มารู้จัก “ซาร์คอน” (SARCON) : มิตรแท้ต่อพืช
ที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันดีไหม?
● ซาร์คอน (SARCON) : MSA + SA
ซิลิคอน เพื่อสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่งและวัคซีนพืช
เป็นกรดซิลิคอน (Silicic acid) : H4SiO4 ในรูป
โมเลกุลเดี่ยว (Monoosilicic acid) ป้องกันโรค และ
แมลง ตลอดจนสารต้านแล้ง, หนาว
(Orthosilicic acid + Salicylic acid)
- กระบวนการ “Polymerization" เข้าสู่กระบวนการ
"Agglomeration" จนเป็น “Cell Wall Barrier”
(เกราะป้องกัน)
- Orthosilisic acid ที่แตกตัวเป็นสารในรูป Polymer
และเข้าสู่กระบวนการ Polymerization จนเปลี่ยนรูป
เป็นสาร Colloids และเข้าสู่กระบวนการ
"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง
(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปสะสม
ที่ ผนังเซลล์ (Cell Walls) ต่อไป
- ผนังเซลล์ก็จะแข็งแกร่ง เสมือน "ผนังคอนกรีต" ที่เป็น
“เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) โรค & แมลง ให้
พืชต่อไป
● ในใบพืช :
- ซิลิคอน : จะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells)
- ซิลิคอน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้าย ต่าง ๆ และโดยปกติพืชจะได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางราก และเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ (Cell Wall) ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป Silicon – Cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
● ซาร์คอน (Sarcon)
(Monosilicic acid + Salicylic acid)
- ป้องกันกำจัดโรค แมลง และช่วยเพิ่มผลผลิตพืช
- ธาตุซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเสริมประโยชน์ที่
มีความสำคัญอย่างมาก ในการกระตุ้นการเจริญ
เติบโตของพืช และสร้างความแข็งแรง ให้กับ
เนื้อเยื่อพืช และมีประโยชน์ในหลายด้าน ดังนี้
● ด้านส่งเสริม และกระตุ้นการเจริญเติบโต ของ
พืช
๏ ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง โดยการเพิ่ม
ปริมาณคลอโรฟิลล์ ส่งเสริมการสร้างแป้งและ
น้ำตาลในพืช ช่วยเพิ่มความหวาน, กรอบ ให้
กับผลผลิต
๏ ช่วยลดความเป็นพิษของเกลือ ดินเค็ม, โลหะ
หนัก, ลดความเป็นพิษของอลูมิเนียม,โซเดียม
และแมงกานีส
๏ กระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึม เพิ่มอัตราการ
เจริญเติบโตของพืช
๏ ส่งเสริมกระบวนการผสมเกสรของพืช โดยการ
เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเกสรตัวผู้ รักษา
สมดุลความชื้นในท่อนำไข่
๏ เข้าแทรกตัวในโครงสร้างเซลล์ ขณะที่พืชแบ่ง
เซลล์ ช่วยให้โครงสร้างเซลล์คงรูป แข็งแรง
เพิ่มความต้านทานโรค แมลง ลดการสูญเสียน้ำ
๏ ช่วยเพิ่มสาร Plant Anti-oxidant ลดความ
เครียดที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น ภาวะ
ร้อนจัด แห้งแล้ง หรือการได้รับปุ๋ยสูงเกินไป
● ด้านการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
๏ ซิลิคอน มีคุณสมบัติในการลดการระบาด ของ
แมลงศัตรูพืช เราพบกลุ่มสารป้องกันกำจัดศัตรู
พืช ที่ใช้ปฏิกิริยา Si แทนที่ Carbon ( Silicon–
for–carbon exchange) ซึ่งเป็นสารป้องกัน
กำจัดแมลงที่เลียนแบบสารธรรมชาติ เช่น สาร
กลุ่มคาร์บาเมท, ออร์แกนโนฟอสเฟต, ไพรีทรอ
ยด์, ไดเอททิลไดคลอโรอีเทน (ดีดีที) เป็นต้น
(Sieburth et al.1990a)
๏ กระตุ้นให้พืชสร้างหนามเล็กๆ (trichome) บน
ผิวใบ ยอด กิ่ง และก้าน ภายในหนามสะสมธาตุ
ซิลิคอน ที่มีลักษณะเหมือนเข็ม ที่จะสร้างความ
ระคายเคือง ทิ่มตำ ทำให้เกิดแผล ในแมลงศัตรู
พืชที่เดินหรือคืบคลานผ่าน และติดเชื้อศัตรู
ธรรมชาติตาย
๏ ไปรบกวนสารเคลือบผิวของแมลง ทำให้เกิด
แผล รบกวนความเป็นอยู่ศัตรูพืช ช่วยลดจำนวน
แมลงศัตรูพืช เช่น ไรสองจุดในสตรอเบอรี่ และ
ไรแดง และไรศัตรูพืชต่างๆ ของพืชตระกูลแตง,
เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, เพลี้ยอ่อน, แมลงปาก
ดูดที่มีขนาดเล็ก
๏ เสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์พืช ลดความ
เสียหายจากการทำลายของแมลง สามารถลด
การเข้าทำลายของหนอนชอนใบ
......................................................................
● ด้านการป้องกันกำจัดโรค
๏ เสริมสารความแข็งแรงให้ผนังเซลล์พืช (Cell
Wall) ด้วยการเข้าแทรกตัวในชั้นอิพิเดอมิส ของ
เซลล์ใบพืช กิ่ง ก้าน เป็นเหมือนม่านกั้นป้องกัน
เส้นใยเชื้อราของโรคพืช แทงเข้าสู่ใบพืช
ป้องกันการเข้าทำลายของของเชื้อโรคพืช
๏ ช่วยกระตุ้นระบบ Systemic Acquired
Resistance (SAR) ในต้นพืช ให้สร้างสาร
ฟีนอลลิค คอมปาวด์ ขึ้นมาต่อต้านการ
บุกรุกของโรค & แมลง
๏ ลดอัตราการงอกของสปอร์ การขยายเส้นใยเชื้อ
โรคพืช และทำลายผนังเซลเชื้อโรคพืชให้เสีย
หาย (คุณสมบัติทางเคมี)
๏ สามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้หลายชนิด เช่น
ราแป้ง (Powdery Mildew),ราเขม่าดำ,โรครา
น้ำค้างโรคใบจุด,โรคใบไหม้,เชื้อราดิน เช่น
โรคเหี่ยวจากเชื้อราฟิวซาเรียม, โรคเน่า จากเชื้อ
พิเทียม, เชื้อราไฟทอบเทอร่า และ เชื้อ
แอนแทรคโนส เป็นต้น
REFERENCES
1. Miyake, Y. and E. Takahashi, “Effect of Silicon on the Growth and Fruit Production of Strawberry Plants in a Solution Culture,” Soil Sci. Plant Nutr., 32 (2), 1986, pp. 321-326.
2. Miyake, Y. and E. Takahashi, “Silicon Deficiency of Tomato Plant,” Soil Sci. Plant Nutr., 24, 1978, pp. 175-189.
3. Schmidt, R.E., et al., “Response of Photosynthesis and Superoxide Dismutase to Silica Applied to Creeping Bentgrass Grown Under Two Fertility Levels,” J. Plant Nutrition, 22
4. Sieburth SMcN Lin SY and Cullen TG (1990a). New Insecticides by replacement of carbon by other group IV element. Pesticide Science 29 : 215-225
ภาพแสดงผักที่ได้รับซิลิคอนน้ำ สามารถลดการเข้า
ทำลายของ “หนอนชอนใบ”
——————————————————————
บทเสริม :
● ซิลิคอน (ในรูปกรดซิลิซิค หรือ Monosilicic
acid : H4SiO4) ให้อะไรแก่พืชได้บ้าง ?
๏ ช่วยให้พืชมีความแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี
๏ ช่วยป้องกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
๏ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน ให้เกิดประโยชน์
ต่อพืชโดยเฉพาะฟอสเฟต
๏ ช่วยลดความเค็มของดิน
๏ ช่วยให้ผลผลิตพืชต่างๆ มีคุณภาพ รสชาติดีเยี่ยม
๏ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่า 100 - 200 % ในบางพืช
อาทิ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ข้าว, ข้าวโพด)หรือพืช
พลังงาน อาทิ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
๏ ช่วยให้พืชทนดินเปรี้ยว ทนร้อน ทนแล้ง ทนหนาว
ทนดินเค็มได้ดี
๏ ช่วยให้พืชใบตั้งชัน ลำต้นแข็งไม่ล้มง่าย แผ่น
ใบแข็งตั้งรับแสงได้ดีทำให้เพิ่มการสังเคราะห์ได้
มากขึ้น
๏ ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบใบของพืช
๏ ขัดขวางการล่วงล้ำของเชื้อโรค เข้าไปในเซลล์
๏ เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลด์ให้สูงขึ้นในบางพืช อาทิ
แตงกวา และช่วยยืดอายุใบ ทำให้ใบหลุดร่วงช้า
ลง
๏ ป้องกันความเป็นพิษของแมงกานีสและเหล็กใน
ดินต่อพืชบางชนิด
————————————————————————
● ส่วนกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) ที่เป็นส่วน
ผสมร่วมกับ กรดซิลิซิค (Monosilicic acid) ใน
Sarcon ก็ทำหน้าที่ได้หลากหลายหน้าที่ อาทิ
๏ ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานเชื้อโรค (Systemic
acquired resistance : SAR) เสมือนเป็น
“วัคซีนพืช”
๏ ช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ที่เสื่อมสภาพให้เป็นเซลล์
ใหม่ (Revitalize)
๏ ช่วยเพิ่มการออกดอก การแตกราก และการแตก
ใบของพืช
๏ ช่วยเพิ่มคลอโรฟิลด์ให้พืช
๏ ช่วยเพิ่มความทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought
Tolerance)
๏ ช่วยเพิ่มระบบการหมุนเวียนน้ำในระบบท่อ
ลำเอียง(Vascular Tube)
๏ ช่วยลดกระบวนการหายใจของเซลล์ รักษา
คุณภาพและยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ไม่
ให้เน่าเสียเร็ว
๏ ช่วยคงความแน่นของเนื้อผล การเปลี่ยนแปลงสี
และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ
๏ ช่วยลดความเสียหายจากความเย็น (Cold Injury)
๏ ช่วยการเปิด-ปิดของปากใบ การงอกของเมล็ด
การดูดซับประจุ การแสดงออกของเพศ
๏ ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์และกระบวนการทำงาน
ของเอทธิลีนที่ทำให้ผลไม้สุกเร็ว ชะลอการสุกของ
ผลไม้
๏ ช่วยเพิ่มจำนวนฝักและผลผลิตของถั่วเขียว
๏ ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงและปริมาณของ
คลอโรฟิลด์
๏ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในกระบวน
การสังเคราะห์ฟลาโวนอยด์
๏ ช่วยเพิ่มทั้งผลผลิตและคุณภาพของพืช
๏ ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเจริญเติบโตให้พืช
ซาร์คอน : Silicon is the Secret
สร้างเกราะป้องกัน โรค &แมลง
กับ “ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค” (Orthosilicic acid)
Silicon and Plants: Current Knowledge and Technological Perspectives
The Effects of the Application of Foliar Sprays with Stabilized Silicic Acid: An Overview of the Results From 2003-2014
Importance of Silicon and Mechanisms of Biosilica Formation in Plants
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น