) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ทางบริษัทรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้จัดทำโครงการทดลองร่วม "การสร้างภูมิต้านทานยาสูบเพื่อต้านทานโรคไวรัส" ร่วมกับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับชาวไร่ มีการสนับสนุน คิดค้นและพัฒนาการปลูกใบยาสูบที่มีคุณภาพ ปลอดภัยไร้สารตกค้าง รักษาสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบ GAP (Good Agriculture Practices) ที่กำหนดโดยองคืการอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยบริษัทมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภูมิต้านทานวิทยา ซึ่งมีชื่อเสียงในการวิจัยโรคไวรัสในพืชและสัตว์ สำหรับการวิจัยร่วมในครั้งนี้ บรษัทหวังว่าจะเกิดผลประโยชน์ต่อวงการวิจัยการแพทย์ และเกษตรอย่างกว้างขวาง และเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาพวกเราทุกคนไปสู่มิติใหม่แห่งการรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ด้วยวิธีธรรมชาติ
การทดลองร่วมกันครั้งนี้แบ่งการวิจัยออกเป็นสองส่วนคือ การทำวิจัยจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาที่ประเทศอินโดนีเซีย และจากแปลงทดลองของโรงงานยาสูบ สถานีทดลองแม่โจ้ สำนักงานยาสูบสุโขทัย และสำนักงานยาสูบนครพนมในประเทศไทย จะมีการเก็บตัวอย่างไวรัสแล้วนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจ ากนั้นทดลองปลูกใบยาสูบในเรือนกระจก และติดตามประเมินผลจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว อบใบยา เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพผลผลิตจนถึงปลายทาง คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการทดลองประมาณ 2 ปี นายชัชวาลย์กล่าว
"ผลสำเร็จจากการทดลองร่วมในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการพืชผลการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งโรงงานยาสูบจะนำผลการทดลองที่ได้ไปต่อยอดเพื่อช่วยเหลือชาวไร่ ในการเพิ่มผลผลิตและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมกับนำผลการทดลองต่อยอดไปถึงการทำการค้าร่วมกันกับพันธมิตรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสได้เป็นประเทศแรกของโลก และจำหน่ายไปทั่วโลกอีกด้วย" นายต่อศักดิ์กล่าวสรุป
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 19 มิ.ย. 2557 เวลา 19:15:32 น.

ปัญหาที่พบในยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post.html?m=0

ประสบการณ์ไวรัสยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html

กระบวนการ SAR (PPT)
https://paccapon.blogspot.com/2015/12/systemic-acquired-resisitance-sar.html

วัคซีนพืช ตระกูลผีเสื้อมรกต
http://paccapon.blogspot.com/2016/10/blog-post.html?m=1
.
#15ปีผ่านมาใครๆก็ว่าบ้าพูดถึงปัญหาไวรัส
#ต่อไปมันจะเป็นวาระแห่งพืช
#ใครมองข้ามปัญหาไวรัสพืชคนนั้นปลูกพืชใดไม่มีวันสำเร็จ
#ยาสูบพืชครูเรื่องไวรัส

#ยาสูบเงินล้าน





สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ

https://lin.ee/nTqrAvO 


ซอยล์ไลฟ์ : (Soil Life)

ทำไม?..ต้อง  “ซอยล์ไลฟ์” 

ซอยล์ไลฟ์...
สำคัญ..อย่างไร? กับดิน



ซอยล์ไลฟ์ : (Soil Life)

• เพิ่มอินทรียวัตถุให้ดิน ดินโปร่ง ร่วนซุย
• พืชดูดกินปุ๋ยได้ดี มีออกซิเจน(O2)ให้ดิน
• พืชมีระบบรากสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มพูนผลผลิต
• พิชิตโรคทางดิน ปลดล๊อคธาตุอาหารให้พืชกิน
• “ซอยล์ไลฟ์” ( SOIL LIFE ) เป็นสารอินทรีย์เข้มข้นที่สกัดมาจากธรรมชาติ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบำรุงดิน ปรับปรุงคุณภาพของดิน ให้โปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศดี แก้ดินเป็นกรด ซึ่งจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ออกดอกและผลดก ลดปัญหาการระบาดของเชื้อโรคทางดิน อาทิ โคนเน่า โรครากเน่า โรคเหี่ยวเฉา ฯลฯ และที่สำคัญคือช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ช่วยเสริมการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พืชดูดกับธาตุอาหารได้ อย่างเต็มที่ “ซอยล์ไลฟ์” สามารถละลายน้ำได้ดีมาก จึงสามารถใช้กับระบบน้ำหรือฉีดพ่นได้
การให้ปุ๋ยเคมีในดินที่ขาดสารกลุ่ม Humic พืชจะดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้ยากสิ้นเปลือง เพราะไม่มีสารกลุ่ม Humic ไปช่วยให้พืชดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้ดี โดยจะถูกตรึงอยู่ในดินนั้นหรือถูกชะล้างไปในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วไปจะขาดสารกลุ่ม Humic ในรูปของ Humic acids และโดยเฉพาะ Fulvic acid ซึ่งต้องใช้เวลาในการย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ ดังนั้นการให้ปุ๋ยโดยให้สาร Soil Life ในจำนวนที่เล็กน้อยร่วมกับการให้ปุ๋ยตามปกติ จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด การใช้ Soil Life ประมาณ 3-6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทางดินหรือทางใบทุกเดือนร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีลดน้อยลง ทำให้สภาพดินและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้แก่ ค่าปุ๋ยค่าแรงงาน และพลังงาน ในดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีมานานหรือสภาพดินเสื่อมโทรมไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก เราสามารถใช้สารHumic ในการปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพดินได้ โดยให้สาร Soil Life ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยแบ่งให้ 3-4 ครั้งต่อปี


ประโยชน์ของ  "ฮิวมิค แอซิค" (Humic acids)

1. ปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของดิน เพิ่มการอุ้มน้ำและออกซิเจนในดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุยขึ้น
2. ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด – ด่างในดิน ให้เหมาะสม ไม่ให้เปลี่ยนแปลงง่ายเมื่อใช้ปุ๋ยเคมี
3. กระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของรากและลำต้น และเพิ่มผลผลิต โดยให้สารอาหารในดินอยู่ในสภาพที่ดูดซึมนำไปใช้ได้
5. ปรับปรุง สี ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และการเก็บน้ำของพืชได้ดีขึ้น
6. ช่วยกำจัดสารพิษในดิน โลหะหนัก หรือเคมีตกค้าง โดยไปจับตรึงไว้ไม่ไห้ดูดซึมเข้าไปได้
8. เพิ่มความต้านทานของพืช ต่อสภาพเครียดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความร้อน ความแห้งแล้ง เป็นต้น

.
ประโยชน์ของ ฟูลวิค แอซิด ( Fulvic acid)

1. ทำให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าสู่ใบ และยังสามารถเคลื่อนย้ายธาตุอาหารผ่านเซลล์พืชไปยังส่วนต่างๆของพืชที่ต้องการธาตุอาหารนั้นๆ ได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2เพิ่มการหายใจ และการสังเคราะห์แสง โดยการสร้างคลอโรฟิลล์ท้าให้พืชสามารถผลิตแป้งและน้ำตาลได้มากขึ้น
3.เพิ่มการสังเคราะห์ เอนไซม์ และกรดนิวคลีอิค เร่งปฏิกิริยาระหว่างเอนไซม์ กรดอะมิโน ธาตุอาหารและฮอร์โมนต่างๆ จึงเป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชในด้านต่างๆ เช่น การงอกของเมล็ด การเกิดราก การแตกตา ดอก ยอด กิ่งข้าง และขนาดของล้าต้น กิ่งใบ และผล
4.ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคพืช และลดความเครียดจากภาวะแห้งแล้ง



ซอยล์ไลฟ์ : คุณค่า 2 พลัง
1. พลังต่อดิน
2. พลังต่อพืช


• พลังต่อดิน

1. ช่วยปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ไม่จับตัวแน่นแข็ง
อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายน้ำดี ช่วยอุ้มน้ำและออกซิเจน
2. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง (PH) ของดิน ทำให้ดินไม่เสื่อมได้
ง่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่างๆและช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากขึ้น
3. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ทำให้พืชได้รับสารอาหารจากธรรมชาติได้ดี
4. ช่วยให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารทางรากได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็น ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม จึงช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี พืชงามสมบูรณ์
5. ช่วยส่งเสริมขบวนการไนตริฟิเคชั่น(Nitrification)ได้ดีขึ้น
6. ช่วยลดอัตราการใช้ปุ๋ยลงได้ถึง 30 – 50 %



• พลังต่อพืช

1. ส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน (AUXIN) ในพืช เพื่อการกระตุ้นแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชเติบโตเร็ว ใบเขียวใหญ่
2. ช่วยเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
3. ช่วยให้พลังงานและขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ต่างๆในพืชจากรากหรือใบไปยังจุดที่พืชต้องการอย่างรวดเร็ว
4. ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้า เคมีต่างๆในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต เพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงได้เต็มที่
5. ช่วยเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์พืชและเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์ RNA
6. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ อาทิ ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง


ภาคผนวก :

• Humic acid Substances
- ประโยชน์ของกรดฮิวมิค ที่มีต่อการเกษตร
​กรดฮิวมิค ให้ประโยชน์ต่อการเกษตรใน 2 กรณี กล่าวคือประโยชน์ทางตรงต่อพืชและต่อดิน

ประโยชน์ทางตรงต่อพืช

- ได้แก่ผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีอยู่มากมายหลายประการ ( Visser , 1986 ) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
​1. ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพืชหลายชนิด ( Dixit and Kishore , 1967 ) การจุ่มเมล็ดพืชลงไปในสารละลาย Sodium humate จะช่วยเพิ่มอัตราการหายใจ การดูดน้ำและการงอกของเมล็ดพืช ( Smideora , 1962 ) นอกจากนั้นจะช่วยกระตุ้นผลผลิตและการดูดธาตุอาหารของพืช การหุ้มเมล็ดด้วย calcium humate จะเพิ่มอัตราการงอกเมล็ดได้เป็นอย่างดี

2. ช่วยเพิ่มการเจริญของราก ต้น ใบของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลกระทบต่อส่วนรากมากว่าส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน Khristeva และ Manoilova ( 1950 ) ได้จำแนกพืชออกเป็น 4 กลุ่ม ตามปฏิกิริยาที่มีต่อกรดฮิวมิคดังต่อไปนี้
​กลุ่มที่ 1 ได้แก่ พืชที่มีแป้งมาก เช่น มะเขือเทศ ยาสูบ แครอท มันฝรั่ง ผักกาดหัว เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับกรดฮัวมิค และภายในสภาพที่เหมาะสมก็จะเพิ่มผลผลิตพืชกว่า 50%
​กลุ่มที่ 2 ได้แก่พวกธัญญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับกรดฮิวมิค ได้ดีพอประมาณ
​กลุ่มที่ 3 ได้แก่พวกที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับกรดฮิวมิคค่อนข้างจะน้อย
​กลุ่มที่ 4 ได้แก่ พืชน้ำมัน เช่น ละหุ่ง ฝ้าย ลินสีด ( linseed ) ทานตะวัน ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับกรดฮิวมิคน้อยมาก และในบางครั้งยังจะแสดงปฏิกิริยาทางลบอีกด้วย
​กรดฮิวมิคจะกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแผ่กระจายของรากได้ดีและจะส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตของพืชได้มากขึ้น ( Lee and Barlette , 1976 ) กรดฮิวมิค จะเพิ่มการเจริญเติบโตของรากมากกว่าลำต้น และส่วนที่อยู่เหนือดิน และจะมีผลกระทบต่อพืชตระกูลถั่วน้อยมาก แต่ก็แทบจะไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำมัน

3. ผลกระทบที่มีต่อการดูดใช้น้ำของพืช กรดฮิวมิคจะกระตุ้นการลำเลียงน้ำในพืช และลดการสูญเสียของน้ำไปจากพืช ( Prat , 1960 ) จะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างของเซลล์พืชทำให้เกิดการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเซลล์พืช

4. อิทธิพลที่มีต่อการหายใจของพืช กรดฮิวมิคจะมีอิทธิพลในการเพิ่มอัตราการหายใจของพืช เช่น ในข้าวบาร์เลย์ มะเขือเทศ และบีโกเนีย ( Khristeva , 1953 ; Sladky and Tichy , 1959 ) นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ากรดฮิวมิคจะเพิ่มอัตราการหายใจของรากพืช เช่น ข้าวโพด พืชตระกูลฟักแฟง ข้าวสาลี (Smidora , 1960 ) ในบางกรณีแม้ว่าอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้น แต่สมดุลย์ของระบบการเจริญเติบโตของพืชได้

5. อิทธิพลที่มีต่อการดูดใช้ไนโตรเจนของพืชกรดฮิวมิคจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจนในพืช โดยจะช่วยทำให้พืชสามารถสนองต่อระดับไนโตรเจนที่มากหรือน้อยเกินไปได้โดยไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อพืช และยังจะช่วยให้พืชสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบได้มากขึ้นด้วย ( Visser , 1986 )

6. อิทธิพลที่มีต่อการดูดธาตุอาหารของพืช กรดฮิวมิคมีความสามารถในการกระตุ้น และยับยั้งการดูดใช้ ions ของพืช ซึ่งทั้งนี้จะเป็นผลมาจากความเข้มข้นของกรดฮิวมิค ( Vimal , 1970 ) น้ำหนักโมเลกุลและ functional groups ที่มีอยู่ในกรดฮิวมิค เช่น carboxy group , phenolic OH group โดยจะมีผลกระทบต่อกล้าพืชมากกว่าพืชที่โตแล้ว และยังจะเพิ่มการดูดธาตุอาหารจำพวก K , Ca , Mg และ P แต่จะยับยั้งอัตราการดูด CL ของพืช ( Mylonas and Mccants , 1980 )

7. อิทธิพลที่มีต่อปริมาณคลอโรฟิลด์และการสังเคราะห์แสง กรดฮิวมิคจะทำให้เกิดการสะสมคลอโรฟิลด์ในพืช ทำให้ใบพืชไม่เกิดอาการเหลืองชัดเจนเกินไป กรดฮิวมิคจะช่วยกระตุ้นให้รากพืชดูดธาตุเหล็ก และลำเลียงสู่ใบได้ดียิ่งขึ้น ( Tan and Nopanombodi , 1979 ) การพ่นสารละลายฮิวมิคจะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงของผักกาดหัว เพิ่มขึ้นถึง 22%

8. อิทธิพลที่มีต่อปฏิกิริยาของแสงในพืช มีรายงานว่ากรดฮิวมิคจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งปฏิกิริยาของแสงในส่วนต่าง ๆ ของพืช ( Tichy and Salajhova , 1982 ) เช่นในพืชจำพวกคะน้าและผัดการบางชนิด

9. อิทธิพลที่มีต่อปฏิกิริยาของน้ำย่อยในพืช (enzyme ) กรดฮิวมิคจะทำให้เกิดการเพิ่มปฏิกิริยาของน้ำย่อยในพืช โดยเฉพาะกิจกรรมของน้ำย่อย phosphorylase ในข้าวสาลี ( Bukova and Tichy , 1967 ) อิทธิพลของกรดฮิวมิคที่มีต่อปฏิกิริยาหรือกิจกรรมของน้ำย่อยจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับน้ำย่อยของพืชแต่ละชนิด เช่นกรดฮิวมิคจะยับยั้งกิจกรรมของน้ำย่อย invertase ในรากข้าวสาลีในขณะที่ไม่มีผลต่อรากผักกาดหัวแต่อย่างใด แต่ในขณะเดียวกันจะมีผลต่อการเพิ่มกิจกรรมของน้ำย่อยในรากถั่ว ( Malcolm and Vaughen , 1979 ) การที่กรดฮิวมิคมีฤทธิ์ต่อน้ำย่อยในพืชต่าง ๆ กัน ดังนั้นกรดฮิวมิคจึงสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาของน้ำย่อยกับพืชได้ด้วย

10. อิทธิพลที่มีต่อปริมาณและการกระจายน้ำตาลในพืช การที่พืชที่ปลูกในกรดฮิวมิคมีความทนทานต่อการเหี่ยวนั้น อาจจะเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของ osmotic pressure ภายในเซลล์ตลอดจนสาเหตุมาจากการสะสมของ reducing sugars ระหว่างเซลล์ของพืชอีกด้วย ( Visser , 1986 ) กรดฮิวมิคจะมีอิทธิพลต่อปริมาณของน้ำตาล monosaccharide และ oligosaccharide อิสระในส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน พืชที่ได้รับกรดฮิวมิคจะมีปริมาณน้ำตาลต่ำมากในลำต้น และใบแต่ปริมาณน้ำตาลในรากจะมีมากกว่า

11. อิทธิพลที่มีต่อปริมาณของสาร alkaloids ในพืช กรดฮิวมิคจะทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของสาร alkaloids ในพืชโดยเฉพาะในยาสูบ ( Aitkenet al 1964 ) การเพิ่มปริมาณของสาร alkaloids ในพืชสมุนไพรต่าง ๆ เมื่อได้รับกรดฮิวมิคที่สกัดจากดินพรุ ก็เนื่องมาจากอิทธิพลของกรดฮิวมิคนั่นเอง ( Tolpa , 1976 )

12. อิทธิพลที่มีต่อการเกิดปมรากของถั่ว จากการศึกษาพบว่า กรดฮิวมิคจะทำให้พืชตระกูลถั่วมีน้ำหนักแห้งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของถั่วลิสง ถั่วเหลือง และถั่ว clovers ( Tan and Tantiwiramanond , 1983 ) และถั่วที่ได้รับกรดฮิวมิคที่มีระดับความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม/ลิตร จะมีจำนวนปมรากที่เพิ่มขึ้นด้วย

13. อิทธิพลที่มีต่อการสังเคราะห์โปรตีนในพืช เช่น ในกรณีของข้าวบาร์เลย์ซึ่งกรดฮิวมิคจะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนดังการศึกษาของ Dell’Agnolaet al (1981 )

14. อิทธิพลที่มีต่อลักษณะทางกายวิภาคของพืช เช่น จะทำให้ระบบการลำเลียงน้ำและอาหารของมะเขือเทศ ผักกาดหัว เจริญได้ดีขึ้น กรดฮิวมิคจะมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ parenchya> collenchyma > sclerenchyma และก็เชื่อว่ากรดฮิวมิคจะมีอิทธิพลต่อ meristemic cells มากที่สุด ( Visser , 1986 )


ประโยชน์ทางตรงต่อดิน

- สำหรับประโยชน์ทางตรงของกรดฮิวมิคต่อดิน ก็ได้แก่อิทธิพลของกรดฮิวมิคที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพเคมี และจุลชีววิทยาของดิน ตลอดจนทำหน้าที่เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชและจุลินทรีย์ในดิน (Schnitzer , 1978 ) ให้สีแก่ดินรักษาเสถียรภาพและโครงสร้างของดิน ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของ pH ของดิน รวมตัวกับโลหะทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน ซึ่งมีผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชดูดซับยาปราบศัตรูพืชเป็นการสลายฤทธิ์ของยาดังกล่าวได้ ทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำสูง ฯลฯ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อดินเพื่อการเกษตรทั้งสิ้น

ประโยชน์ทางอื่นๆ
​นอกจากนั้นกรดฮิวมิคยังถูกนำมาใช้ในการเกษตรอื่น ๆ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ได้ด้วย เช่น ใช้เป็นสารผสมปุ๋ยและ sprays ใช้หุ้มเมล็ด ใช้เป็นสารอาหารในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรืออาจจะใช้เป็นสารผสมดิน
​ในทางอุตสาหกรรมอาจใช้เป็นสารยับยั้งการกัดกร่อนของโลหะ ใช้อนุรักษ์ไม้ ใช้เป็นสารลอยตัวหรือสารที่ทำหน้าที่แผ่กระจาย ( dispersant )
​ในด้านสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นสารดับกลิ่นของเหลวและแก๊ส ใช้ดูดซับยาปราบศัตรูพืช ใช้กำจัดน้ำเสีย
​ในด้านการแพทย์ กรดฮิวมิคได้ถูกนำมาใช้ในการต่อต้านจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกระตุ้นกับใช้รักษาแผลในทางเดินอาหาร ห้ามเลือด รักษาผิวหนังไหม้และเนื้องอก ฯลฯ


สรุปการใช้ประโยชน์จากสาร ฮิวมิค แอซิด ในประเทศไทย

EFFECT OF HUMIC SUBSTANCES ON PLANT GROWTH
- Favour the growth of microoganisms capable of producing substances which stimulate plant growth
- Accelerating effects on seed germination
- Stimulate plant yield and nutrient uptake
- Appear to have a greater effect on roots than on the overground parts of plants
- Stimulating effect on the water transport in plants
- Induce a higher water content in plants and lower the rate of water loss
- Slow down the rate of plasmolysis in cells
- Assuming an effect on the structure of cell protoplasm resulting in an increased water holding capacity
- Functioning as a hydrogen acceptor – facilitate plant respiration under condition of oxygen deficiency
- Increase the uptake of nitrogen by plants , also increase the synthesis in plants of nitrogenous products
- Stimulate or inhibit the uptake of ions by plants
- Enhance the uptake by plants of K , Ca , Mg and P and inhibits that of CI
- Increase the chlorophyll content and to prevent or correct chlorosis in plants
- Effect on enzyme activity in plants
- Resistance to wilting of plants by an increase in the osmotic pressure in cells
- Increase in the alkaloid content , particularly in the leaves
- Increase transport of nutrients
- Induced a more developed vascular system in tomato and sugarbeet
- Effect on nodulation in legume , + or - , depends on plants e.g. increase the number of nodules in peas

NOTE : ​Extracted from the article “EFFECTS OF HUMIC SUBSTANCES ON ​​PLANT GROWTH”
​ ​Written by Dr. S.A. Visser, Full Professor – Department of Soil – ​​Faculty of Agriculture – University of Laval – Quebec - Canada



• ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid)
สารสำคัญของพืช ในการสร้างสารอาหาร
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) คือ “สารอินทรีย์ธรรมชาติน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ละลายน้ำได้ดี เกิดจาก ฮิวมัส มักพบอยู่ทั่วไปในน้ำบนผิวดิน (Surface water) เช่นแม่น้ำลำคลองหนองบึงทั่วๆไป” กำหนดโดยสมาคมคุณภาพน้ำสหรัฐฯ (Water Quality Association)
แหล่งที่มาของเกลือแร่ในพืชอย่างแท้จริง มาจากการตกตะกอนฮิวเมท (Humate deposit) ตะกอนเหล่านี้ถ้ามีธาตุพร้อมใช้ที่ละลายน้ำได้ก็จะมีกรดฮิวมิค (Humic Acid)ในปริมาณที่สูงมาก
แต่กรดฮิวมิคไม่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำที่ค่าpHต่ำกว่า12-13ได้ เราจึงไม่อาจพบกรดฮิวมิคได้ในน้ำในภาวะปกติทั่วๆไป
ยกเว้นในรูปของเกลือฮิวเมทที่ละลายน้ำได้ ( อยู่ในรูปของ K Humate หรือ Na Humate) เท่านั้น หมายความว่าเราจะไม่พบกรดฮิวมิค (Humic Acid)ในภาวะอิสระตามธรรมชาติทั่วๆไป
แต่ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ที่มีปรากฏอยู่ในตะกอนฮิวเมทด้วยนั้นมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี ในทุกค่าpH เราจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เกิดจากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุด้วยจุลินทรีย์
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) นี้มีคุณสมบัติพิเศษในการซึมผ่านเยื่อผนังรากและเซลล์พืชได้ง่าย และ
ฟุลวิก แอซิดยังสามารถยึดจับ(Chelation) ไอออนประจุบวกไว้กับตัวเองได้ดีมากกว่า60ชนิดโดยเฉพาะแร่ธาตุซึ่งพืชจะถูกดูดซึมได้ยาก
การยึดจับ(Chelation) แร่ธาตุตามธรรมชาติของฟุลวิก แอซิดนี้ทำให้พืชสามารถได้รับและกักเก็บทั้ง ไวตามินและแร่ธาตุต่างๆได้ดีและยังช่วยเพิ่มการพร้อมใช้ของแร่ธาตุและไวตามินดังกล่าวด้วย



• ฟุลวิก แอซิด : สารสำคัญที่ดินต้องการ
(Important of Fulvic acid in the soil)
ดินที่ดี มีธาตุอาหารครบ จะทำให้พืชเจริญเติบโต
อย่างสมบูรณ์
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ในดินจะช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแรงปราศจากโรคภัย เมื่อดินเสื่อมโทรม ขาดธาตุอาหารหลัก หรือธาตุอาหารรอง จึงจำเป็นต้องให้ธาตุอาหารเหล่านี้แก่ดินเพื่อกลับไปสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
สารปรับสภาพอินทรีย์วัตถุในดินเช่น ฟุลวิก แอซิด ,ฮิวมิค แอซิด ปุ๋ยอินทรีย์น้ำและอื่นๆ ที่หาได้ในท้องตลาดก็เพื่อให้ประโยชน์ดังกล่าวแก่ดิน
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic acid) เป็นสารอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติที่เรียกว่าสารฮิวมิค(Humic substance)
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic acid) ช่วยละลายแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินจึงเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารจากดินได้มาก และดีขึ้น จึงเจริญเติบโตได้ดีกว่า
นักวิทยาศาสตร์และนักพฤกษาศาสตร์ได้รู้จักและยอมรับการใช้ฟุลวิก แอซิดและ ฮิวมิค แอซิด เพื่อการเจริญเติบโตแข็งแรงของรากพืช มานานแล้ว
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ช่วยเพิ่มการเมตาโบลิสซึ่มในดินและช่วยเพิ่มการใช้อากาศของรากพืช กระบวนการเผาผลาญโปรตีนในพืชให้เกิดพลังงานจะได้รับการกระตุ้นและช่วยด้วย
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต่างๆที่มีอยู่ในรากพืช
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เมื่อเติมลงสู่ดิน จะทำหน้าที่เป็นสารป้องกันภัยให้แก่รากพืชและพืชเอง ฟุลวิก แอซิดเป็นสารประเภทหนี่งที่เมื่อแตกตัวในสารละลายจะให้ประจุไฟฟ้าที่แข็งแรง และจะช่วยแก้สภาพเซลล์ที่เสียหายให้กลับสู่สภาวะธรรมชาติด้วย
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) มีพลังในการขจัดผลที่เกิดจากความเป็นพิษในดินทันทีที่ได้ใช้ลงสู่ดิน
การใช้ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) จึงมีผลดีต่อดิน ช่วยให้พืชปลูกเติบโตแข็งแรง สมบูรณ์
...........................................................................


• ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) :
สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติ
- ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติที่นำไฟฟ้า และแตกตัวเป็นไอออนได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความสมดุลกันระหว่างพลังงานทางชีววิทยา การที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและแตกตัวเป็นไอออน (Electrolyte) ทำให้ฟุลวิก แอซิดละลายน้ำและเป็นตัวนำกระแสกระแสไฟฟ้าได้ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อเซลส์พืชมากมายในขบวนการเติบโตของพืช ดังนี้

• ประโยชน์ของฟุลวิก แอซิดต่อพืช
(Fulvic Acid Properties to Plant)

1.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ช่วยทำให้เกิดความสมดุลของตัวรับและตัวให้กระแสไฟฟ้าทางเคมี ฟุลวิก แอซิด สามารถเป็นได้ทั้งตัวรับและตัวให้อิเลคตรอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการความสมดุลของเซลล์นั้น ๆ จากการศึกษารวมกันของโมเลกุลของฟุลวิก แอซิดที่ให้อิเลคตรอน ในสารละลายพบว่า เกิดกลไกการถ่ายเทประจุของอิเลคตรอนที่เป็นตัวให้และตัวรับขึ้น ทำให้พืชเติบโตไว
2.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) มีอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (Natural Free Radical Scavenger) และเป็นตัวต่อต้านการเกิดออกซิเจน โมเลกุลของของฟุลวิก แอซิดที่แตกตัวแล้วเกิดอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (Free radicals) นั้นมีคุณสมบัติเป็นตัวให้หรือตัวรับอิเลคตรอนขึ้นอยู่กับความต้องการความสมดุลขณะนั้น จึงกระตุ้นการทำงานของเซลส์พืชได่ต่อเนื่อง
3.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) สามารถละลายแร่ธาตุและธาตุอาหารรองที่มีโครงสร้างซับซ้อน ให้ละลายน้ำได้ในรูปของไอออน และถูกจับยึดในโครงสร้างของฟลูวิก (Chelate property) โดยเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้ จากนั้นจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารทางชีวที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ พืชจึงได้รับธาตุอาหารครบ และนาน (Slow release)
4.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ช่วยเพิ่มสารอาหาร โดยทำให้สารอาหารอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น และทำให้พืชดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสามารถในการละลายน้ำดี ตลอดจนมีโมเลกุลขนาดเล็กมากมายในตัวเอง
5.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) สามารถละลายและเคลื่อนย้ายวิตามิน โคเอนไซม์ ออกซิเจน ฮอร์โมน และสารแอนติไบโอติกในธรรมชาติที่อยู่ในดินไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสารต่าง ๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย รา และแอคตึโนไมซิส ในการสลายซากพืชในดิน
6.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid)สามารถเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ โดยเฉพาะมีผลต่อตัวเร่งปฏิกิริยาการหายใจ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์หลายๆ อย่าง เช่น Alkaline phosphate transsminase และ Invertase
7.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เพิ่มการดูดซึมสารอินทรีย์โลหะ เนื่องจากฟุลวิก แอซิดมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ โมเลกุลขนาดเล็ก จึงช่วยพาสารอาหารผ่านไปยัง semi-perneable membrane ได้เช่นเดียวกับผนังเซลล์ นอกจากนี้ยังเป็น sensitize cell memebrane ที่ทำหน้าที่สร้างสรีระวิทยาได้ดีด้วย
8.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) กระตุ้นการเกิดเมตาโบลิซึม ทำให้กลไกทางพันธุกรรมทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงฟุลวิก แอซิดทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ออกซิเจนถูกดูดเข้าไปรวมกับกรดฟูลวิก ผ่านเข้าไปในรากและเคลื่อนย้ายในลำต้นได้รวดเร็ว
9.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid)ช่วยลดการเกิดมลพิษได้เช่นสาร Paraquat (สารกำจัดวัชพืชที่เป็นพิษ) โดยสารฟุลวิก แอซิดมีหน้าที่พิเศษ คือ นำสารประกอบอินทรียที่ตายแล้วมาใช้ในดินได้ ทำให้เกิดสารประกอบใหม่ในรูปของไอออนของโลหะขึ้น และเป็นตัวเร่งการสลายตัวของมลพิษได้
10.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ช่วยการละลายใน Silica gel โดยฟุลวิก แอซิดจะทำปฏิกิริยาทางชีวเคมีกับ Silica ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของไอออนโลหะ และ Silica ในการละลายน้ำของพืช
11.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ช่วยในด้านปฏิกิริยาทางชีวเคมีขึ้นกับเซลล์ที่สังเคราะห์ และเปลี่ยนรูปของสารประกอบแร่ใหม่ เช่น การเปลี่ยนรูปของ vigital silica, magnesium และ Calcium ในกระดูกคนและสัตว์ พืชเกิดการสังเคราะห์ได้มาก แข็งแรง และช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์และความยาวของเซลล์ พืชเติบโตเร็ว
12.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เพิ่มขบวนการเมตาโบลิซึมของโปรตีน ได้แก่ RNA และ DNA 8nv เพิ่มส่วนประกอบของ DNA ในเซลล์ และเพิ่มอัตราการสังเคราะห์ของ RNA
13.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) เป็นตัวเร่งวิตามินภายในเซลล์ ช่วยให้เกิดการเคลื่อนย้ายของไอออน โลหะ ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ยากในพืช
14. ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid) ช่วยลดการขาดออกซิเจน และเพิ่มกิจกรรมของเซลล์ที่มีชีวิต และสามารถเปลี่ยนขบวนการเมตาโบลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลที่ละลายได้ซึ่งช่วยเพิ่มความดันของการเกิดออสโมซิภายในผนังเซลล์ และทนทานต่อการเหี่ยวของพืชได้
15.ฟุลวิก แอซิด (Fulvic Acid)ช่วยการเคลื่อนย้ายสารอาหาร ฟุลวิก แอซิดเมื่อรวมกับแร่ธาตุและโลหะแล้วทำให้พืชสามารถนำสารดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้โดยทางราก และดูดซึมผ่านผนังเซลล์ไปได้ง่าย เช่น ทำให้เหล็กซึ่งไม่เคลื่อนย้ายในดินสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายผ่านทางโครงสร้างของพืช

ติดตามเรื่องอินทรีย์วัตถุในดินได้ที่
http://www.paccapon.blogspot.com/2015_10_01_archive.html






สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ

อัตราแปรสภาพ (Ratio)

ทางออก..อีกหนึ่งทาง
ของอาชีพการปลูกพืชบางพืช ที่ต้องมีการแปรสภาพจากสดเป็นแห้ง  (อาทิ ยาสูบ, พริก, หอม, กระเทียม, ลำไย, ยางพารา
ฯลฯ)

อัตราแปรสภาพ (Ratio)   มีความสำคัญอย่างไร?

ทำไม?..ต้องให้ความสำคัญ  กับ..”อัตราแปรสภาพ” (Ratio)

อัตราแปรสภาพ (Ratio) คือ
สัดส่วนการแปรสภาพจาก "ผลผลิตสด" เป็น "ผลผลิตแห้ง"

ตัวอย่าง : กรณีศึกษาใบยาสูบ

อาทิเช่น ผลผลิตใบยาสูบ(สด) 8 กิโลกรัม
แปรสภาพเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม
แสดงว่ามี “อัตราแปรสภาพ” (Ratio) เท่ากับ 8 : 1





แล้วมันส่งผลดีอย่างไรบ้าง? 
ต่อการพยายามปรับ  “อัตราแปรสภาพ” (Ratio)

สิ่งที่เราจะพบเห็นได้ก็คือ :

1. ต้นทุนการผลิตใบยาสูบ (แห้ง) ลดลง

2. ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น

3. คุณภาพของผลผลิตใบยาสด สูงขึ้น

ถ้าเราต้องผลิตสินค้าพืชผลทางการเกษตรจาก "ผลผลิตสด" ให้ออกมาเป็น "ผลผลิตแห้ง"
เราควรคำนึงถึง "อัตราแปรสภาพ" (Ratio)
เพราะ..นั่นหมายถึง
ต้นทุนการผลิตที่ลดลง คุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้น
และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

อาทิเช่น

1. ต้นทุนการผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ลดลง

1.1) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 8 กิโลกรัม
บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม (เรโช 8:1)
ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท
เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม (แห้ง) = 56 บาท

1.2) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 7 กิโลกรัม
บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม (เรโช 7:1)
ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท
เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 49 บาท

1.3) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 6 กิโลกรัม
บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม (เรโช 6:1)
ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท
เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 42 บาท

จะเห็นได้ว่า
- ถ้าเราทำให้ “อัตราแปรสภาพ” (Ratio)
ลดลงได้ 1 หน่วย (การแปรสภาพ)
เราก็จะลดต้นทุนการผลิตใบยาแห้ง
ไปได้เท่ากับราคารับซื้อใบยาสูบ (สด) 1 กิโลกรัม
(หรือลดต้นทุนลงได้เท่ากับ 7.00 บาท)
- ถ้าเราทำให้ “อัตราแปรสภาพ” (Ratio)
ลดลงได้ 2 หน่วย (การแปรสภาพ)
เราก็จะลดต้นทุนการผลิตใบยาแห้ง
ไปได้เท่ากับราคารับซื้อใบยาสูบ (สด) 2 กิโลกรัม
(หรือลดต้นทุนลงได้เท่ากับ 14.00 บาท)

ซึ่ง..ถ้าเราสามารถลดเรโช (Ratio) ลงได้ 1-2 เรโชเราก็สามารถลดต้นทุนใบยาสูบ(แห้ง) ลงได้ตั้งแต่
7-14 บาทต่อกิโลกรัมใบยาสูบ(แห้ง) เลยทีเดียว

นั่นคือ..
กำไรใบยาสูบ(แห้ง) ที่เราควรจะได้รับ
โดยไม่ทิ้งไปให้สูญเปล่า
กำไรมันจะเพิ่มขึ้นจากค่ารับซื้อใบยาสดที่ลดลง
จากการใช้จำนวนใบยาสด/1 กิโลกรัมใบยาแห้งที่ลดลงไป
ว่าเราทำให้ลดลงได้กี่กิโลกรัม/กิโลกรัมใบยาแห้ง ( ลดลงได้กี่ “เรโช” (Ratio) นั่นเอง)

2. ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ต่อไร่เพิ่มขึ้น

อาทิเช่น
กรณีเรามีพื้นที่ปลูกยาสูบ 700 ไร่
ผลผลิตใบยาสดเฉลี่ยต่อไร่ 4,000 กิโลกรัม/ไร่
เราจะได้ผลผลิตใบยาสด(รวม)
= 2,800,000 กิโลกรัม

2.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 8 : 1
เราจะได้ใบยาแห้ง 350,000 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
(หรือ 500 กก/ไร่)

2.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 7 : 1
เราจะได้ใบยาแห้ง 400,000 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
(หรือ 571 กก/ไร่)

3.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 6 : 1
เราจะได้ใบยาแห้ง 466,600 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
(หรือ 666 กก/ไร่)

จะเห็นนะครับว่า ปลูกยาสูบพื้นที่ 700 ไร่ เท่ากัน ผลผลิตใบยาสด/ไร่ เท่ากัน
แต่..ได้ผลผลิตใบยาแห้ง/ไร่ ไม่เท่ากัน

ดังนั้นพื้นที่ปลูก 700 ไร่
ถ้าเราพัฒนาคุณภาพใบยาสูบ(สด) ให้มีคุณภาพดี
และ..ให้มี อัตราแปรสภาพ (Ratio) แคบได้มากเท่าไหร่ เราก็จะได้ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น (ดังตัวอย่าง)

และอีกเช่นกัน
ผลผลิตใบยาสด 2,800,000 กิโลกรัม (จากพื้นที่ปลูก 700 ไร่)
ถ้าราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาทใช้เงินทุนรับซื้อผลผลิตใบยาสดไปทั้งสิ้น 19,600,000 บาท


และ..จากผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ที่ได้

1. ใบยาสูบ(แห้ง) 350,000 กิโลกรัม
เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กก.ละ 56.00 บาท (จาก Ratio 8 : 1)

2. ใบยาสูบ(แห้ง) 400,000 กิโลกรัม
เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กก.ละ 49.00 บาท (จาก Ratio 7 : 1)

3. ใบยาสูบ(แห้ง) 466,000 กิโลกรัม
เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กก.ละ 42.00 บาท (จาก Ratio 6 : 1)

3. คุณภาพของผลผลิตทั้งสดและแห้งเพิ่มขึ้น :
อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่ดี มีอัตราที่แคบ
จะหมายถึง "คุณภาพ" ที่ดีทั้งใบยาสูบ(สด)
และใบยาสูบ(แห้ง) จะคุณภาพดีมากและมีเกรดสูงมากขึ้น มีส่วนที่เป็นใบยาสูบคุณภาพต่ำน้อย
นั่นหมายถึง..จะทำให้เราขายใบยาสูบ(แห้ง)
ได้ในราคาสูงขึ้น จนนำมาซื้อราคาใบยาสูบ (สด) ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อๆไปได้นั่นเอง

มาถึงตรงนี้...
จึงอยู่ที่ว่า "เราจะทำอย่างไร?"
และ "เราจะทำได้ไหม?"
ตอบว่า.."ไม่ยาก"
หาก..ชาวไรเข้าใจ และให้ความร่วมมือ

ปัจจัยใดๆ ที่มีส่วนสำคัญ
ในการทำให้บรรลุเป้าหมายตรงนี้
เราต้องเร่งศึกษา เพราะว่าในปัจจุบันนี้..
พื้นที่ปลูกก็มีจำกัดมากขึ่นไปเรื่อยๆ
จำนวนเกษตรกรที่ปลูกก็มีน้อยลง
เราคงต้องเน้นเรื่องของการ "เพิ่มผลผลิต/ไร่” ให้สูงขึ้น และ “เพิ่มคุณภาพ" เพื่อลดเรโช (Ratio) ให้แคบลง และตั้งราคารับชื้อผลผลิตใบยาสดให้สัมพันธ์กัน
มากที่สุด เพื่อทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้นเป็นลำดับนั่นเอง

ดังนั้น..เราคงต้องหา
"แนวทาง” ที่เหมาะสม
และ..ตัวช่วย" ที่ใช่ต่อไป
เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ นั่นคือ
“เพิ่มคุณภาพ” และ “ลดความเสียหาย”
ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ “อัตราแปรสภาพ” (Ratio) ให้แคบลงได้มากที่สุด
เพื่อให้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด
และ..เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้มากที่สุด

หมายเหตุ :
แนวคิดเกี่ยวกับ อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่กล่าวมานี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางกับพืชอื่นๆ ที่ต้องมีการแปรรูปจาก "ผลผลิตสด" ไปเป็น "ผลผลิตแห้ง" ได้ทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นยางพารา มันสำปะหลัง ลำไย พริก, หอม กระเทียม ฯลฯ เป็นต้น เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพสูงและต้นทุนต่ำ และสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้
และเป็นที่ต้องการของตลาด

"โลกเปลี่ยน พืชต้องปรับ"
"โลกเปลี่ยน เกษตรต้องปรับ"





สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ

https://lin.ee/nTqrAvO


ยางพาราเปลือกแห้ง เปลือกแตก

อาการเปลือกแห้งเปลือกแตกของต้นยางพารา


Cr ภาพ : Somkiat Saosiri

สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่ง
ในหลายๆ สาเหตุ ซึ่งมีผลต่อ
อาการเปลือกแตกของต้นยางพารา
ซึ่งน่าจะมาจากการทำงานที่ผิดปกติทาง Physiological (สรีรวิทยา) ของต้นยาง
ในส่วนของ Water Circulation (การไหลเวียนของระบบหมุนเวียนน้ำและสารอาหารในท่อลำเลียงของพืช) เกิดมีปัญหา ทำให้การหมุนเวียนน้ำและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อของเปลือกยางไม่สะดวกและสมบูรณ์เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งและแตกออกได้



Cr ภาพ : Somkiat Saosiri

บทบาทและหน้าที่
หนึ่งในหลายๆหน้าที่ของกรดอินทรีย์ในกลุ่ม "ไฮดร๊อกซี่ แอซิด" (Hydroxy acid group)
ที่มีอยู่ใน "อีเรเซอร์-1" (Eraser-1) คือ..จะทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ สร้างโปรตีนบางตัวและสารสำคัญต่างๆบางอย่างออกมาเพื่อสมานแผลจากการกรีด และป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เข้าทำลายต้นยาง ตลอดจนช่วยสร้างหน้ายางใหม่ขึ้นมาทดแทนอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์

กลไกการป้องกันตนเองของต้นยางพารา
ด้วยกรดอินทรีย์สังเคราะห์ Hydroxy acid group
- กระตุ้นการสมานแผลจากการกรีด โดยกระตุ้นการสร้างและสะสม lignin เพื่อเสริมความแข็งแรงที่ผนังเซลล์
- กระตุ้นการสร้าง phenolics ,phytoalexin , PR-proteins เพื่อช่วยป้องกัน เชื้อโรคแทรกซ้อนจากบาดแผลที่กรีด
- กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและสารอาหาร (water circulation ) ในระบบท่อลำเลียงดีขึ้นและมากขึ้น
- เพิ่มการแบ่งเซลล์ (Cell Division) ของเยื่อเจริญ (Cell Cambium) สร้างเป็นหน้ายางใหม่ได้เร็วขึ้น และรักษาสมดุลของเซลล์ ทำให้การแบ่งเซลล์สมบูรณ์ไม่ผิดรูปร่าง
- ฟื้นฟูสภาพและการทำหน้าที่ต่างๆของเซลล์ให้กลับมาเป็นปกติเสมือนเซลล์ใหม่ (revitalize)

http://paccapon.blogspot.com/2015/02/hydroxy-acid.html (Hydroxy acid และ Malate)





สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)

หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ
https://lin.ee/nTqrAvO