ที่มีมากกว่า 18 ชนิด และน่าจะมีเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ถ้าโลกเรายังมีความวิปริตแบบนี้
"ไวรัสพืช" เอง เปรียบเสมือน "มหันตภัยเงียบ" สำหรับพืช ถ้าหากไม่ระวัง พลาดพลั้งติดเชื้อขึ้นมา ก็มีโอกาสสูญเสียยิ่งใหญ่ในเรื่องผลผลิตและชีวิตพืชได้เหมือนกัน
ปีพ.ศ. 2527 หลังจากจบการศึกษาเป็นบัณฑิตออกมาใหม่หมาดๆจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยวิญญาณของนักกิจกรรมและผู้นำนักศึกษาสมัยเป็นนิสิตเกษตร จึงตัดสินใจเลือกที่จะมาทำงานในต่างจังหวัด ต้องมาทำหน้าที่เป็นนักวิชาการเกษตรให้สถานียาสูบในจังหวัดน่าน ที่มีพื้นที่ปลูกยาสูบที่ต้องดูแลมากกว่า 4,000ไร่ ที่ผ่านมามีปัญหามากมายเกี่ยวกับลูกไร่ที่ส่งเสริมให้ปลูกใบยาทั้งคุณภาพใบยาและผลผลิตใบยา ที่ได้ผลผลิตไม่มาก ทั้งๆที่มีพื้นที่ปลูกมากมาย เพราะอะไรหรือ? และทำไมผลผลิตมันจึงต่ำจัง ด้วยเหตุนี้จึงมีที่มาว่า..ให้ผมมา "ผ่าตัดใหญ่" โดยให้วิทยาการใหม่ๆ ในการบริหารและดูแลตั้งแต่ การผลิตกล้าที่ดี การกำหนดระยะปลูกที่ถูกต้อง การให้ปุ๋ยที่ถูกต้อง การดูแลโรคและแมลง ตลอดจนการเก็บเกี่ยว
ทั้งหมดที่กล่าวมานับว่าเป็นเรื่องสำคัญทั้งนั้น ที่จะต้องทำการ "ผ่าตัดใหม่" หมดโดยเน้นการเพิ่มคุณภาพและผลผลิต และสิ่งหนึ่งที่มีส่วนในการทำให้ผลผลิตตกต่ำนั่นก็คือ.."ความเสียหายจากโรคและแมลง" จึงทำให้ผมได้รู้ซึ้งถึงปัญหาโรคบางอย่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นเหมือนโรคประจำตัวยาสูบ และเป็นโรคหลักๆที่ทำความเสียหายมากมาย บางปีเสียหายมากกว่าเกือบ50% ของพื้นที่ ผลผลิตหายไปมหาศาลเลยทีเดียว (ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะครับว่ายาสูบต้อง "ขายใบ" ผลผลิตของมันคือ "ใบ" ถ้า "ใบ" เสียหายก็ไม่มีผลผลิตจะขาย เพราะมันไม่ได้ขาย "หน่วย" หรือ "ผล" เหมือนพืชอื่นๆ
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สำคัญที่รู้จักในตอนนั้นก็มีแค่ 2 ตัว หลักๆคือ โรคใบหด(Leaf Curl) กับโรคใบด่าง(Mosaic) แต่ต่อมามารู้ว่ามีมากกว่า 18 ตัว ซึ่งโรคจากเชื้อไวรัสนี้ไม่มีทางแก้ไขนอกเสียจากการป้องกัน และการป้องกันนั้นก็ดันเป็นการป้องกันทางอ้อมซะด้วยซิ นั่นคือการฆ่าแมลงพาหะที่จะนำเชื้อไวรัสมาปล่อย และฟักตัวระยะหนึ่งแล้วก็จะแสดงอาการของโรคออกมา เรารู้ว่า "โรคใบหด" มีแมลงหวี่ขาว(Bemisia tabaci) เป็นพาหะ และ "โรคใบด่าง" มีเพลี้ยอ่อน(Aphis persicae) เป็นพาหะ เราจำเป็นต้องป้องกันโดยฆ่ามันด้วยสารเคมีดูดซึมชนิดรุนแรงที่สุดเท่าที่จะพึงมีได้ ใช้รองก้นหลุมหรือหยอดที่บริเวณโคนต้น เพื่อให้รากดูดซึม ไม่อย่างนั้นจะป้องกันมันไม่ได้ถ้ามันไม่ตายมันก็จะไปปล่อยเชื้อที่อื่นต่อไปสมัยนั้นเราใช้สารดูดซึมที่ชื่อว่า "Temmic 10%G" (สารAldicarb) ซึ่งรุนแรงมากขนาดหยอดไว้ที่โคนต้นยาสูบ แมลงเข้ามาใกล้ในรัศมี 1-2 ฟุต อาทิ จิ้งหรีด แมลงกระชอน หรือหนอนในดิน มีสิทธิตายเกลี้ยง รวมถึงพวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก( งู,กิ้งก่า)ที่หลงทางเข้ามาเป็นอันว่าเรียบร้อยตายไม่มีเหลือ เป็นสารที่ร้ายแรงขนาดนี้เพื่อจะกำจัดแมลงหวี่ขาวและเพลี้ยอ่อน ไม่ให้มานำเชื้อต่อไป (แต่ปัจจุบันสารนี้ถูกแบนให้เลิกใช้ไปตั้งแต่ประมาณปี 2538 )
หมดยุคนั้นแล้วต่อมาก็หันมาหาสารตัวอื่นๆอีกทดแทน อาทิ Carbofuran ,Imidaclopridฯลฯ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ก็ไม่มีทางเลือก จึงยังคงต้องใช้สารเคมีป้องกันแมลงพาหะอยู่ต่อไปอีกหลายปี แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้และสร้างความไม่พึงพอใจให้ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการสถานีบ่มใบยาเลยความเสียหายยังมีปรากฏให้เห็นมากมายอยู่ จึงทำให้คิดว่ามันน่าจะมีทางออกที่ดีและเป็นวิธีที่ใช่มากกว่านี้ไหม เพราะผ่านมาเป็นสิบๆปีก็ยังคงมีความเสียหายให้ได้เห็น
ตลอดมา
จนทำให้นึกถึงว่า "น่าจะมี" "วัคซีนพืช" นะ เน้นเรื่องของการสร้าง "ภูมิคุ้มกันโรค" ให้พืช เสมือนพืชได้รับ "วัคซีน" ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นแล้วที่จะต้องขวนขวายและค้นคว้าหาทางออกในเรื่องนี้ให้จงได้ ว่ามันต้องมีวิธีและมีทางออกใหม่ให้เรา จนกระทั่งมาพบกับกระบวนการ "Systemic Acquired Resistance"(SAR) และต่อมาจึงได้นำมาทดลองและปรับใช้จนพึงพอใจ
ในปี 2543 ก็ได้เริ่มนำมาใช้ในไร่ยาสูบ แบบผสมผสาน โดยฉีดสารที่เสมือน "วัคซีน" ให้ยาสูบทุกไร่ ฉีดพ่นให้ตั้งแต่ปลูกเสร็จไปจนยาสูบอายุถึง 30 วัน(ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน) และยังคงใช้สารเคมีดูดซึมรองก้นหลุมอยู่หลังปลูกกล้าเสร็จ 1 วัน อยู่ ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ความเสียหายเริ่มน้อยลงจนน่าพึงพอใจแต่ยังไม่เบ็ดเสร็จ ก็ศึกษามาเรื่อยๆว่ามันน่าจะมีทางที่ถูกต้องมากกว่านี้ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีดูดซึมฆ่าแมลงพาหะเลยได้ไหม เพราะอย่างไงก็ฆ่ามันได้ไม่หมด เพราะแมลงพาหะมันไม่รู้หรอกว่าต้นยาสูบต้นไหนมียาหรือไม่มียาดูดซึมไว้ มันบินมาดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วถึงรู้และมันก็ตายไปแต่มันก็ได้คายเชื้อไวรัสไว้ ต้นพืชต้นนั้นก็ติดเชื้อและมีอาการโรค ต้นไหนภูมิคุ้มกันอ่อนก็ติดเชื้อเป็นโรคไป ต้นไหนมีฤทธิ์ยาต่ำ มันดูดกินไปมันก็ไม่ตาย สุดท้ายก็เป็นโรคอยู่ดี และเราก็ไม่อยากใช้วิธีฆ่าด้วยสารเคมีอีกต่อไปแล้ว เพราะเราไม่มีวันชนะมันหรอก ซักวันมันปรับตัวได้มันก็ดื้อยาอีกจนได้
จนต่อมาเราก็คิดว่า ถ้าไม่ฆ่าแมลงพาหะมันเราจะป้องกันโรคได้อย่างไร เราต้องขับไล่ไม่ให้มันเข้ามาใกล้ๆภายในสวนเราดีไหม ให้ไปดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชที่อยู่สวนอื่นข้างเคียงก็ได้ไม่ต้องเข้ามายุ่งกับพืชในสวนของเรา พืชเราก็จะได้ไม่ต้องรับเชื้อไวรัส เพราะตัวแมลงพาหะมันไม่ได้เข้ามาด้วยว่าถูกไล่หรือเนรเทศไปให้ไกลๆแล้ว หรือถ้ามันหลงเข้ามาเราจะป้องกันอย่างไร
แนวทางแก้ไขมี 2 ทางร่วมกันนั่นคือ
(1) เราต้องสร้าง "เกราะป้องกัน" ที่แข็งแกร่งเหมือน "เสื้อเกราะ" ที่แมลงพาหะมันจะเจาะต้นและใบไม่เข้า เมื่อมันเจาะไม่เข้ามันก็ปล่อยเชื้อเข้าสู่พืชเราไม่ได้ "เกราะ"ที่ว่ามานั้นจะต้องแข็งแกร่ง นั้นหมายความว่าผนังเซลล์ต้องแข็งแกร่งแบบผนังคอนกรีตเลยทีเดียว และถ้ามันเจาะเข้ามาปล่อยเชื้อได้บ้าง มันก็จะเจอกับ
แนวทางที่ 2 นั่นก็คือ "กระบวนการ SAR" ที่ทำหน้าที่เสมือนมี"วัคซีน" ที่คอยควบคุมป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัส ไม่ให้ทำหน้าที่ได้จนมันต้องตายไปในที่สุด เราก็จะได้เห็นพืชของเราสุขภาพดี ไม่มีโรคภัยรบกวน เติบโตได้ดี ให้ผลผลิตที่ดี เห็นแล้วก็มีความสุข
ด้วยหลักการต่างๆที่กล่าวมา จึงต้องหาสารต่างๆที่ว่าเพื่อมาทำหน้าที่ๆวางไว้ ทั้ง "สารไล่" และ "สารสร้างเกราะป้องกัน" ร่วมกับสารที่ทำหน้าที่เสมือนเป็น "วัคซีน" เป็นการผสมผสานเพื่อการเอาชนะโรคที่เกิดจากสาเหตุไวรัสที่ถูกวิธี ในปี 2550 ยุทธวิธีนี้ก็เริ่มต้นมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีสถานียาสูบแม่แบบที่ผมดูแลอยู่เกือบพันไร่ ที่ใช้ "ระบบเกษตรประณีต" (Intensive Farming) คือการลดความเสียหายให้ได้มากที่สุดไม่เกิน1% เพื่อให้ผลผลิตสูง คุณภาพ ต้นทุนต่ำ เพราะเมื่อไม่มีโรคเข้าทำลาย ความเสียหายก็ไม่มี การเจริญเติบโตก็สมบูรณ์ดี คุณภาพก็มีตามที่ต้องการ ตามหลักการที่ตั้งไว้ ปลูกพืช 100 ต้น ต้องให้ได้ 100 ต้นที่เหมือนๆกัน โดยต้องไม่ให้มีความเสียหายหรือเสียหายก็ให้น้อยที่สุด
ภัคภณ(ธณกรภ์) ศรีคล้าย
8 กรกฎาคม 2558
ภาคผนวก: ยาสูบ กับโรคที่เกิดกับเชื้อไวรัส( Viral Diseases)
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับยาสูบ มีโดยประมาณ 18 ชนิด ดังต่อไปนี้
1. MOSAIC เกิดจากเชื้อ TOBACCO MOSAIC VIRUS (TMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus Persicae ฯลฯ
2. VEIN BANDING เกิดจากเชื้อ POTATO VIRUSY (PVY) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Myzuz spp., Neomyzus spp., Acrythoosiphen spp.
3. ETCH เกิดจากเชื้อ TOBACCO ETCH VIRUS มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Aulacorthium., Macrosiphiun., Myzuz spp. ฯลฯ
4. TOMATO SPOTTED WILT เกิดจากเชื้อ TOMATO SPOTTED WILT VIRUS (TSWV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยไฟ อาทิ Thrip tabaci, Frankliniella
5. CUCUMBER MOSAIC VIRUS เกิดจากเชื้อ CUCUMBER MOSAIC VIRUS (CMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae, Aphis gossypii
6. VEIN MOTTLE เกิดจากเชื้อ TOBACCO VETH MOTTLE VIRUS (TVMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae
7. ROSETTE AND BUSHY TOP เกิดจากเชื้อ TOBACCOROSETTE AND BUSHY TOP VIRUS (TRBTV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน (Aphids) อาทิ Myzus sp.
8. PAENUT STUNT เกิดจากเชื้อ PAENUT STUNT VIRUS (PSV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน
9. ALFALFA MOSAIC เกิดจากเชื้อ ALFALFA MOSAIC VIRUS (AMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis gossypii, Macrosiphium pisi, Macrosiphium solanifolii, Aphis fabae
10. LEAF CURL เกิดจากเชื้อ TOBACCO LEAF CURL VIRUS (TLCY) มีพาหะนำเชื้อโดย แมลงหวี่ขาว (whitefly) อาทิ Bemisia tabaci Bemisia gossypiperda, Trialeurodes natatensis Aleurotuberculatus psidii (in Taiwai)
11. BEET CURLY TOP เกิดจากเชื้อ BEET CURLY TOP VIRUS (BCTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจักจั่น (Leafhopper) อาทิ Circulifer tenellus
12. RATTLE VIRUS เกิดจากเชื้อ TOBACCO RATTLE VIRUS (TRV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Trichodorus spp.
13. RING SPOT เกิดจากเชื้อ TOBACCO RINE SPOT VIRUS (TRSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Xiphinema americanum
14. STEAK เกิดจากเชื้อ TOBACCO STEAK VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ตั๊กแตน (grasshopper)
15. NECROSIS เกิดจากเชื้อ TOBACCO NECROSIS VIRUS (TNV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
16. STUNT เกิดจากเชื้อ TOBACCO STUNT VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
17. WOUND TUMOR เกิดจากเชื้อ WOUND TUMOR VIRUS (WTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจั๊กจั่น (Leafhopper) อาทิ Agallia constricta. Agallia quadripunctata, Agalliopsis novella
18. LETTUCE BIG VEIN เกิดจากเชื้อ LETTUCE BIG VEIN VIRUS (LBVV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (fungus) อาทิ Olpidium spp.
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) จะมีลักษณะโดยทั่วไปที่แสดงอาการ อาทิ แผลจุดเป็นดวง, ด่างลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งต้น, แคระแกร็น, หยุดและชะงักการเจริญเติบโต, ลักษณะรูปร่างผิดปกติ, แตกตา, กิ่ง, ช่อ ยอด มากกว่า
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) :
1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.
3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช
4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น
5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ในระบบ ORG-Model By Organellelife
"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย "Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ "Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ "Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่ "ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ "ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้วเมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON)
ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
084 - 8809595,084-3696633
Line ID : organellelife
www.facebook.com/organellelife.orgwww.paccapon.blogspot.com
www.organellelife.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น