FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

ตอบข้อสงสัยจากผู้ที่ใช้ อีเรเซอร์วัน และ พาร์ทเวย์

มีข้อสงสัยจากผู้ใช้ "อีเรเซอร์-1" และ "พาร์ทเวย์" ว่า..ทำไม? 


เมื่อใช้คู่ขวัญ "อีเรเซอร์-1" กับ "พาร์ทเวย์" ฉีดพ่นที่ต้นยางแล้ว เปลือกยางถึงได้นิ่มกรีดง่าย หลังฉีดพ่นได้ไม่เกิน 3 วัน 

โดยไม่ต้องออกแรงกรีดมาก หน้ายางไม่เสียหาย กรีดสบาย กรีดได้อย่างง่ายดายและได้ปริมาณต้นมาก โดยใช้เวลาไม่มาก ทั้งนี้ก็เพราะว่า..หนึ่งในหน้าที่ของกรดอินทรีย์ "ไฮดร็อกซี่ กรุ๊ป" (Hydroxy group) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญใน "อีเรเซอร์-1" มันสามารถทำหน้าที่ในการแยกโมเลกุล (Brake out) ของ "เซลลูโลส" (Cellulose) ซึ่งเกาะตัวเป็นสาย "พอลิเมอร์" (Polymer) ที่เหนียวแน่นอยู่ให้หลวม ซึ่งเปลือกลำต้นยางพาราเองก็จะประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อที่เป็นเส้นใยหรือเซลลูโลสนั่นเองและเซลลูโลสก็เป็นสารประกอบ Biopolymer ชนิดหนึ่งของเนื้อเยื่อพืชทุกชนิด ที่ช่วยยึดเส้นใยที่ช่วยทำให้ลำต้นและเปลือกลำต้นของต้นไม้แข็งแรง เมื่อสายพอลิเมอร์ถูกทำให้คลายตัวออก ไม่ยึดกันแน่น จึงทำให้เกิดการอ่อนตัวลง เปลือกลำต้นยางจึงนิ่มและกรีดง่าย
.
อีกทั้งหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่งของกรดอินทรีย์สังเคราะห์ "Hydroxy group" ใน "อีเรเซอร์-1" นั่นคือการกระตุ้นให้ระบบการหมุนเวียนน้ำและอาหาร (Water Circulation) ในท่อลำเลียงน้ำและอาหารหมุนเวียนได้มากขึ้นและดีขึ้น จึงทำให้เซลล์อ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง เปลือกยางจึงนิ่ม นั่นเอง

ภาคผนวก : เปลือกของลำต้น  (Bark ) ยางพารา
.
คือส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดของลำต้น ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว และเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ด้านใน ถ้าเราถากเอาส่วนนี้ออกเนื้อเยื่อเจริญ (Cell Cambium) เป็นผนังบางๆ ที่อยู่ถัดมาจากเปลือกชั้นใน ซึ่งจะมีการแบ่งตัวใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เปลือกจะประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อที่เป็นเส้นใยหรือเซลลูโลส และเซลลูโลสก็เป็นสารประกอบ Biopolymer ชนิดหนึ่งของเนื้อเยื่อพืชทุกชนิด ที่ช่วยยืดเส้นใยที่ช่วยทำให้ไม้แข็งแรง และเป็นส่วนที่อยู่ถัดจาก Vascular Cambium ออกไปข้างนอก ในลำต้นที่มีอายุน้อยเปลือกไม้ประกอบด้วย Epidermis (เอพิเดอร์มิส) Cortex (คอร์เทกซ์) และ Phloem (โฟลเอ็ม)  
ส่วนลำต้นที่มีอายุมาก Epidermis (เอพิเดอร์มิส) หลุดสลายไปเหลือแต่เนื้อเยื่อ "คอร์ก" (Cork) และ "คอร์ก แคมเบียม" ( Cork cambium ) และอาจมีเนื้อเยื่อ "พาเรงคิมา" (Parenchyma) ที่เกิดจากการแบ่งตัวของ "คอร์ก แคมเบียม" (Cork cambium) รวมทั้ง "โฟลเอ็ม" (Phloem) ขั้นที่สองที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารแทนโฟลเอ็มขั้นแรกที่ถูกเบียดสลายไป
.
ยางพารา เมื่ออายุน้อยเปลือกมีสีเขียว แต่เมื่ออายุมากขึ้นสีของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน เทาดำหรือน้ำตาล
.
ส่วนประกอบของเปลือกลำต้นยางพารา ที่เราจะนำมาใช้ประโยชน์ในการสกัดน้ำยาง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ซึ่งประกอบด้วย คือ
 .
1) เปลือกแห้ง (Corky bark) เปลือกที่อยู่ส่วนนอกสุดของลำต้นมีสีน้ำตาลถึงดำ ไม่มีท่อน้ำยางอยู่ภายในเลย เกิดจากการสร้าง Outer soft cell ของชั้น Cortex ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่เรียกว่า bark cambium ต่อมามีสารพวกลิกนิน ซูเบอร์ลิน มาสะสมทำให้เห็นเป็นสีน้ำตาล โดยทั่วไปเปลือกชั้นนี้มีความหนาประมาณ 10เปอร์เซ็นต์ของเปลือกทั้งหมด
2) เปลือกแข็ง (Hard bark) อยู่ถัดจากเปลือกแห้งเข้ามา มีสีส้ม หรือสีน้ำตาลอ่อน เกิดจากการแบ่งเซลล์ของ bark cambium  แล้วเจริญเข้าทางด้านใน มีการสะสมสารพวกลิกนิน และซูเบอร์ลินน้อยกว่าเปลือกแห้ง แต่มี Stone cell อยู่เป็นจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในชั้นนี้ ทำให้ท่อน้ำยางมีลักษณะขาดตอน (interupted latex vessel) และมีจำนวนน้อย ชั้นนี้อาจเรียกว่า Outer cortex
3) เปลือกอ่อน (Soft bark) เป็นเปลือกชั้นในสุดถัดจากเปลือกแข็งเข้าไปเกือบใกล้เนื้อไม้ เป็นส่วนของ Inner cortex ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่ม มีชีวิต และหนาของเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Sieve tube) ซึ่งวางตัวอยู่ในแนวตั้ง ภายในเป็นแหล่งสะสมอาหารจำนวนมาก เนื้อเยื่อดังกล่าวติดต่อกันตลอดทั้งในลำต้น กิ่งก้าน และใบ  อาหารที่มาสะสมก็คือน้ำยางนั่นเอง ซึ่งเรียกว่า Latex น้ำยางที่ถูกสร้างขึ้นเป็นโพลิเมอร์ของ cis-1, 4-polyisoprene ส่วนของเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารก็คือ ท่อน้ำยาง (Lacitifer) ที่มีลักษณะเชื่อมติดต่อกันตลอดไม่ขาดตอน (continuous latex vessel) มีการจัดเรียงตัวในแนวเอียง ทำมุม 2-5 องศากับแนวดิ่ง วนจากขวาวนมายังซ้ายล่าง ในชั้นนี้ยังพบเนื้อเยื่ออีกชนิดหนึ่งรอบๆ เนื้อเยื่อลำเลียงอาหารคือ Medulla rays มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำ เป็นตัวที่คอยควบคุมความเข้มข้นของน้ำยางในท่อน้ำยาง และช่วยรักษาความเต่ง สภาพสมดุลย์ของท่อน้ำยางด้วย ชั้นเปลือกอ่อนมีความหนาแน่นของท่อน้ำยางสูง จึงทำให้ขนาดของท่อน้ำยางเล็กกว่าในชั้นเปลือกแข็ง

เปลือกของลำต้นที่ให้น้ำยางคือ Hard bark และ Soft bark มีความหนารวมกัน 10-11 มิลลิเมตร น้ำยางที่ได้เป็น Cytoplasm ที่อยู่ในท่อ หลังจากกรีดแล้วเปลือกจะเจริญได้เหมือนเดิมโดยใช้เวลา 7-8 ปี




เปลือกยางแห้ง เปลือกยางแตก

อาการเปลือกแห้งของยางพารา (Tapping Panel Dryness)
อาการเปลือกแห้งของต้นยาง เป็นอาการที่แสดงความผิดปกติทางสรีรวิทยาของต้นยาง คือหลังจากกรีดอาจมีน้ำยางไหลออกมาเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไหลเลย ซึ่งอาการแบบนี้สามารถเกิดขึ้นกับต้นยางที่ยังไม่ได้เปิดกรีดด้วย ปัจจุบันพบว่า ในทุกเขตปลูกยางมีต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเฉลี่ยร้อยละ 2-27 และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยางธรรมชาติของประเทศผู้ผลิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น 
การเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยางนั้น เกษตรกรหลายรายยังเข้าใจไม่ถูกต้อง โดยคิดว่าเกิดจากเชื้อโรคจึงมักเรียกกันว่า โรคเปลือกแห้งหรือส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า "โรคตายนึ่ง" แต่ความเป็นจริง การเกิดเปลือกแห้งของต้นยาง เป็นลักษณะอาการอย่างหนึ่งที่ต้นยางแสดงความผิดปกติทางสรีรวิทยา ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่สามารถติดต่อจากต้นยางที่เป็นโรคไปสู่ต้นปกติข้างเคียงได้ และจะเรียกว่า “อาการเปลือกแห้ง” (Tapping panel dryness หรือ Brown bast) โดยอาการเปลือกแห้งของต้นยางนั้น เป็นลักษณะความผิดปกติของการไหลของน้ำยาง เกิดขึ้นบริเวณหน้ากรีดทำให้ผลผลิตลดลง ความผิดปกติทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีสาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย เช่น พันธุ์ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง สภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก โดยอาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยางพารา พบได้ 2 ลักษณะ คือ
1. อาการชั่วคราว เป็นอาการที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางลดลงมาก และเกิดกับต้นยางจำนวนมากในแปลงเดียวกัน อาจเกิดจากการกรีดถี่ การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางไม่เหมาะสม หรือสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งเกินไป เมื่อพักกรีดระยะหนึ่ง และบำรุงรักษาต้นยางให้สมบรูณ์ เมื่อมีฝนตามฤดูกาล อาการผิดปกตินี้ก็จะหายไป
2. อาการถาวร เป็นอาการที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางน้อยมาก หรือไม่ให้ผลผลิตเลย พบบางต้นเท่านั้น อาจเป็นต้นเดียวหรือหลายต้นติดต่อกัน พบได้ 2 ลักษณะ คือ เกิดบริเวณใต้รอยกรีด ลุกลามลงไปถึงบริเวณเท้าช้าง พบมากในเขตปลูกยางเดิม หรือเกิดจากบริเวณเท้าช้างแล้วลุกลามขึ้นไปด้านบน พบมากในเขตแห้งแล้ง
สาเหตุการเกิดอาการเปลือกแห้ง อาจเกิดจากปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนี้
1) สภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพที่ตั้งของสวนยาง สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน รวมถึงโครงสร้างของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูก พบว่าในสภาพแห้งแล้งต้นยางมีโอกาสแสดงอาการเปลือกแห้งค่อนข้างสูงกว่างในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก
2) พันธุ์ยาง อาการเปลือกแห้งเป็นลักษณะประจำพันธุ์อย่างหนึ่ง พันธุ์ยางบางชุดมีแนวโน้มอ่อนแดต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง เช่น พันธุ์ยางตระกูล PB
3) ระบบกรีด การกรีดถี่จะมีโอกาสทำให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งสูงกว่าระบบกรีดที่แนะนำ (กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน)
4) การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง เป็นการยืดระยะเวลาหยุดไหลของน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลได้นานขึ้นความถี่ของการทา และความเข้มข้นของสารเคมีเร่งน้ำยาง มีผลทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น
สาเหตุที่ไม่แน่ชัด อาจพบในต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด หรือต้นยางสมบูรณ์และปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือต้นยางที่กรีดด้วยระบบปกติ อาจพบว่ามีอาการเปลือกแห้ง แต่ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด
ลักษณะการเกิดอาการเปลือกแห้ง สังเกตที่ลักษณะภายนอกของลำต้น ดังนี้
1. ต้นยางที่เริ่มแสดงอาการเปลือกแห้ง ลำต้นไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่สังเกตได้จากผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ระยะแรกผลผลิตต่อต้นเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด น้ำยางหยุดไหลช้า ความเข้มล้นลดลง หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว มีน้ำยางบนรอยกรีดแห้งเป็นช่วงๆ และหยุดไหลในที่สุด
2. ลำต้นใหญ่กว่าปกติ เป็นที่สังเกตว่าต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง จะมีขนาดลำต้นใหญ่กว่าต้นปกติมาก เนื่องจากต้นยางไม่มีการสร้างน้ำยาง สารอาหารที่ต้นยางสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว
3. เปลือกด้านนอกเป็นปุ่มปมขนาดเล็ก-ใหญ่ กระจายบริเวณลำต้น เป็นเปลือกงอกใหม่ หลังจากหักกรีดนาน เนื่องจากต้นยางแสดงอาการเปลือกแป้ง
4. เปลือกแตกและล่อน พบกับต้นยางที่พักกรีดนาน เปลือกงอกใหม่จะดันเปลือกเก่า ซึ่งไม่มีน้ำยาง ออกทางด้านนอก ทำให้เปลือกแตกและล่อนเป็นแผ่น เปลือกงอกใหม่แม้จะมีน้ำยางไหลบ้าง แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้น
5. ลำต้นบิดเบี้ยว เห็นได้จากส่วนเปลือกลำต้นบิดเบี้ยวไปจากปกติมากหลังจากพักกรีดระยะเวลาหนึ่งแล้ว 
6. รอยแผลบนรอยกรีดลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เมื่อขูดเปลือกชั้นนอกออก จะเห็นรอยแผลสีน้ำตาลกระจายลงไปถึงรอบเท้าช้าง ขนาดและจำนวนของแผลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
7. อาการผิดปกติระดับเซลล์ ต้องตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยพบเกิดเซลล์อุดตันภายในท่อน้ำยาง

การป้องกันรักษา กระทำได้เบื้องต้น ดังนี้
- เมื่อสังเกตพบความผิดปกติในการให้น้ำยาง เช่น น้ำยางหยุดไหลเป็นระยะบนหน้ากรีด ควรหยุดกรีดสักระยะหนึ่ง หรือปรับระบบกรีดใหม่ เพื่อให้ต้นยางมีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการสร้างน้ำยางทดแทน
- ดินปลูกยางที่มีอินทรียวัตถุต่ำ ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วและ/หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปปุ๋ยหมักปุ๋ยมูลสัตว์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
- ไม่ควรเปิดกรีดต้นยางที่มีขนาดเล็ก หรือใช้ระบบกรีดถี่กับสวนยางที่อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนจำกัด และควรหยุดกรีดยางในระยะที่ต้นยางมีการผลิใบใหม่
- กรณีที่มีการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง เช่น เอทธิฟอน (ethephon) ซึ่งสามารถปล่อยแก๊สเอทธิลีนออกมาช้าๆ ความถี่ของการทาและความเข้มข้นสูง หรือการกรีดและเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน มีผลให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเร็วและรุนแรงขึ้น ไม่แนะนำให้ใช้กับต้นยางเปิดกรีดใหม่ ควรใช้กับพันธุ์ยางอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี หรือยางก่อนโค่น 3-5 ปี หรือหน้ากรีดล่างเสียหายให้ผลผลิตต่ำ ต้นยางควรมีความสมบูรณ์ เจริญเติบโตดี ขนาดลำต้นโต เปลือกหนา ไม่แคระแกร็น การใช้แก๊สในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกจะได้ผลดีเมื่อมีความชื้นในดินสูงและไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับพันธุ์ยางที่มีการตอบสนองต่อสารเคมีเร่งน้ำยางน้อย ได้แก่ พันธุ์ BPM 24, PB 235, PB 255, PB 230, สถาบันวิจัยยาง 250 และสถาบันวิจัยยาง 251 นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในช่วงแล้ง ช่วงต้นยางผลัดใบและผลิใบใหม่ และช่วงอากาศหนาวซึ่งน้ำยางไหลนานกว่าปกติ

ข้อมูลบางส่วนจาก: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร 


#เปลือกแห้ง #เปลือกแตก ป้องกันได้ด้วย #อีเรเซอร์วัน

นอกจากจะแตกเพราะติดเชื้อแล้ว สาเหตุอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีผลต่ออาการ เปลือกแตก ของต้นยางพารา ซึ่งน่าจะมาจากการทำงานทาง Physiological (สรีรวิทยา) ของพืชในส่วนของ Water Circulation (การไหลเวียนของระบบหมุนเวียนของน้ำและสารอาหารในท่อลำเลียงของพืช) เกิดมีปัญหา ทำให้การหมุนเวียนน้ำและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อของเปลือกยางไม่สะดวกและสมบูรณ์เพียงพอ ทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งและแตกออกได้



บทบาทและหน้าที่ของกรดอินทรีย์กลุ่ม "ไฮดร๊อกซี่ แอซิด" (Hydroxy acid group) ที่มีอยู่ใน "อีเรเซอร์-1"
จะทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ สร้างโปรตีนบางตัวและสารต่างๆบางอย่างออกมาเพื่อสมานแผลจากการกรีด ป้องกันโรคแทรกซ้อน และสร้างหน้ายางใหม่ขึ้นมาทดแทน

#กลไกการป้องกันตนเองของต้นยางด้วย Hydroxy acid group
- กระตุ้นการสมานแผลจากการกรีด โดยกระตุ้นการสร้างและสะสม lignin เพื่อเสริมความแข็งแรงที่ผนังเซลล์
- กระตุ้นการสร้าง phenolics ,phytoalexin , PR-proteins เพื่อช่วยป้องกัน เชื้อโรคแทรกซ้อนจากบาดแผลที่กรีด
- กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและสารอาหาร (water circulation ) ในระบบท่อลำเลียงดีขึ้นและมากขึ้น
- เพิ่มการแบ่งเซลล์ (Cell Division) ของเยื่อเจริญ (Cell Cambium) สร้างเป็นหน้ายางใหม่ได้เร็วขึ้น และรักษาสมดุลของเซลล์ ทำให้การแบ่งเซลล์สมบูรณ์ไม่ผิดรูปร่าง
- ฟื้นฟูสภาพและการทำหน้าที่ต่างๆของเซลล์ให้กลับมาเป็นปกติเสมือนเซลล์ใหม่ (revitalize)

http://paccapon.blogspot.com/2015/02/hydroxy-acid.html (Hydroxy acid และ Malate)




===============================



หลายท่านสงสัยว่าทำไมใช้ พาร์ทเวย์ แล้ว...
น้ำยางพาราถึงคุณภาพดี 
มีเปอร์เซนต์สูง 
มีน้ำหนักมาก
=========
ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารามีส่วนประกอบของสาร cis-polyisoprene(C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว
สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท(Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ
Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP
ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyrubate Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย
enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้น จาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),
FPP(C15), และ GGPP(C20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลีเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT) โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis-polyisoprene



กว่าจะมาเป็น #น้ำยางพาราธรรมชาติ
ต้องผ่านกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) โดยมีสาร "ตั้งต้น"(Precursor)ในการเริ่มต้นสังเคราะห์น้ำยาง ให้มั่นใจว่า"พาร์ทเวย์" (PATHWAY)ที่มี"สารตั้งต้น"ในกระบวนการสร้างน้ำยาง
ยิ่งใช้ยิ่งดี น้ำยางยิ่งมีน้ำหนัก เนื้อแน่น (โมเลกุลน้ำยางยาวขึ้น)
เปอร์เซนต์น้ำยางสูงขึ้น เปอร์เซนต์น้ำยางไม่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเจอภาวะอากาศแปรปรวนใดๆก็ตามที "พาร์ทเวย์"(PATHWAY)จะไปช่วยให้ต้นยางที่สร้าง"สารตั้งต้น" (Precursor) ไม่ดีหรือมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสังเคราะห์น้ำยางให้มี "สารตั้งต้น"(Precursor)
ที่เพียงพอต่อการสังเคราะห์น้ำยางได้มากขึ้นหรือเป็นปกติขึ้น


(หมายเหตุ: ที่ให้ใช้"พาร์ทเวย์"ควบคู่กับ"อีเรเซอร์-1")
ก็เพราะมันมีความจำเป็นต้องรักษาแผลที่หน้ายางตลอดเวลาไม่ให้ติดเชื้อโรคและต้องฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงที่จะเข้าทำลายบริเวณแผลที่หน้ายางด้วยสารฆ่าเชื้อแบบเฉียบพลันและยังต้องป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับหน้ายางอีกด้วย
.
สร้างเซลล์เนื้อเยื่อเปลือกใหม่ได้ดี
ที่สำคัญต้นยางเองยังต้องมีการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อเปลือกทดแทน(Revitalize) ส่วนที่เสียหายไปจากการกรีดให้กลับคืนมาเป็นหน้าปกติอีกด้วย ซึ่งกรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่ม Hydroxy
acid บางตัวที่มีอยู่ใน"อีเรเซอร์-1"สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

Natural rubber latex biosynthesis
Latex in rubber trees contains cis-polyisoprene (C5H8) and
high quality latex, with long molecular particles, contains a high proportion
of this compound.
A precursor to natural latex production is Malate which is
converted to Acetyl-CoA and Pyruvate before being biochemically processed to
become IPP, the smallest molecular particles in natural rubber.
The Isoprenoid Pathway is a biosynthesis of IPP, through a
conversion of Malate into Acetyl-CoA.
GAP/Pyruvate Pathway is a synthesis of IPP, through a
conversion of Malate into Pyruvate.
The IPP substance derived will be combined, through an IPPI
enzyme with Mg2+ as a catalyst, and becomes a substance with a high carbon
content, changing from IPP (C5) to DMAPP (C5), GPP (C10), FPP (C15) and GGPP
(C20) respectively. In the final process, each molecule of GGPP forms a polymer
chain, by the Rubber Transferase enzyme (RuT), employing IPP as a connector for
GGPP and developing a long molecular chain in the form of Cis-polyisoprene.


ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารามีส่วนประกอบของสาร cis-polyisoprene(C5H8)n
ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว
สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท
(Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ
Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP
ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ
Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก
Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA
GAP/Pyrubate Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก
Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย
enzyme IPPI และมี Mg2+
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้น จาก IPP(C5)
เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),
FPP(C15), และ GGPP(C20)
ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลีเมอร์โดย
enzyme Rubber Transferase (RuT) โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างสาร
GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis-polyisoprene
กว่าจะมาเป็น"น้ำยางพาราธรรมชาติ"
ต้องผ่านกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) โดยมีสาร"ตั้งต้น"(Precursor)
ในการเริ่มต้นสังเคราะห์น้ำยาง  ให้มั่นใจว่า"พาร์ทเวย์" (PATHWAY)ที่มี"สารตั้งต้น"ในกระบวนการสร้างน้ำยาง


ยิ่งใช้ยิ่งดี น้ำยางยิ่งมีน้ำหนัก เนื้อแน่น (โมเลกุลน้ำยางยาวขึ้น)
เปอร์เซนต์น้ำยางสูงขึ้น  เปอร์เซนต์น้ำยางไม่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเจอภาวะอากาศแปรปรวนใดๆก็ตามที
"พาร์ทเวย์"(PATHWAY)จะไปช่วยให้ต้นยางที่สร้าง"สารตั้งต้น"
(Precursor) ไม่ดีหรือมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสังเคราะห์น้ำยาง
ให้มี"สารตั้งต้น"(Precursor)
ที่เพียงพอต่อการสังเคราะห์น้ำยางได้มากขึ้นหรือเป็นปกติขึ้น  ไม่ต้องถามว่าเป็น"สารเร่ง" หรือไม่?
ตอบได้เลยว่า"ไม่ใช่" เพราะมันไม่มี "เอทธิลีน"(Ethylene)
จริงๆแล้วต้นยางพาราขาด"สารตั้งต้น"( Malate) ตัวนี้ไม่ได้จริงๆ
ถ้ายังคิดว่าต้องการน้ำยางพาราอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไป  การสร้าง"น้ำยางพารา" จึงต้องผ่านสารตัวนี้อยู่ดี


(หมายเหตุ: ที่ให้ใช้"พาร์ทเวย์"ควบคู่กับ"อีเรเซอร์-1"
ก็เพราะมันมีความจำเป็นต้องรักษาแผลที่หน้ายางตลอดเวลาไม่ให้ติดเชื้อโรค
และต้องฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงที่จะเข้าทำลายบริเวณแผลที่หน้ายางด้วยสารฆ่าเชื้อแบบเฉียบพลัน
 และยังต้องป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับหน้ายางอีกด้วย
 ที่สำคัญต้นยางเองยังต้องมีการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อเปลือกทดแทน(Revitalize) ส่วนที่เสียหายไปจากการกรีดให้กลับคืนมาเป็นหน้าปกติอีกด้วย
ซึ่งกรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่ม Hydroxy
acid บางตัวที่มีอยู่ใน"อีเรเซอร์-1"สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

Natural rubber latex biosynthesis
Latex in rubber trees contains cis-polyisoprene (C5H8) and
high quality latex, with long molecular particles, contains a high proportion
of this compound.
A precursor to natural latex production is Malate which is
converted to Acetyl-CoA and Pyruvate before being biochemically processed to
become IPP, the smallest molecular particles in natural rubber.
The Isoprenoid Pathway is a biosynthesis of IPP, through a
conversion of Malate into Acetyl-CoA.
GAP/Pyruvate Pathway is a synthesis of IPP, through a
conversion of Malate into Pyruvate.
The IPP substance derived will be combined, through an IPPI
enzyme with Mg2+ as a catalyst, and becomes a substance with a high carbon
content, changing from IPP (C5) to DMAPP (C5), GPP (C10), FPP (C15) and GGPP
(C20) respectively. In the final process, each molecule of GGPP forms a polymer
chain, by the Rubber Transferase enzyme (RuT), employing IPP as a connector for
GGPP and developing a long molecular chain in the form of Cis-polyisoprene.



คู่ขวัญยางพาราไทย #พาร์ทเวย #อีเรเซอร์วัน
1. น้ำยางไหลคล่อง ไหลดี ไม่มีสะดุด
2. น้ำยางหนัก เนื้อยางแน่น เปอร์เซ็นดีมีราคา
3. เปลือกยางหนา หน้ายางนุ่ม เปลือกยางนิ่ม กรีดง่าย สบายคนกรีด
4. เปลือกยางสร้างใหม่ สร้างได้ไว อวบใหญ่เร็ว
5. หน้ายางเรียบ เนียนใส ไร้โรค เปลือกไม่แตก หน้ายางไม่ตาย น้ำยางไม่หาย
6. ใช้งานง่าย สะดวก ประหยัดเวลา
7. 1 ชุด ใช้ได้ถึง 15,000 ต้น


"พาร์ทเวย์ และ อีเรเซอร์-1"
เพียงแค่..ท่าน "สเปรย์" ไปที่หน้ายางที่กรีด เท่านั้น ท่านจะพบกับความ.."อัศจรรย์ใจ" !!
1. น้ำยางไหลคล่อง ไหลดี ไม่มีสะดุด
2. น้ำยางหนัก เนื้อยางแน่น เปอร์เซ็นดี มีราคา
3. เปลือกยางหนา หน้ายางนุ่ม เปลือกยางนิ่ม กรีดง่าย สบายคนกรีด
4. เปลือกยางสร้างใหม่ สร้างได้ไว อวบใหญ่เร็ว
5. หน้ายางเรียบ เนียนใส ไร้โรคใดๆรบกวน
6. เปลือกไม่แตก หน้ายางไม่ตาย น้ำยางไม่หาย
7. ใช้งานง่าย สบาย สะดวก ประหยัดเวลา
8. ปลอดภัยต่อพืชและผู้ใช้ ไร้สารพิษ 


เป็น..คู่ขวัญ "ยางพารา" จริงๆ
1 ชุด สามารถใช้ได้ถึงประมาณ 15,000 ต้น
ฉีดเพียง.."จี๊ด" เดียว แต่..ให้ผลลัพธ์มหาศาล





อีเรเซอร์-วัน + พาร์ทเวย์
















"รับตัวแทนจำหน่าย" ทั่วประเทศ ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่
www.facebook.com/PathwayEraser1
☎️084 - 8809595 , 084 - 3696633
📲Line ID : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยครับ)

ปรึกษาสั่งซื้อ ทางไลน์ คลิ๊ก >> https://lin.ee/nTqrAvO