FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ 10-20 ตันขึ้นไป




บทนำ
มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ที่สุดพืชหนึ่ง ของไทย เท่าที่ผ่านมา มีการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับมันสำปะหลัง อย่างกว้างขวาง จนทำให้ไทยเป็น ประเทศแนวหน้าในวงการอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวกับมันสำปะหลัง
ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำกล่าวคือเริ่มจากการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวภายในไร่นาของเกษตรกรพัฒนาไปยังอุตสาหกรรมปลายน้ำอันได้แก่ ผลิตภัณฑ์บรรจุหีบห่อ อุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนเอทานอล ที่ใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งหลายคนบอกว่า อนาคต มันสำปะหลังจะกลายเป็นบ่อน้ำมันบนดินของประเทศไทย แต่ถ้าหันมามองเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ไม่ค่อยมีทุน ทำให้ได้ผลผลิตที่ต่ำเฉลี่ยเพียงแค่ 3-4 ตันต่อไร่เท่านั้นการพัฒนาในส่วนอุตสาหกรรมต้นน้ำได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ จากนักวิชาการ นักวิจัยที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับมันสำปะหลัง โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เกษตรกรและผู้สนใจท่านใดอยากพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังแนวทางใหม่ก็ลองนำวิธีการต่างๆ ที่ถ่ายทอดมานี้ไปปฏิบัติดูคงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จใหม่ๆ ที่ท่านอาจจะไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีแบบนี้ด้วยเหรอ
โดยการจัดทำคู่มือเกี่ยวกับมันสำปะหลังเล่มนี้ ประกอบด้วยบทความที่เป็นองค์ความรู้จากประสบการณ์จริงและองค์ความรู้ใหม่ๆที่ได้ประยุกต์ใช้จริงมา แล้วเอาออกมาเผยแพร่เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้ เราจะพูดถึงการปลูกมันสำปะหลังที่ดี ซึ่งหลักๆจะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1.ดินปลูก  2.การดูแล ระบบการทำงานและกระบวนการทำงานของพืช  3.อื่นๆ (พันธุ์ ระบบน้ำ ปุ๋ย วัชพืช โรค& แมลงศัตรู ฯลฯ )แนวทางการผลิตมันสำปะหลังยุคใหม่เล่มนี้จึงไม่ใช่ตำราวิชาการฉบับไดโนเสาร์ ที่มีแต่เนื้อหาเก่าๆ แต่ได้รวบรวมผลงานการทำงานของสมาชิกของชมรมนวัตกรรมมันสำปะหลังไทย และผลงานการค้นคว้า ศึกษาและทดลองของ คุณ ภัคภณ ศรีคล้าย นักวิชาการเกษตรอิสระ ที่คลุกคลีกับพืชต่างๆหลายชนิดมานานกว่า 30 ปี มาถ่ายทอดสู่ท่านเกษตรกร เป็นแนวทางใหม่ที่เป็นการผลิตมันสำปะหลังได้มากกว่า 10-20 ตันต่อไร่ ในต้นทุนที่ต่ำ กับค่าใช้จ่ายที่เกษตรกรสามารถเลือกลงทุนได้เองกับปัจจัยการผลิตต่างๆที่ไม่มีใครบังคับ เพราะทุกอย่างเป็นทางเลือก และทางเราได้คัดปัจจัยมานำเสนอในส่วนที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อพืชจริงๆ และตรงกับประเด็นปัญหาของมันสำปะหลังในยุคปัจจุบันมากที่สุด


เกษตรกรและผู้สนใจท่านใดอยากพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังแนวทางใหม่ก็ลองนำวิธีการต่างๆ ที่ถ่ายทอดมานี้ไปปฏิบัติดูคงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จใหม่ๆ ที่ท่านอาจจะไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีแบบนี้ด้วยเหรอ



"คิดอะไรแบบเดิมๆ ก็จะได้อะไรแบบเดิมๆ"
ถ้าเคยทำในสิ่งที่เคยทำ  เราก็จะได้ในสิ่งที่เคยได้ แต่..ถ้าเราทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ  เราก็จะได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยได้"
                                                                                                                 ด้วยความปรารถนาดี
                                                                                                     ชมรม นวัตกรรมมันสำปะหลังไทย
                                                                                                                   กันยายน  2557


นวัตกรรมมันสำปะหลังไทย
“1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ” 
1 พื้นฐาน  คือ  ดินควรมีการปรับปรุง บำรุงดินให้ดินมีชีวิต (ไม่ใช่ดินตาย) ดินที่มีอินทรียวัตถุมากเพียงพอ ดินที่มีโครงสร้างที่ดี ไม่แน่นทึบ โปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี และมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มากพอ
เพื่อการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน
"3  กระบวนการ"  คือ
1. กระบวนการ “สั่งราก” (Root Cell Revitalization)
2. กระบวนการ “สั่งลงหัว” (Tuberization)  
3. กระบวนการ “สั่งแป้ง” (Starch Biosynthesis)
กระบวนการแรก  กระบวนการ “สั่งราก” (Root Cell Revitalization) ถ้าเราสามารถสั่งรากได้ เราก็มีชัยไปกว่าครึ่ง รากที่ดีคือ “รากสะสมอาหาร” (Storage Root) หรือที่เราเรียกว่า Tuburous Root ซึ่งจะต่างจาก
“รากหาอาหาร” (Fabous Root) ถ้าเราสั่งรากได้ 200-300 ราก และเป็นสัดส่วน “รากสะสมอาหาร” เป็นส่วนใหญ่ 
อะไรจะเกิดขึ้น “เราชนะไปครึ่งทางแล้ว”
                กระบวนการสอง  กระบวนการ “สั่งลงหัว” (Tuberization) “เปลี่ยนรากให้เป็นหัว อย่ามัวหลงทาง”
เมื่อส่งไม้มาก็ต้องรับให้แม่น  เมื่อรากดี ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนให้เป็นหัวให้ได้มากที่สุด  มีรากสะสมอาหาร
30 ราก เปลี่ยนเป็นหัวได้ 30 หัว  เปลี่ยนได้แม้กระทั้งกิ่งและแขนงของรากสะสมอาหาร
                กระบวนการสาม  กระบวนการ “สั่งลงแป้ง” (Starch Biosynthesis) เพิ่มปริมาณแป้งและโปรตีนให้สูง
ขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น หัวโตเร็ว หัวใหญ่ ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง  นี้คือ เป้าหมายสุดท้ายแห่งความสำเร็จ
กระบวนการ "TUBERIZATION"   กับกลไก การลงหัว"
เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน
การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบ

ธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์"(ZUKAR-Highway) ร่วม ด้วยจึงมีความจำเป็น นี่คือ..คำตอบ ในการพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังในยุคใหม่แห่งโลกอนาคตทางการเกษตร
ช่วงอายุประมาณ 60-90 วันจะเป็นช่วงอายุ(Growth Stage) ของมันสำปะหลังที่จะเปลี่ยนการเจริญเติบโตมาเป็นการ"ลงหัว"เพื่อสะสมอาหารที่หัว มันจะมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาควบคุมกระบวนการลงหัว(TUBERIZATION) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มันสำปะหลังสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ของปริมาณแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าความสัมพันธ์ของแสงและอุณหภูมิ ไม่สัมพันธ์กัน มากไปหรือน้อยไป มันก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ การลงหัวก็จะสะดุดและลงหัวได้ไม่ค่อยดี หรือไม่มีการลงหัว มัวแต่หลงทาง และงามแต่ต้นงามแต่ใบ ไม่มีหัวหรือมีหัวจำนวนน้อย ถ้าฮอร์โมนตัวนี้เพียงพอการลงหัวก็จะดี ทุกอย่างเป็นกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ ถึงกลไกต่างๆ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติโดยการสร้างสารบางอย่างหรือฮอร์โมนบางอย่างที่มัน พร่องหรือมันขาดแคลนและนำสารหรือฮอร์โมนนั้นๆมาทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนนี้ให้ แก่พืชได้ พืชย่อมดีใจและสามารถทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ (ในภาพ: มันอายุ 5 เดือน ทำหน้าที่"ลงหัว" เกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะรากเล็ก รากน้อย เปลี่ยนเป็นหัวเกือบหมด รอก็แต่ขยายหัวและ"ลงแป้ง"เท่านั้น)
ต่อไป..เมื่อปลูกมันสำปะหลัง คราใด ให้มั่นใจในกระบวนการ "Tuberization" ด้วย "แอคซอน" และ
"ซูการ์-ไฮเวย์" "หัวดก หัวใหญ่ น้ำหนักดี มีเปอร์เซนต์แป้งสูงให้มั่นใจ.. "ออร์กาเนลไลฟ์   เราดูแลทุกระบบการทำงานภายในของพืชอย่างรู้จริง
ผมก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำการศึกษาค้นคว้าและดูงานวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง และลงดูสภาพจริงในไร่ปลูกที่เกี่ยวข้องกับงานที่ศึกษาค้นคว้าอยู่  โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สิ่งที่ผมพบกลับกลายเป็นเรื่องที่ง่ายๆ จึงจับประเด็นและลงมือทดสอบกระบวนการทำงานต่างๆของมันสำปะหลัง ประกอบกับใช้ควบคู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญคือ "เรื่องดิน" และปัจจัยรองๆที่ตามมาคือเรื่องของ พันธุ์ เรื่องของปุ๋ย เรื่องของระบบน้ำ เป็นส่วนเสริม ที่ให้ความสำคัญมากคือ "ดิน"และ"กระบวนการทำงานภายในของพืช"อย่างมันสำปะหลัง วิธีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้มากกว่า 10-20 ตันต่อไร่ จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว เพียงแค่กระบวนการแรก "กระบวนการสั่งราก"(Root Cell Revitalization) ถ้าทำได้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ และมีทำวิธีการง่าย ๆ ให้สำเร็จได้ด้วย  ด้วยการทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เราปลูกลงไปในแปลงมีรากออกมามากที่สุด เพราะถ้ารากมากก็มีสิทธิ์กลายเป็นหัวได้มาก  หัวมันสำปะหลังจะไม่ดกหรอกถ้ามันมีรากน้อย  ผลผลิตต่อต้นมันก็จะไม่ได้ 15-20 กก.หรอกถ้าท่อนมันตอนแรกมันออกรากมาแค่ 5-6 ราก  ควรทำให้รากออกมากที่สุดตอนปลูกเป็นใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้พันธุ์พันธ์เทวดา แค่ทำให้รากออกมาเยอะและสมบูรณ์เป็น"รากสะสมอาหาร" ก็เพียงพอที่จะชนะไปครึ่ง
ทางแล้วครับ






รากคือหัว  หัวคือราก                                                                               
นี่คือ คำตอบของการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้มากกว่า 10 ตันต่อไร่
กว่า 10 ปีที่เราเหล่านักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ทางการเกษตร พยายามค้นหาคำตอบว่า ทำอย่างไรเราจึงจะเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตมากกว่า 10 ตันต่อไร่ เพราะที่ผ่านมาผลผลิตมันสำปะหลังของไทยจะอยู่ประมาณ 3-4 ตันต่อไร่   ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการลงหัวของมันสำปะหลัง
             1.  สายพันธุ์ หลายคนหลายหน่วยงานก็มุ่งเน้นไปที่สายพันธุ์ มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างมากมาย มีการโฆษณาทั้งที่เป็นความจริง และ เกินความจริง มีทั้งที่กรมวิชาการเกษตรรับรองพันธุ์และไม่รับรองพันธุ์ ไปชมแปลงสาธิตแล้วตัดสินใจซื้อมาปลูกกันมากมาย แต่ผลผลิตมักไม่เป็นเป็นไปตามที่เห็น ในแปลงทดลองหรือแปลงสาธิต ผิดหวังกันไปตาม ๆ กัน เลยมีคำถาม ตามมามากมาย ว่าทำไมเราไปยืนดูเขาที่แปลงสาธิตด้วยตาตัวเอง เขาได้ 18 ตันต่อไร่ แต่พอเรานำต้นพันธุ์มาปลูกเอง กลับได้แค่ 4-5 ตันต่อไร่เหมือนเดิม
             2.  ปุ๋ย   มีการพัฒนาและปรับปรุงปุ๋ยสูตรต่าง ๆ เพื่อมาทำให้มันลงหัว มีสารระเบิดดินชนิดต่าง ๆ ตามมามากมาย ทั้งที่ขายถูก และ ที่ขายแพงกันมาก ๆ ก็มีแต่หลังจากที่เกษตรกรหลายรายนำไปใช้แล้วผลผลิตก็ออกมาใกล้เคียง  4-5 ตันเหมือนเดิมต่อไร่
             3.  ระบบน้ำ   หลายกลุ่มหันมาทำน้ำหยด มีการโฆษณา ให้เกษตรกรหันมาทำมันสำปะหลังน้ำหยดกัน
น้ำก็มีส่วนช่วยให้มันสำปะหลังมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากที่เคยผลิตได้ 3-4 ตันต่อไร่ กลายเป็น 6-8 ตันต่อไร่ แต่ทั้งนี้ก็ต้อง อาศัยเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังที่ดี และพยายามเติมปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ลงไปจำนวนมาก
ในส่วนตัวของผมยังยืนยันอยู่ตลอดเวลาว่า กระบวนการที่สำคัญมีอยู่ 3 กระบวนการ นั้นคือ
“1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ”   มีกระบวนการ “สั่งราก” (Root Cell Revitalization)  กระบวนการ “สั่งลงหัว” (Tuberization)   กระบวนการ “สั่งแป้ง” (Starch Biosynthesis)
ในธรรมชาติ
Photoperiod หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก  (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial  Growth) เป็นจำนวนมาก      
“การลงหัว”                 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณ
ปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้




             1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์)  เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน   
             2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์)  เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว  (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”      
            3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่)  ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่
ให้เหมาะสม  สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัว อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมา ณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อได้รับ “AXZON” (Jasmonic acid , Glutamic acid and Organic acid compound) จะช่วยให้เซลล์บริเวณ Storage Root มีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทำให้พร้อมสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น อีกทั้งการเคลื่อนย้ายโปรตีนและแป้งทำให้ง่ายขึ้น หัวเลยใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว



การแช่"ซาร์คอน"(SARCON)
        SARCON:ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก ไม่ใช่สารเคมีฆ่าเพลี้ยฆ่าแมลง ไม่ใช่สารเคมีกำจัดโรคพืช แต่เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายตัวที่ทำหน้าที่ๆสำคัญต่างๆต่อกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry) และทำหน้าที่ได้ในหลายๆด้าน)
ความจำเป็นที่ต้องแช่ท่อนพันธุ์ ด้วย"ซาร์คอน"(SARCON)
คุณประโยชน์ 3 ประการของสารสำคัญที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน"(SARCON)
1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์รากพืช อาทิ การสร้างราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากๆ
2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ
3. กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นคือกระบวนการ"Revitalize" เซลล์รากและสร้างสัดส่วนราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร)กับราก"Fibrous root"(รากหาอาหาร) ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากพอต่อการสร้างเป็น"Tuber"(โดยผ่านกระบวนการTuberization) และอีกหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว  เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น

 
             กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช
การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย "ซาร์คอน"(SARCON)
ไม่ใช่เป็นการแช่"ฮอร์โมนเร่งราก" เพื่อให้รากเยอะอย่างเดียว(เพราะ"ซาร์คอน"ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการ"Revitalize" เซลล์ราก) แต่การแช่"ซาร์คอน"ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ได้รากเยอะๆและที่สำคัญรากนั้นๆต้องเป็นราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากพอจากกระบวนการทำงานในระบบเซลล์รากที่สมบูรณ์ เมื่อได้"รากสะสมอาหาร"ที่มากพอก็รอเข้าสู่"กระบวนการลงหัว"(Tuberization) ด้วย"แอคซอน"(AXZON) ต่อไป
   นี่เพียงแค่หนึ่งในหลายๆคุณประโยชน์ของกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ใน"ซาร์คอน"หลายๆชนิด ที่ทำหน้าที่ได้มากมายในระดับเซลล์ ทั้ง
1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่
2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)
3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ
4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้
5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้
6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน


1.   ขั้นตอนการเตรียมดิน  ให้หว่านซอยล์แอสท์ไร่ละ 50-100 กก  หลังจากไถขึ้นแปลงแล้ว  ให้ใช้รถไถใหญ่ 
           ใช้ผาล 2  หรือผาล 3 ไถดะ ตากดินไว้ 7 วัน   ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 120 ซม. ระหว่างต้น 80 ซม.



2.  ขั้นตอนเตรียมต้นพันธุ์   จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณไร่ละ 200 ต้น ให้ตัดต้นพันธุ์ 
     ยาว 20 เซนติเมตร ต้นพันธุ์ 1 ต้น จะตัดได้ 10 ท่อน
 



3.  ขั้นตอนการแช่ท่อนพันธุ์   ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะมันสำปะหลัง รากคือหัวหัวคือราก ฉะนั้นหากเราอยาก    
      ได้หัวมาก หัวดก ๆ เราก็ต้องทำให้ท่อนพันธุ์มัน มีรากออกมามากที่สุดอย่างน้อย 200 - 300 ราก
             ขั้นตอนการแช่ท่อนพันธ์มันสำปะหลัง
                      1. ใช้ ซาร์คอน        200  ซีซี      ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ราก
                      2. ใช้ ออร์ซ่า           50   ซีซี       ช่วยดูดซึมเร็ว
                      3. ใช้ ซอยล์ไลฟ์     250  กรัม     ช่วยกระจายราก
                      4. น้ำ                         200  ลิตร    
                            (แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง)
              รับรองรากออกมหาศาลครับ การแช่ ให้แช่ทั้งท่อนที่ตัดพร้อมปลูกเลยครับ  ถ้าปลูกจำนวนมาก
ให้แช่ท่อนพันธุ์ แล้วใส่กระสอบปุ๋ยหรือกระสอบป่านไว้ก่อน แล้วเก็บไว้ในที่ร่ม ทำล่วงหน้าได้ 3 วันครับ
ตัวอย่างการแช่ราก ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นนะครับ

 
4. ขั้นตอนการปลูก
    ให้ปลูกระยะ 80 เซนติเมตรปักต้นมันให้ลึก 10 เซนติเมตรหรือครึ่งหนึ่งของท่อนพันธุ์ ปักลงไปตรง ๆ
     แล้วผลักให้ล้มเสมอดินหลังจากปลูกเสร็จให้ผสม ซอยล์ไลฟ์  250 กรัมต่อน้ำ  200 ลิตร ฉีดพ่นลงดินให้ทั่ว
5. ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางดินรอบที่ 1   เมื่อต้นมันปลูกไปได้ประมาณ 21-25 วัน ให้ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี ออร์กรีน-พลัส
    สูตร 12-3-3  ผสมฮอร์โมนอาหารพืช(ชนิดเม็ด) กรีนอัพ  อัตรา 25 กก. + 25 กก.  และฉีดพ่นที่ดินด้วย ซอยล์ไลฟ์

6.  ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางใบ ขั้นตอนนี้เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 3 สัปดาห์ - 1 เดือน ให้ฉีดพ่น ไบโอเจ็ท อัตรา 100         
 กรัมผสมกับซาร์คอน 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตรฉีดพ่นทุก 7-10 วันอย่างน้อย 3-4 ครั้งจะทำให้ต้นมันสำปะหลังโตไวหนีหญ้า จะทำให้หญ้าโตไม่ทันและต้นมันสำปะหลังแข็งแรงพร้อมที่จะลงหัว
                  สรุปขั้นตอนนี้ใช้
                               1. ไบโอเจ็ท                     100  กรัม
                                2. ซาร์คอน                    200  ซีซี
                                3. น้ำ                              200  ลิตร       
                                   (ถ้าผสมในถัง 20 ลิตรก็ให้ลดสัดส่วนลง)
7.  ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางดินรอบที่ 2   เมื่อ มันสำปะหลังอายุ  75 - 90 วัน (2 เดือนครึ่ง - 3 เดือน) ให้ปุ๋ยทางดิน
     (ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี ออร์กรีน-พลัส สูตร 12-3-3ผสมฮอร์โมนอาหารพืช(ชนิดเม็ด) กรีนอัพ  อัตรา 25 กก. + 25 กก.) 
8.  ขั้นตอนการ “สั่งลงหัว” (TUBERIZATION)  ขั้นตอนนี้สำคัญมากนะครับ
     หลายคนปลูกมันสำปะหลังมีแต่ต้นไม่มีหัว ก็เพราะว่าลืมสั่งให้มันลงหัว พอมันสำปะหลังอายุ 2-3 เดือนขึ้นจะ
พร้อมสะสมแป้งเพื่อเตรียมการลงหัว  แต่ถ้ามันสำปะหลังได้รับปุ๋ยทางดินที่มีธาตุไนโตรเจน(N) สูงเกินไปก็จะทำให้ลงหัวไม่ดีหรือที่บางคนเรียกว่า มันบ้าใบขั้น ตอนนี้ให้เราฉีดพ่น “แอคซอน” สาร “สั่งลงหัว” ในมันสำปะหลัง ซึ่งมีสารประกอบหลัก เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์ที่จำเป็นต่อกระบวนการ TUBERIZATION เมื่อมันสำปะหลังได้รับสารตัวนี้ก็จะเริ่มลงหัว
ฉีดพ่น “แอคซอน”ในอัตรา  20 ซีซี ผสมกับออร์ซ่า 4 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ (หรือ 200 ซีซี + 40 ซีซีต่อน้ำ  200 ลิตร)
สรุปขั้นตอนนี้ใช้
1. แอคซอน               200 ซีซี
                         2. ออร์ซ่า                   40   ซีซี
                         3. น้ำ                          200  ลิตร
(ถ้าผสมในถัง 20 ลิตร ก็ให้ลดสัดส่วนลง)
 หมายเหตุ : “แอคซอน”  ฉีดพ่นเพียง “ครั้งเดียว”  เท่านั้น

9.  ขั้นตอนการขยายขนาดหัวมัน   เป็นขั้นตอนที่เราต้องการเพิ่มปริมาณแป้งและน้ำตาลในหัวมัน ขั้นตอนนี้
     จะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันเพิ่มขึ้นซึ่งมีผลตอนนำมันไปขาย และเป็นการขยายขนาดของหัวมันสำปะหลัง
     ให้โตดั่งที่เราต้องการ โดย ฉีดพ่นทุกๆ 10-15 วันครั้ง ฉีดได้เรื่อยๆ จนกว่าจะถอน 
                สรุปขั้นตอนนี้ใช้
                     1. ซูการ์-ไฮเวย์                         200  ซีซี
                     2. พาร์ทเวย์-เพาเวอร์-5         200  ซีซี
                     3. ออร์ซ่า                                   40    ซีซี
                       4. น้ำ                                  200  ลิตร       
                      (ถ้าผสมในถัง 20 ลิตร ก็ให้ลดสัดส่วนลง)

ทำครบทุกกระบวนการและครบทุกขั้นตอน รับรองผลผลิตเพิ่มขึ้นทะลุ 10-20 ตันอย่างแน่นอน 
สอบถามข้อมูลการปลูกมันสำปะหลังด้วยนวัตกรรมใหม่  ได้ที่ชมรมนวัตกรรมมันสำปะหลังไทย
โทร. 084-880-9595  หรือ  084-369-6633

ตารางการดูแลมันสำปะหลัง
ระยะ
การดูแลรักษา
การเตรียมดิน

ให้หว่าน ซอยล์แอสท์ ไร่ละ 50 -100 กก หลังจากไถขึ้นแปลง
แล้ว ให้ใช้รถไถใหญ่ใช้ผาล 2  หรือผาล 3  ไถดะ ตากดินไว้ 7 วัน
ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 120 ซม. ระหว่างต้น 80 ซม.
การแช่ท่อนพันธุ์
(Tuberous root Stage)

ตัดท่อนพันธุ์ความยาว 20 ซม. แช่ท่อนพันธ์ด้วย ซาร์คอน อัตรา 20 ซีซี 
ซอยล์ไลฟ์  อัตรา  25 กรัม  ออร์ซ่า  อัตรา  4 ซีซี  ผสมน้ำ  20 ลิตร  
เพื่อช่วยในการแตกเซลล์ราก  และป้องกันเพลี้ย  แช่ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
นำออกผึ่งไว้ในที่ร่ม

การปลูก

ปลูกระยะห่าง 80 ซม. ปักให้ลึก 10 ซม. หรือครึ่งหนึ่งของท่อนพันธุ์
 แล้วผลักให้ล้มลงนอนเสมอดิน

ปลูกได้ 7-14 วัน
( กระตุ้นแตกราก
กระชากแตกใบ)

ให้ฉีดพ่น ไบโอเจ็ท อัตรา 10 กรัม  ซาร์คอน  อัตรา 20 ซีซี และออร์ซ่า
อัตรา 4 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 -10 วันครั้ง  อย่างน้อย 3-4 ครั้ง
ฉีดพ่นให้เป็นละอองฝอยทั่วทั้งแปลง

ปลูกได้ 21-25 วัน
(ใส่ปุ๋ยทางดินรอบที่ 1)


ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี ออร์กรีน-พลัส สูตร 12-3-3 ผสมฮอร์โมนอาหารเสริมพืช(ชนิดเม็ด) กรีนอัพ  อัตรา 25 กก.+ 25 กก. และฉีดพ่นที่ดินด้วย ซอยล์ไลฟ์
อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร
ปลูกได้ 75-90 วัน
(ใส่ปุ๋ยทางดินรอบที่ 2)


ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี ออร์กรีน-พลัส สูตร 12-3-3 ผสมฮอร์โมนอาหารพืช(ชนิดเม็ด) กรีนอัพ  อัตรา 25 กก.+ 25 กก.
ปลูกได้ 75-90 วัน
 (Tuberization)

ฉีดพ่น แอคซอน อัตรา 20 ซีซี และออร์ซ่า อัตรา 4 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นเพียง “ครั้งเดียว”  ฉีดพ่นที่ใบให้เป็นละอองฝอยทั่วทั้งแปลง

หลังปลูกได้ 120-150 วัน
(สั่งสร้างแป้ง)

ฉีดพ่น พาร์ทเวย์-เพาเวอร์-5 อัตรา 20 ซีซี  ผสมกับ ซูการ์-ไฮเวย์  อัตรา 20 ซีซี
และออร์ซ่า  4 ซีซี  ผสมน้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่นทุกๆ 10-15 วันครั้ง
ฉีดได้เรื่อยๆ 3-4 ครั้ง  ฉีดพ่นให้เป็นละอองฝอยทั่วทั้งแปลง

 
  ซาร์คอน  สารกระตุ้นการเจริญเติบโตและสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต้านทานแมลง
คุณสมบัติ
           ซาร์คอนมีส่วนผสมของกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายชนิด อาทิ กรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืชโดยจะช่วยเสริมสร้างโครง สร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะให้ชั้นเซลผิวนอก (Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลและจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์ปกป้องพืชเมื่อ ถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น ทำให้พืชแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันโรคหลายชนิดพร้อมกัน (Broad Spectrum) สามารถใช้เป็นวัคซีนป้องกันโรคพืชได้ ทำให้พืชทนต่อการระบาดและไม่เป็นโรคง่ายในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลผิวนอกชนิดต่างๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, cork cell, guard cell, micro hair, prickle  hair, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง (mesophyll cell) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ปกติพืชได้รับ silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
           กรดซิลิซิคที่รวมตัวเป็นชั้นปกป้องพืช ยังช่วยให้พืชมีความทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆได้ดี เช่น ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนดินเค็ม เป็นต้น ในดินกรดซิลิซิคยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยว ดูดซับน้ำและรักษาความชื้นในดิน ช่วยทำให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้ดี กรดซิลิซิคในดินจะช่วยการปลดปล่อยปุ๋ยที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะปุ๋ยฟอสเฟต และยังสามารถจับสารพิษที่ตกค้างในดินไม่ให้ดูดซึมเข้าไปทำลายพืชได้ ทำให้การเจริญเติบโตของพืชดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพิ่มคุณภาพผลผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ สามารถเห็นผลได้ชัดเจนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น รวมทั้งพืชผัก ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ

ส่วนประกอบ
Orthosilicic acid  and additives



................................................................................
 ไบโอเจ็ท  สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ  ตายอด ตาดอก ตาใบ
  ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง  น้ำตาล  ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว 
    หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
  ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป
    และพืชที่แพ้สารเคมีให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
  สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
  พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี

 ...........................................

ซอยล์ไลฟ์ (SOIL LIFE)
ซอยล์ไลฟ์” ( SOIL LIFE ) เป็นสารอินทรีย์เข้มข้นที่สกัดมาจากธรรมชาติ
มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบำรุงดิน ปรับปรุงคุณภาพของดิน แก้ดินเป็นกรด
ซึ่งจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ออกดอกและผลดก ลดปัญหาการ
ระบาดของเชื้อโรคทางดิน อาทิ โคนเน่า โรครากเน่า โรคเหี่ยวเฉา ฯลฯ
และที่สำคัญคือช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ช่วยเสริมการใช้ปุ๋ยอย่าง
มีประสิทธิภาพ ทำให้พืชดูดกับธาตุอาหารได้ อย่างเต็มที่ ซอยล์ไลฟ์
สามารถละลายน้ำได้ดีมาก จึงสามารถใช้กับระบบน้ำหรือฉีดพ่นได้
ซอยล์ไลฟ์ คุณค่า 2 พลัง
1.      พลังต่อดิน
2.      พลังต่อพืช                                                                    
พลังต่อดิน
1.        ช่วยปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ไม่จับตัวแน่นแข็ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายน้ำดี
ช่วยอุ้มน้ำและออกซิเจน
2.        ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง (PH) ของดิน ทำให้ดินไม่เสื่อมง่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่างๆและ
ปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากขึ้น
3.  ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ในดิน ทำให้พืชได้รับสารอาหาร
     จากธรรมชาติได้ดี
1.           ช่วยให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารทางรากได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็น ธาตุอาหารหลัก
              ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม จึงช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี พืชงามสมบูรณ์
5.  ช่วยส่งเสริมขบวนการไนตริฟิเคชั่นได้ดีขึ้น
6.  ช่วยลดอัตราการใช้ปุ๋ยลงได้ถึง 30 – 50 %
พลังต่อพืช
1.    ส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน (AUXIN) ในพืช เพื่อการกระตุ้นแบ่งเซลล์
เพื่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชเติบโตเร็ว ใบเขียวใหญ่
2.   ช่วยเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
3.    ช่วยให้พลังงานและขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ต่างๆในพืชจากรากหรือใบไปยัง
                 จุดที่พืชต้องการอย่างรวดเร็ว 
   4.  ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้า เคมีต่างๆในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต
เพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงได้เต็มที่
5.  ช่วยเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์พืชและเพิ่มกระบวนการ
      สังเคราะห์  RNA
6.  ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ อาทิ
ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง

    
........................................................
 
แอคซอน  (AXZON)
             สารสั่งลงหัวdในพืชตระกูลลงหัวทุกชนิด อาทิ มันสำปะหลัง, มันฝรั่ง,
มันเทศ, หอม, กระเทียม, เผือก อื่นๆ ไม่ยอมลงหัว มัวแต่  หลงงามต้น  หลงงามใบ 
ต้องให้ AXZON ออกคำสั่ง มันฝรั่ง, มันสำปะหลัง, หอม, กระเทียม ถึงจะยอมลงหัว
นวัตกรรมใหม่สำหรับพืชมีหัวด้วยกระบวนการ Tuberization 
             AXZON มีส่วนผสมของกรดอินทรีย์และกรดจัสโมนิคที่ส่งเสริม
ขบวนการลงหัวให้พืช (Tuberization)
             AXZON  ทำให้พืชเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางด้านยาว (Elongation growth) มาเป็นการเจริญเติบโต
ทางด้านกว้าง (Lateral growth) แทน โดย AXZON จะทำให้ระดับน้ำตาลในเซลล์สูงขึ้นทำให้เกิดการแบ่งเซลล์
ในแนวรัศมีของลำต้นมากขึ้นเซลล์ขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีพื้นที่พร้อมที่จะสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น
             AXZON ประกอบด้วยสารเคมีที่โดยปกติพืชลงหัวต้องสร้างขึ้นตามธรรมชาติในช่วงระหว่างเริ่มลงหัว AXZON จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่อันตรายไม่ตกค้างในผลผลิต
             คุณประโยชน์
              •  ช่วยกระตุ้นขบวนการลงหัวของพืช (Tuberization) โดยใช้กรดอินทรีย์เลียนแบบธรรมชาติ

                    ช่วยเพิ่ม  จำนวนเซลล์สะสมแป้งและเพิ่มขนาดเซลล์สะสมแป้งทำให้ได้หัวใหญ่ขึ้นมากขึ้น
                    •  ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยวิธีง่ายๆและประหยัด โดยการฉีดพ่นทางใบเพียงครั้งเดียว 
                    •  ปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย ไม่มีสารตกค้าง
                    •  สามารถใช้ได้กับพืชลงหัวทุกชนิดโดยไม่เกิดอันตราย

      

 ...................................................................


ซูการ์-ไฮเวย์  (ZUKAR- Highway)
         ซูการ์ กรดอะมิโนเข้มข้น ละลายน้ำได้อย่างสมบูรณ์   พืชนำไปใช้ได้ทันที
และดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางราก ลำต้น กิ่งและใบ โดยเฉพาะในกรณีฟ้าปิด
1.             ซูการ์  เป็นสารพลังงานสูงที่พืชสามารนำมาสร้างฮอร์โมน และเอ็นไซม์
ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผลของพืช
2.             ซูการ์  ช่วยให้การพัฒนาดอก และผล มีประสิทธิภาพรวดเร็ว ช่วยส่งเสริม
การผสมเกสร ลดการหลุดร่วงเพิ่มคุณภาพผล และปริมาณผลผลิต
3.             ซูการ์  ช่วยพืชที่อยู่ในสภาพเครียด หรือโทรม ทำให้พืชมีสารอาหารและพลังงาน
พร้อมในการติดดอกออกผล อย่างสมบูรณ์
4.             ซูการ์  ช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เร่งความหวาน ทำให้ผลไม้มีรสชาติดี เนื้อดี เนื้อแน่น

Zukar คุณประโยชน์
          เหมาะสาหรับพืชในช่วงที่ต้องการพลังงานมากกว่าปรกติ เช่น ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงการออกดอก
           ช่วงติดผล และช่วงเร่งความหวาน เป็นต้น
          ช่วยให้พืชทนต่อสภาพแห้งแล้งและหนาวเย็นได้ดี


คุณสมบัติพิเศษ

  ให้พลังงานทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis)
    ช่วยเพิ่มพลังงาน และอาหารสะสมให้พืช
  ช่วยปรับสมดุลของสารอาหารและฮอร์โมนภายในพืชตามหลัก
สมดุลยศาสตร์  ทำให้พืชสมดุลแข็งแรง
    เติบโตได้เร็ว ให้ผลผลิตที่ดี มีน้ำหนักสูง
  พืชแข็งแรงดี จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่วิกฤตได้ดี อาทิ ความหนาวเย็น หรือความแห้งแล้ง
  ก่อนพืชออกดอก ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก
    พืชจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน เพื่อกิจกรรมดังกล่าว และต้องเป็นแหล่งพลังงานที่พืชนำ
    ไปใช้ได้ทันที
  มีธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลด์ อันทำให้ช่วยขบวนการสังเคราะห์แสงให้ดีขึ้น
  มีอะมิโน แอซิค ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที
  มีธาตุอาหารหลักที่ช่วยในขบวนการขนถ่ายน้ำตาลไปสะสมที่ผล ทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี
 

 
......................................................................

พาร์ทเวย์ ไอพีพี-เพาเวอร์ 5  (Pathway Ipp Power- 5)
สารตั้งต้นในกระบวนการชีวเคมีสำหรับพืช ช่วยสร้างสารสะสมต่างๆ ในพืช 
อาทิ  แป้ง น้ำมัน น้ำยาง น้ำตาล สารหอมระเหย  อื่น ๆ
คุณประโยชน์
           ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำมันและไขมัน ใช้เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันและ
             เหมาะกับการนำไปใช้เพิ่มผลผลิตแก่พืชให้น้ำมันทุกชนิด
           ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำยาง เพิ่มผลผลิตน้ำยาง เพิ่มคุณภาพร้ำยาง
             ให้ข้นขึ้นมีเปอร์เซ็นต์ยางสูงและมีโมเลกุลยาวมากขึ้น
           ช่วยเพิ่มการสะสมแป้งในพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง เผือก เป็นต้น
           ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำตาล เพิ่มผลผลิตให้กับอ้อย ช่วยเพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผลไม้ทุกชนิด
           ช่วยเพิ่มพลังงานช่วงพืชมีสภาพไม้สมบูรณ์หรือสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมจากความร้อนความแห้งแล้ง
คุณสมบัติที่เหนือกว่า
           เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำสารอาหารตั้งต้นที่พืชจะได้จากการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้ใน
            การผลิตสารสะสมในพืชทุกชนิด มาให้กับพืชโดยตรง
           เพิ่มสารตั้งตันในขบวนการผลิตน้ำมันในพืชที่ให้น้ำมันทุกชนิด เช่น ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง  ทานตะวัน   
            ฯลฯ ในต้นยางสารตั้งต้นเหล่านี้จะถูกใช้ในการผลิตน้ำยางโดยตรง ทำให้น้ำยางที่ได้  มีขนาดโมเลกุลที่ยาว
            ขึ้นและน้ำยางมีคุณภาพมากขึ้น
            เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารสะสมในพืชชนิดต่างๆ ได้ทุกชนิด เช่น พืชสะสมแป้ง พืชสะสม น้ำตาล
           ให้สารตั้งต้น โดยตรงแก่พืช ซึ่งในธรรมชาติจะไดสารนี้จากการสังเคราะห์โดยเฉพาะพืชชนิด C4 และ    
            CAM  ในการเปลี่ยน Pyruvate และ cetyl-CoA ซึ่งเป็นจุดเริ่ม ต้นในการเปลี่ยนไขมัน น้ำมัน  น้ำยาง   
            แป้ง น้ำตาล  ตามขบวนการสังเคราะห์ของพืชแต่ละชนิด
           สารตั้งต้นที่พืชจะสังเคราะห์ขึ้นหลังจากที่ได้ปุ๋ยไนโตรเจนไปและช่วยเพิ่มพลังงานทำให้พืชเจริญเติบโต
            และเพิ่มสารสะสมอย่างรวดเร็วยังมีแมกนีเซียมในรูป คีเลท และโปตัสเซียม ซึ่งช่วยให้พืชสังเคราะห์
            แสงได้ดีขึ้น                                                                                                                                      
           และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำคัญในการต่อสายโมเลกุลของน้ำมันและน้ำยาง ทำให้เพิ่มคุณภาพของสาร
           สะสมต่างๆในพืช  
................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น