FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคใบด่างแตง และโรคราน้ำค้างแตง

พืชตระกูลแตง และแตงกวา
กับปัญหาโลกแตก  "โรคใบด่าง และราน้ำค้าง

ใบด่าง จากไวรัส.. “
เพชฌฆาตเงียบ”  ที่น่ากลัว สำหรับแตงกวา..ของคุณ

คุณรู้จักมันดีหรือยัง
ถ้าไม่อยากให้แตงกวา...ของคุณเสียหายเพราะ เชื้อไวรัสใบด่าง  และเชื้อราน้ำค้างแตงกวา
ต้อง..ถามหา ผลิตภัณฑ์"วันเดอร์แลนด์" ตรา ผีเสื้อมรกต
วันนี้..คุณฉีด"วัคซีน"ให้พืชของคุณหรือยัง ?
นึกถึงโรคไวรัสพืช นึกถึงผลิตภัณฑ์วันเดอร์แลนด์ จาก ออร์กาเนลไลฟ์
อย่า..ปล่อยให้แตงกวาของคุณเสี่ยงภัย โดยใช่เหตุ
มาร่วมกันใช้"วัคซีนพืช" ป้องกันภัยให้แตงกวาของคุณ..กันเถอะ





โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) 

หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora sp.
ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผง สีดำ




โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)
หรือที่เกษตรกรเรียกว่า "โรคใบลาย" 


       เป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดโรคหนึ่งของแตงกวาและพืชวงศ์แตงในประเทศไทย มีรายงานพบการระบาดของโรคนี้ในแหล่งปลูกพืชวงศ์แตงอยู่ทั่วโลกในพื้นที่ซึ่งมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา โรคราน้ำค้างมักจะเกิดขึ้นในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนและน้ำค้างพอเพียงกับระยะเวลาที่จะก่อให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นได้ ถ้าหากไม่มีมาตรการควบคุมโรคที่ดีพอแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับแตงกวา แตง สควอช ฟักทอง แตงโม และพืชวงศ์แตงชนิดอื่นทั้งในสภาพการปลูกในแปลง ในโรงเรือน และในสภาพการปลูกแบบอื่นๆ

สาเหตุของโรค  เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา  Pseudoperonospora cubensis (Berk.& M. A. Curtis) Rostovzev ที่สามารถเข้าทำลายได้เฉพาะในพืชวงศ์แตง

อาการของโรค  อาการจะเกิดเป็นปื้นเหลืองบนใบ ด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยหรือบางครั้งมองไม่เห็นด้วยตา ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป ถ้าสภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อคือ   อุณหภูมิ 16-22 องศาเซลเซียส และความชื้นสูง  จะทำให้มีการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ ใบของแตงแห้งและทำให้ต้นตาย ในแคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง เกษตรกรสามารถสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่บริเวณใบแก่ และโคนเถาจะแสดงอาการก่อน คือ มีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วไป ทำให้ใบแห้งและเหี่ยว เมื่อโรคระบาดรุนแรงจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถา ในช่วงมีอากาศชื้นเมื่อพลิกดูด้านท้องใบจะมีขุยของราสีขาวหม่นคล้ายผงแป้ง โรคนี้จะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อแตงอยู่ในระยะกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่จะเก็บเกี่ยว

การแพร่กระจายของเชื้อ  จะปลิวไปตามลม แต่บางครั้งระบาดได้โดยติดไปกับแมลงบางชนิด เช่น ด้วงเต่าแตง ฯลฯ กรณีที่โรคระบาดรุนแรง อาจทำให้ผลผลิตแตงกวาลดลงมากกว่าร้อยละ 50
โรครานํ้าค้าง (downy mildew)  ของแตงตามรายงานมีผู้พบครั้งแรกในประเทศคิวบา เมื่อราวปี ค.ศ. 1864 หลังจากนั้นก็ปรากฏว่าเป็นโรคที่ระบาดแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความชื้นสูงอุณหภูมิต่ำ แตงที่ได้รับความเสียหายจากโรคนี้มากได้แก่ แตงกวา แตงร้าน แคนทาลูป แตงไทย ส่วนพวกฟักทอง สคว๊อช ฟักแฟง บวบ เสียหายรองลงมา สำหรับแตงโมพบเป็นบ้างแต่ไม่มากและร้ายแรงนัก
อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ โดยจะเริ่มจากจุดแผลสีเขียวซีดขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นเป็นสีเหลืองและมีขอบเขตเป็นเหลี่ยมตามแนวหรือข่ายของเส้น vein ขณะเดียวกันหากความชื้นในอากาศสูง เช่น ในระยะที่มีฝนปรอย หรือหมอกนํ้าค้างจัด ทางด้านใต้ใบตรงกับจุดแผลที่เกิดขึ้น จะพบกลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อสาเหตุลักษณะเป็นขุย หรือผงสีเทา ซึ่งเมื่อแก่หรือแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ในกรณีที่เกิดโรครุนแรงและสิ่งแวดส้อมเหมาะสม ใบส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในต้นอาจถูกเชื้อเข้าทำลายอย่างรุนแรง ทำให้ใบทั้งใบแห้งตาย ต้นจะโทรมอาจถึงตายได้ทั้งต้น สำหรับลูกแตงมักจะไม่ถูกเชื้อเข้าทำลายโดยตรง แต่เมื่อต้นเป็นโรคก็จะมีผลทางอ้อม เช่น เจริญเติบโตไม่เต็มที่ แกร็น คุณภาพและรสเสียไป
เป็นราชั้นต่ำใน Class Phycomycetes ซึ่งขยายพันธุ์ได้ทั้งมีและไม่มีการผสมทางเพศ โดยการเกิดสปอร์ที่มีหางเคลื่อนไหวได้ ผงหรือขุยสีเทาและน้ำตาลที่เกิดขึ้นด้านใต้ใบตรงกับจุดแผลสีเหลืองด้านบน คือ กลุ่มของสปอร์ที่มีรูปร่างคล้ายมะนาวฝรั่ง (lemon-shaped) ซึ่งเกิดบนก้าน (sporangiophore) ที่มีปลายแยกออกเป็นคู่ (dichotomously branches) สปอร์เมื่อแก่ก็จะหลุดออกจากก้านปลิวไปตามลม นํ้า เครื่องมือกสิกรรม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของกสิกรผู้ปลูก หรือผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับต้นแตงดังกล่าว เมื่อตกลงบนพืชสิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเป็น zoospore หรือ swarm cell มีทาง 2 เส้น ว่ายน้ำเคลื่อนไหวอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงทิ้งหางเข้าซีสต์ (cyst) เป็นเม็ดกลมๆ ต่อมาจึงจะงอกออกมาเป็นเส้นใย (germ tube) เข้าทำลายพืชได้ กระบวนการทั้งหมดนี้ จะกินเวลาราว 24 ชั่วโมง หลังจากเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในพืชแล้วก็จะสร้างสปอร์ใหม่ขึ้นได้อีกภายใน 4-5 วัน

สำหรับการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อ เนื่องจากราน้ำค้างเป็น obligate parasite ไม่สามารถอาศัยเกาะกินเศษซากพืช เพื่อความอยู่รอดชั่วคราวได้เหมือน parasite ธรรมดาอื่นๆ เมื่อหมดฤดูปลูกพืชจริง จึงต้องหาวัชพืชหรือต้นแตงที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ต้นที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยว ต้นที่งอกขึ้นมาเอง (volunteer seedling) สำหรับอาศัยอยู่ชั่วคราว นอกจากนั้นก็มีผู้พบว่าเชื้อ P. cubensis มีการสร้าง sexual spore คือ oospore ที่มีผนังหนาคงทนต่อสิ่งแวดล้อมที่ผิดปกติ เช่น ความร้อน ความแห้งได้นานกว่าสปอร์ธรรมดา จึงเชื่อกันว่าเชื้ออาจอยู่ข้ามฤดูได้ในลักษณะนี้อีกวิธีหนึ่ง
สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดและความรุนแรงของโรค  ก็เช่นเดียวกับราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16 – 27° ซ. แต่จะดีที่สุดที่ 20° ซ. ส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป







โรคใบด่าง (Mosaic)

เชื้อสาเหตุ Cucumber Mosaic Virus  : ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่ม ตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง

โรคใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Virus disease)
โรคนี้ทำความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ทุกชนิด เช่น แตงกวา แตงร้าน ตำลึง ฟักเขียว แตงไทย แตงโม ฟักทอง น้ำเต้า บวบ มะระ และยังพบว่าทำให้เกิดโรครุนแรงกับมะเขือเทศ ยาสูบ และพริกชนิดต่าง ๆ ด้วย ในประเทศไทยพบว่าโรคนี้ ทำความเสียหายให้กับพริกในแหล่งปลูกทั่วไป เช่น ตลิ่งชัน บางแค ดำเนินสะดวกและโพธาราม โดยสามารถแยกและจำแนกชนิดของเชื้อไวรัส จากพริกได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2517 แยกเชื้อได้จากมะเขือเทศและแตงในช่วงปี พ.ศ. 2529-31

ลักษณะอาการของโรค พืชจะมีอาการด่างหรือด่างเหลืองแบบ mosaic บนใบพืชจำพวกแตงและอาการไม่รุนแรงนัก แต่มักพบอาการรุนแรงบนพริกและมะเขือเทส โดยใบพืชจะบิดเบี้ยว หดแคบ เรียวยาวและหงิกงอ ผลพริกและแตงจะมีลักษณะผิดปกติ




ไวรัสที่เป็นสาเหตุโรค คือ Cucumber mosaic virus (CMV) มีรูปร่างทรงกลมหลายเหลี่ยม (Icosahedral) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นาโนเมตร อนุภาคของไวรัสไม่ค่อยทนต่อความร้อน และสภาพแวดล้อมภายนอกเซลล์พืช CMV มีพืชอาศัยกว้างขวางมาก และมักพบร่วมกับไวรัสชนิดอื่น ๆ ของพืชผีก
การถ่ายทอดไวรัสและการแพร่ระบาด CMV ถ่ายทอดได้ง่ายโดยแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อน (aphid) มากกว่า 50 ชนิด โดย CMV จะติดไปกับส่วนที่เป็นท่อดูดน้ำเลี้ยง (stylet) การแพร่ระบาดจึงมักเกิดขึ้นโดยแมลงพาหะ CMV สามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในวัชพืชและพืชอาศัยหลายชนิด แต่ไม่สามารถคงสภาพอยู่ในเศษซากพืชได้
เชื้อไวรัสที่จัดอยู่ในกลุ่มของ CMV ที่พบในพืชพวกแตง มีคุณสมบัติเป็นผลึกโปรตีน (RNA 18.5% และโปรตีนหุ้มอนุภาค 81.5%) มีรูปทรงกลม หรือเหลี่ยมที่มีด้านแบนหลายด้าน (polyhedral) ขนาดโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 28-30 nm มี thermal inactivation point ระหว่าง 60°ซ. – 80°ซ. และdilution end point 1 : 10,000 เท่า

การติดและการระบาดของโรคเกิดขึ้นได้โดยน้ำคั้น จากการนำของแมลงต่างๆ หลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เพลี้ยอ่อน ซึ่งพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 6-7 ชนิด ได้แก่ Aphis gossypii Aulacorthum circumfexum A. solani Myzus persicae Macrosiphum euphorbiae Phorodon humuli และ P. canabis นอกจากแมลงแล้ว การสัมผัสจับต้องตลอดจนเครื่องมือกสิกรรมต่างๆ ก็ทำให้เกิดการติดและการถ่ายทอดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ดีเช่นกัน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันดูเหมือนจะยังไม่มีผู้ใดพบและสามารถพิสูจน์ได้ว่า เชื้อ CMV โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค mosaic ในแตงมีการถ่ายทอดหรือระบาดได้โดยผ่านทางเมล็ด
หลังจากเชื้อถูกถ่ายเข้าสู่พืชแล้วจะมีระยะฟักตัวเพื่อสร้าง อาการโรคในส่วนที่ยังอ่อนหรืออวบนํ้า ประมาณ 4-5 วัน แต่อาจใช้เวลานานออกไปเป็น 12-20 วันในต้นหรือใบที่โตเต็มที่แล้ว ทั้งนี้อุณหภูมิจะต้องไม่ต่ำกว่า 28° ซ. (อุณหภูมิยิ่งต่ำ ระยะฟักตัวก็จะยิ่งนานออกไป) สำหรับผลแตงหากโตเกินครึ่งแล้วจะคงทนต่อการเกิดโรคได้ดีกว่าผลอ่อน
การอยู่ข้ามฤดู เชื้อ CMV ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในดิน แตงป่าที่ขึ้นเองหรือต้นที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยว


ภาคผนวก

ไวรัสพืช
           ไวรัสพืช คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ที่สร้างความเสียหายให้กับพืชโดยเข้าทำลายเซลล์ต่างๆของพืช ซึ่งจะทำให้ต้นพืชแสดงลักษณะที่ผิดปกติออกมา เช่น ลำต้นแคระแกรน ใบหงิกงอ ลำต้นหรือผลเป็นแผล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง หรืออาจทำให้ต้นพืชตายในที่สุด
พืชได้รับเชื้อไวรัสได้หลายทาง อันได้แก่ ทางบาดแผล ทางท่อลำเลียงน้ำท่อลำเลียงอาหาร ทางเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วการระบาดของเชื้อไวรัสพืชจะมีแมลงเป็นตัวพาหะนำพาเชื้อไวรัสมาสู่ต้นพืช ซึ่งแมลงสามารถทำให้ต้นพืชเกิดบาดแผลได้ง่ายจากการกัดกินหรือการดูดน้ำเลี้ยงจากใบและผลของพืช




      อาการของพืชเมื่อได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาหารแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัสที่เข้าทำลายพืช เช่น โรคใบด่างในพืชตระกูลแตง โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ อาการใบหงิกในพริก อาการเขียวเตี้ยในข้าว ใบหดยาสูบ อาการยอดกรุด(ไอ้โต้ง)ในแตงโม อาการใบเหลืองส้มในข้าว  เป็นต้น ซึ่งอาการที่เกิดจากการทำลายของเชื้อไวรัสชนิดต่างๆจะทำให้พืช เสียสมดุลในการทำงานของฮอร์โมน มีการสังเคราะห์แสงผิดปกติ รบกวนกระบวนการดูดซึมและเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร และทำให้การแสดงออกของยีนส์พืชไม่ปกติ
เชื้อไวรัสสามารถเข้าทำลายพืชได้อย่างกว้างขวาง ทั้งพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจและวัชพืช และแพร่กระจายเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของพืชได้เกือบทุกส่วนคือ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และ เมล็ด นอกจากนั้นไวรัสยังสามารถทำให้เกิดโรคกับพืชชั้นต่ำขนาดเล็กเช่น แบคทีเรีย รา ไปจนถึงพืชชั้นสูงทั่วไปรวมทั้งไม้ยืนต้นด้วย โดยทั่วไปความเสียหายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการเข้าทำลายของไวรัสมักมุ่งเน้นไปที่ผลผลิตและคุณภาพที่ลดลง ในปัจจุบันพบโรคพืชที่เกิดจากไวรัสกว่า 600 ชนิด ซึ่งจนถึงปี ค.ศ. 1996 นี้ มีการจัดแบ่งกลุ่มของไวรัสพืชออกได้ 47 กลุ่มตามคุณสมบัติต่าง ๆ กัน หลายประการ ที่ได้รับการยอมรับจาก The International Committee on Taxonomy of Viruses (ICTV) โดยมีชื่อกลุ่มที่รอการรับรองเป็นทางการอีก 23 กลุ่ม







คุณสมบัติของไวรัสพืช
        ไวรัสพืชเป็นอนุภาคขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน มีรูปร่างเป็นท่อน ขนาดความยาวอยู่ในช่วง 180-1200 นาโนเมตร หรือรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-85 นาโนเมตร อนุภาคของไวรัสพืชประกอบด้วยกรดนิวคลีอิคชนิด ribonucleic acid (RNA) หรือ deoxyribonucleic acid (DNA) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ทางพันธุกรรมของไวรัส และมีโปรตีน (coat protein) ห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคไว้ ไวรัสบางชนิดอาจมีเยื่อหุ้ม (envelope) หรือมีส่วนประกอบพิเศษอื่น ๆ ด้วย ไวรัสสามารถเจริญและเพิ่มปริมาณได้เฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น โดยต้องอาศัยระบบการทำงานและเอนไซม์ต่าง ๆ ภายในเซลล์พืชอันเป็นผลให้พืชมีอาการผิดปกติและเกิดโรค
การทำให้เกิดโรคกับพืช

ไวรัสเข้าทำลายพืชได้โดยทางบาดแผลเท่านั้น ซึ่งบาดแผลอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ มนุษย์ หรือเกิดจากธรรมชาติ เมื่อไวรัสผ่านผนังเซลล์เข้าสู่เซลล์พืชได้แล้วจะปลดปล่อยกรดนิวคลีอิคออกมาจากโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคไว้ กรดนิวคลีอิคจะอาศัยวัตถุดิบและขบวนการต่าง ๆ ของเซลล์พืชในการเพิ่มปริมาณกรดนิวคลีอิคของไวรัสและโปรตีนห่อหุ้มอนุภาค ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองชนิดนี้จะมารวมตัวกันเป็นอนุภาคไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช และทวีจำนวนไปตามการเจริญของพืชโดยลำดับ


ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
            ไวรัสสามารถก่อให้เกิดอาการบนพืชได้หลายแบบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อาการแผลจุดเฉพาะแห่ง (local lesion) และ อาการแพร่กระจายทั่วต้น (systemic) อาการแผลจุดเฉพาะแห่งพบได้น้อยในธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะพบเมื่อทดลองปลูกเชื้อลงบนพืชทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น แผลจุดสีเหลือง (chlorotic spot) หรือจุดไหม้สีน้ำตาล (necrotic spot) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 มิลลิเมตร โดยไวรัสจะเพิ่มปริมาณอยู่ในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด รอบ ๆ จุดแผลไม่แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง เมื่อใบที่มีจุดแผลหลุดร่วงไป ต้นพืชก็จะปราศจากไวรัสไปด้วย
อาการอีกประเภทหนึ่งคืออาการแบบแพร่กระจายทั่วต้นนั้น พบได้ทั่วไปในธรรมชาติและเป็นอาการแบบที่ทำให้เกิดความเสียหายกับพืชได้ทุกส่วนโดยไวรัสสามารถเจริญเพิ่มปริมาณและแพร่กระจายได้ทั้งต้นพืช ตั้งแต่ยอดจนถึงราก รวมทั้งละอองเกสร ดอก ฝัก และเมล็ด




การเรียกชื่อและอนุกรมวิธานของไวรัสพืช
ชื่อไวรัสจะประกอบด้วยชื่อพืชอาศัยของไวรัสตามด้วยชื่อลักษณะอาการของโรคบนพืชนั้นแล้วเติมคำว่าไวรัสไว้ท้ายสุด ตัวอย่างเช่น Tobacco mosaic virus, Tomato yellow leaf curl virus และนิยมเรียกชื่อย่อของไวรัสโดยใช้อักษาตัวแรกของแต่ละคำมาเรียงต่อกัน เช่น TMV, TYLCV เป็นต้น ส่วนชื่อกลุ่มของไวรัสนั้นได้มาจากชื่อของไวรัสที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม เช่น
Tobacco mosaic virus เป็นตัวแทนของกลุ่ม Tobamovirus
Cucumber mosaic virus เป็นตัวแทนของกลุ่ม Cucumovirus
Potato Virus Y เป็นตัวแทนของกลุ่ม Pptuvirus






ภาคผนวก

แตงกวา
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า ซึ่งแตงกวามีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูก แตงกวากับพืชอื่นๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืชหนึ่งที่สามารถทำรายได้ดีทีเดียว สำหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถ นำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนำไปแกงจืด ผัด จิ้มน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่าแตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ
ถิ่นกำเนิด แตงกวา มีการบันทึกประวัติการปลูกแตงกวามากกว่า 3,000 ปี และมีการปลูกแตงกวาในประเทศ แถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน เมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนำผ่านเอเซียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้นำไปปลูก ในประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออก ไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำแตงกวาไปปลูกในทวีปยุโรป และได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 แตงกวาได้รับการพัฒนาพันธุ์ ให้เหมาะสม ต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และแตงกวาได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบัน แตงกวา เป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพ การบริโภคสดและแปรรูป

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ แตงกวา แตงกวา มีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง
ระบบรากแตงกวา เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร  ลำต้นแตงกวา เป็นพืชลำต้นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกแตงกวาเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกแตงกวาเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมีย นั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกแตงกวาตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย
ผลของแตงกวา มีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และใน

          ปัจจุบัน แตงกวาพันธุ์การค้าในต่างประเทศ มีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ
แตงกวา สามารถจำแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้
พันธุ์แตงกวาสำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง

แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น

1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 – ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง

พันธุ์แตงกวาอุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้

2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว


สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา
         อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดแตงกวา ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดินปลูกแตงกวา 
        ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้
การเตรียมพันธุ์แตงกวา ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์แตงกวา นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน

การเตรียมดินเพาะกล้าแตงกวา อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไปทำการบ่มเมล็ดแตงกวา โดยนำเมล็ดแตงกวาบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลาย เช่น อีเรเซอร์-1 หรือ ซาร์คอน  ผสมในอัตรา 1 ซีซี.ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาผึ่งในที่ร่ม 12-24 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปเพาะต่อไป

การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดแตงกวาที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร
การดูแลรักษากล้าแตงกวา หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูกแตงกวา วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกแตงกวา นั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้น้ำแตงกวา หลังจากย้ายกล้าแตงกวาปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้


การใส่ปุ๋ยแตงกวา การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่

ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
แนะนำให้ใช้ "กรีนอัพ"( GreenUp) :ฮอร์โมนและอาหารเสริมพืช(ชนิดเม็ด) 


และ "G-5"(จี-ไฟว์) :สารอินทรีย์ 5 พลัง มีทั้ฮอร์โมน , อะมิโน แอซิด , ฮิวมิค แอซิด  ,สารป้องกันโรครากเน่า ,สารปกป้องแมลงต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปด้วย




และให้ฉีดพ่นด้วย "ORG-1" และ "ORG-2" ไปตลอดอายุตั้งแต่ แตกเริ่มมีใบเลี้ยง 3-4 ใน เพื่อให้ผลผลิตดี ติดดอกดี ติดผลดี  นี่คือ..เคล็ดลับสุดยอด



การเก็บเกี่ยว แตงกวา อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวา นับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

อ้างอิงบางส่วนจาก : http://www.vegetweb.com




ซิกน่า + ซาร์คอน


ซิกน่า
สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง
(Induced Systemic Resistance : ISR)

คุณสมบัติ
ซิกน่า ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า มีกรดอินทรีย์บางชนิด ที่เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น

ซิกน่า มีกรดอะมิโน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการสร้างโปรตีนต่อต้านโรคและแมลง ทำให้พืชสามารถนำมาใช้ผลิตโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานได้อย่างต่อเนื่องและไม่ทำให้ต้นพืชโทรม ซิกน่า ยังมีมาเลท ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสาร สำคัญของพืชต่างๆ รวมทั้งสารที่พืชสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านโรคและแมลงด้วย
ซิกน่า มีแคลเซียมในรูปคีเลท ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่พืชและเคลื่อนย้ายในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนต้านทานโรคและช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็งแรงเสริมการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลงได้อย่างดี ซิกน่า ยังมีสังกะสีในรูปคีเลท ที่ช่วยส่งเสริมขบวนการส่งสัญญาณเซลและขบวนการสังเคราะห์ภูมิต้านทานโรคและแมลงด้วย

1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรค ปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆ และเกิดสัญญาณขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (messengers) ไปยังเซลอื่นๆ ทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่ (SA), และ (JA) และอื่นๆ

3. Induced Systemic Resistance (ISR) กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria  (PGPR)ส่งสัญญาณทั้ง JA-signaling pathway และ SA-signaling pathway
ซิกน่า  สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง  (Induced Systemic Resistance : ISR)

คุณสมบัติ  "ซิกน่า"(ZIGNA) ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น

ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One ) 

 สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและ แมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น



 
หยุดไวรัสพืช ด้วย ORG- Model
พืชต่างๆ อาทิ มะละกอ ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ฯลฯ ที่ถูกไวรัสเข้าทำลายและระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกิดความเสียหาย เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุน และเกษตรกรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มีแต่ต้องเสียหายและทำลายทิ้ง การแก้ปัญหาไวรัสพืชที่เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจกระบวนการและกลไกในการดูแลและป้องกันปัญหามันยังมีทางออก เพื่อหยุดความสูญเสียรายได้จากความเสียหายตรงนี้ เราลองมาศึกษาวิธีที่เป็นไปได้ภายใต้"องค์ความรู้"ใหม่ๆกันดีไหม
มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสพืช กันเถอะ
หลักการหยุดไวรัสพืช ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสพืชต่างๆ ทั้ง ใบด่าง ใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบจู๋

1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่ง จะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช

4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณ ต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น

5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ



ซาร์คอน
 

คุณประโยชน์ 3 ประการของสารสำคัญที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน"
1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์รากพืช

2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) ทำหน้าที่เสมือน"วัคซีนพืช" ควบคุมโรคทั้งจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

3. กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate)
(SARCON ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก ไม่ใช่สารเคมีฆ่าเพลี้ยฆ่าแมลง ไม่ใช่สารเคมีกำจัดโรค แต่เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายตัวที่ทำหน้าที่ต่างๆต่อกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry) และทำหน้าที่ได้หลายๆด้าน)
และหนึ่งในนั้นคือกระบวนการ"Revitalize" เซลล์รากและสร้างสัดส่วนราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร)กับราก"Fibous root"(รากหาอาหาร) ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากพอต่อการสร้าง"Tuber"(โดยผ่านกระบวนการTuberization)
และอีกหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ "Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ แต่ตัวเพลี้ยมันดูดยาเข้าไปมันก็ตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว


ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่  bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell   และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง (mesophyll cells)  และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells)  และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง



มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว  เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง  กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น

กรดซิลิซิคที่รวมตัวกัน เป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช

เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง

(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ

Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

หน้าที่บางอย่างในหลายๆอย่างของ"ซาร์คอน"

1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่

2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)

3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ

4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้

5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้

6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน




คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (CARBOXYL-PLUS Extra)


กรดอินทรีย์อัจฉริยะ   "หนึ่งเดียวในโลก  ที่กล้า..ท้าชนทุกโรค"
 โรคเหี่ยวเฉาพริก
 โรคเหี่ยวเฉามะเขือเทศ
 โรคเหี่ยวเฉามันฝรั่ง
 โรคเน่าเละกะหล่ำ
 โรคแข้งดำยาสูบ
 โรคโคนเน่าต่างๆ
 โรคใบด่างมะละกอ
 โรคใบหงิกงอแตงโม
 โรคส้มโอขี้กลาก
 ฯลฯ


กันไว้ดีกว่าแก้....
เพื่อความมั่นคงในชีวิตของพืชและรายได้ของคุณ
ปัญหาโรคพืชจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา
จะหมดไป  มั่นใจ... “คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า







เกษตรกร...........ที่รัก
จริงไหมครับ.......ที่ท่านปลูกพืชแล้ว
ใครก็ไม่อยากให้พืชเป็นโรค
ใครก็ไม่อยากให้พืชเหี่ยวเฉา
ใครก็ไม่อยากให้พืชเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชรากเน่า-โคนเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชเตี้ยแคระ
ใครก็ไม่อยากให้พืชใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบด่าง ต่างๆนานา

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้....  ช่างบั่นทอนความรู้สึก บั่นทอนกำลังกาย กำลังใจ ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยอ่อน อ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงเสียเต็มที เพราะต้องวิตกกังวลกับผลกระทบอีกหลายเรื่องที่จะตามมา ไม่ว่าจะทุนที่ลงไป แรงงานที่ทุ่มลงไป ถ้าขาดทุนแล้วเราจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เขา ผลผลิตของเราจะเหลือสักเท่าไร จะคุ้มกับหนี้สินไหม ถ้าปลูกพืชเราหวังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยทุกต้นทุกใบ แต่กลับมาเห็นมัน "เหี่ยวเฉา” ลงต่อหน้าต่อตาต้นแล้วต้นเล่า จิตใจก็เริ่มหดหู่ไม่รู้จะเหลือสักเท่าไร คิดแล้วก็เริ่มท้อแท้ใจ จะแก้ไขก็ไม่ทันการ หลายคนวิพากษ์วิจารณ์บ่อยๆว่า “ก็รู้อยู่แล้วว่า...ปัญหามันเกิดขึ้นเป็นประจำ ปลูกกี่ปีกี่ครั้งมันก็ต้องเจอ “เหี่ยวเฉา” ทำลาย  ทำไมไม่รู้จักป้องกันหรือแก้ไขไว้เสียแต่ตอนแรกล่ะตั้งแต่ลงมือปลูก เกษตรกรบางคนก็เถียงว่า “ป้องกันไว้แล้ว” แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ป้องกันมันไม่ได้ผลซะทีจนไม่รู้จะทำอย่างไรดี เห็นมัน “เหี่ยวเฉา” มาทีไรใจคอรู้สึกไม่ดีเลย...เครียด


เกษตรกร.....ที่รักครับ  บัดนี้..เรามีข่าวดีมาบอก  
เป็นโชคดีของเกษตรกรที่รักแล้ว ครับ
เพราะบัดนี้ “ออร์กาเนลไลฟ์” มีผลิตภัณฑ์ดีๆ มาบอก เป็นนวัตกรรมใหม่ของสารอินทรีย์ที่จะมาป้องกันและคุ้มครองโรคพืชที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ  โรคเน่า โรคเหี่ยวเฉาใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดกับพริก มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง มะละกอ มะระ ผักกาด กะหล่ำ ขิง หรืออื่นๆ
"คาร์บ๊อกซิล- พลัส เอ็กซ์ตร้า" สารอินทรีย์อัจฉริยะหนึ่งเดียวในโลกที่กล้าท้าชนทุกโรคเน่า โรคเหี่ยวเฉา และโรคใบด่างใบหด ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่กลัวโรคเหล่านี้

“คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากชุดปฏิบัติการ “ต้านความจน”  จาก ออร์กาเนลไลฟ์
 การลดความเสียหายของพืชจากการทำลายของโรคร้ายแรง จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรทางอ้อม ทั้งนี้เพราะเราจะได้รับผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ลดความเสี่ยง จากการขาดทุนจนอาจเกิดหนี้สิน และทำให้ “ความจน” ติดตามมา

 มาร่วมกันป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคร้ายแรง เหมือนการทำ "“ประกันชีวิต" ..” ให้กับพืชของคุณ




เหตุผล..ว่าทำไม  ?  ..ท่านต้องทำ"ประกันชีวิต"ให้กับพืชของท่าน
 พืชเองก็เหมือนคนเราที่ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆรบกวน เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้สูงสุดตามเป้าหมายที่วางไว้
 สมมุติท่านปลูกพริก 1 ไร่ จำนวน 3,000 ต้น
ท่านตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้นหนึ่งจะได้ผลผลิต 2 กิโลกรัม/ต้น  ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม  ถ้าพริกกิโลกรัมละ 10 บาท ต้นหนึ่งจะมีรายได้ต้นละ 20 บาท
 1 ไร่     ท่านจะมีรายได้ (20 x 3,000 ต้น) = 60,000 บาท 
 แต่ถ้าพริกของท่านเจอโรคเหี่ยวเฉาตายไปซัก 1,000 ต้น
รายได้ของท่านก็จะหายไป (1,000 x 20 บาท ) =  20,000 บาท
  ท่านลองคิดดู ... ท่านเสียหายไหม ?

  แต่ถ้าท่านทำ“ประกันชีวิต” ให้พริกของท่าน โดยใช้   คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า  ฉีดพ่นป้องกัน จะเป็นอย่างไร……


คาร์บอกซิล พลัส เอ็กซ์ตร้า   1 ขวด ราคาประมาณประมาณ 600 บาท ผสมได้ 10 ปี๊บ 
เฉลี่ยปี๊บละ 60 บาท  1 ไร่ ฉีดพ่นครั้งละ 3 ปี๊บ คิดเป็นค่าใช้จ่าย 3x60 = 180 บาท 
ถ้าฉีดพ่น 4 ครั้ง ( 180 x 4 ) = 720 บาท
ท่านลงทุนเพียงแค่ 720 บาท สามารถป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปตั้ง 20,000 ได้
แบบนี้ไม่เรียกว่า  คุ้ม  แล้วจะเรียกว่าอะไร? หล่ะครับท่าน
(ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก Thaikasetsart.com )




คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า 
สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน

คุณสมบัติพิเศษ
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขื่อเทศ มันฝรั่ง , โรคเน่าและกระหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ

อัตราการใช้ 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)

กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น





กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว



• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)









อีเรเซอร์-1 (Eraser-1)



สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น "วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น


กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )

2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )




การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)

คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1

ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัส เชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจน ตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วน ต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัส กับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์

ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว







ภาคผนวก

หากท่านต้องการเพิ่มผลผลิต ต้องไม่พลาด คู่ ORG-1 , ORG-2





โออาร์จี-1 (ORG-1)
ORG-1: Amino acid, The Other of Organic acid
เพิ่มพลังงาน เพิ่มความสมบูรณ์ภายในให้แก่พืช


คุณสมบัติ ORG-1
1. ไม่ใช่สารอินทรีย์ ไม่ใช่สารชีวภาพ แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อกระบวนการทำงานภายในของพืช
 2. เป็นเนื้อสารเข้มข้นมีสารอาหารพืช สารสำคัญต่างๆ ครบถ้วนตามที่พืชต้องการรวมอยู่เป็นเนื้อสารเดียวกัน
3. ดูดซึมได้รวดเร็ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
4. ไม่จับตัวตกตะกอนแข็งและไม่จับก้อนเป็นวุ้นเมื่อผสมร่วมกับสารอื่นๆ
5. ไม่แนะนำให้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารป้องกันกำจัดแมลงและสารกำจัดโรคอื่นๆที่เป็นสารเคมี
6. ใช้ได้กับทุกช่วงระยะการเจริญเติบโตของต้นพืช

หน้าที่ ที่สำคัญของORG-1
1. กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ และสังเคราะห์โปรตีน
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์   
3. การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน   
4. ช่วยให้พืชสามารถนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดีขึ้น และก็ช่วยให้การดูดซึมจุลธาตุอาหารทางใบดีขึ้น
     ช่วยปรับปรุงการดูดซึมธาตุอาหารทางราก
5. เพิ่มการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน
6. กระตุ้นการสร้างดอก  ช่วยการผสมเกสร ติดผลดก ลดการหลุดร่วง
7. ช่วยขยายขนาดผล  เร่งการสุกของผล
8. ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
9. พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง
คุณประโยชน์ของ ORG- 1
- ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้

วิธีใช้    ชนิดพืช   ระยะเวลา อัตราการใช้
ข้าว  ช่วงตั้งท้องและออกรวง จนกระทั่งช่วงข้าวเป็นน้ำนมฉีดพ่นทุก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชไร่   ทุก7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชผัก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชดอก ไม้ประดับ 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ไม้ผล และไม้ยืนต้น
เริ่มฉีดได้ตั้งแต่ก่อนดึงดอกและฉีดได้ต่อเนื่องจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ยางพารา ปาล์มน้ำมัน 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร


ข้อแนะนำพิเศษ
(1) ช่วยเพิ่มการสะสมอาหารไว้ที่ใบ และลำต้น ช่วยให้พืชออกดอกได้เร็วขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน ให้ทั่วทั้งต้นพืชสามารถดูดซึมเข้าภายในลำต้นได้ทุกส่วนทั้งทาง ต้น ใบ ราก 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
(2) ช่วยขยายขนาดผล   สร้างเนื้อเยื่อ สร้างแป้ง ขั้วเหนียว ผลไม่ร่วง สีผลสด ผลติดดก รสชาติดี มีน้ำหนักขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
(3) ช่วยพืชที่ลงหัว เข้าสู่ระยะลงหัวได้เร็ว หัวใหญ่เร็ว ได้น้ำหนัก เปอร์เซนต์แป้งดี  เปอร์เซนต์น้ำตาล น้ำมันดี น้ำยางดี เก็บได้นาน เนื้อแน่น หัวไม่ฝ่อง่ายฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 ( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย




โออาร์จี:(ORG-2)
ORG-2: Amino acid, Monosaccharides  and Other Ingredients
สารอาหารพืชชนิดพิเศษ สารให้พลังงานสูง  บำรุงต้นและเพิ่มผลผลิต



คุณสมบัติ ORG-2 
เป็นสารอาหารพืชชนิดพิเศษ ที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่พืช
สำหรับช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต ไปจนกระทั่ง ติดดอก ออกผล ลงหัว หรือ โตสมบูรณ์เต็มที่จนเก็บเกี่ยว  ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุด
-ส่งเสริมการสร้างและสะสมอาหารภายในต้นพืช
-ช่วยเสริมการสร้างตาดอก ติดดอกดี ช่วยผสมเกสรสมบูรณ์
-ลดการร่วงหล่น ขั้วเหนียว ผลดก ผลสวย ได้รูปทรงมาตรฐาน สม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเนื้อให้แน่น มีน้ำหนักดี ขยายขนาดผล ทำให้ผลใหญ่ ผลหนัก
 -เพิ่มปริมาณแป้งในพืชหัวได้มากขึ้น  ทำให้พืชหัวมีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อแน่น ไส้ไม่กลวง
-ช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ช่วยเข้าสี สีสวย รสชาติดี
- ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
- พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง

คุณประโยชน์ ORG-2
บำรุงด้วย ORG-2  เป็นประจำ จะทำให้พืช
1. ในช่วงสะสมอาหาร - ใบหนา  เขียวเข้ม  พร้อม ออกดอก
2. ช่วงเปิดตาดอก - ออกดอกเร็ว  ดอกสม่ำเสมอ  เกสรสมบูรณ์
3. ช่วงติดผล  - ขั้วเหนียว   ขยายผล  สร้างเนื้อ  เร่งสี
4. ช่วงเพิ่มคุณภาพ - ทำให้เนื้อดี สีดี รสชาติดี มีความหวาน  มีกลิ่นหอม
พืชที่แนะนำให้ใช้ 
พืชผักกินฝักและผล แตงโม สัปปะรด ถั่วแระ ข้าวโพด มันฝรั่ง  มันสำปะหลัง หอม, กระเทียม พริก
นาข้าว ลิ้นจี่ ส้มเปลือกบาง ยางพารา

อัตราการใช้  ORG-2
1. ผสม ORG-2  อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
2. ไม่สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง

( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย



ORG-5
ORG5 Granules : ORG5 เม็ด



ORG5 Granules : ORG5 เม็ด

Multi Activity Bio organic Granules. เม็ดเดียวครบเครื่องให้กับพืช


Contents -ประกอบด้วย สารสำคัญ

          - Sea weed extract

          - amino acids

          - neem oil

          - humic acid

          - anti root rot substances




An unique Patented granular formulation for plant growth as well as for effective preventive measures against pests and fungi. It can be used for all crops. ORG5 contains five different constituents - Due to sea weed based bio-fertilizer there is overall growth of crops due to plant cell division and increase in number of plant cells. Due to blend of vital amino acids, crops gets required nourishment at different stages of its growth. Hence there is healthy and vigorous growth with increased number of flowers and fruits Due to Humic acid, there is profuse growth of white roots. Roots become healthy which ultimately enhance plant growth. Due to Neem Oil, plants are protected from sucking pests in the initial stages of their growth. Neem oil also prevents attacks from other insects and pests as well as protect the plant from Nematodes and Termites. Due to Anti root rot substances, soil gets sterilized by killing harmful fungi such as Fusarium and Pythium. Due to its unique constitution, it has proved to be miracle for all types of crops. since all the five constituents are made available to the crop at once, crop is benefited right from the initial stage till the harvest.


      จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช


ORG5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช

ORG5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ

2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต

3. Humic acid ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้

4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ใน การยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย

5.Anti root rot substances
ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.


Dosage -  8 to 16 kg per Acre as per type of crop.

อัตราการใช้   3 - 6 กิโลกรัม ต่อไร่



สนใจติดต่อได้ที่ 
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
.
คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อทาง Line ได้
http://line.me/ti/p/%40organellelife.com
























สนใจติดต่อได้ที่ 
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
.
คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อทาง Line ได้
ทักแชทไลน์ คลิ๊ก>>> https://lin.ee/nTqrAvO




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น