FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ประสบการณ์ การหาทางออกให้พืชกับโรคเน่าและโรคเหี่ยวเฉา

โรคเหี่ยวเฉา/โรคโคนเน่า ในยาสูบ
     และพืชอื่นๆในตระกูล Solanaceae
     (Wilt & Black Shank in Tobacco
      and Solanaceae Crop Plants)



     เมื่อ 35 ปีที่แล้ว (ปี 2527) เริ่มรู้จัก และท้ารบ
     กับโรคนี้ที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตยาสูบ 
     และรายได้ของเกษตรกรชาวไร่ยาสูบอย่าง
     มากมายมหาศาลปีละกว่าหลายล้านบาท แต่ก็
     แพ้อย่างย่อยยับ ยังเอาชนะมันไม่ได้




🧧ผ่านมาอีก 15 ปี (ปี 2542) ถึงเริ่มที่จะมีหนทางที่
     จะเอาชนะมันได้ให้ได้เห็นบ้าง?

🧧ถัดมาอีก 3 ปี (ปี 2545) เริ่มมีทางออกในการ
     แก้ปัญหานี้ให้ได้เลือกใช้ และเห็นหนทางชนะได้
     บ้าง เพราะมีการค้นพบสารบางตัว ที่มาจากกรด
     อินทรีย์บางตัว ที่ทำหน้าที่ได้ในการป้องกันและ
     กำจัดเชื้อโรค ทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อ
     ว่า “คาร์บ๊อกซิล-พลัส” (Carboxyl-Plus) 


🧧ปี 2546-2563 ปีนี้ กล้าพูดว่า 
“ปัญหาโรคเหี่ยว/โรคโคนเน่า" 
สำหรับเรา ไม่ใช่เรื่องที่ปวดใจอีกต่อไปแล้ว 








🎴ปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคได้

▪️ดินปลูกมีเชื้อโรคเน่า/โรคเหี่ยว อาศัยอยู่
▪️ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง เป็นปัจจัย
     ส่งเสริมให้เชื้อระบาดได้รวดเร็วและรุนแรง
▪️พันธุ์พืชที่ปลูก เป็นพันธุ์อ่อนแอต่อโรคเน่า/โรคเหี่ยว

🎴แนวทางแก้ไขเบื้องต้นคร่าวๆ

▪️เลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค (ถ้าเป็นไปได้)

▪️ปรับสภาพดินก่อนปลูก เพื่อให้ไม่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

▪️ฆ่าเชื้อที่อาศัยในดิน ด้วยการอบหรือการใช้สารฆ่าเชื้อโรค

▪️ทำแปลงปลูกให้มีโครงสร้างดี ระบายน้ำ/ระบายอากาศดี

▪️ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ที่มีประสิทธิภาพดี เพื่อป้องกันโรคไว้ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก

▪️ถอนหรือทำลายทิ้งต้นที่เป็นโรคเน่า/โรคเหี่ยว ออกไปจากไร่ ไปฝังกลบ หรือเผาทำลาย

                         ภัคภณ ศรีคล้าย
                        นักวิชาการเกษตร
.......................................................................

เรื่องเล่า 
     เจ้าเหี่ยวเฉา & รากเน่าโคนเน่า

👨‍🌾 เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว (ปี 2527) โรคเหี่ยว
      เมื่อตอนที่ผมจบและเริ่มมาทำงานใหม่ๆ
      เขาให้ต้องมาดูแล ไร่ยาสูบพื้นที่มากกว่า
      4,000-5,000 ไร่ ในจังหวัดน่าน

🎴พบเจอปัญหา ที่เขาบอกว่า
      เป็น “ปัญหาโลกแตก”

▪️เจอต้นยาสูบ “เหี่ยวเฉา” ไปต่อหน้าต่อตา
     เป็นร้อยต้นพันต้นต่อไร่ ใจตกไปอยู่ที่ตาตุ่ม

- พืชยาสูบ ที่เป็นพืชตัวหนึ่งซึ่งอ่อนแอต่อโรคต่างๆมากมายหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคจากไวรัส, โรคจากเชื้อราและโรคจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นโรคแข้งดำ (Black Shank) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Phytopthora sp. โรคแข้งเน่า (Shore Shin) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Rhizoctonia sp. โรคเหี่ยวด้านเดียว (Fusarium Wilt) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum. แต่โรคที่รุนแรงและทำความกวนใจและสร้างความทุกข์ใจให้ชาวไร่ยาสูบมากที่สุด เห็นจะเป็นโรคที่ชาวไร่ยาสูบเขาเรียกกันว่า “โรคตายผากตายจอย” ซึ่งเราจำได้แม่นเลย เพราะว่าชื่อมันแปลกดี แต่มารู้ที่หลังว่า “โรคตายผากตายจอย” ที่ว่ามันก็คือ “โรคเหี่ยวเฉา” (Bacterial Wilt) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “Psuedomonas solanacearum” (ชื่อในสมัยนั้น แต่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนชื่อเป็น “Ralstonia solanacearum”) ซึ่งเป็นเชื้อที่กำจัดได้ยากมาก และในสมัยนั้นการแก้ปัญหาก็ยังค่อนข้างจะลำบาก เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะสารเคมีที่จะเลือกนำมาใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคนี้ หรือใช้แก้ปัญหาโรคนี้ ยังมีตัวเลือกให้เลือกใช้ได้น้อยมาก และเชื้อก็กำจัดยากมากเสียด้วย แม้ว่าเราจะเลือกใช้ยาหรือสารเคมีที่มีราคาแพง และดีมากเพียงใดในยุคนั้นหลายตัว ก็ยังเอามันไม่ค่อยอยู่ (อาทิยา “แอคติดาน ทีจีเอฟ” ที่เป็นยาที่เราคิดว่าดีที่สุดในขณะนั้น ก็ยังเอามันไม่อยู่) และก็ยังมีการหายาอื่นๆมาทดลองใช้อีกหลายตัว ที่ใครบอกว่าดีบอกว่าเจ๋ง ก็ต้องไปหาเอามามาลองใช้แก้ปัญหาแทบเกือบจะทุกตัวที่มี ยาหลายตัวก็ผ่านมือเรามาหมด แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่บอกสรรพคุณไว้ซักเท่าไหร่ ความเสียหายก็ยังเกิดขึ้นเป็นประจำจนเริ่มท้อแท้ใจ ก็เลยลองเริ่มหันไปทดลองใช้สินค้าในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์บางตัวดูบ้าง แต่ก็ยังแก้ไขได้บ้างเป็นบางครั้งบางคราว แต่ก็ยังไม่ได้ผลแบบเบ็ดเสร็จและเด็ดขาดซักเท่าไหร่ ยังคงเกิดโรคที่สร้างความเสียหายให้เห็นอย่างหนาตามาโดยตลอด

เกือบจะเจอ “ทางตัน แต่..ไม่ตัน

- จนกระทั่งมาในปี 2543 ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ กับผู้รู้บางท่าน เกี่ยวกับ “องค์ความรู้” ใหม่ๆ ที่ไม่ได้ใช้สารเคมีในกลุ่มต่างๆที่เราเคยใช้ไปกำจัดหรือฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียที่เกิดโรค ซึ่งไม่เกิดผล แต่ “องค์ความรู้” นี้จะเป็นการใช้ “กรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์” บางตัว ที่มีกลไกในการทำงานที่สามารถควบคุมและฆ่าเชื้อรา & แบคทีเรียสาเหตุของโรคได้จริง การแก้ปัญหาจึงเริ่มมีความหวังขึ้นมาและนำมาปรับใช้ร่วมกับการปรับสภาพดินไปด้วยก็ช่วยแก้ปัญหาได้ดีทีเดียว โดยการใช้ยาจะเน้นฉีดพ่นป้องกัน ตั้งแต่หลังจากปลูกพืชเสร็จใหม่ๆ และมีการปรับสูตรของยา และวิธีการใช้จนลงตัวเพื่อทำให้ได้ผลดีและช่วยลดการเกิดโรคลงจนอยู่ในจุดที่ไม่เกิดเสียหายทางเศรษฐกิจได้ (คือให้เสียหายไม่เกิน 1-2%) ตามที่ตั้งเป้าไว้

                        ภัคภณ   ศรีคล้าย
           http://paccapon.blogspot.com
                                                               
.......................................................................

มารู้จักโรค “เหี่ยวเฉา” (Bacterial Wilt) 
     กันซักหน่อย ดีไหม?

โรค “เหี่ยวเฉา” (Bacterial Wilt)
      หรือ “เหี่ยวเขียว” ในพืชตระกูล Solanaceae
     (พริก, มะเขือ, มะเขือเทศ, ยาสูบ, มันฝรั่ง ฯลฯ)

▪️สาเหตุเกิดจาก :  เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia 
     solanacearum

▪️ลักษณะอาการ : 
- โรคเหี่ยวเฉา (Bacterial Wilt) เกิดจากการที่เชื้อเข้าไปเจริญอยู่ในท่อลำเลียงน้ำของพืช (xylem) ทำให้ท่อน้ำอุดตัน เชื้อแบคทีเรียจะไปสร้างก้อน Cyst ไปอุดตันในท่อน้ำ-ท่ออาหาร จนเกิดอาการเหี่ยว (หรือถ้าบริเวณรากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปสร้างสิ่งอุดตันหรือตัวมันไปอาศัยอยู่ในบริเวณราก (ที่เห็นเป็นปุ่มปม) ก็ทำให้พืชเหี่ยวได้เหมือนกัน เราต้องแยกแยะไปอีกสาเหตุหนึ่ง)

- การเกิดโรคเหี่ยวมักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ และขยายเป็นวงกว้างออกไปเรื่อยๆในสภาพดินที่มีความชื้นสูง การเกิดโรคก็จะมากและมีการระบาดอย่างรวดเร็ว

- ต้นพืช (พริก, มะเขือ, มะเขือเทศ, ยาสูบ, มันฝรั่ง) จะแสดงอาการที่เหี่ยวเริ่มที่ใบ หลังจากนั้น 2-3 วัน อาการเหี่ยวจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยที่ไม่มีอาการใบเหลืองหรือใบจุดเกิดขึ้น ภายในไม่กี่วันต้นพืชก็จะยืนต้นตาย เมื่อถอนต้นที่เป็นโรคมาตัดตามขวางตรงระดับดินจะเห็นว่าไส้กลางต้นแสดงอาการช้ำน้ำสีเข้มกว่าต้นปกติ เมื่อทิ้งไว้หรือบีบต้นดูจะมีเมือกสีขาวข้น หรือสีครีมไหลออกมาตรงรอยตัดต้นที่เป็นโรคอย่างรุนแรง ไส้กลางต้นจะถูกทำลายเป็นรูกลวง ถ้าตัดโคนต้นที่แสดงอาการแล้วแช่น้ำในภาชนะใสประมาณ 5 นาทีจากรอยตัด จะพบว่าเนื้อเยื่อบริเวณท่อน้ำเปลี่ยนเป็นสีดำหรือน้ำตาล และเมื่อนำไปจุ่มน้ำจะพบ  Bacterial Stream ไหลออกจากบริเวณรอยตัด จะเป็นสายขุ่นขาวในน้ำใสคล้ายน้ำนม (ใช่ข้อสังเกตนี้ แยกอาการเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum หรืออาการเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii)

.......................................................................

🎴มารู้จัก “คาร์บอกซิล-พลัส” (Carboxyl Plus)
     กรดอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครองและ
     รักษาโรคพืช 


คุณสมบัติพิเศษ 
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรค
   พืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้ง
   ต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสาร
   อาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่าง
   รวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและ
   ภายนอกเช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก, มะเขือเทศ, มัน
   ฝรั่ง, โรคเน่าและกระหล่ำ, โรคแข้งดำยาสูบ,
   โรคใบหงิกงอ, ใบหดยาสูบ, โรคโคนเน่ามะเขือ
   ต่างๆ, โรคใบจุดวงแหวนมะละกอ, โรคจากเชื้อ
   ไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มี
   อันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate)
   ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็ง
   แรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่ง
   แวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิต
   ใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้
   ดอกไม้ประดับ

🧧องค์ประกอบ
- เป็นกรดอินทรีย์ (Organic acid) : สารอินทรีย์
     ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+)
- กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) : กรด
     อินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล
- กรดไขมัน (Fatty acic) : กรดคาร์บอกไซลิคที่
     มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain)
     เท่านั้น
- กรดไขมัน (Fatty acic) : กรดคาร์บอกไซลิคที่
     มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain)
     เท่านั้น

🧧กลไกการออกฤทธิ์
▪️ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้
      H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล RCOOH [(RCOO-)
      +(H+)]
▪️ที่จุดสมดุลย์  กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพ
     แตกตัวและไม่แต่ตัว
     (RCOO-) = สภาพแตกตัว (ไม่สามาถผ่านชั้น
                         ผนังเซลล์ได้)
     (RCOOH) = สภาพไม่แตกตัว (สามารถผ่านชั้น
                          ผนังเซลล์ได้)
▪️ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมี
     สภาพแตกตัวไม่เท่ากัน วัดได้เป็นค่า pKa (ค่า
     การแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด
▪️กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า
     กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)



🧧กลไกการทำงาน
  - คาร์บ๊อกซิล-พลัส ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิค และกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์สรุปได้ดังนี้

1. กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
2. กรดในสภาพไม่แตกตัวจะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์ทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว
3. กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัว ทำให้ pH ในเชื้อโรคลดลง และเปลี่ยนคุณสมบัติโปรตีนทำให้สูญเสียคุณสมบัติการเป็นเอ็มไซม์ที่จำเป็นของเชื้อโรค
4. เชื้อโรคเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลาทำให้สูญเสียพลังงานจนตาย
5. กรดแตกตัวประจุลบ ( RCOO-) จะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและรบกวนขบวนการสังเคราะห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย

สรุป : การทำงาน (ง่ายๆ) ของคาร์บ๊อกซิล
1) ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลย์และถูกทำลาย
2) ผนังเซลล์ร้าวและรั่ว
3) เอนไซม์ (Enzyme) ในเชื้อโรคถูกทำลาย และ
     เชื้อโรคหยุดการเจริญเติบโต
4) เชื้อโรคสูญเสียพลังงานจากการขับทิ้ง H+ จน
     ตายลงไป
5) เชื้อโรคสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) และโปรตีน
     (Protein) ไม่ได้ และตายไปในที่สุด
🧧เชื้อโรคหมดแรงและเสียพลังงาน (ขับ H+ทิ้ง) ก็
   ตายไป อีกทั้งเชื้อโรคยังสังเคราะห์ DNA และ
   Protein ไม่ได้ก็ตายไป ตายทั้ง 2 ทาง โดยไม่
   ทันตั้งตัว เสมือนกินเชื้อโรคท้องร่วงเข้าไปอย่าง
   รุนแรงและถ่ายจนหมดแรงตายไป

http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post.html?m=0
คู่หู..หยุดโรค




สอบถามปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
(โทร. จ-ศ 9.30-18.00 ,ส 9.30-12.00)

📲Line id : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อได้
https://lin.ee/nTqrAvO