FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หนอนกระทู้

ในช่วงนี้
จะมีการสอบถามเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนอนกระทู้
ลายจุดในข้าวโพดกันเข้ามาเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็ใช้สารเคมีที่ทางการแนะนำมาไปใช้แก้ปัญหาและฆ่าหนอน แต่ก็เอาไม่อยู่



และควบคู่กับการจัดการหนอนกระทู้นั้น เราควรหันมามองที่มาของสาเหตุของการระบาดให้ครอบคลุมในหลายๆด้าน ว่าเราจะลดปริมาณตัวแม่ผีเสื้อ ที่จะมาออกไข่ไปพร้อมๆกันด้วยดีไหม? เพื่อลดโอกาสในการระบาดลงไป หรือควรมีการลดปริมาณหนอนวัยเล็กที่ออกจากไข่มาใหม่ในจำนวนมาก ให้ลดจำนวนน้อยลงไปบ้างดีไหม? โดยให้มันตายไปเพราะกินพืชอาหารไม่ได้นั่นไง !!


▪️วิธีบริหารและจัดการแบบผสมผสาน
ทั้งสารเคมี, ทั้งชีวเคมีประยุกต์ และทั้งชีววิธี
กับแนวทางใหม่ๆที่ใช้ “กลไกการเลียนแบบทางธรรมชาติของพืช” ในการป้องกันตนเอง (Plant Defenses)

▪️ซิกน่า (Zigna) : จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณทางชีวเคมี (ISR) เพื่อที่จะขับไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้มันเข้ามาใกล้พืช หรือเข้ามาทำลายพืชในไร่สวนของเรา ตลอดจน “ซิกน่า” ยังทำหน้าที่ในการส่งสารบางอย่าง (Volantile) เพื่อดึงดูด (Attractor) พวกแมลงพิฆาตต่างๆ ทั้ง Predator, Parasitiods (ตัวห้ำ, ตัวเบียน) ให้เข้ามาพิฆาตหรือเข้ามากำจัดแมลงศัตรูพืช ที่ทำลายพืชของเรา หรือว่าถ้ายังมีแมลงศัตรูพืชบางส่วนหลุดเข้ามากินพืชของเราเป็นอาหาร “ซิกน่า” ก็ยังมีวิธีการจัดการได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ..การกระตุ้นให้มีการยับยั้งการสร้างเอนไซม์บางตัว (Proteinases inhibitor) ในกระเพาะอาหารของหนอนและแมลง ที่จะทำให้อาหารในกระเพาะแมลงที่แมลงกินเข้าไปมันไม่ย่อย แมลงเองก็จะท้องอืดตายไป อีกทั้งยังจะหยุดกินอาหารไปในที่สุด และหยุดการทำลายพืชลงไปได้บ้าง





นี่คือ..หน้าที่หลักๆของ “ซิกน่า” ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยปกป้องพืช โดยการเลียนแบบการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของพืช (Plant Defense) นั่นเอง



อีกทั้ง..เมื่อใช้ “ซิกน่า” ร่วมกับ “ซาร์คอน” ซึ่งเป็น
กรดซิลิคอน (Orthosilicic acid) หรือเป็นธาตุเสริมประโยชน์ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้ และถูกดูดซึมเข้าไปสร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์ (Cell Wall) ซึ่งเสมือนเป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) ให้กับพืช เมื่อแมลงศัตรูพืชจะเข้ามากัดกินหรือเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากพืชของเรา ก็จะยากขึ้นเพราะมันจะแข็งมาก กัดหรือเจาะดูดลำบาก จนไม่อยากจะกัดกินเพราะมันยาก, เจาะดูดก็ยาก ปากก็จะหักปากก็จะพังเอาได้ง่ายๆ สู้หนีไปหาของที่กินง่ายๆ และอร่อยกว่าน่าจะดีกว่าไหม? พืชที่ฉีด “ซาร์คอน” ไว้ กินอย่างไงก็กินยาก กินอย่างไงก็ไม่อร่อย จริงไหม?
นี่..เราลองคิด “แบบหนอนๆ” ดูนะ




▪️ถ้าถามว่าใช้ “ซิกน่า” และ “ซาร์คอน”
มันจะช่วยแก้ปัญหา หรือปกป้องพืชได้ขนาดไหน?

ก็ขอตอบว่ามันน่าจะป้องกัน “ได้ดีในระดับหนึ่ง” ซึ่งแมลงศัตรูพืชอาจจะ  “แพ้ทาง”  กับวิธีการแบบนี้ก็เป็นได้ เพราะเป็นวิธีการทางธรรมชาติ ที่พืชใช้ในการป้องกันตนเอง (Plant Defenses) ตลอดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว มันอาจจะไม่ใช่วิธีการที่นิยมใช้กันในสมัยปัจจุบัน ที่มุ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการใช้สารเคมีอาจจะมีค่าใช้ที่ต่ำกว่า และมันก็เป็นวิธีการที่ง่ายในการใช้สารเคมีเป็นหลักแต่เพียงด้านเดียว ที่จะไปฆ่าแมลงศัตรูพืชให้ตายไปต่อหน้าต่อตาแบบสะใจชนิดเฉียบพลัน แต่สารเคมีมันก็เป็นวิธีที่จะทำให้แมลงศัตรูพืชมีโอกาสดื้อยาได้ง่ายๆ แถมยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย




▪️ดังนั้น..การใช้วิธีตามแนวทาง “ชีวเคมีประยุกต์” ที่กล่าวมานี้ มันจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ในการลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ แต่ยั่งยืนกว่า และก็ให้เรารู้ว่า แมลงศัตรูพืชนั้นมันจะมี “สัญชาตญาณ” ในการหนีตาย หรือการเอาตัวรอดได้ อะไรที่มันเป็นเขตอันตราย และมีการส่งสัญญาณเตือนมันว่า “อย่าเข้าไป” หรือว่า “มันไม่ควรเข้าไปใกล้ๆ” และไม่ควรเข้าไปตรงนั้น มันก็จะหนีไปให้ไกล ไม่เข้าไปใกล้ๆ ให้ต้องไปเสี่ยงภัยบริเวณนั้น ที่อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หรือว่าแหล่งพืชอาหารที่มันจะเข้าไปกินหรือเข้าไปทำลายให้เสียหาย ถ้ามันไม่ชอบ มันก็อาจจะไม่กินและหนีไปหากินที่ใหม่ดีกว่า ไปหาของกินที่กินง่ายๆ ไปหาของกินที่อร่อยจะดีกว่าไหม? ถ้าพืชอาหารที่จะกินมันกินยาก มันแข็ง, กัดไม่เข้า, กินไม่อร่อย ดีไม่ดีฟันก็หัก ปากก็พัง มันก็ไม่อยากกิน ไปหาของกินที่กินง่ายๆจะดีกว่าท่านว่าจริงไหม?

.........................................................................

▪️แนวทางการป้องกันกำจัด (IPM)
- หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm : FAW) ที่กำลังระบาดและอาละวาดอยู่ในขณะนี้ ที่ได้ผลดี และไม่ได้มุ่งแต่เน้นสารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในขณะนี้น่าจะมีปัญหาในการดื้อยาเคมีไปแล้วสำหรับหนอนตัวนี้

หากพบหนอนขนาดเล็กให้เก็บหนอนทำลายทิ้ง และใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ ยาเชื้อ BT (จะสายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์เคอร์สตากี้ ก็ได้) ชนิดผง อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-7 วัน เมื่อพบการระบาด หากพบไข่ให้ทำลายทิ้งโดยเก็บกลุ่มไข่ทำลายทิ้งและใช้แมลงหางหนีบ ส่วนตัวเต็มวัย (แม่ผีเสื้อกลางคืน)ให้ทำลายโดยใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 80 กับดัก/ไร่ สำหรับหนอนขนาดใหญ่ให้ทำลายโดยใช้แมลงตัวห้ำ ได้แก่ แมลงหางหนีบหรือมวนพิฆาต (สำหรับตัวเต็มวัยหรีอแม่ผีเสื้อ การฉีดพ่นด้วย “ซิกน่า” จะช่วยส่งสัญญาณ ISR ขับไล่ ไม่ให้เข้ามาวางไข่ในแปลงข้าวโพดของเรา) ในกรณีที่ใช้เคมี ให้ใช้ในกรณี “ฆ่าตัดตอน” ถ้าจะใช้สารเคมี ควรมีการสลับกลุ่มสารตามคำแนะนำด้วย เพื่อป้องกันการดื้อยาของหนอน



🌓 การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
(Integrated Pest Management : IPM)

1) วิธีกล (เก็บด้วยมือ ถ้าพบเห็นไม่เยอะ)
2) ชีววิธี (B.T., Predator, Parasitoids)
3) ชีวเคมี (JA, OSA)
4) สารเคมี เพื่อตัดตอนกรณีมีหนอนระบาดมาก

#อย่ามุ่งแต่ทางเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

🌎 แนวทาง : แนวทางชีวเคมี
▪️SA- Signaling Pathway
▪️JA- Signaling Pathway
▪️OSA- Mechanism

https://paccapon.blogspot.com/2019/02/bypasschemicalpesticides.html?m=0&fbclid=IwAR2EpSXjOSelxVw-SJyfPkVXWPhFeKJPCkEw6x5Q9CnW4hkMAhdSkfxwsDg
มหัศจรรย์ “จัสโมนิก แอซิด”
(Jasmonic acid)

https://paccapon.blogspot.com/2019/02/orthosilicic-acid.html?m=0&fbclid=IwAR1V3fAt5l0M5tVqT-kFxk_cgug7Hcqjq4sDyb8GyORinycCoATDCXjZa9k
มหัศจรรย์ “ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค”
(Orthosilicic acid)
.........................................................................

▪️ภาคผนวก :

⏺ ซาร์คอน + ออร์ซ่า
“สร้างผนังซิลิก้าให้หนาและแข็ง/แกร่ง”
ต้นและใบแข็งแรง แบบผนังคอนกรีต
เสมือนพืชสวม “เสื้อเกราะ “ป้องกันตัว
ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายใดๆ

▪️ใช้กระบวนการสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่ง
เพื่อเป็นเกราะป้องกัน (Cell Wall Barrier) การ
เข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ด้วยกลไกของ
Silicon ในรูปของ Orthosilicic acid

▪️Orthosilisic acid ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ “Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ "Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็น “ผลึกแข็ง” (Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปสะสมที่ "ผนังเซลล์" (Cell Walls) ต่อไป “ผนังเซลล์” ก็จะแข็งแกร่งเสมือน "ผนังคอนกรีต" ที่เป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) พืชต่อไป

▪️ในใบพืช : ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells)

▪️ ซิลิคอน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้าย
ต่าง ๆ และโดยปกติพืชจะได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางราก และเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ (Cell Wall) ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป Silicon – Cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
........................................................................

⏺ ซิกน่า (ZIGNA) :
สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทาน
โรคและแมลง

▪️JA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านแมลง
▪️สารต่อต้านแมลงที่ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. Alkaloids ต่างๆ อาทิ Nicotine, Saponin, เป็นต้น ทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง
มีผลต่อเอนไซม์ต่างๆ

2. Proteinase Inhibitors (PIs) มีผลต่อเอนไซม์ในการย่อยของแมลง ทำให้ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแมลงและทำให้สร้างน้ำย่อยในทางเดินอาหารมากเกินไป

3. Volatile Signals อาทิ Terpenes, Indoles, ฯลฯ สารระเหยส่งเป็นสัญญาณ มีผลทางตรงในการไล่แมลงศัตรูพืช และมีผลทางอ้อมโดยเรียกแมลงล่าเหยื่อ (Predators) มากำจัดแมลงศัตรูพืชนอกจากนั้นยังส่งสัญญาณเตือนภัยไปให้กับพืชอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงด้วย




........................................................................

🌎 Plant Systemic Defenses
- ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack) ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway

3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่งสัญญาณทาง JA-Signaling Pathway
.......................................................................

🌎 Plant Defenses
▪️โดยปกติแล้ว
พืชมีระบบป้องกันตัว 2 แบบ คือ

1) แบบ Constitutive Defense Response
2) แบบ Induced Defense Response
- ซึ่งความแตกต่างอยู่ตรงที่ระบบจะตอบสนองก่อนหรือหลังจากถูกโจมตี การตอบสนองนั้นในบางครั้งได้ผลลัพธ์เป็นสารต่อต้านตัวเดียวกัน นั่น..ก็คือ
พวก "สารทุติยภูมิ"(secondary metabolite)

1) แบบ Constitutive Defense Response :
คือระบบจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีความจำเพาะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของพืช (species-specific) และระบบจะมีการเก็บรวบรวมสาร ซึ่งอาจใช้เป็น Precursor สำหรับตอบสนองได้ทันทีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นหรือเป็นสารทุติยภูมิที่เป็นพิษต่อแมลง หรือน้ำมันหอมระเหยที่จะดึงดูดแมลงศัตรูธรรมชาติ (Predator) ให้มาจัดการครับ

2) แบบ Induced Defense Response :
เป็นระบบที่เปิดขึ้นเมื่อตรวจพบการโจมตี ซึ่งจะมีการตอบสนองขึ้นอยู่กับระดับการโจมตี
แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

1. Phloem feeders พวกเจาะกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะทำให้มีบาดแผลเล็กน้อยที่ Epidermis และ Mesophyll cells แต่จะมีการตอบสนองไปในแนวทางของการรับมือกับเชื้อก่อโรคที่ติดตามมากับบาดแผลมากกว่า

2. Cell content feeders พวกกินเนื้อไม้ จะทำให้เกิดบาดแผลปานกลางแก่ต้นพืช

3. Chewing insects พวกปากกัดแทะ เช่นพวกหนอนผีเสื้อ หนอนกินใบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่พืช ซึ่งจะมีระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
.......................................................................

✔️"ระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
ต่อน้ำลายของแมลง” :

- เมื่อมีการโจมตีโดยแมลงศัตรูคู่อาฆาต โมเลกุลในน้ำลายของแมลงจะมีส่วนช่วยในกระบวนการกระตุ้นระบบป้องกันโดยตรง ยกตัวอย่างในหนอนผีเสื้อบางชนิด น้ำลายของมันจะมี "กรดอะมิโน กลูตามิน" อยู่มาก ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับกรดไขมัน, ไลโนเลนิคและ ไลโนเลอิค โดยใช้เอ็นไซม์ที่อยู่ในพืช รวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ Fatty acid-Amino acid หรือ Fatty acid Amides แล้วมีการเติมหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่งที่ 17 ของไลโนเลนิค เรียกชื่อสารนี้ว่า Volicitin ซึ่งสารตัวนี้จะมีความสามารถในการชักนำให้มีการสร้างสารหอมระเหย (Volatine) ในพืชและเมื่อพืชได้รับสัญญาณนี้ก็จะมีการกระตุ้นวิถีป้องกันหลักที่ชื่อว่า Octadecanoid Pathway ที่จะนำไปสู่การสร้างสารสัญญาณ Jasmonic acid (JA-Signaling Pathway)

▪️Jasmonic acid (JA) : จะมีบทบาทต่อไปในการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนพืชบางชนิดที่มีคุณสมบัติขัดขวางการย่อยของแมลงศัตรูพืช อาทิเช่น สาร Alpha amylase inhibitors ที่จะไปเอนไซม์ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตของแมลง และ/หรือ Lectin ที่จะเข้าไปจับกับคาร์โบไฮเดรต หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตโปรตีนหลังจากการย่อย Lectin จะไปจับอยู่กับ Epithelial cells ส่งผลยับยั้งการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย สารตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ "Proteinase Inhibitors" ที่จะไปทำหน้าที่ยับยั้งการย่อยสลายโปรตีน โดยจะไปจับจำเพาะกับเอ็นไซม์เช่น trypsin, chymotrypsin ของแมลงนั้น ๆอย่างไรก็ดี แมลงบางชนิดก็มีการปรับตัวเพื่อให้ตัวมันเองมีความสามารถในการทำลาย หรือนำสารต่อต้านของพืชมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้การรุกรานประสบผลสำเร็จแต่พืชเองก็มีการปรับตัวต่อต้านเช่นกันเกิดเป็นวิวัฒนาการร่วมกันต่อเนื่องมาหลายล้านปีต่อมา

▪️แหล่งอ้างอิง :
1) Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006. (Secondary metabolite and plant defence)
2) Molecular Plant Pathology, Annual Plant Reviews V.4Matthew Duckinson และ Jin Beynon

.......................................................................


http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
Plant Defenses การป้องกันตนเองของพืช

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
โลกร้อน แมลงเรืองอำนาจ



สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
084-8809595 , 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com
(พิมพ์ @ ด้วยนะคะ)

หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน
แล้วทักแชทได้เลย
https://lin.ee/nTqrAvO  


https://www.facebook.com/100003533767367/posts/2130110870450018?s=100003533767367&sfns=mo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น