ปลูกพืชทุกวันนี้
ต้องเจอ "สารเคมีที่เป็นพิษ" มากขนาดไหน❓
เพื่อให้ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต
อันตรายทั้งผู้ใช้ ผู้บริโภค 👿
.
แต่..ออร์กาเนลไลฟ์ มีทางออก
.
#ทางเบี่ยงเลี่ยงสารพิษ
#BypassChemicalPesticides
▪️แนวทางใหม่ของการผลิตพืชผักแบบปลอดสารพิษ
คนใช้ปลอดภัย คนบริโภคปลอดสารพิษ
▪️ เมื่อใช้ “ซาร์คอน” (SARCON) :
- ต้นแกร่ง
- ผนังใบแข็ง
- แมลงเจาะยาก
- เชื้อโรคเจาะยาก
- ต้นไม่ล้มง่าย
- แล้งไม่กลัว
- หนาวไม่เกี่ยง
ซาร์คอน : เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรด “ซิลิซิค แอซิด” (H4SIO4) และกรด “ซาลิไซลิค (2-hydroxylbenzoic acid)
▪️กรดซิลิซิค แอซิด (H4SIO4) คือ ซิลิคอน โมเลกุลเดี่ยว ที่ละลายน้ำได้ พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยลำเลียงผ่านทางรากและดูดซับเข้าทางใบช่วยป้องกัน การเข้าทำลายของเชื้อโรคและแมลง เช่น ไร เชื้อรา หนอน ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ผลผลิตเก็บได้ทน พืชผัก ผลไม้ มีโครงสร้างดี กรอบ อร่อย เป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงได้ ตลอดจนลดต้นทุนการผลิตด้วย
▪️กลไกการทำงานของกรดซิลิซิค แอซิค ใน“ซาร์คอน” (SARCON)
1. เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการส่งสัญญาณระหว่างพืชอาศัยและเชื้อโรคเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้พืชแสดงอาการโต้ตอบการเข้าทำลายของเชื้อ (Plant Defense Mechanism) เร็วขึ้น ปกติเวลาพืชถูกเชื้อเข้าทำลาย จะมีการป้องกันตัวเอง เช่น มีการสะสม Phenolics compound หรือ สารอัลคาลอยด์ บางตัว และสารประกอบเหล่านี้จะไปยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (Fungistatic Activity) ได้
2. เป็นสิ่งกีดขวาง (Physical Barrier) ป้องกันการแทงผ่านของเส้นใยเชื้อรา (Hypal Penetration) เพราะ ”ซิลิสิค แอซิค” จะสะสมอยู่บริเวณ Cell wall นั่นเอง
▪️คุณประโยชน์ ของ “ซาร์คอน”
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชสวน เช่น พืชตระกูลส้ม ตระกูลแตง และกุหลาบ เป็นต้น ซึ่งจะมีการสะสม “ซิลิซิค แอซิค” หรือ “ซิลิคอน” ในเนื้อเยื่อส่วนยอดอ่อน
2. ช่วยลดความเครียดของพืชเนื่องมาจากแมลงศัตรูพืช หรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น
3. ซิลิซิค แอสิค ถูกดูดซึมไปอยู่ส่วนของ Apoplast ของเชลล์ใบ ซึ่งจะทำให้เชลล์แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในต้นข้าว และเป็นสิ่งกีดขวางต่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อโรค
4. ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา (Fungicide) ให้น้อยลง ผลผลิตที่ได้รับจึงสูงขึ้น
▪️วิธีใช้ และอัตราการใช้
- พืชสวน กรณีลดความรุนแรงของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น พิเทียม ไรซอกโทเนีย สเคอร์โรเทียม ไฟท๊อปเธอร่า ใน องุ่น พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ผักกาดขาว เป็นต้น ใช้ “ซาร์คอน” อัตรา 20 ซีซี. (2 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดตอนเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ทุกๆ 5-7 วัน กรณีพบการระบาดมากกว่า 50 % อาจใช้สารเคมีเบรคหรือยับยั้งซักครั้งหนึ่งก่อนก็ได้ แล้วค่อยฉีดพ่น “ซาร์คอน” ตามอัตราส่วนที่แนะนำ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคอีก
- ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง เงาะ เป็นต้น ใช้ “ซาร์คอน” อัตรา 20 ซีซี. (2 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นทั่วต้น ทั้งบนใบใต้ใบให้เปียกชุ่มโชก ฉีดพ่นตอนเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ทุกๆ 5-7 วัน
- พืชผัก ถั่วต่างๆ กะหล่ำปลี-ดอก คะน้า ผักชี แตงกวา เป็นต้น ไม้ดอก-ไม้ประดับ เช่น กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง เบญจมาศ เป็นต้น อัตรา 20 ซีซี. (2 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นให้ทั่วต้น ทั้งบนใบและใต้ใบให้เปียกชุ่มโชก ฉีดพ่นตอนเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ทุก 5-7 วัน
▪️คำแนะนำ
- สร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืชคือ แนวทางใหม่
ของการผลิตพืชผักแบบปลอดสารพิษ คนใช้
ปลอดภัย คนบริโภคปลอดสารพิษ
**กรณีพ่นทางใบ ถ้าได้ใช้ร่วมกับ #ซิกน่า ยิ่งดี เสมือนมีเกราะป้องกัน 2 พลัง
———————————————————-
ซิลิคอน กับ ซาร์คอน (กลไก)
ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells)
ซิลิคอน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป Silicon – Cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้น โพลิเมอร์ (Polymer) ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช
"กระบวนการสร้างเกราะป้องกัน" ด้วย "Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ " Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ "Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง (Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่ "ผนังเซลล์" (Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งเสมือนมี "ผนังคอนกรีต" นั่นเอง
ซิลิคอนกับการเจริญเติบโตของพืช
แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช แต่ได้มีการพิสูจน์ในเชิงวิชาการแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตดังนี้จากการวิจัย เราจะพบว่า การเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ จะมีการขนย้ายซิลิคอนออกจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดูการเพาะปลูก แม้ว่าในดินเองจะมีซิลิคอนในปริมาณสูง แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณซิลิคอนในดินเปลี่ยนรูป มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จากงานวิจัยเราจะพบว่า กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
1. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หัก ล้มง่าย ผนังเซลล์ที่แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น
2. ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย เมื่อได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะทำให้โครงสร้างใบ แข็งแรง ใบจะตั้งขึ้น ทำให้รับแสงแดดได้เต็มที่ ขณะเดียวกันสารละลายกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนที่ฉีดพ่น เมื่อแห้งจะเคลือบใบพืชไว้ ทำให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าทำลายใบพืชได้
3. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้น หลังจากฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน พืชจะสร้างรากใหม่ และเสริมสร้างระบบรากให้ซับซ้อนขึ้น
4. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน ที่แทรกอยู่ในโครงสร้างใบ จะทำให้แสงผ่านใบได้น้อยลง หรือใบพืชดักจับแสงได้มากขึ้น ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นใบมีสีเขียวขึ้น
5. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะมีองค์ประกอบของโปแตสเซียมไอออนซึ่งกระตุ้นการลำเลียงอาหารภายในต้นพืช การสังเคราะห์แสงที่ดี ลำเลียงอาหารดีและระบบรากที่ดี จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน สามารถดูดซับพิษของโลหะในดิน เช่นโซเดียม อลูมิเนียม แมงกานีส ฯลฯ ได้
7. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะเคลือบใบ ทำให้พืชคายน้ำน้อยลงทำให้พืชสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้นานขึ้น และมากกว่าพืชปกติ
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช
การใช้กรดออร์โธ่ซิลิคอนในนาข้าว
ความเป็นมาและความสำคัญของ ซิลิคอนในวัฏจักรของข้าว การใช้และประโยชน์ของซิลิคอน
ซิลิคอน คือ ซิลิคอน (Si) เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากออกซิเจน เราจึงพบซิลิคอนในพืชเกือบทุกชนิดรวมทั้งในดินเองก็มีซิลิคอนเป็นองค์ประกอบหลัก และนี้คือความสำคัญของซิลิคอนในวัฏจักรของข้าว
การนำซิลิคอนไปใช้ของพืช จะต้องถูกดูดซึมทางรากและใบ โดยซิลิคอนจะละลายอยู่ในน้ำ และถูกดูดซึมไปกับน้ำในระบบการหาอาหารของพืช แม้ว่าซิลิคอนจะพบมากในดิน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นซิลิคอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ รูปแบบของซิลิคอนที่ไม่ละลายน้ำ และพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ ทราย กระจก แผ่นเซลแสงอาทิตย์ แร่หินบางชนิด การเปลี่ยนซิลิคอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ ให้สามารถละลายน้ำได้ โดยกลไกของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสลายตัว หรือ การย่อยของจุลินทรีย์จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นการปลูกพืชซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ซิลิคอนขาดแคลนได้
ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนจำนวนมาก
ในแกลบมีปริมาณซิลิคอนสะสมอยู่มาก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนปริมาณมาก เพื่อให้เข้าใจถึงปริมาณของซิลิคอนในข้าว ถ้าเกษตรกรเคยสังเกต การเผาแกลบจะพบว่ามีขี้เถ้าเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อเทียบกับเถ้าของการเผาถ่าน หรือกิ่งไม้ เถ้าที่เหลืออยู่นี้แหละคือซิลิคอน
เคยมีการคำนวณเรื่องปริมาณซิลิคอนในนาข้าว พบว่าในข้าวเปลือก 1 ตัน มีองค์ประกอบที่เป็นแกลบอยู่ประมาณ 250 กิโลกรัม ในจำนวนนี้ จะเป็นปริมาณซิลิคอนมากกว่า 40 กิโลกรัม ถ้าผลผลิตต่อไร่ประมาณ 600 กิโลกรัมต่อไร่ จะพบว่าทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยว ซิลิคอนถูกขนย้ายออกจากพื้นนา มากกว่า 24 กิโลกรัม/ครั้ง ถ้านับตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ปริมาณซิลิคอนที่ถูกขนย้ายออกมา จะมีปริมาณมหาศาล แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลัก แต่ก็เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในสร้างโครงสร้างและลำเลียงอาหารของพืช การขาดแคลนซิลิคอนจะทำให้ข้าวอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง และการให้ปริมาณซิลิคอนที่มากพอจะทำให้ข้าวแข็งแรงเร็วขึ้นสอดคล้องกับปริมาณโรคและแมลง ที่มีการระบาดรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน และการให้ซิลิคอนในปริมาณที่เหมาะสมจะกระตุ้นการสังเคราะห์แสงของข้าว ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของซิลิคอน
ได้มีการทำวิจัยแล้ว จากหลายสถาบัน ว่าซิลิคอนมีประโยชน์ในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะกล่าวโดยกว้าง ๆ สำหรับพืชทั่วไป และจะได้ชี้ให้เห็นคุณประโยชน์เมื่อใช้ในนาข้าวต่อไป
1. ซิลิคอน ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัส ในดินให้พืชสามารถใช้งานได้ ความจริงฟอสฟอรัสในดินมีปริมาณมาก แต่ภาวะดินเปรี้ยว และการใช้สารเคมีเชิงซ้อนปริมาณมาก ทำให้ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้การให้ซิลิคอนกับพืช จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในดินอย่างคุ้มค่า ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลัก เกี่ยวข้องกับระบบรากและยอดอ่อน
2. ซิลิคอนที่พืชได้รับ จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ทำให้โครงสร้างต่าง ๆ ของพืชแข็งแรง แมลงเจาะน้ำเลี้ยงได้ยากลาบาก โรคต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น
3. โครงสร้างที่แข็งแรง ทำให้ใบตั้งและรับแสงได้ดีขึ้น ใบกว้างขึ้น และแสงผ่านใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์แสงของพืชจะเพิ่มขึ้น
4. ซิลิคอน ช่วยดูดซับพิษจากโลหะ เช่น อลูมิเนียม สนิมเหล็ก โซเดียม มังกานีส
5. กรดออร์โธ่ ซิลิคอน ที่ฉีดพ่น จะเคลือบใบพืช ทาให้พืชคายน้ำน้อยลงนั่นคือ พืชจะทนต่อสภาพแห้งแล้งจากภาวะที่อากาศร้อนจัดได้ดีกว่าพืชปกติดังที่ได้ทราบข้างต้นแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะข้าว ในเกษตรกรรมของประเทศที่เจริญแล้วเช่น ญี่ปุ่น มีการใช้ซิลิคอน เพื่อเพิ่มผลผลิตในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง แต่ซิลิคอนเหล่านั้นส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนเหลือในอุตสาหกรรม ซึ่งการควบคุมเรื่องสารตกค้าง หรือสิ่งเจือปนเป็นไปได้ยากลำบาก
ซิลิคอนในนาข้าว
ข้าวเป็นพืชที่ต้องการปริมาณซิลิคอนมาก (มากกว่า 24 กิโลกรัม/ไร่/รอบเพาะปลูก) โดยกลไกของธรรมชาติ ซิลิคอนจะกลับสู่วัฏจักรของข้าวโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทั้งนี้ต้องมีการนำแกลบกลับเข้าไปยังพื้นนาด้วย กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน เป็นสารละลายซิลิคอน จึงปราศจากสารตกค้าง และด้วยกรรมวิธีสกัดอันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของซาร์คอน ทำให้กรดออร์โธ่ซิลิคอนที่ได้ บริสุทธิ์และถูกดูดซึมโดยข้าวได้ทันทีทั้งทางรากและใบ ทำให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อข้าวได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นดังนี้
1. ใบข้าวจะเขียวตั้งขึ้น และกว้างขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นหลังฉีดพ่น กรดออร์โธ่ซิลิคอนแล้ว เพียง 7 วันเมื่อกรดออร์โธ่ซิลิคอนเริ่มสะลมอยู่ในใบ และลำต้นข้าวมากพอจะทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้น ใบข้าวตั้งและทึบแสงขึ้น ทำให้รับแสงได้เต็มที่ ใบที่กว้างขึ้น ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น
2. ในพื้นนาที่มีข้าวต้นเล็กต้นใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากระดับน้ำที่ไม่เท่ากัน เมื่อข้าวใบตก จะเกิดการบังแสงกันเองของต้นข้าว ข้าวต้นเล็กจะยิ่งเจริญเติบโตช้า เนื่องจากแสงแดดจะออกรวง เมื่อข้าวส่วนใหญ่ถูกเก็บเกี่ยวไปแล้ว เมื่อข้าวใบตั้งจะทำให้ต้นข้าวได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ทำให้ข้าวออกรวงพร้อม ๆ กันส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
3. ผนังเซลล์ที่หนาขึ้น เพราะมีซิลิคอนสะสมอยู่ นอกจากจะทำให้ใบตั้งแล้ว ยังทำให้ใบและลำต้นเหนียว ทำให้แมลงดูดซึมน้ำเลี้ยงได้ยากขึ้น การฝังสปอร์ของเชื้อราก็ทำได้ยากเช่นกัน และยังมีรายงานว่าต้นอ่อนของข้าวที่ได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอน จะมีความทนทานต่อหอยเชอรี่ได้มากขึ้นด้วย
4. เมื่อดินได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาในพื้นนาที่เสื่อมโทรมมาก ๆ จากสภาพดินเปรี้ยว จะเห็นว่ามีการเกิดรากใหม่และแตกกอ หลังจากฉีดพ่นสารเพียง 5 วัน
5. การให้กรดออร์โธ่ซิลิคอน ในปริมาณที่มากพอจะทำใหปุ๋ย ละลายช้าลง เป็นการใช้ปุ๋ยอย่างเต็มประสิทธิภาพ
6. กรดออร์โธ่ซิลิคอน ที่ฉีดพ่น บางส่วนจะเคลือบใบข้าว ทาให้พืชคายน้ำลดลง ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัด ต้นข้าวจะยังคงดูสดชื่น เมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่ได้ฉีด
7. การสังเคราะห์แสงดี ระบบรากยาว มีรากสีขาวมาก จะทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตกว่าแปลงที่ไม่ได้ฉีดอย่างเห็นได้ชัด การฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนในระยะก่อนตั้งท้องจะกระตุ้นให้ข้าวออกรวงพร้อม ๆ กัน จากการทดลองจะพบว่าแปลงที่มีการใช้กรดออร์โธ่ซิลิคอน อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ข้าวยังเล็กข้าวจะออกรวงเร็วกว่าแปลงปกติ 5-10 วัน
8. การทำนาที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ๆ ปริมาณไนโตรเจนที่ใส่ในนาข้าวต้องมีปริมาณที่มากพอ แต่โดยกลไกของธรรมชาติ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณสูง ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดีแต่ละต้นจะอวบน้ำ ผนังเซลล์บาง ทำให้โรคและแมลงเข้าทำลายได้โดยง่ายลำต้นอ่อน หักล้มง่าย การให้กรดออร์โธ่ซิลิคอนจึงเป็นคำตอบของการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้ซิลิคอนสะสมในตัวข้าวมากพอ ทำให้การให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนปริมาณสูง ๆ โดยไม่ทำอันตรายต่อต้นข้าว เกษตรกรจึงควรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนในระยะก่อนตั้งท้องและหางปลาทู เพื่อให้ข้าวออกเต็มรวงเมล็ดสมบูรณ์
9. ดังได้กล่าวมาข้างต้น เมื่อกรดออร์โธ่ซิลิคอนแห้ง จะทาตัวเป็นแผ่นฟิมล์บาง ๆ ในระยะน้ำนมเมื่อฉีดกรดออร์โธ่ซิลิคอน แผ่นฟิล์มดังกล่าวจะเคลือบให้สูญเสียน้ำน้อยลง เมล็ดจึงแกร่ง ได้ น้ำหนักดี
ดูข้อมูลซาร์คอนเพิ่มเติม
http://paccapon.blogspot.com/2016/11/blog-post.html?m=0
.
================
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามหรือปรึกษาได้นะครับ
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
(โทร. จ-ศ 9.30-18.00 ,ส 9.30-12.00)
📲Line id : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
หรือคลิ๊กลิงค์ไลน์ด้านล่าง เพื่อสอบถามข้อมูลและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อได้
https://lin.ee/nTqrAvO
#รับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
เว็บไซด์ www.organellelife.com