ลงพื้นที่ตรวจไร่ยาสูบ
รุ่นปลูก 5 พฤศจิกายน 2561
ต้อนรับการก้าวย่างสู่ปีใหม่ 2018
ปีนี้..จะเป็นปีปราบเซียนไหมหนอ?
เพราะ..ดินฟ้าอากาศไม่ค่อยปกติมากนัก
เลยได้พบเห็นโรคจากไวรัส ตัวใหม่ๆ
ที่ไม่เคยพบเห็นมันระบาดมาก่อน
ก็ได้พบได้เห็นกันในปีนี้
ที่มีโรคไวรัสตัวใหม่ๆให้เห็นขึ้นมา
อาจเป็นเพราะว่าพื้นที่รอบข้างแปลงยาสูบในปีนี้
มีพืชใหม่ตัวอื่นๆมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกัน
เพิ่มขึ้น อาทิ ฟักทอง พริก ผักกาดเขียวปลี ข้าวโพดหวาน ที่เป็นพืชอาศัย (Host Plant) ของแมลงพาหะชั้นดี และเป็นพืชอาหารของเหล่าเพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ ตั๊กแตน และพืชเหล่านั้นอาจไม่มีการป้องกันแมลงพาหะเหล่านี้ให้ดี ก็เท่ากับว่ามันเป็น เสมือน “สายล่อฟ้า” หรือว่าเป็นตัว “เรียกแขก” ชั้นดีที่เรียกแมลงพาหะเหล่านี้เข้ามาและลามขยายมาสู่พืชยาสูบของเราไปด้วย นั่นเอง
เหนื่อยใจครับ กับปัญหาดินฟ้าอากาศ
และการระบาดของโรคต่างๆ
แต่เราก็ยังดีที่เรามีโปรแกรมป้องกันไว้แล้วบ้าง
แต่พืชอื่นๆที่ปลูกข้างๆหรือใกล้เคียงกับเรานั้นแย่
ไปตามๆกัน เพราะมันเสียหายแบบ 100 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว มีทั้งเน่า ทั้งเหี่ยว ทั้งใบไหม้ ทั้งใบด่างใบหงิก จนใช้ไม่ได้ และบางแปลงก็เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ไปเลยก็มี
จากนี้ไป..คงต้องหาวิธีตั้งรับกับปัญหาเหล่านี้
และหาวิธี ตลอดจนหนทางแก้ไขที่ดีต่อไป
เพราะมันเพิ่งจะเริ่มพบเห็นปัญหาใหม่ๆเล็กน้อยอยู่
...............
ไวรัส..ถือเป็นปัญหาสำคัญ
อีกปัญหาหนึ่งของเกษตรกร
ที่ปลูกใบยาสูบทั่วประเทศโดยไม่รู้ตัว
เสมือนเป็น "มหันตภัยเงียบ"
• โดยสถิติแล้วจำนวนความเสียหาย
ต่อการปลูกใบยาหนึ่งครั้ง (1 รุ่น)
จะถูกไวรัสคุกคาม เฉลี่ยประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งเทียบเป็นเม็ดเงินที่สูญเสียไป ก็ประมาณปีละกว่า 2,000 ล้านบาท
• และที่ผ่านมา
เราคิดไปเองว่า ยังไม่มียาตัวใดๆ
ที่จะมารักษาหรือแก้ปัญหาหรือฆ่าเชื้อไวรัสได้
ไม่ว่าจะเป็นในคน สัตว์ และพืช
• แต่..ตอนนี้ มัน "ไม่ใช่"
มีการศึกษาเพื่อหาวิธี "การสร้างภูมิต้านทานไวรัส"
ให้กับยาสูบ เพื่อให้ต้านทานเขื้อไวรัส กันแล้ว
เสมือนมีการให้ "วัคซีน" กับยาสูบ
• "เชื้อไวรัส
สามารถทำให้เกิดโรคกับต้นยาสูบได้ ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่เป็นต้นกล้าในแปลงเพาะ
หรือเข้าทำลายต้นยาสูบในช่วงที่ต้นยาสูบโตแล้ว
ซึ่งมีรายงานการพบโรคไวรัสยาสูบประมาณ 10 กว่าชนิด และมีมากกว่า 6 ชนิดที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่
• ไวรัสโรคใบหด (Tobacco Leaf-Curl virus,
TLCV)
• ไวรัสโรคใบด่าง (Tobacco Mosaic Virus, TMV) • โรคไวรัสใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Virus,
CMV)
• ไวรัสโรคแผลละเอียด (Tobacco Streak Virus,
TSV)
• ไวรัสโรคใบจุดเหี่ยวมะเขียเทศ (Tobacco
Spotted With Virus, TSWV)
• ไวรัสโรคเส้นใบแห้งมันฝรั่ง (potato virus Y,
PVY)
• ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อจำนวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและระดับคุณภาพใบยาที่มีผลต่อราคาที่รับซื้อ ส่งผลต่อชีวิตและรายได้ของชาวไร่ยาสูบโดยตรง
• นอกจากนี้..วิธีการดั้งเดิมในการป้องกันเชื้อไวรัสระบาดในใบยาสูบ ที่ต้องพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยความระมัดระวังในการใช้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วยและแก้ปัญหาไม่ได้มากนัก
• และ..บางครั้งอาจจะมีสารเคมีตกค้างในใบยาสูบ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย"
.
เตือนภัย..
การระบาดของไวรัสยาสูบ
ไวรัส..ที่เห็นในกลุ่มนี้
ก็สร้างความเสียหายได้ไม่น้อยเหมือนกันกับยาสูบ นอกหนือจากไวรัสตัวหลักๆ อย่างเช่น
Tobacco Leaf Curl Virus (TLCV), Tobacco Mosaic Virus (TMV), Tobacco Spotted Wilt Virus (TSWV), Potato Virus V (PVY), Tobacco Etch Virus (TEV), Tobacco Rosetted and Bunchy Top Virus (TRBTV)
ซึ่งในปีนี้มีให้พบเห็นอย่างหนาตามากกว่าทุกๆปี อาจเนื่องมาจากว่ามีแมลงพาหะในปริมาณมากกว่าทุกปี และพบเห็นความเสียหายในแหล่งที่มีพืชอาศัย (Host Plants) ของแมลงพาหะอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับแปลงยาสูบที่พบโรคมากกว่าบริเวณอื่นๆ
การป้องกันสำคัญมาก
เพื่อลดความเสียหายให้ได้มากที่สุด (ให้พืชถูกทำลายให้น้อยที่สุด)
- ป้องกันแมลงพาหะ (ฆ่าโดยสารเคมี, ขับไล่ด้วยกลไก ISR ทางกระบวนการชีวเคมี, สร้างเกราะ
ป้องกันด้วยการสร้างผนังเซลล์ให้แข็ง)
- ป้องกัน & ควบคุมเชื้อไวรัส (SystemicAcquired Resistance : SAR กระตุ้นการสร้าง
ภูมิต้านทานโรคให้พืชเสมือนการให้วัคซีนพืช)
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (VIRAL DISEASES)
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับยาสูบ มีโดยประมาณ 18 ชนิด ดังต่อไปนี้
5.1.3.1 MOSAIC เกิดจากเชื้อ TOBACCO MOSAIC VIRUS (TMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus Persicae ฯลฯ
5.1.3.2 VEIN BANDING เกิดจากเชื้อ POTATO VIRUSY (PVY) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Myzuz spp., Neomyzus spp., Acrythoosiphen spp.
5.1.3.3 ETCH เกิดจากเชื้อ TOBACCO ETCH VIRUS มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Aulacorthium., Macrosiphiun., Myzuz spp. ฯลฯ
5.1.3.4 TOMATO SPOTTED WILT เกิดจากเชื้อ TOMATO SPOTTED WILT VIRUS (TSWV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยไฟ อาทิ Thrip tabaci, Frankliniella
5.1.3.5 CUCUMBER MOSAIC VIRUS เกิดจากเชื้อ CUCUMBER MOSAIC VIRUS (CMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae, Aphis gossypii
5.1.3.6 VEIN MOTTLE เกิดจากเชื้อ TOBACCO VETH MOTTLE VIRUS (TVMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae
5.1.3.7 ROSETTE AND BUSHY TOP เกิดจากเชื้อ TOBACCOROSETTE AND BUSHY TOP VIRUS (TRBTV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน (Aphids) อาทิ Myzus sp.
5.1.3.8 PAENUT STUNT เกิดจากเชื้อ PAENUT STUNT VIRUS (PSV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน
5.1.3.9 ALFALFA MOSAIC เกิดจากเชื้อ ALFALFA MOSAIC VIRUS (AMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis gossypii, Macrosiphium pisi, Macrosiphium solanifolii, Aphis fabae
5.1.3.10 LEAF CURL เกิดจากเชื้อ TOBACCO LEAF CURL VIRUS (TLCY) มีพาหะนำเชื้อโดย แมลงหวี่ขาว (whitefly) อาทิ Bemisia tabaci Bemisia gossypiperda, Trialeurodes natatensis Aleurotuberculatus psidii (in Taiwai)
5.1.3.11 BEET CURLY TOP เกิดจากเชื้อ BEET CURLY TOP VIRUS (BCTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจักจั่น (Leafhopper) อาทิ Circulifer tenellus
5.1.3.12 RATTLE VIRUS เกิดจากเชื้อ TOBACCO RATTLE VIRUS (TRV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Trichodorus spp.
5.1.3.13 RING SPOT เกิดจากเชื้อ TOBACCO RINE SPOT VIRUS (TRSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Xiphinema americanum
5.1.3.14 STEAK เกิดจากเชื้อ TOBACCO STEAK VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ตั๊กแตน (grasshopper)
5.1.3.15 NECROSIS เกิดจากเชื้อ TOBACCO NECROSIS VIRUS (TNV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
5.1.3.16 STUNT เกิดจากเชื้อ TOBACCO STUNT VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
5.1.3.17 WOUND TUMOR เกิดจากเชื้อ WOUND TUMOR VIRUS (WTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจั๊กจั่น (Leafhopper) อาทิ Agallia constricta. Agallia quadripunctata, Agalliopsis novella
5.1.3.18 LETTUCE BIG VEIN เกิดจากเชื้อ LETTUCE BIG VEIN VIRUS (LBVV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (fungus) อาทิ Olpidium spp.
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) จะมีลักษณะโดยทั่วไปที่แสดงอาการ อาทิ แผลจุดเป็นดวง, ด่างลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งต้น, แคระแกร็น, หยุดและชะงักการเจริญเติบโต, ลักษณะรูปร่างผิดปกติ, แตกตา, กิ่ง, ช่อ ยอด มากกว่าปกติ
#ยาสูบเงินล้าน
https://www.facebook.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-431771140269455/
ปี 2557
โรงงานยาสูบ เพิ่งจะเริ่มมาศึกษา
ว่าด้วยเรื่อง.."การสร้างภูมิต้านทานไวรัส" ให้ยาสูบ
เพื่อแก้ปัญหาความเสียหายจากเชื้อไวรัส
แต่..ในขณะเดียวกัน
ปี 2545
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ ได้เริ่มมีการนำ "สารกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานไวรัส" (วัคซีน) มาใช้ในยาสูบ ที่จังหวัดน่านกว่า 1,000 ไร่ ด้วยกลไกและแนวทางของกระบวนการ "Systemic Acquired Resistance" (SAR) ตามที่กล่าวมา
หลายท่านสงสัย
ว่า ทำไม?
กระบวนการ SAR ก็ไม่ใช่..เรื่องใหม่
แต่ทำไม? ยังไม่ค่อยเห็นมีใครนิยม
นำ "สารกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานไวรัส" มาใช้กัน
อาจเพราะยังไม่เข้าใจในกระบวนการนี้
หรือว่ายังไม่มีสารที่ "ใช่" ที่จะนำมาใช้กัน
หรือเปล่า
.
(ภาคผนวก : โรงงานยาสูบจับมือต่างชาติวิจัย
"สร้างภูมิต้านทานไวรัสในยาสูบ" ลดความสูญเสีย
• โรงงานยาสูบ จับมือ ต่างชาติทำการวิจัยร่วม คิดค้นนวัตกรรมสร้างภูมิต้านทานไวรัสในใบยาสูบเป็นครั้งแรกของโลก
นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ผู้อำนวยการยาสูบ โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โรงงานยาสูบได้ร่วมมือกับ บริษัท โกลด์ ดาร์กอน อินเวสเมนท์ จำกัด (Gold Dragon Investment Pte. Ltd.) จากประเทศสิงคโปร์ จัดทำโครงการทดลองร่วม "การสร้างภูมิต้านทานยาสูบเพื่อต้านทานโรคไวรัส" (Boosting Immunity against Viral Diseases in Tobacco) เพื่อศึกษากลไกทางสรีระวิทยาในการเสริมสร้างภูมิต้านทานของยาสูบเวอร์ยิเนีย เบอร์เลย์ และเตอร์กิช ที่มีต่อการต้านทานโรคไวรัสยาสูบ นับเป็นการทดลองกับพืชใบยาสูบเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อนำผลการทดลองไปพัฒนาและช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบ ด้านการเพาะปลูกใบยา และเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ตั้งเป้านวัตกรรมใหม่ของการสร้างภูมิต้านทานไวรัสในวงการพืชและเกษตรของประเทศไทย
ไวรัสถือเป็นปัญหาของเกษตรกรที่ปลูกใบยาสูบทั่วประเทศ โดยสถิติแล้วจำนวนความเสียหายต่อการปลูกใบยาหนึ่งครั้งจะถูกไวรัสคุกคามเฉลี่ย 10-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเทียบเป็นเม็ดเงินที่สูญเสียประมาณปีละ 2,000 ล้านบาท และที่ผ่านมายังไม่มียาตัวใดที่สามารถรักษาหรือฆ่าเชื้อไวรัสได้ ไม่ว่าจะเป็นในคน สัตว์ และพืช ซึ่งโรงงานยาสูบได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยพยายามคิดค้นหาวิธีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของโรงงานยาสูบในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยโครงการทดลองร่วม "การสร้างภูมิต้านทานยาสูบเพื่อต้านทานโรคไวรัส" ครั้งนี้นับเป็นการทดลองกับพืชใบยาสูบเป็นครั้งแรกของโลก โดยร่วมกับบริษัท โกลด์ ดาร์กอน อินเวสเมนท์ จำกัด โดยมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทำวิจัยเรื่องไวรัส เป็นที่ปรึกษา และมีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับไวรัสในพืช และสัตว์ ประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนั้น ด้วยความสามารถและศักยภาพของบริษัทพร้อมด้วยทีมวิจัยที่มีประสบการณ์ ผนวกกับงานวิจัยที่โรงงานยาสูบได้ทำไว้ นำมาทดลองร่วมกันจะช่วยวิจัยใบยาสูบ ให้ได้รับผลลัพท์ที่เป็นประโยชน์ และสามารถต่อยอดไปสู่การวิจัย และพัฒนาด้านอื่นได้ต่อไป
"เชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดโรคกับต้นยาสูบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่เป็นต้นกล้าในแปลงเพาะหรือเข้าทำลายต้นยาสูบในช่วงที่ต้นยาสูบโตแล้ว ซึ่งมีรายงานการพบโรคไวรัสยาสูบประมาณ 10 ชนิด และมี 6 ชนิดที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไวรัสโรคใบหด (Tobacco Leaf-Curl virus, TLCV) ไวรัสโรคใบด่าง (Tobacco Mosaic Virus, TMV) โรคไวรัสใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Virus, CMV) ไวรัสโรคแผลละเอียด (Tobacco Streak Virus, TSV) ไวรัสโรคใบจุดเหี่ยวมะเขียเทศ (Tobacco Spotted With Virus, TSWV) ไวรัสโรคเส้นใบแห้งมันฝรั่ง (potato virus Y, PVY) ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อจำนวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและระดับคุณภาพใบยาที่มีผลต่อราคาที่รับซื้อ ส่งผลต่อชีวิตและรายได้ของชาวไร่ยาสูบโดยตรง นอกจากนี้วิธีการดั้งเดิมในการป้องกันเชื้อไวรัสระบาดในใบยาสูบต้องพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยความระมัดระวังในการใช้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และบางครั้งอาจจะตกค้างในใบยาที่เกี่ยวอีกด้วย" นายต่อศักดิ์กล่าว
ทางด้านนายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท โกลด์ ดาร์กอน อินเวสเมนท์ จำกัด (Gold Dragon Investment Pte.Ltd.) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ทางบริษัทรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้จัดทำโครงการทดลองร่วม "การสร้างภูมิต้านทานยาสูบเพื่อต้านทานโรคไวรัส" ร่วมกับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับชาวไร่ มีการสนับสนุน คิดค้นและพัฒนาการปลูกใบยาสูบที่มีคุณภาพ ปลอดภัยไร้สารตกค้าง รักษาสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบ GAP (Good Agriculture Practices) ที่กำหนดโดยองคืการอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยบริษัทมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภูมิต้านทานวิทยา ซึ่งมีชื่อเสียงในการวิจัยโรคไวรัสในพืชและสัตว์ สำหรับการวิจัยร่วมในครั้งนี้ บรษัทหวังว่าจะเกิดผลประโยชน์ต่อวงการวิจัยการแพทย์ และเกษตรอย่างกว้างขวาง และเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาพวกเราทุกคนไปสู่มิติใหม่แห่งการรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ด้วยวิธีธรรมชาติ
การทดลองร่วมกันครั้งนี้แบ่งการวิจัยออกเป็นสองส่วนคือ การทำวิจัยจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาที่ประเทศอินโดนีเซีย และจากแปลงทดลองของโรงงานยาสูบ สถานีทดลองแม่โจ้ สำนักงานยาสูบสุโขทัย และสำนักงานยาสูบนครพนมในประเทศไทย จะมีการเก็บตัวอย่างไวรัสแล้วนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจ ากนั้นทดลองปลูกใบยาสูบในเรือนกระจก และติดตามประเมินผลจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว อบใบยา เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพผลผลิตจนถึงปลายทาง คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการทดลองประมาณ 2 ปี นายชัชวาลย์กล่าว
"ผลสำเร็จจากการทดลองร่วมในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการพืชผลการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งโรงงานยาสูบจะนำผลการทดลองที่ได้ไปต่อยอดเพื่อช่วยเหลือชาวไร่ ในการเพิ่มผลผลิตและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมกับนำผลการทดลองต่อยอดไปถึงการทำการค้าร่วมกันกับพันธมิตรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสได้เป็นประเทศแรกของโลก และจำหน่ายไปทั่วโลกอีกด้วย" นายต่อศักดิ์กล่าวสรุป
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 19 มิ.ย. 2557 เวลา 19:15:32 น.
ปัญหาที่พบในยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post.html?m=0
ประสบการณ์ไวรัสยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html
กระบวนการ SAR (PPT)
https://paccapon.blogspot.com/2015/12/systemic-acquired-resisitance-sar.html
วัคซีนพืช ตระกูลผีเสื้อมรกต
http://paccapon.blogspot.com/2016/10/blog-post.html?m=1
.
#15ปีผ่านมาใครๆก็ว่าบ้าพูดถึงปัญหาไวรัส
#ต่อไปมันจะเป็นวาระแห่งพืช
#ใครมองข้ามปัญหาไวรัสพืชคนนั้นปลูกพืชใดไม่มีวันสำเร็จ
#ยาสูบพืชครูเรื่องไวรัส
#ยาสูบเงินล้าน
สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ
https://lin.ee/nTqrAvO