FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไวรัสใบด่างวงแหวนมะละกอ


กล้า ท้า ลอง " วัคซีนพืช "
หยุดไวรัสใบด่างวงแหวนมะละกอ  ด้วย ORG- Model
มะละกอที่ถูกไวรัสใบด่างวงแหวน ระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตรวมที่ได้ทั้งประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ส่งผลให้ราคามะละกอพุ่งสูงขึ้น จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรายใหม่ๆ เข้ามาเสี่ยงลงทุนปลูก และเกษตรกรรายเก่าก็แก้ปัญหาไวรัสใบด่างวงแหวนระบาดด้วยวิธีต่างๆ นานาทั้งตัดต้นที่เป็นโรคทิ้ง บุกเบิกพื้นที่ปลูกใหม่ การใช้เมล็ดพันธ์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม  ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคสารพัดสารพัน  แต่มันก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาและหยุดการระบาดของโรค ไวรัสใบด่างวงแหวนได้ ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ถึงขั้นขาดทุนในที่สุดเลยทีเดียว
 มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสใบด่างวงแหวน กันเถอะ

       โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Papaya ringspot virus (PRSV) พบ ในไทยครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปีพ.ศ. 2518 ในตอนนั้นไม่เฉพาะประเทศไทยที่พบปัญหาการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะละแวกเดียวกันอย่างไต้หวัน หรือข้ามทวีปไปยังฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ ต่างประสบปัญหาการระบาดของโรคนี้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว แต่การระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนก็ยังไม่ลดลง ดังเห็นได้จากการสำรวจการปลูกมะละกอในจังหวัดขอนแก่น พบว่าในปีพ.ศ. 2548–มกราคม 2550 เกือบทุกอำเภอพบการระบาดของโรคใบด่างจุดวงแหวน โดยบางหมู่บ้านพบมะละกอที่ปลูกเป็นโรคทุกต้น เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิด เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พบการระบาดของโรคอีกในหลายพื้นที่ทั้ง จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร     ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมีความน่ากลัวมีอยู่หลายประการ ประการแรกคือ ความสามารถในการเข้าทำลายมะละกอได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสภาพและอายุของมะละกอ อาการเกิดได้ในทุกส่วนของต้น แต่จะเห็นชัดในส่วนของใบและผล โดยเฉพาะใบจะด่างเหลือง บิดเบี้ยว หงิกงอ เหมือนหางหนู ถ้าติดเชื้อรุนแรงใบจะเหลือแต่เส้นใบเหมือนเส้นด้าย บริเวณก้านมีจุดฉ่ำน้ำและเส้นประ ส่วนผลมะละกอจะสังเกตเห็นวงเล็กๆ ทั่วทั้งผล เป็นอาการที่เรียกว่า “วงแหวน” บริเวณที่เป็นจุดจะมีลักษณะเป็นไตแข็ง ผิวขรุขระ ยิ่งผลใกล้สุกจะยิ่งเห็นชัดเจน ความเสียหายจากการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวน อาจถึงขั้นมะละกอนั้นไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และตายในที่สุด     ความน่ากลัวประการที่สองของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนคือ เป็นโรคพืชที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้สารเคมี วิธีแก้ปัญหาที่ทำได้คือต้องทำลายทิ้ง หรือใช้วิธีปลูกแบบกลางมุ้งให้มะละกอเพื่อป้องกันเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นพาหะนำ โรคไม่ให้เข้าไปได้  หรือใช้วิธีย้ายแหล่งปลูกไปเรื่อยๆ เมื่อมีการระบาดของมะละกอในพื้นที่หนึ่ง ก็ทำการย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น หากพิจารณาถึงพื้นที่รวมทั้งหมดของมะละกอและผลผลิตในแต่ละปีแล้ว พบว่าไม่ได้ลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการย้ายพื้นที่ใหม่ในแต่ละปี ปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อไวรัสระบาดไปในทุกพื้นที่จนไม่สามารถย้ายไปได้แล้ว จะมีที่ปลอดการ ระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนให้เราปลูกมะละกออยู่อีกหรือไม่

            การเกิดโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน  อาจเกิดจากการติดเชื้อ ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธ์ก่อนการนำมาปลูก เมื่อมีการระบาดในแปลงปลูกมะละกอ ต้นมะละกอที่ติดเชื้อจะมีอาการ ใบหงิกงอ ขนดใบเรียวเล็ก บนก้านใบและครึ่งบนของลำต้นจะเป็นรอยช้ำเป็นจุดๆ หรือรอยขีด ดอกและผลร่วง หากติดผลเนื้อมะละกอจะแข็งกระด้าง เมื่ออาการรุนแรงเชื้อจะกระจายไปถึงยอดทำให้ใบเล็กลง ใบหงิก ยอดจึงหยุดการเจริญเติบโต ใบและยอดจะค่อยๆซีด ด่างและเหลืองลง ปัจจัยที่เป็นตัวแปรก่อให้เกิดโรคไวรัสใบด่างวงแหวนมะละกอ อาจแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ
1.  ปัจจัยภายในที่เป็นอยู่เดิม มะละกอเป็นพืชที่มีความอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมที่เข้ามากระทบได้ง่าย ส่งผลให้ต้นมะละกออ่อนแอและทรุดโทรมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นแต่อายุการให้ผลผลิตนานและต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบำรุงธาตุอาหารให้ทันกับความต้องการอยู่เสมอ หากขาดธาตุอาหารต้นจะอ่อนแอและทรุดโทรมอย่างได้ชัด ขณะเดียวกันมะละกอยังเป็นพืชอวบน้ำ หากขาดน้ำหรือได้รับน้ำมากเกินไป ต้นมะละกอจะมีอาการเหี่ยวเฉาและใบเหลือง ซึ่งแสดงว่าต้นมะละกอกำลังอ่อนแอ เสี่ยงต่อการถูกเชื้อไวรัสเข้าทำลายได้ง่าย โดยเฉพาะ เชื้อ"Phytopthera sp.” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคเน่า โคนเน่า จนกระทั่งนำไปสู่การเป็นโรคไวรัสใบด่างวงแหวน  การตัดต่อพันธุกรรมหรือผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองด้านการเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตที่ดก ทำให้ผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อต่างๆบางลง จึงขาดความสมดุล โครงสร้างจึงมีความอ่อนแอ
2.  ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพล การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และไรแดง ซึ่งเป็นแมลงที่เข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงมะละกอเป็นหลัก และยังรวมถึงการทำลายของเชื้อราAnthracnose ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ต้นมะละกออ่อนแอจนทำให้ไวรัสเข้าทำลายได้ง่าย
 การใส่ปุ๋ยมีความสำคัญ หากใส่ปุ๋ยตรงกับความต้องการ มะละกอจะมีใบเขียวสด แต่ถ้าให้ปุ๋ยมากเกินไป เช่น ในฤดูฝนให้ปุ๋ย ไนโตรเจน  (N) สูง ต้นมะละกอจะเกิดอาการ Over Nitrogen และการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอาจเกิดผลกระทบโดยตรงต่อระบบราก

นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน นักวิจัยเองก็ได้พยายามหา วิธีป้องกันกำจัดโดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่น 
     1. การกำจัดเพลี้ยอ่อนที่นำโรคมายังมะละกอ แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล เพราะเพลี้ยอ่อนไม่ได้อาศัยอยู่บนต้นมะละกอ และยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้มะละกอเป็นโรคได้
     2. การขุดรากถอนโคนทำลายต้นเป็นโรค วิธีนี้ได้ผลดีเฉพาะพื้นที่ปลูกที่ห่างไกลจากแหล่งปลูกมะละกอ หรือมีพืชกำบังเพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยอ่อนจากนอกพื้นที่เข้ามาเท่านั้น
     3. หาพันธุ์ต้านทานโรคในธรรมชาติ หรือปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโดยวิธีผสมเกสร ซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้
     4. การทำมะละกอGMOs ซึ่ง เป็นวิธีสุดท้าย และเป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ และถือเป็นความหวังหนึ่งของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนอยู่
การทำมะละกอGMOs เป็นการเลียนแบบการทำวัคซีนให้กับมะละกอ แต่ใส่เฉพาะยีนของโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัสเท่านั้น โดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม การพัฒนามะละกอGMOs นี้มีในหลายประเทศรวม ทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับการพัฒนามะละกอGMOs ในประเทศไทยอยู่ในระหว่างการ รอทดสอบในแปลงปลูกหรือการทดสอบภาคสนาม ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการทดสอบความปลอดภัยเพื่อให้มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ ชี้ว่ามะละกอGMOsปลอดภัยกับระบบนิเวศจริงหรือไม่



หลักการหยุดไวรัสใบด่างวงแหวนมะละกอ ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสใบด่างวงแหวนในมะละกอ
 1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR  เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
2. อาศัยกลไกในการทำงานของ  Induced Systemic Resistance (ISR)  โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.
3. อาศัยกลไกในการทำงานของ  Induced Systemic Resistance (ISR)  โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal  อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช
  4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น  และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
   เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย  หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น
6. มะละกอที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัสใบด่างวงแหวน  ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของต้นมะละกออาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสใบด่างวงแหวน ระบบ ORG-Model  By Organellelife




1.  ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One ) 
 สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและแมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น






2. ซาร์คอน ( SARCON) 

 เพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญคือ
2. 1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์ของพืช อาทิ การฟื้นฟูเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่  การบำรุงเซลล์ให้สมบูรณ์ ไม่แบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ  การซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ
2.2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ
2.3 กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้วเมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช





3. อีเรเซอร์-1  (Eraser-1) 

สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น"วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น



กลไกการออกฤทธิ์ของ    “ERASER-1”
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่
1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป
การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง 
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)


คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1
ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
คุณประโยชน์
ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น
เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที
เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 
สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้
อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์
เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรดและพืชตระกูลถั่ว
( หมายเหตุ เฉพาะ อีเรเซอร์-1  ห้าม..ผสมสารเสริมประสิทธิภาพทุกชนิด ที่เป็นประจุ )




4.  ไบโอเจ็ท (Biojet )
 ฮอร์โมนพืชสกัดชนิดเข้มข้นสำหรับพืชทุกชนิด  ที่จะช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ใหม่ของรากและลำต้น"กระตุ้นแตกราก กระชากแตกยอด แตกใบใหม่"   กระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เพิ่มขึ้น ไบโอ-เจ็ท  
BIO-JET: สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
คุณสมบัติพิเศษ
- ช่วยให้การดูดซึมล้ำลึก จากฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดที่พืชต้องการ
- ช่วยกระตุ้นตาดอก ออกรวงดี ออกดอกดี ติดผลดี สีสวย ผลใหญ่
- ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ตายอด ตาดอก ตาใบ
- ช่วยกระตุ้นการแตกราก รากสมบูรณ์ พืชงอกงาม ผลผลิตสูง
- ช่วยต้านความเครียดของพืช ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน ต่อสู้ได้ในทุกสภาวะไม่ว่าจะหนาวจัด , ร้อนจัด ถูกโรคและ
แมลงรบกวน , หรือแพ้สารเคมี ให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
- มีอาหารเสริมอันทรงประสิทธิภาพที่จำเป็นต่อพืชเกือบ 10 ชนิด ที่มีผลต่อการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตได้มากถึง 30 – 50%
- ช่วยเพิ่มประมาณแห่ง น้ำตาล ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
- สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
- พืชสามารถดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี








5. ORG-1 และ ORG-2 
- เพื่อให้ในสิ่งที่จำเป็นที่พืชต้องการ




สำหรับ ORG-1 ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้

สำหรับ ORG-2 เป็นสารอาหารพืชชนิดพิเศษ ที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่พืช
สำหรับช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต ไปจนกระทั่ง ติดดอก ออกผล ลงหัว หรือ โตสมบูรณ์เต็มที่จนเก็บเกี่ยว  ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุด
-ส่งเสริมการสร้างและสะสมอาหารภายในต้นพืช
-ช่วยเสริมการสร้างตาดอก ติดดอกดี ช่วยผสมเกสรสมบูรณ์
-ลดการร่วงหล่น ขั้วเหนียว ผลดก ผลสวย ได้รูปทรงมาตรฐาน สม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเนื้อให้แน่น มีน้ำหนักดี ขยายขนาดผล ทำให้ผลใหญ่ ผลหนัก
 -เพิ่มปริมาณแป้งในพืชหัวได้มากขึ้น  ทำให้พืชหัวมีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อแน่น ไส้ไม่กลวง
-ช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ช่วยเข้าสี สีสวย รสชาติดี
- ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
- พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง





6.  ซอยล์ไลฟ์ (SoilLife) 
      อินทรียวัตถุสกัดเข้มข้น ที่ใช้บำรุงดินให้ร่วนซุย ไม่แน่นทึบ หรือแน่นแข็ง ดินโปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี  ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดินที่ถูกตรึงไว้ออกมาให้พืชดูดกินได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังให้ออกซิเจน (O2) แก่ดิน เพื่อฟื้นดินให้มีชีวิตและรากพืชงอกเร็วและแผ่ขยายได้เร็วขึ้น ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินซึ่งจะสร้างแหล่งอาศัยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้
“รากฝอยแผ่กระจาย ผลผลิตเพิ่มมากมาย พืชขยายต้น ขยายใบให้ใหญ่งดงาม ต้นเขียวสมบูรณ์ และช่วยฟื้นฟูให้พืชที่อยู่ในสภาพต้นโทรมให้กลับมาแข็งแรง ต้นใหญ่ ใบเขียว


  วิธีการดูแลรักษามะละกอ ที่ถูกไวรัสใบด่างวงแหวน เข้าทำลาย

        เมื่อพบโรคไวรัสใบด่างวงแหวนมะละกอ ให้ใช้อีเรเซอร์-1 อัตรา 20 ซีซี +ซิกน่า อัตรา10 ซีซี.+ ออร์ซ่า(สารเสริมประสิทธิภาพ) อัตรา 4 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5 วัน 3-4 ครั้ง ทางดินควรมีการรด "ซอยล์ไลฟ์" ในอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดต้นละประมาณ 1 บัวรดน้ำ  กระทั่งอาการของต้นมะละกอเริ่มดีขึ้น  หลังจากควบคุมอาการไวรัสอยู่แล้ว ให้เริ่มต้นบำรุงดูแลมะละกอ โดยการ ฉีดพ่น "ไบโอเจ็ท" เพื่อกระตุ้นการแตกยอด แตกใบใหม่ที่สมบูรณ์ และฉีดพ่น"ซิกน่า"ร่วมกับ"ซาร์คอน" ทุกๆ  10-15 วัน เพื่อป้องกันและคุ้มครองมะละกอไม่ให้เกิดการเข้าทำลายของเชื้อไวรัสอีกต่อไป 

         หลังจากมะละกอได้รับการรักษา ฟื้นฟูแล้ว เกิดการแตกยอดอ่อนใหม่ และมีกิ่งก้านที่สมบูรรกว่าเดิม ก้านใบไม่มีรอยช้ำ หรือหากรอยช้ำยังปรากฏให้เห็นได้ก็ไม่เป็นอันตราย เมื่อผ่าดูข้างในก้านใบ ไม่พบรอยช้ำภายใน  ดอกและผลเล็กที่มีอยู่แล้วไม่หลุดร่วง มีการติดดอกและผลใหม่ดกอย่างต่อเนื่อง
และเมื่อต้นมะละกอฟื้นตัวจนสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะให้ผลผลิต ให้ฉีดพ่น ORG-1 + ORG-2 ทุกๆ 10-15 วัน เพื่อสร้างความสมบูรณ์ต่อการให้ผลผลิตที่ดี ไปจนถึงระยะมะละกอติดดอกออกผล และฉีดพ่นไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
        อยากบอกว่า ปัญหาเรื่องไวรัสใบด่างมะละกอนี้ ยังมีทางแก้ไข อยู่ที่ว่าเราจะหยุดหรือเดินต่อ แต่ถ้าเราหยุดและยอมแพ้ต่อเชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกมะละกอเหลือรอให้เราได้เก็บเกี่ยวผลอีกต่อไป ส้มตำมะละกอก็คงจะสูญหายหายไปจากเมนูยอดฮิตของคนไทยอีกต่อไป ดังนั้นจึงขอยืนยันว่าเราจะเดินต่อ ……





ติดต่อสอบถาม
Line ID : @organellelife.com
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ค่ะ http://line.me/ti/p/%40organellelife.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น