FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นาข้าว กับการใช้ ซิลิคอน

ข้าว..ราคาไม่ดี 
มาปลูกข้าว.."สุขภาพดี" 
ไม่มีสารพิษ ชีวิตดี๊ดี 
กันดีกว่าไหม ?

โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกัน



• แตกกอดี 
• กออวบใหญ่
• ใบเขียว แข็งตั้ง
• ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
• เพลี้ยไม่กวน หนอนไม่กล้า
• โรคไม่ยุ่งเกี่ยว
• รวงเยอะ รวงใหญ่ 
• เมล็ดหนัก เมล็ดเต็ม



ซาร์คอน : (ออร์โธ่ซิลิซิค แอซิค + SA) 

ซิลิคอน..กับการเจริญเติบโตของพืช
• แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช แต่ได้มีการพิสูจน์ในเชิงวิชาการแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตดังนี้จากการวิจัย เราจะพบว่า การเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ จะมีการขนย้ายซิลิคอนออกจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดูการเพาะปลูก แม้ว่าในดินเองจะมีซิลิคอนในปริมาณสูง แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณซิลิคอนในดินเปลี่ยนรูป มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จากงานวิจัยเราจะพบว่า กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
.
1. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หัก ล้มง่าย ผนังเซลล์ที่แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น

2. ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย เมื่อได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะทำให้โครงสร้างใบ แข็งแรง ใบจะตั้งขึ้น ทำให้รับแสงแดดได้เต็มที่ ขณะเดียวกันสารละลายกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนที่ฉีดพ่น เมื่อแห้งจะเคลือบใบพืชไว้ ทำให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าทำลายใบพืชได้

3. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้น หลังจากฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน พืชจะสร้างรากใหม่ และเสริมสร้างระบบรากให้ซับซ้อนขึ้น

4. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน ที่แทรกอยู่ในโครงสร้างใบ จะทำให้แสงผ่านใบได้น้อยลง หรือใบพืชดักจับแสงได้มากขึ้น ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นใบมีสีเขียวขึ้น

5. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะมีองค์ประกอบของโปแตสเซียมไอออนซึ่งกระตุ้นการลำเลียงอาหารภายในต้นพืช การสังเคราะห์แสงที่ดี ลำเลียงอาหารดีและระบบรากที่ดี จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

6. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน สามารถดูดซับพิษของโลหะในดิน เช่นโซเดียม อลูมิเนียม แมงกานีส ฯลฯ ได้

7. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะเคลือบใบ ทำให้พืชคายน้ำน้อยลงทำให้พืชสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้นานขึ้น และมากกว่าพืชปกติ


.
• เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง


• ซาร์คอน : มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก (Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์ (polymer) ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง
กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น

• กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิค สามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช


• การใช้กรดออร์โธ่ซิลิคอน ในนาข้าว
ความเป็นมาและความสำคัญของซิลิคอน ในวัฏจักรของข้าว การใช้และประโยชน์ของซิลิคอน
ซิลิคอน คือ ซิลิคอน (Si) เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากออกซิเจน เราจึงพบซิลิคอนในพืชเกือบทุกชนิดรวมทั้งในดินเองก็มีซิลิคอนเป็นองค์ประกอบหลัก และนี้คือความสำคัญของซิลิคอนในวัฏจักรของข้าว

• การนำซิลิคอนไปใช้ของพืช จะต้องถูกดูดซึมทางรากและใบ โดยซิลิคอนจะละลายอยู่ในน้ำ และถูกดูดซึมไปกับน้ำในระบบการหาอาหารของพืช แม้ว่าซิลิคอนจะพบมากในดิน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นซิลิคอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ รูปแบบของซิลิคอนที่ไม่ละลายน้ำ และพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ ทราย กระจก แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ แร่หินบางชนิด การเปลี่ยนซิลิคอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ ให้สามารถละลายน้ำได้ โดยกลไกของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสลายตัว หรือ การย่อยของจุลินทรีย์จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นการปลูกพืชซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ซิลิคอนขาดแคลนได้


• ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนจำนวนมาก
ในแกลบมีปริมาณซิลิคอนสะสมอยู่มาก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนปริมาณมาก เพื่อให้เข้าใจถึงปริมาณของซิลิคอนในข้าว ถ้าเกษตรกรเคยสังเกต การเผาแกลบจะพบว่ามีขี้เถ้าเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อเทียบกับเถ้าของการเผาถ่าน หรือกิ่งไม้ เถ้าที่เหลืออยู่นี้แหละคือซิลิคอน
เคยมีการคำนวณเรื่องปริมาณซิลิคอนในนาข้าว พบว่าในข้าวเปลือก 1 ตัน มีองค์ประกอบที่เป็นแกลบอยู่ประมาณ 250 กิโลกรัม ในจำนวนนี้ จะเป็นปริมาณซิลิคอนมากกว่า 40 กิโลกรัม ถ้าผลผลิตต่อไร่ประมาณ 600 กิโลกรัมต่อไร่ จะพบว่าทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยว ซิลิคอนถูกขนย้ายออกจากพื้นนา มากกว่า 24 กิโลกรัม/ครั้ง ถ้านับตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ปริมาณซิลิคอนที่ถูกขนย้ายออกมา จะมีปริมาณมหาศาล แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลัก แต่ก็เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในสร้างโครงสร้างและลำเลียงอาหารของพืช การขาดแคลนซิลิคอนจะทำให้ข้าวอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง และการให้ปริมาณซิลิคอนที่มากพอจะทำให้ข้าวแข็งแรงเร็วขึ้นสอดคล้องกับปริมาณโรคและแมลง ที่มีการระบาดรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน และการให้ซิลิคอนในปริมาณที่เหมาะสมจะกระตุ้นการสังเคราะห์แสงของข้าว ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น



ประโยชน์ของซิลิคอน
ได้มีการทำวิจัยแล้ว จากหลายสถาบัน ว่าซิลิคอนมีประโยชน์ในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะกล่าวโดยกว้าง ๆ สำหรับพืชทั่วไป และจะได้ชี้ให้เห็น

•คุณประโยชน์เมื่อใช้ในนาข้าวต่อไป
1. ซิลิคอน ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัส ในดินให้พืชสามารถใช้งานได้ ความจริงฟอสฟอรัสในดินมีปริมาณมาก แต่ภาวะดินเปรี้ยว และการใช้สารเคมีเชิงซ้อนปริมาณมาก ทำให้ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้การให้ซิลิคอนกับพืช จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในดินอย่างคุ้มค่า ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลัก เกี่ยวข้องกับระบบรากและยอดอ่อน

2. ซิลิคอนที่พืชได้รับ จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ทำให้โครงสร้างต่าง ๆ ของพืชแข็งแรง แมลงเจาะน้ำเลี้ยงได้ยากลาบาก โรคต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น

3. โครงสร้างที่แข็งแรง ทำให้ใบตั้งและรับแสงได้ดีขึ้น ใบกว้างขึ้น และแสงผ่านใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์แสงของพืชจะเพิ่มขึ้น

4. ซิลิคอน ช่วยดูดซับพิษจากโลหะ เช่น อลูมิเนียม สนิมเหล็ก โซเดียม มังกานีส

5. กรดออร์โธ่ ซิลิคอน ที่ฉีดพ่น จะเคลือบใบพืช ทาให้พืชคายน้ำน้อยลงนั่นคือ พืชจะทนต่อสภาพแห้งแล้งจากภาวะที่อากาศร้อนจัดได้ดีกว่าพืชปกติดังที่ได้ทราบข้างต้นแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะข้าว ในเกษตรกรรมของประเทศที่เจริญแล้วเช่น ญี่ปุ่น มีการใช้ซิลิคอน เพื่อเพิ่มผลผลิตในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง แต่ซิลิคอนเหล่านั้นส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนเหลือในอุตสาหกรรม ซึ่งการควบคุมเรื่องสารตกค้าง หรือสิ่งเจือปนเป็นไปได้ยากลำบาก



ซิลิคอนในนาข้าว
ข้าวเป็นพืชที่ต้องการปริมาณซิลิคอนมาก (มากกว่า 24 กิโลกรัม/ไร่/รอบเพาะปลูก) โดยกลไกของธรรมชาติ ซิลิคอนจะกลับสู่วัฏจักรของข้าวโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทั้งนี้ต้องมีการนำแกลบกลับเข้าไปยังพื้นนาด้วย กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน เป็นสารละลายซิลิคอน จึงปราศจากสารตกค้าง และด้วยกรรมวิธีสกัดอันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของซาร์คอน ทำให้กรดออร์โธ่ซิลิคอนที่ได้ บริสุทธิ์และถูกดูดซึมโดยข้าวได้ทันทีทั้งทางรากและใบ ทำให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อข้าวได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นดังนี้
.
1. ใบข้าวจะเขียวตั้งขึ้น และกว้างขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นหลังฉีดพ่น กรดออร์โธ่ซิลิคอนแล้ว เพียง 7 วันเมื่อกรดออร์โธ่ซิลิคอนเริ่มสะลมอยู่ในใบ และลำต้นข้าวมากพอจะทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้น ใบข้าวตั้งและทึบแสงขึ้น ทำให้รับแสงได้เต็มที่ ใบที่กว้างขึ้น ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น

2. ในพื้นนาที่มีข้าวต้นเล็กต้นใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากระดับน้ำที่ไม่เท่ากัน เมื่อข้าวใบตก จะเกิดการบังแสงกันเองของต้นข้าว ข้าวต้นเล็กจะยิ่งเจริญเติบโตช้า เนื่องจากแสงแดดจะออกรวง เมื่อข้าวส่วนใหญ่ถูกเก็บเกี่ยวไปแล้ว เมื่อข้าวใบตั้งจะทำให้ต้นข้าวได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ทำให้ข้าวออกรวงพร้อม ๆ กันส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

3. ผนังเซลล์ที่หนาขึ้น เพราะมีซิลิคอนสะสมอยู่ นอกจากจะทำให้ใบตั้งแล้ว ยังทำให้ใบและลำต้นเหนียว ทำให้แมลงดูดซึมน้ำเลี้ยงได้ยากขึ้น การฝังสปอร์ของเชื้อราก็ทำได้ยากเช่นกัน และยังมีรายงานว่าต้นอ่อนของข้าวที่ได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอน จะมีความทนทานต่อหอยเชอรี่ได้มากขึ้นด้วย

4. เมื่อดินได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาในพื้นนาที่เสื่อมโทรมมาก ๆ จากสภาพดินเปรี้ยว จะเห็นว่ามีการเกิดรากใหม่และแตกกอ หลังจากฉีดพ่นสารเพียง 5 วัน

5. การให้กรดออร์โธ่ซิลิคอน ในปริมาณที่มากพอจะทำใหปุ๋ย ละลายช้าลง เป็นการใช้ปุ๋ยอย่างเต็มประสิทธิภาพ

6. กรดออร์โธ่ซิลิคอน ที่ฉีดพ่น บางส่วนจะเคลือบใบข้าว ทาให้พืชคายน้ำลดลง ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัด ต้นข้าวจะยังคงดูสดชื่น เมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่ได้ฉีด

7. การสังเคราะห์แสงดี ระบบรากยาว มีรากสีขาวมาก จะทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตกว่าแปลงที่ไม่ได้ฉีดอย่างเห็นได้ชัด การฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนในระยะก่อนตั้งท้องจะกระตุ้นให้ข้าวออกรวงพร้อม ๆ กัน จากการทดลองจะพบว่าแปลงที่มีการใช้กรดออร์โธ่ซิลิคอน อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ข้าวยังเล็กข้าวจะออกรวงเร็วกว่าแปลงปกติ 5-10 วัน

8. การทำนาที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ๆ ปริมาณไนโตรเจนที่ใส่ในนาข้าวต้องมีปริมาณที่มากพอ แต่โดยกลไกของธรรมชาติ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณสูง ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดีแต่ละต้นจะอวบน้ำ ผนังเซลล์บาง ทำให้โรคและแมลงเข้าทำลายได้โดยง่ายลำต้นอ่อน หักล้มง่าย การให้กรดออร์โธ่ซิลิคอนจึงเป็นคำตอบของการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้ซิลิคอนสะสมในตัวข้าวมากพอ ทำให้การให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนปริมาณสูง ๆ โดยไม่ทำอันตรายต่อต้นข้าว เกษตรกรจึงควรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนในระยะก่อนตั้งท้องและหางปลาทู เพื่อให้ข้าวออกเต็มรวงเมล็ดสมบูรณ์

9. ดังได้กล่าวมาข้างต้น เมื่อกรดออร์โธ่ซิลิคอนแห้ง จะทาตัวเป็นแผ่นฟิมล์บาง ๆ ในระยะน้ำนมเมื่อฉีดกรดออร์โธ่ซิลิคอน แผ่นฟิล์มดังกล่าวจะเคลือบให้สูญเสียน้ำน้อยลง เมล็ดจึงแกร่ง ได้ น้ำหนักดี
.

http://paccapon.blogspot.com/2016/11/blog-post.html 
ซาร์คอน Silicon is the Secret PPT
.
http://paccapon.blogspot.com/2016/02/salicylic-acid-sa.html 
งานวิจัยเกี่ยวกับ Salicylic acid; SA




สอบถามปรึกษาก่อนได้
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :    @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ  https://lin.ee/nTqrAvO


วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ราคายางพารา

• ราคาน้ำยางไม่ดี   แต่..น้ำยางไหลดี ยังมีเงินเหลือ
• ราคาน้ำยางไม่ดี   น้ำยางไหลไม่ดี อันนี้..แย่สุดๆ 
• ราคาน้ำยางดี น้ำยางไหลดี อันนี้..สุดยอดเลย
• ราคาน้ำยางดี แต่..น้ำยางกลับไม่มี อันนี้..เซ็ง
จุงเบย !!

ต้นยางพารา (Hevea brasiliensis) 
จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกผลผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก แนวโน้มความต้องการผลผลิตยางธรรมชาติยังมีสูงขึ้นไปในอนาคต ตราบใดที่ยังมีอุตสาหกรรมยานยนต์ อนาคตของการทำสวนยางของไทยก็ยังจะยังจะอนาคต การทำให้ผลผลิตน้ำยางพาราต่อไร่สูงขึ้น ชาวสวนยางพาราก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก (แม้ว่าเราจะกำหนดราคายางพาราเองไม่ได้ก็ตามที)

• น้ำยางพาราเป็นผลผลิตแรกที่ชาวสวนได้ ก่อนนำไปแปรรูปเป็นยางแผ่นหรือยางแผ่นรมควัน หรือยางแท่งต่อไป การเพิ่มผลผลิตน้ำยางจึงเป็นที่ต้องการของชาวสวนเป็นอย่างมาก
• การใช้สาร "เอทีฟอน" (Ethephon) สามารถเพิ่มน้ำยางได้ แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องต้นยางโทรม หน้ายางเสีย น้ำยางใส ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น แต่ชาวสวนยางที่ต้องการเร่งน้ำยางก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพราะไม่มีสารอื่นใดๆที่ดีกว่า นอกจากการใช้ JA ในการเพิ่มน้ำยาง
.
• JA เป็นฮอร์โมนพืชในยุคใหม่ จากการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้โดยการเพิ่มท่อสร้างน้ำยาง (Laticifer) ซึ่งเป็นท่อที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ของแคมเบียม (Cambium Cell) ในต้นยางซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ เพราะเป็นการสร้างโครงสร้างของต้นยางให้สมบูรณ์มากขึ้น กว่าการใช้เอทีฟอน (Ethephon) เร่ง เพราะจะไม่ช่วยในการสร้างท่อน้ำยางเพิ่ม ท่อน้ำยางเดิมมักจะชำรุดหรือโทรมลงอย่างรวดเร็ว และทำให้น้ำยางไม่มีคุณภาพและน้อยลงเรื่อยๆ


• โดยปกติการกรีดยาง เป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างท่อน้ำยางทดแทนขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีการค้นพบว่าการกรีดยางทำให้พืชสังเคราะห์ JA ขึ้น ซึ่งเป็นขบวนการป้องกันตนเองของพืช JA ที่เกิดขึ้นจะมีผลไปกระตุ้นให้พืชป้องกันตนเอง (Plant Defenses) โดยไปเร่งการแบ่งตัวของ "เซลล์
แคมเบียม" (Cambium Cell) ให้มีลักษณะเฉพาะสำหรับสร้างน้ำยางซึ่งเรียกว่า "เซลล์ท่อน้ำยาง" (Laticifer) ที่ท่อน้ำยางนี้เองจะทำหน้าที่ผลิตน้ำยางเอาไว้ป้องกันตนเอง ซึ่งในน้ำยางจะมีสารต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียอยู่ด้วย


• การให้ JA จากภายนอกเข้าไปในต้นยาง จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้มีการสร้าง "ท่อน้ำยาง" (Laticifer) เพิ่มขึ้นโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ สามารถเพิ่มได้มากขึ้นกว่าปกติที่ JA จะเกิดขึ้นเฉพาะที่จะเกิดเองหลังจากการกรีดยาง เมื่อมี "ท่อน้ำยาง" มากขึ้นก็หมายถึงการมี "ท่อผลิตและเก็บน้ำยาง" มากขึ้น ทำให้การกรีดยางแต่ละครั้งจะมีน้ำยางไหลมากขึ้นกว่าปกติ


 การผลิตน้ำยางพาราที่มีคุณภาพ

• น้ำยางพาราเป็นสารจำพวก Polyisoprene ในกลุ่ม Isoprenoid Compounds ที่มีลักษณะต่อกันเป็นสายยาว ๆ ความสั้นยาวของสายเหล่านี้จะแสดงถึงคุณภาพของน้ำยางที่ได้ แน่นอนการผลิตน้ำยางในต้นยางต้องมีวัตถุดิบเริ่มต้น ซึ่งได้แก่ น้ำ อากาศ ปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมน และเอ็นไซม์ ที่เกี่ยวข้องมากมาย


• ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางในต้นยางมีขั้นตอนมากมายและมีความซับซ้อนมาก เริ่มจากสารตั้งต้น (Precursors) หลายชนิด จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีจนได้ Acetyl-Coenzyme A ก่อนที่จะผ่าน Isoprenoid pathway ในต้นยางผลิตเป็น IPP (Isopentenyl pyrophosphate) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสายโซ่ที่ต่อกันในน้ำยาง
ดังนั้นการให้สารตั้งต้นและสารสำคัญ ที่เกี่ยวข้องในขบวนการสังเคราะห์ยางตามธรรมชาติจึงมีความจำเป็นในการผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ


• นั่นคือ..สิ่งที่ยางพาราจะขาดเสียไม่ได้ ซึ่งการใช้ “พาร์ทเวย์” (PATHWAY) ซึ่งมีสารตั้งต้น (Precusor) และ “ลาเท็กซ์” (LATEK) ซึ่งมีสาร JA ซึ่งมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์ยางตามธรรมชาติให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ

สั่งคู่ขวัญ คลิ๊กที่ภาพนี้ได้เลย


ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ 
น้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)
โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene


การใช้  "สารตั้งต้น" (Precursor) ในขบวนการสังเคราะห์น้ำยางธรรมชาติ (Latex Biosynthesis) "เปลี่ยนน้ำตาล เป็นน้ำยาง" ตามกระบวนการทางชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช อาทิ Malate, Glutamate ร่วมกับกรดอินทรีย์ในกลุ่ม Hydroxy acid บางชนิดในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลผลิตและคุณภาพยางพาราไทย









ตอบข้อสงสัยยางพารา
http://paccapon.blogspot.com/2017/01/blog-post.html?m=1 
.
ฝากติดตามเพจดีๆเกี่ยวกับยางพารา
www.facebook.com/PathwayEraser1
.
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตยางพารา
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_24.html?m=0
.
สารานุกรมยางพาราไทย
https://www.facebook.com/pg/PathwayEraser1/photos/?tab=album&album_id=1209089865873831
.
หรือเว็บไซต์
www.ยางตายนึ่ง.com
www.organellelife.com 


สั่งคู่ขวัญ คลิ๊กที่ภาพนี้ได้เลย

.
สอบถามปรึกษาก่อนได้
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :    @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ https://lin.ee/nTqrAvO


วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

แนวทางในการสร้างผลผลิตให้แก่พืช

มารู้จัก..แนวทางบางอย่าง
ในการสร้างผลผลิตให้แก่พืช
.
ในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด (Abiotic Stress) จากปัจจัยที่มีผลข้างต้น พาร์ทเวย์ (Pathway) สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือสารมาเลท (Malate) แก่พืชได้โดยตรง เพื่อชดเชยการขาดสารมาเลท (Malate) จากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาของพืช
.
การให้สารเลียนแบบที่สำคัญบางตัว อาทิ Monosaccharides, Precursor ที่เป็นสารจากการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ของพืช ให้แก่พืช สำหรับการสร้างพลังงานให้ล้น เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มการติดดอกออกผล เพิ่มคุณภาพผลผลิตทั้งรสชาติดีและสีสันงาม จึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง
.
พืชสังเคราะห์แสงได้กลูโคส (C6H12O6) พืชก็จะนำใช้ไปใช้ในกิจกรรมหลักๆของพืชก่อน อาทิ
- การนำไปใช้เป็นพลังงานในกิจกรรมดำรงชีพ
- การนำไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และความเสียหายอื่นๆ
- เมื่อเหลือแล้วจึงจะนำไปสร้างการเจริญเติบโต
- และสร้างการติดดอก ออกผลของพืชเอง
.
การที่พืชสังเคราะห์แสงได้ดีและได้ "น้ำตาลกลูโคส" มากๆ ก็จะสร้างการเจริญเติบโตและติดดอกออกผลได้มาก ผลผลิตก็จะดีและมีคุณภาพสูงมากขึ้น



ดังนั้น..
.
- น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ที่พืชสังเคราะห์ได้จึงนับว่าเป็นความสำคัญมากต่อการสร้าง
ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
- ถ้าพืชสังเคราะห์กลูโคสได้มาก ก็ย่อมสร้างเนื้อเยื่อส่วนสำคัญและจำเป็นต่างๆได้เป็นจำนวนมาก
- เพราะพืชสามารถนำน้ำตาลกลูโคสนี้ ไปสังเคราะห์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในพืชเอง
- เริ่มตั้งแต่พลังงานชีวเคมีต่างๆในการดำรงชีวิต
- การสังเคราะห์เป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) ต่างๆ โดยกระบวนการของเอ็นไซม์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้
เปลือกไม้ ใบ ยอดอ่อน ตาดอก ผล ล้วนแล้วเกิดมาจากการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสทั้งสิ้น

- เมื่อใบพืชมีความสมบูรณ์ดีขึ้น
- ก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น
- เพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้นและเร็วขึ้นและมีส่วนเหลือไปสร้างความเจริญเติบโตให้ต้น
และเหลือไปพัฒนาการสร้างผลผลิต ติดดอกออกผลได้มากขึ้น
- เมื่อได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้น
- พืชก็สามารถสร้างยอดใหม่ได้เร็วขึ้น
- ยอดอวบอ้วนแข็งแรงขึ้น
- แตกใบอ่อนใหม่ได้เร็วขึ้น
- ใบใหญ่เร็วขึ้นและแก่เร็วขึ้น ทำให้รอบของใบแก่สั้นลง การออกดอกก็ได้เร็วขึ้น
- การช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์แสง มีประสิทธิภาพ ย่อมสร้างน้ำตาลกลูโคส
(C6H12O6) ได้เร็ว สามารถช่วยให้การฟื้นฟูต้นและใบหลังการเก็บผลผลิตได้เร็วด้วยยิ่งขึ้นไป
พืชย่อมใช้อาหารสะสมที่เป็นน้ำตาลสะสมในต้นมาเติมให้ส่วนที่เสียไปครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สรุปว่า :
การสังเคราะห์แสงได้ดี การสังเคราะห์น้ำตาลย่อมได้มาก มีน้ำตาลสะสมไว้มาก ย่อมทำให้มี "พลังงานสำรอง" ไว้มาก ทำให้การออกดอกของพืชได้ง่ายและดี ช่อดอกยาวอวบอ้วน ช่อใหญ่ ดอกสมบูรณ์ เกสรแข็งแรงและรังไข่อวบอ้วนสมบูรณ์แข็งแรง ติดดอกง่าย ดอกดก ให้ผลดก ผลใหญ่ เนื้อหนา เนื้อแน่น รสชาติดี มีความหวานสูง (ปัจจัยหลักของการสร้างตาดอก คือการสะสมอาหาร ถ้าการสะสมอาหารมีไว้น้อย ต่อให้มีสารวิเศษใดๆเข้ามาช่วย เข้ามาราดก็ไม่สามารถสร้างตาดอกได้ดี ถ้าหากมีการสะสมอาหารไม่เพียงพอมาก่อน ต้องเน้นการสร้าง "พลังงานให้ล้น" ไว้ก่อน เป็นดีที่สุด ถือว่าสุดยอดสำหรับพืช)







ORG-1 & ORG-2

มีอะไรที่สำคัญๆให้พืช
.
• Amino acid
• Carbohydrate as Monosaccharides
• Malate Compound
• Glutamate Compound
• Fluvic acid
• Calcium-Boron (CaB) Chelate
• Magnesium chelate
• Potassium (K)
• Nitrogen as N-NO3 form
.
ORG-1 : มีสาร Malate Compound ซึ่งเป็นสาร Precursor (สารตั้งต้น) ที่สำคัญในกระบวนการ Metabolism และมี โปรตีนทางด่วน "ในรูป Amino acid Chelate หลายชนิดที่สำคัญที่พืชต้องการ , มี Glutamate Compound ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการออกดอกของพืช และยังมีสารสำคัญอีกหลายชนิดที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Magnesium Chelate ( Mg), Calcium-Boron Chelate (CaB) , Nitrogen as NO3 และธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ Potassium (K) เป็นต้น ใช้ได้ดีกับทุกช่วงการเจริญเติบโตของพืช เหมาะสำหรับช่วงสะสมอาหาร เร่งใบแก่ เพิ่มคาร์โบไฮเดรต(แป้งและน้ำตาล) ให้พร้อมเต็มที่เพื่อการออกออก ช่วยเพิ่มอาหารยามพืชอ่อนแอหรือสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารเองได้ไม่เต็มที่ในช่วงแล้งจัด หนาวจัด หรือช่วงอากาศแปรปรวน ฟ้าปิดแสงแดดน้อย ที่สำคัญช่วยเพิ่มอาหารยามที่พืชต้องการในระยะแทงช่อดอกให้ช่อดอกแข็งแรง แทงช่อดอกออกมาได้ดี ช่อใหญ่สมบูรณ์ เพิ่มแป้งน้ำตาลเมื่อพืชต้องการขยายขนาดผลเพิ่มน้ำหนัก ช่วยเร่งความหวาน เพิ่มขนาด และสีผลเข้มสวย ทำให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง
.
ORG-2 : พลังงานทางด่วนพิเศษ สำหรับพืชและมีคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharides) ที่เป็นพลังงานชั้นสูงในรูป "น้ำตาลทางลัด" ที่พืชต้องการ เป็นชนิดโมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อการสะสมอาหารให้แก่พืชแบบรวดเร็วทันที และยังมี Fulvic acid ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายและขนส่ง (Transporter) ประจุของธาตุอาหารต่างๆไปยังทุกส่วนของพืช


4 ช่วงที่สำคัญ สำหรับพืชที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก
1. ช่วงแตกใบอ่อน
2. ช่วงการออกดอก
3. ช่วงการติดผล
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ อาทิ เร่งความหวาน เร่งสี
ช่วยเพิ่มพลังงานให้พืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ก่อนพืชออกดอกต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก พืชเองจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน มี "อะมิโน แอซิค" ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที ช่วยเพิ่มการติดผล ช่วยทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี เร่งหวาน เร่งสี
.
วิธีการใช้ อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
1. ช่วงฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อน : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อการแตกใบอ่อน 1 ชุด
2. ช่วงก่อนการออกดอก (ช่วงสะสมอาหาร) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อสะสมอาหารให้มากพอต่อการออกดอก
3. ช่วงการติดผลอ่อน : ฉีดพ่น2-3 ครั้ง เพื่อเร่งการพัฒนาของผลอ่อนและลดการหลุดร่วงของผลอ่อน และฉีดพ่นต่อไปอีก 2-3 ครั้ง ในช่วงที่ต้องการขยายผลและเพิ่มน้ำหนักอีกทั้งยังป้องกันผลแตกและผลร่วง เนื่องจากขาดอาหารและขนาดพลังงาน
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ (เร่งความหวาน) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยให้ผลโตอย่างรวดเร็วและช่วยเพิ่มการพัฒนาผลให้มีคุณภาพ
.
ORG-1 และ ORG-2 มีลักษณะเป็นโมเลกุลที่พืชดูดซึมได้ง่าย พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที สามารถใช้ได้ดีทั้งแบบฉีดพ่นทางใบ ผสมน้ำราดดินรากสามารถดูดซึมได้ หรือให้ไปกับระบบน้ำ พืชสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางใบและทางราก


#คุณประโยชน์ : 
-ช่วยการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืชของพืช ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว หรือแก้อาการต้นโทรม
-ช่วยให้พืชแตกใบใหม่ได้พร้อมๆกันทั้งลำต้น ยอด และใบที่สมบูรณ์
-ช่วยสะสมอาหาร ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลให้พืช พืชมีใบหนา ใบใหญ่เขียวเข้มสมบูรณ์
-ช่วยเติมสารอาหารแบบเร่งด่วนยามที่พืชอ่อนแอ เมื่อสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่
-ช่วยเปิดตาดอก เร่งแทงช่อดอก ให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
-ช่วยเร่งดอก ออกดอกดก ช่วยให้ช่อดอกยืดยาว ช่อดอกอวบอ้วนสมบูรณ์
-ช่วยผสมเกสร ให้ติดผลดี ติดผลดก ช่วยให้ขั้วเหนียว ลดการหลุดร่วง
-ติดผลดก ไม่หลุดร่วงง่าย ขยายขนาดผล เร่งผลโต อย่างสม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเปลือกให้หนา ยืดหยุ่นดี ไม่มีเปลือกแตกง่าย
-ช่วยให้พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน แห้งแล้ง
-ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง
.
อัตราใช้ 20 ซีซี + 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองให้ทั่วทั้งต้น
.
สำหรับ ไม้ผล ผลไม้และพืชออกดอกติดผล ที่มีการออกดอก ออกดอกดี ดอกดก เราจะมีแค่หลักๆ 2 ตัวนี้นะคะ ที่เราเน้นคือ ORG-1, ORG-2 เพราะเราจะเน้นการสะสมพลังงานให้มากพอจนล้นออกมา เพราะว่าพืชต้องการและจำเป็น เพื่อพืชเองก็จะออกดอกได้ดี
.
.
http://www.paccapon.blogspot.com/2015/…/1-org-1-2-org-2.html ORG-1+ORG-2
http://paccapon.blogspot.com/2016/08/c6h12o6.html การสังเคราะห์กลูโคส

======

กดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ
https://lin.ee/nTqrAvO




คนก็ยัง.."เครียด"
แล้วจะไม่ให้ "พืชเครียด" ได้ อย่างไรกัน?

คนเครียด
โรคร้ายต่างๆ ก็ตามมาทั้ง
- ความหวาน
- ความดัน
- นอนไม่หลับ
- เบื่ออาหาร
- ทานอะไรไม่ลง
- ร่างกายซูบผอม ตรอมใจ

แต่..คนยังดี
ที่หาวิธีช่วยเหลือตัวเองได้

แล้ว..ถ้าพืชเครียดหล่ะ !!
จะทำอย่างไรกันดี
มาดูสาเหตุและวิธีแก้ไขกันหน่อยดีไหม?

ความเครียดของพืช: 
.
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และพืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
.
"ความเครียด" เหล่านี้อาจส่งผลให้การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณแอมโนเนีย (NH4) สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น "อะมิโน แอซิด" เข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
.
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ "อะมิโน แอซิด" ที่ให้กับพืช พืชจะได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลงได้ และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วยเช่นกัน
.


ORG-1 & ORG-2 :
.
มีอะไรที่สำคัญๆให้พืช
.
• Amino acid
• Carbohydrate as Monosaccharides
• Malate Compound
• Glutamate Compound
• Fluvic acid
• Calcium-Boron (CaB) Chelate
• Magnesium chelate
• Potassium (K)
• Nitrogen as N-NO3 form
.
ORG-1 : มีสาร Malate Compound ซึ่งเป็นสาร Precursor (สารตั้งต้น) ที่สำคัญในกระบวนการ Metabolism และมี โปรตีนทางด่วน "ในรูป Amino acid Chelate หลายชนิดที่สำคัญที่พืชต้องการ , มี Glutamate Compound ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการออกดอกของพืช และยังมีสารสำคัญอีกหลายชนิดที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Magnesium Chelate ( Mg), Calcium-Boron Chelate (CaB) , Nitrogen as NO3 และธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ Potassium (K) เป็นต้น ใช้ได้ดีกับทุกช่วงการเจริญเติบโตของพืช เหมาะสำหรับช่วงสะสมอาหาร เร่งใบแก่ เพิ่มคาร์โบไฮเดรต(แป้งและน้ำตาล) ให้พร้อมเต็มที่เพื่อการออกออก ช่วยเพิ่มอาหารยามพืชอ่อนแอหรือสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารเองได้ไม่เต็มที่ในช่วงแล้งจัด หนาวจัด หรือช่วงอากาศแปรปรวน ฟ้าปิดแสงแดดน้อย ที่สำคัญช่วยเพิ่มอาหารยามที่พืชต้องการในระยะแทงช่อดอกให้ช่อดอกแข็งแรง แทงช่อดอกออกมาได้ดี ช่อใหญ่สมบูรณ์ เพิ่มแป้งน้ำตาลเมื่อพืชต้องการขยายขนาดผลเพิ่มน้ำหนัก ช่วยเร่งความหวาน เพิ่มขนาด และสีผลเข้มสวย ทำให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง
.
ORG-2 : พลังงานทางด่วนพิเศษ สำหรับพืชและมีคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharides) ที่เป็นพลังงานชั้นสูงในรูป "น้ำตาลทางลัด" ที่พืชต้องการ เป็นชนิดโมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อการสะสมอาหารให้แก่พืชแบบรวดเร็วทันที และยังมี Fulvic acid ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายและขนส่ง (Transporter) ประจุของธาตุอาหารต่างๆไปยังทุกส่วนของพืช
.
4 ช่วงที่สำคัญ สำหรับพืชที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก
1. ช่วงแตกใบอ่อน
2. ช่วงการออกดอก
3. ช่วงการติดผล
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ อาทิ เร่งความหวาน เร่งสี
ช่วยเพิ่มพลังงานให้พืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ก่อนพืชออกดอกต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก พืชเองจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน มี
"อะมิโน แอซิค" ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที ช่วยเพิ่มการติดผล ช่วยทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี เร่งหวาน เร่งสี


วิธีการใช้ อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
1. ช่วงฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อน : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อการแตกใบอ่อน 1 ชุด
2. ช่วงก่อนการออกดอก (ช่วงสะสมอาหาร) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อสะสมอาหารให้มากพอต่อการออกดอก
3. ช่วงการติดผลอ่อน : ฉีดพ่น2-3 ครั้ง เพื่อเร่งการพัฒนาของผลอ่อนและลดการหลุดร่วงของผลอ่อน และฉีดพ่นต่อไปอีก 2-3 ครั้ง ในช่วงที่ต้องการขยายผลและเพิ่มน้ำหนักอีกทั้งยังป้องกันผลแตกและผลร่วง เนื่องจากขาดอาหารและขนาดพลังงาน
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ (เร่งความหวาน) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยให้ผลโตอย่างรวดเร็วและช่วยเพิ่มการพัฒนาผลให้มีคุณภาพ



ORG-1 และ ORG-2 มีลักษณะเป็นโมเลกุลที่พืชดูดซึมได้ง่าย พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที สามารถใช้ได้ดีทั้งแบบฉีดพ่นทางใบ ผสมน้ำราดดินรากสามารถดูดซึมได้ หรือให้ไปกับระบบน้ำ พืชสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางใบและทางราก
.
#คุณประโยชน์ :
-ช่วยการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืชของพืช ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว หรือแก้อาการต้นโทรม
-ช่วยให้พืชแตกใบใหม่ได้พร้อมๆกันทั้งลำต้น ยอด และใบที่สมบูรณ์
-ช่วยสะสมอาหาร ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลให้พืช พืชมีใบหนา ใบใหญ่เขียวเข้มสมบูรณ์
-ช่วยเติมสารอาหารแบบเร่งด่วนยามที่พืชอ่อนแอ เมื่อสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่
-ช่วยเปิดตาดอก เร่งแทงช่อดอก ให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
-ช่วยเร่งดอก ออกดอกดก ช่วยให้ช่อดอกยืดยาว ช่อดอกอวบอ้วนสมบูรณ์
-ช่วยผสมเกสร ให้ติดผลดี ติดผลดก ช่วยให้ขั้วเหนียว ลดการหลุดร่วง
-ติดผลดก ไม่หลุดร่วงง่าย ขยายขนาดผล เร่งผลโต อย่างสม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเปลือกให้หนา ยืดหยุ่นดี ไม่มีเปลือกแตกง่าย
-ช่วยให้พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน แห้งแล้ง
-ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง
.
อัตราใช้ 20 ซีซี + 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองให้ทั่วทั้งต้น
.
สำหรับ ไม้ผล ผลไม้และพืชออกดอกติดผล ที่มีการออกดอก ออกดอกดี ดอกดก เราจะมีแค่หลักๆ 2 ตัวนี้นะคะ ที่เราเน้นคือ ORG-1, ORG-2 เพราะเราจะเน้นการสะสมพลังงานให้มากพอจนล้นออกมา เพราะว่าพืชต้องการและจำเป็น เพื่อพืชเองก็จะออกดอกได้ดี


http://paccapon.blogspot.com/2015/08/blog-post_3.html    อะมิโน แอซิด
http://www.paccapon.blogspot.com/2015/…/1-org-1-2-org-2.html    ORG-1+ORG-2
http://paccapon.blogspot.com/2016/08/c6h12o6.html   การสังเคราะห์กลูโคส


พืชที่ขาดอะมิโนเอซิค จะไม่สามารถรับหรือดูดซึมอาหารไปใช้ได้ จะทำให้ต้นโทรมไปเรื่อยๆ ดังเช่นในกล้วยไม้ที่ ทิ้งใบไปเรื่อยๆ

• กรดอะมิโน ( Amino acid)
การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ จะต้องมีองค์ประกอบของอินทรียสารที่เรียกว่าโปรตีน (Proteins) ในสารโปรตีนนี้ ประกอบด้วย โมเลกุลของสารย่อยต่างๆ มาต่อเรียงกันเป็บลูกโซ่ และสารย่อยๆ เหล่านั้น เรียกว่า อะมิโน แอซิด หรือ กรดอะมิโน (Amino acids) กล่าวอีกนัยหนึ่ง กรดอะมิโน ก็คือ ต้นกำเนิด ของ สารโปรตีน นั่นเอง ดังนั้น กรดอะมิโน จึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและสร้างความแข็งแรงต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า กรดอะมิโน มีอยู่ 20 ชนิด และแต่ละชนิด มีคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกันไป ต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์

• กรดอะมิโน (Amono acid) กับ การเกษตร
พืชสามารถสร้างกรดอะมิโนขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ด้วยการใช้แร่ธาตุต่างๆที่ได้จากดิน จากน้ำ และ ที่มีอยู่ในอากาศ แต่ก็มักมีข้อจำกัดตามธรรมชาติที่พืชไม่สามารถสร้าง กรดอะมิโน ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ทำให้ในบางสภาวะ พืชขาดกรดอะมิโน จนทำให้พืชไม่สมบูรณ์ หรือ ออกดอก ออกผลได้ไม่มากหรือผลผลิตไม่สมบูรณ์ดีมีคุณภาพ ดังนั้น ด้วยความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ทางการเกษตร จึงได้มีการนำเอา กรดอะมิโน สำเร็จรูป มาใช้ในการเกษตร เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่ต้องผ่านขบวนการทางชีวเคมีที่พืชต้องสร้างขึ้นเอง เสมือนหนึ่งเป็นอาหารเสริมบำรุงพืช (Plant growth promoter) เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพที่สมบูรณ์

กรดอะมิโน (Amino acid)
มีคุณสมบัติในการทำหน้าที่ต่อต้นพืช ดังต่อไปนี้
• ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนให้กับต้นพืช
• ช่วยลดความเครียดของต้นพืช ที่เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อน น้ำมากเกินไป ขาดน้ำ
ความหนาวเย็น
• ช่วยในการสังเคราะห์แสงของต้นพืช
• ช่วยในการบังคับการ ปิด-เปิด ปากใบ ของพืช เพื่อลดการสูญเสียน้ำในต้นพืช
• ช่วยกระตุ้นการทำงานของ ฮอร์โมนพืช เช่น อ๊อกซิน (auxins) เอทิลีน (ethylene)
• ช่วยส่งเสริมการผสมละอองเกสรและการติดผล
• ช่วยทำให้ผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อพืชแข็งแรง ทำให้ผลไม้มีคุณภาพและสุกตามอายุ



• กรดอะมิโน สำหรับพืช :
พืชจะสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นขึ้นมาจากองค์ประกอบพื้นฐานซึ่งคือ คาร์บอน, ออกซิเจน, ไฮโดรเจน, และไนโตรเจน เริ่มแรกนั้นพืชจะนาคาร์บอนและออกซิเจนที่ได้จากอากาศมาผสมกับไฮโดรเจนที่ได้จากน้าในดิน สิ่งที่ได้เรียกว่า Carbon Hydrate กระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสง จากนั้น Carbon Hydrate ที่ว่านี้จะถูกนำไปผสมกับไนโตรเจนที่พืชดูดซึมมาจากดิน สิ่งที่ได้ก็คือ “กรดอะมิโน ชนิด L” การที่พืชได้รับกรดอะมิโนในปริมาณที่พอเหมาะเป็นที่รู้กันว่าจะนำไปสู่ปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตที่มากขึ้น แต่ก็มักมีข้อจำกัดตามธรรมชาติที่พืชไม่สามารถสร้าง กรดอะมิโน ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ทำให้ในบางสภาวะ พืชขาดกรดอะมิโน จนทำให้พืชไม่สมบูรณ์ หรือ ออกดอก ออกผลได้ไม่มากพอ หรือผลผลิตไม่สมบูรณ์ ไม่ดีและไม่มีคุณภาพ เราจึงอยากแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำกรดอะมิโน หรือกรดอะมิโนสำเร็จรูป มาใช้ในการเกษตร เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่ต้องผ่านขบวนการทางชีวเคมีที่พืชต้องสร้างขึ้นเอง เสมือนหนึ่งเป็นสารบำรุงพืช (Plant growth promoter) เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพที่สมบูรณ์








======
📝inbox สอบถามปรึกษาก่อนได้นะครับ
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ 

https://lin.ee/nTqrAvO
.
**รับตัวแทนจำหน่าย VIP ทั่วประเทศ



วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติในการดูแลยาสูบ

สอบถามกันมาหลายท่าน
ในเพจ  #ยาสูบเงินล้าน 
ถึงการปลูกและดูแลยาสูบ
ทั้งพันธุ์เวอร์จิเนียและเบอร์เล่ย์
วันนีเลยนำ "โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติ"
ในการปลูกและดูแลยาสูบเวอร์จิเนีย
(Flue-Cured Tobacco) 
ยุค 4.0 (4 สูง 4 ต่ำ)
เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นก่อนนะครับ


เริ่มต้น (Start Up)


การเพาะกล้ายาสูบ

ให้นำ "วัสดุเพาะกล้า" (มีเดีย พีทมอส) บรรจุลงในถาดเพาะ
• แล้วหยอดเมล็ด
• เมื่อเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้แยกกล้าไปใส่ในถาดเพาะที่วางไว้ในแปลงกะบะซีเมนต์ที่บรรจุน้ำไว้แล้ว ดูแลรักษาโดยการป้องกันโรคและตะไคร่น้ำตามโปรแกรมปฏิบัติที่กำหนดไว้
• ด้วย “อีเรเซอร์-1” ใส่ไปในกะบะที่ใส่ถาดเพาะที่มีน้ำก่อนย้ายกล้ามาชำ 1-3 วัน อัตรา 10 ซี.ซี./น้ำ 1 บัว รดบนถาดกล้า และฉีดพ่นป้องกันโรคเน่าคอกล้า (Damping off) ด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส”
• ก่อนตัดใบให้ฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” และหลังตัดใบเสร็จให้ฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1” เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะทำให้กล้าโคนเน่า ,กล้ายอดเน่า
• ให้ปุ๋ย “โฟทอนิค” ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีเกลือฟอสเฟต ที่ทำอันตรายกับกล้ายาสูบ สูตร 20-5-30 หรือสูตรใกล้เคียงในอัตรา 90-100 กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย ( 1 แปลงใช้ 2 ถังมะตอย ) ก่อนให้ปุ๋ยให้เอาน้ำออกจน "วัสดุเพาะกล้า" (Media) แห้ง ใส่ช่วงกล้าอายุ 20 วัน ( ก่อน Clipping ใบ 5 วัน )


การเตรียมพื้นที่ปลูก
• ไถขึ้นแปลง , จัดระยะปลูก
• ระหว่างแถว 120 ซม. ระหว่างต้น 60 ซม.
หมายเหตุ : แนะนำให้ขึ้นแปลงเดี่ยว ปรับสภาพดินด้วย “ซอยล์แอสท์” อัตราไร่ละ 50 กก. หว่านหลังไถ หรือขึ้นแปลงเสร็จและใช้ “ซอยล์ไลฟ์” อัตรา 500 กรัมต่อไร่ โดยหลังปลูกผสมน้ำรด อัตราผสม 150 กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย ( 200 ลิตร ) รดต้นละ 1 กระป๋องนม หลังปลูกไม่เกิน 3 วัน


ปลูกเสร็จ
• ฉีดพ่นด้วย “ซาร์คอน” อัตรา 20 ซี.ซี./ น้ำ 20 ลิตร เพื่อสร้าง “เกราะป้องกัน” อันแข็งแกร่งเพื่อป้องกันแมลงหรือเพลี้ยเจาะเข้าทำลายยากและสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
• ฉีดพ่นด้วย “ซิกน่า” อัตรา 10 ซี.ซี./ น้ำ 20 ลิตร เพื่อขับไล่แมลงพาหะนำเชื้อไวรัสและแมลงต่างๆและสร้าง “วัคซีน” ป้องกันโรคต่างๆและป้องกันการรบกวนของแมลงหวี่ขาว และ
• กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ด้วยการฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส”อัตรา 20 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร เพื่อคุ้มครองปกป้องและกำจัดโรคต่าง ๆ ที่หลบอยู่ภายในพืช และสร้างความเสียหายให้กับต้นยาสูบ เช่น โรคใบหด ,ใบด่าง , โรคใบจุดสีน้ำตาล ,โรคใบด่างวงแหวน ,โรคแข้งดำ ,โรครากเน่า , โรคเหี่ยวเฉาต่างๆ ควรฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน ประมาณ 3 ครั้ง


7 วันหลังปลูก
• ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 8-12-24 + 4MgO อัตรา 25 กก./ ไร่ ผสมด้วย ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 25 กก./ ไร่
• ฉีดพ่นด้วย “ไบโอเจ็ท” 10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต กระตุ้นการแตกราก , แตกยอด , แตกใบอ่อน , ต้นใหญ่ ,ใบใหญ่ ควรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 3 ครั้ง เพื่อความสมบูรณ์ของต้นยาสูบ


25 วันหลังการปลูก
•ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 8-12-24 + 4 MgO +0.05B อัตรา 75 กก. / ไร่
• เสริมปุ๋ยเร่ง สูตร 15-0-0 อัตรา 25 กก. / ไร่
• เพิ่มคุณภาพและผลผลิตให้สูงถึง 4,500 - 5,000 กก./ไร่ ให้ฝังหรือหว่านอาหารเสริม “ลาเซน่า” ( Lacena ) อัตราไร่ละ 25 กก. เพื่อเพิ่มคุณภาพใบยา, เพิ่มการสุกแก่ใบยา, เพิ่มสีส้มใบยาแห้ง, เพิ่มผลผลิตใบยาหนามีน้ำหนัก, เพิ่มการสะสมแป้งและน้ำตาล, ใบยาบ่มมีกลิ่นหอม, ทำให้ใบยาสุกแก่สมบูรณ์ ตามกำหนด ใบยาไม่เป็นฝ้า, ไม่กระด้าง, เนื้อใบยาหนา นุ่ม มีความยืดหยุ่นสูง นำไปบ่มดี, เรโซ (Ratio) แคบ


45 วันหลังปลูก
• ฉีดพ่นด้วย “PATHWAY POWER-5” 20 ซี.ซี./ น้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นให้ต้นยาสูบสร้างนิโคตินและสารสำคัญได้ดี ตลอดจนได้รับธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเจริญเติบโต ทุก 7 – 10 วัน 2 – 3 ครั้ง ช่วงยาสูบอายุ 45 วันจนถึง 60 วัน
• ฉีดพ่น “ซูก้าร์ – ไฮเวย์” อัตรา 20 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร เพื่อสร้างคุณภาพเนื้อใบยาให้หนา เรโชแคบ
• ฉีดพ่น “อีเรเซอร์-1” เพื่อป้องกัน & กำจัดโรคราสีน้ำเงิน (ราน้ำค้าง) โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคไวรัสต่าง ๆที่ทำความเสียหายที่รวดเร็วและรุนแรง


60 วันหลังปลูก
• ควรตอนยอดทันที เมื่อยาสูบส่งคอดอกหรือหลังจากที่เก็บยาตีน
• เด็ดยอด พร้อมใบที่สั้นกว่า 1 คืบทิ้ง
• กำจัดหน่อและแขนงทิ้งให้หมด
• รดด้วยยาคุมหน่อ EKK#99 อัตราต้นละ 10 ซี.ซี. ที่ยอดยาสูบ (อัตราผสม 20 ซี.ซี. / 1 ลิตร)



ยาสูบ Thailand 4.0
http://paccapon.blogspot.com/20%E2%80%A6/%E2%80%A6/thailand-tobacco-40.html%E2%80%A6
แมลงหวี่ขาว
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=0
ทำไม..แมลงจึงระบาด
http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
คู่..หยุดโรค
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post.html?m=0




































คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้นะครับ
https://lin.ee/nTqrAvO

084 - 8809595 , 084-3696633
Line id :@organellelife.com


#ออร์กาเนไลฟ์
หัวใจ..คือ
"ความต่าง"
"สินค้า" ต้อง..ต่าง 
ถึง..จะมีที่ยืน 
ถ้า..ไม่ต่าง ไม่มี..ที่ยืน