FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

"วายร้าย ไว้รัส" ภัยเงียบสำหรับพืช บัดนี้..มีทางออก ให้เลือกแล้ว

"วายร้าย ไว้รัส
ภัยเงียบสำหรับพืช 
บัดนี้.. มีทางออก ให้เลือกแล้ว



"แมลงหวี่ขาว" (Whitefly)

"เจ้าวายร้าย" ที่เป็นหนึ่งใน "มหันตภัยเงียบ"
ที่คอยทำลายพืชให้เสียหาย มากมายหลายชนิด

ใช้วิธีการเก่าๆ เราไม่อาจเอาชนะมันได้
การเอาสารเคมีหลายชนิดที่รุนแรง หรือชนิดแพงๆ มาไล่ฆ่ามัน ฆ่าอย่างไรก็ไม่มีวันชนะมันได้เลย

ลองเปลี่ยนเป็น "แนวทางใหม่ๆ" กันดูดีไหม?
เผื่อมันจะ "ใช่" และ.."เอาอยู่"
ลองดู !!! กัน

- คิดแบบเดิม
- ทำแบบเดิม
- เชื่อแบบเดิม
- ใช้แบบเดิม

ผลลัพธ์ก็อาจจะได้แบบเดิมๆ


ZIGNA (All in One) : ซิกน่า (ออล อิน วัน)

สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและแมลงต่างๆ
( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Zn และสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น
.
ZIGNA : ซิกน่า
1) อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.
.
2) อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง
ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
- กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
- กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
- กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช
.
3) การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น และเพื่อเป็นสารตั้งต้น ( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น (Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น
.
4) พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
.
นี่คือ..แนวทางเบื้องต้นในการป้องกันเชื้อไวรัสที่จะเข้ามาสู่พืชของเรา แบบปลอดภัยไร้สารพิษ โดยไม่ใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยหรือฆ่าแมลงที่แนะนำกันมาตามตำราพันปี ถ้าเรายังฝังใจกับการใช้สารเคมีดูดซึมชนิดรุนแรงเพื่อฆ่าแมลงพาหะ เราไม่มีวันชนะมันอย่างแน่นอน ฆ่ามันตายได้ก็หลังจากที่มันเข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหารและต้องตายไปเพราะรับพิษร้ายจากสารเคมีที่เราฉีดไว้ แต่ตัวแมลงพาหะเองก็ได้ดูดซึมยาเข้าไปแล้วและก็ต้องตายไป แต่ในขณะเดียวกัน..เชื้อไวรัสก็ได้ถูกปล่อยไว้ในต้นพืชนั้นที่มันไปดูดกินน้ำเลี้ยงไว้แล้ว พืชก็ต้องติดเชื้อร้ายแห่งไวรัส แมลงพาหะมา 1,000 ตัวมาดูดกินน้ำเลี้ยงพืช 1,000 ต้น ถึงตัวแมลงพาหะมันจะตายไปแต่เชื้อร้ายก็ยังคงอยู่ และพืชทั้ง 1,000 ต้นก็ไม่พ้นต้องติดเชื้ออยู่ดี แต่ถ้ามันมี"ภูมิต้านทาน"(วัคซีน) จากกระบวนการ SAR ก็โชคดีไป เพราะมันก็ สามารถ "เอาอยู่" หรือควบคุมอยู่ พืชก็ปลอดภัยแม้จะรับเชื้อร้ายไว้ ก็ควบคุมอยู่ และสิ่งที่สำคัญและดีที่สุดคือพยายามอย่างไรที่จะไม่ให้มันเข้ามาปล่อยเชื้อร้ายแก่พืชเราได้ ก็ต้องหาวิธีขับไล่ วิธีไหนดี "ขับไล่" ไปไกลๆให้ได้ซิ ขับไล่ไปให้ได้มากที่สุด อาจจะมีแมลงพาหะพวกเกเร หัวแข็ง หลุดเข้ามาบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ส่วนใหญ่เราขับไล่มันไปให้ได้มากที่สุด พืชเราก็จะปลอดภัย คงต้องใช้หลายๆวิธีร่วมกัน
ฝากไว้ครับว่า "การป้องกันสำคัญที่สุด"
จำไว้เลยครับ

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า...

ทำไม? เราจึงต้องใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA)
และทำไม? เมื่อใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) ไปเรื่อยๆแล้ว ปัญหาเรื่องแมลงจะค่อยๆลดน้อยถอยลงไป ไม่สร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับเราในระยะยาว ถ้าขืนใช้แต่สารเคมี ปัญหามีแต่จะยิ่งแย่ไปใหญ่
เพราะ..คุณจะไม่มีวันรบชนะแมลงต่างๆได้เลย ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เพื่อเข่นฆ่ามัน ด้วยสารเคมี ในสภาวะที่ดินฟ้าอากาศของ "โลกวิกฤติ" หรือ "โลกเปลี่ยน" ไปแบบนี้ เพราะเรารู้ดีว่า..สาเหตุใหญ่คือ.."สภาวะโลกร้อน" นั่นเอง

สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

ทำไม? แมลงจึงระบาด
http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0

http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html

http://paccapon.blogspot.com/2015/06/blog-post_26.html




Plant Defenses พืชมีระบบป้องกันตนเอง อย่างไร?

สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ

วิธี (1) ก็จะเป็นการป้องกันเชิงกายภาพ นั่นก็คือชั้น Cuticle และ Cell Wall ที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคเข้ามารุกราน ก็จะมีพวกสาร คิวติน (Cutin), แวกซ์ (Wax) และซูเบอริน (Suberin) เคลือบอยู่

วิธีที่ (2) เรียกว่า Hypersensitive response เมื่อการรุกรานของเชื้อประสบความสำเร็จก็จะมีการตอบสนองโดย receptor ที่รับรู้ถึงการบุกรุก ไปกระตุ้นให้มีการสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งได้แก่ O2 radical hydrogenperoxide และ hydroxyl radicle ที่เป็นอนุมูลอิสระซึ่งจะแตกตัวเป็นลูกโซ่กับสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ และต่อโมเลกุลของเชื้อที่รุกรานเข้ามา ส่งผลให้บริเวณที่มีการตอบสนองมีการตายของเซลล์เกิดขึ้น ช่วยในการทำลายแหล่งอาหาร และยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้ออีกด้วย เรียกกระบวนการนี้ว่า Programmed Cell Death (PCD) แต่กระบวนการนี้ยังต้องอาศัยสารสัญญาณอีกอย่างคือ NO (Nitric Oxide) จึงจะประสบความสำเร็จ เมื่อภายในเซลล์มี NO และ Reactive Oxygen Species เกิดขึ้น จะกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์เอ็นไซม์ต่าง ๆ ที่กระทำหน้าในวิถีการสังเคราะห์สารปกป้อง เช่น lignin, Phytoalexin, Salicylic acid ที่จะช่วยป้องกันและทำลายเชื้อโรคและเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโดยตรงคือกลุ่มของ Hydrolytic Enzyme

วิธีที่ (3) เรียกว่า Systemic Acquired Resistance (SAR) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับสารสัญญาณที่มาจาก Hypersensitive Response สารตัวหนึ่งที่ทราบกันดีคือ Salicylic Acid สัญญาณดังกล่าวจะไปกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์สารทุติยภูมิหรือ Secondary Metabolite เช่น พวก anthocyanin, limonene, menthol, curcumin ที่ในบางชนิดเรานำมาใช้งานในรูปแบบของยาสมุนไพร ตัวหนึ่งเลยที่ผมกำลังศึกษาอยู่คือ Curcumin ซึ่งเป็นยาสารพัดโรค มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและมีผลการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถเป็น freeradical-scavenger หรือ antioxidant, chemoresistance agent, antimutative agent อย่างกว้างขวาง ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นหลังกระบวนการติดเชื้อและพืชสามารถรอดตายจากการติดเชื้อนั้น

การควบคุมกลไกต่าง ๆ นั้นถูกกำหนดโดยยีนที่เรียกว่า R-genes ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดควบคุมความตอบสนองต่อเชื้อ และกระบวนการต่อต้านเชื้อ R-genes นั้นพบได้หลายชนิดในต้นเดียวและมักจะอยู่เป็นชุด ๆ ผลผลิตของ R-genes ส่วนหนึ่งจะกระจายไปอยู่ตาม membrane เพื่อเป็น receptor เมื่อมีการเกาะของเชื้อ หรือกระจายอยู่ใน Cytoplasm เพื่อตอบสนองต่อโมเลกุลของเชื้อที่เกิดมาจากการรุกราน R-genes นี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานสูง ซึ่งการคัดเลือกด้วยยีน เราจะเรียกว่า Marker assisted selection (MAS)
อ้างอิง: Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006.
และวิชา 416457 Genome & DNA Markers สอนโดยอาจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล และ อาจารย์ดร.วิภา หงษ์ตระกูล
พืชป้องกันตัวจากแมลงได้อย่างไร?


โดยปกติแล้ว พืชมีระบบป้องกันตัว 2 แบบ 
คือแบบ Constitutive Defense Response และ Induced Defense Response ซึ่งความแตกต่างอยู่ตรงที่ระบบจะตอบสนองก่อนหรือหลังจากถูกโจมตี การตอบสนองนั้นในบางครั้งได้ผลลัพธ์เป็นสารต่อต้านตัวเดียวกัน นั่นก็คือพวก "สารทุติยภูมิ"(secondary metabolite)
1) Constitutive Defense Response : คือระบบจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีความจำเพาะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของพืช(species-specific) และระบบจะมีการเก็บรวบรวมสาร ซึ่งอาจใช้เป็น Precursor สำหรับตอบสนองได้ทันทีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นหรือเป็นสารทุติยภูมิที่เป็นพิษต่อแมลง หรือน้ำมันหอมระเหยที่จะดึงดูดแมลงศัตรูธรรมชาติ (Predator) ให้มาจัดการครับ
2) Induced Defense : เป็นระบบที่เปิดขึ้นเมื่อตรวจพบการโจมตี ซึ่งจะมีการตอบสนองขึ้นอยู่กับระดับการโจมตี แบ่งได้เป็น 3ชนิด

1. Phloem feeders พวกเจาะกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะทำให้มีบาดแผลเล็กน้อยที่ Epidermis และ Mesophyll cells แต่จะมีการตอบสนองไปในแนวทางของการรับมือกับเชื้อก่อโรคที่ติดตามมากับบาดแผลมากกว่า
2. Cell content feeders พวกกินเนื้อไม้ จะทำให้เกิดบาดแผลปานกลางแก่ต้นพืช
3. Chewing insects พวกปากกัดแทะ เช่นพวกหนอนผีเสื้อ หนอนกินใบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่พืช ซึ่งจะมีระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
.
"ระบบตอบสนองแบบจำเพาะ" ต่อน้ำลายของแมลง : เมื่อมีการโจมตีโดยแมลงศัตรูคู่อาฆาต โมเลกุลในน้ำลายของแมลงจะมีส่วนช่วยในกระบวนการกระตุ้นระบบป้องกันโดยตรง ยกตัวอย่างในหนอนผีเสื้อบางชนิด น้ำลายของมันจะมี "กรดอะมิโน กลูตามิน" อยู่มาก ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับกรดไขมัน, ไลโนเลนิคและ ไลโนเลอิค โดยใช้เอ็นไซม์ที่อยู่ในพืช รวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ Fatty acid-Amino acid หรือ Fatty acid Amides แล้วมีการเติมหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่งที่ 17 ของไลโนเลนิค เรียกชื่อสารนี้ว่า Volicitin ซึ่งสารตัวนี้จะมีความสามารถในการชักนำให้มีการสร้างสารหอมระเหย(Volatine) ในพืชและเมื่อพืชได้รับสัญญาณนี้ก็จะมีการกระตุ้นวิถีป้องกันหลักที่ชื่อว่า Octadecanoid Pathway ที่จะนำไปสู่การสร้างสารสัญญาณ Jasmonic acid (JA)
.
Jasmonic acid (JA) : จะมีบทบาทต่อไปในการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนพืชบางชนิดที่มีคุณสมบัติขัดขวางการย่อยของแมลงศัตรูพืช อาทิเช่นสาร Alpha amylase inhibitors ที่จะไปเอนไซม์ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตของแมลง และ/หรือ Lectin ที่จะเข้าไปจับกับคาร์โบไฮเดรต หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตโปรตีนหลังจากการย่อย Lectin จะไปจับอยู่กับ Epithelial cells ส่งผลยับยั้งการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย สารตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ "Proteinase Inhibitors" ที่จะไปทำหน้าที่ยับยั้งการย่อยสลายโปรตีน โดยจะไปจับจำเพาะกับเอ็นไซม์เช่น trypsin, chymotrypsin ของแมลงนั้น ๆอย่างไรก็ดี แมลงบางชนิดก็มีการปรับตัวเพื่อให้ตัวมันเองมีความสามารถในการทำลายหรือนำสารต่อต้านของพืชมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้การรุกรานประสบผลสำเร็จแต่พืชเองก็มีการปรับตัวต่อต้านเช่นกันเกิดเป็นวิวัฒนาการร่วมกันต่อเนื่องมาหลายล้านปีต่อมา
แหล่งอ้างอิง :
1) Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006. (Secondary metabolite and plant defence)
2) Molecular Plant Pathology, Annual Plant Reviews V.4Matthew Duckinson และ Jin Beynon
.

✅ไวรัส
✅เชื้อรา
✅ความเสียหาย

อย่ารอให้เกิด !!
#ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้ หากชอบแบบแก้ไขบางครั้งก็ต้องยอมทำใจ เพราะมันจะไม่ 100%ค่ะ

====
ปรึกษาปัญหาโรคพืช หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
084-8809595 , 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะคะ)

หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน แล้วทักแชทได้เลย http://line.me/ti/p/%40organellelife.com





#ซิกน่า #ZIGNA

สภาวะโลกร้อน (Global Warming)

มีผลกระทบต่อการระบาดของแมลง

- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีมากขึ้น
- การสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ได้มากขึ้น
- คาร์โบไฮเดรตมีปริมาณเก็บสะสมไว้ที่ใบมากขึ้น
- ไนโตรเจนมีปริมาณมากขึ้น (ในปริมาณที่สัมพันธ์
กัน)
- จัสโมนิค แอซิด (Jasmonic acid) สร้างได้ลดลง
- กลไกในกระบวนการป้องกันตนเอง (Plant
Defenses) ลดลง
- ประชากรแมลงเพิ่มมากขึ้น ระบาดเพิ่มมากขึ้น
- พืชอ่อนแอลง มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูต่ำ



นักวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่า "เมื่อพืชเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศไปเป็นคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น และนำไปใช้ในกระบวนการสร้างกรดอะมิโน (Amino acid) และสารสำคัญอื่นๆ ที่จำเป็นในเซลล์ ร่วมกับแร่ธาตุไนโตรเจน (N) ที่ได้จากดินได้ในปริมาณมาก จะทำให้แมลงมากัดกินใบพืชมากตามไปด้วย เพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของพวกมัน

นักวิจัยพบว่า เมื่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นสิ่งล่อให้แมลงศัตรูพืชบุกเข้ามาจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ เช่น ด้วงญี่ปุ่น (Japanese beetle), หนอนเจาะรากข้าวโพด (corn rootworm) และเพลี้ย (aphid) เป็นต้น

ทั้งนี้เพราะ "หนอนผีเสื้อและตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืช" ต้องการธาตุไนโตรเจนสำหรับสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในร่างกาย ส่วนแมลงตัวเต็มวัยเองก็จะสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารอันอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก จึงเข้าใจได้ทันทีเลยว่า ทำไม? แมลงจึงเข้ามาอยู่ในแปลงพืชบริเวณที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง
นักวิจัยจึงทำการทดลองต่อไปเพื่อศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลต่อแมลงศัตรูพืช โดยเลี้ยงแมลงปีกแข็ง (Beetle) ในแปลงพืช 3 สภาพแวดล้อม ได้แก่

1) แปลงพืชที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

2) แปลงพืชที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ

3) แปลงพืชที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ
ร่วมกับให้น้ำตาลเสริม

ผลการทดลองนักวิจัยพบว่า ในแปลงที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง แมลงมีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่า และแพร่พันธุ์ได้มากกว่า
และยังพบว่า "น้ำตาล" เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงในสภาพที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง แต่..จะไม่มีผลต่อแมลงโดยตรงโดยปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์"

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาต่อถึงกลไกการตอบสนองต่อแมลงศัตรูของพืช โดยปกติเมื่อแมลงมากัดกินใบของพืช พืชจะสร้างฮอร์โมน "จัสโมนิค แอซิด" (Jasmonic acid :JA) ขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนอง ซึ่ง "จัสโมนิค แอซิด" (JA) เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการและกลไกการป้องกันตัวเองของพืชจากแมลงศัตรูพืชและขั้นสุดท้ายพืชจะสร้าง "สารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส" (Proteinase inhibitor) เมื่อแมลงกัดกินพืชและได้รับสารนี้เข้าไปด้วย มันก็จะไปยับยั้งกระบวนการย่อยใบพืชที่แมลงกินเข้าไป

และ..เราพบว่าเมื่อปลูกพืชในสภาวะที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง พืชจะสูญเสียความสามารถในการสร้าง "จัสโมนิค แอซิด" (Jasmonic acid : JA) ซึ่งเป็นการตัดกระบวนการป้องกันตัวเองของพืช และขณะที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบพืชสูง แต่พืชขาดสารเคมี (JA) ที่จะปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรู ส่งผลให้พวกแมลงมีแหล่งอาหารอันโอชะ เพื่อการดำรงชีพที่ยืนยาวและดำรงเผ่าพันธุ์ได้นานในบริเวณนั้นๆ

(อ้างอิง: 1) ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ
อิลลินอยส์ (University of Illinois,
USA) รายงานผลการวิจัยลงในวารสาร
สมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ
(Proceedings of the National
Academy of Sciences)
2) อีวาน เดอลูเซีย : Evan DeLucia นัก
ชีววิทยาของทีมวิจัยสรุป)
(ภาคผนวก : ทั้งนี้..ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) ในปัจจุบัน อันอาจจะเป็นผลพวงมาจากการที่ป่าไม้ลดลงและมีการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลกันเป็นอย่างมาก ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาในช่วงที่เริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 280 ppm และจากผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 380 ppm ซึ่งปริมาณที่เพิ่มขึ้นขนาดนี้ถ้าหากเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 600,000 ปี และถ้าหากยังไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าวก็จะส่งผลให้โลกของเรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปกคลุมมากถึง 550 ppm ได้ในอีกราว 40 ปีข้างหน้า และภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนและอินเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็วอาจเป็นตัวเร่งชั้นยอดที่เร่งให้วันนั้นมาถึงเร็วยิ่งขึ้น)
(อ้างอิง: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 มีนาคม 2551)

ทำไม? แมลงจึงระบาด

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0







====
ปรึกษาปัญหาโรคพืช หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
084-8809595 , 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน แล้วทักแชทได้เลย https://lin.ee/nTqrAvO


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น