FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การดูแล หอม , กระเทียม

การดูแลหอม กระเทียม




โรคที่มักพบในหอม หรือกระเทียม

โรคใบจุดสีม่วง (purple blotch)

สาเหตุโรค : Alternaria porri

อาการของโรค โรคใบจุดสีม่วง เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีความชื้น ค่อนข้างสูง มีฝนและบางพื้นที่เริ่มมีหมอกลงบางแล้วซึ่งสภาพดังกล่าวเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุดสีม่วง สำหรับอาการของโรคใบจุดสีม่วงนี้มีลักษณะคล้าย โรคแอนแทรกโนสของหอม โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นจุดขนาดเล็กบนใบ แผลเป็นรูปไข่ หลังจากนั้น ตรงบริเวณแผลสีขาว จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนม่วง ขอบแผลสีเหลือง มีสปอร์เป็นผงละเอียดอยู่บนแผล ต่อมาขยายใหญ่และยาวตามความยาวใบ ทำให้ใบหอมหักพับ ปลายใบเป็นแผลแห้ง ถ้าเป็นมากใบจะแห้งตายหมดทั้งแปลง ถ้าเกิดบนกระเทียมและกระเทียมต้น จะทำให้ส่วนปลายใบ ที่อยู่บริเวณแผล มีอาการแห้งเหลือง


แผลจะขยายโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มตรงกลางซีดจางกว่าเล็กน้อย ส่วนรอบนอกจะมีแถบเซลล์ตายสีขาวหรือส้มล้อมรอบ แผลเหล่านี้เมื่อขยายโตจนรอบใบก็จะมีผลให้ใบดังกล่าวเหลืองเหี่ยวแห้งทั้งใบ เมื่ออากาศชื้นบริเวณแผลจะมีสปอร์สีน้ำตาล หรือดำ ซึ่งเกิดบนก้านสั้นๆ เป็นจำนวนมาก ต้นหอมหรือ กระเทียมที่เป็นโรคนี้จะโทรมหรือแห้งตายทั้งต้นภายใน 3-4 สัปดาห์ เชื้อจะเจริญจากใบลามลงมายังหัว ทำให้เกิดอาการเน่าช้ำมีนํ้าเยิ้มในระยะแรกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สุดท้ายจะมีสีนํ้าตาลเข้มหรือดำ อาการที่หัวอาจจะเกิดเพียงหนึ่งหรือสองกาบที่ต่อเชื่อมกับใบที่แสดงอาการหรืออาจจะเน่าเสียหมดทั้งหัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

Alternaria porri เป็นราที่ต้องการความชื้นสูงระบาดได้ดีและสร้างความเสียหายรุนแรงในฤดูฝนหรือช่วงที่มีหมอกน้ำค้างจัด สำหรับอุณหภูมิสามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงที่ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ต่ำสุดระหว่าง 6°ซ ไปจนสูงถึง 39°ซ แต่จะดีที่สุดระหว่าง 25° – 28° ซ.



โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) โรคหอมเลื้อย (Onion Twister)

สาเหตุโรค : Colletotrichum circinans หรือ Colletotrichum gloeosporioides

รายละเอียดของโรค โรคแอนแทรคโนส หรือโรคหอมเลื้อยเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่ง ระบาดทำความเสียหายในฤดูฝน เกิดโรครุนแรงกับหอมหัวใหญ่เกิดโรคปานกลางกับหอมแดงและหอมแบ่งที่ปลูกเพื่อเก็บหัวทำพันธุ์ เป็นโรคเดียวกับโรคใบเน่าแอนแทรคโนส ชนิดที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides โดยเชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการ ใบเน่าและอาการเลื้อยไม่ลงหัวด้วย สำหรับกุยช่ายเป็นโรคใบเน่าแอนแทรคโนสแต่ไม่แสดงอาการเลื้อย ส่วนกระเทียมต้านทานต่อโรคนี้

ลักษณะอาการ ต้นหอมที่เป็นโรคแอนแทรคโนสหรือโรคหอมเลื้อย เป็นลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงอาการเลื้อยไม่ลงหัวของหอมคือ มีลักษณะแคระแกร็นไม่ลงหัว หัวลีบยาวบิดโค้งงอใบบิดเป็นเกลียว ส่วนคอมักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติทำให้รากขาดหลุดจากดินได้ง่าย จึงเกิดการเน่าก่อนถึงเวลาเก็บเกี่ยว หรือเน่าหลังเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว บนต้นพืชที่เป็นโรค มักพบแผลเป็นรูปรี เนื้อเยื่อของแผลยุบตัวต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย บนแผลจะพบหลุ่มสปอร์ของเชื้อราเป็นของเหลวข้นสี


ส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นตุ่มสีดำเล็ก ๆ เรียงซ้อนกันเป็นวงหลายชั้น ที่บริเวณใบ โคนกาบ ใบ คอ หรือส่วนหัว เกิดร่วมกับอาการแคระแกร็น เลื้อยไม่ลงหัวเสมอ





โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่ (bacterial soft rot of onion)

เชื้อสาเหตุโรค ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเชื้อ Erwinia carotovora

อาการโรค ขณะที่ยังอยู่ในแปลงปลูก การเกิดโรคมักจะเริ่มขึ้นในระยะที่พืซลงหัวโตเต็มที่ใกล้เก็บเกี่ยวได้แล้ว การเข้าทำลายของเชื้อมักจะเริ่มตรงส่วนคอหรือโคนต้น โดยผ่านทางแผลที่ใบแก่ที่เหี่ยวหรือหักพับ จากนั้นเชื้อก็จะเจริญเติบโตเคลื่อนลงมายังกาบ (scale) ของหัวที่ต่อเชื่อมกับใบหรือลึกเข้าไปภายในต้นก่อให้เกิดอาการแผลเน่าขยายลุกลามกว้างขวางออกไป มองดูภายนอกแผลจะมีลักษณะช้ำ เป็นสีน้ำตาลหรือเทาอ่อนๆ เมื่อเอามือจับหรือกดดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม พร้อมกับจะมีน้ำเหลวๆ ซึมออกมาจากแผลดังกล่าว เชื้ออาจจะเข้าทำลายโดยตรงที่ส่วนของหัวหอมขณะเก็บเกี่ยว โดยผ่านทางแผลรอยช้ำ และหากนำไปเก็บไว้ในที่อับชื้นอุณหภูมิสูงก็จะก่อให้เกิดอาการเน่าขึ้นกับกาบของหัวหอมชั้นนอกๆ ที่ถูกเชื้อเข้าไปในตอนแรก และถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ในที่สุดอาจจะเน่าเสียหมดทั้งหัว อาการเน่าเละของหอมที่เกิดจากเชื้อ E. carotovora ปกติจะมีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวเช่นเดียวกับเน่าเละในผักชนิดอื่นๆ แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถันหรือกลิ่นเปรี้ยว คล้ายกรดนํ้าส้มเกิดขึ้นตามมา ทั้งนี้เนื่องจากมีเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเข้าไปช่วยทำลายต่อทำให้กาบที่เรียงซ้อนเป็นชั้นๆ ของหัวหอมที่เน่าจะล่อนลื่นหลุดออกมาได้โดยง่าย เมื่อไปจับต้องหรือสัมผัสเข้า ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคเน่าเละในผักอื่นๆ


นอกจากนั้นยังพบว่ามี Pseudomonas alliicola และ Pseudomonas cepacia อีกสองชนิดที่ก่อให้เกิดอาการเน่าในลักษณะคล้ายๆ กัน หรือร่วมเข้าทำลายอยู่ด้วย




ไส้เดือนฝอย (Nematode)

ลักษณะอาการของโรค

1. อาการเหนือดิน(Above ground symptoms)

- แคระแกรน โตช้า ลำต้นเหี่ยว ใบเปลี่ยนสี ใบผิดปกติ บิดเบี้ยว

- ตาดอกหรือจุดงอกของเมล็ดตาย ไส้เดือนฝอยทำลายตาได้แก่ Aphelenchoides besseyi กินตา กล้วยไม้ สตรอเบอรี่ ทำให้ตาดอกและจุดงอก เสียไป

- เมล็ดบิดเบี้ยวหรือพองบวมผิดปกติ (Seed gall) ส่วนมากมักจะเป็นกับเมล็ดธัญญพืช โดยที่พวกไส้เดือนฝอยเข้าไปอาศัยกินอยู่และออกลูกภาย ในเมล็ด ทำให้เมล็ดบวม พองโตผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการชนิดนี้ เช่น Anguina tritici

2. อาการใต้ดิน (Below ground symptoms)

- รากเป็นจุดหรือแผลสีน้ำตาล ( Root lesions ) อาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชที่ส่วนรากถูกไส้เดือนฝอยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้เกิดแผลได้ทั้ง ขนาดเล็ก จนถึงแผลขนาดใหญ่ซึ่งเกิดโดยรอบของรากได้ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่ Pratylenchus spp.

- รากเป็นปุ่มปม (Root knots or gall) อาการนี้นับเป็นอาการของโรคที่พบมากที่สุด รากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงจะพองโตเป็นปุ่ม เป็นปม ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการปุ่มปมเช่น Meloidogyne spp., Heterodera spp. เป็นต้น

- รากเน่า (Root rot) นอกจากไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายที่รากพืชแล้วยังมีเชื้อราและแบคทีเรีย ทั้งที่เป็นสาเหตุของโรคและเป็นแซโพรไฟต์ (saprophyte) เข้าทำลายซ้ำทำให้เกิดอาการรากเน่าได้

- รากกุด( Stubby root) ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายโดยการดูดกินที่ปลายรากทำให้ปลายรากชะงักการเจริญเติบโต กุดและสั้น






ORG-5 (โออาร์จี - ไฟว์)

 จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช

ORG-5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช
ORG-5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ

2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต

3. Humic acid ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้

4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย

5.Anti root rot substances ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.






คาร์บ็อกซิล - พลัส เอ็กซ์ตร้า


คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน 
คุณประโยชน์
เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น

ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น เชื้อราไฟทอปเทอร่า โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง, โรคเน่าและกะหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ

ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ

เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกค้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ




แอคซอน


AXZON (แอคซอน) :

“สารสั่งลงหัว” ในพืชตระกูลลงหัวทุกชนิด อาทิ มันสำปะหลัง, มันฝรั่ง, มันเทศ, หอม, กระเทียม, เผือก อื่นๆ ไม่ยอมลงหัว มัวแต่ “หลงงามต้น หลงงามใบ” ต้องให้ “AXZON” ออกคำสั่ง มันฝรั่ง, มันสำปะหลัง, หอม, กระเทียม ถึงจะยอมลงหัว

นวัตกรรมใหม่สำหรับพืชมีหัวด้วยกระบวนการ Tuberization  

AXZON มีส่วนผสมของกรดอินทรีย์และกรดจัสโมนิคที่ส่งเสริมขบวนการลงหัวให้พืช (Tuberization)

AXZON  ทำให้พืชเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางด้านยาว (Elongation growth) มาเป็นการเจริญเติบโตทางด้านกว้าง (Lateral growth) แทน โดย AXZON จะทำให้ระดับน้ำตาลในเซลล์สูงขึ้นทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในแนวรัศมีของลำต้นมากขึ้นเซลล์ขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีพื้นที่พร้อมที่จะสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น

AXZON ประกอบด้วยสารเคมีที่โดยปกติพืชลงหัวต้องสร้างขึ้นตามธรรมชาติในช่วงระหว่างเริ่มลงหัว AXZON จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่อันตรายไม่ตกค้างในผลผลิต

อัตราและวิธีการใช้
ใช้ AXZON 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร (1ช้อนแกง ผสม น้ำ 1 ปิ๊ป) ฉีดพ่นที่ใบจนเปียกชุ่มครั้งเดียวช่วงที่พืชกำลังจะเริ่มลงหัว)

คุณประโยชน์
- ช่วยกระตุ้นขบวนการลงหัวของพืช (Tuberization) โดยใช้กรดอินทรีย์เลียนแบบธรรมชาติช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์สะสมแป้งและเพิ่มขนาดเซลล์สะสมแป้งทำให้ได้หัวใหญ่ขึ้น มากขึ้น
- ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยวิธีง่ายๆและประหยัด โดยการฉีดพ่นทางใบเพียงครั้งเดียว
- ปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย ไม่มีสารตกค้าง
- สามารถใช้ได้กับพืชลงหัวทุกชนิดโดยไม่เกิดอันตราย

ส่วนประกอบสำคัญ Mixture of Organic Acids and Inert  Ingredients.








   



อีเรเซอร์-วัน
ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที 
      อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์
ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที
เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 

สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรดและพืชตระกูลถั่ว

( หมายเหตุ เฉพาะ อีเรเซอร์-1  ห้าม..ผสมสารเสริมประสิทธิภาพทุกชนิด ที่เป็นประจุ )




ติดต่อสอบถาม
Line ID : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยครับ)
โทร. 084-8809595, 084-3696633






วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ระบบธุรกิจ ออร์กาเนลไลฟ์

ซื้อสินค้าออร์กาเนลไลฟ์ดีอย่างไร






















ชุดมันสำปะหลัง 





ชุดวัคซีนพืช


















สนใจติดต่อได้ที่ 
084 - 8809595,084-3696633
Line ID :  @organellelife.com

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในแตงกวา มะละกอ เมล่อนและยาสูบ

"ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส"

ชนะไวรัสได้ มีชัยไปกว่าครึ่ง

แนวทางการสร้างภูมิต้านทานโรค : โรคไวรัสในพืชตระกูลแตง  ในระบบ : ORG
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคไวรัสใบหด,ใบด่างในพืชตระกูลแตงบางตัวกันก่อน คิดว่าทุกท่านคงคุ้นเคยกับโรคนี้ดีอยู่แล้ว เริ่มจากอาการของโรคที่มีลักษณะใบงอหงิก เหลืองสลับเขียว บ้างก็เป็นจุดด่าง พบได้ในทุกส่วนของแตง และยังเป็นได้ทุกส่วนของแตงตั้งแต่ใบ ลำต้น และผล ทำให้สร้างปัญหาต่อผู้ปลูกพืชตระกูลนี้มาก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้และร้ายแรงมากเพราะเกิดจากเชื้อไวรัสหลายตัว อาทิ
1) Cucumber Mosaic Virus (CMV) จากแมลงพาหะ Several Aphid Species
2) Cucumber Vein-Yellow Virus (CVYV) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci)
3) Cucurbit Aphid-Borne Yellows Virus (CABYV) จากแมลงพาหะ Several Aphid Species
4) Cucurbit Yellow Stunting Disorder Virus (CYSDV) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci Biotypes B and Q)
5) Beet Pseudo-Yellows Virus (BPYV) จากแมลงพาหะ Greenhouse Whitefly ( Trialeurodes vaporariorum )
6) Geminiviruses ( SLCV,PYVMV,TLCV,WCMV ฯลฯ) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci Biotypes A,B and Q)

การแพร่ระบาดด้วยเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว เพราะเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว หลายชนิดสามารถนำโรคจากพืชที่เป็นไปสู่พืชที่ยังไม่เป็น โดยมีหลักการคือ ไวรัสตัวนี้จะถูกเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ดูดเข้าไปในทางเดินอาหารของเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ในตัวเพลี้ยและแมลงหวี่ขาวในช่วงสั้นๆ จะขยายพันธุ์ไม่ได้ แต่ไปสะสมอยู่ในต่อมน้ำลาย ก่อนที่เพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ตัวนี้จะไปเกาะที่พืชอื่นแล้วจัดการถ่ายเชื้อไปที่พืชที่เกาะใหม่จนทำให้เกิดโรค ซึ่งสามารถติดต่อได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

แนวทางการป้องกันโรคไวรัสที่พอจะสรุปได้มี 3 แนวทาง คือ
ข้อ 1. เป็นวิธีทางเกษตรกรรมที่พอฟังแล้วจะเกิดความเข้าใจได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติกลับมีความยากมาก เพราะการปลูกพืชตระกูลแตงแห่งหนึ่งจะย้ายไป-มา หรือจะไม่ให้ใครมารบกวนเป็นเรื่องยากมาก เพราะฉะนั้นวิธีนี้ฟังเข้าใจง่าย แต่ปฏิบัติยาก แล้วเป็นวิธีที่ทางเกษตรกรได้มีการแนะนำอยู่แล้ว เช่น ไม่ปลูกพืชทับที่เดิม ปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ควรปลูกพืชใกล้กับพืชที่มีการระบาดของโรค หรือเวลาเจอต้นที่เป็นโรคจะต้องรีบกำจัดทิ้งทันที

ข้อ 2. เป็นแนวทางชีวพันธุกรรม ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์เป็นวิธีที่ดีมาก ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจสูง
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาและอุปสรรคใน 2 แนวทางดังกล่าว อย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ทางธรรมชาติ จะพบว่าต้องใช้เป็นเวลานานนับสิบปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ต้องการ และเมื่อได้แล้วกลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีก หรือความต้านทานโรคอาจมีเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

ข้อ 3. เป็นแนวทางสุดท้ายคือด้านเคมีที่ทุกคนคงทราบดีว่าเมื่อพบปัญหาต้องไปที่ร้านขายยา สำหรับแนวทางนี้ก็พบปัญหาเช่นกัน เพราะการปราบศัตรูพืช เช่น เพลี้ย เมื่อปราบได้เดี๋ยวก็กลับมาอีก เพราะมีวงจรชีวิตสั้น

ทางออกกับปัญหาโรคจากไวรัส
การทำ.."วัคซีนพืช" : เพื่อการป้องกันโรค ที่ได้ผลและยั่งยืน
การทำวัคซีนพืช โดยเทคนิคการสร้างภูมิต้านทานด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ (Systemic Acquired Resistance:SAR ) แล้วจะทำอย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าพืชมีระบบการป้องกันตัวเอง (Plant Defense) มิเช่นนั้นพืชคงไม่สามารถอยู่บนโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างยาวนาน
ถึงวันนี้มีการค้นพบกระบวนการหรือวิธีป้องกันตัวเองของพืชมากมาย แต่มีวิธีหนึ่งที่พืชสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ที่เราเรียกว่าเป็นวิธี SAR หรือ Systemic Acquired Resistance ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันตัวเองของพืชจากเชื้อโรค
หากจำลองภาพของแตงกวาขณะที่ถูกไวรัสเข้าทำลาย หมายถึง เป็นช่วงที่เพลี้ยหรือแมลงหวี่ขาวเจาะดูดแล้วปล่อยไวรัสเข้าไปในต้น สิ่งแรกที่แตงกวาจะตอบสนองคือการตอบสนองแบบตื่นตัว เหมือนคนที่ถูกมีดบาดแล้วจะเกิดอาการสะดุ้ง จากนั้นพืชจะป้องกันตัวเองด้วยการหลั่งสารเพื่อป้องกันตัวเองเฉพาะหน้าก่อน ยกตัวอย่างอาทิเช่น กับยางพารา อาจสร้างน้ำยางออกมาเพื่อเป็นการสมานแผล นอกจากพืชจะสร้างระบบป้องกันตัวเองในแบบเฉพาะที่แล้ว ยังมีการสังเคราะห์สารที่เป็นสัญญาณอีกตัวขึ้นมาขณะที่พืชถูกกระตุ้นแล้วส่งสารดังกล่าวไปทั่วต้น ตั้งแต่ปลายยอดไปจนถึงปลายราก เป็นการเตือนเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในต้นเพื่อให้รู้ว่ากำลังมีการบุกรุก จากนั้นจะเป็นกระบวนการเพื่อจะได้สังเคราะห์โปรตีนที่เรียกว่า PR -Proteins ออกมาเพื่อต้านทานโรค
เมื่อรู้ทฤษฎีที่มาและข้อมูลแล้ว ต่อไปเป็นการปฏิบัติที่จะต้องทำ"วัคซีนพืช" แนวทางนี้จะได้ผลและยั่งยืน วัคซีนพืชทำให้พืชมีภูมิต้านทานเชื้อโรคก่อนที่จะเป็นโรค แต่ต้องทำให้พืชมีภูมิต้านทานก่อนที่เชื้อโรคจะเข้ามา

"วัคซีนพืช"..สร้างภูมิต้านทานก่อนเชื้อโรคจะเข้าพืช




เรามารู้จักกับ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ว่าคืออะไร
"อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) จะเป็น Salicylic acid ในรูปวัคซีนพืชที่รวมแคลเซียมและโบรอน ซึ่ง Salicylic acid มีความสำคัญมาก เพราะตัวนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ โดยที่ธรรมชาติกำหนดว่าต้องมีการสังเคราะห์ออกมาเมื่อมีเชื้อโรคเข้าทำลายพืช แต่เราใช้ Salicylic acid ในรูปแบบของ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1)คือพร้อมให้มีการกระตุ้น(Active) ทันที เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำ Salicylic acid ในรูปที่ถูกต้องและนำมาใช้ในปริมาณ(Percentages) ที่เหมาะสมด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง พืชก็จะสังเคราะห์ PR-Proteins ออกมา ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสด้วย มันเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ก่อนที่จะมีไวรัสเข้าและ เป็น Salicylic acid ที่ไม่มีอันตรายต่อพืช เพราะในความจริงในธรรมชาติของพืชก็จะสร้างกรดนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว


แล้วจะนำมาใช้กับแตงกวาได้อย่างไร? ในประเด็นนี้มีการแยกไว้ 2 กรณี

กรณีที่(1) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) เพื่อป้องกันโรคไวรัสใบด่างแตง ซึ่งเป็นกรณีที่อยากจะแนะนำมาก แต่เกษตรกรชาวสวนไม่นิยมใช้กันและมักปล่อยให้เป็นโรคก่อนจึงรักษา ดังนั้น อยากให้ใช้วิธีนี้เพราะเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดและเป็นวิธีของการใช้วัคซีนพืช โดยมีอัตราหรือสัดส่วนการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่เป็นอัตรามาตรฐานของชาวสวน โดยมีเทคนิคการใช้คือให้ฉีดพ่นทางใบให้ชุ่มทุก 7-10 วัน ให้เริ่มฉีดตั้งแต่เป็นต้นกล้าเล็กๆ ก่อน และนั่นเป็นการให้วัคซีนในช่วงเด็ก เหตุผลที่ต้องฉีดตลอดเพราะ PR-Protiens ที่พืชสร้างขึ้นมีอายุการใช้งานและมีการหมดอายุลง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดกระตุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เซลล์พืชมีการสร้างออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดช่วง




กรณีที่(2) คือถ้าเป็นโรคแล้วจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร ความจริงไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้สักเท่าไร เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุและค่อนข้างยากโอกาสเกิดความล้มเหลวสูง แต่อาจพอมีหวังด้วยการให้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ในอัตรามาตรฐานข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องการให้เพราะพืชติดโรคแล้ว จึงต้องย่นเวลาการให้โดยให้มีความถี่มากขึ้น คือให้ 3-5 วันต่อครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้ง ในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้นจะเริ่มทิ้งระยะเป็นเวลา 7-10 วัน ต่อครั้ง แล้วพืชจะค่อยเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเกษตรกรจะเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ จะมียอดอ่อนแตกออกมาใหม่และจะไม่มีไวรัสมารบกวนอีก ซึ่งเป็นยอดใหม่ที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ค่อยอยากแนะนำ เพราะพืชเคยผ่านการติดโรคมาแล้ว กว่าจะฟื้นตัวต้องใช้เวลาในการปรับสภาพภายในของพืชเองเพื่อให้ดีขึ้น แต่การปล่อยให้พืชที่เคยติดโรคกลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้งต้องอาศัย"ตัวช่วย" เพราะลำพังให้พืชสร้างระบบภายในเองคงใช้เวลานานมาก ถึงกระนั้นการที่จะให้ได้ผลต้องมีการเสริม Proteins ให้มากขึ้นยิ่งดี เพราะการเสริมโปรตีนเข้าไปจะทำให้แตงกวาฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้แตงกวาที่เป็นโรคแล้วได้ฟื้นตัวดีขึ้นคือ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) มีสารที่จะช่วยกำจัดเชื้อโรคเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ภายนอกและกำลังจะเข้าไปทำลายพืชที่ถือว่าเป็นการแทรกซ้อน ซึ่งก็คือ "สารเสริมประสิทธิภาพ" ที่ช่วยเสริมการกำจัดเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
อยากบอกถึงบทสรุปและประโยชน์ของแนวทางการรักษาป้องกันด้วยวิธีการสร้างภูมิต้านทาน ( Systemic Acquired Resistance:SAR ) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล ถูกต้องและยั่งยืน เพราะจะใช้เมื่อต้องการทำวัคซีนให้กับพืชเพื่อป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดหรือก่อนเชื้อโรคจะเข้าทำลาย
และ..ที่บอกว่ายั่งยืนก็เพราะว่า หากเราย้อนกลับไปสมัยก่อน มนุษย์ได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค และทำมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน ต่อมาทฤษฎีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคถูกนำมาใช้ในสัตว์เพราะมีเหตุผลที่ต้องการให้สัตว์มีอายุที่ยั่งยืน แต่การฉีดวัคซีนไม่ได้หมายถึงจะไม่ตาย เพียงแต่ทำให้เกิดโรคน้อยลง

ผมมีความเชื่อว่าวิธีนี้จะถูกนำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจของเรา และยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอีกไม่นานจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนในพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะพืชที่หายารักษายาก เช่น โรคไวรัสใบจุดวงแหวนมะละกอ(Papaya Ring Spot Virus:PRSV) โรคใบด่างแตง(CMV) โรคใบหดยาสูบ(TLCV)จะช่วยลดการระบาดและลดความรุนแรงของโรคลงได้ พร้อมกับยังช่วยฟื้นฟูพืชที่เป็นโรคให้กลับมาเจริญเติบโตได้ใหม่อีก ที่สำคัญยังสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีที่อันตรายไปได้อย่างมาก ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พืช และสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราบริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ ปรารถนาเป็นอย่างยิ่งมากว่า15 ปีแล้ว และได้รับความสนใจที่จะนำไปใช้เป็นทางเลือกในการแก้ไขโรคต่างๆในยาสูบในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในผู้ประกอบการยาสูบรายใหญ่หลายพันไร่ ติดต่อกันมามากว่า 15 ปี

สุดท้าย..อยากจะย้ำอีกครั้งว่าอยากให้ใช้ในแบบของการ "ป้องกัน" มากกว่า "เยียวยา" เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การที่รอให้เป็นโรคแล้วไปรักษาอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะการฉีดในช่วง 10-15 วันต่อครั้ง จะมีความประหยัดกว่าการที่พืชกำลังจะให้ผลผลิตและเกิดเป็นโรคขึ้นมา จนทำให้ผลผลิตที่กำลังจะสร้างรายได้กลับเสียหายลงไป

ดังนั้น ใครที่กำลังทำพืชเศรษฐกิจอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น เมล่อน แตงกวา แตงโม ยาสูบหรือมะละกอก็ตามที ควรนำไปใช้ป้องกันโรคให้กับพืช เพราะคุ้มค่ากว่ามากครับ
และสุดท้ายอยากฝากไว้กับการใช้สารเคมีมากๆอาจทำให้พืชอ่อนแอ และทำให้เกิดการติดโรคง่ายขึ้น หนทางที่จะช่วยคือการใช้วัคซีนในพืช และการใช้อย่างถูกหลักจะทำให้พืชมีภูมิต้านทานแม้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เพราะ PR-Protiens จะมีสะสมอยู่ทุกแห่งถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปแล้วเซลล์ยังคงทำงานอยู่ยังสามารถสร้างโปรตีนออกมาต้านทานได้


หมายเหตุ : (1) ถ้ามีการให้โปรตีน (ในรูป Amino acid ชนิดที่พืชสร้างได้เอง) อาทิ
ซูการ์-ไฮเวย์,เพาเวอร์-5 (หรือORG1,ORG-2) เสริมเพิ่มเติมแก่พืชพร้อมกับการทำ "วัคซีนพืช" ด้วย "อีเรเซอร์-1 " ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

(2) ถ้ามีการป้องกันแมลงพาหะ (Insect Vector) ด้วย" วัคซีน 2 พลัง" (ซิกน่า และ ซาร์คอน ) ด้วยการทำงาน 2ประสาน "ขับไล่และสร้างเกราะ" เพื่อป้องกันแมลงพาหะนำเชื้อมาสู่พืช (เพิ่มเติมจากการใช้แค่ "อีเรเซอร์-1") ให้แก่พืชเสร็จใหม่ๆ ตั้งแต่ก่อนที่พืชจะติดเชื้อไวรัสก็จะเป็นแนวทางที่ถูกต้องและมี
ประสิทธิภาพมากที่สุดต่อไป

http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_3.html

http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html





ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในแตงกวา 




https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/904283463032771?pnref=story     ไวรัสแตง


https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/896709250456859       แตงกวา ORG กับ  SA

https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/media_set?set=a.896701093791008.1073743972.100003533767367&type=3   แตงกวา  สวนแตงกวา ตะวันเลิฟ จ.หนองคาย


ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในมะละกอ 




https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/904252686369182?pnref=story    ไวรัสมะละกอ

https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/media_set?set=a.896832667111184.1073743974.100003533767367&type=3  ไวรัสมะละกอ

ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในเมล่อน


เทคนิคการเพิ่มผลผลิตเมล่อน ระบบ ORG ที่ปลอดภัยไร้สารพิษ
1. รองพื้นด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 จำนวน 11 กก./โรงเรือน
2. นำต้นกล้าอายุ 8 วัน (หลังจากเพราะเมล็ด)ลงปลูกในโรงเรือน
3. ให้ปุ๋ยเกร็ดสูตรเสมอ 20-20-20ผ่านระบบน้ำ โดยผสมปุ๋ยในอัตราส่วน 200 กรัม/น้ำ 2,000 ลิตร/โรงเรือน
4. ฉีดพ่นด้วย ซิกน่า+ ซาร์คอน อัตราผสม 20 ซีซี + 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน สลับกับ อีเรเซอร์-วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7-10 วัน เป็นประจำ
5. ฉีดพ่นด้วย ไบโอเจ็ท อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน
6. เมื่อต้นกล้า อายุ 22-25 วัน (หลังจากย้ายลงปลูก)ทำการผสมดอก ซึ่งมีระยะเวลาในการผสม 4 วัน โดยเลือกผสม 4 ดอก/ต้น (ผสมดอกช่วงเช้า ประมาณ 08.00 น.)
7. ประมาณ 4-5 วัน หลังจากผสมดอกให้เมล่อน จะเริ่มติดผล ให้คัดเหลือ 1 ผล/ต้น เลือกตำแหน่งกิ่งที่ีสมบูรณ์ และอยู่ในแนวเดียวกัน
8. หลังจากคัดผลแล้วให้เปลี่ยนสูตรการให้ปุ๋ยเป็นสูตรที่เน้นธาตุอาหาร ตัวท้ายสูง เช่น 10-20-30 ในอัตราส่วน 300-450 กรัม/น้ำ 2,000 ลิตร : 1โรงเรือน ให้ประมาณ 20 วัน
9. ฉีดพ่นด้วย ORG-1+ORG-2 อัตรา 20 ซี.ซี. + 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง
10. หลังจากให้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 จนครบกำหนด 20 วันให้ทำการเปลี่ยนสูตร 13-0-46 ในอัตราส่วน 300-450 กรัม/น้ำ 2,000 ลิตร :1 โรงเรือน ให้ประมาณ 10 วัน
11. หลังจากให้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 จนครบกำหนด 10 วัน ให้ทำการเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 0-0-50 ในอัตราส่วน 3-4 ขีด : น้ำ 2,000 ลิตร :1 โรงเรือน ให้ประมาณ 5 วัน
12. เมื่อไกล้ครบกำหนดตัด (อายุเฉลี่ย75-80 วัน หลังจาก ย้ายกล้าลงปลูก) จะงดการให้น้ำ ประมาณ 2-3 วัน หรือขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ (เพื่อให้เมล่อนมี รสชาติหวานชวนให้รับประทาน)
หมายเหตุ :
(1) ขนาดโรงเรือน 6.50 x 32 เมตร ปลูกเมล่อนได้ประมาณ 800 ต้น
(2) การให้น้ำระบบน้ำหยด ประมาณ 2 - 3 ครั้งต่อวัน (ครั้งละประมาณ 3-5 นาที)
(3) เมื่อพบว่ามีโรค ไวรัส ปรากฏให้เห็นในระยะเริ่มต้น ให้ฉีดพ่นด้วย อีเรเซอร์-1+ เพาเวอร์-5 หรือ ซูก้าร์ ทุก 5 วัน 2 ครั้งและทุก 7 วัน 1-2 ครั้ง



https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/media_set?set=a.904111879716596.1073743989.100003533767367&type=3&pnref=story ไวรัสเมล่อน

https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/902617639866020              เมล่อน คุณสำรวย สุขทวี







ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ใน ยาสูบ




https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/896853490442435        ไวรัสยาสูบ




สนใจติดต่อได้ที่ 
084 - 8809595,084-3696633
Line ID :  @organellelife.com