FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"ลำไยนอกฤดูเงินล้าน" กับออร์กาเนลไลฟ์



ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นไม้ผลอันดับที่ 1  คู่กับวัฒนธรรมและชุมชนของผู้คนในจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนมาช้านาน  สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว  สร้างฐานะความเป็นอยู่ส่งลูกหลานเรียนจบทั้งในและต่างประเทศ  ลำไยเป็นพืชที่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นเพื่อกระตุ้นการออกดอกในฤดูช่วงเดือนมกราคม  พื้นที่ปลูกลำไยริมฝั่งแม่น้ำปิง    คนเฒ่าคนแก่เรียกพื้นที่น้ำไหลทรายมูล  ฤดูกาลที่ลำไยออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น  พันธุ์ที่ปลูกได้แก่  พันธุ์สีชมพู  พันธุ์เบี้ยวเขียว  พันธุ์แห้ว  และพันธุ์อีดอ  (พันธุ์ที่ออกก่อนฤดู)  การบริหารจัดการและระบบการผลิตพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่


ในปี  2541  มีการค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรต  ที่สามารถทำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูกาลได้  โดยช่างทำดอกไม้ไฟไม่ต้องอาศัยอากาศหนาวเย็นก็สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้  สามารถปลูกได้ทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศ  ทำให้มีการขยายพื้นที่การปลูกอย่างมากในภาคเหนือตอนบน  และภาคตะวันออกในอำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว  จังหวัดจันทบุรี  ซึ่งผลิตลำไยนอกฤดูเท่านั้น  สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรเจ้าของสวนเป็นกอบเป็นกำกว่าไม้ผลดั่งเดิมของจังหวัด  ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตเหมือนกับลำไยในจังหวัดอื่น ๆ  ที่มีปัญหาบางปีลำไยให้ผลผลิตมาก  ผลผลิตล้นตลาด  ราคาถูก  ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต

ซึ่งปัญหาการผลิตลำไยในภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่และลำพูน  ยังเป็นการผลิตลำไยในฤดู  และอาศัยปัจจัยการผลิตโดยอิงธรรมชาติแบบดังเดิมอยู่ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างน้อยและเป็นส่วนน้อยที่ผลิตลำไยนอกฤดู  ทำให้ขาดแคลนแรงงานในช่วงลำไยออกสู่ตลาด  ลำไยต้นสูงต้องเสียเวลาในการปีนเก็บและค่าไม้ค้ำ  คุณภาพขนาดของผลและสีผลไม่ตรงตามความต้องการตลาด  ผลผลิตกระจุกตัวทำให้พ่อค้าได้เปรียบ  การแปรรูปรองรับไม่ทัน  สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลกระทบและเกี่ยวข้องกับเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในฤดู


เทคนิคและการบริหารจัดการลำไยนอกฤดู

ระยะปลูก          10x10  เมตร
ในส่วนของการบริหารจัดการการผลิตลำไยให้ประสบความสำเร็จจะต้องเอาการตลาดเป็นตัวนำการผลิต  เพราะเมื่อผลผลิตออกจะตรงกับความต้องการของตลาดและราคาจะสูง  โดยในสวนจะแบ่งการผลิตออกเป็น  4  ส่วน ๆ ละ  200-300  ต้น  ตามเทศกาลของประเทศจีนเป็นหลัก  และลดความเสี่ยง  คือ

ช่วงที่ 1  ให้สารเดือนมีนาคม  เก็บผลผลิตเดือนกันยายน  ตรงกับงานชาติจีน


ช่วงที่ 2  ให้สารเดือนเมษายน  เก็บผลผลิตเดือนธันวาคม  เทศกาลปีใหม่สากล


ช่วงที่ 3  ให้สารเดือนมิถุนายน  เก็บผลผลิตเดือนมกราคม  ก่อนเทศกาลตรุษจีน


ช่วงที่ 4  ให้สารเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม  เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม  วันเช็งเม้ง


นอกจากการใช้ตลาดเป็นตัวนำแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ  ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอและความสมบูรณ์ของต้นลำไยและการแบ่งทำเป็นรุ่น ๆ  จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคา


การตัดแต่งกิ่ง
ตัดแต่งกิ่ง  2  รูปแบบ  คือ  ทรงเปิดกลางทรงพุ่มและทรงฝาชีหงาย
ความสูงประมาณ  3  เมตร  ข้อดีของการตัดแต่งกิ่ง  คือ  ต้นเตี้ยการเก็บเกี่ยวและการจัดการง่าย  ทรงพุ่มโปร่งไม่ค่อยมีโรคและแมลงระบาด  การตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตดี  ออกดอกติดผลดี  ผลโตสม่ำเสมอ

การแตกใบอ่อน
แตกใบอ่อน  2  ครั้งเป็นอย่างน้อย  ถึงจะกระตุ้นการออกดอก

การให้สารโพแทสเซียมคลอเรต
ระยะใบเพสลาด  คือ  ใบเริ่มจะแก่จึงเริ่มให้สารโพแทสเซียมคลอเรต  ต้องวิเคราะห์ความบริสทุธิ์ของสารคลอเรต  ก่อนโดยส่งให้ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม  คณะผลิตกรรมการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างละ  90  บาท  เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเป็นสารที่บริสุทธิ์จะได้กำหนดปริมาณสารให้ถูกต้อง  และไม่เกิดปัญหากับการออกดอกของลำไยตามมาภายหลัง  เพราะถ้าหากไม่บริสุทธิ์จะทำให้ลำไยออกดอกไม่สม่ำเสมอ  ทำให้ขาดทุน  และกว่าจะรู้ต้องรอถึง  25  วันขึ้นไปกว่าลำไยจะแทงช่อดอก

วิธีการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต
-  ต้นลำไยอายุ  13-15  ปี  ให้สาร  1  ถึง  1.5  กิโลกรัม
-  ทำความสะอาดภายในทรงพุ่ม
-  หวานสารคลอเรตในทรงพุ่มและใช้บัวรดน้ำรดน้ำตามพอให้สารละลายหมด
-  ให้สารช่วงตอนเช้าจะได้ผลดีที่สุด  (ตอนบ่ายหยุด)
-  หลังจาก  25  วัน  ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอกให้เห็น

การให้น้ำ
ทำคันรอบทรงพุ่มลำไย  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยการสังเกตว่าถ้าดินในทรงพุ่มเริ่มแห้งก็ให้น้ำ

การให้ปุ๋ย
เก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
1.  ให้ปุ๋ยช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง โดยให้ปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยคอกหรือสูตรตัวหน้าสูง  สูตร  25-7-7
2.  ให้ช่วงการแตกใบอ่อนแต่ละครั้ง  โดยใช้สูตรเสมอ  เช่น  15-15-15
3.  ให้เมื่อติดผลเท่าหัวไม้ขีดไฟให้สูตรเสมอ  สูตร  15-15-15
4.  ให้เมื่อเมล็ดเริ่มเปลี่ยนสีจากขาวเป็นน้ำตาลให้สูตรตัวหลังสูง  สูตร  13-13-21
KClO3


ความเป็นมาของการใช้โพแทสเซียมคลอเรตเร่งดอกลำไย
โพแทสเซียมคลอเรต สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการทางเคมี โดยใช้วิธีการผ่านก๊าซคลอรีนลงในสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่อุณหภูมิสูงหรือวิธีการผ่านกระแสไฟฟ้าในสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเกิดโพแทสเซียมคลอเรตตกผลึกในสารละลาย
คุณสมบัติทางเคมี
- ประกอบด้วยธาตุโพแทสเซียม (K) คลอรีน (Cl) และออกซิเจน (O)
- จุดหลอมเหลว 356 องศาเซลเซียส
- ไม่ดูดความชื้น
- เป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง และจะปล่อยออกซิเจนอย่างรวดเร็วในปริมาณมาก
การค้นพบเกี่ยวกับประโยชน์ของสารโพแทสเซียมคลอเรตสำหรับใช้เร่งดอกลำไยให้ออกนอกฤดู นั้น ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยนักทำดอกไม้ไฟในเมืองจีน ราว พ.ศ. 2525 ที่นำประทัดไปทิ้ง และฝังไว้บริเวณโคนต้นลำไย จนสังเกต พบว่า ลำไยมีการออกดอก และติดลูกนอกฤดูในทุกปี ในช่วงหลังมีการทดลองนำน้ำล้างภาชนะใส่สารดอกไม้ และน้ำละลายสารดอกไม้ไฟมาเทรดโคนต้นลำไย จนเป็นที่ทราบว่าสารในดอกไม้ไฟสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูได้ แล้วมีการทดลองใช้ และผลิตออกมาจำหน่ายในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะนำเข้ามาจากประเทศจีน

วิธีการใช้
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อเร่งลำไยให้ออกนอกฤดู นิยมทำก่อนหน้าฤดูลำไยจะออกดอกในทุกปี โดยการหว่านโพแทสเซียมคลอเรตหรือใช้ละลายน้ำรดบริเวณโคนต้นลำไย ในอัตราตั่งแต่ 8 กรัม/ตารางเมตร หลังจากนั้นประมาณ 20-30 วัน ลำไยจะแทงช่อดอกออกมา ทั้งนี้ จะทำร่วมกับการตัดแต่งกิ่งจนใบลำไยที่แตกกิ่งใหม่เป็นใบแก่แล้ว ไม่ควรใช้ในระยะมีใบอ่อน เพราะจะให้ดอกน้อย

กลไกการกระตุ้นดอก
โพแทสเซียมคลอเรตเมื่อแตกตัวจะให้อนุมูลคลอเรต ที่เป็นประจุลบของ ClO3 เข้าจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสที่พืชสร้างขึ้นสำหรับเปลี่ยนไนเตรท (NO3) เป็นไนไตรท์ (NO2) และเป็นกรดอะมิโนสำหรับการเจริญเติบโตที่ได้จากการดูดแร่ธาตุในดิน
กลไกการกระตุ้นให้ลำไยออกดอกยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่มีการวิจัย และตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ คือ
1. เมื่ออนุมูลคลอเรตจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสกลายเป็นประจุลบของ ClO2 ทำให้เอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสไม่สามารถทำงานได้จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบให้ชะงักลง ทำให้ต้นลำไยกระตุ้นการสร้างดอกขึ้นมาทดแทน

2. เมื่อต้นมีการหยุดชะงักของการเจริญเติบโตทางใบจากผลของ ประจุลบ ClO2 จาการใส่โพแทสเซียมคลอเรตทำให้อัตราคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ในลำต้นมีอัตราเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้ต้นลำไยเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอกแทน


ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากโพแทสเซียมคลอเรตเป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง สามารถให้ออกซิเจนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับเป็นสารที่ไม่ดูดความชื้นจึงอาจเกิดการระเบิดได้ง่ายเมื่อถูกกระแทกหรือเสียดสี
2. เมื่อผสมกับวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงอโลหะ เช่น ผงถ่าน ผลอลูมิเนียม ผงสังกะสี ผงแมกนีเซียม จะมีคุณสมบัติติดไฟ และระเบิดได้ง่าย
3. การจัดเก็บ ควรจัดเก็บในโรงเรือนที่แดดไม่ส่งถึง การระบายอากาศดี ไม่มีความชื้น

บทความจาก : ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            การผลิตลำไยนอกฤดู 
                           

ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนลำไยกำลังตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก
เกี่ยวกับการใช้สารเคมีเพื่อให้ลำไยออกดอกนอกฤดูกาล เพราะปกติแล้วการออกดอกติดผลของลำไยจะต้องมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม กล่าวคือ ช่วงก่อนการออกดอก ใบและยอดจะต้องหยุดการผลิใบ มีการสะสมอาหารเพียงพอ ใบอยู่ในสภาพแก่ทั้งต้น มีอุณหภูมิหนาวเย็นประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส ช่วงหนึ่งก่อนการออกดอก
เมื่อมีการใช้สารเคมีทำให้ลำไยออกดอกได้แล้วความหนาวเย็นก็จะไม่มีความจำเป็นต่อการออกดอกของลำไยอีกต่อไป
                                         
แต่ในการผลิตลำไย นอกจากจะมุ่งผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณของผลผลิตแล้วผู้ผลิตควรจะต้องคำนึงถึงการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพทางการตลาดด้วยซึ่งในการเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตนั้น เกษตรกรต้องมีความรู้และความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของต้นเพื่อการออกดอกติดผลตลอดจนการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณ และปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการผลผลิตลำไย ให้มีคุณภาพ เพื่อให้การลงทุนทำสวนลำไยนั้นได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
หัวใจสำคัญ
         1.ต้องเตรียมต้นลำไยให้สมบูรณ์ สะสมอาหารได้มากพอ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
         2.รู้จักการใช้สารอย่างถูกต้อง ทำความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของสารที่จะใช้ ซึ่งมีผลต่อต้นพืช
         3.สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ฝนไม่ตกชุก และอากาศไม่หนาวเย็นเกินไป ช่วงดอกบาน
         4. มีความพร้อมทั้งด้านทุน แรงงาน และเวลาในการดูแลรักษา

กระบวนการออกดอกของลำไยโดยธรรมชาติ  ในปัจจุบันนักวิชาการเชื่อว่าก่อนที่พืชทั่วไปจะออกดอกนั้น จะต้องมีการเก็บสะสมอาหารที่อยู่ในรูปคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสง   จนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งเพียงพอต่อการนำไปใช้เป็นพลังงานในการสร้างตาดอก ได้ต่อปีต้องมีการลดระดับการสร้างฮอร์โมนพืชบางชนิดลง เช่น จิบเบอเรลลิน เพื่อไม่ให้ไปควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์ โปรตีน และสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ภายในเซลล์พืช ซึ่งจะทำให้พัฒนาการทางด้านการแตกกิ่ง ใบ ลดลง
               

                                                                                                                                                                                                                                           สำหรับในลำไยก็เช่นเดียวกันกระบวนการออกดอกในแต่ละรอบปี หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เมื่อมีการให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างมาก ช่วงนี้ต้นลำไยจะได้รับธาตุไนโตรเจน (N) อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินได้ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลำไยแตกใบอ่อนขึ้นต่อมาในช่วงที่ใบเจริญก็จะมีการสังเคราะห์แสง สร้างพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของต้น

       ดังนั้น ช่วงนี้พลังงานและสารอาหารจึงมักจะถูกใช้หมดไป ประกอบกับฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ภายในต้นยังมีระดับค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดการแตกใบอ่อนอีกประมาณ 1-2 ชุด เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ฝนทิ้งช่วง ดินแห้ง ต้นลำไยจะลดการสร้างฮอร์โมนจิบเบอเรลลินลง ทำให้หยุดการแตกใบอ่อนประกอบกับต้นลำไยมีการสะสมอาหารมากพอ จนถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้   เมื่อมีอุณหภูมิต่ำประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส ระยะหนึ่ง ก็จะทำให้ลำไยออกดอกได้
กระบวนการออกดอกของลำไยที่ทำสาร โปแตสเซียมคลอเรต (Potassium Chlorate) เป็นสารประเภทออกซิไดซิ่งเอเจนท์ที่แรงมาก เช่นเดียวกับโซเดียมคลอเรต
(Sodium Chlorate) หรือโลหะคลอเรตอื่น ๆ ถ้าผสมกับสารพวกรีดิวซิ่งเอเจนท์ เช่น กำมะถัน น้ำตาลทรายและรีดิวซิ่งเอเจนท์ต่าง ๆ หรือสารไฮโดรคาร์บอน หรือรวมกับกรดกำถัน จะเกิด ปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่องและเกิดการระเบิดได้ การขัดถู การเสียดสี การบดอัด ก็เกิดการจุดชนวนระเบิดได้ เช่นเดียวกับประกายไฟ เมื่อใช้โปแตสเซียมคลอเรต หรือโซเดียมคลอเรต ละลายน้ำราดลงดิน พอรากพืชดูดสารคลอเรตเข้าไปในระบบ จากการที่เป็นออกซิไดซิ่งเอเจนท์ที่แรงจัด ก็จะไปออกฤทธิ์กับสารรีดิวซิ่งเอเจนท์ในรากและระบบท่อน้ำของพืช ทำให้การเจริญเติบโตของรากหยุดชะงักอย่างรุนแรง ซึ่งที่สำคัญคือสารนี้จะเข้าแข่งขัน แก่งแย่งหรือทำลายการทำงานของเอนไซม์ไนเตรทรีดั๊กเต๊ซ (nitrate reductase:NR) เท่ากับเป็นการหยุดการทำงานของไนโตรเจนเมทาโบลิซึม (nitrogen metabolism) คือทำให้จำนวนไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ในต้นพืชลดลงฉับพลัน แต่พืชยังสร้างคาร์โบไฮเดรตได้ตามปกติ ทำให้ต้นลำไยมี ซี:เอ็น เรโช (C/N ratio) กว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว และลำไยก็ออกดอกได้ลำไยที่ถูกราดสารต้องได้รับการให้น้ำอย่างมากหรืออย่างเพียงพอ เพื่อให้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของราก ทำหน้าที่แทนรากขนอ่อนที่ถูกทำลายไปถ้าใช้มากหรือเข้มข้น เกินไป จะทำให้พืชใบเหลืองตามอาการขาดไนโตรเจน ซึ่งที่จริงไม่ได้ขาด แต่สารคลอเรตทำให้พืชใช้ไนโตรเจนไม่ได้ ในสภาพที่รากพืชไม่ได้รับปุ๋ยในรูปของ   ไนเตรท
ต้นจะอ่อนไหวและอ่อนแอมากต่อคลอเรต แต่ในทางกลับกันหากสภาพแวดล้อมของรากอุดมด้วยไนเตรท การใช้สารคลอเรตมักได้ผลไม่เต็มที่ การเปลี่ยนจากตาใบ ไปเป็นตาดอกของลำไยนี้ ตายอดของลำไยจะต้องอยู่ในระยะที่กำลังผลิ (Active) หากไม่ได้ให้น้ำหรือตาอยู่ในระยะพักตัว การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลส่วนหนึ่งที่พบว่าภายหลังจากการราดสารคลอเรตแล้ว ต้นลำไยไม่ออกดอก หรือตายไป ดังนั้น การให้น้ำภายหลัง การให้สารแล้ว จะช่วยให้ปริมาณของสารคลอเรตนี้ลดลงไปได้ทางหนึ่ง นอกจากนี้การให้ปุ๋ยในรูปไนเตรท ภายหลังจากต้นออกดอกแล้ว อาจจะเป็นช่องทางหนึ่ง ของการฟื้นฟูสภาพต้นลำไยเนื่องจากต้นได้ถูกยับยั้งการใช้ธาตุไนโตรเจนไปอย่างรุนแรง

ช่วงที่เหมาะสมในการกระตุ้นการออกดอกด้วยสารคลอเรต 

ผู้ที่จะผลิตลำไยมีจุดประสงค์หลักอย่างเดียวกันคือ ต้องการให้ต้นลำไยสามารถออกดอกติดผล และมีผลผลิตออกจำหน่ายได้ก่อนหรือหลังฤดูปกติ แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตจำเป็นต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องที่ มาประกอบการตัดสินใจด้วยว่าควรจะใช้สารคลอเรตกับลำไยในช่วงใด  จึงจะประสบผลสำเร็จได้ดีที่สุด ซึ่งในที่นี้จะขอแนะนำเป็น 3 ช่วงคือ

1.ช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม จะสามารถผลิตลำไยออกหลังฤดูปกติประมาณ 2-4เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้อื่นในตลาดไม่มากนัก (ตุลาคม – มกราคม) หลักสำคัญก็คือ จัดเป็นช่วงที่ในระยะการพัฒนาการของผลลำไยอยู่ในฤดูฝน เหมาะสำหรับในเขตที่อาศัยน้ำฝนหรือแหล่งน้ำในสวนมีไม่มากนัก ข้อจำกัดที่มักจะเกิดขึ้นคือ ถ้าราดสารในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ระยะที่ดอกบานมักจะตรงกับช่วงฝนตกชุก อาจมีปัญหาในการติดผลได้

2. ช่วงเดือนสิงหาคม  – พฤศจิกายน  จะสามารถผลิตลำไยออกก่อนฤดูปกติ 2 - 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้อื่นออกสู่ตลาดบ้างเล็กน้อย ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง
(กุมภาพันธ์ –มิถุนายน) เหมาะสำหรับสวนที่มีแหล่งน้ำเพียงพอ เพราะระยะการพัฒนาการของผลลำไยอยู่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง ข้อจำกัดที่มักจะเกิดขึ้น คือ ถ้าราดสารในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ระยะดอกบานมักจะตรงกับช่วงที่มีลมหนาว อาจจะมีปัญหาในการติดผลได้

3. ช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ผลผลิตจะออกมาตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงการออกสู่ตลาดของลำไยในฤดูปกติ







                                                                                               โดย  นายสุชาติ  จันทร์เหลือง
                                                                                        นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ








หากท่านต้องการเพิ่มผลผลิต ต้องไม่พลาด คู่ ORG-1 , ORG-2

 






โออาร์จี-1 (ORG-1)
ORG-1: Amino acid, The Other of Organic acid
เพิ่มพลังงาน เพิ่มความสมบูรณ์ภายในให้แก่พืช


คุณสมบัติ ORG-1
1. ไม่ใช่สารอินทรีย์ ไม่ใช่สารชีวภาพ แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อกระบวนการทำงานภายในของพืช
 2. เป็นเนื้อสารเข้มข้นมีสารอาหารพืช สารสำคัญต่างๆ ครบถ้วนตามที่พืชต้องการรวมอยู่เป็นเนื้อสารเดียวกัน
3. ดูดซึมได้รวดเร็ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
4. ไม่จับตัวตกตะกอนแข็งและไม่จับก้อนเป็นวุ้นเมื่อผสมร่วมกับสารอื่นๆ
5. ไม่แนะนำให้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารป้องกันกำจัดแมลงและสารกำจัดโรคอื่นๆที่เป็นสารเคมี
6. ใช้ได้กับทุกช่วงระยะการเจริญเติบโตของต้นพืช

หน้าที่ ที่สำคัญของORG-1
1. กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ และสังเคราะห์โปรตีน
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์   
3. การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน   
4. ช่วยให้พืชสามารถนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดีขึ้น และก็ช่วยให้การดูดซึมจุลธาตุอาหารทางใบดีขึ้น
     ช่วยปรับปรุงการดูดซึมธาตุอาหารทางราก
5. เพิ่มการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน
6. กระตุ้นการสร้างดอก  ช่วยการผสมเกสร ติดผลดก ลดการหลุดร่วง
7. ช่วยขยายขนาดผล  เร่งการสุกของผล
8. ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
9. พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง
คุณประโยชน์ของ ORG- 1
- ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้

วิธีใช้    ชนิดพืช   ระยะเวลา อัตราการใช้
ข้าว  ช่วงตั้งท้องและออกรวง จนกระทั่งช่วงข้าวเป็นน้ำนมฉีดพ่นทุก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชไร่   ทุก7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชผัก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชดอก ไม้ประดับ 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ไม้ผล และไม้ยืนต้น
เริ่มฉีดได้ตั้งแต่ก่อนดึงดอกและฉีดได้ต่อเนื่องจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ยางพารา ปาล์มน้ำมัน 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร



ข้อแนะนำพิเศษ
(1) ช่วยเพิ่มการสะสมอาหารไว้ที่ใบ และลำต้น ช่วยให้พืชออกดอกได้เร็วขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน ให้ทั่วทั้งต้นพืชสามารถดูดซึมเข้าภายในลำต้นได้ทุกส่วนทั้งทาง ต้น ใบ ราก 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
(2) ช่วยขยายขนาดผล   สร้างเนื้อเยื่อ สร้างแป้ง ขั้วเหนียว ผลไม่ร่วง สีผลสด ผลติดดก รสชาติดี มีน้ำหนักขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
(3) ช่วยพืชที่ลงหัว เข้าสู่ระยะลงหัวได้เร็ว หัวใหญ่เร็ว ได้น้ำหนัก เปอร์เซนต์แป้งดี  เปอร์เซนต์น้ำตาล น้ำมันดี น้ำยางดี เก็บได้นาน เนื้อแน่น หัวไม่ฝ่อง่ายฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 ( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย




โออาร์จี:(ORG-2)
ORG-2: Amino acid, Monosaccharides  and Other Ingredients
สารอาหารพืชชนิดพิเศษ สารให้พลังงานสูง  บำรุงต้นและเพิ่มผลผลิต



คุณสมบัติ ORG-2 
เป็นสารอาหารพืชชนิดพิเศษ ที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่พืช
สำหรับช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต ไปจนกระทั่ง ติดดอก ออกผล ลงหัว หรือ โตสมบูรณ์เต็มที่จนเก็บเกี่ยว  ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุด
-ส่งเสริมการสร้างและสะสมอาหารภายในต้นพืช
-ช่วยเสริมการสร้างตาดอก ติดดอกดี ช่วยผสมเกสรสมบูรณ์
-ลดการร่วงหล่น ขั้วเหนียว ผลดก ผลสวย ได้รูปทรงมาตรฐาน สม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเนื้อให้แน่น มีน้ำหนักดี ขยายขนาดผล ทำให้ผลใหญ่ ผลหนัก
 -เพิ่มปริมาณแป้งในพืชหัวได้มากขึ้น  ทำให้พืชหัวมีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อแน่น ไส้ไม่กลวง
-ช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ช่วยเข้าสี สีสวย รสชาติดี
- ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
- พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง

คุณประโยชน์ ORG-2
บำรุงด้วย ORG-2  เป็นประจำ จะทำให้พืช
1. ในช่วงสะสมอาหาร - ใบหนา  เขียวเข้ม  พร้อม ออกดอก
2. ช่วงเปิดตาดอก - ออกดอกเร็ว  ดอกสม่ำเสมอ  เกสรสมบูรณ์
3. ช่วงติดผล  - ขั้วเหนียว   ขยายผล  สร้างเนื้อ  เร่งสี
4. ช่วงเพิ่มคุณภาพ - ทำให้เนื้อดี สีดี รสชาติดี มีความหวาน  มีกลิ่นหอม
พืชที่แนะนำให้ใช้ 
พืชผักกินฝักและผล แตงโม สัปปะรด ถั่วแระ ข้าวโพด มันฝรั่ง  มันสำปะหลัง หอม, กระเทียม พริก
นาข้าว ลิ้นจี่ ส้มเปลือกบาง ยางพารา

อัตราการใช้  ORG-2
1. ผสม ORG-2  อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
2. ไม่สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง

( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย



ORG-5
ORG5 Granules : ORG5 เม็ด



ORG5 Granules : ORG5 เม็ด

Multi Activity Bio organic Granules. เม็ดเดียวครบเครื่องให้กับพืช


Contents -ประกอบด้วย สารสำคัญ

          - Sea weed extract
          - amino acids
          - neem oil
          - humic acid
          - anti root rot substances




An unique Patented granular formulation for plant growth as well as for effective preventive measures against pests and fungi. It can be used for all crops. G5 contains five different constituents - Due to sea weed based bio-fertilizer there is overall growth of crops due to plant cell division and increase in number of plant cells. Due to blend of vital amino acids, crops gets required nourishment at different stages of its growth. Hence there is healthy and vigorous growth with increased number of flowers and fruits Due to Humic acid, there is profuse growth of white roots. Roots become healthy which ultimately enhance plant growth. Due to Neem Oil, plants are protected from sucking pests in the initial stages of their growth. Neem oil also prevents attacks from other insects and pests as well as protect the plant from Nematodes and Termites. Due to Anti root rot substances, soil gets sterilized by killing harmful fungi such as Fusarium and Pythium. Due to its unique constitution, it has proved to be miracle for all types of crops. since all the five constituents are made available to the crop at once, crop is benefited right from the initial stage till the harvest.



      จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช


ORG5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช

ORG5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ
2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต
3. Humic acid ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้
4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ใน การยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย
5.Anti root rot substances
ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.

Dosage -  8 to 16 kg per Acre as per type of crop.

อัตราการใช้   3 - 6 กิโลกรัม ต่อไร่







ไบโอเจ็ท (Bio-Jet)
ไบโอเจ็ท  สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ  ตายอด ตาดอก ตาใบ
  ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง  น้ำตาล  ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว 
    หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
  ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป
    และพืชที่แพ้สารเคมีให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
  สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
  พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี






ซอยล์ไลฟ์ (SOIL LIFE)
ซอยล์ไลฟ์” ( SOIL LIFE ) เป็นสารอินทรีย์เข้มข้นที่สกัดมาจากธรรมชาติ
มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบำรุงดิน ปรับปรุงคุณภาพของดิน แก้ดินเป็นกรด
ซึ่งจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ออกดอกและผลดก ลดปัญหาการ
ระบาดของเชื้อโรคทางดิน อาทิ โคนเน่า โรครากเน่า โรคเหี่ยวเฉา ฯลฯ
และที่สำคัญคือช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ช่วยเสริมการใช้ปุ๋ยอย่าง
มีประสิทธิภาพ ทำให้พืชดูดกับธาตุอาหารได้ อย่างเต็มที่ ซอยล์ไลฟ์
สามารถละลายน้ำได้ดีมาก จึงสามารถใช้กับระบบน้ำหรือฉีดพ่นได้
ซอยล์ไลฟ์ คุณค่า 2 พลัง
1.      พลังต่อดิน
2.      พลังต่อพืช                                                                    
พลังต่อดิน
1.   ช่วยปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ไม่จับตัวแน่นแข็ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายน้ำดี
       ช่วยอุ้มน้ำและออกซิเจน
2.  ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง (PH) ของดิน ทำให้ดินไม่เสื่อมง่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่างๆและ
      ปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากขึ้น
3.  ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ในดิน ทำให้พืชได้รับสารอาหาร
     จากธรรมชาติได้ดี
4. ช่วยให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารทางรากได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็น ธาตุอาหารหลัก
      ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม จึงช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี พืชงามสมบูรณ์
5.  ช่วยส่งเสริมขบวนการไนตริฟิเคชั่นได้ดีขึ้น
6.  ช่วยลดอัตราการใช้ปุ๋ยลงได้ถึง 30 – 50 %
พลังต่อพืช
1.  ส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน (AUXIN) ในพืช เพื่อการกระตุ้นแบ่งเซลล์ เพื่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชเติบ  โตเร็ว ใบเขียวใหญ่
2.   ช่วยเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
3.   ช่วยให้พลังงานและขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ต่างๆในพืชจากรากหรือใบไปยัง
    จุดที่พืชต้องการอย่างรวดเร็ว 
4.  ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้า เคมีต่างๆในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต
     เพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงได้เต็มที่
5.  ช่วยเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์พืชและเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์  RNA
6. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ อาทิ ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง


สอบถามเพิ่มเติม 
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
084 -8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น