FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ธาตุอาหารพืช



ธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรอง(Trace Elements)
        ธาตุอาหารเสริมที่สำคัญ มี สังกะสี, เหล็ก, ทองแดง, แมงกานีส, โบรอน, โมลิบดีนัม เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพืชที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การออกดอกติดผล คุณภาพของผลผลิต การออกดอกเร็วขึ้น การสุกเร็วขึ้น โดยที่ผลผลิตอยู่ในรูปที่สมบูรณ์ปกติดี ทำให้พืชสร้างความต้านทานต่อโรคและแมลง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
         พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารเสริมแตกต่างกันไปตามสภาพที่มันขึ้นอยู่กับชนิดของดินและวิธีปฏิบัติต่อพืชของผู้ปลูก สำหรับปัจจุบันนี้ยอมรับว่าธาตุอาหารเสริมมีความสำคัญมากเทียบเท่ากับธาตุอาหารหลัก(ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม) จะแตกต่างกันก็เพียงปริมาณที่พืชต้องการใช้เป็นเพียงปริมาณน้อยเท่านั้นยกตัวอย่าง เช่น ข้าวโพดต้องการปริมาณไนโตรเจน และสังกะสี ในอัตราปริมาณ 100 ต่อ 1 ส่วน แต่ข้าวโพดขาดสังกะสีก็จะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมากมาย
          พืชอาจขาดอาหารพวกธาตุอาหารเสริมหรือธาตุอาหารรอง(กำมะถัน, แมกนีเซียม, แคลเซียม) ได้มากว่าหนึ่งอย่างขึ้นไปก็ได้แต่ไม่ได้แสดงอาการอะไรให้เห็นเด่นชัด การขาดธาตุอาหารเช่นนี้เราอาจจะเรียกว่า “การขาดธาตุอาหารแบบซ่อนเร้นหรือแอบแฝง” ถ้าเราปล่อยให้เนิ่นนานออกไปก็จะทำให้สูญเสียผลผลิตอย่างมากมายในอนาคต นอกจากนี้โดยเฉพาะไม้ผลอาจทำให้อายุต้นไม้สั้นลงอีกด้วย
            บางท่านอาจสงสัยว่าสมัยก่อน ๆ นานมาแล้วการปลูกพืชไม่เห็นจะต้องใช้พวกธาตุอาหารเสริมหรือธาตุอาหารรองกันเลย คำตอบคือ เราปลูกพืชกันมานานพืชก็ใช้ธาตุอาหารไป เรามิได้เสริมพวกแร่ธาตุเหล่านี้ให้กับดินเลย(โดยการใส่อินทรียวัตถุ) อีกทั้งถูกชะล้างออกไปจากดินหรือมีอยู่ก็อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาของความเป็นกรดเป็นด่างของดิน และการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมานาน เป็นต้น
            

บล๊อคโคลี่ขาด(Mg)                            อ้อยขาด(Mg)      

ส้มขาด(Mg)                            ข้าวโพดขาด(Mg)

ฝ้ายขาด(Mg)                            องุ่นขาด(Mg)

องุ่นขาด(Mg)                                   ส้มขาด(Mg)

พริกไทยขาด(Mg)                       ถั่วเหลืองขาด(Mg)
 การแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว มิใช่ว่าจะทำให้สำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วจะต้องใช้เทคโนโลยีและเวลาแก้ไข แต่พืชของเรามันต้องการอาหารทุกวัน เราต้องแก้ปัญหานี้เสียก่อน จึงควรได้ทำความเข้าใจถึงว่าระดับไหนที่พืชต้องการธาตุอาหารเสริม หรือธาตุอาหารรอง ซึ่งได้แบ่งระดับความต้องการของพืชเป็น 2 ระดับคือ

1)  ระดับความต้องการที่ซ่อนเร้นหรือแอบแฝง พืชจะไม่มีอาการ หรือแสดงลักษณะอาการขาดให้เห็นอย่างเด่นชัด

2)  ระดับความหิวกระหายหรือระดับอันตราย พืชจะแสดงลักษณะอาการออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดปรากฏที่ใบ ความสมบูรณ์ของต้นพืช แม้ว่าใส่ปุ๋ยพวกไนโตรเจนฟอสเฟตและโพแทสเซียมให้กับพืช อาการที่ปรากฏก็ไม่ทุเลาเลย พืชที่อยู่ในระดับนี้ผลผลิตจะได้ความกระทบกระเทือนอย่างมาก

 แนว ทางที่จะป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียของผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต หรืออย่างน้อยก็คอยดูแลเพื่อไม่ให้พืชสูญเสียผลผลิตอันอาจจะเกิดจากขาดธาตุ อาหารแบบ “ซ่อนเร้น” ได้       





         จากตารางต่อไปนี้คงพอที่จะเป็นข้อมูลและแนวทางในการวินิจฉัยการแก้ปัญหาได้บ้าง
สังกะสี
เป็นธาตุสำคัญในการสร้างและปรับการทำงานของสารเร่งการเจริญเติบโตในพืชและการใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ มีผลในการแก่การสุกของพืช    ดิน หินปูน(pH 6.0 หรือ สูงกว่า) หลังจากเกิดการชะล้างและพังทลายในดิน กรดที่ถูกชะล้างง่าย  ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ ดินทราย และในดินที่ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต มากเกินไป ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ดินที่ใส่ปูนขาวมากเกินไป พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย ถั่ว ส้ม ข้าวโพด ข้าว ฟ่าง หอม มันฝรั่ง พืชไม้ผล ข้าวสาลี ฝ้าย ข้าวโพดหวาน ปอ


เหล็ก
ช่วยการสร้างคลอโรฟีลล์    ดินด่าง ดินหินปูน เมื่อเย็นและเปียกชื้น ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ
 ดินที่ใส่ฟอสเฟต มากเกินไป    พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย  ถั่ว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ หญ้าต่าง ๆ ส้ม มะนาว ข้าว

ทองแดง
เป็นส่วนที่สำคัญของเอนไซม์ของขบวนการสังเคราะห์แสงสำคัญมากในช่วงที่พืชอยู่ในระยะผลิดอก ออกผล ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ ดินปนทราย ดินที่ใส่ปูนขาวมากเกินไป ดินที่มีความเข้มข้นของ เหล็ก และ แมงกานีสสูง พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย พืชที่มีเมล็ดเล็ก ๆ ข้าวโพด ผักต่าง ๆ ไม้ผล ข้าวสาลี แครอท หอม

แมงกานีส
เป็นส่วนที่สำคัญของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจของพืชและสังเคราะห์แสง    ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ
ดินทราย ดินต่าง ๆ ดินที่มีหินปูนดินที่ใส่ปูนขาวมาก ดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย ถั่วเหลือง พืชที่มีเมล็ดเล็ก ๆ ฝ้าย ไม้ผล ผักกินใบ

โบรอน
จำเป็นต่อการเจริญของเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่ โดยเฉพาะส่วนยอด การผสมเกสร การติดผล คุณภาพของผลผลิต ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ ดิน กรดที่มีการชะล้างดินทรายความแห้งแล้ง ใส่ปูนขาวมาก ดินด่าง ดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำ พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย ส้ม  ฝ้าย กะหล่ำดอก พืชตระกูลกะหล่ำ ขึ้นฉ่าย ข้าวโพด ไม้ผล มะเขือเทศ ยาสูบ

โมลิบดีนัม
ตรึงไนโตรเจน โดยบัคเตรีในปมถั่วแปรไนเตรทเป็น เอมีน    ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ
ดินกรด ดินที่มีระดับฟอสเฟตต่ำ พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย กะหล่ำดอก ส้ม มะนาว ยาสูบ พืชตระกูลถั่ว







 ธาตุอาหารรอง

แคลเซียม
พบมากในผนังเซลล์ใช้ในการแบ่งเซลล์ การออกดอก คุณภาพของผลผลิต ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ
ดินเป็นกรดให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไปและมีโพแทสเซียมสูง     พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย พืชผัก ไม้ผล ฝ้าย มันฝรั่ง ส้ม มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย พืชตระกูลถั่ว




แมกนีเซียม
เป็นส่วนของคลอโรฟีลล์เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์ หลายชนิดการเคลื่อนย้าย ฟอสฟอรัส ในต้นพืช ดินเป็นกรด ดินที่มีโพแทสเซียมสูง ดินที่ใส่ปูนขาวมากเกินไป พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย  ฝ้าย พืชตระกูลกะหล่ำ แครอท ขึ้นฉ่าย ข้าวโพด แตงกวา แตงโม ฟักแฟง ถั่ว ไม้ผล พืชที่ให้เมล็ดเล็ก ๆ หอม มัน ฝรั่ง ยาสูบ อ้อย มะเขือเทศ ส้ม มะนาว

กำมะถันจำเป็นสำหรับการสร้างกรด อะมิโน หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งใช้ในการสร้าง โปรตีน ชนิดของดินและสภาพที่ขาดธาตุ
ดินที่ซัลเฟตต่ำ ใส่ไนโตรเจนสูง ดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ พืชที่แสดงอาการขาดธาตุได้ง่าย  ส้ม มะนาว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย พืชให้เมล็ดเล็ก ๆ ถั่ว อ้อย มะเขือเทศ มันฝรั่ง พืชผัก
ธาตุอาหารพืชที่สำคัญนอกเหนือจาก เอ็น.พี.เค
         พืชทุกชนิดและสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ มีชีวิตอยู่ได้ขึ้นอยู่กับดินอันเป็นแหล่งให้อาหาร อาหารที่ได้จากดินเป็นพวกแร่ธาตุ แร่ธาตุต่าง ๆ นี้นำมาผลิตเป็นพวกวิตามิน โปรตีน แป้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งหลักของอาหารที่ดี ความสัมพันธ์ของพืชกับดินก็คือพืชขึ้นอยู่ในดินและดูดแร่ธาตุโดยตรงจากดิน เช่นกันกับพวกสัตว์กินพืชเป็นอาหาร ก็จะได้แร่ธาตุอาหารจากพืชนานาพันธุ์ซึ่งขึ้นอยู่ตามดินที่มีลักษณะแตกต่างกันไป สัตว์ที่มีความอิสระในการกินอาหารก็จะแยกย้ายตัวมันเองเลือกกินอาหารไปในทุ่งอันกว้างได้ ถ้ากั้นคอกให้สัตว์ให้สัตว์กินอาหารในเนื้อที่จำกัด กินพืชที่ขึ้นอยู่บนดินชนิดเดียวหรือหลายชนิดในท้องที่อันจำกัด การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะนี้จะต้องมีการเสริมอาหารตามความเหมาะสมให้กับสัตว์
        มีปัญหามากมายที่ทำให้เราต้องขบคิดถึงการลดผลที่จะกระทบของดินที่มีความผันแปรเกี่ยวกับปริมาณแร่ธาตุที่มีอยู่อันเกี่ยวข้องกับอาหารของมนุษย์ มีหลายปัญหาที่คุณภาพของอาหารลดลงจากการปรุงแต่งของมนุษย์ เช่น การปรุงแต่งเป็นอาหาร เป็นต้น แต่มนุษย์ได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ ได้น้อยลงเรื่อย ๆ จากพืช โดยที่ดินขาดแร่ธาตุ หรือมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยที่เกษตรกรมิได้สนใจในการเพิ่มเติมแร่ธาตุให้กับพืชที่เกษตรกรปลูก
        ปัญหาที่ดินขาดธาตุอาหารบางชนิดหรือมีไม่พอกับความต้องการของพืชก็มักจะมีโรคพืชบางชนิดเข้าทำลายพืชได้ มีตัวอย่างที่เห็นอย่างเด่นชัดสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างดินสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกันก็ คือ โรคคอหอยพอก หลายปีที่ผ่านมาแม้กระทั่งปัจจุบัน โรคคอหอยพอกที่เกิดกับคนในบ้านเมืองเราที่ดินมีการขาดธาตุไอโอดีน ต้นพืชที่ขึ้นในดินชนิดนี้ก็จะขาดไอโอดีนเช่นกัน ยิ่งท้องที่นั้นในน้ำยังขาดไอโอดีนด้วยแล้ว ก็จะทำให้โรคคอหอยพอกในคนและสัตว์เกิดรุนแรงขึ้น การเสริมอาหารโดยให้เกลือไอโอดีนกับคนเพื่อลดการเกิดโรคคอหอยพอกลง
         การขาดธาตุอาหารในพืชเป็นเพียงปัญหาหนึ่งเท่านั้น แต่ดินที่มีลักษณะแตกต่างกันไป จะมีแร่ธาตุที่ให้ประโยชน์กับพืชได้ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การขาดธาตุเหล็กในพืช บางครั้งจะพบกับพืชที่เกิดขึ้นอยู่บนดินที่มีธาตุเหล็กอย่างมากมาย แต่ธาตุเหล็กไม่อยู่ในรูปที่เกิดประโยชน์กับพืชได้ เมื่อเราให้ธาตุเหล็กเพิ่มลงไปในดินอีกและธาตุเหล็กไม่อยู่ในรูปคีเลตที่เหมาะสม เหล็กก็ไม่อยู่ในสภาพที่จะเกิดประโยชน์กับพืชได้ ธาตุเหล็กก็จะเปลี่ยนสภาพอย่างรวดเร็วไปอยู่ในรูปที่ไม่เกิดประโยชน์กับพืช จึงทำให้พืชแสดงอาการที่ใบเป็น สีเหลือง เป็นต้น เมื่อเราให้เหล็กคีเลตที่ดีทางดินหรือพ่นทางใบ ใบพืชก็เขียวเจริญเติบโต ดังเดิมและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
         การขาดธาตุเหล็กจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและรูปร่างของสัตว์อย่างมาก คนที่ขาดธาตุเหล็กจะแคระแกรน ลิ้นแตก และเล็บมีลักษณะผิดรูปไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคโลหิตจาง บางคนยังมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายและขาดความต้านทานต่อโรคอีกด้วย
          ธาตุทองแดง มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้เคียงกับธาตุเหล็ก ทั้งพืชและสัตว์มีความต้องการรวมทั้งคนด้วย พืชที่ขาดธาตุทองแดงมักพบกับพืชที่ปลูกบนดินที่มีอินทรีย์วัตถุและดินทราย ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อประสาทในคนและสัตว์ที่เกิดขึ้น จะเกิดจากการขาดธาตุทองแดง ลูกแกะและหมูจะเป็นง่อยถ้าอาหารขาดธาตุทองแดง ถ้าเกิดในคนเรียกโรคนี้ว่า โรควิลสัน (Wilson’s disease) คนที่มีความกังวลใจที่เป็นโรควิลสันจะมีการสะสมธาตุทองแดงมากขึ้น เพราะว่าร่างกายไม่สามารถย่อยทองแดงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ การขาดในคนจะทำให้ร่างกายมีลักษณะผิดระบบ และทำให้กระทบถึงการเจริญของสมองด้วย อาจจะเป็นอาการแผลที่เกิดกับสมอง
          แมกนีเซียมเป็นส่วนของคลอโรฟีลล์เม็ดสีเขียวในใบพืชที่ช่วยเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่เป็นประโยชน์ให้กับพืช การขาดแมกนีเซียมจะทำให้พืชมีผลผลิตต่ำ โดยเฉพาะที่เห็นชัดกับพืชที่ปลูกบนดินทราย โพแทสเซียมจากปุ๋ยมักจะรบกวนการเกิดประโยชน์ของแมกนีเซียมในพืช เพื่อหลีกเลี่ยงเราอาจพ่นแมกนีเซียมทางใบหรือใส่แมกนีเซียมทางดิน โดยใส่โพแทสเซียมแยกกัน
          สัตว์เลี้ยงวัวควาย การขาดแมกนีเซียมจะทำให้สัตว์มีอาการเดินโซเซการขาดในคนทำให้กล้ามเนื้อและประสาททำงานไม่ดี
          ธาตุแคลเซียมก็เป็นสิ่งที่ต้องการมาก สำหรับพืชสัตว์และคน การขาดจะทำให้เกิดแคระแกรน
          ธาตุสังกะสี เป็นธาตุแรกที่ค้นพบว่าจำเป็นต่อพืชสัตว์และคน ทั้ง ๆ ที่เรารู้อยู่แล้วการขาดธาตุสังกะสีก็ยังเป็นปัญหาในพืช สัตว์ และคนในปัจจุบันนี้อยู่พอจะประเมินได้ว่าธาตุสังกะสีจะเป็นธาตุที่สำคัญอันดับสองรองจากธาตุเหล็กที่จำเป็นสำหรับคน การขาดธาตุสังกะสีในพืชมักจะพบบ่อย ๆ ในพืชที่ดินที่มีการปรับผิวหน้าดินเพื่อให้เหมาะสมกับการชลประทาน มีข้ออ้างที่แสดงถึงคุณค่าของอาหารและพวกหญ้าเลี้ยงสัตว์ว่าจะต้องมีการปรับปรุง การเพิ่มการให้ธาตุสังกะสีให้มากขึ้น ระดับของธาตุสังกะสีที่พืชต้องการอาจจะกระทำง่าย ๆ โดยการตรวจจากใบพืช การขาดกระทำโดยพ่นทางใบในระยะที่พืชมีอายุน้อย ๆ อยู่หรือจะให้ทางดินก็ได้ มีผลมากมายเกี่ยวกับการขาดธาตุสังกะสีในสัตว์และคนคือ มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง การตั้งท้องเกิดลูก ไม่มีความอยากกินอาหาร เป็นต้น
           ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้จะเกี่ยวข้องถึงปัญหาของการขาดธาตุอาหารและการอดอยากของคนและสัตว์ เป็นที่แน่ชัดว่าเราจะต้องผลิตอาหารให้มีคุณภาพ ประเทศไทยเป็นประเทศที่สภาพแวดล้อมอำนวยในการผลิตพืชผลทางการเกษตรเป็นอย่างมาก ถ้าฉวยโอกาสที่ดีช่วยกันศึกษาถึงสาเหตุต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาก็จะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการเกษตรมากยิ่งขึ้น




           เราลองพิจารณาถึงการทำการเกษตรบ้านเรา จะเห็นได้ว่าในสมัยโบราณเกษตรกร อาจจะไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีพวก เอ็น(ไนโตรเจน) พี(ฟอสเฟต) เค(โพแทสเซียม) กันเลย เพราะในสมัยนั้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีมาก หลังจากปลูกพืชมาช้านาน พืชก็ให้ผลผลิตต่ำลง คุณภาพของผลผลิตต่ำลง ปุ๋ยเคมี เอ็น-พี-เค ก็เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มผลผลิต พอถึงอีกระยะหนึ่งในท้องที่หลายแห่ง การใช้ปุ๋ย เอ็น-พี-เค ใช้กับพืชแล้วตอบสนองไม่ดีเท่าที่ควร คือ พืชไม่ให้ผลผลติดีเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังมีศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคและแมลงเข้ามารบกวนอีก ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนการผลผลิตมากยิ่งขึ้นในการป้องกันกำจัดโรคแมลง ทั้งนี้อาจเกิดเพราะพืชเราไม่สมบูรณ์แข็งแรง มีการขาดธาตุอาหารบางชนิดเกิดขึ้นในสภาพของบ้านเราอาจจะกล่าวได้ว่า ในท้องที่ ๆ ที่มีการส่งเสริมเกี่ยวกับการเกษตรดีพอสมควร ธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุ เอ็น-พี-เค พืชจะได้รับพอสมควร  การขาดธาตุอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหารรองซึ่งมี แมกนีเซียม แคลเซียม และกำมะถัน และธาตุอาหารเสริมซึ่งมีธาตุที่สำคัญคือ สังกะสี แมงกานีส เหล็ก ทองแดง โมลิบดีนัม โบรอน และคลอรีน ทั้งธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมก็เป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน ซึ่งธาตุอาหารต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ธาตุใดธาตุหนึ่งพืชขาดไปพืชจะตายได้ ธาตุใดธาตุหนึ่งไม่พอเพียงก็ทำให้ผลผลิตของพืชถูกจำกัดได้

        สำหรับจุดประสงค์ของผู้เขียน เพื่อต้องการที่จะนำข้อคิดเห็นจากที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้มาประมวลเพื่อให้เกิดแนวทางที่เราจะช่วยกันปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งพืชและสัตว์ให้ดีขึ้น ทั้งนี้คงต้องอาศัยรัฐเป็นผู้นำ ส่วนภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการประสานงานกับเกษตรกรให้ใกล้ชิดขึ้นโดยนำความรู้ที่เป็นประโยชน์ชี้แนะสู่เกษตรกรต่อไป

        จากการสุ่มตัวอย่างดินทั่วทั้งแปลงเราก็จะได้ค่าเฉลี่ยของธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินแปลงนั้น จึงมีข้อควรระลึกอยู่ 2 ประการ
        1) ถ้าเราใส่ปุ๋ยตามผลของการวิเคราะห์ดิน เราจะไม่มีทางที่จะทำให้พืชได้รับผลผลิตสูงสุดได้เลย ในที่ดินแปลงนี้อาจจะทำให้การใส่ปุ๋ยได้ดีในส่วนบริเวณที่ดินดีและการใส่ปุ๋ยจะไม่พอเพียงในบริเวณที่ดินดีและการใส่ปุ๋ยจะไม่พอเพียงในบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า เราต้องระลึกถึงว่าการตรวจสอบดินเราเพียงได้ผลเฉลี่ยของธาตุอาหารพืชที่มีอยู่จากแปลงดินผืนใหญ่ทั้งผืน
         2) อาหารพืชที่วิเคราะห์พบได้จากดินแปลงหนึ่งแปลงใด เราไม่มีทางรับประกัน ได้ว่า อาหารเหล่านั้นต้นพืชจะนำไปใช้ได้ เนื่องจากเคมีของดินเป็นสิ่งที่สับสนพอสมควร พืชที่ดูดอาหารอย่างหนึ่งมากเกินไปสามารถจะทำให้เกิดปัญหากับ การดูดใช้ธาตุอาหารอีกชนิดของพืชได้



         วิธีการวิเคราะห์ดินควรจะเป็นเพียงแต่การแนะแนวทางการใช้อาหารพืช แต่ไม่ค่อยจะตรงกับความต้องการของพืชที่เดียว การตรวจสอบที่สำคัญที่สุดคือความเป็นกรดเป็นด่างของดิน(pH) ธาตุอาหารพืชในดินทั้งหมด(ยกเว้น โมลิบดีนัมจะละลายตัวได้ดีเกิดประโยชน์แก่พืชเมื่อดินมีความเป็นด่างสูงขึ้น) ถ้าดินมีความเป็นกรดต่ำกว่า 5.0 เหล็ก อลูมินั่ม และแมงกานีส จะเกิดเป็นพิษกับพืชได้ เช่น ในกรณีของเขตดินเปรี้ยวองครักษ์เป็นต้น การใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน ก็จะทำให้ธาตุอาหารในดินที่เกิดประโยชน์น้อยกับพืชเกิดประโยชน์มากขึ้นได้ ถ้าดินมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมพอเพียง ก็ไม่น่าที่จะต้องใช้ปูนปรับสภาพของดินให้มี pH สูงกว่า 5.0 ถ้าดินมี pH 5.0-6.0 เราอาจใช้วิธีพ่นโมลิบดีนัมให้กับพืชทางใบก็ได้

การวิเคราะห์ใบพืช
การวิเคราะห์ใบพืชจะบอกเราว่าธาตุอาหารอะไรบ้างอยู่ในพืช ก็มีข้อระลึกบางประการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดิน คือ

1) ต้นพืชอาจมีธาตุอาหารจำนวนพอเพียงแต่ยังขาดอยู่บ้าง เคมีของพืชเช่นเดียวกับเคมีของดินเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนมากเช่น ปริมาณเหล็กที่สูงในพืชจะเป็นสาเหตุให้พืชขาดสังกะสี แม้ว่าผลจากการวิเคราะห์พบว่าสังกะสีจะอยู่ในระดับที่พอเพียงก็ตาม อีกตัวอย่างเช่น แคลเซียมที่เคลื่อนตัวอยู่ในต้นพืช วิเคราะห์แล้วพบว่าในใบมีปริมาณแคลเซียมพอเพียง แต่ในส่วนของผล ใบอ่อน หรือส่วนที่สะสมอาหารของพืชอาจขาดแคลนแคลเซียมได้
2) พืชจะมีการสะสมอาหารแต่ละชนิดแตกต่างกันตามระยะการเจริญเติบโตของพืช เช่น พืชใช้โพแทสเซียมมากในช่วงการเจริญเติบโตทางใบและต้องการ น้อยเมื่อเข้าระยะที่จะออกดอกออกผล เราจะต้องรู้ว่าระดับของธาตุอาหารอะไรที่พืชต้องการใช้พอเพียงในแต่ละช่วงของการเจริญของพืช

3) เมื่อพืชกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จะมีปัญหาที่สำคัญมากเกี่ยวกับธาตุอาหารที่มีอย่างเจือจาง ต้นพืชที่แคระแกรนจะมีเปอร์เซ็นต์ของธาตุอาหารสูง กว่าต้นพืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การวิเคราะห์ใบพืชก็ยังไม่ชี้ชัดแน่นอนในการให้อาหารแก่พืชเป็นวิธีที่ใช้แปลความหรือตีความให้เราพอทราบได้ดีพอสมควรเท่าที่เรามีวิธีวิเคราะห์อยู่เท่านั้น

      ดังนั้นการวิเคราะห์ดินและพืชยังไม่ใช่ศาสตร์ที่แท้ที่จะแก้ปัญหาของการขาดธาตุอาหารในพืชได้ แต่ก็เป็นแนวทางให้เราทราบว่าควรจะทำอย่างไรเท่านั้น การตรวจสอบดินทำให้เราทราบว่าจะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มอีกเท่าใด การตรวจสอบพืชจะบอกเราว่ามีธาตุอาหารอะไรที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ภายในต้นพืช วิธีการทั้งสองนี้จะเป็นแนวทางสำหรับฤดูกาลต่อไปหรือปีต่อไปในการพิจารณาโครงการใส่ปุ๋ยให้กับพืช




       สภาพใดบ้างที่ธาตุอาหารเสริมจะไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช
1) pH ของดินสูงกว่า 7.0 (ยกเว้นโมลิบดีนัมพืชใช้ไม่ได้เมื่อ pH ของดินต่ำกว่า 6.5)
2) ดินเย็น อากาศหนาวเย็น อากาศแห้งแล้ง
3) ดินเปียกแฉะ
4) ดินมีฟอสเฟตสูง
5) ดินทราย
6) สภาพของรากพืชมีปัญหาเช่น ถูกทำลายโดยยาฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลง
7) ดินมีธาตุเหล็กและอลูมินั่มสูง

        คงจะมีปัญหาอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ ถ้าเราพยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหา การขาดธาตุอาหารพืช ผลที่ได้รับเราอาจจะเป็นการฆ่าต้นพืชก็ได้ หรืออาจจะไม่เหมาะสมกับการลงทุนก็ได้ อย่างไรก็ดีเราก็พอมีหลักการที่จะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการขาดธาตุอาหารของพืชได้บ้าง
ระยะที่พืชต้องการอาหารบางชนิดมากเป็นพิเศษ

ก.    ระยะเริ่มปลูกจนถึงอายุ 40 วัน
ฟอสฟอรัส              แมกนีเซียม
สังกะสี                   เหล็ก
แมงกานีส              ทองแดง
วิธีที่จะให้ธาตุอาหารกับพืชตามระยะการเจริญเติบโตระยะต่าง ๆ
1.ให้กับพืชพร้อมกับการปลูก จะให้ผลดีที่สุด
2. ให้ธาตุอาหารพืชโดยโรยใกล้เมล็ดพืช ก็ให้ผลดีที่สุดเช่นกัน
3. การหว่านธาตุอาหารให้กับพืช

ข.    ระยะที่พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ไนโตรเจน             โพแทสเซียม
กำมะถัน                โมลิบดีนัม
วิธีที่จะให้ธาตุอาหารกับพืชตามระยะการเจริญเติบโตระยะต่าง ๆ
1. พ่นทางใบด้วยโมลิบดีนัม
2. พวกไนโตรเจน โพแทสเซียม และกำมะถัน ใช้วิธีหว่านให้กับพืชตามวิธีดั้งเดิมก็ใช้ได้

ค.    ระยะช่วงออกดอก ออกผล
 แคลเซียม       โบรอน

วิธีที่จะให้ธาตุอาหารกับพืชตามระยะการเจริญเติบโตระยะต่าง ๆ
1. พ่นทางใบ พ่นให้ทางใบ 3 หรือ 4 ครั้ง จะดีกว่าการพ่นให้เพียงครั้งเดียว พืชหลายชนิดมักจะขาดแคลเซียมและโบรอนอย่างมากในช่วงที่จะเกิดดอกหรือในส่วนที่พืชสะสมอาหารเพื่อการสร้างดอก ขณะนี้เกษตรกรมีการใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าวัชพืช และพวกสารเร่งการเจริญเติบโตของพืชมากขึ้น ทำให้พืชต้องการใช้อาหารมากขึ้น



      การวิเคราะห์ดินปลูกพืช
 การวิเคราะห์ดินปลูกพืชในบ้านเราก็มีหน่วยงานหลายแห่งบริการให้กับเกษตรกรอยู่ ถ้าพิจารณาถึงวิธีการนี้แล้วการตรวจสอบดินก็ทำให้เราทราบว่ามีธาตุอาหารพืชทั้งหมดในดินที่ตรวจสอบนั้น ๆ เพราะว่าพืชมีปัญหามารบกวนการเจริญเติบโตน้อยลงเราจำเป็นต้องพ่นอาหารพืชทางใบหรือให้ทางดินมากขึ้นด้วยในช่วงที่พืชขาดธาตุอาหาร  การพ่นทางใบจะให้ผลดีและเร็วกว่าทางดิน เพราะไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่เกี่ยวกับเคมีของดิน การให้ธาตุอาหารพืชทางใบในอัตราที่เหมาะสมจะให้ผลผลิตดีเพิ่มขึ้นอีกด้วย
       เราก็ได้ทำความเข้าใจกันพอสมควรในเรื่องธาตุอาหารพืช ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ทั่วไปนั่นเอง แต่ “มีความรู้น้อยไปก็จะทำให้เกิดความไม่สำเร็จได้” ถ้าเรายอมรับสิ่งที่เห็นแล้วว่าเป็นความจริงแต่ยังคิดว่ามันยังไม่จริงเราก็ต้องค้นคว้าเพื่อหาความจริงต่อไปอีก
        ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม เป็นธาตุอาหารที่สำคัญและจำเป็นสำหรับพืชนอกเหนือไปจาก เอ็น-พี-เค ซึ่งธาตุ เอ็น-พี-เค เป็นธาตุที่สำคัญมากสำหรับพืช ธาตุทั้งสามชนิดนี้ก็เป็นธาตุกลุ่มแรกที่จำกัดผลผลิตของพืชเช่นกัน สำหรับเกษตรกรที่มีหัวก้าวหน้าอยู่เสมอต้องการที่จะให้พืชของตนได้รับผลผลติสูงสุดก็จะต้องให้ธาตุอาหารทุกชนิดที่พืชต้องการและอยู่ในสภาพที่สมดุลด้วย
ธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองทำหน้าที่อะไรบ้างในพืช
          ผลผลิตของพืชจะถูกจำกัดโดยที่พืชขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่งไป หรือถึงแม้ว่าธาตุที่มีอยู่จะเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช แต่อยู่ในปริมาณที่ไม่พอเพียง เป็นเวลาประมาณ 100 กว่าปีที่เรารู้ว่าการให้อาหารพืชนอกเหนือไปจาก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุดังกล่าวก็มีแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน สังกะสี แมงกานีส เหล็ก ทองแดง โมลิบดีนัม โบรอน และคลอรีน  ก็เป็นธาตุอาหารพืชที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเจริญเติบโต
พืชถ้าขาดธาตุใดธาตุหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว จะทำให้พืชตายได้
        แต่ถ้าธาตุอาหารดังกล่าวไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช ก็จะมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืช สำหรับอาหารหลักซึ่งมี  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ก็เป็นที่คุ้นเคยกับเกษตรกรอยู่แล้ว ก็คงมีความรู้ในการใช้พอสมควรและหาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด แต่สำหรับธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรอง เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้พอสมควร เพราะการปลูกพืชแต่ละชนิด สภาพดินที่แตกต่างกันไป การปฏิบัติต่อพืชที่แตกต่างกัน ฯลฯ การเน้นการให้ธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองอาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน หากเกษตรกรได้ทราบถึงว่าธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองทำหน้าที่อะไรบ้างในพืช ก็เป็นแนวทางที่ทำให้การใช้ถูกต้องขึ้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงรวบรวมหน้าที่ที่สำคัญ ๆ ของธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรอง เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้สนใจได้พิจารณาว่าธาตุต่าง ๆ เหล่านี้นั้นเมื่อให้กับพืชแล้วเราจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง




ธาตุอาหารเสริมคืออะไร

คำจำกัดความพอสรุปให้ผู้ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกพืชให้เข้าใจง่ายดังนี้
1.เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช พืชต้องการปริมาณน้อย ก็ออกฤทธิ์ได้เต็มที่
2. ธาตุสังกะสี เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โบรอน โมลิบดีนัม เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมากในการเกษตร
3. ธาตุอาหารเสริมไม่ใช่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของพืชเหมือน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม แต่มันเป็นธาตุที่ช่วยประสานและส่งเสริมการทำงานของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ให้ดีขึ้น
4. ธาตุอาหารเสริมหลายชนิด ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ดีในเนื้อเยื่อของพืช จึงจำเป็นต้องให้แก่พืชบ่อย ๆ   
5. ขอบเขตของความปลอดภัยต่อพืชมีช่วงแคบมาก อันตรายต่อพืชย่อมเกิดขึ้นได้ถ้าหากใช้มากเกินไปหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ
 6. อาหารเสริมต้องให้แก่พืชโดยต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต

ธาตุสังกะสี
1.สร้างฮอร์โมน    2. สร้างเมล็ด    3. วันสุกวันแก่ของผล   4. ความสูง การยืดของต้น     5. สังเคราะห์โปรตีน
ธาตุสังกะสียังทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็นในต้นพืช ต้นพืชสามารถมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิต่ำถ้าต้นพืชมีธาตุสังกะสีพอเพียงในใบพืช มีข้อมูลในการทดสอบในส้ม มะเขือเทศ และผักหลายชนิดด้วยกัน
ธาตุสังกะสีเป็นส่วนที่จำเป็นในระบบของเอนไซม์ ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นไม้
ธาตุสังกะสีจำเป็นมากในการสร้างคลอโรฟีลล์(สีเขียว) ของพืช
ธาตุสังกะสียังจำเป็นในการเคลื่อนย้ายพวกคาร์โบไฮเดรตและการกระตุ้น การใช้น้ำตาลในพืชอีกด้วย

ธาตุโบรอน
1.สังเคราะห์โปรตีน     2.สร้างฮอร์โมนพืช     3.ส่งเสริมการสุกการแก่ของผล
 4.เพิ่มจำนวนช่อดอก จำนวนผล เพิ่มผลผลิตและคุณภาพ(รสชาติ ขนาด น้ำตาล ฯลฯ)
5.มีบทบาทในการย่อยโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต     6.ควบคุมการคายน้ำของพืช
พืชต้องการโบรอนในการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อสร้างฮอร์โมน โบรอนช่วยเพิ่มพลังในการสร้างเซลล์ ซึ่งมีอิทธิพลในการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนดอก จำนวนผล รวมทั้งผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต    โบรอนมีผลต่อการย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และการใช้น้ำในพืช

ธาตุทองแดง
1.เร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในพืช    2.เป็นตัวจักรสำคัญในการสังเคราะห์แสง
3.เป็นตัวจักรสำคัญในระยะการออกดอก และติดผล   4.ผลิตเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการหายใจของพืช
5.มีหน้าที่โดยตรงในการสร้างคลอโรฟีลล์ (สีเขียว)    6.เพิ่มความหวาน    7.เพิ่มความเข้มของสี 
8.เพิ่มกลิ่นในผลไม้และผัก
มนุษย์ใช้ธาตุทองแดงนานกว่า 7,000 ปี แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเราเพิ่งรู้ว่าทองแดงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเมื่อราวปี พ.ศ. 2473 นี้เอง
–   พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก 5-10 พี.พี.เอ็ม  ก็พอทำให้พืชเจริญตามปกติได้แล้ว
–   หน้าที่ของทองแดงในพืชเราไม่สามารถหาธาตุอื่น ๆ มาทำหน้าที่แทนได้เลย
–   ทองแดงเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะมีส่วนเข้ามาประสานกับเอนไซม์อีกหลายชนิด ทำให้เกิดการหายใจและการสังเคราะห์แสงในพืช
–   ทองแดงมิได้เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟีลล์ แต่มันเป็นส่วนของระบบเอนไซม์ในการสร้างคลอโรฟีลล์
–  ทองแดงช่วยในการเพิ่มกลิ่น คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว และการขนส่งของผลไม้และผัก ซึ่งมีความสำคัญมากพอ ๆ กับเพิ่มความหวานในผลไม้


ธาตุเหล็ก
1.ส่งเสริมการสร้างคลอโรฟีลล์    2.เป็นกลไกของเอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบของการหายใจเซลล์ที่มีชีวิตของพืช
3.สร้างปฏิกิริยาเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโต
เหล็กไม่ได้เป็นส่วนโมเลกุลของคลอโรฟีลล์ แต่พืชต้องการในการเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องในการสร้างส่วนประกอบของคลอโรฟีลล์

แมงกานีส
1.เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์     2.การหายใจ เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3.การสังเคราะห์แสง ทำให้เกิดคลอโรฟีลล์ (เป็นพื้นที่ของการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมี)
ได้พบว่า แมงกานีสเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชชั้นสูง เมื่อปี พ.ศ. 2465 แมงกานีสเป็นส่วนที่สำคัญในเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ และการสังเคราะห์โปรตีน
โดยปกติแล้ว แมงกานีสจะเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิดด้วยกัน มีข้อควรสนใจอยู่อย่างหนึ่งที่แมงกานีสก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง โดยมีอิทธิพลโดยตรงหรือทางอ้อมกับคลอโรฟีลล์ ส่วนที่เป็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี
ถั่วเหลืองต้องการแมงกานีส 10-100 พี.พี.เอ็ม  เท่านั้น ปริมาณต่ำกว่า 10 พี.พี.เอ็ม ก็จะไม่พอเพียง แต่ถ้ามากกว่า 100 พี.พี.เอ็ม  ก็จะเกิดเป็นพิษกับถั่วเหลือง กะหล่ำดอก ส้ม มะนาว ยาสูบ พืชตระกูลถั่ว

โมลิบดีนัม
1. ตรึงไนโตรเจนในพืชตระกูลถั่ว    2. มีความสำคัญในการเปลี่ยนไนเตรทเป็นกรดอะมิโน(โปรตีน)
3. จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช
 – พืชทุกชนิดต้องการใช้โมลิบดีนัม
– พืชใช้โมลิบดีนัมในปริมาณน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับธาตุอาหารอื่น ๆ
– มักค่อยพบว่าพืชเกิดเป็นพิษจากโมลิบดีนัม
– พืชตระกูลถั่วต้องการใช้มากกว่าพืชตระกูลอื่น
– พืชตระกูลผัก เช่น กะหล่ำดอก, บร๊อคโคลี่, ผักสลัดและมะเขือเทศ ต้องการโมลิบดีนัมในปริมาณค่อนข้างสูง
– พืชอายุสั้น(ผักต่าง ๆ) ควรพ่นให้โมลิบดีนัมบ่อย ๆ ครั้ง เนื่องจากพืชจะใช้ไนโตรเจนในเวลาอันสั้นจะทำให้พืชได้รับผลผลิตสูง ควรพ่นตั้งแต่ระยะแรกจนถึงก่อนพืชโตเต็มที่ การพ่นให้ทางใบจะให้ผลดีกว่าให้ทางดินถึง 30 เท่า

แคลเซียม
1. พืชใช้อย่างต่อเนื่องในการแบ่งเซลล์และการสร้างเซลล์     2. เกี่ยวข้องกับการย่อยไนโตรเจน
 3. เป็นตัวลดการหายใจของพืช    4. ช่วยการเคลื่อนย้ายพวกน้ำตาลจากใบไปยังผลของพืช
5. เพิ่มการติดผล   6. บังคับการดูดน้ำเข้าสู่ต้นพืช
 – แคลเซียมจำเป็นสำหรับการสร้างผนังเซลล์และโครงสร้างของเซลล์เพื่อเชื่อมให้เซลล์ติดต่อกัน มันจะเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่างและขนาดพืชให้เป็นไปตามลักษณะที่พืชแต่ละชนิดผลิตได้
– แคลเซียมมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกติดผลของพืช
 – พืชที่มีจำนวนแคลเซียมที่พอเพียงจะมีผลให้เกิดผลผลิตของพืชต้นเล็ก ๆ ได้ แต่ถ้าให้ตั้งแต่เนิ่น ๆ พืชจะให้การติดผลได้เช่นกัน
 – แคลเซียมทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเป็นตัวกลั่นกรองอาหารพืชที่จะซึมผ่านเข้าในเซลล์ มีกรดอินทรีย์บางชนิดที่เป็นผลพลอยได้ของการทำงานในพืชช่วงการเจริญเติบโตแคลเซียมจะเป็นตัวทำให้กรดเหล่านั้นเป็นกลางอยู่ในรูปแคลเซียมอ๊อกซาเลท จึงไม่ทำให้เกิดเป็นพิษกับต้นพืชได้


แมกนีเซียม
 1. เป็นตัวแกนสำคัญในการสร้างคลอโรฟีลล์     2. ช่วยเพิ่มการใช้ และการเคลื่อนย้ายตัวของฟอสฟอรัสในพืช
3. เป็นตัวเร่งและเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดในพืช    4. เคลื่อนตัวได้ดีในพืช
5. มีบทบาทที่สำคัญมากในการสังเคราะห์แสง
6. มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคกร๊าสเทตานี(Grass Tetany) ในพวก สัตว์ โค กระบือ(หรือเรียกว่า โรคกระแตเวียน)
7. เพิ่มการใช้ธาตุเหล็กในพืช
8. มีอิทธิพลต่อการสุกการแก่ของพืชให้เร็วขึ้น และมีความสุกแก่อย่างสม่ำเสมอ

 – มนุษย์เราต้องเป็นหนี้กับความเขียวของพืช อันเกิดจากแมกนีเซียมอันเป็นส่วนสำคัญของโมเลกุลคลอโรฟีลล์-เม็ดสีเขียวในพืช สีเขียวนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการผลิตอาหารและเส้นใย โดยเริ่มต้นจากพืชสีเขียวและเกิดประโยชน์ไปจนถึงสัตว์และมนุษย์
 – แมกนีเซียมมีบทบาทที่สำคัญในปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิดในการ ดำรงชีวิตของพืช และมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังงานที่ได้รับจากสารประกอบฟอสฟอรัส
– แมกนีเซียมจะทำให้พืชมีความสามารถในการต่อต้านกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและโรคพืชด้วย
– พืชที่ผลิตน้ำตาล เช่น ข้าวโพด, มันฝรั่ง และพืชไม้ผลทุกชนิดต้องการแมกนีเซียมมากกว่าพืชพวกให้เมล็ดเช่น ข้าว, ข้าวสาลี, ข้าวบาเลย์ เป็นต้น

กำมะถัน
1. เป็นส่วนของกรดอะมิโน   2. เป็นตัวเร่งการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด   3. เป็นส่วนประกอบของวิตามินหลายชนิด
4. เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโปรโตพลาสซั่ม


สภาพอย่างไรบ้างที่ธาตุอาหารเสริมจะถูกจำกัดการเกิดประโยชน์ต่อพืช
 1. ดินมีความเป็นด่างสูงกว่า 7 (pH) ขึ้นไป ยกเว้นธาตุโมลิบดีนัมจะถูกกีดกันเมื่อดินมีสภาพเป็นกรดต่ำกว่า 6.5
2. สภาพของดินเย็น    3. ดินเปียก    4. ดินมีฟอสเฟตสูง     5. ดินทราย
6. สภาพบางอย่างที่ทำให้ระบบรากของพืชเสียเช่น ถูกยาฆ่าหญ้า, ยาฆ่าแมลง ฯลฯ  7. ดินที่มีเหล็ก และ/หรือ อลูมินั่มสูง
สรุปหน้าที่ของธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรอง
 1. ทำหน้าที่เสมือนแม่ครัวปรุงแต่งอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ให้เป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นผลผลิต
2. สร้างการเจริญเติบโต
3. สร้างผลผลิตและคุณภาพ
4. สร้างความต้านทานต่อศัตรูพืช
5. สร้างความต้านทานต่อสภาพแวดล้อม
6. การออกดอก ติดผล การสุกการแก่ ความหวาน สีสรร
แนวทางการวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารของพืช
         พืชจะแสดงอาการบางอย่าง เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นภายในต้นพืช เช่น แสดงอาการปรากฏที่บนใบ หน่อ แขนง หรือราก อาการที่เกิดบนใบและหน่อหรือแขนงเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นสิ่งที่จะช่วยในการพิจารณาถึงสภาวะของธาตุอาหารในต้นพืชได้ ส่วนอาการที่เกิดที่รากมักไม่ใช้ในการวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารของพืช เว้นแต่เราจะปลูกพืชในอาการเหลว(Solution Culture) ลักษณะอาการที่แสดงออกบนต้นพืชก็อาจจะช่วยให้เราพิจารณาถึงข้อมูลหลัก ๆ เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารพืชได้ ทั้งนี้อาการที่แสดงออกอาจจะเป็นได้ทั้งการขาดธาตุอาหาร หรือเกิดพิษก็ได้ ซึ่งจะเกิดกับอาหารแต่ละชนิด อย่างไรก็ดีอาการเกิดจากการขาดธาตุอาหารที่เราพบเห็นบ่อย ๆ ก็สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติได้พอสมควร อย่างน้อยก็สามารถบอกได้ว่าเมื่อไรจะให้ปุ๋ย และใช้อะไรบ้างให้กับพืชเป็นต้น
ผลกระทบความเป็นกรดด่างการเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร


          ในสภาพธรรมชาติแล้วมักจะไม่ค่อยเห็นว่าพืชขาดธาตุอาหารเพียงชนิดหนึ่งชนิดใด ส่วนมากที่พบมักจะพบว่าพืชขาดธาตุอาหารมากกว่าสองชนิดขึ้นไป ตัวอย่าง เช่น จากสภาพดินที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ธาตุสังกะสี เหล็ก ทองแดง แมงกานีส และโบรอน ก็มีโอกาสขาดได้ในพืช จึงทำให้อาการปะปนกันไป วิธีการวินิจฉัยโดยทั่ว ๆ ไปในกรณีเช่นนี้ เราต้องมาพิจารณาว่าอาหารอะไรที่จะแสดงอาการในสภาพดินเช่นนี้บ้าง
           อาการใบเหลืองหรือใบไม่ค่อยเขียว เป็นอาการขาดธาตุอาหารหลายชนิดด้วยกัน อาการเหลืองอาจจะมีอาการต่อมาคือ แห้งตายของส่วนที่เหลืองก็ได้ จุดที่เกิดอาการแห้งตายก็อาจจะช่วยเราให้พิจารณาว่าเกิดจากอาการขาดธาตุอาหารใดได้ ธาตุอาหารที่มีการเคลื่อนย้ายตัวน้อย(Low mobility) เช่น โบรอน และเหล็ก จะแสดงอาการขาดให้เห็นโดยเริ่มจากปลายยอดของใบอ่อน ธาตุอาหารที่มีการเคลื่อนตัวดี(High mobility) เช่น โพแทสเซียม และแมกนีเซียม อาการขาดจะพบเริ่มแรกที่ใบล่างที่แก่แล้ว ส่วนไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอาการจะเกิดทั่วไปทั้งต้น
ไนโตรเจน (N)
      ไนโตรเจนจะเคลื่อนย้ายสู่ใบอ่อนได้ ทำให้ใบแก่มีสีเหลือง ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว(monocots) เช่น ข้าวโพด สีเหลืองจะเริ่มแสดงจากปลายใบแล้วลุกลามเข้าสู่โคนใบ
ต้นพืชที่ขาดไนโตรเจนจะไม่เจริญเติบโตและใบมีสีเหลือง พืชที่ขาดไนโตรเจนจะทำให้เกิดการขาดคลอโรฟีลล์อันเป็นเหตุให้พืชผลิตคาร์โบไฮเดรตไม่ได้เต็มที่ ทำให้พืชออกดอกก่อนกำหนด อันเป็นผลทำให้คุณภาพของผลผลิตไม่ดี

อาการขาดไนโตรเจน(N)

อาการขาดไนโตรเจน(N)

ฟอสฟอรัส (P)
        พืชหลายชนิดที่ขาดฟอสฟอรัสจะผลิตเม็ดสี แอนโธไซยานิน(anthocyanin) ใบจะมีสีม่วง บางกรณีการขาดในพืชบางชนิดแสดงอาการสีเขียวเข้มบนใบ ใบแก่อาจมีสีเหลืองแต่ใบอ่อนมีสีเขียวอยู่ พืชที่ขาดฟอสฟอรัสจะทำให้การแตกกอไม่ดี  ต้นแคระแกรน  ใบและลำต้นเล็ก การออกดอกและการสุกของพืชจะช้ากว่าปกติ เมล็ดและผลที่จะถึงกำหนดแก่มีขนาดเล็ก การขาดฟอสฟอรัสยังทำให้คุณภาพของผลผลิตต่ำอีกด้วย
โพแทสเซียม (K)
        ลักษณะที่พบเห็นเด่นชัดที่สุดคือ ส่วนปลายใบและขอบใบไหม้เกรียม ครั้งแรกจะเห็นขอบใบมีสีเหลืองก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วจึงเปลี่ยนเป็นไหม้เกรียม พืชใบเลี้ยงเดี่ยวนอกจากที่ขอบใบจะไหม้เกรียมแล้วยังร่วงอีกด้วย ในพืชใบเลี้ยงคู่อาการขาดมักเกิดก่อนที่ใบจะเริ่มแก่
แคลเซียม (Ca)
         แคลเซียมจะเคลื่อนย้ายได้น้อยมากในพืช ดังนั้นจึงมีการสะสมที่เนื้อเยื่อที่แก่ ๆ อาการขาดที่แสดงให้เห็นก่อนที่เนื้อเยื่ออายุน้อยที่สุดเช่น ปลายรากและใบที่อยู่รอบ ๆ ส่วนของยอดขอบใบจะเริ่มแสดงอาการสีเหลือง และลุกลามไปยังส่วนที่สมบูรณ์ต่อไปใบจะมีลักษณะเป็นคลื่นพร้อมกับแสดงอาการสีเหลือง อาจจะมีรอยไหม้ หรือสีน้ำตาลปะปนอยู่ด้วย รากอาจจะสั้นมีลักษณะโตหนามีสีน้ำตาล


อาการขาดแคลเซียม(Ca)

อาการขาดแคลเซียม(Ca)

อาการขาดแคลเซียม(Ca)

อาการขาดแคลเซียม(Ca)



แมกนีเซียม (Mg)
           จากความจริงที่ว่าแมกนีเซียมเคลื่อนย้ายได้ดีในพืช อาการที่ขาดที่แสดงครั้งแรกจะต้องเกิดที่ใบแก่ก่อน แล้วจึงลุกลามต่อไปยังใบอ่อนในฤดูกาลเดียวกันหรืออาจจะเป็นปีต่อไปก็ได้ อาการที่เห็นครั้งแรกคือ อาการขาดคลอโรฟีลล์ มีลักษณะเป็นรอยไหม้บริเวณระหว่างเส้นใบ ในกรณีการเกิดเช่นนี้จะเห็นอาการสีเหลืองเริ่มเกิดจากขอบของใบ ขณะที่เส้นใบยังมีสีเขียวอยู่ พืชทั้งชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว และใบเลี้ยงคู่จะแสดงอาการสีซีด ปกติแล้วพืชขาดแมกนีเซียมจะทำให้ใบร่วง

บล๊อกโคลี่ขาดธาตุ Mg              อ้อยขาดธาตุ mg
ส้มขาดธาตุ Mg                             ข้าวโพดขาดธาตุ  Mg
ฝ้ายขาดธาตุ Mg                              องุ่นขาดธาตุ Mg
องุ่นขาดธาตุ Mg                      ส้มขาดธาตุ Mg
                   พริกไทยขาดธาตุ Mg                       ถั่วเหลือขาดธาตุ Mg    


กำมะถัน (S)
        กำมะถันเป็นธาตุค่อนข้างไม่เคลื่อนย้ายในพืช เมื่อพืชขาดใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้จะแตกต่างกับการขาดไนโตรเจน ซึ่งอาการสีเหลืองเกิดที่ใบล่าง อาการรุนแรงมากในพืชจะแสดงอาการเหลืองทั้งใบอย่างชัดเจน พืชที่ขาดจะมีการสะสมแป้งน้ำตาล(sucrose) และไนโตรเจนสูง

แมงกานีส (Mn)
       อาการขาดเหมือนกันกับขาดแมกนีเซียม ต่างกันตรงที่ใบอ่อน ระหว่างเส้นใบมีสีเหลือง และมีจุดของเซลล์ที่แห้งตายปรากฏด้วย พืชที่ขาดมาก ๆ ใบอาจจะเป็นสีขาวหรือไหม้แห้งตายในที่สุด

อาการขาดแมงกานีส(Mn)

อาการขาดแมงกานีส(Mn)



สังกะสี (Zn)
       การขาดสังกะสีในพืชจะแสดงอาการเหลืองบริเวณระหว่างเส้นใบอ่อนที่สุดโดยเริ่มจากปลายใบ และขอบใบก่อน และจะเกิดอาการไหม้ภายหลัง พืชจะเจริญเติบโตช้า ใบจะเล็กลงรูปร่างแปรเปลี่ยนไป บางครั้งบิดงอ ข้อต่อใบจะสั้น และใบยอดจะอยู่ชิดกันคล้าย ๆ กับเป็นพุ่ม(rosetting)

อาการขาดสังกะสี(Zn) ในข้าว

อาการขาดสังกะสี(Zn)

อาการขาดสังกะสีในหอม(Zn)

อาการขาดสังกะสี(Zn)กับแมนกานีท(Mn)

ทองแดง (Cu)
      ลักษณะที่สำคัญของการขาดทองแดง คือ การตายจากยอดลงมาของยอดที่เกิดใหม่ ๆ คือ ใบจะมีอาการสีเหลืองซีดที่ปลายใบจะเริ่มไหม้ จากนั้นก็แห้งตายในที่สุด

อาการขาดธาตุทองแดง(Cu)

โบรอน (B)
       อาการขาดโบรอนในพืชมีอาการคล้าย ๆ กับการขาดแคลเซียม โบรอนเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช ดังนั้นอาการที่เห็นในเบื้องแรกก็คือ อาการแห้งของส่วนปลายสุดของการเจริญเติบโตของพืช พืชจะแตกกิ่งก้านสาขา แล้วส่วนยอดของกิ่งก้านก็แห้งตายอีก ทำให้พืชไม่มีดอก  การเจริญทางรากถูกจำกัด ใบจะมีสีทองแดงใบหนาหงิกงอ บางกรณีใบจะมีอาการโค้งงอขึ้นข้างบน ในพืชผักประเภทหัวจะมีอาการเน่า  ต้นพืชที่ให้ผลอยู่ก็จะให้ผลไม้ไม่สมบูรณ์ เช่น ส้ม ความหนาของเปลือกจะไม่เท่ากันและบิดเบี้ยว และมีเมือกเหนียว ๆ ปรากฏอยู่
อาการขาดโบรอน(B)

อาการขาดโบรอน(B)



เหล็ก (Fe)
       เนื่องจากเหล็กมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างคลอโรฟีลล์ การขาดจะแสดงอาการเหลืองชัดที่ใบ แสดงอาการบนใบอ่อนก่อน เหล็กเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช พืชที่ขาดระหว่างเส้นใบจะมีสีเหลืองทำให้เกิดลวดลายมีลักษณะคล้ายร่างแห มีเส้นใบสีเขียวตัดกับพื้นของเนื้อเยื่อสีเหลือง  ใบหนาเล็ก และหยาบกระด้าง

อาการขาดเหล็ก (Fe)

อาการขาดเหล็ก(Fe)

อาการขาดเหล็ก(Fe)



คลอรีน (Cl)
      การขาดคลอรีนจะพบในใบที่เริ่มแก่อาการเหี่ยวของใบอ่อนมักจะพบบ่อย ๆ

โมลิบดีนัม (Mo)
      อาการขาดโมลิบดีนัมในพืชมีลักษณะเหมือนการขาดไนโตรเจนพื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดขาวแล้วจะเปลี่ยนเป็นขอบใบแห้ง ๆ  และใบจะม้วนงอ ในกรณีที่พืชขาดอย่างรุนแรงบริเวณสีซีด ๆ จะเปลี่ยนเป็นแห้งตาย ต้นเตี้ย ดอกเล็ก ถ้ามีการติดลูกจะร่วงอย่างรวดเร็ว
(ข้อมูลอ้างอิง : อาจารย์เลื่อนศักดิ์   วัฒนกุล  ทีมเกษตร)












BIO-JET : สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

‪#‎คุณสมบัติพิเศษ‬
- ช่วยให้การดูดซึมล้ำลึก จากฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดที่พืชต้องการ
- ช่วยกระตุ้นตาดอก ออกรวงดี ออกดอกดี ติดผลดี สีสวย ผลใหญ่
- ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ตายอด ตาดอก ตาใบ
- ช่วยกระตุ้นการแตกราก รากสมบูรณ์ พืชงอกงาม ผลผลิตสูง
- ช่วยต้านความเครียดของพืช ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน ต่อสู้ได้ในทุกสภาวะไม่ว่าจะหนาวจัด , ร้อนจัด ถูกโรคและ
แมลงรบกวน , หรือแพ้สารเคมี ให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
- มีอาหารเสริมอันทรงประสิทธิภาพที่จำเป็นต่อพืชเกือบ 10 ชนิด ที่มีผลต่อการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตได้มากถึง 30 – 50%
- ช่วยเพิ่มประมาณแห่ง น้ำตาล ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
- สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
- พืชสามารถดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี







BIO-JET
BIO-STIMULANTS  are biological compounds that stimulate both microbial and plant growth processes
    - reduces stresses,
    - encourages strong plant development, providing increased plant health, quality and productivity
Four Basic Effects
Greater soil
Microbe activity.
Bio-Jet stimulates beneficial soil microbe activity – especially those around the plant roots.
These improve rooting as well as helping fight-off disease and soil pests, at the same time as working
within the soil to release more nutrients to the plant.
Increased chlorophyll
Bio-Jet increases levels of plant chlorophyll – the green pigment essential for plant development.
This ensures better use of energy from the sun, fuelling strong, healthy growth.
Stress relief
Bio-Jet acts within the plant, raising its natural defense mechanisms to a higher level.
As a result, it is better equipped to resist pests and diseases, diverting more of its energies into growth,
with reduced stress.
Increased  Frost tolerance
Bio-Jet helps the plant withstand the pressures of frost, reducing damage at critical stages of growth.
INCREASE  PLANT HEALTH, YIELD AND QUALITY…..
Used regularly throughout the life of the plant, Bio-Jet  will
-    improve turf wear 
-    ensure strong growth and better flowering
-    Increase fruit crop yields 
-    ensure good grainfill and top quality cereal yields
-    minimize transplanting shock
-    boost potato size and crop development
-    harden plants during periods of stress
-    maximize nutrient and moisture uptake
-    reduce the effects of pest and disease attack
-    raise crop quality and storage life














ผงวิเศษ  บี.เอ็ม.ซี - มิกซ์  ( B.M.C. - MIX )


 ผงวิเศษสำหรับคลุกปุ๋ยเพื่อเพิ่มพลังปุ๋ย เปลี่ยนปุ๋ยธรรมดา มาเป็นปุ๋ยพิเศษ
เพิ่มพลังปุ๋ย  เพิ่มพลังดิน เพิ่มพลังพืช
เทคโนโลยีใหม่ ใส่ครั้งเดียวออกฤทธิ์ยาวนาน
ธาตุอาหารค่อยๆ ปลดปล่อยได้นานถึง 6 เดือน

คุณประโยชน์
-  พืชแข็งแรง  ผนังเซลล์แข็งแรง
-  ใบเขียวเข้ม  ตั้งชัน
-  ดูดกินปุ๋ยดี  ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร ประหยัดปุ๋ย
-  เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืชทุกชนิด ทั้งพืชผัก ไม้ผล พืชไร่ต่างๆ
-  เพิ่มการสร้างน้ำยาง,น้ำมัน และสร้างแป้ง และน้ำตาลในพืชยางพารา,ปาล์มน้ำมัน,มันสำปะหลัง
-  เพิ่มการสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตพลังงานและโปรตีนให้มากขึ้น
-  ช่วยในการผสมเกสรให้ดีขึ้น การติดผลดีลดปัญหาการหลุดล่วงและผลแตก
- ช่วยลดดินกรด ลดดินดาน ดินไม่แน่นทึบ

คุณสมบัติ
B.M.C-Mix  
ประกอบไปด้วยธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมและธาตุเสริมประโยชน์ที่จำเป็นต่อพืชชนิดเข้มข้น
 ซึ่งธาตุต่างๆเหล่านี้ขาดแคลนในดินเมืองไทยมาเป็นเวลานานและพืชต้องการมากแต่บอกใคร
ไม่ได้ และไม่มีใครรู้  รู้แต่เพียงว่าปลูกพืชทีไรทำไมพืชมันถึงไม่ยอมโต ใส่ปุ๋ยเท่าไรก็ไม่ยอมโต
หรือโตก็โตแบบไม่เต็มใจ ไม่ค่อยได้ผลผลิต หรือผลผลิตไม่ดี ตกต่ำ ทำให้ขาดทุน
สิ่งที่ถูกต้อง..ต้องหาสาเหตุที่แท้จริง  พืชเขาขาดแคลนอะไรพืชเขาต้องการอะไร
ก็จัดให้ตามที่เขาต้องการ..ไม่ใช่ปวดหลัง
แต่เอายาแก้ปวดท้องให้กิน  มันก็สิ้นเปลืองเปล่าๆ  

ทั้งหมดนี้.. B.M.C  Mix แก้ได้

อัตราการใช้
B.M.C-Mix 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยอะไรก็ได้เพียง 1 กระสอบ (50 กิโลกรัม)
ขนาดบรรจุ  1  กิโลกรัม  ต่อกระปุก (ชนิดผง)






เม็ดขยัน "กรีนอัพ " (Green Up)สารพันประโยชน์ 





กรีนอัพ(GreenUp) สารเพิ่มประสิทธิภาพดิน
เป็นฮอร์โมน&อาหารเสริมพืชเข้มข้น(ชนิดเม็ด) เสริมด้วยสารให้พลังงานและสารสำคัญอื่นๆ(ชนิดเม็ด)
5 ชั้น 5 พลัง 5 สารสำคัญ "ครบและจบในเม็ดเดียว"
ใช้เดี่ยวก็ได้ ใช้ร่วมกับปุ๋ยอื่นๆก็ดี เพราะมีสิ่งที่ปุ๋ยอื่นๆไม่มี
"ความหิวโหย ซ่อนเร้น" คืออะไร?
ไม่ให้ฮอร์โมน&อาหารเสริมที่พืชขาดและต้องการ พืชก็คลานไปเรื่อยๆ ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร การให้ผลผลิตก็ไม่ดี คุณภาพก็มีแต่ต่ำลง
แต่..ส่วนใหญ่เกษตรกรจะให้ด้วยวิธี "ฉีดพ่น"
แต่..ถ้าขี้เกียจ"ฉีดพ่น" จะทำอย่างไรดี?
นี่เลยครับ.."กรีพอัพ"(GreenUp) ชนิดเม็ด..."สะดวก และ ง่าย"
ใช้หว่านหรือคลุกกับปุ๋ยก็ได้ ให้ทางดิน พืชดูดกินได้เต็มที่ ไม่มีปัญหาเรื่องเสียเวลาไปฉีดพ่นให้พืช
"กรีนอัพ"..ของดีที่ขอแนะนำ
ถ้าไม่อยากให้พืช ต้อง"หิวโหย ซ่อนเร้น" อีกต่อไป ต้องให้"กรีนอัพ" เพื่อรองรับความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายพืช





“ครบและจบในกระสอบเดียว”
“ครบและจบในกระสอบเดียว” จริง ๆ
อะไรกัน..เหรอลุง
อ้าวก็ “กรีนอัพ” ไงล่ะ ไอ้หลานเอ๊ย...
“ไม่ใช่ปุ๋ย.... แต่เป็นมากกว่าปุ๋ย”
กระสอบเดียว ได้มากถึง 5 อย่าง
ทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ครบตามที่พืชต้องการ
ให้สารอาหาร “น้ำตาลทางด่วน” เพื่อเพิ่มพลังงานเหมือนทานกระทิงแดง..
ให้ฮอร์โมนพืชตั้ง 3 ชนิด ทั้ง “กระตุ้นแตกราก กระชากแตกใบ” รากเยอะ ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม
ให้สารป้องกันแมลงและโรคพืชหลายชนิด “หนอนไม่กวน เพลี้ยไม่เกี่ยว โรคไม่กล้า” แถมยังเป็นสารปรับสภาพดินได้อีกด้วยน่ะ
ครบเครื่องแบบนี้ จะไม่ให้พูดได้อย่างไรว่า “ครบและจบในกระสอบเดียว”
“ครบและจบในกระสอบเดียว...” จริง ๆ
พืชชอบ เพราะ กระสอบเดียวได้ครบ เหมือนได้สั่งอาหารโต๊ะจีน
ใส่ไป... “พืชโตไว ใบเขียวใหญ่ ต้นแข็งแรง ติดดอก ติดผลดี ผลผลิตมีน้ำหนัก ได้ราคาดี มีเงินเหลือใช้ แบบนี้เอาไหม...

“ออร์กาเนลไลฟ์ หนึ่งในใจเกษตรกรไทย”
“ออร์กาเนลไลฟ์ ชื่อนี้ที่คุณมั่นใจ” และไว้วางใจ
“ออร์กาเนลไลฟ์ สินค้าจัดหนัก องค์ความรู้จัดเต็ม”
“รู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่ทำ ผู้นำนวัตกรรมเกษตรตัวจริง”



กรีนอัพ

ประโยชน์ของอาหารพืช... “กรีนอัพ”เป็น สารเสริมประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ช่วยดูดซับและปลดปล่อยปุ๋ยในดินลดการสูญเสียเป็นอาหารพืชที่ออกฤทธิ์ 2 ระดับ คือ ชั้นนอก ปลดปล่อยอาหารได้ทันทีทันใด ชั้นใน
-• ช่วยในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดี ใบใหญ่หนากว่าปกติ ใบเขียวเข้มดำมัน 
•ใช้ได้กับพืชทุกชนิดและทุกระยะการเจริญเติบโต 

•- ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และปลอดโรค 
•ติดดอก ออกผล ได้ดีขึ้น เพราะได้รับอาหารครบถ้วน ทำให้การสะสมอาหารมีมาก ถึงเวลาออกดอกก็จะออกดอกแบบสมบูรณ์ ถึงเวลาติดผลก็ติดผลได้สมบูรณ์ ผลไม่ร่วง ขั้วเหนียว ติดผลได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ผลผลิตมาก 

- •ช่วยเพิ่มทั้งคุณภาพและผลผลิต ของพืชเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรสชาติหรือสีสรรก็ดี ผลผลิตจะมีเนื้อแน่น น้ำหนักดี 

- •ช่วยให้พืชที่มีอาการทรุดโทรมด้วยสาเหตุต่างๆ ฟื้นตัวได้เร็ว 

•- ช่วยป้องกันปัญหาอันเกิดจากการขาดธาตุอาหารต่างๆ อันเป็นต้นเหตุให้พืชมีปัญหา อาทิ การออกดอกไม่ดี ออกดอกน้อย ดอกร่วงง่าย ไม่แข็งแรง รสชาติไม่ดี 

•- ช่วยให้อายุการเก็บเกี่ยวได้ก่อนกำหนดในบางพืช อาทิ ข้าว พืชผักต่างๆ จะให้ผลผลิตเร็วกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้ 10 – 15 วัน 

•- ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ให้ดินโปร่งร่วนซุย ลดการใช้ปุ๋ยลง ธาตุอาหารปลดปล่อยได้ดีขึ้น 

- ช่วยลดการใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลง เพราะมีส่วนผสมของสารป้องกันและกำจัดโรคและแมลง 

- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายปุ๋ย ทั้งนี้เพราะมีธาตุอาหารที่เข้มข้น สามารถทดแทนปุ๋ยเคมี หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ โดยลดปุ๋ยเคมีลง ได้ถึง 50 – 60 %

คำแนะนำในการใช้
นาข้าว
ควรใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี ใช้กรีนอัพ 10 กก./ถุง ผสมยูเรีย 46-0-0 เข้าไป 2 กก.คลุกเคล้าให้ทั่ว กรีนอัพ 10 กก./ถุง ใช้หว่านกับนาข้าวได้ 1  ไร่  (ใช้หว่านนาข้าวได้ทั้งรอบแรก และรอบสอง)
ดอกมะลิ/ดอกดาวเรือง ไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ
รองพื้นก่อนปลูก หรือใส่ปุ๋ยอัตรา 1 กำมือ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบ หรือโรยปุ๋ย 1 กำมือ ข้างแถว กลบปุ๋ย (ใช้แทนปุ๋ย 25-7-7)
พริก ผักชี กะหล่ำ มะเขือ ฟักทองถั่ว (พืชผักสวนครัว) รองพื้นก่อนปลูก หรือใส่ปุ๋ย 50 กก. /ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบ โรยปุ๋ย 1 กำมือ ข้างแถว กลบปุ๋ย (ใช้แทน 25-7-7)
อ้อย ถั่วเหลือง ข้าวโพด และพืชไร่ทุกชนิด รองพื้นก่อนปลูก หรือใส่ปุ๋ย 50 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบ โรยปุ๋ยข้างแถว (กลบปุ๋ย) (ใช้แทนปุ๋ยสูตร 15-15-15 / 15-7-18)
ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน เงาะ กาแฟ และไม้ผลทุกชนิด ก่อนทำการปลูก 1 – 2 กก./ไร่ รองก้นหลุม 
ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 กก./ต้น โรยปุ๋ยรอบๆโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม 
ครั้งที่ 2 ก่อนออกดอก 1-2 เดือน 1 กก./ต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตและตกแต่ง 
ครั้งที่ 3 ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 45 วัน 1 กก./ต้น โรยปุ๋ยรอบๆโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม
ยางพารา ปาล์ม และไม้ยืนต้นทุกชนิด
ก่อนนำต้นกล้าลงหลุม 300 – 400 กรัม/หลุม ใช้รองก้นหลุม 
ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน 1 กก./ต้น โรยรอบโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม กลบปุ๋ย 
ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน 1 กก./ต้น โรยรอบโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม กลบปุ๋ย

www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
Line ID:organellelife



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น