FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

ต้นยาสูบ 1 ต้น

 ต้นยาสูบ 1 ต้น

- จะมีใบมากกว่า 20 ใบ (20-28 ใบ)แต่เราจะเอาใบไว้แค่ต้นละ 20 ใบ โดยการตอนยอดในระยะที่เหมาะสม


• การเก็บเกี่ยวใบยา
- จะเก็บเกี่ยวประมาณ 6 ครั้ง/ต้น
- ใบยาตีน 1 ครั้ง= 3 ใบ (10%)
- ใบยากลาง 3 ครั้ง= 9 ใบ (50%)
- ใบยายอด 2 ครั้ง= 6 ใบ (40%)
รวม 6 ครั้ง=18ใบ (100%)
(ยังไม่ได้รวมใบยาตีนทราย (Sandleafs) อีก 1
ครั้ง จำนวน 2 ใบ รวมเป็น 20 ใบ)

• ใบยาต้นละ 20 ใบ ทำน้ำหนักให้ได้เฉลี่ยใบละ
90-100 กรัม หรือต้นละ 1.8-2.0 กิโลกรัม

• 1 ไร่ ปลูกระยะ 50-60 ซม.x 120 ซม. จะได้ต้น
ยาสูบเฉลี่ยไร่ละประมาณ 2,500 ต้น


• การเก็บเกี่ยวใบยาหลักๆ เราจะเก็บครั้งละ 3 ใบ
ทุกช่วง 7-9 วัน (ยกเว้นใบยายอด อาจเก็บทุก
ช่วง 10-12 วัน)


• ถ้าเก็บเกี่ยวใบยาตามนี้ ก็จะได้ใบยาที่มีคุณภาพที่ดี และมีผลผลิตที่สูง

• ยาสูบที่เติบโตสมบูรณ์ดี ใบยาต้องสุกแก่ได้ อย่างสม่ำเสมอตามช่วงอายุ และเวลาที่กำหนด


• ใบยาที่สุกแก่ไม่สมบูรณ์ จะทำให้ได้ใบยาเนื้อทึบ กระด้างแข็ง ขาดความยืดหยุ่น ติดเขียว เนื้อ Slick
กลิ่นไม่ดี ไม่มีความหอม

• อุปสสรคที่จะทำให้การเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้องและ
ผิดพลาด ได้ใบยาที่สุกแก่ไม่สมบูรณ์, จำสุก
-โรครบกวน
- การขาดน้ำ
- ธาตุอาหารไม่สมดุลย์, ไม่เพียงพอ
- สภาพดินฟ้าอากาศ อาทิ ร้อนแล้ง ฯลฯ
ยาสูบ ครบ (การดูแล, ประวัติยาสูบ, ฯลฯ)

http://paccapon.blogspot.com/…/08/predator-parasitoids.html

คู่มือบริหาร & จัดการยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_30.html?m=0

Thailand Tobacco 4.0
http://paccapon.blogspot.com/20…/…/thailand-tobacco-40.html




การปลูกยาสูบยังมี 2 รูปแบบ 
ที่เราพบเห็น

1) ยุคเก่า



2) ยุคใหม่









.............................


เก็บตก
การตรวจไร่ยาสูบ 
เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2561 ที่ผ่านมา
วันที่พาตัวแทนชาวไร่จาก จ.เชียงราย
มาดูงานปลูกยาสูบที่ อ.ปัว
ยาสูบปลูกวันที่ 21 พ.ย.2560
อายุได้เกือบ 3 เดือนแล้ว



เป็นรุ่นยานา ที่ปลูกในดินนาป่า (นาแพะ)
เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ (OM ต่ำ)
โครงสร้างดินไม่ค่อยดี แน่นทึบแข็งเวลาแห้ง



ลักษณะคล้ายดินทรายขาว เวลาเปียกน้ำจะเละ
ต้องเน้นการปรับสภาพโครงสร้างดิน
และจัดธาตุอาหารให้เพียงพอและสมดุลย์
ถึงจะได้ทั้งคุณภาพที่สูงและผลผลิตที่สูง





(สมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดินประเภทนี้ จะปลูกยาสูบ
ได้ผลผลิตต่ำ แต่คุณภาพจะดี เพราะลักษณะดิน
จะมีธาตุไนโตรเจน (N)ต่ำ แต่มีธาตุโปแตสเซียม (K)
อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม)



(พาตัวแทนชาวไร่ยาสูบจาก จ.เชียงราย มาดูงานไร่ปลูกยาสูบที่ อ.ปัว)





..................

24 กุมภาพันธ์ 2561
ลงตรวจไร่ยาสูบ
ของนาย คล้าย ยาปัน
บ้านส้าน ต.สถาน อ.ปัว
รุ่นปลูกยานา วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561
อายุยาสูบได้ 3 เดือน 28 วัน
ในพื้นที่ดินนาป่า (นาแพะ)
เก็บเกี่ยวใบยาสดไปได้ 3 ครั้ง (ไม่รวมยาตีนทราย)
เหลือใบยาประมาณต้นละ 10 กว่าใบ
การเติบโตปกติดี เนื้อใบยาหนา เรโชแคบ  โรคไม่รบกวน เพราะมีวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
การให้อาหารค่อนข้างครบถ้วน (อาจจะมีบางส่วนที่ขาดธาตุบางตัวไม่พอ)
ผลผลิตไม่น่าจะต่ำกว่า 2 กิโลกรัม/ต้น
ต้นที่เสียหายมีน้อยครับ


...................
จาก..ไร่ สู่..เตา





จากไร่ปลูก สู่.เตาบ่มใบยา







เกษตรกรเก็บเกี่ยวใบยาสดที่สุกแก่สมบูรณ์เสร็จ
ก็จะนำมาบ่มเพื่อแปรรูปให้เป็นใบยาแห้ง
ตามกระบวนการบ่มที่มีขั้นตอนต่างๆ
บ่มเสร็จก็นำออกจากเตา สู่ขั้นตอนการคัดแยกเกรด
เพื่อส่งขายให้กับโรงงานยาสูบต่อไป


ใบยาสดที่มีคุณภาพ เป็นที่พึงปรารถนา
เพราะจะนำมาซึ่งใบยาแห้งที่มีคุณภาพ
การทำผลผลิตใบยาสด/ไร่ ให้สูง
ควบคู่ไปกับคุณภาพที่สูง
จึงเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร 



ถ้าหากเกษตรกรไม่เข้าใจอย่างแท้จริง
ผลที่ออกมามันจึงมักจะสวนทางกัน
เพราะพอทำใบยาสดให้ได้ผลผลิตสูง
ก็จึงมักจะมีใบยาสดคุณภาพต่ำตามมา
การทำให้ได้ทั้ง 2 อย่างควบคู่กัน
จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ให้มีระบบแบบแผน
ซึ่งเกษตรกรที่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
คือ..หัวใจสำคัญ อันดับแรก ในเรื่องนี้
ที่ต้องมีความเข้าใจในองค์ความรู้ต่างๆที่ถูกต้อง
จึงจะประสบความสำเร็จ


และ..ยังมีสิ่งที่สำคัญอีกอันหนึ่ง ที่ต้องกล่าวถึง
ซึ่งนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องของ
การทำใบยาให้มี ”ผลผลิตที่สูงคู่กับคุณภาพที่สูง”
นั่นก็คือ..
การทำใบยาที่มีต้นทุนต่ำ
ดังนั้น..ใบยาสดต้องมีคุณภาพดีควบคู่กับ
อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่แคบด้วย
จึงจะช่วยให้ทุกฝ่ายอยู่รอดได้
ภายใต้การแข่งขันทางการตลาดที่สูง
(ขอบคุณเจ้าของภาพ : ยาสูบฤดูกาลนี้ปี 2560/61
ปลูกรุ่นต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 ถ่ายภาพเมื่อ
18 ก.พ.2561)











☎️ 084-8809595, 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ https://lin.ee/nTqrAvO






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น