FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ประสบการณ์ การหาทางออกให้พืชกับโรคเน่าและโรคเหี่ยวเฉา

โรคเหี่ยวเฉา/โรคโคนเน่า ในยาสูบ
     และพืชอื่นๆในตระกูล Solanaceae
     (Wilt & Black Shank in Tobacco
      and Solanaceae Crop Plants)



     เมื่อ 35 ปีที่แล้ว (ปี 2527) เริ่มรู้จัก และท้ารบ
     กับโรคนี้ที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตยาสูบ 
     และรายได้ของเกษตรกรชาวไร่ยาสูบอย่าง
     มากมายมหาศาลปีละกว่าหลายล้านบาท แต่ก็
     แพ้อย่างย่อยยับ ยังเอาชนะมันไม่ได้




🧧ผ่านมาอีก 15 ปี (ปี 2542) ถึงเริ่มที่จะมีหนทางที่
     จะเอาชนะมันได้ให้ได้เห็นบ้าง?

🧧ถัดมาอีก 3 ปี (ปี 2545) เริ่มมีทางออกในการ
     แก้ปัญหานี้ให้ได้เลือกใช้ และเห็นหนทางชนะได้
     บ้าง เพราะมีการค้นพบสารบางตัว ที่มาจากกรด
     อินทรีย์บางตัว ที่ทำหน้าที่ได้ในการป้องกันและ
     กำจัดเชื้อโรค ทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อ
     ว่า “คาร์บ๊อกซิล-พลัส” (Carboxyl-Plus) 


🧧ปี 2546-2563 ปีนี้ กล้าพูดว่า 
“ปัญหาโรคเหี่ยว/โรคโคนเน่า" 
สำหรับเรา ไม่ใช่เรื่องที่ปวดใจอีกต่อไปแล้ว 








🎴ปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคได้

▪️ดินปลูกมีเชื้อโรคเน่า/โรคเหี่ยว อาศัยอยู่
▪️ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง เป็นปัจจัย
     ส่งเสริมให้เชื้อระบาดได้รวดเร็วและรุนแรง
▪️พันธุ์พืชที่ปลูก เป็นพันธุ์อ่อนแอต่อโรคเน่า/โรคเหี่ยว

🎴แนวทางแก้ไขเบื้องต้นคร่าวๆ

▪️เลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค (ถ้าเป็นไปได้)

▪️ปรับสภาพดินก่อนปลูก เพื่อให้ไม่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

▪️ฆ่าเชื้อที่อาศัยในดิน ด้วยการอบหรือการใช้สารฆ่าเชื้อโรค

▪️ทำแปลงปลูกให้มีโครงสร้างดี ระบายน้ำ/ระบายอากาศดี

▪️ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ที่มีประสิทธิภาพดี เพื่อป้องกันโรคไว้ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก

▪️ถอนหรือทำลายทิ้งต้นที่เป็นโรคเน่า/โรคเหี่ยว ออกไปจากไร่ ไปฝังกลบ หรือเผาทำลาย

                         ภัคภณ ศรีคล้าย
                        นักวิชาการเกษตร
.......................................................................

เรื่องเล่า 
     เจ้าเหี่ยวเฉา & รากเน่าโคนเน่า

👨‍🌾 เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว (ปี 2527) โรคเหี่ยว
      เมื่อตอนที่ผมจบและเริ่มมาทำงานใหม่ๆ
      เขาให้ต้องมาดูแล ไร่ยาสูบพื้นที่มากกว่า
      4,000-5,000 ไร่ ในจังหวัดน่าน

🎴พบเจอปัญหา ที่เขาบอกว่า
      เป็น “ปัญหาโลกแตก”

▪️เจอต้นยาสูบ “เหี่ยวเฉา” ไปต่อหน้าต่อตา
     เป็นร้อยต้นพันต้นต่อไร่ ใจตกไปอยู่ที่ตาตุ่ม

- พืชยาสูบ ที่เป็นพืชตัวหนึ่งซึ่งอ่อนแอต่อโรคต่างๆมากมายหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคจากไวรัส, โรคจากเชื้อราและโรคจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นโรคแข้งดำ (Black Shank) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Phytopthora sp. โรคแข้งเน่า (Shore Shin) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Rhizoctonia sp. โรคเหี่ยวด้านเดียว (Fusarium Wilt) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum. แต่โรคที่รุนแรงและทำความกวนใจและสร้างความทุกข์ใจให้ชาวไร่ยาสูบมากที่สุด เห็นจะเป็นโรคที่ชาวไร่ยาสูบเขาเรียกกันว่า “โรคตายผากตายจอย” ซึ่งเราจำได้แม่นเลย เพราะว่าชื่อมันแปลกดี แต่มารู้ที่หลังว่า “โรคตายผากตายจอย” ที่ว่ามันก็คือ “โรคเหี่ยวเฉา” (Bacterial Wilt) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “Psuedomonas solanacearum” (ชื่อในสมัยนั้น แต่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนชื่อเป็น “Ralstonia solanacearum”) ซึ่งเป็นเชื้อที่กำจัดได้ยากมาก และในสมัยนั้นการแก้ปัญหาก็ยังค่อนข้างจะลำบาก เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะสารเคมีที่จะเลือกนำมาใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคนี้ หรือใช้แก้ปัญหาโรคนี้ ยังมีตัวเลือกให้เลือกใช้ได้น้อยมาก และเชื้อก็กำจัดยากมากเสียด้วย แม้ว่าเราจะเลือกใช้ยาหรือสารเคมีที่มีราคาแพง และดีมากเพียงใดในยุคนั้นหลายตัว ก็ยังเอามันไม่ค่อยอยู่ (อาทิยา “แอคติดาน ทีจีเอฟ” ที่เป็นยาที่เราคิดว่าดีที่สุดในขณะนั้น ก็ยังเอามันไม่อยู่) และก็ยังมีการหายาอื่นๆมาทดลองใช้อีกหลายตัว ที่ใครบอกว่าดีบอกว่าเจ๋ง ก็ต้องไปหาเอามามาลองใช้แก้ปัญหาแทบเกือบจะทุกตัวที่มี ยาหลายตัวก็ผ่านมือเรามาหมด แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่บอกสรรพคุณไว้ซักเท่าไหร่ ความเสียหายก็ยังเกิดขึ้นเป็นประจำจนเริ่มท้อแท้ใจ ก็เลยลองเริ่มหันไปทดลองใช้สินค้าในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์บางตัวดูบ้าง แต่ก็ยังแก้ไขได้บ้างเป็นบางครั้งบางคราว แต่ก็ยังไม่ได้ผลแบบเบ็ดเสร็จและเด็ดขาดซักเท่าไหร่ ยังคงเกิดโรคที่สร้างความเสียหายให้เห็นอย่างหนาตามาโดยตลอด

เกือบจะเจอ “ทางตัน แต่..ไม่ตัน

- จนกระทั่งมาในปี 2543 ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ กับผู้รู้บางท่าน เกี่ยวกับ “องค์ความรู้” ใหม่ๆ ที่ไม่ได้ใช้สารเคมีในกลุ่มต่างๆที่เราเคยใช้ไปกำจัดหรือฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียที่เกิดโรค ซึ่งไม่เกิดผล แต่ “องค์ความรู้” นี้จะเป็นการใช้ “กรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์” บางตัว ที่มีกลไกในการทำงานที่สามารถควบคุมและฆ่าเชื้อรา & แบคทีเรียสาเหตุของโรคได้จริง การแก้ปัญหาจึงเริ่มมีความหวังขึ้นมาและนำมาปรับใช้ร่วมกับการปรับสภาพดินไปด้วยก็ช่วยแก้ปัญหาได้ดีทีเดียว โดยการใช้ยาจะเน้นฉีดพ่นป้องกัน ตั้งแต่หลังจากปลูกพืชเสร็จใหม่ๆ และมีการปรับสูตรของยา และวิธีการใช้จนลงตัวเพื่อทำให้ได้ผลดีและช่วยลดการเกิดโรคลงจนอยู่ในจุดที่ไม่เกิดเสียหายทางเศรษฐกิจได้ (คือให้เสียหายไม่เกิน 1-2%) ตามที่ตั้งเป้าไว้

                        ภัคภณ   ศรีคล้าย
           http://paccapon.blogspot.com
                                                               
.......................................................................

มารู้จักโรค “เหี่ยวเฉา” (Bacterial Wilt) 
     กันซักหน่อย ดีไหม?

โรค “เหี่ยวเฉา” (Bacterial Wilt)
      หรือ “เหี่ยวเขียว” ในพืชตระกูล Solanaceae
     (พริก, มะเขือ, มะเขือเทศ, ยาสูบ, มันฝรั่ง ฯลฯ)

▪️สาเหตุเกิดจาก :  เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia 
     solanacearum

▪️ลักษณะอาการ : 
- โรคเหี่ยวเฉา (Bacterial Wilt) เกิดจากการที่เชื้อเข้าไปเจริญอยู่ในท่อลำเลียงน้ำของพืช (xylem) ทำให้ท่อน้ำอุดตัน เชื้อแบคทีเรียจะไปสร้างก้อน Cyst ไปอุดตันในท่อน้ำ-ท่ออาหาร จนเกิดอาการเหี่ยว (หรือถ้าบริเวณรากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปสร้างสิ่งอุดตันหรือตัวมันไปอาศัยอยู่ในบริเวณราก (ที่เห็นเป็นปุ่มปม) ก็ทำให้พืชเหี่ยวได้เหมือนกัน เราต้องแยกแยะไปอีกสาเหตุหนึ่ง)

- การเกิดโรคเหี่ยวมักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ และขยายเป็นวงกว้างออกไปเรื่อยๆในสภาพดินที่มีความชื้นสูง การเกิดโรคก็จะมากและมีการระบาดอย่างรวดเร็ว

- ต้นพืช (พริก, มะเขือ, มะเขือเทศ, ยาสูบ, มันฝรั่ง) จะแสดงอาการที่เหี่ยวเริ่มที่ใบ หลังจากนั้น 2-3 วัน อาการเหี่ยวจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยที่ไม่มีอาการใบเหลืองหรือใบจุดเกิดขึ้น ภายในไม่กี่วันต้นพืชก็จะยืนต้นตาย เมื่อถอนต้นที่เป็นโรคมาตัดตามขวางตรงระดับดินจะเห็นว่าไส้กลางต้นแสดงอาการช้ำน้ำสีเข้มกว่าต้นปกติ เมื่อทิ้งไว้หรือบีบต้นดูจะมีเมือกสีขาวข้น หรือสีครีมไหลออกมาตรงรอยตัดต้นที่เป็นโรคอย่างรุนแรง ไส้กลางต้นจะถูกทำลายเป็นรูกลวง ถ้าตัดโคนต้นที่แสดงอาการแล้วแช่น้ำในภาชนะใสประมาณ 5 นาทีจากรอยตัด จะพบว่าเนื้อเยื่อบริเวณท่อน้ำเปลี่ยนเป็นสีดำหรือน้ำตาล และเมื่อนำไปจุ่มน้ำจะพบ  Bacterial Stream ไหลออกจากบริเวณรอยตัด จะเป็นสายขุ่นขาวในน้ำใสคล้ายน้ำนม (ใช่ข้อสังเกตนี้ แยกอาการเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum หรืออาการเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii)

.......................................................................

🎴มารู้จัก “คาร์บอกซิล-พลัส” (Carboxyl Plus)
     กรดอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครองและ
     รักษาโรคพืช 


คุณสมบัติพิเศษ 
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรค
   พืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้ง
   ต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสาร
   อาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่าง
   รวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและ
   ภายนอกเช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก, มะเขือเทศ, มัน
   ฝรั่ง, โรคเน่าและกระหล่ำ, โรคแข้งดำยาสูบ,
   โรคใบหงิกงอ, ใบหดยาสูบ, โรคโคนเน่ามะเขือ
   ต่างๆ, โรคใบจุดวงแหวนมะละกอ, โรคจากเชื้อ
   ไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มี
   อันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate)
   ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็ง
   แรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่ง
   แวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิต
   ใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้
   ดอกไม้ประดับ

🧧องค์ประกอบ
- เป็นกรดอินทรีย์ (Organic acid) : สารอินทรีย์
     ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+)
- กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) : กรด
     อินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล
- กรดไขมัน (Fatty acic) : กรดคาร์บอกไซลิคที่
     มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain)
     เท่านั้น
- กรดไขมัน (Fatty acic) : กรดคาร์บอกไซลิคที่
     มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain)
     เท่านั้น

🧧กลไกการออกฤทธิ์
▪️ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้
      H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล RCOOH [(RCOO-)
      +(H+)]
▪️ที่จุดสมดุลย์  กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพ
     แตกตัวและไม่แต่ตัว
     (RCOO-) = สภาพแตกตัว (ไม่สามาถผ่านชั้น
                         ผนังเซลล์ได้)
     (RCOOH) = สภาพไม่แตกตัว (สามารถผ่านชั้น
                          ผนังเซลล์ได้)
▪️ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมี
     สภาพแตกตัวไม่เท่ากัน วัดได้เป็นค่า pKa (ค่า
     การแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด
▪️กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า
     กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)



🧧กลไกการทำงาน
  - คาร์บ๊อกซิล-พลัส ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิค และกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์สรุปได้ดังนี้

1. กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
2. กรดในสภาพไม่แตกตัวจะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์ทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว
3. กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัว ทำให้ pH ในเชื้อโรคลดลง และเปลี่ยนคุณสมบัติโปรตีนทำให้สูญเสียคุณสมบัติการเป็นเอ็มไซม์ที่จำเป็นของเชื้อโรค
4. เชื้อโรคเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลาทำให้สูญเสียพลังงานจนตาย
5. กรดแตกตัวประจุลบ ( RCOO-) จะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและรบกวนขบวนการสังเคราะห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย

สรุป : การทำงาน (ง่ายๆ) ของคาร์บ๊อกซิล
1) ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลย์และถูกทำลาย
2) ผนังเซลล์ร้าวและรั่ว
3) เอนไซม์ (Enzyme) ในเชื้อโรคถูกทำลาย และ
     เชื้อโรคหยุดการเจริญเติบโต
4) เชื้อโรคสูญเสียพลังงานจากการขับทิ้ง H+ จน
     ตายลงไป
5) เชื้อโรคสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) และโปรตีน
     (Protein) ไม่ได้ และตายไปในที่สุด
🧧เชื้อโรคหมดแรงและเสียพลังงาน (ขับ H+ทิ้ง) ก็
   ตายไป อีกทั้งเชื้อโรคยังสังเคราะห์ DNA และ
   Protein ไม่ได้ก็ตายไป ตายทั้ง 2 ทาง โดยไม่
   ทันตั้งตัว เสมือนกินเชื้อโรคท้องร่วงเข้าไปอย่าง
   รุนแรงและถ่ายจนหมดแรงตายไป

http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post.html?m=0
คู่หู..หยุดโรค




สอบถามปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
(โทร. จ-ศ 9.30-18.00 ,ส 9.30-12.00)

📲Line id : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อได้
https://lin.ee/nTqrAvO  






วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของพืช

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของพืช


• การเกิดดอก
ดอกพืชเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นจุดเริ่มแรกของการขยายพันธุ์ โดยการพัฒนาต่อไปเป็นผลและเมล็ด ไม้ดอกหลายชนิดถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่มีดอกขนาดใหญ่ สีสวยและออกดอกสมํ่าเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ล้มลุก และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งผลิตขึ้นมาจากต้นพ่อและแม่ที่ได้รับการคัดเลือกมาแล้ว พืชเหล่านี้จงมักไม่มีปัญหาเรื่องการออกดอก ถ้ามีการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ส่วนไม้ผลหลายชนิดมีปัญหาว่าบางครั้งไม่ออกดอกทั้งๆ ที่ถึงฤดูกาลที่เหมาะสมแล้วก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องการออกดอกของไม้ผลจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากผลผลิตของไม้ผลขึ้นอยู่กับการออกดอกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังอยู่ในความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ทั้งทลาย ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาอีกนาน

จากความพยามยามของนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวทำให้เราทราบถึงปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกดอกของพืชบางชนิด และหนึ่งในปัจจัยสำคัญนั้นคือฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของพืช มีกี่ชนิด อะไรบ้าง สร้างขึ้นอย่างไร ยังเป็นปัญหาที่ไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ เคยมีผู้เสนอว่าการออกดอกของพืชถูกควบคุมโดยฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งเรียกว่าฟลอริเจน (florigen) แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดสกัดฟลอริเจน จากพืชได้เลย และไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ว่า ฟลอริเจนมีจริงหรือไม่ เคยมีรายงานว่า จิบเบอเรลลิน น่าจะเป็นฟลอริเจนเนื่องจากเร่งการออกดอกของพืชได้ แต่ต่อมามีข้อโต้แย้งว่า จิบเบอเรลลินก็มีผลยับยั้งการออกดอกของพืชมากชนิดเช่นกัน จึงไม่อาจจัดว่าจิบเบอเรลลิน เป็นฟลอริเจนได้ ในระยะหลังพบว่าเอทิลีนกระตุ้นให้พืชหลายชนิดออกดอกได้แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิด และยังพบว่าพืชบางชนิดถ้าได้รับเอทิลีนมากเกินไปจะถูกยับยั้งออกดอกแต่ถ้าได้รับสารเพียงช่วงสั้นๆ กลับออกดอกได้ เช่นแดฟโฟดิล แต่ในทางตรงกันข้ามบางพืชจะออกดอกได้เมื่อได้รับเอทิลีนติดต่อกันเป็นเวลานานพอควร เมื่อเป็นเช่นนี้จึงคิดว่ามีแนวทางที่เป็นไปได้ 2 ทางที่จะอธิบายการเกิดดอกของพืช นั่นคือประการแรก พืชแต่ละชนิดต้องการฮอร์โมนต่างชนิดกันเพื่อการออกดอก และประการที่สอง คือการออกดอกถูกควบคุมโดยระดับความสมดุล ระหว่างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและสารยับยั้งการเจริญเติบโต แต่แนวทางทั้ง 2 นี้มีความเป็นไปได้หรือไม่นั้น ยังไม่มีใครให้คำตอบได้

• กระบวนการออกดอกของพืช
การออกดอกเป็นสัญญานว่าพืชนั้นเข้าสู่ระยะชราภาพ (senescence) พืชบางชนิด เมื่อออกดอกติดผลแล้วจะตายเนื่องจากครบวงจรชีวิตแล้ว ได้แก่พืชล้มลุกทั้งหลาย เช่น กล้วย ไผ่ สับปะรด แต่พืชบางชนิดเมื่อออกดอกติดผลแล้วก็จะเริ่มมีการเจริญทางกิ่งใบใหม่ จนกระทั่ง กิ่งใบเหล่านี้แก่พอก็จะออกดอกติดผลอีก และเป็นเช่นนี้วนเวียนไปเป็นเวลานานก่อนที่ต้นจะตาย ได้แก่พวกไม้ผลยืนต้นทั้งหลาย เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียน

พืชทั่วไปจะออกดอกได้เมื่อมีความพร้อมนั่นคืออายุ อาหารสะสม สภาพแวดล้อมพอเหมาะ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยร่วมกันจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ อย่างไรก็ตามพืชบางชนิดมีข้อยกเว้นแตกต่างกันไป เช่นต้นกล้ามะม่วงที่เกิดจากการทาบกิ่ง อาจออกดอกได้ภายในกระถาง หลังจากย้ายปลูกใหม่ๆ เมื่อได้รับอากาศเย็นพอเพียง กรณีนี้แสดงว่าสภาพแวดล้อมมีผลอย่างมาก ในการบังคับให้เกิดดอกทั้งๆ ที่อายุยังไม่พร้อม แต่ในขณะเดียวกันไม้ผลอีกหลายชนิดเช่น ลำไย ลิ้นจี่ รวมทั้งมะม่วง ที่มีอายุหลายปีก็ไม่สามารถออกดอกได้ในบางปี ทั้งๆ ที่มีสภาพอากาศพอเหมาะ กรณีนี้อาจเกิดจากอาหารสะสมภายในต้นไม่เพียงพอ หรืออายุของกิ่งและใบยังไม่พร้อมเช่นใบยังไม่แก่จัดขณะได้รับอากาศเย็น ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือไม้ผลเหล่านี้ถ้ามีการ ออกดอกติดผลมากในปีหนึ่ง จะมีผลให้เกิดการออกดอกน้อยในปีถัดไป ซึ่งน่าจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าอายุของกิ่งและอาหารสะสมภายในกิ่งมีความสำคัญต่อการเกิดดอกมาก ไม้ผลบางชนิดเช่น มะม่วงทะวาย สามารถออกดอกได้ทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับสภาพแวดล้อม แต่ขึ้นอยู่กับอาหารสะสมเป็นสำคัญ

• ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอก
การเกิดดอกของพืชถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ ทั้งสภาพแวดล้อมและชนิดของพืช ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดของแต่ละปัจจัยได้ดังนี้

1. พันธุ์ พืชต่างพันธุ์กันมีความสามารถในการออกดอกไม่เท่ากัน เช่นลิ้นจี่พันธุ์ ฮงฮวยจะออกดอกได้ยากกว่าลิ้นจี่พันธุ์ค่อมเมื่อปลูกในสภาพแวดล้อมเช่นภาคกลาง และในทำนองเดียวกันมะม่วงทะวายต่างๆ มีพฤติกรรมการออกดอกง่ายและสมํ่าเสมอกว่ามะม่วงพันธุ์ เขียวเสวย ในการบังคับการออกดอกของพืชเหล่านี้ก็จะพบว่าพันธุ์ที่ออกดอกได้ง่ายอยู่แล้วมีโอกาสที่จะตอบสนองต่อการบังคับได้ดีกว่าพันธุ์ที่ออกดอกได้ยาก

2. อายุของพืช เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่กำหนดการออกดอกของพืช ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าพืชต้องมีการเติบโตทางด้านกิ่งใบในช่วงแรกก่อนจนกระทั่งถึงอายุเหมาะสมจึงจะออกดอกได้ เช่นสับปะรดจะออกดอกได้เมื่อมีอายุไม่น้อยกว่า 8 เดือนภายหลังจากปลูกด้วยหน่อ ดังนั้นการบังคับการออกดอกโดยใช้สารเคมีต้องทำเมื่ออายุต้นมากกว่า 8 เดือนขึ้นไปถ้าอายุน้อยกว่านี้ก็จะไม่ออกดอก พืชล้มลุกหลายชนิด เช่นไม้ดอกล้มลุก ผักชนิดต่างๆ มักจะมีช่วงอายุก่อนการออกดอกค่อนข้างคงที่โดยขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูกาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับอายุก่อนการออกดอกเป็นอย่างมาก การที่พืชเหล่านี้มีอายุก่อนการออกดอกค่อนข้างคงที่และมีกำหนดตายตัว จึงเป็นผลดีต่อการวางแผนการปลูกเพื่อผลิตพืชเหล่านั้นให้ตรงตามความต้องการได้ แต่พืชหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลยืนต้น ซึ่งมีการเติบโตทางด้านกิ่งใบสลับกับการออกดอกนั้น จะควบคุมการออกดอกได้ยากกว่าเนื่องจากช่วงอายุระหว่างการเติบโตทางกิ่งใบและการออกดอกไม่มีกำหนดตายตัวที่แน่นอน การออกดอกของพืชเหล่านี้จึงมักขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆ เป็นสำคัญ

3. แสง มีความสำคัญต่อการออกดอกของพืชหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชล้มลุก ซึ่งคุณภาพของแสง ความเข้มของแสง และความยาวของช่วงวันเป็นสิ่งกำหนดการออกดอก โดยที่ความเข้มของแสงยิ่งมากก็จะทำให้การสังเคราะห์แสงดีขึ้น จึงมีอาหารมากพอในการออกดอก ส่วนความยาวของวันนั้นก็สำคัญมากเช่นกัน พืชทั่วๆ ไปสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท โดยอาศัยการตอบสนองต่อความยาวของช่วงวัน คือพืชวันสั้น (short day plant) พืชวันยาว (long day plant) และพืชที่ไม่ตอบสนองต่อช่วงวัน (neutral plant) พืชวันสั้นจะออกดอกได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาพที่มีช่วงแสงตํ่ากว่าช่วงวิกฤติ (critical period) ช่วงวิกฤตินี้คือ ช่วงความยาวของวันที่กำหนดให้ของพืชแต่ละชนิดเปลี่ยนการเติบโตทางด้านกิ่งใบไปเป็นการออกดอก ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีช่วงวิกฤติที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น เบญจมาศ ซึ่งเป็นพืชวันสั้น มีช่วงวิกฤติ 13.5 ชั่วโมง หมายความว่าเบญจมาศจะออกดอกได้เมื่ออยู่ในสภาพที่มีแสงน้อยกว่า 13.5 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าความยาวช่วงวันมากกว่านี้จะเกิดการเติบโตทางด้านกิ่งใบ แทนการออกดอก ดังนั้นจึงสามารถบังคับการเติบโตของเบญจมาศได้ โดยในช่วงแรกของการปลูกจะมีการเปิดไฟในเวลากลางคืนเพื่อทดแทนแสงอาทิตย์ ซึ่งจะทำให้มีแต่การเติบโตทางกิ่งใบ เมื่อต้นโตได้ขนาดดีแล้ว จึงใช้ผ้าดำคลุมโรงเรือนในเวลาใกล้เย็นเพื่อไม่ให้ได้รับแสง ทำให้ช่วงที่ต้นเบญจมาศได้รับแสงน้อยกว่าช่วงวิกฤติจึงเกิดการออกดอกได้ พืชชนิดอื่นที่จัดเป็นพืชวันสั้น ได้แก่ ถั่วเหลือง คริสต์มาส กุหลาบหิน สตรอเบอรี่ เป็นต้น

พืชอีกประเภทหนึ่งคือพืชวันยาว ซึ่งพืชเหล่านี้จะออกดอกได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาพที่มีช่วงวันยาวกว่าช่วงวิกฤติ เช่น คาร์เนชั่น มันฝรั่ง ผักกาดหอม แรดิช ส่วนพืชที่ไม่ตอบสนองต่อช่วงวัน เช่น มะเขือเทศ ทานตะวัน ข้าวบางพันธุ์ พืชเหล่านี้จะออกดอกได้เมื่อถึงอายุโดยไม่ เกี่ยวข้องกับความยาวของช่วงวัน แต่ก็มีพืชบางชนิดที่ออกดอกได้ไม่ว่าช่วงวันเป็นเท่าใด แต่จะออกดอกได้เร็วขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพช่วงวันสั้นหรือยาว เช่น ดาวกระจาย ฝ้าย และข้าวบางพันธุ์ ซึ่งจะออกดอกได้เร็วขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงวันสั้น ส่วนถั่วลันเตา และพิทูเนียจะออกดอกได้เร็วขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงวันยาว

4. อุณหภูมิ เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอันหนึ่ง ไม้ผลหลายชนิดต้องการอากาศเย็นช่วงหนึ่งก่อนการออกดอก เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย เงาะ ความต้องการอากาศเย็นของแต่ละพืชหรือแต่ละพันธุ์แตกต่างกันไป เช่นมะม่วงต้องการช่วงอากาศเย็นน้อยกว่าลิ้นจี่ก็ออกดอกได้ และลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยซึ่งปลูกมากทางภาคเหนือต้องการอากาศเย็นยาวนานกว่าลิ้นจี่พันธุ์ค่อมที่ปลูกแถบภาคกลาง อุณหภูมิตํ่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนภายในพืช และทำให้พืชชะงักการเติบโตทางกิ่งใบ จึงมีผลกระตุ้นการออกดอกได้ถ้าสภาพอื่นๆ พร้อม เช่น อาหารสมบูรณ์ เละไม่อยู่ในช่วงใบอ่อน ไม้ดอกเขตหนาวหลายชนิดต้องการอากาศเย็นก่อนการออกดอกเช่นกัน ได้แก่เบญจมาศบางพันธุ์ กุหลาบหิน คาร์เนชั่น

มีพืชอีกหลายชนิดที่สามารถออกดอกได้ทุกฤดูกาลไม่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิหรือเกี่ยวข้องน้อยมาก ได้แก่มะละกอ มะม่วงทะวาย มะพร้าว เป็นต้น อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่า อุณหภูมิยังเป็นปัจจัยสำตัญต่อการออกดอกของพืชหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิตํ่า

5. ความชื้นในดิน ไม้ผลหลายชนิดต้องการช่วงแล้งก่อนการออกดอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบกับสภาพอากาศเย็น ก็จะช่วยกระตุ้นให้ออกดอกได้มากขึ้น ในสภาพแล้งดังกล่าวต้นพืชจะชะงักการเติบโตทางกิ่งใบและเกิดการสะสมอาหารมากขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดดการออกดอก ดังนั้นวิธีการงดให้นํ้ากับพืชบางชนิด เช่น ส้ม น้อยหน่า มะม่วง ทุเรียน เงาะ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะบังคับให้เกิดการออกดอก อย่างไรก็ตามในกรณีที่ต้นมีความสมบูรณ์สูงมาก อาจไม่จำเป็นต้องงดนํ้า ก็สามารถออกดอกได้เช่นกัน

6. การตัดแต่งกิ่ง เป็นการบังคับการออกดอกของไม้ผลบางชนิด เช่น น้อยหน่า ส้ม องุ่น วิธีการนี้เป็นการลดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ และยังมีผลทำให้ต้นพืชสร้างอาหารได้ดีขึ้น โดยมีการแตกใบใหม่ออกมา ซึ่งใบใหม่เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูงกว่าใบแก่นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องจะเป็นการลดการแก่งแย่งอาหารระหว่างกิ่งพืช จึงทำให้มีอาหารสะสมสำหรับการออกดอกมากขึ้น

7. ฮอร์โมน เป็นปัจจัยที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลสรุปของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเกือบทุกปัจจัยล้วนแล้วแต่มีผลกระทบถึงระดับฮอร์โมนภายในพืชทั้งสิ้น การออกดอกของไม้ผลยืนต้นหลายชนิดถูกควบคุมโดยปริมาณ จิบเบอเรลลินและเอทิลีนที่พืชสร้างขึ้น ในช่วงที่มีการออกดอกพบว่าปริมาณจิบเบอเรลลินจะลดระดับลง และมีการสร้างเอทิลีนมากขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการออกดอกของพืชเป็นกระบวนการหนึ่งที่เข้าสู่ระยะชราภาพ ดังนั้นการลดระดับของจิบเบอเรลลินและการเพิ่มปริมาณ ของเอทิลีนจึงสอดคล้องกับความจริงข้อนี้ นั่นคือจิบเบอเรลลินเป็นสารที่ส่งเสริมให้พืชเติบโตทางด้านกิ่งใบหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเยาวภาพ (juvenility) ของพืช ส่วนเอทิลีนส่งเสริมให้เกิดการแก่ชรา (senescence) ฮอร์โมนชนิดอื่น เช่น ออกซิน และไซโตไคนิน อาจเกี่ยวข้องกับการออกดอกเช่นกัน โดยเหตุที่ฮอร์โมนทั้ง 2 กลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับเยาวภาพของพืช จึงมักมีผลชะลอการออกดอก แต่ผลของสารดังกล่าวอาจไม่เด่นชัดเท่าจิบเบอเรลลิน อย่างไรก็ตาม การใช้สารจิบเบอเรลลิน ออกซิน หรือไซโตไคนินกับพืชบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นการออกดอกได้ แต่ไม่ทุกกรณี

• การบังคับการออกดอกของไม้ผลยืนต้น
การออกดอกของพืชเป็นการเปลี่ยนจากสภาพการเจริญทางกิ่งใบมาเป็นการเจริญทางด้านการสืบพันธุ์ พืชทั่วไปไม่สามารถเจริญได้พร้อมกันทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลยืนต้น เมื่อมีการเจริญทางกิ่งใบก็จะไม่ออกดอกและเมื่อมีการออกดอกก็จะหยุดการเจริญทางกิ่งใบ ดังนั้นการบังคับการออกดอกของไม้ผลหลายชนิดจึงทำได้โดยการลดการเติบโตทางกิ่งใบ เช่น ลดปุ๋ยไนโตรเจน งดการให้น้ำก่อนการออกดอก ซึ่งมีผลให้ต้นมีการเติบโตทางกิ่งใบน้อยลง และจะออกดอกได้ ส่วนวิธีการอื่นๆ ที่ใช้บังคับการออกดอก ได้แก่การควั่นกิ่ง การรัดกิ่ง การตัดราก หรือแม้กระทั่งการตัดแต่งกิ่ง การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยลดการเติบโตทางกิ่งใบ และเพิ่มการสะสมอาหารในกิ่ง

ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นก็มีส่วนอย่างมากต่อการออกดอก ปัจจุบันพบแล้วว่าพืชหลายชนิดได้แก่ มะม่วง ส้ม สตรอเบอรี่ ผลไม้เขตหนาวต่างๆ เช่น ท้อ แอปเปิล เชอรี่ อัลมอนด์ จะมีการออกดอกได้ก็ต่อเมื่อปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้นมีน้อยลง เนื่องจากจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางกิ่งใบ ดังนั้นวิธีการใดก็ตามที่มีผลทำให้ปริมาณจิบเบอเรลลินลดตํ่าลง ก็ย่อมจะกระตุ้นให้พืชเหล่านี้ออกดอกมากขึ้น วิธีหนึ่งที่จะลดปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้นพืชคือให้สารชะลอการเจริญเติบโตบางชนิดกับพืชนั้น เช่น daminozide, chlormequat, paclobutrazol ซึ่งสารเหล่านี้มีผลลดการสร้างจิบเบอเรลลินภายในพืช มีการทดลองในต่างประเทศ โดยการใช้ GA3 พ่นไปที่ต้นมะม่วง พบว่ามีผลยับยั้งการออกดอกแต่จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโต ทางกิ่งใบแทน และถ้าใช้สาร chlormequat หรือ daminozide พ่นที่ต้นมะม่วงจะทำให้ออกดอกได้มากขึ้นโดยพบว่าความยาวกิ่งจะลดลงด้วย แสดงว่าสารดังกล่าวลดการเติบโตทางกิ่งใบได้ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินในพืช อย่างไรก็ตาม เคยมีการทดลองใช้ daminozide กับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวาย#4 ปรากฎว่าสารดังกล่าวไม่สามารถลดการเติบโตทางกิ่งใบได้และไม่ช่วยให้การออกดอกมากขึ้น เมื่อไม่นานมานี้มีการผลิตสารชะลอการเติบโตชนิดใหม่คือ paclobutrazol ซึ่งสารนี้มีผลอย่างมากในการลดการสร้างจิบเบอเรลลินในพืช เมื่อทดลองใช้กับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวาย#4 จะทำให้ความยาวกิ่งลดลง และกระตุ้นให้เกิดดอกได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

ในช่วงที่พืชออกดอกนั้น นอกจากปริมาณจิบเบอเรลลินจะลดลงแล้วยังพบว่าพืชหลายชนิดจะมีปริมาณเอทิลีนสูงขึ้นด้วย ดังนั้นจึงอาจใช่เอทิลีนหรือสารปลดปล่อยเอทิลีนเช่น ethephon บังคับการออกดอก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือสับปะรด ซึ่งมีการใช้ ethephon บังคับการออกดอก และใช้ในเชิงพาณิชย์ทุกวันนี้ จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการออกดอกเป็นกระบวนการเข้าสู่ชราภาพของพืช และเอทิลีนเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการชราภาพ ดังนั้นจึงมีแนวทางที่เป็นไปได้มากว่าเอทิลีนสามารถกระตุ้นการออกดอกของไม้ผลชนิดต่างๆ ได้ เช่น มะม่วง เงาะ ลิ้นจี่ ซึ่งเคยมีรายงานการทดลองการใช้ ethephon กับพืชเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการออกดอกได้ อย่างไรก็ตามคาดว่าการใช้สารดังกล่าวให้ได้ผลนั้นจะต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของต้นเป็นสำคัญ

จากที่กล่าวมาพอสรุป’ได้ว่า การควั่นกิ่งหรือรัดกิ่ง การตัดราก มีผลให้เกิดการสะสมอาหารมากขึ้นหรือลดการเติบโตทางกิ่งใบ การใช้สารชะลอการเจริญเติบโตมีผลลดการสร้างจิบเบอเรลลินซึ่งทำให้พืชหยุดการเติบโตทางกิ่งใบ และการใช้เอทิลีนมีผลเร่งให้พืชเข้าสู่ระยะชราภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้พืชเกิดการออกดอก ดังนั้นถ้านำปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ก็น่าจะทำให้การออกดอกของไม้ผลเป็นไปได้ดีขึ้น

• การออกดอกของพืชล้มลุก
พืชล้มลุกมีวงจรชีวิตสั้น เมื่อออกดอกติดผลแล้วก็จะตายไป พืชเหล่านี้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีอายุถึงกำหนดก็จะออกดอกได้ตามปกติ โดยไม่ต้องมีการบังคับ แต่ในบางกรณีที่พืชนั้นอยูในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็อาจใช้ PGRC ช่วยในการออกดอกได้ เช่นพืชวันยาวจะไม่ออกดอกในสภาพที่มีช่วงวันสั้น แต่การใช้จิบเบอเรลลินให้กับพืชเหล่านี้มีผลทดแทนช่วงวันยาว จึงเร่งให้ออกดอกได้เมื่อปลูกพืชเหล่านี้ในสภาพวันสั้น แต่อย่างไรก็ตามจิบเบอเรลลินไม่สามารถเร่งการออกดอกของพืชวันสั้นที่ปลูกในสภาพวันยาวได้

พืชหลายชนิดที่มีการเติบโตของลำต้นแบบเป็นกระจุก (rosette) เช่น ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี พืชเหล่านี้จะมีปล้องสั้นและถี่มากใบจึงอยู่ชิดกัน ทำให้เกิดลักษณะทรงพุ่มแน่นเหมือนดอกกุหลาบ แต่เมื่องถึงช่วงการออกดอกจะมีการยืดตัวของปล้องอย่างมาก เนื่องจากในช่วงนี้มี ปริมาณจิบเบอเรลลินสูงขึ้น ดังนั้นการใช้จิบเบอเรลลินกับพืชเหล่านี้ในช่วงที่ยังมีแต่การเติบโตทางกิ่ง ใบ จึงอาจบังคับให้ต้นยืดตัวและออกดอกได้ และในทางตรงกันข้ามถ้าใช้สารชะลอการเจริญเติบโต ซึ่งมีผลยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินก็มีผลในทางส่งเสริมการเติบโตทางกิ่งใบและยับยั้งการออกดอกได้ เช่น การใช้ daminozide กับผักกาดหอมจะช่วยชะลอการเกิดดอก และการใช้ daminozide กับกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี หรือผักกาดเขียวปลีจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากสารดังกล่าวมีผลส่งเสริมการเติบโตทางกิ่งใบแทนการออกดอก

สารชะลอการเจริญเติบโตมีผลเร่งการออกดอกของพืชหลายชนิด เช่นการใช้ chlormequat กับมะเขือเทศ จะช่วยให้เกิดดอกได้มากและเร็วขึ้นกว่าปกติ โดยมีผลทดแทนสภาพความเย็น นั่นคือมะเขือเทศเมื่อปลูกในฤดูหนาวจะมีใบน้อยลง ลำต้นสั้นและออกดอกมากและเร็ว ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะพบในมะเขือเทศที่ปลูกนอกฤดูซึ่งมีการใช้สารชะลอการเติบโต สารชะลอการเจริญเติบโตยังมีผลเร่งการออกดอกของพืชอื่นอีกเช่น แกลดิโอลัส และไม้ดอกเขตหนาวอีกหลายชนิด

สารในกลุ่มไซโตไคนินอาจมีผลเร่งการออกดอกได้ในบางพืช เช่น มะเขือเทศและกล้วยไม้บางพันธุ์ เมื่อไม่นานมานี้มีการทดลองใช้สาร BAP กับกล้วยไม้อแรนด้า คริสติน (Aranda ‘Christine’) โดยตัดยอดเดิมของต้นออกและใช้สารละลาย BAP หยอดที่ตาข้างหรือใช้ในรูปครีมลาโนลินทาที่ตาข้าง จะทำให้เกิดดอกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามผลของสารไซโตไคนินที่มีต่อการออกดอกของพืช อาจเป็นเพราะว่าสารกลุ่มนี้กระตุ้นให้มีการแตกตามากขึ้น และในกรณีที่ตานั้นเป็นตาดอก ก็จะทำให้พบว่ามีการออกดอกมากขึ้น

โดยสรุปแล้วสารพวกจิบเบอเรลลิน สามารถเร่งการออกดอกของพืชบางชนิดได้และยับยั้งการออกดอกของพืชอีกหลายชนิด และในทางตรงกันข้าม สารชะลอการเจริญเติบโตอาจเร่งการออกดอกของพืชบางชนิดได้ แต่จะมีผลยับยั้งหรือชะลอการออกดอกของพืชที่ถูกกระตุ้นการออกดอกโดยจิบเบอเรลลิน ส่วนสารชนิดอื่น เช่น ออกซิน ไซโตไคนิน และเอทิลีน มีบทบาทต่อการออกดอกของพืชล้มลุกไม่เด่นชัดนัก

• สัดส่วนเพศดอก
ดอกพืชมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์อยู่ 2 อย่างคือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย พืชหลายชนิดมีดอกซึ่งประกอบด้วยทั้ง 2 เพศอยู่ในดอกเดียวกัน แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่แยกกัน โดยอาจอยู่ต่างดอกกันหรือแม้กระทั่งต่างต้นกัน ถ้าแบ่งพืชตามลักษณะของเพศดอกจะได้ดังนี้

1. พืชที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศอยู่แยกต้นกัน เช่น หน่อไม้ฝรั่ง เงาะ มะละกอ พืชเหล่านี้ถ้าเป็นต้นตัวผู้แท้หรือตัวเมียแท้ก็ไม่สามารถกระตุ้นให้เปลี่ยนไปเป็นอีกเพศหนึ่งได้

2. พืชที่มีดอกตัวผู้และตัวเมีย อยู่ในต้นเดียวกันแต่ต่างดอกกัน เช่น กล้วย มะพร้าว ขนุน ข้าวโพด แตงกวาและพืชตระกูลแตงทั้งหลาย

3. พืชที่มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้หรือตัวเมีย อยู่ในช่อเดียวกันแต่ต่างดอกกัน เช่น มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่

ดอกตัวผู้ของพืชไม่สามารถติดผลได้ แต่ก็ยังมีประโยชน์โดยการปล่อยละอองเกสรตัวผู้ไปผสมกับเกสรตัวเมีย พืชหลายชนิดถ้ามีแต่ดอกตัวเมียเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถติดผลได้เช่นกันเนื่องจากไม่มีเกสรตัวผู้มาผสม ดังนั้นสัดส่วนระหว่างดอกตัวผู้และตัวเมีย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ เกี่ยวข้องกับผลผลิตของพืช เมื่อศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเพศดอกพบว่าสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ปริมาณนํ้าในดิน และฤดูกาล ล้วนมีส่วนสำคัญทั้งสิ้น แต่สาเหตุที่แท้จริงในการควบคุมการแสดงเพศดอก คือ ฮอร์โมน สภาพแวดล้อมมีผลต่อปริมาณฮอร์โมน ภายในพืชจึงมีผลทางอ้อมในการควบคุมเพศดอกเช่นกัน

พืชตระกูลแตงเป็นตัวอย่างสำคัญในการศึกษาเรื่องการแสดงเพศดอก จากการศึกษากันอย่างกว้างขวางในพืชเหล่านี้ได้ข้อสรุปว่าฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเกิดดอกตัวผู้คือ จิบเบอเรลลิน และฮอร์โมนที่กระตุ้นการเกิดดอกตัวเมียคือ ออกซินและเอทิลีน จากหลักการนี้เองจึงมีประโยชน์อย่างมากในการควบคุมเพศดอกของพืชให้เป็นไปตามที่เราต้องการ การใช้สาร ethephon ซึ่งเป็นสารปลดปล่อยเอทิลีน พ่นต้นแตงกวาสายพันธุ์ที่ให้ดอกตัวผู้และตัวเมียในต้นเดียวกันในระยะต้นกล้ามีใบจริง 1-3 ใบ จะทำให้เกิดดอกตัวเมียได้มากขึ้น โดยที่บางพันธุ์จะไม่มีดอกตัวผู้ เกิดขึ้นเลยในข้อแรกๆ ของต้น ซึ่งตามปกติแล้วในข้อแรกๆ นั้นจะต้องเป็นดอกตัวผู้จึงเหมาะที่จะใช้กับแตงกวาที่ปลูกเป็นการค้าทั่วไปเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นและเร็วขึ้น ส่วนแตงกวาสายพันธุ์ที่มีแต่ดอกตัวเมียทั้งต้นนั้น ปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ การใช้สาร GA3 หรือ GA4 + GA7 ทาที่ยอดต้นกล้าหรือพ่นต้นในระยะที่มีใบจริง 1-2 ใบ ก็จะกระตุ้นให้เกิดดอกตัวผู้ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับงานผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม

พืชชนิดอื่นเช่น เงาะ ก็มีการใช้สารเคมีเพื่อช่วยเปลี่ยนเพศดอกเช่นกัน เงาะที่ปลูกในประเทศไทยมีต้นที่ให้ดอกตัวผู้ทั้งต้นและต้นที่ให้ดอกสมบูรณ์เพศแต่เกสรตัวผู้ไม่ทำงาน ต้นตัวผู้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้จึงถูกโค่นทิ้งเกือบทั้งหมด เหลือไว้แต่เพียงต้นที่ให้ดอกสมบูรณ์เพศ แต่เนื่องจากดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันแต่เกสรตัวผู้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เนื่องจากอับละอองเกสรไม่แตกออกมา ดังนั้นดอกเหล่านี้จึงไม่สามารถติดผล เนื่องจากไม่มีการผสมเกสร การใช้สาร NAA พ่นไปที่ช่อดอกเงาะเหล่านี้บางส่วนจะทำให้ดอกที่ได้รับสารเกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ เกสรตัวผู้จะถูกกระตุ้นให้เติบโตขึ้นมาและเกสรตัวเมียลดรูปลงจนเหมือนกับดอกตัวผู้ทั่วๆ ไป และจะปลดปล่อยละอองเกสรออกมาผสมกับดอกอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียงได้

NAA และ ethephon สามารถเปลี่ยนเพศดอกของลำไยได้ โดยทำให้ดอกตัวเมียมากขึ้น นอกจากนี้สารชะลอการเจริญเติบโต เช่น chlormequat และ daminozide ก็มีผลทำให้ดอกตัวเมียเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากสารเหล่านี้มีผลยับยั้งจิบเบอเรลลิน ซึ่งจิบเบอเรลลินเป็นสารที่ส่งเสริมการเจริญของตัวผู้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จากการทดลองกับลิ้นจี่ก็ได้ผลทำนองเดียวกันโดยมีการใช้ สาร ethephon และ daminozide ก่อนการออกดอก จะทำให้มีดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ตัวเมีย (ดอกตัวเมีย) เพิ่มมากขึ้นและยับยั้งการเกิดดอกตัวผู้ จึงทำให้อัตราส่วนระหว่างดอกตัวผู้ต่อดอกตัวเมียลดต่ำลงอย่างเด่นชัด

ในกรณีของข้าวโพดหวานพบว่าการใช้ daminozide จะทำให้เกิดดอกตัวเมีย (ฝักข้าวโพด) ได้มากขึ้น และน้ำใช้ ethephon แช่เมล็ดก่อนนำไปปลูกจะทำให้ออกฝักเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการแช่เมล็ดใน GA3 จะทำให้ดอกตัวผู้เกิดขึ้นมากกว่าปกติจนเห็นได้ชัดและมีละออง เกสรตัวผู้เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมและยังเป็นประโยชน์ต่อการติดฝักของข้าวโพด ดังนั้นถ้าปลูกต้นข้าวโพดที่ให้สาร GA3 แทรกในแปลงปลูก ก็น่าจะมีผลทำให้การผสมเกสรเป็นไปได้ทั่วถึงและเกิดการติดฝักอย่างสมบูรณ์

สารชนิดอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาก็มีผลต่อการแสดงเพศดอกบ้างเช่นกัน แต่มักจะไม่เด่นชัด เช่น maleic hydrazide, TIBA และสารในกลุ่มไซโตไคนิน ซึ่งมีผลในทางส่งเสริมการติดดอกตัวเมียในพืชบางชนิดเท่านั้น โดยสรุปแล้วการควบคุมเพศดอกให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสม ย่อมส่งผลดีถึงผลผลิตที่จะได้รับ

ที่มา:พีรเดช  ทองอำไพ

ปรึกษาเพิ่มเติมทางไลน์ คลิ๊ก>>  https://lin.ee/nTqrAvO

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แนวทางบริหารและจัดการโรคพืชยุคใหม่

แนวทางบริหารและจัดการโรคพืชยุคใหม่

 ที่มีประสิทธิภาพ กับสารยุคใหม่ ที่ปลอดภัย
 และไม่ดื้อยา เพื่อแก้ปัญหาไวรัส แบคทีเรีย
 และเชื้อรา

(โรคใบด่าง ใบหงิก ใบหด ใบจุดวงแหวน ใบจุด
 เหี่ยว โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคราก
 เน่า โคนเน่า โรคเหี่ยวเฉา โรคใบไหม้ โรครา
 แป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคง
 เคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น)

☑️ ทำไม?
ต้อง..คู่นี้
☑️ ทำไม? ต้อง..
➡️ อีเรเซอร์-1” + “ซิกน่า”




▪️อีเรเซอร์-1 :
สารประจุบวก (+) อย่างแรง ที่สามรถฆ่าเชื้อโรค
 ได้แบบเฉียบพลัน ร่วมกับสารที่ทำงาน SA-
Signaling Pathway ในกระบวนการ SAR

▪️อีเรเซอร์-1 : สารเสริมประสิทธิภาพชนิดพิเศษ
 เพื่อการกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง
 สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคพืชทุกชนิด (ทั้งไวรัส
 แบคทีเรียและเชื้อรา) ที่อยู่ภายนอกได้อย่าง
 รวดเร็ว โดยการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง "อีเร
 เซอร์-1" มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโน
 เนียม (NH4+) หรือ Ammonium Salt of
 Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก (+)
อย่างแรงที่วิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์
 ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ใน
 ทันที



▪️กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1
สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของ
 เชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก(outer membrane )

2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane)

1) การออกฤทธิ์ที่ผนังเซลล์ชั้นนอก (outer
 membrane)
- ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ (-)อยู่ด้านนอก เรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก (+) จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ (-) อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดอย่างแรง จนเกิดเกิดรอยร้าวและรั่วขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

2) การออกฤทธิ์ที่ผนังเซลล์ชั้นใน(cytoplasmic
 membrane)
- Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ (-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้

- ถ้าประจุบวก (+) แรงพอ จะทำให้ผนังเซลล์แตก
 สลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สาร
 ภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์
 สูญเสียความแข็งแรง ตามรอยรั่วเข้าไปทำลาย
 อวัยวะภายในเซลล์ ซึ่งมีประจุลบ (-) โดยทันที
........................................................................

▪️ซิกน่า : 
สารอินทรีย์สังเคราะห์ในกระบวนการชีวเคมีของ
 พืช ที่มีกลไกการทำงานทาง SA-Signaling
 Pathway และ JA-Signaling Pathway และ
 ทำงานในกระบวนการ SAR และ ISR

▪️ซิกน่า : ZIGNA
สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคและ
 แมลง


▪️การป้องกันตนเองของพืช
(Plant Defense Response)

1. การป้องกันทางกายภาพ (Physical Barriers)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ)
ได้แก่Leaf hairs, Waxy cuticles, Actin
 microfilament, ect.
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น) Cell wall
 Strengthening, Lignification, Cell death, etc

2. การป้องกันทางเคมี (Chemical Defenses)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ) ได้แก่
 สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ อาทิเช่น
Alkaloids, Saponins, Terpenoids ในน้ำยาง
 เป็นต้น
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น)
1) Local Resistance อาทิ Phytoalexins, NO,
 ROI, etc.
 2) Systemic Resistance (Signaling Defense)
อาทิ SAR, ISR, SWR เป็นต้น



........................................................................

▪️Plant Systemic Defenses
ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack) ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway

3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่งสัญญาณทาง JA-Signaling Pathway




▪️Cell Signaling in Resistance
 (การส่งสัญญาณเซลล์เพื่อป้องกันตนเองของพืช)

1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitors) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธ์เชื้อโรคบางชนิด ปล่อยสารชักนำ (Elicitors) ไปยังพืชที่มีตัวรับสัญญาณ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำ (Elicitors) นั้นๆ และเกิดสัญญาณเซลล์ขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (Messengers) ไปยังเซลล์อื่นๆทั่วทั้งต้น ที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณ (Messengers) ที่สำคัญได้แก่ Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ

3. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองของเซลล์ต่อการถูกบุกรุก

4. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ได้ส่งสัญญาณให้ Defense genes สร้างสารต่อต้านการบุกรุกต่างๆขึ้นมา

▪️ข้อสังเกต : Nonhost Plant และ Host Plant ที่ต้านทานโรค จะมีผนังเซลล์ที่สามารถรับรู้การถูกบุกรุกจากสารชักนำ (Elicitors) ของเชื้อโรค ชนิดหนึ่งๆ ได้ ขณะที่พืชไม่ต้านทานโรคจะไม่สามารถรับรู้สารชักนำ (Elicitors) ของเชื้อโรคนั้นๆได้
........................................................................

▪️กลไกการทำงานของ ซิกน่า (ZIGNA)

▪️JA-Signaling Pathway

1. เกิดจากชิ้นส่วนผนัง Cell Wall ของพืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลงได้เป็น Oligosaccharides, Systemin หรือสารชักนำ (Elicitors) ไปจับกับ Receptors ของพืชที่ผนัง Cell Membrane ทำให้พืชย่อยสลายไขมันของผนังเซลล์ และเปลี่ยน Linoleic acid เพื่อสังเคราะห์เป็น Jasmonic acid ซึ่งจะเป็นสารส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วทั้งต้น และกระตุ้นให้ Plant Defense genes สร้างสารหลายๆชนิดออกมาเพื่อต่อต้านโรคและแมลง

2. ในกรณี ISR โมเลกุลรูปแบบของเชื้อโรค (PAMPs) ที่อยู่ในผนังเซลล์ด้านนอกของ PGRP จะเป็นสารชักนำ (Elicitors)

3. เอนไซม์ในน้ำลายหรือสารหลั่งของแมลงบางชนิดอาจจะย่อยสลาย Linoleic acid ไปเป็น Jasmonic acid (JA) ได้โดยตรง
.......................................................................

▪️JA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านเชื้อโรค

1. สารต่อต้านเชื้อโรคเป็นลักษณะ Broad Spectrum ออกฤทธิ์ได้ดีกับ Necrotrophic Pathogens ทุกชนิด

2. สารต่อต้านเชื้อโรคประกอบด้วย Defense Proteins หลายชนิดเช่น Defensins, Basic PR-Proteins, Hevein-like Proteins, Thionins,etc.

3. PR-Proteins เหมือน SAR แต่เป็น Basic PR-Proteins และอยู่ในช่องว่างในเซลล์ (Vacuole)

4. เกิด Priming Effect ทำให้พืชตอบสนองและต่อต้านการติดเชื้อโลกครั้งต่อไปได้เร็วและมากขึ้น

5. เสริมฤทธิ์กับ SA-Signaling Pathwayในการต่อต้านเชื้อโรค เพราะสารต่อต้านเชื้อโรคต่างชนิดกัน

▪️SA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านเชื้อโรค

1. avr-gene (Elicitor) จากเชื้อโรคเมื่อจับกับ R-gene (Receptor) ของพืช จะเกิด Hypersentitive Response (HR) ทำให้เกิดการตอบสนองในเซลล์และสังเคราะห์ Salicylic acid (SA) ออกมา เป็นสารส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วทั้งต้น และกระตุ้นให้ PR-gene สร้าง PR-Proteins ออกมาต่อต้านเชื้อโรค

2. PR-Proteins ที่เกิดขึ้นมีหลายตัว ซึ่งมีกลไกต่อต้านเชื้อโรคที่แตกต่างกันออกไป ทำให้สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้หลายตัวพร้อมๆกัน (Broad Spectrum) และออกฤทธิ์ดีกับ Biotrophic และ Hemi-Biotrophic Pathogens ทั้งในเชื้อราแบคทีเรีย และไวรัส

3. PR-Proteins จาก SAR เป็น Acidic PR-Proteins และอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular Space)

4. แบคทีเรียบางชนิดบริเวณราก (PGPT) สามารถทำให้เกิด SA-Signaling Pathway ในระบบ ISR ได้
.......................................................................

▪️ประโยชน์ของการใช้ซิกน่า

1. ใช้เพื่อเป็น “วัคซีนพืช” : สร้างภูมิต้านทานโรค
 และแมลงก่อนที่เชื้อโรคและแมลงจะเข้าทำลาย

2. ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคพืชทั่วไป และโรคพืช
 ที่รักษายาก และยังไม่มียารักษาโดยตรง อาทิเช่น
 โรคที่เกิดจากไวรัส (ใบหงิก, ใบด่าง ฯลฯ)
โรคกรีนนิ่ง เป็นต้น

3. ใช้เพื่อช่วยลดการระบาดของแมลงที่เป็นศัตรูพืช
 และแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆสู่พืช

4. ทั้งประหยัด ทั้งปลอดภัย เพราะสามารถลดการใช้
 ยาเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคและฆ่าแมลง ที่มีพิษสูง

5. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ใช้ได้จนกระทั่งถึงช่วงเก็บ
 เกี่ยว เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง

6. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและความแข็งแรงให้
 แก่พืช ช่วยฟื้นฟูสภาพของต้นพืชที่สุดโทรม และ
 ยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชด้วย
....................................................................

▪️เทคนิคการใช้ ซิกน่า

1. แนะนำควรใช้เป็นวัคซีนพืช ในการป้องกัน
 มากกว่าที่จะใช้รักษา

2. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงอาจ
 เพิ่มอัตราการผสมจากปกติ 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
(อัตรา 1 : 2,000) เป็น 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
(อัตรา 1 : 1,000) และฉีดพ่นถี่ขึ้นมาเป็นทุกๆ 5
วัน

2. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลง อาจ
 ใช้ร่วมกับยาตัวอื่นๆอาทิ “อีเรเซอร์-1” หรือ
“คาร์บ๊อกซิล-พลัส” ได้

3. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลง ควรมี
 การใช้ร่วมกับ พาร์ทเวย์, พาร์ทเวย์-เพาเวอร์ไฟว์
 หรือซูการ์-ไฮเวย์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์สารสร้าง
 ภูมิต้านทานโรคและแมลงให้เพียงพอ




▪️ส่วนประกอบของซิกน่า (ZIGNA)

1. Jasmonic acid : เป็นสารส่งสัญญาณผ่าน JA-Signaling Pathway กระตุ้นให้พืชสร้างโปรตีนและสารต่อต้านเชื้อโรคและแมลงตามธรรมชาติ

2. Salicylic acid : เป็นสารส่งสัญญาณผ่าน SA-Signaling Pathway กระตุ้นให้พืชสร้างโปรตีนต่อต้านเชื้อโรคพืชตามธรรมชาติ

3. สารผสมอื่นๆ
........................................................................

▪️Biotroph หมายถึง เชื้อโรคตามธรรมชาติ ได้รับ
 อาหารจากเนื้อเยื่อบนสิ่งมีชีวิต

▪️Necrotrophs หมายถึง เชื้อโรคที่ชอบสิ่งที่ตาย
 แล้วกินอาหารจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว

▪️Plant pathogens are often divided into biotrophs and necrotrophs, (and, more recently, hemibiotrophs) according to their lifestyles. The definitions of these terms are:

▪️Biotrophs derive energy from living cells, they are found on or in living plants, can have very complex nutrient requirements and do not kill host plants rapidly;
▪️Necrotrophs derive energy from killed cells; they invade and kill plant tissue rapidly and then live saprotrophically on the dead remains;
▪️Hemibiotrophs have an initial period of biotrophy followed by necrotrophy.

▪️Biotrophic pathogens,such as the fungi powdery mildew, downy mildew, Fusarium, Alternaria, Mycosphaerella, Cylindrocladium, all types of rust, and so on.

▪️Necrotrophic pathogens, such as the fungi Botrytis cinerea and Sclerotinia sclerotiorum, Rice Blast, however, can utilize dead tissue.

http://paccapon.blogspot.com/…/bypasschemicalpesticides.htm…
ซิกน่า มหัศจรรย์ Jasmonic acid

http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
 Plant Defenses

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
โลกร้อน แมลงเรืองอำนาจ

http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=0
ซิกน่า และ อีเรเซอร์-1


-------------------------------------------

สอบถามปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
 (โทร. จ-ศ 9.30-18.00 ,ส 9.30-12.00)

📲Line id : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อได้



หนอนกระทู้

ในช่วงนี้
จะมีการสอบถามเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนอนกระทู้
ลายจุดในข้าวโพดกันเข้ามาเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็ใช้สารเคมีที่ทางการแนะนำมาไปใช้แก้ปัญหาและฆ่าหนอน แต่ก็เอาไม่อยู่



และควบคู่กับการจัดการหนอนกระทู้นั้น เราควรหันมามองที่มาของสาเหตุของการระบาดให้ครอบคลุมในหลายๆด้าน ว่าเราจะลดปริมาณตัวแม่ผีเสื้อ ที่จะมาออกไข่ไปพร้อมๆกันด้วยดีไหม? เพื่อลดโอกาสในการระบาดลงไป หรือควรมีการลดปริมาณหนอนวัยเล็กที่ออกจากไข่มาใหม่ในจำนวนมาก ให้ลดจำนวนน้อยลงไปบ้างดีไหม? โดยให้มันตายไปเพราะกินพืชอาหารไม่ได้นั่นไง !!


▪️วิธีบริหารและจัดการแบบผสมผสาน
ทั้งสารเคมี, ทั้งชีวเคมีประยุกต์ และทั้งชีววิธี
กับแนวทางใหม่ๆที่ใช้ “กลไกการเลียนแบบทางธรรมชาติของพืช” ในการป้องกันตนเอง (Plant Defenses)

▪️ซิกน่า (Zigna) : จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณทางชีวเคมี (ISR) เพื่อที่จะขับไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้มันเข้ามาใกล้พืช หรือเข้ามาทำลายพืชในไร่สวนของเรา ตลอดจน “ซิกน่า” ยังทำหน้าที่ในการส่งสารบางอย่าง (Volantile) เพื่อดึงดูด (Attractor) พวกแมลงพิฆาตต่างๆ ทั้ง Predator, Parasitiods (ตัวห้ำ, ตัวเบียน) ให้เข้ามาพิฆาตหรือเข้ามากำจัดแมลงศัตรูพืช ที่ทำลายพืชของเรา หรือว่าถ้ายังมีแมลงศัตรูพืชบางส่วนหลุดเข้ามากินพืชของเราเป็นอาหาร “ซิกน่า” ก็ยังมีวิธีการจัดการได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ..การกระตุ้นให้มีการยับยั้งการสร้างเอนไซม์บางตัว (Proteinases inhibitor) ในกระเพาะอาหารของหนอนและแมลง ที่จะทำให้อาหารในกระเพาะแมลงที่แมลงกินเข้าไปมันไม่ย่อย แมลงเองก็จะท้องอืดตายไป อีกทั้งยังจะหยุดกินอาหารไปในที่สุด และหยุดการทำลายพืชลงไปได้บ้าง





นี่คือ..หน้าที่หลักๆของ “ซิกน่า” ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยปกป้องพืช โดยการเลียนแบบการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของพืช (Plant Defense) นั่นเอง



อีกทั้ง..เมื่อใช้ “ซิกน่า” ร่วมกับ “ซาร์คอน” ซึ่งเป็น
กรดซิลิคอน (Orthosilicic acid) หรือเป็นธาตุเสริมประโยชน์ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้ และถูกดูดซึมเข้าไปสร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์ (Cell Wall) ซึ่งเสมือนเป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) ให้กับพืช เมื่อแมลงศัตรูพืชจะเข้ามากัดกินหรือเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากพืชของเรา ก็จะยากขึ้นเพราะมันจะแข็งมาก กัดหรือเจาะดูดลำบาก จนไม่อยากจะกัดกินเพราะมันยาก, เจาะดูดก็ยาก ปากก็จะหักปากก็จะพังเอาได้ง่ายๆ สู้หนีไปหาของที่กินง่ายๆ และอร่อยกว่าน่าจะดีกว่าไหม? พืชที่ฉีด “ซาร์คอน” ไว้ กินอย่างไงก็กินยาก กินอย่างไงก็ไม่อร่อย จริงไหม?
นี่..เราลองคิด “แบบหนอนๆ” ดูนะ




▪️ถ้าถามว่าใช้ “ซิกน่า” และ “ซาร์คอน”
มันจะช่วยแก้ปัญหา หรือปกป้องพืชได้ขนาดไหน?

ก็ขอตอบว่ามันน่าจะป้องกัน “ได้ดีในระดับหนึ่ง” ซึ่งแมลงศัตรูพืชอาจจะ  “แพ้ทาง”  กับวิธีการแบบนี้ก็เป็นได้ เพราะเป็นวิธีการทางธรรมชาติ ที่พืชใช้ในการป้องกันตนเอง (Plant Defenses) ตลอดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว มันอาจจะไม่ใช่วิธีการที่นิยมใช้กันในสมัยปัจจุบัน ที่มุ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการใช้สารเคมีอาจจะมีค่าใช้ที่ต่ำกว่า และมันก็เป็นวิธีการที่ง่ายในการใช้สารเคมีเป็นหลักแต่เพียงด้านเดียว ที่จะไปฆ่าแมลงศัตรูพืชให้ตายไปต่อหน้าต่อตาแบบสะใจชนิดเฉียบพลัน แต่สารเคมีมันก็เป็นวิธีที่จะทำให้แมลงศัตรูพืชมีโอกาสดื้อยาได้ง่ายๆ แถมยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย




▪️ดังนั้น..การใช้วิธีตามแนวทาง “ชีวเคมีประยุกต์” ที่กล่าวมานี้ มันจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ในการลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ แต่ยั่งยืนกว่า และก็ให้เรารู้ว่า แมลงศัตรูพืชนั้นมันจะมี “สัญชาตญาณ” ในการหนีตาย หรือการเอาตัวรอดได้ อะไรที่มันเป็นเขตอันตราย และมีการส่งสัญญาณเตือนมันว่า “อย่าเข้าไป” หรือว่า “มันไม่ควรเข้าไปใกล้ๆ” และไม่ควรเข้าไปตรงนั้น มันก็จะหนีไปให้ไกล ไม่เข้าไปใกล้ๆ ให้ต้องไปเสี่ยงภัยบริเวณนั้น ที่อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หรือว่าแหล่งพืชอาหารที่มันจะเข้าไปกินหรือเข้าไปทำลายให้เสียหาย ถ้ามันไม่ชอบ มันก็อาจจะไม่กินและหนีไปหากินที่ใหม่ดีกว่า ไปหาของกินที่กินง่ายๆ ไปหาของกินที่อร่อยจะดีกว่าไหม? ถ้าพืชอาหารที่จะกินมันกินยาก มันแข็ง, กัดไม่เข้า, กินไม่อร่อย ดีไม่ดีฟันก็หัก ปากก็พัง มันก็ไม่อยากกิน ไปหาของกินที่กินง่ายๆจะดีกว่าท่านว่าจริงไหม?

.........................................................................

▪️แนวทางการป้องกันกำจัด (IPM)
- หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm : FAW) ที่กำลังระบาดและอาละวาดอยู่ในขณะนี้ ที่ได้ผลดี และไม่ได้มุ่งแต่เน้นสารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในขณะนี้น่าจะมีปัญหาในการดื้อยาเคมีไปแล้วสำหรับหนอนตัวนี้

หากพบหนอนขนาดเล็กให้เก็บหนอนทำลายทิ้ง และใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ ยาเชื้อ BT (จะสายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์เคอร์สตากี้ ก็ได้) ชนิดผง อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-7 วัน เมื่อพบการระบาด หากพบไข่ให้ทำลายทิ้งโดยเก็บกลุ่มไข่ทำลายทิ้งและใช้แมลงหางหนีบ ส่วนตัวเต็มวัย (แม่ผีเสื้อกลางคืน)ให้ทำลายโดยใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 80 กับดัก/ไร่ สำหรับหนอนขนาดใหญ่ให้ทำลายโดยใช้แมลงตัวห้ำ ได้แก่ แมลงหางหนีบหรือมวนพิฆาต (สำหรับตัวเต็มวัยหรีอแม่ผีเสื้อ การฉีดพ่นด้วย “ซิกน่า” จะช่วยส่งสัญญาณ ISR ขับไล่ ไม่ให้เข้ามาวางไข่ในแปลงข้าวโพดของเรา) ในกรณีที่ใช้เคมี ให้ใช้ในกรณี “ฆ่าตัดตอน” ถ้าจะใช้สารเคมี ควรมีการสลับกลุ่มสารตามคำแนะนำด้วย เพื่อป้องกันการดื้อยาของหนอน



🌓 การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
(Integrated Pest Management : IPM)

1) วิธีกล (เก็บด้วยมือ ถ้าพบเห็นไม่เยอะ)
2) ชีววิธี (B.T., Predator, Parasitoids)
3) ชีวเคมี (JA, OSA)
4) สารเคมี เพื่อตัดตอนกรณีมีหนอนระบาดมาก

#อย่ามุ่งแต่ทางเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

🌎 แนวทาง : แนวทางชีวเคมี
▪️SA- Signaling Pathway
▪️JA- Signaling Pathway
▪️OSA- Mechanism

https://paccapon.blogspot.com/2019/02/bypasschemicalpesticides.html?m=0&fbclid=IwAR2EpSXjOSelxVw-SJyfPkVXWPhFeKJPCkEw6x5Q9CnW4hkMAhdSkfxwsDg
มหัศจรรย์ “จัสโมนิก แอซิด”
(Jasmonic acid)

https://paccapon.blogspot.com/2019/02/orthosilicic-acid.html?m=0&fbclid=IwAR1V3fAt5l0M5tVqT-kFxk_cgug7Hcqjq4sDyb8GyORinycCoATDCXjZa9k
มหัศจรรย์ “ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค”
(Orthosilicic acid)
.........................................................................

▪️ภาคผนวก :

⏺ ซาร์คอน + ออร์ซ่า
“สร้างผนังซิลิก้าให้หนาและแข็ง/แกร่ง”
ต้นและใบแข็งแรง แบบผนังคอนกรีต
เสมือนพืชสวม “เสื้อเกราะ “ป้องกันตัว
ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายใดๆ

▪️ใช้กระบวนการสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่ง
เพื่อเป็นเกราะป้องกัน (Cell Wall Barrier) การ
เข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ด้วยกลไกของ
Silicon ในรูปของ Orthosilicic acid

▪️Orthosilisic acid ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ “Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ "Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็น “ผลึกแข็ง” (Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปสะสมที่ "ผนังเซลล์" (Cell Walls) ต่อไป “ผนังเซลล์” ก็จะแข็งแกร่งเสมือน "ผนังคอนกรีต" ที่เป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) พืชต่อไป

▪️ในใบพืช : ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells)

▪️ ซิลิคอน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้าย
ต่าง ๆ และโดยปกติพืชจะได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางราก และเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ (Cell Wall) ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป Silicon – Cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
........................................................................

⏺ ซิกน่า (ZIGNA) :
สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทาน
โรคและแมลง

▪️JA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านแมลง
▪️สารต่อต้านแมลงที่ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. Alkaloids ต่างๆ อาทิ Nicotine, Saponin, เป็นต้น ทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง
มีผลต่อเอนไซม์ต่างๆ

2. Proteinase Inhibitors (PIs) มีผลต่อเอนไซม์ในการย่อยของแมลง ทำให้ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแมลงและทำให้สร้างน้ำย่อยในทางเดินอาหารมากเกินไป

3. Volatile Signals อาทิ Terpenes, Indoles, ฯลฯ สารระเหยส่งเป็นสัญญาณ มีผลทางตรงในการไล่แมลงศัตรูพืช และมีผลทางอ้อมโดยเรียกแมลงล่าเหยื่อ (Predators) มากำจัดแมลงศัตรูพืชนอกจากนั้นยังส่งสัญญาณเตือนภัยไปให้กับพืชอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงด้วย




........................................................................

🌎 Plant Systemic Defenses
- ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack) ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway

3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่งสัญญาณทาง JA-Signaling Pathway
.......................................................................

🌎 Plant Defenses
▪️โดยปกติแล้ว
พืชมีระบบป้องกันตัว 2 แบบ คือ

1) แบบ Constitutive Defense Response
2) แบบ Induced Defense Response
- ซึ่งความแตกต่างอยู่ตรงที่ระบบจะตอบสนองก่อนหรือหลังจากถูกโจมตี การตอบสนองนั้นในบางครั้งได้ผลลัพธ์เป็นสารต่อต้านตัวเดียวกัน นั่น..ก็คือ
พวก "สารทุติยภูมิ"(secondary metabolite)

1) แบบ Constitutive Defense Response :
คือระบบจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีความจำเพาะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของพืช (species-specific) และระบบจะมีการเก็บรวบรวมสาร ซึ่งอาจใช้เป็น Precursor สำหรับตอบสนองได้ทันทีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นหรือเป็นสารทุติยภูมิที่เป็นพิษต่อแมลง หรือน้ำมันหอมระเหยที่จะดึงดูดแมลงศัตรูธรรมชาติ (Predator) ให้มาจัดการครับ

2) แบบ Induced Defense Response :
เป็นระบบที่เปิดขึ้นเมื่อตรวจพบการโจมตี ซึ่งจะมีการตอบสนองขึ้นอยู่กับระดับการโจมตี
แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

1. Phloem feeders พวกเจาะกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะทำให้มีบาดแผลเล็กน้อยที่ Epidermis และ Mesophyll cells แต่จะมีการตอบสนองไปในแนวทางของการรับมือกับเชื้อก่อโรคที่ติดตามมากับบาดแผลมากกว่า

2. Cell content feeders พวกกินเนื้อไม้ จะทำให้เกิดบาดแผลปานกลางแก่ต้นพืช

3. Chewing insects พวกปากกัดแทะ เช่นพวกหนอนผีเสื้อ หนอนกินใบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่พืช ซึ่งจะมีระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
.......................................................................

✔️"ระบบตอบสนองแบบจำเพาะ
ต่อน้ำลายของแมลง” :

- เมื่อมีการโจมตีโดยแมลงศัตรูคู่อาฆาต โมเลกุลในน้ำลายของแมลงจะมีส่วนช่วยในกระบวนการกระตุ้นระบบป้องกันโดยตรง ยกตัวอย่างในหนอนผีเสื้อบางชนิด น้ำลายของมันจะมี "กรดอะมิโน กลูตามิน" อยู่มาก ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับกรดไขมัน, ไลโนเลนิคและ ไลโนเลอิค โดยใช้เอ็นไซม์ที่อยู่ในพืช รวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ Fatty acid-Amino acid หรือ Fatty acid Amides แล้วมีการเติมหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่งที่ 17 ของไลโนเลนิค เรียกชื่อสารนี้ว่า Volicitin ซึ่งสารตัวนี้จะมีความสามารถในการชักนำให้มีการสร้างสารหอมระเหย (Volatine) ในพืชและเมื่อพืชได้รับสัญญาณนี้ก็จะมีการกระตุ้นวิถีป้องกันหลักที่ชื่อว่า Octadecanoid Pathway ที่จะนำไปสู่การสร้างสารสัญญาณ Jasmonic acid (JA-Signaling Pathway)

▪️Jasmonic acid (JA) : จะมีบทบาทต่อไปในการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนพืชบางชนิดที่มีคุณสมบัติขัดขวางการย่อยของแมลงศัตรูพืช อาทิเช่น สาร Alpha amylase inhibitors ที่จะไปเอนไซม์ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตของแมลง และ/หรือ Lectin ที่จะเข้าไปจับกับคาร์โบไฮเดรต หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตโปรตีนหลังจากการย่อย Lectin จะไปจับอยู่กับ Epithelial cells ส่งผลยับยั้งการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย สารตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ "Proteinase Inhibitors" ที่จะไปทำหน้าที่ยับยั้งการย่อยสลายโปรตีน โดยจะไปจับจำเพาะกับเอ็นไซม์เช่น trypsin, chymotrypsin ของแมลงนั้น ๆอย่างไรก็ดี แมลงบางชนิดก็มีการปรับตัวเพื่อให้ตัวมันเองมีความสามารถในการทำลาย หรือนำสารต่อต้านของพืชมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้การรุกรานประสบผลสำเร็จแต่พืชเองก็มีการปรับตัวต่อต้านเช่นกันเกิดเป็นวิวัฒนาการร่วมกันต่อเนื่องมาหลายล้านปีต่อมา

▪️แหล่งอ้างอิง :
1) Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006. (Secondary metabolite and plant defence)
2) Molecular Plant Pathology, Annual Plant Reviews V.4Matthew Duckinson และ Jin Beynon

.......................................................................


http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
Plant Defenses การป้องกันตนเองของพืช

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
โลกร้อน แมลงเรืองอำนาจ



สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
084-8809595 , 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com
(พิมพ์ @ ด้วยนะคะ)

หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน
แล้วทักแชทได้เลย
https://lin.ee/nTqrAvO  


https://www.facebook.com/100003533767367/posts/2130110870450018?s=100003533767367&sfns=mo