FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แนวทางบริหารและจัดการโรคพืชยุคใหม่

แนวทางบริหารและจัดการโรคพืชยุคใหม่

 ที่มีประสิทธิภาพ กับสารยุคใหม่ ที่ปลอดภัย
 และไม่ดื้อยา เพื่อแก้ปัญหาไวรัส แบคทีเรีย
 และเชื้อรา

(โรคใบด่าง ใบหงิก ใบหด ใบจุดวงแหวน ใบจุด
 เหี่ยว โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคราก
 เน่า โคนเน่า โรคเหี่ยวเฉา โรคใบไหม้ โรครา
 แป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคง
 เคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น)

☑️ ทำไม?
ต้อง..คู่นี้
☑️ ทำไม? ต้อง..
➡️ อีเรเซอร์-1” + “ซิกน่า”




▪️อีเรเซอร์-1 :
สารประจุบวก (+) อย่างแรง ที่สามรถฆ่าเชื้อโรค
 ได้แบบเฉียบพลัน ร่วมกับสารที่ทำงาน SA-
Signaling Pathway ในกระบวนการ SAR

▪️อีเรเซอร์-1 : สารเสริมประสิทธิภาพชนิดพิเศษ
 เพื่อการกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง
 สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคพืชทุกชนิด (ทั้งไวรัส
 แบคทีเรียและเชื้อรา) ที่อยู่ภายนอกได้อย่าง
 รวดเร็ว โดยการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง "อีเร
 เซอร์-1" มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโน
 เนียม (NH4+) หรือ Ammonium Salt of
 Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก (+)
อย่างแรงที่วิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์
 ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ใน
 ทันที



▪️กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1
สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของ
 เชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก(outer membrane )

2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane)

1) การออกฤทธิ์ที่ผนังเซลล์ชั้นนอก (outer
 membrane)
- ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ (-)อยู่ด้านนอก เรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก (+) จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ (-) อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดอย่างแรง จนเกิดเกิดรอยร้าวและรั่วขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

2) การออกฤทธิ์ที่ผนังเซลล์ชั้นใน(cytoplasmic
 membrane)
- Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ (-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้

- ถ้าประจุบวก (+) แรงพอ จะทำให้ผนังเซลล์แตก
 สลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สาร
 ภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์
 สูญเสียความแข็งแรง ตามรอยรั่วเข้าไปทำลาย
 อวัยวะภายในเซลล์ ซึ่งมีประจุลบ (-) โดยทันที
........................................................................

▪️ซิกน่า : 
สารอินทรีย์สังเคราะห์ในกระบวนการชีวเคมีของ
 พืช ที่มีกลไกการทำงานทาง SA-Signaling
 Pathway และ JA-Signaling Pathway และ
 ทำงานในกระบวนการ SAR และ ISR

▪️ซิกน่า : ZIGNA
สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคและ
 แมลง


▪️การป้องกันตนเองของพืช
(Plant Defense Response)

1. การป้องกันทางกายภาพ (Physical Barriers)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ)
ได้แก่Leaf hairs, Waxy cuticles, Actin
 microfilament, ect.
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น) Cell wall
 Strengthening, Lignification, Cell death, etc

2. การป้องกันทางเคมี (Chemical Defenses)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ) ได้แก่
 สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ อาทิเช่น
Alkaloids, Saponins, Terpenoids ในน้ำยาง
 เป็นต้น
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น)
1) Local Resistance อาทิ Phytoalexins, NO,
 ROI, etc.
 2) Systemic Resistance (Signaling Defense)
อาทิ SAR, ISR, SWR เป็นต้น



........................................................................

▪️Plant Systemic Defenses
ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack) ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway

3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่งสัญญาณทาง JA-Signaling Pathway




▪️Cell Signaling in Resistance
 (การส่งสัญญาณเซลล์เพื่อป้องกันตนเองของพืช)

1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitors) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธ์เชื้อโรคบางชนิด ปล่อยสารชักนำ (Elicitors) ไปยังพืชที่มีตัวรับสัญญาณ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำ (Elicitors) นั้นๆ และเกิดสัญญาณเซลล์ขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (Messengers) ไปยังเซลล์อื่นๆทั่วทั้งต้น ที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณ (Messengers) ที่สำคัญได้แก่ Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ

3. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองของเซลล์ต่อการถูกบุกรุก

4. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ได้ส่งสัญญาณให้ Defense genes สร้างสารต่อต้านการบุกรุกต่างๆขึ้นมา

▪️ข้อสังเกต : Nonhost Plant และ Host Plant ที่ต้านทานโรค จะมีผนังเซลล์ที่สามารถรับรู้การถูกบุกรุกจากสารชักนำ (Elicitors) ของเชื้อโรค ชนิดหนึ่งๆ ได้ ขณะที่พืชไม่ต้านทานโรคจะไม่สามารถรับรู้สารชักนำ (Elicitors) ของเชื้อโรคนั้นๆได้
........................................................................

▪️กลไกการทำงานของ ซิกน่า (ZIGNA)

▪️JA-Signaling Pathway

1. เกิดจากชิ้นส่วนผนัง Cell Wall ของพืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลงได้เป็น Oligosaccharides, Systemin หรือสารชักนำ (Elicitors) ไปจับกับ Receptors ของพืชที่ผนัง Cell Membrane ทำให้พืชย่อยสลายไขมันของผนังเซลล์ และเปลี่ยน Linoleic acid เพื่อสังเคราะห์เป็น Jasmonic acid ซึ่งจะเป็นสารส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วทั้งต้น และกระตุ้นให้ Plant Defense genes สร้างสารหลายๆชนิดออกมาเพื่อต่อต้านโรคและแมลง

2. ในกรณี ISR โมเลกุลรูปแบบของเชื้อโรค (PAMPs) ที่อยู่ในผนังเซลล์ด้านนอกของ PGRP จะเป็นสารชักนำ (Elicitors)

3. เอนไซม์ในน้ำลายหรือสารหลั่งของแมลงบางชนิดอาจจะย่อยสลาย Linoleic acid ไปเป็น Jasmonic acid (JA) ได้โดยตรง
.......................................................................

▪️JA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านเชื้อโรค

1. สารต่อต้านเชื้อโรคเป็นลักษณะ Broad Spectrum ออกฤทธิ์ได้ดีกับ Necrotrophic Pathogens ทุกชนิด

2. สารต่อต้านเชื้อโรคประกอบด้วย Defense Proteins หลายชนิดเช่น Defensins, Basic PR-Proteins, Hevein-like Proteins, Thionins,etc.

3. PR-Proteins เหมือน SAR แต่เป็น Basic PR-Proteins และอยู่ในช่องว่างในเซลล์ (Vacuole)

4. เกิด Priming Effect ทำให้พืชตอบสนองและต่อต้านการติดเชื้อโลกครั้งต่อไปได้เร็วและมากขึ้น

5. เสริมฤทธิ์กับ SA-Signaling Pathwayในการต่อต้านเชื้อโรค เพราะสารต่อต้านเชื้อโรคต่างชนิดกัน

▪️SA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านเชื้อโรค

1. avr-gene (Elicitor) จากเชื้อโรคเมื่อจับกับ R-gene (Receptor) ของพืช จะเกิด Hypersentitive Response (HR) ทำให้เกิดการตอบสนองในเซลล์และสังเคราะห์ Salicylic acid (SA) ออกมา เป็นสารส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วทั้งต้น และกระตุ้นให้ PR-gene สร้าง PR-Proteins ออกมาต่อต้านเชื้อโรค

2. PR-Proteins ที่เกิดขึ้นมีหลายตัว ซึ่งมีกลไกต่อต้านเชื้อโรคที่แตกต่างกันออกไป ทำให้สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้หลายตัวพร้อมๆกัน (Broad Spectrum) และออกฤทธิ์ดีกับ Biotrophic และ Hemi-Biotrophic Pathogens ทั้งในเชื้อราแบคทีเรีย และไวรัส

3. PR-Proteins จาก SAR เป็น Acidic PR-Proteins และอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular Space)

4. แบคทีเรียบางชนิดบริเวณราก (PGPT) สามารถทำให้เกิด SA-Signaling Pathway ในระบบ ISR ได้
.......................................................................

▪️ประโยชน์ของการใช้ซิกน่า

1. ใช้เพื่อเป็น “วัคซีนพืช” : สร้างภูมิต้านทานโรค
 และแมลงก่อนที่เชื้อโรคและแมลงจะเข้าทำลาย

2. ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคพืชทั่วไป และโรคพืช
 ที่รักษายาก และยังไม่มียารักษาโดยตรง อาทิเช่น
 โรคที่เกิดจากไวรัส (ใบหงิก, ใบด่าง ฯลฯ)
โรคกรีนนิ่ง เป็นต้น

3. ใช้เพื่อช่วยลดการระบาดของแมลงที่เป็นศัตรูพืช
 และแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆสู่พืช

4. ทั้งประหยัด ทั้งปลอดภัย เพราะสามารถลดการใช้
 ยาเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคและฆ่าแมลง ที่มีพิษสูง

5. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ใช้ได้จนกระทั่งถึงช่วงเก็บ
 เกี่ยว เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง

6. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและความแข็งแรงให้
 แก่พืช ช่วยฟื้นฟูสภาพของต้นพืชที่สุดโทรม และ
 ยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชด้วย
....................................................................

▪️เทคนิคการใช้ ซิกน่า

1. แนะนำควรใช้เป็นวัคซีนพืช ในการป้องกัน
 มากกว่าที่จะใช้รักษา

2. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงอาจ
 เพิ่มอัตราการผสมจากปกติ 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
(อัตรา 1 : 2,000) เป็น 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
(อัตรา 1 : 1,000) และฉีดพ่นถี่ขึ้นมาเป็นทุกๆ 5
วัน

2. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลง อาจ
 ใช้ร่วมกับยาตัวอื่นๆอาทิ “อีเรเซอร์-1” หรือ
“คาร์บ๊อกซิล-พลัส” ได้

3. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลง ควรมี
 การใช้ร่วมกับ พาร์ทเวย์, พาร์ทเวย์-เพาเวอร์ไฟว์
 หรือซูการ์-ไฮเวย์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์สารสร้าง
 ภูมิต้านทานโรคและแมลงให้เพียงพอ




▪️ส่วนประกอบของซิกน่า (ZIGNA)

1. Jasmonic acid : เป็นสารส่งสัญญาณผ่าน JA-Signaling Pathway กระตุ้นให้พืชสร้างโปรตีนและสารต่อต้านเชื้อโรคและแมลงตามธรรมชาติ

2. Salicylic acid : เป็นสารส่งสัญญาณผ่าน SA-Signaling Pathway กระตุ้นให้พืชสร้างโปรตีนต่อต้านเชื้อโรคพืชตามธรรมชาติ

3. สารผสมอื่นๆ
........................................................................

▪️Biotroph หมายถึง เชื้อโรคตามธรรมชาติ ได้รับ
 อาหารจากเนื้อเยื่อบนสิ่งมีชีวิต

▪️Necrotrophs หมายถึง เชื้อโรคที่ชอบสิ่งที่ตาย
 แล้วกินอาหารจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว

▪️Plant pathogens are often divided into biotrophs and necrotrophs, (and, more recently, hemibiotrophs) according to their lifestyles. The definitions of these terms are:

▪️Biotrophs derive energy from living cells, they are found on or in living plants, can have very complex nutrient requirements and do not kill host plants rapidly;
▪️Necrotrophs derive energy from killed cells; they invade and kill plant tissue rapidly and then live saprotrophically on the dead remains;
▪️Hemibiotrophs have an initial period of biotrophy followed by necrotrophy.

▪️Biotrophic pathogens,such as the fungi powdery mildew, downy mildew, Fusarium, Alternaria, Mycosphaerella, Cylindrocladium, all types of rust, and so on.

▪️Necrotrophic pathogens, such as the fungi Botrytis cinerea and Sclerotinia sclerotiorum, Rice Blast, however, can utilize dead tissue.

http://paccapon.blogspot.com/…/bypasschemicalpesticides.htm…
ซิกน่า มหัศจรรย์ Jasmonic acid

http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
 Plant Defenses

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
โลกร้อน แมลงเรืองอำนาจ

http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=0
ซิกน่า และ อีเรเซอร์-1


-------------------------------------------

สอบถามปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
 (โทร. จ-ศ 9.30-18.00 ,ส 9.30-12.00)

📲Line id : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อได้



หนอนกระทู้

ในช่วงนี้
จะมีการสอบถามเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนอนกระทู้
ลายจุดในข้าวโพดกันเข้ามาเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็ใช้สารเคมีที่ทางการแนะนำมาไปใช้แก้ปัญหาและฆ่าหนอน แต่ก็เอาไม่อยู่



และควบคู่กับการจัดการหนอนกระทู้นั้น เราควรหันมามองที่มาของสาเหตุของการระบาดให้ครอบคลุมในหลายๆด้าน ว่าเราจะลดปริมาณตัวแม่ผีเสื้อ ที่จะมาออกไข่ไปพร้อมๆกันด้วยดีไหม? เพื่อลดโอกาสในการระบาดลงไป หรือควรมีการลดปริมาณหนอนวัยเล็กที่ออกจากไข่มาใหม่ในจำนวนมาก ให้ลดจำนวนน้อยลงไปบ้างดีไหม? โดยให้มันตายไปเพราะกินพืชอาหารไม่ได้นั่นไง !!


▪️วิธีบริหารและจัดการแบบผสมผสาน
ทั้งสารเคมี, ทั้งชีวเคมีประยุกต์ และทั้งชีววิธี
กับแนวทางใหม่ๆที่ใช้ “กลไกการเลียนแบบทางธรรมชาติของพืช” ในการป้องกันตนเอง (Plant Defenses)

▪️ซิกน่า (Zigna) : จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณทางชีวเคมี (ISR) เพื่อที่จะขับไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้มันเข้ามาใกล้พืช หรือเข้ามาทำลายพืชในไร่สวนของเรา ตลอดจน “ซิกน่า” ยังทำหน้าที่ในการส่งสารบางอย่าง (Volantile) เพื่อดึงดูด (Attractor) พวกแมลงพิฆาตต่างๆ ทั้ง Predator, Parasitiods (ตัวห้ำ, ตัวเบียน) ให้เข้ามาพิฆาตหรือเข้ามากำจัดแมลงศัตรูพืช ที่ทำลายพืชของเรา หรือว่าถ้ายังมีแมลงศัตรูพืชบางส่วนหลุดเข้ามากินพืชของเราเป็นอาหาร “ซิกน่า” ก็ยังมีวิธีการจัดการได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ..การกระตุ้นให้มีการยับยั้งการสร้างเอนไซม์บางตัว (Proteinases inhibitor) ในกระเพาะอาหารของหนอนและแมลง ที่จะทำให้อาหารในกระเพาะแมลงที่แมลงกินเข้าไปมันไม่ย่อย แมลงเองก็จะท้องอืดตายไป อีกทั้งยังจะหยุดกินอาหารไปในที่สุด และหยุดการทำลายพืชลงไปได้บ้าง





นี่คือ..หน้าที่หลักๆของ “ซิกน่า” ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยปกป้องพืช โดยการเลียนแบบการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของพืช (Plant Defense) นั่นเอง



อีกทั้ง..เมื่อใช้ “ซิกน่า” ร่วมกับ “ซาร์คอน” ซึ่งเป็น
กรดซิลิคอน (Orthosilicic acid) หรือเป็นธาตุเสริมประโยชน์ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้ และถูกดูดซึมเข้าไปสร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์ (Cell Wall) ซึ่งเสมือนเป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) ให้กับพืช เมื่อแมลงศัตรูพืชจะเข้ามากัดกินหรือเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากพืชของเรา ก็จะยากขึ้นเพราะมันจะแข็งมาก กัดหรือเจาะดูดลำบาก จนไม่อยากจะกัดกินเพราะมันยาก, เจาะดูดก็ยาก ปากก็จะหักปากก็จะพังเอาได้ง่ายๆ สู้หนีไปหาของที่กินง่ายๆ และอร่อยกว่าน่าจะดีกว่าไหม? พืชที่ฉีด “ซาร์คอน” ไว้ กินอย่างไงก็กินยาก กินอย่างไงก็ไม่อร่อย จริงไหม?
นี่..เราลองคิด “แบบหนอนๆ” ดูนะ




▪️ถ้าถามว่าใช้ “ซิกน่า” และ “ซาร์คอน”
มันจะช่วยแก้ปัญหา หรือปกป้องพืชได้ขนาดไหน?

ก็ขอตอบว่ามันน่าจะป้องกัน “ได้ดีในระดับหนึ่ง” ซึ่งแมลงศัตรูพืชอาจจะ  “แพ้ทาง”  กับวิธีการแบบนี้ก็เป็นได้ เพราะเป็นวิธีการทางธรรมชาติ ที่พืชใช้ในการป้องกันตนเอง (Plant Defenses) ตลอดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว มันอาจจะไม่ใช่วิธีการที่นิยมใช้กันในสมัยปัจจุบัน ที่มุ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการใช้สารเคมีอาจจะมีค่าใช้ที่ต่ำกว่า และมันก็เป็นวิธีการที่ง่ายในการใช้สารเคมีเป็นหลักแต่เพียงด้านเดียว ที่จะไปฆ่าแมลงศัตรูพืชให้ตายไปต่อหน้าต่อตาแบบสะใจชนิดเฉียบพลัน แต่สารเคมีมันก็เป็นวิธีที่จะทำให้แมลงศัตรูพืชมีโอกาสดื้อยาได้ง่ายๆ แถมยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย




▪️ดังนั้น..การใช้วิธีตามแนวทาง “ชีวเคมีประยุกต์” ที่กล่าวมานี้ มันจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ในการลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ แต่ยั่งยืนกว่า และก็ให้เรารู้ว่า แมลงศัตรูพืชนั้นมันจะมี “สัญชาตญาณ” ในการหนีตาย หรือการเอาตัวรอดได้ อะไรที่มันเป็นเขตอันตราย และมีการส่งสัญญาณเตือนมันว่า “อย่าเข้าไป” หรือว่า “มันไม่ควรเข้าไปใกล้ๆ” และไม่ควรเข้าไปตรงนั้น มันก็จะหนีไปให้ไกล ไม่เข้าไปใกล้ๆ ให้ต้องไปเสี่ยงภัยบริเวณนั้น ที่อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หรือว่าแหล่งพืชอาหารที่มันจะเข้าไปกินหรือเข้าไปทำลายให้เสียหาย ถ้ามันไม่ชอบ มันก็อาจจะไม่กินและหนีไปหากินที่ใหม่ดีกว่า ไปหาของกินที่กินง่ายๆ ไปหาของกินที่อร่อยจะดีกว่าไหม? ถ้าพืชอาหารที่จะกินมันกินยาก มันแข็ง, กัดไม่เข้า, กินไม่อร่อย ดีไม่ดีฟันก็หัก ปากก็พัง มันก็ไม่อยากกิน ไปหาของกินที่กินง่ายๆจะดีกว่าท่านว่าจริงไหม?

.........................................................................

▪️แนวทางการป้องกันกำจัด (IPM)
- หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm : FAW) ที่กำลังระบาดและอาละวาดอยู่ในขณะนี้ ที่ได้ผลดี และไม่ได้มุ่งแต่เน้นสารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในขณะนี้น่าจะมีปัญหาในการดื้อยาเคมีไปแล้วสำหรับหนอนตัวนี้

หากพบหนอนขนาดเล็กให้เก็บหนอนทำลายทิ้ง และใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ ยาเชื้อ BT (จะสายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์เคอร์สตากี้ ก็ได้) ชนิดผง อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-7 วัน เมื่อพบการระบาด หากพบไข่ให้ทำลายทิ้งโดยเก็บกลุ่มไข่ทำลายทิ้งและใช้แมลงหางหนีบ ส่วนตัวเต็มวัย (แม่ผีเสื้อกลางคืน)ให้ทำลายโดยใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 80 กับดัก/ไร่ สำหรับหนอนขนาดใหญ่ให้ทำลายโดยใช้แมลงตัวห้ำ ได้แก่ แมลงหางหนีบหรือมวนพิฆาต (สำหรับตัวเต็มวัยหรีอแม่ผีเสื้อ การฉีดพ่นด้วย “ซิกน่า” จะช่วยส่งสัญญาณ ISR ขับไล่ ไม่ให้เข้ามาวางไข่ในแปลงข้าวโพดของเรา) ในกรณีที่ใช้เคมี ให้ใช้ในกรณี “ฆ่าตัดตอน” ถ้าจะใช้สารเคมี ควรมีการสลับกลุ่มสารตามคำแนะนำด้วย เพื่อป้องกันการดื้อยาของหนอน



🌓 การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
(Integrated Pest Management : IPM)

1) วิธีกล (เก็บด้วยมือ ถ้าพบเห็นไม่เยอะ)
2) ชีววิธี (B.T., Predator, Parasitoids)
3) ชีวเคมี (JA, OSA)
4) สารเคมี เพื่อตัดตอนกรณีมีหนอนระบาดมาก

#อย่ามุ่งแต่ทางเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

🌎 แนวทาง : แนวทางชีวเคมี
▪️SA- Signaling Pathway
▪️JA- Signaling Pathway
▪️OSA- Mechanism

https://paccapon.blogspot.com/2019/02/bypasschemicalpesticides.html?m=0&fbclid=IwAR2EpSXjOSelxVw-SJyfPkVXWPhFeKJPCkEw6x5Q9CnW4hkMAhdSkfxwsDg
มหัศจรรย์ “จัสโมนิก แอซิด”
(Jasmonic acid)

https://paccapon.blogspot.com/2019/02/orthosilicic-acid.html?m=0&fbclid=IwAR1V3fAt5l0M5tVqT-kFxk_cgug7Hcqjq4sDyb8GyORinycCoATDCXjZa9k
มหัศจรรย์ “ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค”
(Orthosilicic acid)
.........................................................................

▪️ภาคผนวก :

⏺ ซาร์คอน + ออร์ซ่า
“สร้างผนังซิลิก้าให้หนาและแข็ง/แกร่ง”
ต้นและใบแข็งแรง แบบผนังคอนกรีต
เสมือนพืชสวม “เสื้อเกราะ “ป้องกันตัว
ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายใดๆ

▪️ใช้กระบวนการสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่ง
เพื่อเป็นเกราะป้องกัน (Cell Wall Barrier) การ
เข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ด้วยกลไกของ
Silicon ในรูปของ Orthosilicic acid

▪️Orthosilisic acid ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ “Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ "Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็น “ผลึกแข็ง” (Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปสะสมที่ "ผนังเซลล์" (Cell Walls) ต่อไป “ผนังเซลล์” ก็จะแข็งแกร่งเสมือน "ผนังคอนกรีต" ที่เป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) พืชต่อไป

▪️ในใบพืช : ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells)

▪️ ซิลิคอน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้าย
ต่าง ๆ และโดยปกติพืชจะได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางราก และเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ (Cell Wall) ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป Silicon – Cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
........................................................................

⏺ ซิกน่า (ZIGNA) :
สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทาน
โรคและแมลง

▪️JA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านแมลง
▪️สารต่อต้านแมลงที่ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. Alkaloids ต่างๆ อาทิ Nicotine, Saponin, เป็นต้น ทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง
มีผลต่อเอนไซม์ต่างๆ

2. Proteinase Inhibitors (PIs) มีผลต่อเอนไซม์ในการย่อยของแมลง ทำให้ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแมลงและทำให้สร้างน้ำย่อยในทางเดินอาหารมากเกินไป

3. Volatile Signals อาทิ Terpenes, Indoles, ฯลฯ สารระเหยส่งเป็นสัญญาณ มีผลทางตรงในการไล่แมลงศัตรูพืช และมีผลทางอ้อมโดยเรียกแมลงล่าเหยื่อ (Predators) มากำจัดแมลงศัตรูพืชนอกจากนั้นยังส่งสัญญาณเตือนภัยไปให้กับพืชอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงด้วย




........................................................................

🌎 Plant Systemic Defenses
- ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack) ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway

3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่งสัญญาณทาง JA-Signaling Pathway
.......................................................................

🌎 Plant Defenses
▪️โดยปกติแล้ว
พืชมีระบบป้องกันตัว 2 แบบ คือ

1) แบบ Constitutive Defense Response
2) แบบ Induced Defense Response
- ซึ่งความแตกต่างอยู่ตรงที่ระบบจะตอบสนองก่อนหรือหลังจากถูกโจมตี การตอบสนองนั้นในบางครั้งได้ผลลัพธ์เป็นสารต่อต้านตัวเดียวกัน นั่น..ก็คือ
พวก "สารทุติยภูมิ"(secondary metabolite)

1) แบบ Constitutive Defense Response :
คือระบบจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีความจำเพาะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของพืช (species-specific) และระบบจะมีการเก็บรวบรวมสาร ซึ่งอาจใช้เป็น Precursor สำหรับตอบสนองได้ทันทีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นหรือเป็นสารทุติยภูมิที่เป็นพิษต่อแมลง หรือน้ำมันหอมระเหยที่จะดึงดูดแมลงศัตรูธรรมชาติ (Predator) ให้มาจัดการครับ

2) แบบ Induced Defense Response :
เป็นระบบที่เปิดขึ้นเมื่อตรวจพบการโจมตี ซึ่งจะมีการตอบสนองขึ้นอยู่กับระดับการโจมตี
แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

1. Phloem feeders พวกเจาะกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะทำให้มีบาดแผลเล็กน้อยที่ Epidermis และ Mesophyll cells แต่จะมีการตอบสนองไปในแนวทางของการรับมือกับเชื้อก่อโรคที่ติดตามมากับบาดแผลมากกว่า

2. Cell content feeders พวกกินเนื้อไม้ จะทำให้เกิดบาดแผลปานกลางแก่ต้นพืช

3. Chewing insects พวกปากกัดแทะ เช่นพวกหนอนผีเสื้อ หนอนกินใบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่พืช ซึ่งจะมีระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
.......................................................................

✔️"ระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
ต่อน้ำลายของแมลง” :

- เมื่อมีการโจมตีโดยแมลงศัตรูคู่อาฆาต โมเลกุลในน้ำลายของแมลงจะมีส่วนช่วยในกระบวนการกระตุ้นระบบป้องกันโดยตรง ยกตัวอย่างในหนอนผีเสื้อบางชนิด น้ำลายของมันจะมี "กรดอะมิโน กลูตามิน" อยู่มาก ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับกรดไขมัน, ไลโนเลนิคและ ไลโนเลอิค โดยใช้เอ็นไซม์ที่อยู่ในพืช รวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ Fatty acid-Amino acid หรือ Fatty acid Amides แล้วมีการเติมหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่งที่ 17 ของไลโนเลนิค เรียกชื่อสารนี้ว่า Volicitin ซึ่งสารตัวนี้จะมีความสามารถในการชักนำให้มีการสร้างสารหอมระเหย (Volatine) ในพืชและเมื่อพืชได้รับสัญญาณนี้ก็จะมีการกระตุ้นวิถีป้องกันหลักที่ชื่อว่า Octadecanoid Pathway ที่จะนำไปสู่การสร้างสารสัญญาณ Jasmonic acid (JA-Signaling Pathway)

▪️Jasmonic acid (JA) : จะมีบทบาทต่อไปในการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนพืชบางชนิดที่มีคุณสมบัติขัดขวางการย่อยของแมลงศัตรูพืช อาทิเช่น สาร Alpha amylase inhibitors ที่จะไปเอนไซม์ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตของแมลง และ/หรือ Lectin ที่จะเข้าไปจับกับคาร์โบไฮเดรต หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตโปรตีนหลังจากการย่อย Lectin จะไปจับอยู่กับ Epithelial cells ส่งผลยับยั้งการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย สารตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ "Proteinase Inhibitors" ที่จะไปทำหน้าที่ยับยั้งการย่อยสลายโปรตีน โดยจะไปจับจำเพาะกับเอ็นไซม์เช่น trypsin, chymotrypsin ของแมลงนั้น ๆอย่างไรก็ดี แมลงบางชนิดก็มีการปรับตัวเพื่อให้ตัวมันเองมีความสามารถในการทำลาย หรือนำสารต่อต้านของพืชมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้การรุกรานประสบผลสำเร็จแต่พืชเองก็มีการปรับตัวต่อต้านเช่นกันเกิดเป็นวิวัฒนาการร่วมกันต่อเนื่องมาหลายล้านปีต่อมา

▪️แหล่งอ้างอิง :
1) Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006. (Secondary metabolite and plant defence)
2) Molecular Plant Pathology, Annual Plant Reviews V.4Matthew Duckinson และ Jin Beynon

.......................................................................


http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
Plant Defenses การป้องกันตนเองของพืช

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
โลกร้อน แมลงเรืองอำนาจ



สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
084-8809595 , 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com
(พิมพ์ @ ด้วยนะคะ)

หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน
แล้วทักแชทได้เลย
https://lin.ee/nTqrAvO  


https://www.facebook.com/100003533767367/posts/2130110870450018?s=100003533767367&sfns=mo