FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไรแดงมันสำปะหลัง


     ไรแดงมันสำปะหลัง : ศัตรูอีกตัวหนึ่งซึ่งสำคัญและทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังได้อย่างมากมาย
ใน ช่วงนี้พบการระบาดระบาดของไรแดงในแปลงมันสำปะหลังในหลายๆพื้นที่ เนื่องจากระยะนี้ ในบางพื้นที่เกิดมีทิ้งช่วง อุณหภูมิสูง ประกอบกับมีลมพัดแรงจึง เอื้อต่อการระบาดของไรแดงมากโดยเฉพาะในแปลงมันสำปะหลัง  ที่มีอายุประมาณ 1–3 เดือน ซึ้งไรแดงเป็นแมลงปากดูดจะดูดกินน้ำเลี้ยงขึ้น  ตัวไรแดงถ้าโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีแดง ขาสั้นใสๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบมันสำปะหลังทำให้ ใบมันแห้งซีด มีสีเหลือง ถ้ากินมากๆ หรือระบาดหนัก ยอดก็จะม้วนงอด้วยและร่วง
จากใบ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต แล้วยืนต้นแห้งตายในเวลาต่อมา หากเกษตรกรป้องกันกำจัดไรแดงได้ทันท่วงที จะสามารถยับยั้งการระบาดได้
เพื่อ เป็นการป้องกัน จึงขอแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้  คือ ควรหมั่นสำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะสภาพพื้นที่ดินทราย หากพบการทำลายของไรแดง ให้เก็บใบที่
ถูกทำลายออกมาเผาทิ้งนอกแปลง จะสามารถป้องกันกำจัดได้ทันก่อนที่จะระบาดรุนแรงมากขึ้น  ควรเลือกปลูกมันสำปะหลังต้นฝน เพราะฝนตกสามารถลดการระบาดได้ (แต่ว่าถ้าฝนมาในช่วงแรกแล้วขาดช่วงไปนาน จะทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้นเช่นกัน) 
ในสภาพธรรมชาติ ไรแดงจะถูกควบคุมการระบาดโดยศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่าตัวห้ำ (ด้วงเต่าดำ) และด้วงปีกสั้น จึงไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่นในกรณีที่ระบาดไม่รุนแรงมากนัก ส่วนกรณีที่ไรแดงระบาดรุนแรงมาก แนะนำให้ใช้สารเคมีชนิดและอัตราสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด แต่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ก่อนให้สารเคมีว่าควรใช้ชนิดใด ด้วยปริมาณท่าไหร่  แต่ที่สำคัญ ที่ต้องระวังคือ การฉีดพ่นสารกำจัดไร ไม่ควรพ่นสารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรสลับชนิดสารเคมีเพื่อป้องกันการต้านทานหรือดื้อยาของไรแดงด้วยหากมีข้อ สงสัยประการใดสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอที่ใกล้บ้าน






เครดิตภาพจาก "ข่าวอุดรวันนี้
 ไรแดง
• มีหลายชนิด เช่น ไรแดงมันสำปะหลัง (Cassava Red Mite, Oligonychus biharensis Hirst)
  ไรแดงหม่อน(Mulberry Red Mite, Spider Red Mite, Teranychus truncatus Ehara)
  อยู่ในวงศ์ Tetranychidae อันดับ Acariformes
  ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบส่วนยอด และขยายปริมาณลงสู่ส่วนล่างของต้น การทำลายของไรแดงทำให้        ใบเหลืองซีดเป็นรอยขีด ใบม้วนงอและร่วง ส่วนยอดที่ถูกทำลายงองุ้ม ตาลีบ การขยายปริมาณขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
• วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ระยะไข่ 4-5 วัน
• ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ระยะแรกมี 6 ขา ระยะที่ 2-3  มี8 ขา รวมอายุ 6-10 วัน
• ตัวเต็มวัย มี 8 ขา อายุประมาณ 15 วัน
ไร แดงอยู่รวมเป็นกลุ่ม ตามใต้ใบพืชใบล่าง ๆ และเพิ่มขยายปริมาณส่วนยอดสำหรับชนิดที่ทำลายหลังใบ ส่วนยอดจะเพิ่มปริมาณลงมาส่วนล่าง ตัวเมียขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ (Parthenogenesis) ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ชีพจักรสั้น ตัวเมียวางไข่ได้ 4-13 ฟอง เฉลี่ย 4.79 ฟองต่อวัน ปกติไรแดงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวไปไกล ๆ โดยใช้เส้นใยสีขาวคล้ายใยแมงมุม ซึ่งใช้เป็นส่วนป้องกันไข่จากศัตรูธรรมชาติ การแพร่กระจายโดยอาศัยกระแสลม การทำความเสียหายจะเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ แล้วกระจายออกเป็นบริเวณกว้าง หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ไรแดงมีศัตรูธรรมชาติเป็นแมลงห้ำ คือ ด้วงเต่า Stethorus pauperculus Weise อยู่ในวงศ์ Coccinellidae เป็นด้วงสีดำขนาดเล็กประมาณ 1 มิลลิเมตร ปีกสีน้ำตาลมัน พบตามแหล่งปลูกมันสำปะหลังทั่วไป ระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัย เป็นตัวห้ำของไรแดงทุกวัยดูดกินของเหลวจากลำตัวไรแดง ตัวเต็มวัยสามารถดูดกินของเหลวจากไรแดงได้เฉลี่ย 3.55 ตัวต่อวัน และอายุตัวห้ำประมาณ 30-56 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับระยะตัวเต็มวัยของไรแดงประมาณ 3-31 วัน จึงเป็นข้อดีสำหรับการควบคุมปริมาณของไรแดงตามธรรมชาติ โดยปกติแล้วตัวห้ำชนิดนี้สามารถควบคุมปริมาณไรแดงให้อยู่ในระดับที่ยังไม่ เกิดความเสียหายได้ ยกเว้นเมื่อปริมาณไรแดงเพิ่มรวดเร็วก่อนที่ด้วงเตาตัวห้ำจะเพิ่มปริมาณได้ ทันเวลา มักเกิดเมื่ออากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
แนวทางในการป้องกันกำจัดไรแดง
• หลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงที่สภาพแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน
• หมั่นตรวจแปลงในช่วงแล้ง ถ้าพบการทำลายควรเก็บทำลาย
• กรณีจำเป็นใช้สารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
อามีทราซ 20%อีซีอัตรา 40 ซีซี/น้ำ20 ลิตร
หรือ โอไม้ท์30%ดับเบิลยูพีอัตรา 30 กรัม/น้ำ20 ลิตร

วิธีการป้องกันตามแนวทางศูนย์สุขภาพพืช ORG By Organellelife 
1.   ไม่ปลูกมันข้ามแล้ง ควรปลูกมันหน้าฝนจะได้โตได้เต็มที่และแข็งแรง และควรบำรุงให้ต้นมันสำปะหลังแข็งแรงโดยฉีด    ฉีด"ซาร์คอน" (Orthosilisic acid) เป็นส่วนประกอบ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ใบมัน เสมือนมีผนังคอนกรีตที่แข็งแรง
2.   ถ้าใบถูกเข้าทำลายแล้วป้องกันไม่ทัน ก็คงต้องใช้เคมี ตัวยาที่ใช้คือ อะมีทราช(Amitraz) หรือ ไพริดาเบน(Pyridaben) ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ นำมาผสมกับ"ออร์ซ่า" และ"ซูการ์" ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง
 3. "ซูการ์" จะทำหน้าที่ให้พลังงานทดแทนส่วนที่มันสำปะหลังสร้างเองได้ไม่มาก และเสริมทำให้ใบแข็งแรงขึ้น พร้อมที่จะแตกยอดใหม่แตกได้เร็วขึ้น  อัตราส่วนที่ใช้คือ"ซูการ์"20ซีซีต่อ น้ำ 20 ลิตร     
 4.  ป้องกันด้วยวิธีธรรมชาติก่อน ในแปลงมันสำปะหลังมีแมลงที่เป็นศัตรูต่อไรแดง คือกินไรแดงเป็นอาหารก็คือ ตัวด้วงปีกสั้น และด้วงเต่า แต่ถ้าฉีดสารเคมีในแปลงแมลงพวกนี้ก็จะตายไป
5.  ป้องกันการเข้ามาทำลายของแมลงต่างๆไว้ก่อน โดยการฉีดพ่นด้วย สารส่งสัญญาณเพื่อการต้านและขับไล่แมลง( Cell Signalling in Resistance of Plant for Pathogens and Insects ) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ ISR อัตราผสม 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ก็จะช่วยป้องกันในเบื้องต้นได้
ทำไมผมใช้สารต่างๆที่แนะนำ ทั้ง"ซาร์คอน" และ"ซิกน่า" ก็เพราะว่ามันไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ตลอดจนสิ่งแวดล้อมครับ
จำ ไว้นะครับ ฝนหมด ลมหนาว และความแห้งแล้งก็มาเยือน พร้อมชักนำแขกเจ้าประจำฤดู ตัวเล็กจิ๋วสีแดงมาเยี่ยมไร่มันสำปะหลัง ต้องระวังให้ดี ใบมันสำปะหลังเป็นอาหารที่ไรแดงชอบมาก
“หน้าฝนไรแดงมัน สำปะหลังจะไม่มีให้เห็น เพราะฝนที่ตกลงมาจะชะล้างไรแดงไปหมด แต่พอฝนหมด ฝนทิ้งช่วง อย่างในตอนนี้ อากาศจะเป็นใจให้ไรแดงระบาด เพราะมีลมหนาวช่วยหอบพัดไรแดงให้มาอยู่อาศัยในไร่มันฯ เพราะใบมันสำปะหลังเป็นอาหารที่ไรแดงชอบเป็นพิเศษ”  ไรแดงตัวเมียขยายพันธุ์ได้เองโดยไม่ต้องอาศัยตัวผู้มาช่วยผสมพันธุ์ พิษสงร้ายกาจยิ่งนัก โดยเฉพาะในเรื่องขยายพันธุ์ ไรแดง 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 4-13 ฟอง วางไข่ไปเพียง 10 วัน ตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่สามารถออกลูกออกหลานต่อได้ทันที...เรียกได้ว่า แพร่พันธุ์ได้เร็วมากเหมือนไวรัสแพร่ระบาด ไรแดงจะวางไข่บนใบมันสำปะหลัง เมื่อมันไปเกาะอาศัยอยู่ด้านหลังใบมันฯ จะทำลายล้างด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบแก่ก่อน หากระบาดรุนแรงจะไปกินที่ยอดอ่อน ทำให้ใบเหลืองซีด เป็นรอยขีด ใบม้วนงอและร่วง ส่วนยอดที่ถูกทำลายจะเห็นเป็นจุดด่างเหลืองตรงใบไปจนถึงใบไหม้...ส่งผลให้ การเจริญเติบโตของต้นมันฯ ไม่ทำงาน เนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์
ยิ่งถ้ามันสำปะหลังเพิ่งปลูกไปได้ไม่เกิน 3 เดือน จะทำให้ใบร่วง ยอดแห้ง และตาย
เครดิตภาพจาก "คุณสมพงษ์ คำยอด"










การแช่"ซาร์คอน"(SARCON)
 SARCON:ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก ไม่ใช่สารเคมีฆ่าเพลี้ยฆ่าแมลง ไม่ใช่สารเคมีกำจัดโรคพืช แต่เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายตัวที่ทำหน้าที่ๆสำคัญต่างๆต่อกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry) และทำหน้าที่ได้ในหลายๆด้าน)
ความจำเป็นที่ต้องแช่ท่อนพันธุ์ ด้วย"ซาร์คอน"(SARCON)
คุณประโยชน์ 3 ประการของสารสำคัญที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน"(SARCON)
1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์รากพืช อาทิ การสร้างราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากๆ
2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ
3. กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นคือกระบวนการ"Revitalize" เซลล์รากและสร้างสัดส่วนราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร)กับราก"Fibrous root"(รากหาอาหาร) ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากพอต่อการสร้างเป็น"Tuber"(โดยผ่านกระบวนการTuberization)
และอีกหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช






การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย "ซาร์คอน"(SARCON)
ไม่ใช่เป็นการแช่"ฮอร์โมนเร่งราก" เพื่อให้รากเยอะอย่างเดียว(เพราะ"ซาร์คอน"ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการ"Revitalize" เซลล์ราก) แต่การแช่"ซาร์คอน"ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ได้รากเยอะๆและที่สำคัญรากนั้นๆต้องเป็นราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากพอจากกระบวนการทำงานในระบบเซลล์รากที่สมบูรณ์ เมื่อได้"รากสะสมอาหาร"ที่มากพอก็รอเข้าสู่"กระบวนการลงหัว"(Tuberization) ด้วย"แอคซอน"(AXZON) ต่อไป
   นี่เพียงแค่หนึ่งในหลายๆคุณประโยชน์ของกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ใน"ซาร์คอน"หลายๆชนิด ที่ทำหน้าที่ได้มากมายในระดับเซลล์ ทั้ง
1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่
2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)
3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ
4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้
5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้
6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน











ซิกน่า
สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง
(Induced Systemic Resistance : ISR)
คุณสมบัติ
ซิกน่า ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า มีกรดอินทรีย์บางชนิด ที่เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น
ซิกน่า มีกรดอะมิโน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการสร้างโปรตีนต่อต้านโรคและแมลง ทำให้พืชสามารถนำมาใช้ผลิตโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานได้อย่างต่อเนื่องและไม่ทำให้ต้นพืชโทรม ซิกน่า ยังมีมาเลท ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสาร สำคัญของพืชต่างๆ รวมทั้งสารที่พืชสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านโรคและแมลงด้วย
ซิกน่า มีแคลเซียมในรูปคีเลท ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่พืชและเคลื่อนย้ายในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนต้านทานโรคและช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็งแรงเสริมการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลงได้อย่างดี ซิกน่า ยังมีสังกะสีในรูปคีเลท ที่ช่วยส่งเสริมขบวนการส่งสัญญาณเซลและขบวนการสังเคราะห์ภูมิต้านทานโรคและแมลงด้วย
1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรค ปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆ และเกิดสัญญาณขึ้นได้
2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (messengers) ไปยังเซลอื่นๆ ทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่ Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ
2. Induced Systemic Resistance (ISR) กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria  (PGPR)ส่งสัญญาณทั้ง JA-signaling pathway และ SA-signaling pathway
ซิกน่าสารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง
(Induced Systemic Resistance : ISR)



คุณสมบัติ
ซิกน่า ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น