FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นาข้าว กับการใช้ ซิลิคอน

ข้าว..ราคาไม่ดี 
มาปลูกข้าว.."สุขภาพดี" 
ไม่มีสารพิษ ชีวิตดี๊ดี 
กันดีกว่าไหม ?

โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกัน



• แตกกอดี 
• กออวบใหญ่
• ใบเขียว แข็งตั้ง
• ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
• เพลี้ยไม่กวน หนอนไม่กล้า
• โรคไม่ยุ่งเกี่ยว
• รวงเยอะ รวงใหญ่ 
• เมล็ดหนัก เมล็ดเต็ม



ซาร์คอน : (ออร์โธ่ซิลิซิค แอซิค + SA) 

ซิลิคอน..กับการเจริญเติบโตของพืช
• แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช แต่ได้มีการพิสูจน์ในเชิงวิชาการแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตดังนี้จากการวิจัย เราจะพบว่า การเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ จะมีการขนย้ายซิลิคอนออกจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดูการเพาะปลูก แม้ว่าในดินเองจะมีซิลิคอนในปริมาณสูง แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณซิลิคอนในดินเปลี่ยนรูป มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จากงานวิจัยเราจะพบว่า กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
.
1. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หัก ล้มง่าย ผนังเซลล์ที่แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น

2. ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย เมื่อได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะทำให้โครงสร้างใบ แข็งแรง ใบจะตั้งขึ้น ทำให้รับแสงแดดได้เต็มที่ ขณะเดียวกันสารละลายกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนที่ฉีดพ่น เมื่อแห้งจะเคลือบใบพืชไว้ ทำให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าทำลายใบพืชได้

3. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้น หลังจากฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน พืชจะสร้างรากใหม่ และเสริมสร้างระบบรากให้ซับซ้อนขึ้น

4. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน ที่แทรกอยู่ในโครงสร้างใบ จะทำให้แสงผ่านใบได้น้อยลง หรือใบพืชดักจับแสงได้มากขึ้น ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นใบมีสีเขียวขึ้น

5. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะมีองค์ประกอบของโปแตสเซียมไอออนซึ่งกระตุ้นการลำเลียงอาหารภายในต้นพืช การสังเคราะห์แสงที่ดี ลำเลียงอาหารดีและระบบรากที่ดี จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

6. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน สามารถดูดซับพิษของโลหะในดิน เช่นโซเดียม อลูมิเนียม แมงกานีส ฯลฯ ได้

7. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะเคลือบใบ ทำให้พืชคายน้ำน้อยลงทำให้พืชสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้นานขึ้น และมากกว่าพืชปกติ


.
• เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง


• ซาร์คอน : มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก (Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์ (polymer) ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง
กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น

• กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิค สามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช


• การใช้กรดออร์โธ่ซิลิคอน ในนาข้าว
ความเป็นมาและความสำคัญของซิลิคอน ในวัฏจักรของข้าว การใช้และประโยชน์ของซิลิคอน
ซิลิคอน คือ ซิลิคอน (Si) เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากออกซิเจน เราจึงพบซิลิคอนในพืชเกือบทุกชนิดรวมทั้งในดินเองก็มีซิลิคอนเป็นองค์ประกอบหลัก และนี้คือความสำคัญของซิลิคอนในวัฏจักรของข้าว

• การนำซิลิคอนไปใช้ของพืช จะต้องถูกดูดซึมทางรากและใบ โดยซิลิคอนจะละลายอยู่ในน้ำ และถูกดูดซึมไปกับน้ำในระบบการหาอาหารของพืช แม้ว่าซิลิคอนจะพบมากในดิน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นซิลิคอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ รูปแบบของซิลิคอนที่ไม่ละลายน้ำ และพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ ทราย กระจก แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ แร่หินบางชนิด การเปลี่ยนซิลิคอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ ให้สามารถละลายน้ำได้ โดยกลไกของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสลายตัว หรือ การย่อยของจุลินทรีย์จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นการปลูกพืชซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ซิลิคอนขาดแคลนได้


• ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนจำนวนมาก
ในแกลบมีปริมาณซิลิคอนสะสมอยู่มาก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนปริมาณมาก เพื่อให้เข้าใจถึงปริมาณของซิลิคอนในข้าว ถ้าเกษตรกรเคยสังเกต การเผาแกลบจะพบว่ามีขี้เถ้าเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อเทียบกับเถ้าของการเผาถ่าน หรือกิ่งไม้ เถ้าที่เหลืออยู่นี้แหละคือซิลิคอน
เคยมีการคำนวณเรื่องปริมาณซิลิคอนในนาข้าว พบว่าในข้าวเปลือก 1 ตัน มีองค์ประกอบที่เป็นแกลบอยู่ประมาณ 250 กิโลกรัม ในจำนวนนี้ จะเป็นปริมาณซิลิคอนมากกว่า 40 กิโลกรัม ถ้าผลผลิตต่อไร่ประมาณ 600 กิโลกรัมต่อไร่ จะพบว่าทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยว ซิลิคอนถูกขนย้ายออกจากพื้นนา มากกว่า 24 กิโลกรัม/ครั้ง ถ้านับตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ปริมาณซิลิคอนที่ถูกขนย้ายออกมา จะมีปริมาณมหาศาล แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลัก แต่ก็เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในสร้างโครงสร้างและลำเลียงอาหารของพืช การขาดแคลนซิลิคอนจะทำให้ข้าวอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง และการให้ปริมาณซิลิคอนที่มากพอจะทำให้ข้าวแข็งแรงเร็วขึ้นสอดคล้องกับปริมาณโรคและแมลง ที่มีการระบาดรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน และการให้ซิลิคอนในปริมาณที่เหมาะสมจะกระตุ้นการสังเคราะห์แสงของข้าว ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น



ประโยชน์ของซิลิคอน
ได้มีการทำวิจัยแล้ว จากหลายสถาบัน ว่าซิลิคอนมีประโยชน์ในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะกล่าวโดยกว้าง ๆ สำหรับพืชทั่วไป และจะได้ชี้ให้เห็น

•คุณประโยชน์เมื่อใช้ในนาข้าวต่อไป
1. ซิลิคอน ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัส ในดินให้พืชสามารถใช้งานได้ ความจริงฟอสฟอรัสในดินมีปริมาณมาก แต่ภาวะดินเปรี้ยว และการใช้สารเคมีเชิงซ้อนปริมาณมาก ทำให้ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้การให้ซิลิคอนกับพืช จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในดินอย่างคุ้มค่า ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลัก เกี่ยวข้องกับระบบรากและยอดอ่อน

2. ซิลิคอนที่พืชได้รับ จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ทำให้โครงสร้างต่าง ๆ ของพืชแข็งแรง แมลงเจาะน้ำเลี้ยงได้ยากลาบาก โรคต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น

3. โครงสร้างที่แข็งแรง ทำให้ใบตั้งและรับแสงได้ดีขึ้น ใบกว้างขึ้น และแสงผ่านใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์แสงของพืชจะเพิ่มขึ้น

4. ซิลิคอน ช่วยดูดซับพิษจากโลหะ เช่น อลูมิเนียม สนิมเหล็ก โซเดียม มังกานีส

5. กรดออร์โธ่ ซิลิคอน ที่ฉีดพ่น จะเคลือบใบพืช ทาให้พืชคายน้ำน้อยลงนั่นคือ พืชจะทนต่อสภาพแห้งแล้งจากภาวะที่อากาศร้อนจัดได้ดีกว่าพืชปกติดังที่ได้ทราบข้างต้นแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะข้าว ในเกษตรกรรมของประเทศที่เจริญแล้วเช่น ญี่ปุ่น มีการใช้ซิลิคอน เพื่อเพิ่มผลผลิตในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง แต่ซิลิคอนเหล่านั้นส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนเหลือในอุตสาหกรรม ซึ่งการควบคุมเรื่องสารตกค้าง หรือสิ่งเจือปนเป็นไปได้ยากลำบาก



ซิลิคอนในนาข้าว
ข้าวเป็นพืชที่ต้องการปริมาณซิลิคอนมาก (มากกว่า 24 กิโลกรัม/ไร่/รอบเพาะปลูก) โดยกลไกของธรรมชาติ ซิลิคอนจะกลับสู่วัฏจักรของข้าวโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทั้งนี้ต้องมีการนำแกลบกลับเข้าไปยังพื้นนาด้วย กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน เป็นสารละลายซิลิคอน จึงปราศจากสารตกค้าง และด้วยกรรมวิธีสกัดอันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของซาร์คอน ทำให้กรดออร์โธ่ซิลิคอนที่ได้ บริสุทธิ์และถูกดูดซึมโดยข้าวได้ทันทีทั้งทางรากและใบ ทำให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อข้าวได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นดังนี้
.
1. ใบข้าวจะเขียวตั้งขึ้น และกว้างขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นหลังฉีดพ่น กรดออร์โธ่ซิลิคอนแล้ว เพียง 7 วันเมื่อกรดออร์โธ่ซิลิคอนเริ่มสะลมอยู่ในใบ และลำต้นข้าวมากพอจะทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้น ใบข้าวตั้งและทึบแสงขึ้น ทำให้รับแสงได้เต็มที่ ใบที่กว้างขึ้น ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น

2. ในพื้นนาที่มีข้าวต้นเล็กต้นใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากระดับน้ำที่ไม่เท่ากัน เมื่อข้าวใบตก จะเกิดการบังแสงกันเองของต้นข้าว ข้าวต้นเล็กจะยิ่งเจริญเติบโตช้า เนื่องจากแสงแดดจะออกรวง เมื่อข้าวส่วนใหญ่ถูกเก็บเกี่ยวไปแล้ว เมื่อข้าวใบตั้งจะทำให้ต้นข้าวได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ทำให้ข้าวออกรวงพร้อม ๆ กันส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

3. ผนังเซลล์ที่หนาขึ้น เพราะมีซิลิคอนสะสมอยู่ นอกจากจะทำให้ใบตั้งแล้ว ยังทำให้ใบและลำต้นเหนียว ทำให้แมลงดูดซึมน้ำเลี้ยงได้ยากขึ้น การฝังสปอร์ของเชื้อราก็ทำได้ยากเช่นกัน และยังมีรายงานว่าต้นอ่อนของข้าวที่ได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอน จะมีความทนทานต่อหอยเชอรี่ได้มากขึ้นด้วย

4. เมื่อดินได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาในพื้นนาที่เสื่อมโทรมมาก ๆ จากสภาพดินเปรี้ยว จะเห็นว่ามีการเกิดรากใหม่และแตกกอ หลังจากฉีดพ่นสารเพียง 5 วัน

5. การให้กรดออร์โธ่ซิลิคอน ในปริมาณที่มากพอจะทำใหปุ๋ย ละลายช้าลง เป็นการใช้ปุ๋ยอย่างเต็มประสิทธิภาพ

6. กรดออร์โธ่ซิลิคอน ที่ฉีดพ่น บางส่วนจะเคลือบใบข้าว ทาให้พืชคายน้ำลดลง ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัด ต้นข้าวจะยังคงดูสดชื่น เมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่ได้ฉีด

7. การสังเคราะห์แสงดี ระบบรากยาว มีรากสีขาวมาก จะทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตกว่าแปลงที่ไม่ได้ฉีดอย่างเห็นได้ชัด การฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนในระยะก่อนตั้งท้องจะกระตุ้นให้ข้าวออกรวงพร้อม ๆ กัน จากการทดลองจะพบว่าแปลงที่มีการใช้กรดออร์โธ่ซิลิคอน อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ข้าวยังเล็กข้าวจะออกรวงเร็วกว่าแปลงปกติ 5-10 วัน

8. การทำนาที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ๆ ปริมาณไนโตรเจนที่ใส่ในนาข้าวต้องมีปริมาณที่มากพอ แต่โดยกลไกของธรรมชาติ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณสูง ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดีแต่ละต้นจะอวบน้ำ ผนังเซลล์บาง ทำให้โรคและแมลงเข้าทำลายได้โดยง่ายลำต้นอ่อน หักล้มง่าย การให้กรดออร์โธ่ซิลิคอนจึงเป็นคำตอบของการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้ซิลิคอนสะสมในตัวข้าวมากพอ ทำให้การให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนปริมาณสูง ๆ โดยไม่ทำอันตรายต่อต้นข้าว เกษตรกรจึงควรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนในระยะก่อนตั้งท้องและหางปลาทู เพื่อให้ข้าวออกเต็มรวงเมล็ดสมบูรณ์

9. ดังได้กล่าวมาข้างต้น เมื่อกรดออร์โธ่ซิลิคอนแห้ง จะทาตัวเป็นแผ่นฟิมล์บาง ๆ ในระยะน้ำนมเมื่อฉีดกรดออร์โธ่ซิลิคอน แผ่นฟิล์มดังกล่าวจะเคลือบให้สูญเสียน้ำน้อยลง เมล็ดจึงแกร่ง ได้ น้ำหนักดี
.

http://paccapon.blogspot.com/2016/11/blog-post.html 
ซาร์คอน Silicon is the Secret PPT
.
http://paccapon.blogspot.com/2016/02/salicylic-acid-sa.html 
งานวิจัยเกี่ยวกับ Salicylic acid; SA




สอบถามปรึกษาก่อนได้
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :    @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ  https://lin.ee/nTqrAvO


วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ราคายางพารา

• ราคาน้ำยางไม่ดี   แต่..น้ำยางไหลดี ยังมีเงินเหลือ
• ราคาน้ำยางไม่ดี   น้ำยางไหลไม่ดี อันนี้..แย่สุดๆ 
• ราคาน้ำยางดี น้ำยางไหลดี อันนี้..สุดยอดเลย
• ราคาน้ำยางดี แต่..น้ำยางกลับไม่มี อันนี้..เซ็ง
จุงเบย !!

ต้นยางพารา (Hevea brasiliensis) 
จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกผลผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก แนวโน้มความต้องการผลผลิตยางธรรมชาติยังมีสูงขึ้นไปในอนาคต ตราบใดที่ยังมีอุตสาหกรรมยานยนต์ อนาคตของการทำสวนยางของไทยก็ยังจะยังจะอนาคต การทำให้ผลผลิตน้ำยางพาราต่อไร่สูงขึ้น ชาวสวนยางพาราก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก (แม้ว่าเราจะกำหนดราคายางพาราเองไม่ได้ก็ตามที)

• น้ำยางพาราเป็นผลผลิตแรกที่ชาวสวนได้ ก่อนนำไปแปรรูปเป็นยางแผ่นหรือยางแผ่นรมควัน หรือยางแท่งต่อไป การเพิ่มผลผลิตน้ำยางจึงเป็นที่ต้องการของชาวสวนเป็นอย่างมาก
• การใช้สาร "เอทีฟอน" (Ethephon) สามารถเพิ่มน้ำยางได้ แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องต้นยางโทรม หน้ายางเสีย น้ำยางใส ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น แต่ชาวสวนยางที่ต้องการเร่งน้ำยางก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพราะไม่มีสารอื่นใดๆที่ดีกว่า นอกจากการใช้ JA ในการเพิ่มน้ำยาง
.
• JA เป็นฮอร์โมนพืชในยุคใหม่ จากการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้โดยการเพิ่มท่อสร้างน้ำยาง (Laticifer) ซึ่งเป็นท่อที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ของแคมเบียม (Cambium Cell) ในต้นยางซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ เพราะเป็นการสร้างโครงสร้างของต้นยางให้สมบูรณ์มากขึ้น กว่าการใช้เอทีฟอน (Ethephon) เร่ง เพราะจะไม่ช่วยในการสร้างท่อน้ำยางเพิ่ม ท่อน้ำยางเดิมมักจะชำรุดหรือโทรมลงอย่างรวดเร็ว และทำให้น้ำยางไม่มีคุณภาพและน้อยลงเรื่อยๆ


• โดยปกติการกรีดยาง เป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างท่อน้ำยางทดแทนขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีการค้นพบว่าการกรีดยางทำให้พืชสังเคราะห์ JA ขึ้น ซึ่งเป็นขบวนการป้องกันตนเองของพืช JA ที่เกิดขึ้นจะมีผลไปกระตุ้นให้พืชป้องกันตนเอง (Plant Defenses) โดยไปเร่งการแบ่งตัวของ "เซลล์
แคมเบียม" (Cambium Cell) ให้มีลักษณะเฉพาะสำหรับสร้างน้ำยางซึ่งเรียกว่า "เซลล์ท่อน้ำยาง" (Laticifer) ที่ท่อน้ำยางนี้เองจะทำหน้าที่ผลิตน้ำยางเอาไว้ป้องกันตนเอง ซึ่งในน้ำยางจะมีสารต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียอยู่ด้วย


• การให้ JA จากภายนอกเข้าไปในต้นยาง จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้มีการสร้าง "ท่อน้ำยาง" (Laticifer) เพิ่มขึ้นโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ สามารถเพิ่มได้มากขึ้นกว่าปกติที่ JA จะเกิดขึ้นเฉพาะที่จะเกิดเองหลังจากการกรีดยาง เมื่อมี "ท่อน้ำยาง" มากขึ้นก็หมายถึงการมี "ท่อผลิตและเก็บน้ำยาง" มากขึ้น ทำให้การกรีดยางแต่ละครั้งจะมีน้ำยางไหลมากขึ้นกว่าปกติ


 การผลิตน้ำยางพาราที่มีคุณภาพ

• น้ำยางพาราเป็นสารจำพวก Polyisoprene ในกลุ่ม Isoprenoid Compounds ที่มีลักษณะต่อกันเป็นสายยาว ๆ ความสั้นยาวของสายเหล่านี้จะแสดงถึงคุณภาพของน้ำยางที่ได้ แน่นอนการผลิตน้ำยางในต้นยางต้องมีวัตถุดิบเริ่มต้น ซึ่งได้แก่ น้ำ อากาศ ปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมน และเอ็นไซม์ ที่เกี่ยวข้องมากมาย


• ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางในต้นยางมีขั้นตอนมากมายและมีความซับซ้อนมาก เริ่มจากสารตั้งต้น (Precursors) หลายชนิด จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีจนได้ Acetyl-Coenzyme A ก่อนที่จะผ่าน Isoprenoid pathway ในต้นยางผลิตเป็น IPP (Isopentenyl pyrophosphate) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสายโซ่ที่ต่อกันในน้ำยาง
ดังนั้นการให้สารตั้งต้นและสารสำคัญ ที่เกี่ยวข้องในขบวนการสังเคราะห์ยางตามธรรมชาติจึงมีความจำเป็นในการผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ


• นั่นคือ..สิ่งที่ยางพาราจะขาดเสียไม่ได้ ซึ่งการใช้ “พาร์ทเวย์” (PATHWAY) ซึ่งมีสารตั้งต้น (Precusor) และ “ลาเท็กซ์” (LATEK) ซึ่งมีสาร JA ซึ่งมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์ยางตามธรรมชาติให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ

สั่งคู่ขวัญ คลิ๊กที่ภาพนี้ได้เลย


ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ 
น้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)
โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene


การใช้  "สารตั้งต้น" (Precursor) ในขบวนการสังเคราะห์น้ำยางธรรมชาติ (Latex Biosynthesis) "เปลี่ยนน้ำตาล เป็นน้ำยาง" ตามกระบวนการทางชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช อาทิ Malate, Glutamate ร่วมกับกรดอินทรีย์ในกลุ่ม Hydroxy acid บางชนิดในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลผลิตและคุณภาพยางพาราไทย









ตอบข้อสงสัยยางพารา
http://paccapon.blogspot.com/2017/01/blog-post.html?m=1 
.
ฝากติดตามเพจดีๆเกี่ยวกับยางพารา
www.facebook.com/PathwayEraser1
.
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตยางพารา
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_24.html?m=0
.
สารานุกรมยางพาราไทย
https://www.facebook.com/pg/PathwayEraser1/photos/?tab=album&album_id=1209089865873831
.
หรือเว็บไซต์
www.ยางตายนึ่ง.com
www.organellelife.com 


สั่งคู่ขวัญ คลิ๊กที่ภาพนี้ได้เลย

.
สอบถามปรึกษาก่อนได้
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :    @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ https://lin.ee/nTqrAvO