FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กระบวนการเกิดดอกของพืช


กระบวนการเกิดดอกของพืช ต้องอาศัยกระบวนการต่าง ๆ ทางสรีรวิทยาที่ซับซ้อน โดยมีปัจจัยทั้งทางด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนอิทธิพลภายในต้นพืชเองเข้ามาเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงพืชจากระยะเยาว์ภาพไปเป็นระยะเต็มไว เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชจะถูกกระตุ้นให้สร้างดอกได้ ซึ่งเป็นระยะเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ดีการชักนำการออกดอกของพืชถูกกำหนดโดยพันธุ์กรรมเช่นเดียวกับกระบวนการทางสรีรวิทยาอื่น ๆ ในขณะที่สิ่งแวดล้อมจำเพาะจะทำปฏิกิริยารวมส่งผลให้พืชสร้างดอก (สมบุญ, 2548)


การออกดอกมีกระบวนการเกิดและพัฒนาของดอกแบ่งเป็นระยะต่างๆ ดังนี้

1. ระยะการเจริญเต็มวัย พืชจะออกดอกได้เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย คือ ความพร้อมของอายุ นอกเหนือจากการสะสมอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชจึงตอบสนองต่อปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดดอกได้ ระยะที่พืชโตเต็มวัยแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของพืช พันธุ์พืช ฤดูกาล และสภาพแวดล้อม เช่น แก้วมังกรออกดอกได้เมื่ออายุ6-7 เดือน หลังปลูกจากกิ่งปักชำ กิ่งตอน กล้วยไข่ ออกดอกได้เมื่ออายุ 5-6 เดือนมะละกอออกดอกเมื่ออายุ 3 เดือน มะม่วงจากเมล็ด 5 ปี มะม่วงติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง 2 ปี มะพร้าวน้ำหอม 3 ปี มะพร้าวใหญ่ 5 ปีขึ้นไป

2. ระยะชำนำ การเปลี่ยนแปลงขั้นแรก ในการเกิดดอกพืช เริ่มมีการตอบสนองต่อการกระตุ้น หรือชักนำจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้ระยะเยาว์วัยเปลี่ยนเป็นระยะเจริญพันธุ์ เช่น แสง อุณหภูมิ อายุ ความสมบูรณ์ของต้น เป็นระยะที่พืชมีการ
เปลี่ยนแปลง กระบวนการสร้างเมแทบอไลท์ต่าง ๆ ภายในเซลล์ เพื่อสังเคราะห์ฮอร์โมนที่กระตุ้นการออกดอกและลำเลียงฮอร์โมนนี้ไปยังส่วนเนื้อเยื่อที่ตาหรือยอดเพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นตาดอก

3. ระยะการเกิดตาดอก เป็นระยะที่เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตาที่จะเจริญเป็นดอก โดยเซลล์เนื้อเยื่อเจริญเริ่มขยายตัว ทำให้มีการพองตัวของตาดอก

4. ระยะพัฒนาของดอก หรือระยะที่มีการเกิดส่วนอื่น ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นดอก โดยตาดอกมีการพัฒนา เปลี่ยนรูปร่างจากรูปกรวยเป็นรูปร่างแบนและสร้างกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย และฐานรองดอก โดยทั่วไปชั้นของกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้นมาก่อนส่วนอื่น ตามด้วยชั้นกลีบดอก ชั้นเกสรตัวผู้ และส่วนประกอบเหล่านี้จะพัฒนาจนถึงระยะดอกบาน ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการพัฒนาของดอกพืชทั่วไปจะมีขั้นตอนการเกิดดอกเป็นไปตามระยะต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว แต่อาจมีพืชบางชนิดมีระยะการพัฒนาของดอกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์พืชและสภาพแวดล้อมอื่น ๆ (สมบุญ, 2548)




ปัจจัยการสร้างดอกในพืช
ปัจจัยภายในพืช

1. ชนิดและพันธุ์พืช ชนิดและพันธุ์ไม้ผลต่างกัน จะถูกกำหนดโดยลักษณะพันธุกรรมของไม้ผลนั้น ๆ ไม้ผลต่างชนิดกัน ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน จะมีความสามารถในการสร้างตาดอกต่างกันด้วย เช่น กล้วย มะละกอ ออกดอกเร็วกว่ามะม่วง มะขาม ทุเรียน

2. อายุของพืช พืชมีการเจริญเติบโตทางด้านต้น กิ่ง ก้าน ใบ จากระยะงอกไปจนถึง ระยะเต็มวัย ถึงช่วงอายุที่เหมาะสมที่มีการสร้างดอก อายุมีความสัมพันธ์กับขนาดต้นพืช ปริมาณอาหารในพืช และคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงและสะสมในพืชมีผลต่อการสร้างดอก

3. ปริมาณฮอร์โมนในพืช ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกของพืช ซึ่งมีผลต่อระดับฮอร์โมนในพืช ซึ่งมีผลต่อระดับฮอร์โมนและการสร้างฮอร์ในพืช ไม้ผลหลายชนิด พืชจะสร้างดอกเมื่อระดับจิบเบอเรลลินในพืชมีน้อย แต่เอทิลีนจะมีมาก ฮอร์โมน
ชนิดอื่น เช่น ออกซิน และไซโตโคนิน อาจเกี่ยวข้องกับการออกดอกเช่นกัน



ปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายนอก

          สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อการเกิดของตาดอก และการพัฒนาระยะเจริญพันธุ์ จะเห็นได้ว่าพืชบางชนิดสามารถออกดอกได้ทุกฤดู มีพืชอีกหลายชนิดที่ต้องผ่านสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น ช่วงแสงที่เหมาะสม หรือต้องการอุณหภูมิต่ำ ตลอดจนการได้รับน้ำและแร่ธาตุจากดินในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้พืชสามารถมีการพัฒนาไปเป็นระยะเจริญพันธุ์ ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่

แสง เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง ของพืชเพื่อสร้างอาหาร พืชต้องการความเข้มของแสงในปริมาณที่สูงในการออกดอกของพืช โดยมีผลต่อปริมาณสารอาหารในพืชและกระตุ้นการสร้างตาดอก ไม้ผลที่ออกดอกในช่วงวันยาว ได้แก่ แก้วมังกร โดยวันที่ยาวเท่ากันกับกลางคืนของไทยประมาณวันที่ 21 มีนาคม และหลังจากนั้นกลางวันเริ่มยาวขึ้น แก้วมังกรจะออกดอกทุก ๆ 2 สัปดาห์ และติดผลเจริญเติบตาถึงแก่เก็บเกี่ยวได้หลังดอกบาน 28-30 วัน และดอกช่อจะมีหลายรุ่น จนถึงกลางวันยาวที่สุดของไทย ช่วง 21 มิถุนายน โดยมีแสงประมาณ 12 ชั่วโมง แก้วมังกรจะไม่มีดอกจนไปถึงช่วงที่มีกลางวันสั้นที่สุด ในช่วง 21 ธันวาคม ประมาณ 11 ชั่วโมง 5 นาที แต่พอหลังจากนั้นวันจะเริ่มยาวมากขึ้น ช่วงนี้แก้วมังกรจะเจริญทางกิ่งใบใหม่จนเจริญเติบโตเป็นใบแก่ในช่วงกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และพอวันเริ่มยาวในปลายเดือนมีนาคมก็เกิดตาดอก อีกหนึ่งปีแก้วมังกรจึงมีดอกเป็นจำนวน 12 รุ่น โดยประมาณ แต่การเพิ่มแสงต่อวันให้ยาวขึ้นจะช่วยให้แก้วมังกรออกดอกมากขึ้น อาจเป็น 14-16 รุ่นต่อปี ไม้ผลบางชนิดไม่ตอบสนองต่อแสง เช่น กล้วย มะละกอ มะพร้าว ฯลฯ อาจเรียกว่า พืชกลางวัน (day neutral plant) การเพิ่มแสงในช่วงกลางคืน ทำให้พืชวันยาวออกดอกได้เช่นกัน(ปริญญา, 2548) ศึกษาการผลิตแก้วมังกรนอกฤดูสายพันธุ์เวียดนาม โดยใช้แสงไฟ 100 วัตต์ ให้แสงแก่แก้วมังกร เวลา 18.00-06.00 น., 18.00-24.00 น.และ 24.00-06.00 น. เป็นเวลา 15 วัน ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2546 พบว่า แก้วมังกรเกิดดอกได้ 88.6, 23.2 และ 54 ดอกตามลำดับ (ชวิศร์,2520) ศึกษาถึงอิทธิพลความเข้มแสง ช่วงแสงที่มีอิทธิพลต่อการออกดอกในการผลิตแก้วมังกรนอกฤดู โดยใช้แสงไฟ 100 วัตต์ และ 200 วัตต์ เพิ่มเวลาการให้แสงแก้วมังกร เวลา 17.30-20.30 น., 03.30-06.30 น., 17.30-20.30 น. และ 03.30-06.30 น. เป็นเวลา 15 วัน ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์2549 พบว่า ต้นที่ได้รับแสงไฟส่องช่วงเวลา 17.30-20.30 น. และ 03.30-06.30 น. มีจำนวนดอกมากที่สุดคือ 64.25 ดอก รองลงมา ได้แก่ ต้นที่ได้รับแสงไฟ 200 วัตต์ ช่วงเวลา 03.30-06.30 น. มีจำนวนดอก 51.75 ดอก ต้นที่ได้รับแสงไฟ 100 วัตต์ ช่วงเวลา 07.30-20.30 น. และ 03.30-06.30 น. มีจำนวนดอก 42.50 ดอก ต้นที่ได้รับแสงไฟ 100 วัตต์ ช่วงเวลา 03.30-06.30 น. มีจำนวนดอก 33.50 ดอก ต้นที่ได้รับแสงไฟ 200 วัตต์ ช่วงเวลา 17.30-20.30 น. มีดอก 18 ดอก และต้นที่ได้รับแสงไฟ 100 วัตต์ เวลา 07.30-20.30 น. มีดอกน้อยที่สุด 11.50 ดอก

อุณหภูมิ มีผลต่อการออกดอกของไม้ผล โดยเฉพาะไม้ผลเขตหนาวที่ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส ในการทำลายการพักตัวของตาดอก ทำให้ตาดอกเจริญเติบโตเป็นช่อดอก จำนวนชั่วโมงที่ต้นไม้ได้รับอุณหภูมิต่ำจนถึงขั้นทำลายการพักตัวของตาดอกได้ เรียกว่า ชิลลิงรีไควเมนท์ (Chilling requirement) ส่วนไม้ผลเขตร้อนหลายชนิด เช่น องุ่น ส้ม ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ต้องการอุณหภูมิต่ำในช่วง 10-20 องศาเซลเซียส เพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอก ไม้ผลเขตร้อนหลายชนิด เช่น เงาะ องุ่น ขนุน มะขาม ลองกอง มังคุด ทุเรียน การสร้างตาดอกไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ

น้ำ ปริมาณน้ำในดินมีผลต่อการออกดอกของไม้ผลในสภาพที่ต้นไม้ขาดน้ำ หรือเกิดความเครียด จะมีตัวชักนำให้สร้างตาดอก แต่ในระยะการเจริญของตาดอก ถ้าไม้ผลขาดน้ำมากเกินไป ทำให้ดอกไม่สามารถเจริญต่อไปได้ กระบวนการสร้างตาดอกจะหยุดชะงักอยู่จนกว่าจะได้รับน้ำ การรดน้ำให้กับต้นไม้ที่อยู่ในระยะการสร้างตาดอกอาจมีผลทำให้การสร้างตาดอกช้าลงได้ เช่น ทุเรียน ลองกอง ลางสาด เงาะ เพียงแต่งดการให้น้ำ 21-30 วัน ก็เกิดตาดอกได้ แล้วจึงต้องค่อย ๆ ให้น้ำ เพื่อให้ตาดอกเจริญพัฒนาเป็นช่อดอก และดอกอย่างสมบูรณ์

ปริมาณสารอาหารในพืช การออกดอกของไม้ผลขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของไนโตรเจนและคาร์โบไฮเดรตในต้นไม้ผลนั้น ถ้าปริมาณไนโตรเจนสูงจะเสริมสร้างใบและกิ่ง ทำให้การสร้างดอกเกิดได้ยากหรือช้า ในขณะที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือสารประกอบคาร์บอนในไม้ผลซึ่งสูง หรือในสภาพที่ไม้ผลได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง จะกระตุ้นการสร้างตาดอกของไม้ผล

การตัดแต่งกิ่ง ใช้กับไม้ผลที่แตกกิ่งใหม่ พร้อมกันมีดอกออกมาด้วย เช่น องุ่น ฝรั่ง น้อยหน่า (ฉลองชัย, 2524) การตัดแต่งกิ่งเป็นการลดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ และยังมีผลให้ต้นพืชสร้างอาหารให้ดีขึ้น โดยมีการแตกใบใหม่ออกมา ซึ่งใบเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูงกว่าใบแก่ นอกจากนั้นการตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องยังเป็นการลดการแก่งแย่งอาหารระหว่างกิ่ง ทำให้มีอาหารสะสมสำหรับออกดอกมากขึ้น (พีรเดช, 2529)





หากท่านต้องการเพิ่มผลผลิต ต้องไม่พลาด คู่ ORG-1 , ORG-2

 




โออาร์จี-1 (ORG-1)
ORG-1: Amino acid, The Other of Organic acid
เพิ่มพลังงาน เพิ่มความสมบูรณ์ภายในให้แก่พืช


คุณสมบัติ ORG-1
1. ไม่ใช่สารอินทรีย์ ไม่ใช่สารชีวภาพ แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อกระบวนการทำงานภายในของพืช
 2. เป็นเนื้อสารเข้มข้นมีสารอาหารพืช สารสำคัญต่างๆ ครบถ้วนตามที่พืชต้องการรวมอยู่เป็นเนื้อสารเดียวกัน
3. ดูดซึมได้รวดเร็ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
4. ไม่จับตัวตกตะกอนแข็งและไม่จับก้อนเป็นวุ้นเมื่อผสมร่วมกับสารอื่นๆ
5. ไม่แนะนำให้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารป้องกันกำจัดแมลงและสารกำจัดโรคอื่นๆที่เป็นสารเคมี
6. ใช้ได้กับทุกช่วงระยะการเจริญเติบโตของต้นพืช

หน้าที่ ที่สำคัญของORG-1
1. กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ และสังเคราะห์โปรตีน
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์   
3. การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน   
4. ช่วยให้พืชสามารถนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดีขึ้น และก็ช่วยให้การดูดซึมจุลธาตุอาหารทางใบดีขึ้น
     ช่วยปรับปรุงการดูดซึมธาตุอาหารทางราก
5. เพิ่มการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน
6. กระตุ้นการสร้างดอก  ช่วยการผสมเกสร ติดผลดก ลดการหลุดร่วง
7. ช่วยขยายขนาดผล  เร่งการสุกของผล
8. ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
9. พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง
คุณประโยชน์ของ ORG- 1
- ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้

วิธีใช้    ชนิดพืช   ระยะเวลา อัตราการใช้
ข้าว  ช่วงตั้งท้องและออกรวง จนกระทั่งช่วงข้าวเป็นน้ำนมฉีดพ่นทุก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชไร่   ทุก7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชผัก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชดอก ไม้ประดับ 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ไม้ผล และไม้ยืนต้น
เริ่มฉีดได้ตั้งแต่ก่อนดึงดอกและฉีดได้ต่อเนื่องจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ยางพารา ปาล์มน้ำมัน 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร



ข้อแนะนำพิเศษ
(1) ช่วยเพิ่มการสะสมอาหารไว้ที่ใบ และลำต้น ช่วยให้พืชออกดอกได้เร็วขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน ให้ทั่วทั้งต้นพืชสามารถดูดซึมเข้าภายในลำต้นได้ทุกส่วนทั้งทาง ต้น ใบ ราก 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
(2) ช่วยขยายขนาดผล   สร้างเนื้อเยื่อ สร้างแป้ง ขั้วเหนียว ผลไม่ร่วง สีผลสด ผลติดดก รสชาติดี มีน้ำหนักขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
(3) ช่วยพืชที่ลงหัว เข้าสู่ระยะลงหัวได้เร็ว หัวใหญ่เร็ว ได้น้ำหนัก เปอร์เซนต์แป้งดี  เปอร์เซนต์น้ำตาล น้ำมันดี น้ำยางดี เก็บได้นาน เนื้อแน่น หัวไม่ฝ่อง่ายฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 ( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย




โออาร์จี:(ORG-2)
ORG-2: Amino acid, Monosaccharides  and Other Ingredients
สารอาหารพืชชนิดพิเศษ สารให้พลังงานสูง  บำรุงต้นและเพิ่มผลผลิต



คุณสมบัติ ORG-2 
เป็นสารอาหารพืชชนิดพิเศษ ที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่พืช
สำหรับช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต ไปจนกระทั่ง ติดดอก ออกผล ลงหัว หรือ โตสมบูรณ์เต็มที่จนเก็บเกี่ยว  ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุด
-ส่งเสริมการสร้างและสะสมอาหารภายในต้นพืช
-ช่วยเสริมการสร้างตาดอก ติดดอกดี ช่วยผสมเกสรสมบูรณ์
-ลดการร่วงหล่น ขั้วเหนียว ผลดก ผลสวย ได้รูปทรงมาตรฐาน สม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเนื้อให้แน่น มีน้ำหนักดี ขยายขนาดผล ทำให้ผลใหญ่ ผลหนัก
 -เพิ่มปริมาณแป้งในพืชหัวได้มากขึ้น  ทำให้พืชหัวมีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อแน่น ไส้ไม่กลวง
-ช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ช่วยเข้าสี สีสวย รสชาติดี
- ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
- พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง

คุณประโยชน์ ORG-2
บำรุงด้วย ORG-2  เป็นประจำ จะทำให้พืช
1. ในช่วงสะสมอาหาร - ใบหนา  เขียวเข้ม  พร้อม ออกดอก
2. ช่วงเปิดตาดอก - ออกดอกเร็ว  ดอกสม่ำเสมอ  เกสรสมบูรณ์
3. ช่วงติดผล  - ขั้วเหนียว   ขยายผล  สร้างเนื้อ  เร่งสี
4. ช่วงเพิ่มคุณภาพ - ทำให้เนื้อดี สีดี รสชาติดี มีความหวาน  มีกลิ่นหอม
พืชที่แนะนำให้ใช้ 
พืชผักกินฝักและผล แตงโม สัปปะรด ถั่วแระ ข้าวโพด มันฝรั่ง  มันสำปะหลัง หอม, กระเทียม พริก
นาข้าว ลิ้นจี่ ส้มเปลือกบาง ยางพารา

อัตราการใช้  ORG-2
1. ผสม ORG-2  อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
2. ไม่สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง

( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย



ORG-5
ORG5 Granules : ORG5 เม็ด



ORG5 Granules : ORG5 เม็ด
Multi Activity Bio organic Granules. เม็ดเดียวครบเครื่องให้กับพืช

Contents -ประกอบด้วย สารสำคัญ

          - Sea weed extract
          - amino acids
          - neem oil
          - humic acid
          - anti root rot substances



An unique Patented granular formulation for plant growth as well as for effective preventive measures against pests and fungi. It can be used for all crops. ORG5 contains five different constituents - Due to sea weed based bio-fertilizer there is overall growth of crops due to plant cell division and increase in number of plant cells. Due to blend of vital amino acids, crops gets required nourishment at different stages of its growth. Hence there is healthy and vigorous growth with increased number of flowers and fruits Due to Humic acid, there is profuse growth of white roots. Roots become healthy which ultimately enhance plant growth. Due to Neem Oil, plants are protected from sucking pests in the initial stages of their growth. Neem oil also prevents attacks from other insects and pests as well as protect the plant from Nematodes and Termites. Due to Anti root rot substances, soil gets sterilized by killing harmful fungi such as Fusarium and Pythium. Due to its unique constitution, it has proved to be miracle for all types of crops. since all the five constituents are made available to the crop at once, crop is benefited right from the initial stage till the harvest.


      จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช

ORG-5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช

ORG5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ
2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต
3. Humic acid ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้
4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ใน การยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย
5.Anti root rot substances
ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.

Dosage -  8 to 16 kg per Acre as per type of crop.
อัตราการใช้   3 - 6 กิโลกรัม ต่อไร่







ไบโอเจ็ท (Bio-Jet)
ไบโอเจ็ท  สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ  ตายอด ตาดอก ตาใบ
  ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง  น้ำตาล  ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว 
    หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
  ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป และพืชที่แพ้สารเคมีให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
  สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
  พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี
  สามารถใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงได้หลายชนิด






ซอยล์ไลฟ์ (SOIL LIFE)
ซอยล์ไลฟ์” ( SOIL LIFE ) เป็นสารอินทรีย์เข้มข้นที่สกัดมาจากธรรมชาติ
มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบำรุงดิน ปรับปรุงคุณภาพของดิน แก้ดินเป็นกรด
ซึ่งจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ออกดอกและผลดก ลดปัญหาการ
ระบาดของเชื้อโรคทางดิน อาทิ โคนเน่า โรครากเน่า โรคเหี่ยวเฉา ฯลฯ
และที่สำคัญคือช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ช่วยเสริมการใช้ปุ๋ยอย่าง
มีประสิทธิภาพ ทำให้พืชดูดกับธาตุอาหารได้ อย่างเต็มที่ ซอยล์ไลฟ์
สามารถละลายน้ำได้ดีมาก จึงสามารถใช้กับระบบน้ำหรือฉีดพ่นได้
ซอยล์ไลฟ์ คุณค่า 2 พลัง
1.      พลังต่อดิน
2.      พลังต่อพืช          
                                                          
พลังต่อดิน
1.ช่วยปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ไม่จับตัวแน่นแข็ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายน้ำดี
     ช่วยอุ้มน้ำและออกซิเจน
2.ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง (PH) ของดิน ทำให้ดินไม่เสื่อมง่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่างๆและ
    ปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากขึ้น
3. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ในดิน ทำให้พืชได้รับสารอาหาร
    จากธรรมชาติได้ดี
4.ช่วยให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารทางรากได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็น ธาตุอาหารหลัก
     ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม จึงช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี พืชงามสมบูรณ์
5.  ช่วยส่งเสริมขบวนการไนตริฟิเคชั่นได้ดีขึ้น
6.  ช่วยลดอัตราการใช้ปุ๋ยลงได้ถึง 30 – 50 %
พลังต่อพืช
1.    ส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน (AUXIN) ในพืช เพื่อการกระตุ้นแบ่งเซลล์ เพื่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชเติบโตเร็ว ใบเขียวใหญ่
2.   ช่วยเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
3.    ช่วยให้พลังงานและขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ต่างๆในพืชจากรากหรือใบไปยังจุดที่พืชต้องการอย่างรวดเร็ว 
4.  ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้า เคมีต่างๆในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต เพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงได้เต็มที่
5.  ช่วยเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์พืชและเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์  RNA
6.  ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ อาทิ ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง


สอบถามเพิ่มเติม 
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
084 -8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)


วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แคงเกอร์ :โรคอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม


อย่า..ชะล่าใจ หากแก้ไขไม่ถูกวิธี มีหวังหายนะมาเยือน ส้มหรือมะนาวของท่านอย่างแน่นอน 

Citrus Canker caused by a bacteria, Xanthomonas campestris pv. citri or Xanthomonas axonopodi. pv citri.   is a very important disease. The symptoms can be seen on leaf, petiole, branch, stem or fruit. The symptoms of greasy spots of uncertain shapes appear on front and back of leaves. Lesions on leaves first appear as moist spots that enlarge and grow into raised white scabs that are a result of the bacterium stimulating cells to divide. The scabs darken and become cratered and surrounded by yellowed tissue or they may merge into large scabs. Lesions on fruit do not actually enter the flesh of the fruit, the fruit cracked and poor appearance makes the fruits unmarketable.


      โรคขี้กลาก หรือโรคแคงเกอร์ (Canker) สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri หรือ  Xanthomonas axonopodi. pv citri.  และมีความสำคัญมากต่อการปลูกพืชตระกูลส้ม อาการของโรคเกิดได้ทั้งที่ใบ ก้านใบ กิ่ง ลำต้นและผล อาการที่ใบเป็นแผลจุดขนาดเล็กฉ่ำน้ำ รอบ ๆ แผลเป็นวงสีเหลืองอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นแผลเหลืองนูน โดยกลางแผลแตกเป็นสะเก็ด และแผลแตกทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการป้องกันกำจัดโรคขี้กลากจึงใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราไม่ได้ผล

        อาการบนผลคล้าย ๆ กับอาการบนใบ แผลมักเชื่อมติดกัน แต่ไม่มีวงเหลืองล้อมรอบเหมือนอาการบนใบ อาการที่ผลส้มโอแผลมีสีสนิม เหลืองอมส้ม อาจแซมด้วยสีขาว แผลที่มียางไหลมีสีน้ำตาลคล้ำจนถึงสีดำทำให้ผลร่วงได้ อาการที่ใบส้มโอลุกลามเร็วมากในช่วงฤดูฝน ใบอ่อนที่มีหนอนชอนใบ มักเป็นช่องทางให้แคงเกอร์เข้าทำลายตามได้โดยง่าย   อาการบนผลส้มเกลี้ยงหรือส้มเช้งพบว่ามีผลแตกมาก โดยเริ่มจากแผลจากโรคแคงเกอร์ แผลที่แตกมักเป็นตามแนวขวางมากกว่าแนวตั้ง


       โรคแคงเกอร์ของส้มเกิดจากเชื้อบักเตรี ขึ้นได้ทั้งที่ใบ ผล และกิ่งก้าน เป็นสะเก็ดนูนสีเหลืองถึงน้ำตาลบนใบ ใหม่ๆ จะฟูคล้ายฟองนํ้า ต่อมาจะเป็นสะเก็ดแข็ง บริเวณรอบแผลจะมีวงสีเหลืองเป็นมันล้อมรอบ

       อาการที่ใบ ลักษณะอาการที่เป็นกับใบส้มตามธรรมชาติเริ่มแรกจะเป็นจุดเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด (1/16 นิ้ว) มีสีซีดกว่าสีของใบเล็กน้อย ไม่อาจมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะนูนและฟูคล้ายฟองน้ำ จะพบที่ด้านใต้ใบก่อน ต่อมาจึงนูนทั้ง 2 ด้าน ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูงและความชื้นมากพอ แผลที่ฟูอยู่แล้วจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมาเมื่อแผลมีอายุแก่มากขึ้น แผลจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลถึงน้ำตาลเข้ม ลักษณะที่นูนฟูคล้ายฟองนํ้าจะยุบตัวเป็นสะเก็ดขรุขระและแข็ง ลักษณะของแผลที่เกิดมักจะมีสีเหลืองเป็นมันล้อมแผลโดยรอบ ส่วนมากขนาดของแผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 มม. และมีขนาดไม่เกิน 4 มม. แต่แผลที่เกิดกับใบส้มโออาจมีขนาดใหญ่ถึง 8 มม.


        อาการที่กิ่งและก้าน มักจะเกิดกับกิ่งอ่อนของส้มที่มีความอ่อนแอต่อโรค เช่น มะนาว แผลที่เกิดใหม่ๆ อาจจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนนูนฟูคล้ายกับแผลที่ใบ ต่อมาแผลจะแห้งแข็งเป็นสีนํ้าตาลเข้มขยายออกรอบกิ่ง หรือขยายเป็นทางตามความยาวของกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน มีขนาดใหญ่กว่าและสีนํ้าตาลเข้มกว่าที่ใบ แต่ไม่มีขอบสีเหลืองโดยรอบแผล
อาการที่ผล มีลักษณะคล้ายกับที่ปรากฏบนใบ หากแผลเกิดเดี่ยวกระจายกันก็มีลักษณะกลม หากเกิดติดต่อกันเป็นจำนวนมากแผลอาจมีรูปร่างไม่แน่นอน บริเวณรอบแผลดูคล้ายกับฝังลึกลงในผิวของผล ที่ตัวแผลก็จะนูนและปรุโปร่งคล้ายฟองนํ้า แต่แข็งมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อแผลแก่ขยายเข้าบริเวณผิวของผลที่ยังดี ส่วนที่ติดกับแผลจะเป็นวงรีเหลืองโดยรอบเช่นเดียวกับบนใบ


         อาการที่ราก มีรายงานว่าเกิดได้กับรากที่อยู่เหนือดิน และปกติจะไม่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ แต่ถ้านำเชื้อไปทดลองปลูกที่ราก ก็สามารถทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้

ลักษณะทางสัณฐานและการเจริญของบักเตรีเป็น rod-shaped ขนาดโดยเฉลี่ย 0.72 X 1.63 ไมครอน เคลื่อนไหวได้ด้วย monotrichous flagellum บักเตรีเป็นแกรมลบ และไม่มีสปอร์ โคโลนีมีสีเหลืองเป็นรูปวงกลม นูน ผิวเรียบ เป็นมันเยิ้ม และขอบเรียบ

ในทางสรีระลักษณะบักเตรีนี้ไม่ทำให้เกิดกรดและก๊าซในนํ้าตาลต่างๆ ไม่เกิดสาร Indole ไม่เปลี่ยน nitrate เป็น nitrite ทำให้เกิด hydrogen sulfide ได้เล็กน้อย เกิดตะกอนในนม ไม่ทำให้เกิด acetyl methylcarbinol สามารถใช้ citrate ใน Koser’s citrate broth ได้ เชื้อเจริญได้ดีที่สุดในอุณหภูมิ 25-30 °ซ.

วงจรของโรค บักเตรีอยู่ข้ามฤดูในพืช ตา ต้น เมล็ด เชื้อแพร่กระจายตามฝน ลมฝน การเก็บเครื่องมือทุ่นแรง และพืชที่เป็นโรค เชื้อเข้าทำลายพืชทางแผล ช่องเปิดตามธรรมชาติ เช่น ปากใบ เป็นต้น

ลักษณะของเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri (PaDIL, 2010)
เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri จัดอยู่ใน
Kingdom: Bacteria
Phylum/Division: Proteobacteria
Class: Gamma Proteobacteria
Order: Xanthomonadales
Family: Xanthomonadaceae
Genus: Xanthomonas
เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative) เซลล์เดียว มีลักษณะเป็นท่อน (rod shape) ขนาด 0.5-0.75 x 1.5-2.0 ไมโครเมตร เป็นพวกที่มี flagellum อันเดียวออกมาจากขั้วด้านเดียว (polar flagella) โคโลนีมีลักษณะสีเหลืองเป็นมัน ขอบเรียบนูน เหนียว เมื่อเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ เจริญได้ดีในอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส (Chand and Pal, 1982; Goto, 1992)

วงจรการเกิดโรคแคงเกอร์ของเชื้อ แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri
วงจรการเกิดโรคของเชื้อแบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri ในส้ม เริ่มจากเซลล์แบคทีเรียตกลงบนผิวพืชอาศัย แล้วเข้าไปในเซลล์ทางบาดแผล ปากใบ และ/หรือรูเปิดธรรมชาติ เพิ่มปริมาณและอาศัย apoplast อยู่ภายในเซลล์พืช พืชแสดงอาการของโรคแคงเกอร์โดยเกิดแผลมีลักษณะเป็นจุดวงกลม จากนั้นจุดวงกลมจะเริ่มมีขนาดใหญ่ นูน และมีสีเข้ม เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชักนาให้เซลล์มีการเพิ่มจานวนและมีขนาดใหญ่ขึ้น (hyperplasia) ต่อไปแผลจุดวงกลมขนาดใหญ่เหล่านั้นจะเริ่มแตกออก และปลดปล่อยเซลล์แบคทีเรียสาเหตุโรคแคงเกอร์ออกมา และเข้าทาลายพืชอาศัยต้นต่อไป โดยแพร่ระบาดไปกับ ลม ฝน และแมลง (Gottig et al., 2010) ดังแสดงไว้ในภาพ 1
ภาพ  วงจรการเกิดโรคแคงเกอร์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri (Gotting



การจัดกลุ่มเชื้อสาเหตุโรคแคงเกอร์ (Stall and Seymour, 1983)
จากลักษณะของภูมิศาสตร์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อและทางด้านการแพร่ระบาดในสถานที่ต่างๆ (geographic distribution) พืชอาศัย (host range) สามารถแบ่งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคแคงเกอร์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม

1. CBCD-A (citrus bacterial canker disease-A) เป็นพวก Asiatic canker หรือ canker A หรือ common form เป็นกลุ่มที่แพร่ระบาดมากที่สุด (Schubert et al., 2001) พบระบาดในเอเซีย แอฟริกา หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค (oceania) และในอเมริกาใต้ เชื้อสาเหตุของโรคในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่มีพืชอาศัยกว้างที่สุด

2. CBCD-B (concrosis B, canker B หรือ flase canker) เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ก่อให้เกิดโรคแคงเกอร์กับพวกมะนาวหวาน (lemon) ในประเทศอาร์เจนตินา ในปี 1923 (Schubert et al., 2001) ต่อมามีการแพร่ระบาดมายังประเทศใกล้เคียงได้แก่ ประเทศอุรุกวัยและปรากวัย เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถเข้าทาลาย มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มเปรี้ยว และส้มโอ ได้ ปัจจุบันเชื้อสาเหตุชนิดนี้ถูกจาแนกเป็นเชื้อ X. axonopodis pv. aurantifolii (Hasse)(Vauterin et al., 1995)

3. CBCD-C (maxican lime concrosis) เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้พบก่อโรคเฉพาะมะนาว
[lime: C. aurantifolia (christm)] Swigh “Mexican” ในประเทศบราซิลในปี 1963 (Schoulties et al., 1987) และพบเฉพาะในประเทศบราซิลเท่านั้น ปัจจุบันเชื้อถูกจาแนกเป็นเชื้อ X. axonopodis pv. aurantifolii เช่นเดียวกับ canker B (Vauterin et al., 1995)
4. CBCD-D (mexican bacteriasis) พบในปี 1987 โดย Schoulties et al. (1987) ได้พบโรคของ Maxican lime ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุแคงเกอร์แต่พบในเมืองโกลิมา ประเทศเม็กซิโก พืชที่เป็นโรคมีการเกิดแผลลักษณะแคงเกอร์บนใบและกิ่ง ไม่พบบนผล ปัจจุบันสันนิษฐานเชื้อสาเหตุโรคคือเชื้อรา Alternaria limicola (Schubert et al., 2001)

5. CBCD-E (citrus bacterial spot) พบในปี 1984 ซึ่งได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคแคงเกอร์ในฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะอาการของโรคไม่เหมือนโรคแคงเกอร์โดยทั่วๆ ไป คือพบในต้นกล้าส้ม (nursery form of citrus canker) จากการศึกษา พบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับเชื้อโรคแคงเกอร์กลุ่มต่างๆ กับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ X. campestris pv. alfalfae ซึ่งจัดเป็นกลุ่มใหม่ (Schoulties et al., 1987) ปัจจุบันได้ตั้งชื่อใหม่คือ X. axonopodis pv. citrumelo (Graham and Goottwald , 1991)

กิ่ง ต้นส้มที่เป็นโรคแคงเกอร์มากผลผลิตจะลดลง ส้มที่เป็นโรครุนแรงได้แก่ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน และส้มโอ

 การแพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย

โรคแคงเกอร์ นับว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม เพราะโรคนี้ค่อนข้างที่จะเข้าทำลายพืชตระกูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ถ้าสภาพของต้นอ่อนแอ โรคนี้จัดเป็นโรคที่มักจะคอยสร้างปัญหา ให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะนาวและผู้ที่ปลูกพืชตระกูลส้มทั้งหลายกันเป็นจำนวนมาก เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผลอีกด้วย คือสรุปง่ายๆ  ว่าลองได้โรคนี้เข้ามาละก็ เตรียมตัวเจ๊งกันได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทั้งหลาย เพราะโรคนี้จะทำให้ผลผลิตตกต่ำ และอาจจะต้องเสียเงินเสียทองซื้อต้นพันธุ์ใหม่มาปลูกใหม่

วิธีการจัดการดูแลและรักษานั้นก็ใช่ว่าจะง่าย ยิ่งถ้าเป็นสารเคมีที่เคยใช้ๆกันด้วยแล้ว ก็ค่อนข้างที่จะอันตรายและมักจะไม่ค่อยได้ผลในระยะยาว  ผู้ที่ชอบนำสารเคมีที่คิดว่าจะฆ่าเชื้อเชื้อแบคทีเรียได้มาใช้ในกลุ่มสารปฏิชีวนะบางตัวมาใช้แต่ก้ไม่ได้ผลมากนัก หรือบางท่านก็นำสารเคมีบางอย่าง อาทิเช่น สารในกลุ่มกลุ่มคอปเปอร์เข้ามาใช้ แต่ก็อาจจะได้ผลในระยะแรกแต่พอใช้ไปได้นานเข้า  ก็จะทำให้ต้นพืชมีปัญหาได้และเชื้อโรคแคงเกอร์ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม ใช่ว่าจะหมดไปโดยสิ้นเชิง และยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างและสะสมในดินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  สารพิษที่ตกค้างเหล่านี้อาจจะยังไม่ออกฤทธิ์ออกเดชทันทีในช่วงที่ดินและสภาพภูมิอากาศมีความชื้นอยู่เพียงพอ เพราะความชื้นจากน้ำและสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวช่วยในการบรรเทาและเจือจางสารเคมีเหล่านั้นให้เป็นอันตรายน้อยลง แต่ถ้าเข้าสู่ฤดูแล้งหรือต้นฤดูหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อยทำให้น้ำในดินระเหยออกไปในปริมาณมาก ทำให้สารพิษเหล่านี้มีความเข้มข้นมากขึ้นจนเป็นพิษต่อมะนาว ทำให้ต้นมะนาวทั้งหลายอ่อนแอลง และเชื้อโรคแคงเกอร์ฉวยโอกาสเข้ามารบกวนและจู่โจมส้มหรือมะนาวของเราได้


ในปัจจุบัน มีข่าวดีที่เราหลีกหนีสารเคมีที่เชื้อมันเริ่มดื้อยา เราหันมาหาวิธีสามารถที่จะทำการรักษาโรคแคงเกอร์นี้ได้แล้ว


โดยที่ไม่ต้องไปใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายทั้งหลาย รวมทั้งสารประกอบทองแดงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะยิ่งใช้นานเข้าก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความเลวร้ายให้แก่ต้นเพิ่มขึ้น เพราะต้นเขาจะยิ่งอ่อนแอหรือตายลงไป แต่โรคนั้นก็ยังคงอยู่ ไม่หายไปไหน เราควรเปลี่ยนมาใช้กรดอินทรีย์สังเคราะห์บางตัวที่ใช้ปราบเชื้อโรคแคงเกอร์นี้ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อพืชและผู้ใช้ นั่นคือ "อีเรเซอร์-1" สลับกันกับ"คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า"
ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่ปลอดภัยและได้ผลดี ในอัตรา 20 ซีซี.ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน ทั้งป้องกันและกำจัดโรคนี้ ด้วยกรรมวิธีของกระบวนการ "Systemic Acquired Resistances" (SAR) นี่จึงเป็นอีกทางออกหนึ่งของปัญหาโรคแคงเกอร์ หรือโรคขี้กลาก ที่น่ากลัวที่ทำความเสียหายให้กับพืชตระกูลส้มของเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง มะนาว หรือว่ามะกรูดก็ตามที แต่บัดนี้เรามีทางแก้ไขแล้วด้วยกระบวนการใหม่ที่ใช้กระบวนการทางชีวเคมีของพืชเข้าช่วย

(หมายเหตุ: พืชตระกูลส้ม (Rutaceae) มีสมาชิก จานวน 130 สกุล และมีมากถึง 1,500 ชนิด (จตุพร และคณะ, 2541) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและพม่า (Tolkowsky, 1938) แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานที่สามารถยืนยันแหล่งกาเนิดที่แท้จริงของส้ม (อำไพวรรณ และคณะ, 2527)

การผลิตต้นส้มในปัจจุบัน เกษตรกรให้ความสำคัญในการคัดเลือกพันธุ์ของต้นตอที่มีความเหมาะส้มกับกิ่งพันธุ์ดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้นตอส้มเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพการผลิตส้มกล่าวคือ ต้นตอส้มจะมีอิทธิพลต่อความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ความแข็งแรงของต้นส้ม ความต้านทานต่อโรค ความเข้ากันได้ของต้นตอกับยอดพันธุ์ดี การเคลื่อนย้ายธาตุอาหารและน้า ระบบราก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อผลผลิต และคุณภาพของผลส้ม (เปรมปรี, 2544)

ที่มา:(1) ไพโรจน์  จ๋วงพานิช
       (2) หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย, 2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่     เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า
       (3) มนตรี บุญจรัส. 2557 . ปัญหาที่เกิดบ่อยในการทำมะนาวนอกฤดู. เกษตรวาไรตี้ รู้แล้วรวย  ฉบับที่ 35/2557.
       (4) ศุภรักษ์ ศุภเอม
       (5) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตรวจเอกสาร)







อีเรเซอร์-วัน

กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )

2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )



การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)

คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1

ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์

ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว


คาร์บ็อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า

องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)

กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น






กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)


กลไกการออกฤทธิ์ของ คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า(Carboxyl-plus Extra)

คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (Carboxyl-plus Extra) ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิคและกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์ สรุปได้ดังนี้
1.    กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ผนังเซลล์ชั้นนอกถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ที่บริเวณผนังเซลล์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต

2.    กรดในสภาพไม่แตกตัว(RCOOH) จะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์เข้าไปทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว

3.    กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัวภายในเซลล์เชื้อโรค ทำให้ pH ในเชื้อโรคลดลง จึงทำให้คุณสมบัติของโปรตีนเปลี่ยน ทำให้โปรตีนสูญเสียคุณสมบัติการทำหน้าที่เป็นเอ็มไซม์ (Enzymes)ที่จำเป็นของเชื้อโรค

4.    เชื้อโรคต้องเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลาทำให้สูญเสียพลังงานมากจนตาย

5.    กรดแตกตัวประจุลบ ( RCOO-) ที่แตกตัวภายในเซลล์ของเชื้อโรค จะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและจะไปรบกวนขบวนการสังเคราะห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย






ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
Line ID :  organellelife
084-8809595,084-3696633

e-book การเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

e-book การเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ : ทางรอด..เกษตรไทย ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ

          ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ : ทางรอด..เกษตรไทย
                      ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ 



 
         "ต้นทุนต่ำ"
ไม่ใช่ความหมายเดียวกับคำว่า "ลดค่าใช้จ่าย" ให้ต่ำ มันมีความหมายที่แตกต่างกัน ในทฤษฎี "2 สูง 1 ต่ำ" ของผม ผมจะไม่เน้นให้เกษตรกร "ลดค่าใช้จ่าย" ที่จำเป็นลงเพราะต้องการเพียงแค่จะประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะถ้าการ "ลดค่าใช้จ่าย" ที่จำเป็นลงแล้ว เกิดผลผลิตตกต่ำลงมา ก็คงไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น อย่างเช่น ถ้าลดการใช้ปุ๋ยลงไปไร่ละ 30 กิโลกรัม แต่ผลผลิตลดลงไป 15% แค่นี้ก็ไม่คุ้มแล้วครับ เพราะการลดปุ๋ยลงไป 30 กก.สมมุติลดเงินได้ 900 บาท( ปุ๋ยกิโลกรัมละ 30 บาท) แต่ผลผลิตลดลงไป 15% ซึ่งเท่ากับ 600 กิโลกรัม ( สมมุติคุณปลูกยาสูบ ได้ผลผลิตไร่ละ 4,000 กิโลกรัม ผลผลิตลดลงไป 15%  ก็เท่ากับว่าผลผลิตลดลงไป 600กิโลกรัม ) ถ้าผลผลิตรับซื้อกิโลกรัมละ 7 บาท รายได้ก็ลดลงไปเป็นเงินถึง 4,200 บาทเลยทีเดียว ซึ่งรายได้หายไปมากกว่าการลดค่าปุ๋ยลงไปซะอีก (เพราะค่าปุ๋ยลดลงไปแค่ 900 บาทเท่านั้นเอง)  สิ่งที่ควรมองและให้ความสำคัญมากกว่าคือคำว่า"ต้นทุนต่ำ" นั่นคือ..คุณอาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปอีกไร่ละซัก 1,000 บาท (เป็นการเพิ่มต้นทุน) แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมา 20% หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาประมาณ 800 กิโลกรัม จะทำให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 5,600 บาท( ผลผลิตรับซื้อ กก.ละ 7 บาท  ลงทุน1,000 บาท แลกกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น 5,600 บาท) นี่แหล่ะ..ที่เราเรียกว่าการทำ "ต้นทุน" ให้ต่ำลง (คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายจ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น )  คุณอาจจะสามารถลดต้นทุนให้ต่ำจากการตัดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆลงได้เล็กน้อย แต่ผลกระทบอาจเกิดขึ้นกับผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตที่อาจลดลงตามไปด้วยได้ และอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากมายถ้า"ค่าใช้จ่ายลด" แล้ว"ผลผลิตก็ลด"ตามลงไปด้วย  และสิ่งที่สำคัญที่ควรทำให้ "ต้นทุนต่ำ" ก็มีเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆในทุกๆด้านให้กับพืชเพิ่มขึ้น อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่างๆ(ให้สารสำคัญต่างๆที่จำเป็นสำหรับพืช  ปุ๋ยและธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมนพืชฯลฯ) ที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างแม่นยำเข้าไป เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่างๆ อาทิ อะไรที่ฟุ่มเฟือยต้องบริหารจัดการใหม่ ข้อจำกัดการทำการเกษตรบางอย่างในการผลิตพืช ซึ่งในบางครั้งก็ตัวชี้เป็นชี้ตายนั่นก็คือ "ค่าจ้าง ค่าแรงงาน ต่างๆ" บางอย่าง พืชบางพืชไม่เหมาะกับการจ้างแรงงานทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะต้นทุนจะสูง เกษตรกรบางกลุ่มจะหลีกเลี่ยงการจ้างแรงงานโดยการใช้แรงงานต่างตอบแทนกัน(แลกเปลี่ยนแรงงานกัน) เพราะพืชนั้นๆไม่ได้มีมูลค่าของราคาและรายได้ตอบแทนที่สูง เผื่อไว้ให้สำหรับเป็นต้นทุนตรงนี้ ขืนทำอะไรก็ต้องจ้างแรงงานทั้งหมด ก็จะถูกค่าจ้างแรงงานกินหมด กลายเป็น"ต้นทุนใหญ่" ที่แบกรับไม่ไหวเหมือนกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาเลยเผื่อส่วนรายจ่ายที่เป็นต้นทุนตรงนี้ไว้ สำหรับการใช้เครื่องมือเครื่องทุ่นแรงแทนแรงงานคนไป หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานคน ไม่อย่างนั้นมีสิทธิค่าแรงงานเอาไปกินหมด ซึ่งไม่เหมาะกับบางพืชที่มีมูลค่าผลตอบแทนต่ำ เกษตรกรที่ชาญฉลาด(Smart Farmer)จะให้ความสำคัญกับการบริหารตรงนี้ให้ลงตัว ต้นทุนการใช้ปัจจัยต่างๆ ต้องประณีตและพิถีพิถัน แม่นยำ ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรคุ้มหรือไม่คุ้ม สังเคราะห์ปัญหาด้วยความแม่นยำ แล้วคุณจะเป็นผู้ชนะ จากข้อมูลที่แสดง ต้นทุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของออร์กาเนลไลฟ์ ที่ใช้(ไม่ว่าจะวัคซีนพืช วัคซีนแมลง สารตั้งต้น(Precursor) และอื่นๆ) ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ไร่ละ 1,500 กว่าบาท ต้องดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ กับผลตอบแทนทางด้านผลผลิตและคุณภาพที่ได้รับถ้าไม่คุ้มก็ตัดบางส่วนออกไป แต่จะตัดตัวไหนตัดสินใจดีๆ ตัดสินใจให้แม่นๆ ที่ว่ามันจะไม่กระทบต่อผลผลิตและคุณภาพด้วย เพราะว่าปัญหาต้นทุนที่สูงมันอาจจะไม่ใช่เพราะจ่ายค่าผลิตภัณฑ์จากสินค้าออร์กาเนลไลฟ์ ก็ได้ มันอาจจะจะมาจากปัจจัยอื่นๆที่เราควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะดินฟ้าอากาศ หรือสภาพดินที่ปลูกเป็นต้น เพราะปัญหาบางอย่าง ถ้าตัดสินใจผิดพลาดปัญหามันจะยิ่งแย่กันไปใหญ่  ทุกอย่างจึงเป็นที่มาของ"องคาพยพ" ของคำว่า"เกษตรกรรม" ที่จะทำให้รวยก็ได้ ทำให้จนก็ได้ แต่เมื่อเจอปัญหา อย่า!!..พากัน"หลงทาง" ต้องวิเคราะห์ปัญหาด้วยปัญญาอย่างแท้จริง อย่างแม่นยำ เกษตรกรรมก็ยังจะทำให้คนเรามีโอกาสมีรายได้ที่ดีและมั่นคงได้อย่างแน่นอน


ยกตัวอย่าง: ทางรอด ยาสูบไทย

ที่ต้องใช้ทฤษฎี " 2 สูง 1 ต่ำ" เท่านั้น นั่นคือ

(1) ผลผลิตสูง         (2) คุณภาพสูง         (3) ต้นทุนต่ำ 


แต่ในทางกลับกันถ้าเราหันกลับไปใช้ทฤษฎี " 2 ต่ำ 1 สูง" นั่นคือ (1) ผลผลิตต่ำ (2) คุณภาพต่ำ
(3) ต้นทุนสูง ย่อมเกิดความมืดมนตามมา กับปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นอยู่ร่ำไป และถ้าปล่อยให้ยาสูบเกิดความเสียหายทางด้านการเจริญเติบโต การเจริญเติบโตไม่ดี ปล่อยให้เกิดเป็นโรคต่างๆมากมาย เสียหายหลายร้อยหลายพันต้นต่อไร่ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ หนำซ้ำคุณภาพยังต่ำลงอีกด้วย เลยพากันทำให้ "ต้นทุนสูง" กันไปใหญ่ และพอได้ผลผลิตต่ำ คุณภาพต่ำ ราคาก็ตกต่ำตามมา หาที่ขายก็ลำบาก จึงต้องดิ้นรนต่อสู้กับพ่อค้าเพื่อต่อรองราคาที่รับซื้อ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อที่สูงๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องยากและลำบากมากเพราะเรากำหนดราคารับซื้อเองไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด สุดท้ายเราก็ "ขาดทุน" เราจึงต้องหันมาให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำ "ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ" ให้เกิดผลมากที่สุด นั่นคือการทำให้ " ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ"  โดยต้องทำอย่างไรให้ "ผลผลิตต้องทำให้ได้สูงถึง 90% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้( ตั้งเป้าหมายผลผลิตไว้ 5,000 กิโลกรัม/ไร่ ต้องทำให้ได้ถึง 4,500 กิโลกรัม/ไร่ ) ส่วนคุณภาพต้องทำอย่างไรถึงให้ได้เกรดสูงมากกว่า 90%  และทำอย่างไรถึงให้ต้นทุนต่ำ(ลงทุนไร่ละ 5,000บาท ได้ผลผลิตไร่ละ 5,000 กิโลกรัม ดีกว่าลงทุน 4,000 บาท แต่ได้ผลผลิตแค่ 3,000 กิโลกรัม ) แล้วจะทำอย่างไรดี?  ก็โดยใช้กระบวนการที่ดี ใช้ปัจจัยที่ "ใช่"  ตามที่พืชต้องการ อย่างรู้ใจพืช ว่าพืชต้องการอะไรในภาวะที่สิ่งแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งปัจจัยต่างๆต้องการสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมนำมาใช้ให้เกิดผลตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งควรต้องให้ความสำคัญต่อการลดความเสียหายอันเกิดจากภัยต่างๆทั้งภัยจากดินฟ้าอากาศที่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตกเดี๋ยวแดดออก และภัยจากโรค&แมลงต่างๆนานาที่ต่างพากันมาแบบหน้าใหม่ๆตลอดเวลาไม่รู้ว่าเป็นเชื้อโรคอะไรต่อมิอะไร ถ้าเรารู้ไม่เท่าทันมันก็เกิดความเสียหายอย่างมโหฬาร

ยาสูบรุ่นปลูกเดือนตุลาคม2556  ที่ผ่านมามีการใช้ทฤษฎีวันเดอร์แลนด์ในการดูแลตั้งแต่เริ่มต้นปลูก ใช้ "ซอยล์แอสท์" เป็นตัวปรับสภาพดินหว่านไถปลูก และการใช้ "ซอยล์ไลฟ์" ซึ่งเป็นอินทรียวัตถุสกัดจากธรรมชาติชนิดเข้มข้นเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินปลูก เป็นการ "ฟื้นดินตาย ให้กลายเป็นดินเป็น" เป็นการให้ "ออกซิเจน" ทางดิน  และการใช้อาหารพืช "กรีนอัพ" สูตร 5 พลัง เป็นปุ๋ยเสริมแต่งหน้า(Side Dressing) ซึ่งมีทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน(N) อยู่ในรูปไนเตรท(NO3) ซึ่งพืชดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีทันใด อีกทั้งยังมีฮอร์โมนพืชที่จำเป็น มีสารให้พลังงานน้ำตาลทางด่วน มีสารป้องกันโรคและแมลง มี อมิโน แอซิด(Amino acid)  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อพืชที่ให้กับยาสูบทางดินอย่างมืออาชีพจากออร์กาเนลไลฟ์  ส่วนปุ๋ยรองพื้น ( Base Dressing) ใช้สูตร 8-12-24+6 MgO+ 0.5B นอกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทางดินแล้ว ส่วนอื่นก็เป็นไปตามทฤษฎี คือมีการให้ "วัคซีนพืช" 


ตามกระบวนการ "SAR"(Systemic Acquire Resistance) นั่นคือ คือใช้  "ซาร์คอน" และ "คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า" เป็นวัคซีนป้องกันโรคและแมลงของยาสูบ ทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นโรคใบด่าง ใบหด เตี้ยแคระ หรือโรคเหี่ยวเฉา โรคเน่าที่ราก เน่าที่โคน ก็จะหมดไปไม่เกิดขึ้นให้รำคาญหัวใจ

มีการให้สารที่เป็นประโยชน์ทั้งฮอร์โมนและสารSecondary Metabolites ที่สำคัญบางตัว มีการใช้ "ไบโอ-เจ็ท" กระตุ้นการแตกราก กระชากการแตกยอด แตกใบและมีการให้สาร Precursor(สารตั้งต้น) ที่ชื่อว่า "สารมาเลท" (Malate) นั่นคือ "พาร์ทเวย์ เพาเวอร์-5 " ที่เป็นสารสำคัญในกระบวนการชีวเคมีของยาสูบในการสร้างการเจริญเติบโตและสร้างสารสำคัญ อาทิ "นิโคติน" และสาร "อัลคาลอยด์" ต่างๆที่มีมากกว่า สิบๆชนิดในใบยาสูบอันเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างคุณภาพของใบยาสูบ จะเรียกว่าสวนยาสูบนี้เป็น "สวนยาสูบกึ่งอินทรีย์" ก็ไม่ผิดที่ผิดทางมากนัก เพราะเราพยายามจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด ยกเว้นปุ๋ยเคมี(สูตร 8-12-24 และ 15-0-0 ) ที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะยังมีความจำเป็น แต่เราก็ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะมันยังไม่มีทางออกและยังหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง เป้าหมายของการทำยาสูบยุคใหม่นี้ ที่ต้องให้มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 4,500-5,000 กก./ไร่( ปลูกไร่ละ 2,500 ต้น ให้ได้น้ำหนักต้นละ 2 กก.และทุกต้นต้องไม่เสียหายจากการทำลายของโรคและแมลงต่างๆและทุกต้นต้องเจริญเติบโตได้ดีไม่มีสะดุดและสมบูรณ์เหมือนกันทุกต้น)


นี่คือสิ่งที่เรา ต้องทำให้ได้นั่นเอง  ยาสูบยุคใหม่จึงต้องใส่ใจ"องค์ความรู้" ใหม่ๆ "นวัตกรรม" ที่แม่นยำ ที่ไม่อยู่กับที่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่มีผลร้ายต่อสุขภาพให้ได้มากที่สุด "สุขภาพล้ม คนล้ม" แล้วเราจะหารายได้ไปเพื่ออะไรกัน " พืชไม่ล้ม สุขภาพไม่ล้ม คนไม่ล้ม" ชีวิตก็ยืนยาว นี่คือ.. สิ่งที่พึงปรารถนาของมนุษย์เราทุกคน..ไม่ใช่หรือ


                                                                                       ด้วยความปรารถนาดีจาก
                                                                                     ภัคภณ (ธณกรภ์)    ศรีคล้าย
                                                                          บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
                                                                                                         

www.paccapon.blogspot.com                                                                                                          www.organellelife.com
www.organellelife-vdo.com
www.facebook.com/organellelife.org