FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

กระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis)

มารู้จักขบวนการพื้นฐานของพืช
ในเบื้องต้น กันดีกว่าไหม?

• ขบวนการสังเคราะห์แสง 
  (Photosynthesis)
• ขบวนการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส 
  (C6H12O6) ในพืช

• ขบวนการการสังเคราะห์แสง 
  (Photosynthesis) ของพืช 
โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก มาสังเคราะห์กับน้ำ (H2O) ที่พืชดูดขึ้นมาทางราก โดยอาศัยคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นตัวรับพลังงานแสงมาแปลงเป็นพลังงานชีวเคมีเพื่อสังเคราะห์แสง เมื่อสังเคราะห์แล้วได้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลักคือ กลูโคส (C6H12O6) ใบที่มีเม็ดสีคลอโรฟิลล์มากและมีคุณภาพดีจึงจะสามารถรับพลังงานแสงได้ดีและมากอย่างรวดเร็ว และจะทำให้การสังเคราะห์กลูโคสได้มากขึ้นและรวดเร็วมากขึ้นด้วย โดยพืชจะดูดธาตุอาหารทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม (ประกอบด้วย  N  P  K  Ca  Mg  S  Cl  Fe  Mn  Zn  B  Cu  Mo  และ  Ni) มาช่วยกันทำหน้าที่กันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนกลูโคส (C6H12O6) เพื่อให้เป็นเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งพืชเองก็จะใช้ประโยชน์จากกลูโคสในการสร้างเนื้อเยื่อในเซลล์ต่างๆของพืช เช่น เซลล์เปลือกไม้ เนื้อไม้ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ยอดอ่อน ดอก ผล และอื่นๆ


• ขบวนการสังเคราะห์แสง   (Photosynthesis) ของพืช
เป็นขบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์
เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมีน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นวัตถุดิบใน
​ขบวนการสังเคราะห์แสง
- ในพืช C3 พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
   (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน
   3 ตัว คือ G3P (Glyceraldehyde-3phosphate)
   ใน Calvin Cycle และสาร G3P จะถูกเปลี่ยนเป็น
    สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาลโดยตรงต่อไป
​- ในพืช C4 และพืช CAM พืชจะตรึงก๊าซ
    คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูป
    ของสารที่มีคาร์บอน 4 ตัว คือ มาเลท (Malate)
    เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็นสารสะสม
    ต่างๆ ในพืชต่อไป ดังนี้

1) สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาล 
 – พืช C4 และ CAM จะใช้มาเลท (Malate) เป็นสาร
    ตั้งต้น (Precursor) ให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ 
    Calvin Cycle ได้สาร G3P ก่อนสังเคราะห์เป็น
    แป้งและน้ำตาลต่อไป

2) สารสะสมประเภทโปรตีน, น้ำมัน, น้ำยาง, อัลคา
    ลอยด์, สี, กลิ่น, ฮอร์โมนพืช ฯลฯ 
 – พืช C4 และ CAM จะใช้ Pyruvate ที่ได้จาก
    Malate หลังจากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
    (CO2) แล้ว มาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภท
    ต่างๆ โดยมีขั้นตอน (Pathway) ตามลำดับต่อไป
    เช่น Pyruvate เป็นน้ำมันต่างๆ ได้โดยผ่าน
    Mevalonic Pathway เป็นต้น

• ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง
   (Factor of Photosynthesis)

1. สภาพของพืช ได้แก่ สภาพทางสรีรวิทยา เช่น สรีระของใบ อายุของใบ การเข้าทำลายใบของโรคพืช ที่มีผลต่อสภาพรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสง สภาพทางพันธุกรรม ได้แก่ C3, C4, CAM มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นๆ
.
2. แสง ได้แก่ ความเข้มของแสง ความเข้มของแสงสูงอัตราการสังเคราะห์แสงจะสูงแต่ถ้าเกินจุดอิ่มตัวจะทำให้ใบไหม้ได้ ความเข้มของแสงต่ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะต่ำ แต่อัตราการหายใจไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้นถ้าความเข้มของแสงต่ำเกินจุดอัตราสมดุลย์ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และ O2 พืชก็จะเริ่มไม่เจริญและตายในที่สุด ความยาวช่วงแสง อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับความยาวของช่วงวัน ความยาวคลื่นแสง พบว่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและสีน้ำเงินมีผลต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าแสงในช่วงคลื่นอื่นๆ
.
3. อุณหภูมิ ถ้าสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของเอ็มไซม์ในขบวนการ Dark Reaction ในอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้ปากใบปิดอัตราการหายใจสูงและอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง
.
4. ความเข้มข้นของก๊าซในบรรยากาศ เช่น CO2 มากทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวอัตราการสังเคราะห์ก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีก O2 มากจะลดการสังเคราะห์แสงของพืช C3 เพราะแย่งการใช้วัตถุดิบ RuBP ตัวเดียวกับ CO2
.
5. ธาตุอาหาร มีผลต่อการสังเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ธาตุอาหารหลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการสังเคราะห์แสง
.
6. ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ เพราะน้ำเป็นแหล่งอิเลคตรอนที่ใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง น้ำมีผลต่อการปิดเปิดปากใบ ทำให้มีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เข้าไปในใบ 
น้ำมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในระดับเซลล์
ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด จากปัจจัยที่มีผลได้ข้างต้น 
“โออาร์จี-1” (ORG-1) สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือสาร “มาเลท” (MALATE) แก่พืชโดยตรง เพื่อชดเชยการขาดสารมาเลท (MALATE) จากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาของพืช
.
พืชสังเคราะห์แสง ได้กลูโคส (C6H12O6) ได้
พืชก็จะนำใช้ไปใช้ในกิจกรรมหลักๆของพืชก่อน อาทิ 
- การนำไปใช้เป็นพลังงานในกิจกรรมดำรงชีพ 
- การนำไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการทำลาย
   ของแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และความเสียหายอื่นๆ 
- เมื่อเหลือแล้วจึงจะนำไปสร้างการเจริญเติบโต
   และสร้างการติดดอกออกผลของพืชเองต่อไป 
.
การที่พืชสังเคราะห์แสงได้ดี
และได้ "น้ำตาลกลูโคส" มากๆ 
ก็จะสร้างการเจริญเติบโตและติดดอกออกผล
ได้มาก ผลผลิตก็จะดีและมีคุณภาพสูงมากขึ้น 
.
ดังนั้น..
.
- น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ที่พืชสังเคราะห์ได้ 
   จึงนับว่าเป็นความสำคัญมากต่อการสร้างปริมาณ
   และคุณภาพของผลผลิต 
- ถ้าพืชสังเคราะห์กลูโคส (C6H12O6) ได้มาก 
   ก็ย่อมสร้างเนื้อเยื่อส่วนสำคัญและจำเป็นต่างๆได้
   เป็นจำนวนมาก เพราะ
   - พืชสามารถนำน้ำตาลกลูโคสนี้ ไปสังเคราะห์เป็น
      ทุกสิ่งทุกอย่างในพืชเอง เริ่มตั้งแต่
    • พลังงานชีวเคมีต่างๆในการดำรงชีวิต 
    • การสังเคราะห์เป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) ต่างๆ
      โดยกระบวนการของเอ็นไซม์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ
       ไม้, เปลือกไม้, ใบ, ยอดอ่อน, ตาดอก, ผล,
       ล้วนแล้วเกิดมาจากการสังเคราะห์น้ำตาล
       กลูโคสทั้งสิ้น

- เมื่อใบพืชมีความสมบูรณ์ดีขึ้น ก็จะสามารถ
   สังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น 
   • ได้น้ำตาลกลูโคสเร็วขึ้นและมากขึ้น 
      และมีส่วนเหลือเพื่อไป
      - สร้างความเจริญเติบโตให้ต้น ได้ดีขึ้น
      - สร้างผลผลิต ติดดอกออกผล ได้มากขึ้น 
      - สร้างยอดใหม่ ได้เร็วขึ้น 
      - สร้างยอดอวบอ้วน แข็งแรงขึ้น 
      - แตกใบอ่อนใหม่ ได้เร็วขึ้น 
      - ใบใหญ่เร็วขึ้นและแก่เร็วขึ้น 
      - ทำให้รอบของใบแก่สั้นลง 
         การออกดอกก็ได้เร็วขึ้น 

- การช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์แสง มี
   ประสิทธิภาพ ย่อมสร้างน้ำตาลกลูโคส
   (C6H12O6) ได้เร็ว สามารถช่วยให้การฟื้นฟูต้น
   และใบหลังการเก็บผลผลิตได้เร็วด้วยยิ่งขึ้นไป พืช
   ย่อมใช้อาหารสะสมที่เป็นน้ำตาลสะสมในต้น มา
   เติมให้ส่วนที่เสียไปครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

สรุปว่า :
การสังเคราะห์แสงได้ดี 
การสังเคราะห์น้ำตาลได้มาก 
มีน้ำตาลสะสมไว้มาก 
ย่อมทำให้มีพลังงานสำรองไว้มาก 
ทำให้การออกดอกของพืชได้ง่ายและดี 
ช่อดอกยาว อวบอ้วน ช่อใหญ่ ดอกสมบูรณ์ 
เกสรแข็งแรงและรังไข่อวบอ้วนสมบูรณ์แข็งแรง 
ติดดอกง่าย ดอกดก ให้ผลดก 
ผลใหญ่ เนื้อหนา เนื้อแน่น 
รสชาติดี มีความหวานสูง 

ปัจจัยหลักของการสร้างตาดอก 
คือการสะสมอาหาร 
ถ้าการสะสมอาหารมีไว้น้อย 
ต่อให้มีสารวิเศษใดๆ เข้ามาช่วย เข้ามาราด
ก็ไม่สามารถสร้างตาดอกได้ดี 
และ..ถ้าหากมีการสะสมอาหารไม่เพียงพอมาก่อน ต้องเน้นการสร้าง "พลังงานให้ล้น" 
ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด 
ถือว่าสุดยอดสำหรับการติดดอกออกผลของพืช

สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ 

https://lin.ee/nTqrAvO




• กระบวนการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) 
ในพืช

• การสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ของพืช โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก มาสังเคราะห์กับน้ำ (H2O) ที่พืชดูดขึ้นมาทางราก โดยอาศัยคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นตัวรับพลังงานแสงมาแปลงเป็นพลังงานชีวเคมีเพื่อสังเคราะห์แสง เมื่อสังเคราะห์แล้วได้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลักคือกลูโคส (C6H12O6) ใบที่มีเม็ดสีคลอโรฟิลล์มากและมีคุณภาพดีจึงจะสามารถรับพลังงานแสงได้ดีและมากอย่างรวดเร็ว และจะทำให้การสังเคราะห์กลูโคสได้มากขึ้นและรวดเร็วมากขึ้นด้วย โดยพืชจะดูดธาตุอาหารทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม (ประกอบด้วย N P K Ca Mg S Cl Fe Mn Zn B Cu Mo และ Ni) มาช่วยกันทำหน้าที่กันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนกลูโคส (C6H12O6) เพื่อให้เป็นเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งพืชเองก็จะใช้ประโยชน์จากกลูโคสในการสร้างเนื้อเยื่อในเซลล์ต่างๆของพืช เช่น เซลล์เปลือกไม้ เนื้อไม้ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ยอดอ่อน ดอก ผล และอื่นๆ
.
• กระบวนการสังเคราะห์กลูโคส คร่าวๆ เมื่อพืชดูดน้ำเข้าสู่ท่อน้ำ (xylem) น้ำจะถูกดูดด้วยแรงดึงดูดของการคายน้ำที่ใบ ทำให้น้ำผสมธาตุอาหารทั้ง 14 ธาตุ ลำเลียงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างทางที่น้ำผ่าน ธาตุอาหารที่ถูกดูดมากับน้ำก็จะถูกเซลล์ต่างๆนำเข้าสู่เซลล์เพื่อเตรียมใช้ทำกิจกรรมต่างๆตามหน้าที่ของแต่ละธาตุ ส่วนทีเหลือส่วนหนึ่งก็จะหลุดรอดไปถึงใบ ธาตุอาหารที่หลุดรอดไปถึงใบจะเป็นตัวกำหนดปริมาณและคุณภาพผลผลิต ถ้าใบได้รับธาตุอาหารมากพอและสัดส่วนระหว่างธาตุอาหารถูกต้อง ใบจะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งใบ ใบเป็นมันวาว ซึ่งใบแบบนี้จะสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสได้มาก และรวดเร็วเช่นกันเมื่อน้ำและธาตุอาหารเข้ามาสู่ใบและเมื่อมีแสง กระบวนการสังเคราะห์แสงก็จะเกิดขึ้น โดยการสังเคราะห์น้ำ (H2O) กับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส โดยเริ่มต้นจากธาตุแมงกานีส (Mn) สร้างเอ็นไซม์แยกน้ำ (H2O) ออกเป็น ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) จากนั้นก็ปล่อยออกซิเจน (O) ออกสู่บรรยากาศ คงเหลือไฮโดรเจน (H) ไว้รอคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และธาตุคลอรีน (Cl) ก็จะทำหน้าที่เปิดปากใบให้ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไหลเข้าสู่ใบเพื่อทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน (H) ที่แยกตัวจากน้ำรออยู่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 6 โมเลกุล ก็จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน (H) 24 โมเลกุลได้ น้ำ (H2O) 6 โมเลกุลระเหยออกไป แล้วเหลือ "น้ำตาลกลูโคส" (C6H12O6) 1 โมเลกุล ไว้เป็นวัตถุดิบให้เอ็นไซม์สังเคราะห์เป็นเนื้อเยื่อต่างๆต่อไป

• Photosynthesis

เป็นขบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมีน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ
​ขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช C3 พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 3 ตัว คือ G3P (Glyceraldehyde-3phosphate) ใน Calvin Cycle และสาร G3P จะถูกเปลี่ยนเป็นสารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาลโดยตรงต่อไป
​ในพืช C4 และพืช CAM พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 4 ตัว คือ มาเลท (Malate) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็นสารสะสมต่างๆ ในพืชต่อไป ดังนี้
.
1. สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาล – พืช C4 และ CAM จะใช้มาเลท (Malate) เป็นสารตั้งต้น (Precursor) ให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ Calvin Cycle ได้สาร G3P ก่อนสังเคราะห์เป็นแป้งและน้ำตาลต่อไป
.
2. สารสะสมประเภท โปรตีน น้ำมัน น้ำยาง อัลคาลอยด์ สี กลิ่น ฮอร์โมนพืช ฯลฯ – พืช C4 และ CAM จะใช้ Pyruvate ที่ได้จาก Malate หลังจากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้ว มาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภทต่างๆ โดยมีขั้นตอน (Pathway) ตามลำดับต่อไป เช่น Pyruvate เป็นน้ำมันต่างๆ ได้โดยผ่าน Mevalonic Pathway เป็นต้น
.

ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง
.
1. สภาพของพืช ได้แก่ สภาพทางสรีรวิทยา เช่น สรีระของใบ อายุของใบ การเข้าทำลายใบของโรคพืช ที่มีผลต่อสภาพรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสง สภาพทางพันธุกรรม ได้แก่ C3, C4, CAM มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นๆ
.
2. แสง ได้แก่ ความเข้มของแสง ความเข้มของแสงสูงอัตราการสังเคราะห์แสงจะสูงแต่ถ้าเกินจุดอิ่มตัวจะทำให้ใบไหม้ได้ ความเข้มของแสงต่ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะต่ำ แต่อัตราการหายใจไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้นถ้าความเข้มของแสงต่ำเกินจุดอัตราสมดุลย์ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และ O2 พืชก็จะเริ่มไม่เจริญและตายในที่สุด ความยาวช่วงแสง อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับความยาวของช่วงวัน ความยาวคลื่นแสง พบว่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและสีน้ำเงินมีผลต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าแสงในช่วงคลื่นอื่นๆ
.
3. อุณหภูมิ ถ้าสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของเอ็มไซม์ในขบวนการ Dark Reaction ในอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้ปากใบปิดอัตราการหายใจสูงและอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง
.
4. ความเข้มข้นของก๊าซในบรรยากาศ เช่น CO2 มากทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวอัตราการสังเคราะห์ก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีก O2 มากจะลดการสังเคราะห์แสงของพืช C3 เพราะแย่งการใช้วัตถุดิบ RuBP ตัวเดียวกับ CO2
.
5. ธาตุอาหาร มีผลต่อการสังเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ธาตุอาหารหลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการสังเคราะห์แสง
.
6. ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ เพราะน้ำเป็นแหล่งอิเลคตรอนที่ใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง น้ำมีผลต่อการปิดเปิดปากใบทำให้มีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เข้าไปในใบ น้ำมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในระดับเซลล์
ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด จากปัจจัยที่มีผลได้ข้างต้น พาร์ทเวย์(PATHWAY)สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือสารมาเลท (MALATE)แก่พืชโดยตรง เพื่อชดเชยการขาดสารมาเลท (MALATE)จากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาของพืช
.
พืชสังเคราะห์แสง ได้กลูโคส (C6H12O6) พืชก็จะนำใช้ไปใช้ในกิจกรรมหลักๆของพืชก่อน อาทิ 
- การนำไปใช้เป็นพลังงานในกิจกรรมดำรงชีพ 
- การนำไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และความเสียหายอื่นๆ 
- เมื่อเหลือแล้วจึงจะนำไปสร้างการเจริญเติบโต
- และสร้างการติดดอก ออกผลของพืชเอง 

การที่พืชสังเคราะห์แสงได้ดีและได้ "น้ำตาลกลูโคส" มากๆ ก็จะสร้างการเจริญเติบโตและติดดอกออกผลได้มาก ผลผลิตก็จะดีและมีคุณภาพสูงมากขึ้น 

ดังนั้น..

- น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ที่พืชสังเคราะห์ได้ จึงนับว่าเป็นความสำคัญมากต่อการสร้างปริมาณและคุณภาพของผลผลิต 
- ถ้าพืชสังเคราะห์กลูโคสได้มาก 
- ก็ย่อมสร้างเนื้อเยื่อส่วนสำคัญและจำเป็นต่างๆได้เป็นจำนวนมาก 
- เพราะพืชสามารถนำน้ำตาลกลูโคสนี้ ไปสังเคราะห์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในพืชเอง 
- เริ่มตั้งแต่พลังงานชีวเคมีต่างๆในการดำรงชีวิต 
- การสังเคราะห์เป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) ต่างๆ โดยกระบวนการของเอ็นไซม์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้ เปลือกไม้ ใบ ยอดอ่อน ตาดอก ผล ล้วนแล้วเกิดมาจากการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสทั้งสิ้น
.
- เมื่อใบพืชมีความสมบูรณ์ดีขึ้น 
- ก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น 
- เพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้นและเร็วขึ้น 
และมีส่วนเหลือไปสร้างความเจริญเติบโตให้ต้นและเหลือไปพัฒนาการสร้างผลผลิต ติดดอกออกผลได้มากขึ้น 
- เมื่อได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้น 
- พืชก็สามารถสร้างยอดใหม่ได้เร็วขึ้น 
- ยอดอวบอ้วนแข็งแรงขึ้น 
- แตกใบอ่อนใหม่ได้เร็วขึ้น 
- ใบใหญ่เร็วขึ้นและแก่เร็วขึ้น ทำให้รอบของใบแก่สั้นลง การออกดอกก็ได้เร็วขึ้น 
.
- การช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์แสง มีประสิทธิภาพ ย่อมสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ได้เร็ว สามารถช่วยให้การฟื้นฟูต้นและใบหลังการเก็บผลผลิตได้เร็วด้วยยิ่งขึ้นไป พืชย่อมใช้อาหารสะสมที่เป็นน้ำตาลสะสมในต้น มาเติมให้ส่วนที่เสียไปครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 


สรุปว่า :
การสังเคราะห์แสงได้ดี การสังเคราะห์น้ำตาลได้มาก มีน้ำตาลสะสมไว้มาก ย่อมทำให้มีพลังงานสำรองไว้มาก ทำให้การออกดอกของพืชได้ง่ายและดี ช่อดอกยาวอวบอ้วน ช่อใหญ่ ดอกสมบูรณ์ เกสรแข็งแรงและรังไข่อวบอ้วนสมบูรณ์แข็งแรง ติดดอกง่าย ดอกดก ให้ผลดก ผลใหญ่ เนื้อหนา เนื้อแน่น รสชาติดี มีความหวานสูง (ปัจจัยหลักของการสร้างตาดอก คือการสะสมอาหาร ถ้าการสะสมอาหารมีไว้น้อย ต่อให้มีสารวิเศษใดๆเข้ามาช่วย เข้ามาราดก็ไม่สามารถสร้างตาดอกได้ดี ถ้าหากมีการสะสมอาหารไม่เพียงพอมาก่อน ต้องเน้นการสร้าง "พลังงานให้ล้น" ไว้ก่อน เป็นดีที่สุด ถือว่าสุดยอดสำหรับพืช)

สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น