FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เพิ่มผลผลิตลำไย

หัวใจในการดูแลลำไย  แนวใหม่ 

เพื่อเป็นทางเลือก ในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของลำไย

- ติดดอกดี ดอกดก ผลดก 
- ผลใหญ่ ผลหนัก เนื้อหนา เนื้อแน่น
- ผิวดี สีสวย รสชาติหวาน เปอร์เซนต์น้ำตาลดี 




ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู แนวใหม่



ขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) 
เป็นขบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมีน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ
​ขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช C3 พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 3 ตัว คือ G3P (Glyceraldehyde-3phosphate) ใน Calvin Cycle และสาร G3P จะถูกเปลี่ยนเป็นสารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาลโดยตรงต่อไป
​ในพืช C4 และพืช CAM พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 4 ตัว คือ มาเลท (Malate) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็นสารสะสมต่างๆ ในพืชต่อไป ดังนี้
.
1. สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาล – พืช C4 และ CAM จะใช้มาเลท (Malate) เป็นสารตั้งต้น (Precursor) ให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ Calvin Cycle ได้สาร G3P ก่อนสังเคราะห์เป็นแป้งและน้ำตาลต่อไป
.

2. สารสะสมประเภท โปรตีน น้ำมัน น้ำยาง อัลคาลอยด์ สี กลิ่น ฮอร์โมนพืช ฯลฯ – พืช C4 และ CAM จะใช้ Pyruvate ที่ได้จาก Malate หลังจากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้ว มาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภทต่างๆ โดยมีขั้นตอน (Pathway) ตามลำดับต่อไป เช่น Pyruvate เป็นน้ำมันต่างๆ ได้โดยผ่าน Mevalonic Pathway เป็นต้น








ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง

1. สภาพของพืช ได้แก่ สภาพทางสรีรวิทยา เช่น สรีระของใบ อายุของใบ การเข้าทำลายใบของโรคพืช ที่มีผลต่อสภาพรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสง สภาพทางพันธุกรรม ได้แก่ C3, C4, CAM มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นๆ
.
2. แสง ได้แก่ ความเข้มของแสง ความเข้มของแสงสูงอัตราการสังเคราะห์แสงจะสูงแต่ถ้าเกินจุดอิ่มตัวจะทำให้ใบไหม้ได้ ความเข้มของแสงต่ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะต่ำ แต่อัตราการหายใจไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้นถ้าความเข้มของแสงต่ำเกินจุดอัตราสมดุลย์ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และ O2 พืชก็จะเริ่มไม่เจริญและตายในที่สุด ความยาวช่วงแสง อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับความยาวของช่วงวัน ความยาวคลื่นแสง พบว่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและสีน้ำเงินมีผลต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าแสงในช่วงคลื่นอื่นๆ
.
3. อุณหภูมิ ถ้าสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของเอ็มไซม์ในขบวนการ Dark Reaction ในอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้ปากใบปิดอัตราการหายใจสูงและอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง
.
4. ความเข้มข้นของก๊าซในบรรยากาศ เช่น CO2 มากทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวอัตราการสังเคราะห์ก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีก O2 มากจะลดการสังเคราะห์แสงของพืช C3 เพราะแย่งการใช้วัตถุดิบ RuBP ตัวเดียวกับ CO2
.
5. ธาตุอาหาร มีผลต่อการสังเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ธาตุอาหารหลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการสังเคราะห์แสง
.
6. ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ เพราะน้ำเป็นแหล่งอิเลคตรอนที่ใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง น้ำมีผลต่อการปิดเปิดปากใบทำให้มีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เข้าไปในใบ น้ำมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในระดับเซลล์
ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด จากปัจจัยที่มีผลได้ข้างต้น พาร์ทเวย์(PATHWAY)สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือสารมาเลท (MALATE)แก่พืชโดยตรง เพื่อชดเชยการขาดสารมาเลท (MALATE)จากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาของพืช


พืชสังเคราะห์แสงได้กลูโคส (C6H12O6) พืชก็จะนำใช้ไปใช้ในกิจกรรมหลักๆของพืชก่อน อาทิ
- การนำไปใช้เป็นพลังงานในกิจกรรมดำรงชีพ
- การนำไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และความเสียหายอื่นๆ
- เมื่อเหลือแล้วจึงจะนำไปสร้างการเจริญเติบโต
- และสร้างการติดดอก ออกผลของพืชเอง


การที่พืชสังเคราะห์แสงได้ดีและได้ "น้ำตาลกลูโคส" มากๆ ก็จะสร้างการเจริญเติบโตและติดดอกออกผลได้มาก ผลผลิตก็จะดีและมีคุณภาพสูงมากขึ้น

ดังนั้น..

- น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ที่พืชสังเคราะห์ได้ จึงนับว่าเป็นความสำคัญมากต่อการสร้างปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
- ถ้าพืชสังเคราะห์กลูโคสได้มาก
- ก็ย่อมสร้างเนื้อเยื่อส่วนสำคัญและจำเป็นต่างๆได้เป็นจำนวนมาก
- เพราะพืชสามารถนำน้ำตาลกลูโคสนี้ ไปสังเคราะห์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในพืชเอง
- เริ่มตั้งแต่พลังงานชีวเคมีต่างๆในการดำรงชีวิต
- การสังเคราะห์เป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) ต่างๆ โดยกระบวนการของเอ็นไซม์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้ เปลือกไม้ ใบ ยอดอ่อน ตาดอก ผล ล้วนแล้วเกิดมาจากการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสทั้งสิ้น
- เมื่อใบพืชมีความสมบูรณ์ดีขึ้น
- ก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น
- เพื่อให้ได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้นและเร็วขึ้น
และมีส่วนเหลือไปสร้างความเจริญเติบโตให้ต้นและเหลือไปพัฒนาการสร้างผลผลิต ติดดอกออกผลได้มากขึ้น
- เมื่อได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้น
- พืชก็สามารถสร้างยอดใหม่ได้เร็วขึ้น
- ยอดอวบอ้วนแข็งแรงขึ้น
- แตกใบอ่อนใหม่ได้เร็วขึ้น
- ใบใหญ่เร็วขึ้นและแก่เร็วขึ้น ทำให้รอบของใบแก่สั้นลง การออกดอกก็ได้เร็วขึ้น
- การช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์แสง มีประสิทธิภาพ ย่อมสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ได้เร็ว สามารถช่วยให้การฟื้นฟูต้นและใบหลังการเก็บผลผลิตได้เร็วด้วยยิ่งขึ้นไป พืชย่อมใช้อาหารสะสมที่เป็นน้ำตาลสะสมในต้น มาเติมให้ส่วนที่เสียไปครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สรุปว่า :
การสังเคราะห์แสงได้ดี การสังเคราะห์น้ำตาลได้มาก มีน้ำตาลสะสมไว้มาก ย่อมทำให้มีพลังงานสำรองไว้มาก ทำให้การออกดอกของพืชได้ง่ายและดี ช่อดอกยาวอวบอ้วน ช่อใหญ่ ดอกสมบูรณ์ เกสรแข็งแรงและรังไข่อวบอ้วนสมบูรณ์แข็งแรง ติดดอกง่าย ดอกดก ให้ผลดก ผลใหญ่ เนื้อหนา เนื้อแน่น รสชาติดี มีความหวานสูง (ปัจจัยหลักของการสร้างตาดอก คือการสะสมอาหาร ถ้าการสะสมอาหารมีไว้น้อย ต่อให้มีสารวิเศษใดๆเข้ามาช่วย เข้ามาราดก็ไม่สามารถสร้างตาดอกได้ดี ถ้าหากมีการสะสมอาหารไม่เพียงพอมาก่อน ต้องเน้นการสร้าง "พลังงานให้ล้น" ไว้ก่อน เป็นดีที่สุด ถือว่าสุดยอดสำหรับพืช)



ขั้นตอน : การทำลำไยนอกฤดู แนวใหม่

1)ระยะฟื้นสภาพต้น (หลังเก็บเกี่ยว)

(1.1) ฟื้นฟูดิน ให้ดินหลวม ร่วนซุย รากชอนไชได้ดี มาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
- ซอยล์ไลฟ์ อัตรา 10 – 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
    ราดรอบทรงพุ่ม
- บีเอ็มซี-มิกซ์ อัตรา 1 กก.คลุกกับปุ๋ยเคมี 50
   กก.หว่านใต้ทรงพุ่ม

(1.2) เร่งใบ เร่งราก บำรุงใบให้สมบูรณ์ ฉีดทางใบด้วย      
- ORG – 1    20 ซีซี
- ORG – 2    20 ซีซี
- Bio-jet      10 กรัม
   ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 -15 วัน

คำแนะนำ :
1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง 1 กิ่งหลักควรมีไม่เกิน 3 กิ่งแขนง
2. รดน้ำสม่ำเสมอ เพื่อเร่งการแตกใบอ่อน


2) ระยะสะสมอาหาร ก่อนราดสาร 1 เดือน สะสมตา ดอก เพื่อให้ดอกออกดีขึ้น การฉีดพ่นใช้
- ORG-1    20 ซีซี
- ORG-2    20 ซีซี
- ปุ๋ยเกร็ด 0-53-36   50   กรัม
  ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง ทุกๆ 7 วันครั้ง
  (ควรใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8 – 24 – 24)

คำแนะนำ
1. ควรให้ลำไยแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 - 3 ชุด
2. ก่อนราดสารควรงดการให้น้ำเป็นเวลา 2สัปดาห์
3.การให้ ORG-1, ORG-2 จะเป็นการเร่งการสะสมอาหารให้สมบูรณ์เร็วขึ้น
4. ระยะสะสมอาหารมีเวลา 3- 4 เดือนเท่านั้น จึงต้องเร่งสร้างชุดใบ เพื่อช่วยในการสะสมอาหารให้มากพอ


3) ระยะราดสาร ฉีดหรือราดทางดินด้วย 
โดยใช้ KCIO4  หรือ NaCIO4 อัตรา 10 กิโลกรัมผสม ปุ๋ยเกร็ด 11-0-40 + 4Zn    3 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดทางดินให้ทั่ว บริเวณใต้พุ่ม ครั้งเดียว


4)ระยะแทงช่อดอก

(4.1) หลังราดหรือฉีดสารทางดิน 7 – 14 วัน ฉีดสารทางใบใช้
- ORG-1  20 ซีซี
- ORG-2  20 ซีซี
- ไบโอเจ็ท   10 กรัม
- โซเดียมคลอเร็ท 30 กรัม
   ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง

(4.2) หยุดตาใบ เพิ่มความแข็งแรงของตาดอก
- ORG-1  20 ซีซี
- ORG-2 20 ซีซี
- ไบโอเจ็ท    10 กรัม
- ปุ๋ยเกร็ด0-53-36  30 กรัม
   ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 2 ครั้ง 5 วันครั้ง
  (หลังราดสารหรือฉีดสารครั้งแรกได้ 21 วัน)

คำแนะนำ
1. ลำไยจะออกดอก หลังราดสารประมาณ 15 วัน
2. ระยะหลังราดสารจนถึงเริ่มแทงช่อยาว 5 ซม.ให้รดน้ำพอชุ่มและห้ามฉ๊ดพ่นอาหารเสริมใดๆ
3. ระยะหลังแทงช่อดอกยาว 5 ซม.แล้วให้ฉีดพ่นบำรุงด้วยอาหารเสริมทางใบได้เลย

***ปัจจัยที่ช่วยในการแทงช่อดอก

1. อุณหภูมิต่ำจะทำให้การพัฒนาและการแทงช่อดอกช้า
2. แสงแดดน้อยจะทำให้การพัฒนาและการแทงช่อดอกช้า
3. น้ำก่อนที่ช่อดอกจะยาวและพัฒนาเต็มที่ถ้าได้รับน้ำ จะทำให้ช่อดอกเปลี่ยนเป็นใบ
4. ความสมบูรณ์ของต้นและใบจะทำให้การแทงช่อดอกเร็วดก และสม่ำเสมอ



5) ระยะก่อนดอกบาน  เมื่อมีดอกที่แข็งแรง บำรุงรักษาดอกให้ติดผลดก,ขั้วเหนียว ลดปัญหาหลุดร่วง
- ORG-1   20 ซีซี
- ORG-2   20 ซีซี
   ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 3 ครั้ง ทุกๆ 7 วัน/ครั้ง
  **ในช่วงดอกตูม ดอกบาน เว้นการฉีดเพื่อให้ลำไยได้ผสมเกสร**

ทางดิน :
(1) ใช้ "ซอยล์ไลฟ์" อัตรา 10 – 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม
(2) ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 คลุกด้วย "บีเอ็มซี-มิกซ์" 1 กก. ต่อปุ๋ย 50 กก.

คำแนะนำ :
1. ก่อนดอกบานจะเป็นช่วงที่ช่อดอกจะยืดยาวเต็มที่ และทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 15 -30 วัน




6) ระยะติดผลอ่อน ระยะสร้างเปลือกให้หนา สร้างเมล็ดให้โต (ตอนขยายเนื้อจะได้ไม่แตก และผลจะโตมากสุด)
- ORG-1      20 ซีซี
- ORG-2      20 ซีซี
   ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 3 ครั้ง ทุก 7 วัน/ครั้ง
(หากมีโรคและแมลงรบกวน สามารถผสมไปด้วยกันได้)

ทางดิน :
ใส่ปุ๋ย 25 - 7 -7, 20-10-10 ผสม "บีเอ็มซี-มิกซ์" อัตรา 1 กก./ปุ๋ย 50 กก.ใส่อัตรา 1–2.5 กิโลกรัมต่อต้น

คำแนะนำ :
ระยะติดผลอ่อนเป็นช่วงที่ลำไยจะสร้างเปลือก เพื่อ พร้อมรับการขยายลูก และต้นลำไยที่ติดผลดกจะสลัดลูกทิ้ง มากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น




7) ระยะมะเขือพวง ผลเท่าหัวแม่มือ (2- 3 เดือนครึ่งหลังดอกบาน หรือ 5 เดือนหลังราดใช้)
**ช่วงนี้จะสร้างเมล็ดเป็นหลัก
**ผลอ่อนจะขยายอย่างรวดเร็ว
**จะสร้างเมล็ดมากกว่าสร้างเนื้อ
- ORG-1   20 ซีซี
- ORG-2   20 ซีซี
- Bio-Jet   10 กรัม
   ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 3 ครั้งทุก 7 วันครั้ง

ทางดิน :
ใส่ปุ๋ย 15-7-18, 14-9-20 หรือ 15-15-15  หว่านปลายรอบทรงพุ่มรอบต้น

คำแนะนำ :
1. ควรฉีดพ่นฮอร์โมน&อาหารเสริมพืชเป็นระยะๆ  อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างเมล็ดและเปลือกให้แข็งแรง พร้อมขยายตัวของลูกลำไยตอนสร้างเนื้อ
2. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
3. พ่นยาโรค & แมลงอย่างสม่ำเสมอ



8)ระยะเม็ดในดำ ขยายผลโต ผิวเหลืองสวย 
    เนื้อหนา หวานกรอบ
**หลังเม็ดในดำ (ประมาณ 100 วัน หลังดอกบาน)  ลำไยจะเริ่มสร้างเนื้ออย่างรวดเร็ว (ใช้เวลาประมาณ 60 วันก่อนเก็บเกี่ยว
ดังนั้น ช่วงนี้จึงต้องบำรุงด้วยปุ๋ย อาหารเสริมอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างเนื้อ สร้างเปลือก สร้างความหวาน สร้างสีและลดการหลุดล่วง
- ORG-1  30 ซีซี
- ORG-2  20 ซีซี
- ปุ๋ยเหลว  0 -0-24 30 ซีซี
- ORG-4  20 ซีซี
   ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 3 ครั้ง 7 วัน/ครั้ง

**ในช่วงก่อนเก็บ 1 เดือน ใช้สูตรนี้ ผลโตมาก ผิวสวยมากโดยไม่ต้องขัดผิว **

ทางดิน :
ใส่ปุ๋ย 12-12-17   0.7 กก. – 2 กก./ต้น ให้น้ำให้เยอะๆ และต้องให้อย่างสม่ำเสมอ หรือใช้ปุ๋ยเกร็ด 11 - 0 - 40 + 4Zn  อัตรา 1-2 กก./ต้น










ORG-1 & ORG-2 : มีอะไรที่สำคัญๆให้พืช
• Amino acid
• Carbohydrate as Monosaccharides
• Malate Compound
• Glutamate Compound
• Fluvic acid
• Calcium-Boron (CaB) Chelate
• Magnesium chelate
• Potassium (K)
• Nitrogen as N-NO3 form



ORG-1 : มีสาร Malate Compound ซึ่งเป็นสาร Precursor (สารตั้งต้น) ที่สำคัญในกระบวนการ Metabolism และมี โปรตีนทางด่วน "ในรูป Amino acid Chelate หลายชนิดที่สำคัญที่พืชต้องการ , มี Glutamate Compound ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการออกดอกของพืช และยังมีสารสำคัญอีกหลายชนิดที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Magnesium Chelate ( Mg), Calcium-Boron Chelate (CaB) , Nitrogen as NO3 และธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ Potassium (K) เป็นต้น ใช้ได้ดีกับทุกช่วงการเจริญเติบโตของพืช เหมาะสำหรับช่วงสะสมอาหาร เร่งใบแก่ เพิ่มคาร์โบไฮเดรต(แป้งและน้ำตาล) ให้พร้อมเต็มที่เพื่อการออกออก ช่วยเพิ่มอาหารยามพืชอ่อนแอหรือสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารเองได้ไม่เต็มที่ในช่วงแล้งจัด หนาวจัด หรือช่วงอากาศแปรปรวน ฟ้าปิดแสงแดดน้อย ที่สำคัญช่วยเพิ่มอาหารยามที่พืชต้องการในระยะแทงช่อดอกให้ช่อดอกแข็งแรง แทงช่อดอกออกมาได้ดี ช่อใหญ่สมบูรณ์ เพิ่มแป้งน้ำตาลเมื่อพืชต้องการขยายขนาดผลเพิ่มน้ำหนัก ช่วยเร่งความหวาน เพิ่มขนาด และสีผลเข้มสวย ทำให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง


ORG-2 : พลังงานทางด่วนพิเศษ สำหรับพืชและมีคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharides) ที่เป็นพลังงานชั้นสูงในรูป "น้ำตาลทางลัด" ที่พืชต้องการ เป็นชนิดโมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อการสะสมอาหารให้แก่พืชแบบรวดเร็วทันที และยังมี Fulvic acid ที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายและขนส่ง (Transporter) ประจุของธาตุอาหารต่างๆไปยังทุกส่วนของพืช


4 ช่วงที่สำคัญ สำหรับพืชที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก
1. ช่วงแตกใบอ่อน
2. ช่วงการออกดอก
3. ช่วงการติดผล
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ อาทิ เร่งความหวาน เร่งสี
ช่วยเพิ่มพลังงานให้พืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ก่อนพืชออกดอกต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก พืชเองจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน มี
"อะมิโน แอซิค" ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที ช่วยเพิ่มการติดผล ช่วยทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี เร่งหวาน เร่งสี


วิธีการใช้ อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
1. ช่วงฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อน : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อการแตกใบอ่อน 1 ชุด
2. ช่วงก่อนการออกดอก (ช่วงสะสมอาหาร) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อสะสมอาหารให้มากพอต่อการออกดอก
3. ช่วงการติดผลอ่อน : ฉีดพ่น2-3 ครั้ง เพื่อเร่งการพัฒนาของผลอ่อนและลดการหลุดร่วงของผลอ่อน และฉีดพ่นต่อไปอีก 2-3 ครั้ง ในช่วงที่ต้องการขยายผลและเพิ่มน้ำหนักอีกทั้งยังป้องกันผลแตกและผลร่วง เนื่องจากขาดอาหารและขนาดพลังงาน
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ (เร่งความหวาน) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยให้ผลโตอย่างรวดเร็วและช่วยเพิ่มการพัฒนาผลให้มีคุณภาพ
.
ORG-1 และ ORG-2 มีลักษณะเป็นโมเลกุลที่พืชดูดซึมได้ง่าย พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที สามารถใช้ได้ดีทั้งแบบฉีดพ่นทางใบ ผสมน้ำราดดินรากสามารถดูดซึมได้ หรือให้ไปกับระบบน้ำ พืชสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางใบและทางราก


#คุณประโยชน์ :
-ช่วยการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืชของพืช ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว หรือแก้อาการต้นโทรม
-ช่วยให้พืชแตกใบใหม่ได้พร้อมๆกันทั้งลำต้น ยอด และใบที่สมบูรณ์
-ช่วยสะสมอาหาร ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลให้พืช พืชมีใบหนา ใบใหญ่เขียวเข้มสมบูรณ์
-ช่วยเติมสารอาหารแบบเร่งด่วนยามที่พืชอ่อนแอ เมื่อสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่
-ช่วยเปิดตาดอก เร่งแทงช่อดอก ให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
-ช่วยเร่งดอก ออกดอกดก ช่วยให้ช่อดอกยืดยาว ช่อดอกอวบอ้วนสมบูรณ์
-ช่วยผสมเกสร ให้ติดผลดี ติดผลดก ช่วยให้ขั้วเหนียว ลดการหลุดร่วง
-ติดผลดก ไม่หลุดร่วงง่าย ขยายขนาดผล เร่งผลโต อย่างสม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเปลือกให้หนา ยืดหยุ่นดี ไม่มีเปลือกแตกง่าย
-ช่วยให้พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน แห้งแล้ง
-ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง


อัตราใช้ 20 ซีซี + 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองให้ทั่วทั้งต้น


สำหรับ ไม้ผล ผลไม้และพืชออกดอกติดผล ที่มีการออกดอก ออกดอกดี ดอกดก เราจะมีแค่หลักๆ 2 ตัวนี้นะคะ ที่เราเน้นคือ ORG-1, ORG-2 เพราะเราจะเน้นการสะสมพลังงานให้มากพอจนล้นออกมา เพราะว่าพืชต้องการและจำเป็น เพื่อพืชเองก็จะออกดอกได้ดี

http://www.paccapon.blogspot.com/2015/…/1-org-1-2-org-2.html ORG-1+ORG-2

http://paccapon.blogspot.com/2016/08/c6h12o6.html การสังเคราะห์กลูโคส




======
📝inbox สอบถามปรึกษาก่อนได้นะครับ
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ http://line.me/ti/p/%40organellelife.com

**รับตัวแทนจำหน่าย VIP ทั่วประเทศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น