มาทำ “เกษตรประณีต” (INTENSIVE FARMING)
ด้วยทฤษฎี “วันเดอร์แลนด” (WUNDERLAND THEORY)
“เกษตรประณีต” (Intensive Farming) เป็นการเกษตรที่ต้องการผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ในอัตราสูงด้วยการใช้วิชาการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย
และต้องทำให้การปลูกพืชในปีหนึ่ง ๆ ได้หลายครั้งโดยซ้ำในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้น “เกษตรประณีต”
จำเป็นต้องใช้วิชาการที่สูง ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ค่อนข้างสูง
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยใช้พื้นที่ปลูกที่น้อยที่สุด
ซึ่งเหมาะสำหรับการทำการเกษตรในปัจจุบันที่การขยายพื้นที่ปลูกทำได้ยาก
เพราะมีพื้นที่เกษตรลดน้อยลง อีกทั้งจะใช้ปุ๋ยสุรุ่ยสุร่ายไม่มีหลักเกณฑ์
ซึ่งจะทำให้เพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นไม่ได้โดยเด็ดขาด และอาจเกิดผลเสียที่จะตามมากับดินเพาะปลูกที่จะเสื่อมไป
“เกษตรประณีต” จะปลูกพืชแบบ
“ตามมี ตามเกิด” หรือ
“ตามยถากรรม” ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม
โดยเฉพาะการปลูกพืชแล้วไม่ได้มีการวางแผนควบคุมและป้องกันโรคภัยที่จะมาคุกคาม
ย่อมเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความเสียหายที่รุนแรง
อันจะนำมาซึ่งผลผลิตที่ถูกทำลายลงไปโดยคาดหวังผลลัพธ์ไม่ได้เลยว่าผลผลิตจะได้ออกมาเท่าไหร่
และสิ่งที่จะติดตามมาก็คือ “ต้นทุนการผลิต” หรือที่เรียกว่า
“ค่าใช้จ่าย” ต่อหน่วยที่จะสูงขึ้นตามมาทันที
“เกษตรประณีต” (Intensive Farming) จะตอบโจทย์ของการทำอาชีพเกษตรกรรม
หรือ การเพาะปลูกพืช ในปัจจุบันได้ดีทีเดียว
ห่วงใยในปัญหาการเพาะปลูกพืช
ที่จะต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย จึงเห็นว่าการทำ “เกษตรประณีต”
(Intensive Farming) มีความจำเป็นจริง ๆ ต่อการเกษตรยุคใหม่
ที่จะทำการเกษตรแบบปล่อยไปตามบุญตามกรรมไม่ได้ จึงได้นำเสนอ ทฤษฎี “วันเดอร์แลนด์”
เพื่อการวางแผนการผลิตพืชเกือบทุกชนิด ให้ประสบผลสำเร็จ ตามหลักการ “เกษตรประณีต”
ที่กล่าวมาคือ “ลดต้นทุน เพิ่มพูนผลผลิต
พิชิตความยากจน”
“ปลูกพืช 100 ต้น ต้องหวังผล 100 ต้นเต็ม”
ไม่ใช่ “ปลูกพืช 100ต้น หวังผลเพียง 50 ต้น ก็พอ”
ถ้าเป็นแบบนี้แล้วเกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าปลูกพืชไปแล้ว “ได้ครึ่ง
เสียครึ่ง” สุดท้ายเกษตรกรก็ยังยากจนอยู่ดี จริงไหม!
จากปัญหาตรงนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีหละ! ไม่ยากเลย..
ถ้าท่านเดินตามแนวทางของเรา กับ ทฤษฎี “วันเดอร์แลนด์”
1. ดินปลูกพืชต้องเป็นดินเป็นไม่ใช้ดินตาย
เพราะ “ดินตาย” จะเป็นที่มาของปัญหาต่าง ๆ เช่น
- “ดินตาย” โครงสร้างดินจะแข็ง แน่นทึบ, ระบายน้ำ
ระบายอากาศไม่ดี รากพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี
- “ดินตาย” สภาพความเป็นกรด-ด่าง (ค่า PH) ไม่เหมาะสม
ถ้าดินเป็นกรดมากจะเป็นบ่อเกิดของโรคพืชต่าง ๆ ติดตามมาไม่ว่าจะเป็น โรครากเน่า
โรคโคนเน่า โรคเหี่ยวเฉาและอื่น ๆ ที่ทำลายให้พืชเสียหายและการเพาะปลูกล้มเหลว
- “ดินตาย” ถ้าดินเป็นกรดหรือด่าง ไม่เหมาะสม
ก็ทำให้การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาให้ประโยชน์ได้น้อยลง เพราะจะถูกตรึงไว้ในดิน
อย่างเช่นเราใส่ปุ๋ยลงไป 100 กก. พืชสามารถนำไปใช้ได้ เพียง 15-30% เท่านั้น อีก
50-70% จะถูกตรึงไว้ในดินและอาจสูญเสียจากการถูกชะล้างอีก 15-20 %
หากเราสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ดีจะทำให้พืชสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างเต็มที่
ทำให้เราไม่ต้องใส่ปุ๋ยเผื่อสำหรับการสูญเสีย ดังนั้นเราทำอย่างไรถึงจะให้การปลดปล่อยปุ๋ยและธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดิน
ถูกปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
- “ดินตาย”
จะทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินมีจำนวนน้อยลง
ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี
เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเพื่อเป็นอาหารให้พืช
ต่อไป
2. พืชที่เพาะปลูก
ต้องมีการวางแผนลดการสูญเสียจากการทำลายของโรคและศัตรูอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นโรคจากเชื้อไวรัส
โรคจากเชื้อแบคทีเรีย หรือจากเชื้อรา อาทิโรคใบด่าง, โรคใบหงิก,
โรคใบหด, โรครากเน่า, โรคโคนเน่า,
โรคเหี่ยวเฉา, โรคใบไหม้, โรคราน้ำค้าง,
ราสนิม เป็นต้น ซึ่งถ้าเราสามารถป้องกัน โดยเสมือนทำ “วัคซีน”
ให้พืชก่อนที่จะเกิดโรคระบาดดังนั้น เราจึงสามารถมั่นใจได้ 100%
เลยว่า ความเสียหายจะเกิดขึ้นน้อยที่สุด ผลผลิตก็จะได้สูงสุดต่อหน่วยพื้นที่
คือได้ผลผลิตสูงสุดโดยใช้พื้นที่น้อยที่สุดตรงกับนิยามการทำ “เกษตรประณีต”ต่อไป
3. เติมเต็มในสิ่งที่จำเป็นสำหรับพืชที่ขาดหายไปหรือลดน้อยลงไป
ไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารรอง, ธาตุอาหารเสริม,
แร่ธาตุ, ฮอร์โมนต่าง ๆ
ที่พืชต้องการในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ในการสร้าง
คุณภาพและผลผลิตสูงสุดสำหรับพืช จึงจะให้การทำ “เกษตรประณีต”
บรรลุเป้าหมายอันนำมาซึ่งรายได้เกษตรกรอย่างมากมาย
และหลุดพ้นความยากจนกันเสียที
องค์ความรู้ด้านชีวเคมี(Biochemistry) ของพืช
ท่านทราบหรือไม่ ต่อไปในอนาคต
"องค์ความรู้"ด้านชีวเคมี(Biochemistry) ของพืช
นับวันจะมีบทบาทและมีความสำคัญมากต่อพืช
เนื่องจากในปัจจุบันภาวะวิกฤตดินฟ้าอากาศของโลกที่มันเกิดวิปริตขึ้นอย่างรุนแรง
จนพืชเองดำเนินชีวิตด้วยความยากลำบากขึ้น
กระบวนการทำงานต่างๆทางชีวะและเคมีภายในพืช
เริ่มมีปัญหาและเกิดอาการสะดุดและรวนขึ้นมาอย่างไม่เป็นระบบ
โดยแสดงออกถึงเรื่องการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตที่ผิดปกติ
เราเองจึงต้องหันมาให้ความสนใจในกระบวนการต่างๆภายในพืชให้มากขึ้น
หันมาสนใจกลไกการทำงานของกระบวนการต่างๆอีกมากมายภายในพืชให้มากขึ้น
หันมาสนใจสุขภาพของพืช ให้ความสำคัญต่อการ"สร้างเสริม"
มากกว่าการ"รักษา" เราพยายามค้นหาคำตอบของปัญหาต่างๆของพืช
ที่ตรงจุดตรงประเด็นและต้องเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
โรคพืชต่างๆระบาดรุมเร้าจนเรื้อรังแก้ไขยากขึ้น
แมลงศัตรูทั้งเพลี้ยและหนอนสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นและระบาดและรบกวนอย่างหนัก และเกิดอาการดื้อยาจนแก้ปัญหาไม่ได้
ตลอดจนคุณภาพของผลผลิตต่ำและแย่ลงไปเรื่อยๆ
ปัญหาต่างๆเหล่านี้ในอดีตเราแก้ปัญหาแบบ"หญ้าปากคอก"
ไม่ถูกวิธีมันเลยมีปัญหาเรื้อรัง มาจนถึงกระทั่งวันนี้ แต่เราโชคดีมาถึงวันนี้
เราได้ค้นพบปัญหาที่เป็นต้นตอและเป็นต้นเหตุสำคัญหลักๆของพืช
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลผลิตที่ตกต่ำและย่ำแย่ เรื่องคุณภาพผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ
เรื่องโรคภัยและศัตรูต่างๆของพืช มันเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
เราศึกษาและค้นพบกระบวนการต่างๆที่สำคัญและจำเป็นสำหรับพืชได้ใหม่ อาทิ กระบวนการ
"Revitalization"(กระบวนการฟื้นฟูเซลล์และสร้างเสริมเซลล์ให้เป็นเซลล์ที่สมบูรณ์ปกติและทำให้เสมือนเป็นเซลล์ใหม่อยู่ตลอด)
ซึ่งกระบวนการนี้มีความสำคัญมากกับพืชทุกพืชทั้ง ยางพารา นาข้าว ยาสูบ มันสำปะหลัง
ฯลฯ ในปัจจุบันนี้มาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยางพารา กระบวนการ"Reviyalization"
นับว่าสำคัญและจำเป็นมาก เพื่อแก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง
เพิ่มประสิทธิภาพการสร้างเปลือกยางใหม่
และการทำให้ลำต้นยางสร้างลำต้นให้อวบใหญ่เร็ว และทำหน้าที่อื่นๆอีกมากมาย
เรายังค้นพบกระบวนการ" Laticiferization " (กระบวนการสร้างระบบท่อน้ำยางและน้ำยาง
เพิ่มเซลล์ท่อน้ำยาง ฯลฯ) เรายังค้นพบกระบวนการ"SAR" (Systemic
Acquire Resistance) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืชให้กับพืชเสมือนพืชได้รับวัคซีน
ตลอดจนเรายังได้ค้นพบกระบวนการ " Tuberization" ( กระบวนการลงหัว
ในพืชตระกูลมีหัว) อาทิ มันสำปะหลัง มันเทศ มันฝรั่ง หอม กระเทียม เป็นต้น และนอกเหนือจากนั้น
เรายังศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้อื่นๆอีกมากมายที่จะตามมา นี่จึงเป็นคำตอบที่ว่า
แท้ที่จริงแล้ว" องค์ความรู้" และ "วิทยาการต่างๆ"
ไม่เคยหยุดนิ่ง เราเองต่างหากที่หยุดนิ่ง ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
และยึดติดกับความเชื่อเก่าๆ ทั้งๆที่ปัจจัยต่างๆของโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว
ปัญหาต่างๆเลยแก้กันแบบหลงทางมาโดยตลอด มาถึงตรงนี้ ณ วันนี้
ด้วย"องค์ความรู้" ควบคู่กับ"ประสบการณ์"กับพืชอันยาวนานเกือบ
30 ปีที่เรามี เราจึงมานำเสนอวิธีคิดใหม่ ด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ
เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร เราจึงไม่ใช่แค่ขายสินค้า แต่เรามา"องค์ความรู้"ควบคู่"ประสบการณ์"
อันยาวนานของเรา อะไรที่"ใช่"
เราจะบอกว่า"ใช่" อะไรที่"ไม่ใช่"
เราก็จะบอกว่า"ไม่ใช่" เราต้องไม่ทำให้เกษตรกรต้องเจ็บปวดปาดเหงื่อพร้อมกับน้ำตาอยู่ตลอดเวลาในชีวิของเขา
เราพร้อมแล้ว ในนามของ"บริษัทออร์กาเนลไลฟ์" มาเพื่อให้ ไม่ใช่มาเพื่อขอ
ถ้าจะขอก็ขออย่างเดียวเท่านั้น คือ ขอให้ท่าน"เปิดใจ" รับสิ่งใหม่ๆ
จะเชื่อหรือไม่ เปิดใจรับไว้ศึกษา เรายินดีครับ
ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ : ทางรอด..เกษตรไทย
"ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ"
คำว่า"ต้นทุนต่ำ"
ไม่ใช่ความหมายเดียวกับคำว่าถ้า"ซื้อของถูก" หรือจ่ายเงินน้อย
แล้วต้นทุนจะต่ำ มันมีความหมายที่แตกต่างกัน
ในทฤษฎี"2 สูง 1 ต่ำ"
ผมจะไม่เน้นให้เกษตรกร "ซื้อของถูก"เพียงเพื่อให้จ่ายเงินน้อย
แต่จะเน้นให้ซื้อของดีของมี"คุณภาพ"
อย่าไป"ลดค่าใช้จ่าย"ที่จำเป็นลงเพราะต้องการเพียงแค่จะประหยัดเงินที่จ่าย
เพราะถ้าการ"ลดค่าใช้จ่าย"ที่จำเป็นลงเพราะอยากได้ของถูกแล้ว
เกิดผลผลิตมันเกิดไม่ดีและตกต่ำลงมา มันก็ไม่คุ้มค่า
เกิดความเสียหายทางรายได้และไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น อย่างเช่น
ถ้าลดรายจ่ายการใช้ปุ๋ยลงไปกระสอบละ 300 บาท(ใช้ปุ๋ยคุณภาพต่ำ) หนึ่งไร่ใช้ 2
กระสอบ ก็ลดค่าปุ๋ยไป 600 บาทต่อไร่ แต่ผลผลิตกลับลดลงไป 10%
แค่นี้ก็ไม่คุ้มแล้วครับ เพราะการลดค่าปุ๋ยลงไป
600 บาท แต่ผลผลิตลดลงไป 400 กิโลกรัม(10%) ( สมมุติว่าคุณปลูกพริก
ได้ผลผลิตไร่ละ 4,000 กิโลกรัม ผลผลิตลดลงไป 10%
ก็เท่ากับว่าผลผลิตลดลงไป 400กิโลกรัม ) ถ้าผลผลิตรับซื้อกิโลกรัมละ 10 บาท
รายได้ก็ลดลงไปเป็นเงินถึง 4,000 บาทเลยทีเดียว
ซึ่งรายได้หายไปมากกว่าการลดค่าปุ๋ยลงไปซะอีก (เพราะค่าปุ๋ยลดลงไปแค่ 600
บาทเท่านั้นเอง)
สิ่งที่ควรมองและให้ความสำคัญมากกว่าคือคำว่า"ต้นทุนต่ำ"
นั่นคือ..คุณอาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปอีกไร่ละซัก 1,000 บาท
(เป็นการเพิ่มต้นทุน) แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมา 20% หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาประมาณ
800 กิโลกรัม จะทำให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 8,000 บาท( ผลผลิตรับซื้อ กก.ละ 10
บาท ลงทุน1,000 บาท
แลกกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น 8,000 บาท) นี่แหล่ะ..ที่เราเรียกว่าการทำให้
"ต้นทุนต่ำ"ลง
(คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายจ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นออกไป
) ไม่ใช่ไปลดค่าใช้จ่ายแบบผิดๆ ครับ
ราคายางตกต่ำ ทำอย่างไร
ช่วงนี้มีคำถามโทรศัพท์มาสอบถามทีบริษัทมากมายผิดปกติและมาจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ว่าจะทำอย่างไรให้น้ำยางมีน้ำหนักมากและเปอร์เซนต์น้ำยางสูง
เพราะสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนและไม่ปกติทั้งปี
เราต้องมาดูโครงสร้างการสังเคราะห์น้ำยางธรรมชาติ
ตามกระบวนการชีวเคมี(Biochemistry) แล้วเราจะรู้ว่าควรทำอย่างไร
และอะไรคือหัวใจสำคัญของการสร้างน้ำยางของต้นยางพารา เพราะมันไม่ได้มาเพราะเทวดาช่วย
และไม่ได้มาด้วยสารวิเศษหรือสารมหัศจรรย์ใดๆทั้งสิ้น
แต่มันมาด้วยสารสำคัญและจำเป็นต่อกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ของพืช
ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการชีวเคมี(Biochemistry) หรือ
กระบวนการทางฟิสิกส์เคมี(Physicalchemistry) ของพืช
ช่วงนี้มีคำถามโทรศัพท์มาสอบถามทีบริษัทมากมายผิดปกติและมาจากหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ว่าจะทำอย่างไรให้น้ำยางมีน้ำหนักมากและเปอร์เซนต์น้ำยางสูง
เพื่อให้นำไปขายได้รายได้สูงและเพื่อเป็นการชดเชยราคารับซื้อยางที่ตอนนี้ราคาถูกมาก
อีกทั้งปี้นี้สภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนและไม่ปกติเกือบตลอดทั้งปีทำให้น้ำยางไม่คอยดี
ไม่ค่อยมีน้ำหนัก เนื่อฟ่าม น้ำเลี้ยงเยอะ เปอร์เซนต์ต่ำ
ทำอย่างไรให้มันหนักเพิ่มขึ้น และคุณภาพสูงขึ้น ทางบริษัทขอตอบว่า
มีวิธีเดียวเท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้
เราต้องมาดูโครงสร้างการสังเคราะห์น้ำยางธรรมชาติของต้นยางดูก่อน ว่ามันมีการทำงานตามกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry)
แล้วเราจะรู้ว่าเราควรจะทำอย่างไรและแก้ไขอย่างไรดี
และอะไรคือหัวใจสำคัญของการสร้างน้ำยางของต้นยางพารา
เพราะมันได้น้ำยางมาโดยไม่ใช่เพราะเทวดามาช่วย
และไม่ได้มาด้วยสารวิเศษหรือสารมหัศจรรย์ใดๆทั้งสิ้น แต่มันมาด้วยสารสำคัญบางตัวที่จำเป็นต่อกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ของต้นยางในการสังเคราะห์น้ำยาง
ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการชีวเคมี(Biochemistry) หรือ
กระบวนการทางฟิสิกส์เคมี(Physicalchemistry) ของพืชเอง
สารที่ว่าคือสาร "มาเลท" (Malate) ที่เป็นสารPrecursor ในการตั้งต้นสร้างน้ำยาง
ที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลกตะลึง ว่าคนไทยคิดค้นได้อย่างไร? และจะทำให้เรายิ่งใหญ่ในวงการยางพาราโลก
ราคายางตกเรากำหนดเองไม่ได้ แต่เราสามารถกำหนดน้ำหนักและคุณภาพยางได้
เพื่อนำไปขายให้ได้รายได้เพิ่มขึ้น นี่คือ ทางออกของชาวสวนยางพาราไทย
กับทฤษฎี"2 สูง 1 ต่ำ " ที่เราย้ำมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
กับทุกๆพืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น