FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทำไม? แมลงจึงระบาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ทำไม? แมลงจึงระบาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ



ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน อากาศบ้านเราร้อนอบอ้าวมากขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือ..ผลพวงมาจากการเกิดภาวะ "โลกร้อน" (Global Warming) นั่นเอง และผลกระทบดังกล่าวนี้ก็มิได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษยชาติแค่เท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบและผลเสียหายต่อการดำรงชีวิตของพืชอีกด้วย โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีผลการวิจัยที่บ่งชี้ว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้อย่างมากที่ปัญหาโลกร้อนจะส่งผลให้พืชอ่อนแอลงในขณะที่แมลงศัตรูพืชจะแข็งแรงยิ่งขึ้นและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนทำลายพืชผลให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง อย่างที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน ที่มีเพลี้ยต่างๆระบาดอย่างมากมายตลอดมาไม่ว่าจะพื้นที่ใดๆ และทำลายได้เกือบทุกพืช โดยไม่เลือกเวลาหรือฤดูกาล และท่านอาจจะสงสัยว่าภาวะ "โลกร้อน" ทำไม? มันจึงทำให้แมลงแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร? ลองมาฟังคำตอบกันดีไหมครับ


โลกร้อน (Global Warming) ทำพืชอ่อนแอ "แมลง" เรืองอำนาจแทน

ไซน์เดลี - หวั่นในอนาคตอันใกล้โลกร้อนจะเพิ่มปัญหาอีกเรื่อง นักวิจัยมะกันศึกษาผลคาร์บอนไดออกไซด์ต่อพืช พบหากมีมากทำให้พืชอ่อนแอลง และไม่สามารถต้านทานแมลงศัตรูได้เหมือนก่อน
ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ (University of Illinois) สหรัฐอเมริกา ทดลองปลูกถั่วเหลืองร่วมกับพืชชนิดอื่น เพื่อจำลองให้คล้ายกับการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาวะโลกร้อน พบว่าพืชในแปลงถูกแมลงศัตรูกัดกินใบจนเสียหาย และประชากรแมลงศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยได้รายงานผลการวิจัยลงในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences)
เมย์ เบอเรนบวม (May Berenbaum) หัวหน้าและคณะนักวิจัยได้ดำเนินการทดลองดังกล่าวโดยใช้พื้นที่ในส่วนซอยเฟซ (Soybean Free Air Concentration Enrichment: Soy FACE) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นส่วนปฏิบัติการวิจัยในสภาพแวดล้อมจริง พวกเขาปลูกพืชชนิดต่างๆ และปลูกถั่วเหลืองร่วมด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และโอโซนในแปลงปลูก ซึ่งควบคุมให้มีปริมาณก๊าซทั้ง 2 ชนิดในระดับมากน้อยต่างกันไป ส่วนปัจจัยเรื่องแสง ปริมาณน้ำฝน และแมลงนั้นเหมือนกัน

ผลการทดลองปรากฏว่าเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ในแปลงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พืชทำกิจกรรมการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ได้มากขึ้นเช่นกัน เป็นผลให้พืชมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเก็บสะสมไว้ที่ใบได้มากขึ้น พร้อมๆ ปริมาณไนโตรเจนที่มากขึ้นในปริมาณที่สัมพันธ์กัน
ก่อนทำการทดลอง นักวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่าเมื่อพืชแปรเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศไปเป็นคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น และนำไปใช้ในกระบวนการสร้างกรดอะมิโนและสารสำคัญอื่นๆ ที่จำเป็นในเซลล์ ร่วมกับแร่ธาตุไนโตรเจนที่ได้จากดินได้ในปริมาณมาก จะทำให้แมลงมากัดกินใบพืชมากตามไปด้วย เพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของพวกมัน

นักวิจัยพบว่า เมื่อถั่วเหลืองทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในแปลงเพิ่มมากขึ้น จะเป็นสิ่งล่อให้แมลงศัตรูพืชบุกเข้ามาในแปลงจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ เช่น ด้วงญี่ปุ่น (Japanese beetle), หนอนเจาะรากข้าวโพด (corn rootworm) และเพลี้ย (aphid) เป็นต้น
ทั้งนี้ หนอนผีเสื้อและตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชต้องการธาตุไนโตรเจนสำหรับสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในร่างกาย ส่วนแมลงตัวเต็มวัยจะสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารอันอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตปริมาณมาก ดังนั้นนักวิจัยจึงเข้าใจได้ทันทีเลยว่าทำไม่แมลงเหล่านั้นจึงอพยพเข้ามาอยู่ในแปลงพืชที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

นักวิจัยทำการทดลองต่อไปเพื่อศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลต่อแมลงศัตรูพืช โดยเลี้ยงแมลงปีกแข็ง (beetle) ใน 3 สภาพแวดล้อม ได้แก่ ในแปลงพืชที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำร่วมกับให้น้ำตาลเสริม

ผลการทดลองสร้างความตื่นเต้นให้กับนักวิจัยเป็นอย่างมากเมื่อพวกเขาพบว่าแมลงในแปลงที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงมีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่า แพร่พันธุ์ได้มากกว่า
"น้ำตาลเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงในสภาพที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง แต่จะไม่มีผลต่อแมลงโดยตรงโดยปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์" อีวาน เดอลูเซีย" (Evan DeLucia) นักชีววิทยาในทีมวิจัยเผยข้อสรุป
นอกจากนี้ พวกเขายังศึกษาถึงกลไกการตอบสนองต่อแมลงศัตรูของพืช โดยปกติเมื่อแมลงมากัดกินใบของพืชไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลืองหรือพืชอื่นๆ พืชเหล่านี้จะสร้างฮอร์โมน "จัสโมนิคแอซิด" (Jasmonic acid) ขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนอง ซึ่ง "จัสโมนิค แอซิด" เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการและกลไกการป้องกันตัวเองของพืชจากแมลงศัตรู และขั้นสุดท้ายพืชจะสร้างสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส (Protease inhibitor) เมื่อแมลงกัดกินพืชและได้รับสารนี้เข้าไปด้วยจะไปยับยั้งกระบวนการย่อยใบพืชที่แมลงกินเข้าไป

"เราพบว่าเมื่อปลูกพืชในสภาวะที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง พืชจะสูญเสียความสามารถในการสร้าง "จัสโมนิค แอซิด" (Jasmonic acid) ซึ่งเป็นการตัดกระบวนการป้องกันตัวเองของพืช และขณะที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบพืชสูง แต่พืชขาดสารเคมีที่จะปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรู ส่งผลให้พวกแมลงมีแหล่งอาหารอันโอชะ เพื่อการดำรงชีพที่ยืนยาวและดำรงเผ่าพันธุ์ได้นานในบริเวณนั้น " เดอลูเซีย" อธิบายซึ่งการทดลองของพวกเขานั้นมีส่วนมาจากการที่ด้วงญี่ปุ่นบุกรุกทำลายความเสียหายในแปลงถั่วเหลืองของสถานีวิจัยดังกล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอันเป็นผลจากป่าไม้ที่ลดลงและการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างมาก ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ในช่วงเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 280 ppm (Part per million: ส่วนในล้านส่วน) และจากผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 380 ppm ซึ่งหากเป็นปรากฏการณ์โดยธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 600,000 ปี
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าหากยังไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าว จะส่งผลให้โลกของเรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปกคลุมมากถึง 550 ppm ในอีกราว 40 ปีข้างหน้า และภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนและอินเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็วอาจเป็นตัวเร่งชั้นยอดที่เร่งให้วันนั้นมาถึงเร็วยิ่งขึ้น.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
31 มีนาคม 2551




นี่จึงเป็นเหตุผลว่า...

ทำไม? เราจึงต้องใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA)
และทำไม? เมื่อใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) ไปเรื่อยๆแล้ว ปัญหาเรื่องแมลงจะค่อยๆลดน้อยถอยลงไป ไม่สร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับเราในระยะยาว ถ้าขืนใช้แต่สารเคมี ปัญหามีแต่จะยิ่งแย่ไปใหญ่
เพราะ..คุณจะไม่มีวันรบชนะแมลงต่างๆได้เลย ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เพื่อเข่นฆ่ามัน ด้วยสารเคมี ในสภาวะที่ดินฟ้าอากาศของ "โลกวิกฤติ" หรือ "โลกเปลี่ยน" ไปแบบนี้ เพราะเรารู้ดีว่า..สาเหตุใหญ่คือ.."สภาวะโลกร้อน" นั่นเอง





สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อ้อย


กระบวนการทำงานและการเจริญเติบโตของอ้อย
1. ระยะงอกและตั้งตัว หลังปลูกเสร็จ  30 วัน  (Germination & Establishment Phase)
ขั้นตอนการงอกมาจากการงอกของตา (เริ่มตั้งแต่ 7-10 วัน) และไปสิ้นสุดที่ 30 วัน  อุณหภูมิประมาณ 28-30 องศา และความชื่นที่เหมาะสม และการระบายอากาศในดินที่ดีจะช่วยให้การงอกดีขึ้น  การเตรียมพื้นที่  หว่านด้วย  “ซอยแอสท์” อัตราผสม 50-100 กก/ไร่  ฉีดพ่นดินด้วย “ซอยไลฟ์” อัตราผสม  15-25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ท่อนพันธ์อ้อยด้วย  “ซาร์คอน + ออร์ซ่า”  อัตราผสม  20 ซีซี  + 4 ซีซี  ต่อน้ำ 20  ลิตร

2. ระยะแตกกอ  90 วัน  (Tillering Phase)เป็นกระบวนการทาง Physiology  ของอ้อยที่แตกข้อตาเป็นหน่อแม่ โดยการแตกกอให้มีจำนวนข้อที่เหมาะสม แสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมมีอิทธิพลต่อการแตกกอ  ซึ่งจะช่วยให้มีหน่อลูกที่เหมาะสม จำนวนหน่ออ้อยที่แตกระยะนี้จะเหลือลำต้นที่เก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตได้แค่ครึ่งเดียว  ระยะนี้เป็นตัวกำหนดจำนวนลำต่อก่อ   ฉีดพ่นด้วย
“ไบโอเจ็ท + ซาร์คอน” อัตราผสม  10  กรัม + 20  ซีซี  ต่อน้ำ 20  ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 15 -20  วัน  (หมายเหตุ : ฉีดพ่น
“ซิกน่า” อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อขับไล่เพลี้ยจักจั่น  ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคใบขาว ด้วยยิ่งดี)

3. ระยะย่างปล้องหรือระยะเจริญเติบโต  120 วัน (Elongation Phase)เริ่มจากประมาณ 120 วัน หลังปลูกไปจนถึงประมาณ 270 วัน ช่วงนี้ ข้ออ้อยจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเกือบ 4-5 ปล้องต่อเดือน  ฉีดพ่นด้วย “ไบโอเจ็ท + ซาร์คอน”  อัตราผสม  10 กรัม + 20 ซีซี ต่อน้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่นทุกๆ 15 -20 วัน
สลับกับ “ ซิกน่า”  อัตราผสม  10  ซีซี ต่อน้ำ  20  ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 15-20  วัน

4. ระยะสร้างน้ำตาล  90  วัน  (Grand Growth Period)
ในช่วง 270 - 330 วัน หลังปลูกอ้อยจะสังเคราะห์น้ำตาลและสะสมน้ำตาลอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ การเจริญเติบโตสูงสุด  จะหยุดลงและน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  (Monosaccharide ได้แก่  กลูโคส, ฟรุกโตส) ก็จะถูกแปลงเป็นน้ำตาล โมเลกุลคู่  (Disaccharide ได้แก่ ซูโครส) อ้อยจะโตเต็มที่จากข้างล่างขึ้นไปข้างบนข้อด้านล่างจะมีน้ำตาลมากกว่าข้อด้านบน  ฉีดพ่นด้วย  "ORG-1"  ผสมกับ "ORG-2"  อัตรา 20 ซีซี+ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15-20 วัน

5. ระยะแก่และสุก  30 วัน  (Ripening Phase)
อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมากจึงมีการสะสมน้ำตาลมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีอุณหภูมิต่ำลงจะช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลไปสะสมที่ต้นได้ดีขึ้น



ประโยชน์ของซาร์คอนต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย
    •  แตกรากดี
•  มีเกราะป้องกันเชื้อโรคและหนอนกอ
•  ชะลอการเปลี่ยนน้ำตาล
•  ต้านทานโรค
•  ต้านการหักล้ม
•  ทนแล้ง
ซิลิคอน (Si) เป็นธาตุหนึ่งที่พบได้ในแร่ธรรมชาติ แต่เป็นธาตุที่มีการละลายน้อย และพบว่าพืชแต่ละชนิดมีความสามารถในการนำซิลิคอนไปใช้ได้ต่างกันขึ้นกับชนิดของพืช ซึ่งในซิลิคอนสามารถพบได้ในเนื้อเยื่อพืช  ซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืชโดยมีปริมาณตั้งแต่ 0.1-10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ซิลิคอนมีความสัมพันธ์กับพืช โดยซิลิคอนอยู่ในส่วนของเซลลูโลสของผนังเซลล์ทำให้ลำต้นพืชตั้งตรง พืชตระกูลหญ้ามีความสามารถในการดูดนำซิลิกาจากดินมาใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ พืชกลุ่มข้าว และอ้อย

อ้อย เป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ซิลิคอนได้ดีมาก จากการวิเคราะห์พบว่า การปลูกอ้อย 12 เดือน ต้นอ้อยจะมีธาตุซิลิคอนสะสม 60.8 กิโลกรัม ต่อไร่ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนในการปลูกอ้อยแต่ละพื้นที่ทั่วโลก ช่วยทำให้ผลผลิตต่อไร่และปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ซิลิคอน

ประโยชน์ของซาร์คอนที่มีต่ออ้อย 
1. เพิ่มผลผลิต  จากงานทดลองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ บราซิล พบว่าการใช้ซิลิคอนในดินที่มีปริมาณธาตุซิลิคอนในระดับที่ต่ำในไร่อ้อยจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยได้ 10-50% และพบว่า ช่วยทำให้ปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูงขึ้น 15-30% ด้วย ซึ่งมีข้อเสนอแนะของผู้ที่ทดลองว่า ซิลิคอนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของอ้อย

2. ช่วยการต้านทานโรค  ซิลิคอนจะช่วยทำให้พืชสามารถต้านทานโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราและแบคทีเรีย  เช่น โรคราสนิม ใบขีดแดง โดยซิลิคอนเมื่อเข้าสู่พืชจะถูกส่งไปสะสมที่บริเวณใบในรูปผลึกของซิลิคอนไดออกไซด์ในช่องว่างของเซลลูโลส ทำให้ใบอ้อยทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อก่อโรคและป้องกันไม่ให้เชื้อราสร้างเส้นใยเข้าไปใช้สารอาหารที่มีอยู่ในพืช เช่น สารประกอบไนโตรเจน กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อการเจริญของเชื้อรา ทำให้ราไม่สามารถแพร่ขยายทำลายใบอ้อยได้

3. ช่วยลดระดับการทำลายของหนอนกอ  มีรายงานพบว่า ต้นอ้อยที่มีการสะสมซิลิคอนที่ใบในเปอร์เซ็นต์ที่สูงจะช่วยลดระดับการทำลายของหนอนกอได้ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนจะช่วยลดการทำลายของหนอนกอได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว

4. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด  มีรายงานว่า อ้อยที่ได้รับแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่สูง เช่น แมงกานีส พบว่า อ้อยที่มีสัดส่วนของแมงกานีสต่อซิลิคอนไดออกไซด์ ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า 0.7 จะช่วยป้องกันไม่ให้อ้อยได้รับความเสียหาย โดยซิลิคอนจะช่วยป้องกันการสะสมแมงกานีสที่บริเวณใบปริมาณที่สูงจนทำให้ใบอ้อยเกิดจุดสีน้ำตาล ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงลดลง

5. ช่วยทำให้อ้อยทนแล้ง  พบว่า การสะสมซิลิคอนที่ใบจะช่วยทำให้ใบอ้อยมีการคายน้ำลดลง โดยเป็นผลเนื่องมาจากซิลิกาในรูปวุ้นที่อยู่ในเซลลูโลสที่บริเวณปากใบ จะมีผลทำให้การคายน้ำของอ้อยลดลงซึ่งจะส่งผลดีในอ้อยที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทาน ทำให้สามารถจัดการกับการให้น้ำแก่อ้อยได้ง่ายขึ้น

6. ป้องกันการหักล้มของต้นอ้อยทำให้ต้นอ้อยแข็งแรง  พบว่า ต้นอ้อยที่มีปริมาณของซิลิคอนในปริมาณที่สูงในเนื้อเยื่อ จะทำให้มีโครงสร้างของลำต้นที่แข็งแรง และทำให้ใบตั้งชัน มีพื้นที่ในการสัมผัสกับแสงแดดเพิ่มขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง ส่งผลทำให้อ้อยมีผลผลิตและปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้น

7.  ยืดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำตาลซูโครสในน้ำอ้อยไปเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว  จากการทดลองพบว่า น้ำอ้อยที่มีส่วนประกอบของซิลิคอนสูงจะเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำตาลซูโครสช้ากว่าน้ำอ้อยที่มีปริมาณของซิลิคอนในระดับต่ำ


เมื่อตรวจสอบโครงสร้างของน้ำตาลซูโครสพบว่า จะรวมตัวกับซิลิคอนเป็นสารประกอบเชิงซ้อน นอกจากนี้ ยังพบการรวมตัวกันของน้ำตาลฟรัคโทสกับซิลิคอน ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถนำน้ำตาลฟรัคโทสไปใช้ในการเจริญได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าน้ำอ้อยเมื่อเผาจนเหลือเถ้า เมื่อวิเคราะห์พบว่า จะมีปริมาณของธาตุ โพแทสเซียม และซิลิคอนในปริมาณที่สูง ดังนั้น การมีปริมาณของซิลิคอนจะช่วยเพิ่มปริมาณของแข็งในน้ำอ้อย ทำให้ได้ค่า CCS สูงขึ้น

จากบทบาทของซิลิคอนที่มีต่ออ้อยจะพบว่า ธาตุซิลิคอนจำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตของอ้อยอย่างมาก ในประเทศไทยพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดธาตุซิลิคอนในดิน ในการปลูกอ้อยทุกครั้งเราจะสูญเสียอ้อยไปกับผลผลิต ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรควรจะมีการเติมซิลิคอนลงกลับไปสู่ดินเพื่อชดเชยธาตุซิลิคอนที่สูญเสียไปกับผลผลิตของอ้อย


บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตระหนักดีถึงประโยชน์ของธาตุซิลิคอนที่มีต่ออ้อย จึงได้นำผลิตภัณฑ์ “ซาร์คอน” ที่มีส่วนประกอบของ Orthosilisicacid  27%  และกรดอินทรีย์ที่สำคัญและจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์พืชในกลุ่ม  Mono Hydroxy acid  มาให้กับอ้อยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ของอ้อยและช่วยเพิ่มผลผลิตและป้องกันโรคต่างๆ ทั้งจากเชื้อไวรัส, แบคทีเรียให้กับอ้อย

บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด  
โทร. 084-8809595   
Line ID : organellelife   www.organellelife.com





หน้าที่ SARCON
1)ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานเชื้อโรค (Systemic acquired resistance : SAR)
2)ช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ให้เป็นเซลล์ใหม่ (Revitalize)
3)ช่วยเพิ่มการออกดอก การแตกราก และการแตกใบของพืช
4)ช่วยเพิ่มคลอโรฟิลด์ให้พืช
5) ช่วยเพิ่มความทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought Tolerance)
6)ช่วยเพิ่มระบบการหมุนเวียนน้ำ(Water Circulation)ในระบบท่อลำเอียง (Vascular Tube)
7)ช่วยลดกระบวนการหายใจของเซลล์ รักษาคุณภาพและยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ให้เน่าเสียเร็ว
8)ช่วยคงความแน่นของเนื้อผล การเปลี่ยนแปลงสี และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ
9)ช่วยลดความเสียหายจากความเย็น (Cold Injury)
10)ช่วยการเปิด-ปิดของปากใบ การงอกของเมล็ด การดูดซับประจุ การแสดงออกของเพศ
12)ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์และกระบวนการทำงานของเอทธิลีน ที่ทำให้ผลไม้สุกเร็ว ชะลอการสุกของผลไม้
13)ช่วยเพิ่มจำนวนฝักและผลผลิตของถั่วเขียว
14)ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงและปริมาณของคลอโรฟิลด์
15)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ฟลาโวนอยด์
16)ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัส ในดินให้พืชสามารถใช้งานได้
17)ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงของพืช (Increased rates of photosynthesis)
18)ช่วยดูดซับพิษจากโลหะ เช่น อลูมิเนียม สนิมเหล็ก โซเดียม แมงกานีส (Decreasing toxicity: Al,Fe,Mn)
19)ช่วยให้พืชคายน้ำน้อยลง(แม้อุณหภูมิตอนกลางวันสูงถึง 38 องศาเซลเซียส) พืชจึงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
20)ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หักล้มง่าย(The strengthening of epidermal cells in leaves and stems)
21)ช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น จึงทนทานต่อการถูกทำลายเสียหาย
22)ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของยอดอ่อน เพิ่มความหนาแน่นของระบบราก
23)ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะแห้งแล้ง (Enhances Drought Tolerance)
24)ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าแทนที่ของอิออนบวกในดิน เพิ่มประสิทธิภาพของธาตุบำรุงพืช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
084-8809595 , 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (อย่าลืม พิมพ์ @ ด้วยค่ะ )
www.organellelife.com
http://www.organelle1.blogspot.com/2015/08/tuberization.html
http://www.organelle1.blogspot.com/2016/02/blog-post_14.html





อ้อย (รวม) ผ่าแล้งและสร้างน้ำตาล , ซิลิคอน

อ้อย:การสร้างน้ำตาล
การสร้าง การเคลื่อนย้าย การใช้และการเก็บน้ำตาลของอ้อย
การสร้างน้ำตาล
ใบอ้อยเป็นโรงงานทำน้ำตาลที่แท้จริง เพราะสามารถสร้างน้ำตาลจากวัตถุดิบง่ายๆ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ และน้ำจากดินโดยมีแสงแดดเป็นพลังงาน ขบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ส่วนโรงงานทำน้ำตาลนั้นเป็นเพียงผู้สกัดเอาน้ำตาลซึ่งมีอยู่แล้วออกมาจากอ้อยเท่านั้น
ขบวนการสังเคราะห์แสง เป็นขบวนการที่พืชสีเขียวเปลี่ยนพลังงานจากแสงแดดเป็นพลังงานเคมี ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาลและแป้ง เป็นต้น
ภายในใบอ้อยรวมทั้งพืชสีเขียวทั่วไป จะมีรงคสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟีลล์ อยู่มากมาย ทำให้ใบเป็นสีเขียวทั้งใบ ภายในใบมีช่องเปิดเล็กๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทั้งด้านบน และด้านล่างของใบ แต่ด้านล่างมีมากกว่า ช่องเปิดนี้เรียกว่า ปากใบ (stomata) ทำหน้าที่ถ่ายเทอากาศของน้ำของใบ
ขบวนการสังเคราะห์แสง อาจแสดงให้เห็นง่ายๆ ด้วยสมการต่อไปนี้

6CO2+12H2O---> C6H12O6+6O2+6H2O

จากสมการแสดงว่า ในการสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ๑ โมเลกุลนั้นต้องใช้วัตถุดิบ คือ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ๖ โมเลกุล และน้ำ ๑๒ โมเลกุล นอกจากน้ำตาลแล้วยังมีออกซิเจนซึ่งมาจากน้ำ ๖ โมเลกุล และน้ำอีก ๖ โมเลกุล

การสังเคราะห์แสงมิใช่เป็นขบวนการง่ายๆ แต่เป็นขบวนการที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนประกอบด้วยปฏิกิริยา ๒ ขั้น คือ 

ขั้นแรก 
เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงแดดซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่สามารถเก็บได้โดยตรง ให้มาอยู่ ในรูปสารเคมีที่ให้พลังงานสูงคือ NADPH (nicotinamide adenine dinucleotide phosphate) และ ATP (adenosine-5-triphosphate) ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้น ในขณะที่มีแสงเท่านั้น จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาต้องการแสง หรือ "light reaction"

ขั้นที่สอง 
เป็นการนำพลังงานที่ได้จากขั้นแรกมาใช้ในการตรึงก๊าซ CO2 จากอากาศที่เข้าไปในใบทางปากใบและ CO2 จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารประกอบหลายอย่าง ด้วยการช่วยเหลือของเอนไซม์ (enzyme) หลายชนิด ซึ่งทำหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง จนกระทั่งได้เป็นน้ำตาล ปฏิกิริยานี้ไม่ต้องใช้แสง จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไม่ต้องการแสง หรือ "dark reaction" สารประกอบต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลัง CO2 เข้าไปในใบนับว่าเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป คาลวิน (Calvin) และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในสาหร่ายและพืชบางชนิดที่ได้รับ C14O2 (radioactive carbondioxide) และได้เสนอวงจร (cycle) ของ CO2 ที่สมบูรณ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๕๖ วงจรนี้จึงเรียกว่า วงจรคาลวิน (Calvin cycle) ตามชื่อของเขา
คาลวินได้พบว่า สารประกอบชนิดแรกที่พบภายหลัง CO2 เข้าไปในขบวนการ dark reaction คือ กรดฟอสโฟไกลเซอริก (3 - phosphoglyceric acid) เป็นกรดที่มีคาร์บอน ๓ อะตอม (3-carbon atom-C3) ซึ่งต่อมาคำ "C3" ได้กลายเป็นชื่อกลุ่มของพืช ที่สร้างกรดฟอสโฟไกลเซอริก
ขบวนการนอกจากจะเรียกว่า พืช C3 แล้ว ยังมีผู้นิยมเรียก พืชคาลวิน (Calvin plant) อีกด้วย ตัวอย่าง พืช C3 ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง เป็นต้น
ในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในฮาวายนำโดยคอร์ตสชาค (Kortschak) ได้เสนอรายงานว่า ในอ้อยนั้น สารประกอบชนิดแรกที่พบมิใช่กรดฟอสโฟไกลเซอริกตามที่รายงานโดยคาลวิน แต่เป็นกรดมาลิก (malic acid) ซึ่งมีคาร์บอน ๔ อะตอม (C4) การค้นพบดังกล่าวนี้ได้รับการยืนยันโดย แฮทช์ (Hatch) และสแลค (Slack) ในปีต่อมา หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้พบว่า มีพืชอีกหลายชนิด ที่มีขบวนการเช่นเดียวกับอ้อย และเรียกชื่อพืชกลุ่มนี้ว่า พืช "C4" (C4 plant) ตัวอย่างได้แก่ อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และผักโขม เป็นต้น พืชพวกนี้มีความสามารถสูงกว่าพวก C3 ในแง่ของการใช้ปัจจัย เพื่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแสงแดด และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
การวัดอัตราการสังเคราะห์แสงอาจกระทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมคือวัดอัตราการตรึงก๊าซ C14O2 ต่อหน่วยพื้นที่ใบต่อหน่วยเวลา ซึ่งมักจะเป็นนาที หรือชั่วโมง วิธีนี้นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูง และไม่สะดวกแล้วยังใช้ไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบพันธุ์อ้อย ทั้งนี้เพราะอ้อยแต่ละพันธุ์มีพื้นที่ใบแตกต่างกัน อีกวิธีหนึ่งคือ การวัดน้ำหนักแห้งทั้งหมด (total dry matter) ต่อหน่วยเวลา ซึ่งอาจเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี อ้อยพันธุ์ใดให้น้ำหนักแห้งทั้งหมดมากกว่าในเวลาเท่ากัน ย่อมให้ผลผลิตมากว่า และการผลิตน้ำหนักแห้งทั้งหมดมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเพิ่มพื้นที่ใบ
อัตราการสร้างน้ำตาลของใบอ้อยมีมากน้อยเท่าไร จากการศึกษาในฮาวายพบว่า ใบอ้อยที่มีพื้นที่ใบ ๕๗ ตารางเซนติเมตร สามารถสร้างน้ำตาล ๑ ช้อนชาในเวลา ๓๖ ชั่วโมง



การใช้น้ำตาลของอ้อย
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องมีการหายใจ (respiration) อยู่ตลอดเวลา สำหรับพืชโดยเฉพาะอ้อย สารอินทรีย์ที่ใช้ในขบวนการหายใจส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ซึ่งจะถูกย่อยโดยเอนไซม์หลายชนิดเกิดต่อเนื่องกัน จนในที่สุด จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ จะเห็นได้ว่าการหายใจก็คือ การใช้น้ำตาลกลูโคส ที่ได้จากขบวนการสังเคราะห์แสงนั่นเอง การหายใจจึงเป็นปฏิกิริยาตรงข้ามกับการสังเคราะห์แสง ดังสมการต่อไปนี้
C6H12O6 + 6 H2O + 6 O2 ---> 6 CO2 + 12 H2O
ในการย่อยกลูโคส ๑ โมเลกุลจะต้องใช้น้ำ ๖ โมเลกุลและ ออกซิเจน ๖ โมเลกุล ผลของการหายใจ ทำให้ได้พลังงานในรูปของ ATP ซึ่งจะถูกนำไปใช้ เพื่อการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโตต่อไป
อัตราการหายใจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ก็มีการใช้น้ำตาลมากขึ้น ทำให้มีเหลือสะสมน้อยลง นอกจากนี้ การหายใจยังขึ้นอยู่กับการสังเคราะห์แสงของอ้อย ในวันก่อนหน้านั้นด้วย วันใดที่มีการสังเคราะห์แสงมาก การหายใจก็จะมีมากในวันต่อมา
การหายใจผันแปรไปตามอายุ หรือขนาดของอ้อย อ้อยที่มีลำต้นสูงประมาณ ๒ เมตรหรือมีน้ำหนักสดประมาณ ๒ กิโลกรัม จะใช้น้ำตาลเพื่อการหายใจประมาณร้อยละ ๑๕-๒๐ ของน้ำตาลที่ใบสร้างขึ้นทั้งหมด อัตราการหายใจของลำต้น มิได้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่สะสมอยู่ในลำต้นนั้น
การเคลื่อนย้ายน้ำตาลในอ้อย
เนื่องจากใบไม่มีที่เก็บน้ำตาล ดังนั้นน้ำตาลที่สร้างขึ้นจากขบวนการสังคราะห์แสง จึงถูกส่งไปเก็บในลำต้นซึ่งมีที่เก็บน้ำตาลอยู่ มิฉะนั้นจะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสง หรือการสร้างน้ำตาลลดลง การลำเลียงน้ำตาลจากใบไปยังลำต้นนั้น อาศัยท่ออาหาร (phloem) กลไกการลำเลียงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในของลำต้นอ้อย เป็นอุปสรรคต่อการทดลอง แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากได้สันนิษฐานว่า น้ำตาลจะถูกลำเลียงออกจากท่ออาหารของใบ โดยอาศัยกลไกที่ต้องการพลังงาน ทำหน้าที่ส่งน้ำตาลเข้าสู่ท่ออาหารของลำต้น แสงแดดมีส่วนสนับสนุนกลไกนี้
อัตราการเคลื่อนย้ายของน้ำตาลจากใบสู่ลำต้น แตกต่างกันตามพันธุ์และสภาพแวดล้อม ตามรายงานจากฮาวายปรากฏว่า อัตราการเคลื่อนย้ายที่เร็วที่สุดตกประมาณ ๕ เซนติเมตรต่อนาที จงจำไว้ว่า การสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นในเวลากลางวัน หรือเวลาที่มีแสงเท่านั้น แต่การเคลื่อนย้ายของน้ำตาลเกิดขึ้น ทั้งกลางวัน และกลางคืน และอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับอัตราการเคลื่อนย้าย อุณหภูมิต่ำช่วยให้การเคลื่อนย้ายเร็วขึ้น


กลไกการเก็บน้ำตาลในลำต้นอ้อย
ดังได้กล่าวแล้วว่าน้ำตาลจะถูกส่งออกจากใบมายังลำต้น โดยอาศัยท่ออาหารซึ่งมีอยู่มากมาย ท่อ อาหารเหล่านี้ความจริงก็คือ เซลล์ที่เรียงติดต่อกันโดยตลอดจากใบถึงราก เมื่อมาถึงลำต้น น้ำตาลก็จะแพร่กระจายออกจากท่ออาหาร เข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ รวมทั้งผนังเซลล์ ในรูปของซูโครส ในช่องว่างระหว่างเซลล์รวมผนังเซลล์ซูโครสก็จะแตกตัวออก เป็นกลูโคส และฟรักโทส ด้วยการกระทำของเอนไซม์ แอซิดอินเวอร์เทส (acid invertase) จากนั้นทั้งกลูโคส และฟรักโทส ต่างก็จะถูกนำผ่านผนังเซลล์ โดยมีตัวนำพา (carrier) แยกกันเข้าไปภายในเซลล์พาเรนไคมา (parenchyma cells) ณ ที่นี้  กลูโคสและฟรักโทส ก็จะถูกนำมารวมกันอีก กลายเป็นซูโครส ก่อนที่จะถูกนำเข้าไปเก็บในช่องว่างภายในเซลล์ ซูโครสที่ถูกเก็บไว้ในส่วนของลำต้นที่ยังอ่อน จะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส และฟรักโทสได้ง่ายด้วยการกระทำของเอนไซม์ แอซิดอินเวอร์เทสเช่นเดียวกัน

การสะสมน้ำตาลซูโครสภายในลำต้น แตกต่างกันตามพันธุ์ สำหรับพันธุ์พินดาร์ การสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๕๕ ของน้ำหนักลำต้นแห้ง ส่วนพันธุ์อ้อยเคี้ยว หรืออ้อยปลูกดั้งเดิม อาจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๗๐ น้ำตาลที่เก็บไว้ในลำต้น อาจถูกลำเลียงไปใช้ เพื่อการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ ภายในกอเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อน้ำตาลที่ได้จากขบวนการสังเคราะห์แสงมีไม่พอ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม การบังคับให้อ้อยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่อยู่ส่วนโคนของลำต้น ลดลงจากร้อยละ ๑๖ เหลือเพียง ๖.๕ ของน้ำหนักสด ภายในเวลา ๓๕ วัน กลไกการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากโคนต้นสู่ยอดมีอย่างไรนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบกันในขณะนี้
ปัจจัยที่ทำให้มีการสะสมน้ำตาลในลำต้นเพิ่มขึ้นมีหลายประการ เช่น อ้อยจะต้องแก่พอ ได้รับอากาศหนาวเย็น ทำให้การเจริญเติบโตน้อยลง ขาดธาตุอาหาร และขาดน้ำ ซึ่งสภาพดังกล่าวนี้จะต้องไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำตาลที่เก็บสะสมไว้ในลำต้นจริงๆ นั้น จะต้องแยกออกจากปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขาดน้ำ ปัญหานี้สามารถหลีกเลี่ยงโดยวัดความยาวของลำต้น ส่วนที่ไม่มีการเติบโต ห้ามวัดเป็นปริมาตรของลำต้น เพราะปริมาตรของลำต้นอ้อยบางพันธุ์ เปลี่ยนแปลงเมื่อขาดน้ำ การแก่ และการชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งแสดงระยะเริ่มต้นของการสุกนั้น เกิดขึ้นเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระหว่างความยาวของลำต้นส่วนที่อ่อนต่อส่วนที่แก่ โดยที่อัตราการสะสมของน้ำตาลต่อหน่วยพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่ม ความจริงน้ำตาลอาจจะลดลงด้วยซ้ำไป ถ้าคิดเป็นค่าร้อยละของน้ำหนักอ้อย ในขณะที่มีการเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ในเรื่องนี้อาจมีการเข้าใจผิดว่า การสุกของอ้อย ซึ่งส่วนใหญ่ดูจากน้ำอ้อยของลูกหีบนั้น เป็นการเพิ่มอัตราการสะสมน้ำตาลซูโครสของอ้อยนั้น หรือเพิ่มปริมาณน้ำตาลต่อหน่วยพื้นที่ของอ้อยนั้น

จากการศึกษาการเคลื่อนย้าย และการเก็บสะสมน้ำตาลในอ้อย โดยนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ปรากฏว่า การเข้าและออกของน้ำตาล ในเซลล์ที่ทำหน้าที่เก็บน้ำตาลของลำต้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาภายในเซลล์ของลำต้นส่วนที่แก่ ซูโครสจะถูกเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลอินเวิร์ต (invert sugar) ค่อนข้างช้า แต่การเปลี่ยนน้ำตาลอินเวิร์ตเป็นซูโครสเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของซูโครสเกิดขึ้น เนื่องจากการกระทำของเอนไซม์ แอซิด อินเวอร์เทส ที่อยู่ภายนอก หรือระหว่างเซลล์ ก่อนที่จะเข้าไปสะสมในที่ว่างภายในเซลล์ และการผ่านผนังเซลล์เข้าไปจะต้องอาศัยพลังงานภายในเซลล์จะพบเอนไซม์ ซูโครสฟอสเฟต ซูโครสฟอสเฟตซินเทเทส (sucrose phosphate synthetase) และเอนไซม์ ซูโครสฟอสฟาเทส (sucrose phosphatase) แต่ไม่พบซูโครสซินเทเทส (sucrose synthetase) เมื่อเข้าไปภายในเซลล์แล้ว ซูโครสฟอสเฟตจะถูกปลดปล่อยในรูปของซูโครส โดยไม่มีการแยกตัวเป็นกลูโคสฟรักโทสแต่อย่างใด ในระหว่างขบวนการเก็บน้ำตาล ซูโครสจะแตกตัวเป็นกลูโคส และฟรักโทส และน้ำตาลทั้งสองชนิดก็จะรวมกันเป็นซูโครสอีก การเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากไซโทพลาสซึม (cytoplasm) เข้าสู่แวคิวโอล (vacuole) มีระบบที่ต้องใช้พลังงาน จึงทำให้สามารถเคลื่อนย้ายน้ำตาล จากที่ซึ่งมีความเข้มข้นน้อย ไปยังที่ซึ่งมีความเข้มข้นมากได้ โดยมีซูโครสฟอสเฟตเป็นวัตถุดิบ
(ที่มา: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)


อ้อย (Sugarcane) กับ ค่าความหวาน (C.C.S)
ตอบข้อสงสัยว่า..
ทำไม? ปลูก "อ้อย" แล้ว ต้องใช้ "ORG-2" 

"เติมเต็มในสิ่งที่ขาด"
ให้กับ "อ้อย"ในเรื่องของ "ค่าความหวาน" (C.C.S) และ "ความสมบูรณ์ของผลผลิตที่ดี" (Maximum Yield) ด้วย "ORG-2 .. น้ำตาลทางลัด" (ชนิดพิเศษ) สำหรับพืช ที่ป้อนให้กับ "อ้อย"ได้นำไปใช้แบบทันทีทันใด และด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างจากสินค้าอื่นๆทั่วไปในท้องตลาดโดยเฉพาะ "ความเข้มข้น" ของ Monosaccharides (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) ที่มีอยู่ใน "ORG-2" ของเรามีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมี Amino acid (กรดอะมิโน) ที่เข้มข้นมากอีกต่างหากที่เป็นจุดดี และที่สำคัญการมี "ตัวนำพาประจุ" ธาตุอาหารชั้นดีอย่าง Fulvic acid เพื่อเคลื่อนย้ายอาหารไปสู่ส่วนต่างๆของพืชได้ดีแบบไม่มีสะดุด เหมือนมีรถบรรทุกธาตุอาหารคันใหญ่อยู่ใน "ORG-2" ของเราก็ย่อมได้เปรียบในแง่ของการขนส่งธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ในทุกส่วน เท่านั้นยังไม่พอ Magnesium (Mg) กับ Potassium (K) ของเรามีครบถ้วน ตามความจำเป็นที่พืชต้องการ
อยากบอกว่า..นี่คือ..สินค้าที่เป็นทางออกของพืชในอนาคต ซึ่งผมเชื่อว่ามันจะ.."พลิกโฉมชีวิตพืช" และ "พลิกโฉมคุณภาพและผลผลิต"ของพืช เพื่อสร้างรายได้ที่สูงให้แก่เกษตรกรได้ต่อไป


นอกจาก "อ้อย" แล้ว "ORG-2" ยังใช้ได้ดีกับทุกพืชที่ต้องการ "ความหวาน" ต้องการรสชาติดี ต้องการสีสวย ซึ่งไม่จำเป็นเฉพาะต้องเป็น "อ้อย" เท่านั้น พืชที่ต้องการความหวานทุกชนิดสามารถใช้ "ORG-2" ได้เป็นอย่างดี อาทิอย่างเช่น พืชผัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น


(หมายเหตุ : และที่ถามว่า ทำไม? ถึงต้องแนะนำให้ใช้ " ORG-2" ร่วมกับ "ORG-1" เหตุผลก็คือว่า ถ้าเปรียบเป็นเกมส์ฟุตบอลมันก็เป็น "คู่..ศูนย์หน้าล่าประตู" ที่เล่น "เข้าขากัน" และมันก็ "ช่วยกันเล่น" หรือถ้าเปรียบเป็นกาแฟก็เปรียบเสมือน "กาแฟกับคอฟฟี่เมท" รสชาติหอมกลมกล่อม หรือถ้าเราจะทานกาแฟดำล้วนๆก็ได้ไม่ผิดกติกาหรือว่าจะทานแบบใส่ "คอฟฟี่เมท" ร่วมด้วยก็ได้แล้วแต่จุดประสงค์และผลลัพธ์ตามความต้องการของเราว่าต้องการ "เป้าหมายและประสิทธิผล" มากน้อยขนาดไหน แต่ที่แนะนำให้ใช้ "ORG-2" ร่วมด้วยกับ "ORG-1 " เพราะมีเหตุผลหนึ่งซึ่งสำคัญในหลายๆเหตุผลจากคุณประโยชน์ที่ทรงคุณค่ามหาศาลของ "ORG-1" ที่เรารู้ดี นั่นก็คือ..ใน "ORG-1 มีสาร "มาเลท" (Malate) ซึ่งเป็นสารตั้งต้น (Precursor) ในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาล "กลูโคสและฟรักโทส" ให้เป็นน้ำตาล "ซูโครส" ได้ดีและมีประสิทธิภาพ เพราะ "ซูโครส" ก็คือน้ำตาลของอ้อยนั่นเอง และยังมี Amino acid ที่เข้มข้น ตลอดจนธาตุอาหารที่สำคัญบางตัวไม่ว่าจะเป็น NO3, CaB เป็นต้น ( อีกทั้ง  "ORG-1" ยังทำหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆภายในของพืชที่เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของพืช การเจริญเติบโต การสร้างผลผลิตที่ดีของพืชและอื่นๆอีกด้วยอย่างมายมายและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างผลผลิตและคุณภาพที่ดีของพืชได้ดี เป็นต้น)

http://www.paccapon.blogspot.com/2015/06/1-org-1-2-org-2.html     ORG-1+ORG-2


การปลูกอ้อยที่อยู่ในพื้นที่น้ำฝนห่างจากระบบชลประทาน มักประสบปัญหาเรื่องของการขาดแคลนน้ำ เพราะบางทีฝนฟ้าก็ไม่ตกตามฤดูกาล บางทีก็ตกล่าช้า ทำให้ช่วงการเจริญเติบโตของอ้อยเกิดการขาดน้ำ ทำให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ผลผลิตตกต่ำ ซึ่งเราจำเป็นต้องหา “ตัวช่วย” ให้อ้อยโดยการให้ กรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่มไฮดร๊อกซี่ (Hydroxy acid Group) และออร์โธ่ซิลิซิค แอซิด (Orthosilicic acid) ที่มีอยู่ใน #ซาร์คอน ฉีดพ่นในช่วงอ้อยระยะเล็ก อายุในช่วง 30 -90 วันประมาณ 3 - 4 ครั้ง เพื่อสร้างความทนทานสภาพแล้ง (Drougth Tolerance)ร่วมกับฮอร์โมนกระตุ้นการแตกราก กระชากการแตกกอ #ไบโอเจ็ท เพื่อกระตุ้นให้แตกกอดี เพื่อให้อ้อยให้ผลผลิตสูงขึ้น



เพิ่มผลผลิตให้ "อ้อย" กันค่ะ !!
อ้อย เป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ "ซิลิคอน" ได้ดีมาก จากการวิเคราะห์พบว่า การปลูกอ้อย 12 เดือน ต้นอ้อยจะมีธาตุซิลิคอนสะสม 60.8 กิโลกรัม ต่อไร่ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนในการปลูกอ้อยแต่ละพื้นที่ทั่วโลก ช่วยทำให้ผลผลิตต่อไร่และปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ซิลิคอนค่ะ

ประโยชน์ของซิลิคอน ในผลิตภัณฑ์ #ซาร์คอน ที่มีต่ออ้อย

1. เพิ่มผลผลิต  จากงานทดลองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ บราซิล พบว่าการใช้ซิลิคอนในดินที่มีปริมาณธาตุซิลิคอนในระดับที่ต่ำในไร่อ้อยจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยได้ 10-50% และพบว่า ช่วยทำให้ปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูงขึ้น 15-30% ด้วย ซึ่งมีข้อเสนอแนะของผู้ที่ทดลองว่า ซิลิคอนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของอ้อย

2. ช่วยการต้านทานโรค  ซิลิคอนจะช่วยทำให้พืชสามารถต้านทานโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราและแบคทีเรีย  เช่นโรคราสนิม ใบขีดแดง โดยซิลิคอนเมื่อเข้าสู่พืชจะถูกส่งไปสะสมที่บริเวณใบในรูปผลึกของซิลิคอนไดออกไซด์ในช่องว่างของเซลลูโลส ทำให้ใบอ้อยทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อก่อโรคและป้องกันไม่ให้เชื้อราสร้างเส้นใยเข้าไปใช้สารอาหารที่มีอยู่ในพืช เช่น สารประกอบไนโตรเจน กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อการเจริญของเชื้อรา ทำให้ราไม่สามารถแพร่ขยายทำลายใบอ้อยได้

3. ช่วยลดระดับการทำลายของหนอนกอ  มีรายงานพบว่า ต้นอ้อยที่มีการสะสมซิลิคอนที่ใบในเปอร์เซ็นต์ที่สูงจะช่วยลดระดับการทำลายของหนอนกอได้ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนจะช่วยลดการทำลายของหนอนกอได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว

4. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด  มีรายงานว่า อ้อยที่ได้รับแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่สูง เช่น แมงกานีส พบว่า อ้อยที่มีสัดส่วนของแมงกานีสต่อซิลิคอนไดออกไซด์ ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า 0.7 จะช่วยป้องกันไม่ให้อ้อยได้รับความเสียหาย โดยซิลิคอนจะช่วยป้องกันการสะสมแมงกานีสที่บริเวณใบปริมาณที่สูงจนทำให้ใบอ้อยเกิดจุดสีน้ำตาล ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงลดลง

5. ช่วยทำให้อ้อยทนแล้ง  พบว่า การสะสมซิลิคอนที่ใบจะช่วยทำให้ใบอ้อยมีการคายน้ำลดลง โดยเป็นผลเนื่องมา
จากซิลิกาในรูปวุ้นที่อยู่ในเซลลูโลสที่บริเวณปากใบ จะมีผลทำให้การคายน้ำของอ้อยลดลงซึ่งจะส่งผลดีในอ้อยที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทาน ทำให้สามารถจัดการกับการให้น้ำแก่อ้อยได้ง่ายขึ้น

6. ป้องกันการหักล้มของต้นอ้อยทำให้ต้นอ้อยแข็งแรง  พบว่า ต้นอ้อยที่มีปริมาณของซิลิคอนในปริมาณที่สูงในเนื้อเยื่อ จะทำให้มีโครงสร้างของลำต้นที่แข็งแรง และทำให้ใบตั้งชัน มีพื้นที่ในการสัมผัสกับแสงแดดเพิ่มขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง ส่งผลทำให้อ้อยมีผลผลิตและปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้น

7.  ยืดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำตาลซูโครสในน้ำอ้อยไปเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว  จากการทดลองพบว่า น้ำอ้อยที่มีส่วนประกอบของซิลิคอนสูงจะเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำตาลซูโครสช้ากว่าน้ำอ้อยที่มีปริมาณของซิลิคอนในระดับต่ำ เมื่อตรวจสอบโครงสร้างของน้ำตาลซูโครสพบว่า จะรวมตัวกับซิลิคอนเป็นสารประกอบเชิงซ้อน นอกจากนี้ ยังพบการรวมตัวกันของน้ำตาลฟรัคโทสกับซิลิคอน ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถนำน้ำตาลฟรัคโทสไปใช้ในการเจริญได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าน้ำอ้อยเมื่อเผาจนเหลือเถ้า เมื่อวิเคราะห์พบว่า จะมีปริมาณของธาตุ โพแทสเซียม และซิลิคอนในปริมาณที่สูง ดังนั้น การมีปริมาณของซิลิคอนจะช่วยเพิ่มปริมาณของแข็งในน้ำอ้อย ทำให้ได้ค่า CCS สูงขึ้น

จากบทบาทของซิลิคอนที่มีต่ออ้อยจะพบว่า ธาตุซิลิคอนจำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตของอ้อยอย่างมาก ในประเทศไทยพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดธาตุซิลิคอนในดิน ในการปลูกอ้อยทุกครั้งเราจะสูญเสียอ้อยไปกับผลผลิต ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรควรจะมีการเติมซิลิคอนลงกลับไปสู่ดินเพื่อชดเชยธาตุซิลิคอนที่สูญเสียไปกับผลผลิตของอ้อย


การปลูกอ้อยที่อยู่ในพื้นที่น้ำฝนห่างจากระบบชลประทาน มักประสบปัญหาเรื่องของการขาดแคลนน้ำ เพราะบางทีฝนฟ้าก็ไม่ตกตามฤดูกาล บางทีก็ตกล่าช้า ทำให้ช่วงการเจริญเติบโตของอ้อยเกิดการขาดน้ำ ทำให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ผลผลิตตกต่ำ ซึ่งเราจำเป็นต้องหา “ตัวช่วย” ให้อ้อยโดยการให้ กรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่มไฮดร๊อกซี่ (Hydroxy acid Group) และออร์โธ่ซิลิซิค แอซิด (Orthosilicic acid) ที่มีอยู่ใน #ซาร์คอน ฉีดพ่นในช่วงอ้อยระยะเล็ก อายุในช่วง 30 -90 วันประมาณ 3 - 4 ครั้ง เพื่อสร้างความทนทานสภาพแล้ง(Drougth Tolerance)ร่วมกับฮอร์โมนกระตุ้นการแตกราก กระชากการแตกกอ #ไบโอเจ็ท เพื่อกระตุ้นให้แตกกอดี เพื่อให้อ้อยให้ผลผลิตสูงขึ้น

ศึกษากระบวนการเจริญเติบโตของอ้อยเพิ่มเติมที่ลิ้งค์ค่ะ
http://paccapon.blogspot.com/2015/05/growth-stage.html

Cr. ขอบคุณภาพไร่อ้อยคุณฉวีวรรณ วารภาพ จ.นครสวรรค์ โทร. 086-1194486




การสร้างน้ำตาลในอ้อย
การสร้างน้ำตาลเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงดังแสดงในสมการทั่ว ๆ ไป คือ
      แสงแดด
6CO2  +  12H2O -------------------> C6H12O6  +  602  +  6H2O
    คลอโรฟิลล์
น้ำตาลที่ได้คือ กลูโคส (C6H12O6) สามารถสร้างได้ดีขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของอ้อยในการสังเคราะห์แสง ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะทางสรีรวิทยาของอ้อยที่เป็นพืชจัดอยู่ในกลุ่มพืช C4 ซึ่งมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงสูง    กลูโคส (Glucose) ที่ได้พืชจะใช้ในการเจริญเติบโต แต่เมื่อจะมีการเคลื่อนย้ายมันจะไปอยู่ในรูปของซูโครส (Sucrose) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวทางชีวเคมีของน้ำตาลกลูโคส (Glucose) กับ ฟรักโทส (Fructose) ซูโครส (Sucrose) จากใบจะถูกลำเลียงผ่านท่ออาหาร (phloem) ไปยังลำต้นโดยจะถูกสะสมอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์รวมทั้งผนังเซลล์ด้วย และน้ำตาลซูโครสนี้สามารถจะเปลี่ยนกลับไปเป็นกลูโคสและฟรักโทสได้อีก เพราะพืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตที่จะเกิดขึ้น


สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย
โทร.084-8809595 , 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (ใส่ "@" ด้วยนะคะ)


ภาคภนวก












ภาคภนวก

ทำไม?  แมลงจึงระบาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ



ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน อากาศบ้านเราร้อนอบอ้าวมากขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือ..ผลพวงมาจากการเกิดภาวะ "โลกร้อน" (Global Warming) นั่นเอง และผลกระทบดังกล่าวนี้ก็มิได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษยชาติแค่เท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบและผลเสียหายต่อการดำรงชีวิตของพืชอีกด้วย โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีผลการวิจัยที่บ่งชี้ว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้อย่างมากที่ปัญหาโลกร้อนจะส่งผลให้พืชอ่อนแอลงในขณะที่แมลงศัตรูพืชจะแข็งแรงยิ่งขึ้นและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนทำลายพืชผลให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง อย่างที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน ที่มีเพลี้ยต่างๆระบาดอย่างมากมายตลอดมาไม่ว่าจะพื้นที่ใดๆ และทำลายได้เกือบทุกพืช โดยไม่เลือกเวลาหรือฤดูกาล และท่านอาจจะสงสัยว่าภาวะ "โลกร้อน" ทำไม? มันจึงทำให้แมลงแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร? ลองมาฟังคำตอบกันดีไหมครับ

โลกร้อน (Global Warming) ทำพืชอ่อนแอ "แมลง" เรืองอำนาจแทน




ไซน์เดลี - หวั่นในอนาคตอันใกล้โลกร้อนจะเพิ่มปัญหาอีกเรื่อง นักวิจัยมะกันศึกษาผลคาร์บอนไดออกไซด์ต่อพืช พบหากมีมากทำให้พืชอ่อนแอลง และไม่สามารถต้านทานแมลงศัตรูได้เหมือนก่อน
ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ (University of Illinois) สหรัฐอเมริกา ทดลองปลูกถั่วเหลืองร่วมกับพืชชนิดอื่น เพื่อจำลองให้คล้ายกับการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาวะโลกร้อน พบว่าพืชในแปลงถูกแมลงศัตรูกัดกินใบจนเสียหาย และประชากรแมลงศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยได้รายงานผลการวิจัยลงในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences)
เมย์ เบอเรนบวม (May Berenbaum) หัวหน้าและคณะนักวิจัยได้ดำเนินการทดลองดังกล่าวโดยใช้พื้นที่ในส่วนซอยเฟซ (Soybean Free Air Concentration Enrichment: Soy FACE) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นส่วนปฏิบัติการวิจัยในสภาพแวดล้อมจริง พวกเขาปลูกพืชชนิดต่างๆ และปลูกถั่วเหลืองร่วมด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และโอโซนในแปลงปลูก ซึ่งควบคุมให้มีปริมาณก๊าซทั้ง 2 ชนิดในระดับมากน้อยต่างกันไป ส่วนปัจจัยเรื่องแสง ปริมาณน้ำฝน และแมลงนั้นเหมือนกัน


ผลการทดลองปรากฏว่าเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ในแปลงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พืชทำกิจกรรมการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ได้มากขึ้นเช่นกัน เป็นผลให้พืชมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเก็บสะสมไว้ที่ใบได้มากขึ้น พร้อมๆ ปริมาณไนโตรเจนที่มากขึ้นในปริมาณที่สัมพันธ์กัน
ก่อนทำการทดลอง นักวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่าเมื่อพืชแปรเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศไปเป็นคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น และนำไปใช้ในกระบวนการสร้างกรดอะมิโนและสารสำคัญอื่นๆ ที่จำเป็นในเซลล์ ร่วมกับแร่ธาตุไนโตรเจนที่ได้จากดินได้ในปริมาณมาก จะทำให้แมลงมากัดกินใบพืชมากตามไปด้วย เพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของพวกมัน
นักวิจัยพบว่า เมื่อถั่วเหลืองทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในแปลงเพิ่มมากขึ้น จะเป็นสิ่งล่อให้แมลงศัตรูพืชบุกเข้ามาในแปลงจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ เช่น ด้วงญี่ปุ่น (Japanese beetle), หนอนเจาะรากข้าวโพด (corn rootworm) และเพลี้ย (aphid) เป็นต้น
ทั้งนี้ หนอนผีเสื้อและตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชต้องการธาตุไนโตรเจนสำหรับสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในร่างกาย ส่วนแมลงตัวเต็มวัยจะสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารอันอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตปริมาณมาก ดังนั้นนักวิจัยจึงเข้าใจได้ทันทีเลยว่าทำไม่แมลงเหล่านั้นจึงอพยพเข้ามาอยู่ในแปลงพืชที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

นักวิจัยทำการทดลองต่อไปเพื่อศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลต่อแมลงศัตรูพืช โดยเลี้ยงแมลงปีกแข็ง (beetle) ใน 3 สภาพแวดล้อม ได้แก่ ในแปลงพืชที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำร่วมกับให้น้ำตาลเสริม
ผลการทดลองสร้างความตื่นเต้นให้กับนักวิจัยเป็นอย่างมากเมื่อพวกเขาพบว่าแมลงในแปลงที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงมีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่า แพร่พันธุ์ได้มากกว่า
"น้ำตาลเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงในสภาพที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง แต่จะไม่มีผลต่อแมลงโดยตรงโดยปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์" อีวาน เดอลูเซีย" (Evan DeLucia) นักชีววิทยาในทีมวิจัยเผยข้อสรุป

นอกจากนี้ พวกเขายังศึกษาถึงกลไกการตอบสนองต่อแมลงศัตรูของพืช โดยปกติเมื่อแมลงมากัดกินใบของพืชไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลืองหรือพืชอื่นๆ พืชเหล่านี้จะสร้างฮอร์โมน "จัสโมนิคแอซิด" (Jasmonic acid) ขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนอง ซึ่ง "จัสโมนิค แอซิด" เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการและกลไกการป้องกันตัวเองของพืชจากแมลงศัตรู และขั้นสุดท้ายพืชจะสร้างสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส (Protease inhibitor) เมื่อแมลงกัดกินพืชและได้รับสารนี้เข้าไปด้วยจะไปยับยั้งกระบวนการย่อยใบพืชที่แมลงกินเข้าไป

"เราพบว่าเมื่อปลูกพืชในสภาวะที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง พืชจะสูญเสียความสามารถในการสร้าง "จัสโมนิค แอซิด" (Jasmonic acid) ซึ่งเป็นการตัดกระบวนการป้องกันตัวเองของพืช และขณะที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบพืชสูง แต่พืชขาดสารเคมีที่จะปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรู ส่งผลให้พวกแมลงมีแหล่งอาหารอันโอชะ เพื่อการดำรงชีพที่ยืนยาวและดำรงเผ่าพันธุ์ได้นานในบริเวณนั้น " เดอลูเซีย" อธิบายซึ่งการทดลองของพวกเขานั้นมีส่วนมาจากการที่ด้วงญี่ปุ่นบุกรุกทำลายความเสียหายในแปลงถั่วเหลืองของสถานีวิจัยดังกล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอันเป็นผลจากป่าไม้ที่ลดลงและการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างมาก ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ในช่วงเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 280 ppm (Part per million: ส่วนในล้านส่วน) และจากผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 380 ppm ซึ่งหากเป็นปรากฏการณ์โดยธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 600,000 ปี
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าหากยังไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าว จะส่งผลให้โลกของเรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปกคลุมมากถึง 550 ppm ในอีกราว 40 ปีข้างหน้า และภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนและอินเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็วอาจเป็นตัวเร่งชั้นยอดที่เร่งให้วันนั้นมาถึงเร็วยิ่งขึ้น.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 
31 มีนาคม 2551 



นี่จึงเป็นเหตุผลว่า... 


ทำไม? เราจึงต้องใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) 
และทำไม? เมื่อใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) ไปเรื่อยๆแล้ว ปัญหาเรื่องแมลงจะค่อยๆลดน้อยถอยลงไป ไม่สร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับเราในระยะยาว ถ้าขืนใช้แต่สารเคมี ปัญหามีแต่จะยิ่งแย่ไปใหญ่ 
เพราะ..คุณจะไม่มีวันรบชนะแมลงต่างๆได้เลย ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เพื่อเข่นฆ่ามัน ด้วยสารเคมี ในสภาวะที่ดินฟ้าอากาศของ "โลกวิกฤติ" หรือ "โลกเปลี่ยน" ไปแบบนี้ เพราะเรารู้ดีว่า..สาเหตุใหญ่คือ.."สภาวะโลกร้อน" นั่นเอง








สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://paccapon.blogspot.com/2015/12/systemic-acquired-resisitance-sar.html



สอบถามข้อมูล
084 -8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ) 

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

Thailand Tobacco 4.0

Thailand Tobacco 4.0
" ORG - Model "    By Organellelife-Thailand

- High  Yield
- High  Quality
- Low   Cost
- Low   Losses
- Low   Ratio
- High  Profit
- High  Safety
- Low  Virus




วัวหายแล้วล้อมคอก
ความเชื่อเก่าๆ ที่ยังไม่ยอมทิ้งกัน

ชอบ "เยียวยา" มากกว่า "สร้างเสริม"
ชอบ "แก้ปัญหา" มากกว่า "ป้องกันปัญหา" ไว้ล่วงหน้าให้กับพืช


กว่าจะแก้ปัญหา "ความเชื่อ" เรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องเหล่านี้ได้ ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี เพราะ "ลัทธิเคมี" มันฝังรากลึกในสมองและความคิด เหมือนเป็นสิ่งที่จะเนรมิตได้ในการแก้ปัญหาได้ เมื่อพืชเป็นโรคเกือบจะตาย อะไรก็ได้ขอให้เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์แรงๆและราคาแพงเท่าไหร่ก็ไม่เกี่ยง แต่สุดท้ายก็แก้ปัญหาได้ไม่เบ็ดเสร็จและจบสิ้นซักที มีแต่สะสมปัญหามากยิ่งๆขึ้นไปในระยะยาว


และที่จะกล่าวต่อจากนี้ไป เป็นอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในโลกยุคใหม่นี้


นี่คือ..การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใหม่
นี่คือ..แนวทางการบริหารจัดการศัตรูพืช (โรคและแมลง) แนวทางใหม่ เพื่อลดความเสียหายจากโรคร้ายต่างๆ ทั้งจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา


ตัวอย่างจริงที่ผ่านมากว่า 15 ปี
กับพืชที่อ่อนแอต่อเชื้อโรคพืชนานาชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา ต่างๆนานา ยกตัวอย่างอาทิเช่น ยาสูบบ่มไอร้อน (Flue-Cured Tobacco) ที่ปลูกปีละกว่า 2,000,000 ต้น (ประมาณ 1,000 ไร่) ใน #อำเภอปัว จังหวัดน่าน
.



.
ต้นยาสูบทุกต้นต้อง "ปลอดโรค ปลอดแมลง ปลอดสารพิษ" ปลอดความเสียหายให้ได้มากที่สุด (ความเสียหายมีได้ประมาณ 1-2%) เพื่อให้มีผลผลิตที่สูงและต้นทุนที่ต่ำ ที่สำคัญต้องปลอดภัยต้องไร้สารเคมีที่เป็นพิษต่อผู้ใช้และผู้บริโภค




ใช้แนวทางป้องกันที่วางไว้อย่างได้ผลดี
1) สร้างเสริมสุขภาพพืช โดยสร้างความแข็งแกร่ง
และแข็งแรงให้แก่พืช

2) กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคให้พืช เสมือนพืช
มี"วัคซีน" คุ้มกันตัวเอง

3) สร้างกระบวนการป้องกันการรุกรานจากโรคและ
แมลงให้แก่พืช ด้วยการขับไล่ไม่ให้มันมารบกวน
4) ควบคุมและกำจัดเชื้อโรคร้าย ด้วยกลไกใหม่ๆ
ของสารใหม่ๆที่ปลอดภัย

#คาร์บ๊อกซิลพลัส  มี แคลเซียม
#ซาร์คอน  มี ซิลิคอน





ภาคผนวก :

ตัวอย่าง : ต้นทุนต่อไร่ (คร่าวๆ)

#ซิกน่า 553 บาท
#ซาร์คอน 425 บาท
#คาร์บ๊อกซิล 540 บาท
#อีเรเซอร์วัน 595 บาท
รวมค่าใช้จ่าย/ไร่ 2,113 บาท

เฉลี่ยต่อต้น 0.85 บาท (ปลูกไร่ละ2,500 ต้น)

ค่าใช้จ่ายคิดเป็นประมาณ 8 เปอร์เซนต์ของรายได้)
(ผลผลิตใบยาสดเฉลี่ยประมาณ 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ย 6.50 บาทต่อกิโลกรัม รายได้เฉลี่ยประมาณ 26,000 บาทต่อไร่)
"ครบและจบข่าว" จริงๆ สำหรับปัญหาเรื่องโรคและแมลง ทั้งโรคไวรัสใบหด ใบด่าง เหลืองแคระ ใบจุดวงแหวน โคนเน่า เหี่ยวเฉา ใบไหม้ ใบจุดเหลี่ยม ราสีน้ำเงิน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ ฯลฯ ที่อย่างไรก็เป็น "ขาประจำ" ที่ทำความเสียหายให้พืชเรา ซึ่งในระบบการบริหารจัดการตามแนวทางนี้ เราสามารถควบคุมต้นทุนและความเสียหายได้ค่อนข้างแน่นอนแบบจับต้องได้ ไม่ต้องไปเสี่ยงตายเอาดาบหน้ากับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ที่ไปๆมาๆ ก็เกิดปัญหารายจ่ายที่ไม่จบสิ้นเพราะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลานั่นเอง
- เปลืองทั้งค่ายา
- เปลืองทั้งเวลา
- เปลืองทั้งค่าแรง
- เปลืองทั้งความรู้สึก

#การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็เสมือนผีถึงป่าช้าไม่ฝังก็ต้องเผา

#มาล้อมคอกก่อนที่วัวจะหายจะดีกว่าไหม?

ปัญหาโรคต่างๆของพืช
"กัน"ก่อนจะ "เกิด" จ่ายน้อยที่สุด สิ้นเปลืองน้อยที่สุด
"เกิด"แล้วมา "แก้" จ่ายมากที่สุด สิ้นเปลืองมากที่สุด

#เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยนผลลัพธ์เปลี่ยน
#หากอยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ให้ทำในสิ่งที่ยังไม่เคยทำ
#สิ่งดีๆเกิดขึ้นกับเราได้เสมอตราบใดที่เราไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html ประสบการณ์ไวรัส ยาสูบ


http://paccapon.blogspot.com/2016/02/org.html บริหารไวรัส ระบบ ORG (Immunization)

ที่นี่เมืองป๋ง อำเภอปง จังหวัดพะเยา
เยี่ยมไร่ยาสูบ @อำเภอปง จ.พะเยา ใกล้พระอาทิตย์ตกดิน
ไวรัสยาสูบ เริ่มอาละวาดไปทั่ว 


ร่วมกับปัญหาดินที่เริ่มมีปัญหาสภาพการขาดธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ให้เห็น 





การที่มีธาตุอาหารบางตัวมากไป ก็อาจจะไปมีผลกระทบกับการขาดธาตุอาหารอีกบางธาตุลงไปได้ การ Balance สัดส่วนธาตุอาหารต่างๆแต่ละธาตุ จึงมีความจำเป็นและสำคัญยิ่ง







แมลงมันก็มีอยู่ตามปกติในธรรมชาติของมันนะครับ ปริมาณมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการระบาดของมันหรือไม่ ส่วนมันจะเข้ามาทำลายพืชของเราได้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะป้องกันพืชของเราแบบใด เราเลือกที่จะใช้สารเคมีฆ่ามันหรือว่าเราเลือกที่จะสร้างกลไกป้องกันตัวเองให้มั่น ตอนนี้เราเลือกที่จะไม่ใช้สารเคมีในการไปฆ่ามันนะครับ เราเลือกใช้กลไกในการสร้างความแข็งแกร่งให้ผนังเซลล์ของพืชและเลือกที่จะใช้สัญญาณขับไล่มันไปเพื่อความปลอดภัยในชีวิต เราก็อาจจะไม่เห็นแมลงตายกันเกลื่อนเพราะเราไม่ได้ไปฆ่าแมลง ถ้าแมลงมันเข้าทำลายพืชเราไม่ได้เพราะเราสร้างกลไกป้องกันพืชไว้แล้ว แมลงมันก็จะไปเข้าทำลายพืชอื่นๆของคนอื่นแทน ที่มันสามารถเข้าไปทำลายได้นะครับ อันนี้เป็นวิธีที่เราหลีกหนีการใช้สารเคมี ส่วนกลไกจะทำงานได้มีประสิทธิภาพขนาดไหนก็อยู่ที่สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของแมลงหรือไม่ เพราะถ้าเราขับไล่แมลงมันไปได้ แปลงพืชที่ปลูกข้างเคียงก็จะต้องเสียหายแทนมากกว่าเพราะว่าแมลงมันต้องการอาหาร กินที่หนึ่งไม่ได้ก็ต้องไปกินอีกที่หนึ่งนะครับ



จากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่เราเห็นก็คือแปลงปลูกพืชของเราจะไม่เป็นโรคซักเท่าไหร่ แต่แปลงปลูกพืชข้างเคียงเป็นโรคเพียบเลย เพราะติดเชื้อมากหรือแปลงปลูกพืชของเราถูกแมลงเข้าทำลายเล็กน้อยแต่ในขณะเดียวกันที่แปลงปลูกพืชข้างเคียงถูกแมลงเข้าทำลายมากกว่ามากมายเป็นต้น


คือทางเราไม่อยากบอกไปแต่แรกเรื่องหนอนและเพลี้ยว่าจะเกิดปัญหาหรือไม่ แต่เท่าที่เราใช้ "ซิกน่า" กับ "ซาร์คอน" กับพืชบางพืช (อาทิ ยาสูบ) พื้นที่เป็น 1,000 ไร่โดยไม่ใช้ยาฆ่าเพลี้ยและหนอนเลย (ใช้แค่ "ซิกน่า" และ "ซาร์คอน") เราก็ไม่เคยประสบกับปัญหาหนอนและเพลี้ยเลยนะคะ โดยเฉพาะไวรัสต่างๆด้วย ตลอดระยะเวลา 4 เดือนตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวเสร็จนะครับ จะมีที่เกิดขึ้นบ้างก็เล็กน้อยสำหรับบางช่วงที่หนอนมีการระบาดมากๆและติดมาจากแปลงพืชอื่นๆ ที่ปลูกข้างเคียงอาทิ เช่นแปลงกะหล่ำปลีหรือคะน้าเท่านั้นเอง แต่โดยส่วนใหญ่ 95% ไม่ค่อบพบเจอปัญหา เพราะเราเองก็ไม่อยากจะบอกว่ากลไกในการส่งสัญญาณเพื่อการขับไล่หนอนและเพลี้ยจาก "ซิกน่า" มันทำงานได้เกินความคาดหมายมากนั่นเอง




ของเราไม่ใช่สารเคมี ที่มุ่งแต่จะฆ่าหนอนหรือเพลี้ยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ไม่ปลอดภัย สินค้าของเราจะอาศัยหลักการทางธรรมชาติของพืชในการที่เขาสามารถสร้างกลไกในการป้องกันตนเองของพืชเองได้ ต่อการเข้าทำลายของแมลงหรือเพลี้ยต่างๆ โดยสินค้าเราจะไปกระตุ้นให้พืชสร้างสารบางอย่างในการป้องกันตัวเองและสารบางอย่างที่สามารถส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงศัตรูพืชต่อไปนั่นเอง เพราะ เราเชื่อว่า "การฆ่าเพลี้ยและหนอนเพียงทางเดียวอย่างไรก็ไม่มีวันชนะมัน"




มี "วัคซีนพืช" ชั้นดี
ใช้อย่างถูกวิธี ใช้มานานกว่า 15 ปี
มีของดีแล้วเราจะไปกลัวอะไร ?

และ..เราก็ไม่เคยประมาทต่อไวรัสเลย
การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องถูกวิธี และต้องปลอดสารเคมีที่เป็นพิษด้วย จึงจะสบายใจ

นี่คือ..เรื่องใหญ่และเป็นหัวใจสำคัญสำหรับเรา
และที่สำคัญต้องขอบคุณ "องค์ความรู้" ใหม่ๆและดีๆ ที่มีมาให้เราได้ใช้แก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้




ใบยาสูบเวอร์จิเนีย ปลูกกลางแจ้งในที่โล่งแบบนี้
ไม่กลัวโรคไวรัส ใบหด ใบด่าง ใบจุดเหี่ยว กันบ้างเลยเหรอครับเนี่ย !!
ไม่กลัวครับ..เพราะว่าเรามีแนวทางที่ดีที่มั่นใจ เราดูแลเอาใจใส่ ทั้งในเรื่องอาหารการกิน (ปุ๋ยและธาตุอาหารอื่นๆที่สำคัญ) และดูแลทั้งโรคภัยต่างๆ (ทั้งโรคจากไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา) ทำให้เกษตรกรของเรามีรายได้หลักหลายๆหมื่นบาทต่อไร่เลยทีเดียวครับ


http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html ประสบการณ์ไวรัสกับยาสูบกว่า 15 ปี

สามารถศึกษาการทำ "วัคซีนพืช"‬ : เพื่อการป้องกันโรคและไวรัส ที่ได้ผลและยั่งยืน โดยเทคนิคการสร้างภูมิต้านทานด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ (Systemic Acquired Resistance:SAR ) ได้ที่ลิ้งค์นี้

http://paccapon.blogspot.com/2016/07/sarx.html



หลายคนสงสัยว่า..
ทำไม? เมื่อใช้ "ซิกน่า" แล้วพืชดูสมบูรณ์งามตา เติบโตดี แข็งแรง เติบใหญ่ ไร้โรคและแมลงตลอดจนเพลี้ยต่างๆเข้ามารบกวน



"ซิกน่า".. ไม่ใช่ยาฆ่าหนอน, ฆ่าเพลี้ย, ฆ่าแมลง แต่..
"ซิกน่า"..จะทำหน้าที่ไล่เพลี้ย, ไล่แมลง ที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่พืช


คุณสมบัติของ "ซิกน่า-ออลอินวัน" (ZIGNA All in 1) ใช้เป็นวัคซีนพืชได้ โดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติ และสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น (Systemic Acquired Resistance : SAR)
โดย "ซิกน่า" เองเป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย "ซิกน่า" มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆที่ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นสารกระตุ้นการชักนำให้เกิดการส่งสัญญาณ (Induced Systemic Resistance :ISR) เพื่อการขับไล่แมลงศัตรูพืชและส่งสัญญาณการล่อศัตรูของแมลงศัตรูพืชนั้นๆ (Predator) ให้เข้ามาทำลายศัตรูพืชต่างๆที่กำลังเข้าทำลายพืชของเรา

"ซิกน่า" จะครบเครื่องมากเพราะ "ซิกน่า" มีทุกอย่างที่เราต้องการอาทิเช่น มีทั้งกรด SA มีทั้งกรด JA มีทั้งกรด Amino acid มีทั้งสาร Malate Compound มีทั้ง แมกนีเซียม (Mg) มีทั้งสังกะสี (Zn) มีทั้งแคลเซียม คีเลท (Ca) มีทั้งโบรอน (B) และมีทั้งโปตัสเซียม (K) ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อพืชมากมายหลายด้าน คือทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ทั้งที่เป็นตัวบำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตพืชดี และฟื้นฟูพืชที่ติดเชื้อโรคด้วยสาร Malate และ Glutamate Compound และธาตุอาหารเสริมต่างๆ เป็นต้น

"ซิกน่า" (ZIGNA) : สัญญาณอันตราย สำหรับเพลี้ยและแมลง

สารส่งสัญญาณเพื่อต้านทานโรคและแมลง
(Cell Signalling in Resistance of Plant for Pathogan & Insect)

ซิกน่า-ออลอินวัน (ZIGNA All in 1) :

ใช้เป็นสารส่งสัญญาณ (Elicitor) เพื่อให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ซึ่งทำหน้าที่คล้ายวัคซีนให้พืชโดยใช้กรดอินทรีย์บางชนิด อาทิ กรดจัสโมนิคและกรดซาลิไซลิคโดยทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคเชื้อแมลงตามธรรมชาติและพืชก็สร้างสารขึ้นมาต่อต้านโรคและแมลงนั้นๆ
อาทิ สาร Secondary Metabolite บางชนิด เช่น Phytoalexin, Defensin, alkaloids, PR Protein ฯลฯ เป็นต้น ทำให้สามารถป้องกันและควบคุมเชื้อโรคได้หลายชนิดอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างสารระเหยต่างๆอาทิสาร Isoprene,Indoles ฯลฯเป็นต้น ซึ่งมีกลไกในการป้องกันโรค และแมลงแตกต่างกันออกไป

อีกทั้งซิกน่า(ออลอินวัน)ยังมีสาร Precusor หลายชนิด อาทิ Malate, Glutamate ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสะสมต่างๆ
ให้กับพืชไม่ว่าจะเป็นยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ข้าว, ถั่วเหลือง, อ้อย เป็นต้น

ซิกน่า-ออลอินวัน (ZIGNA All in 1) :

ประกอบด้วย กรดอินทรีย์หลายชนิด กรดอะมิโน และอาหารเสริมหลายชนิดมีแคลเซียม แมกนีเซียมและสังกะสี ในรูปโมเลกุลเล็ก ที่พืชสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เพื่อช่วยในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนและทำให้โครงสร้างพืชแข็งแรงตลอดจนช่วยขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนยังเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการทำงานทางชีวเคมีของพืช ช่วยทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง และเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตให้แก่พืชได้ด้วย

สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://paccapon.blogspot.com/…/systemic-acquired-resisitanc… SAR PPT





Thailand Tobacco 4.0


" ORG - Model " By Organellelife-Thailand















ปลอดโรค ปลอดไวรัส




ใบยาคุณภาพ








7 มีนาคม 2560
ตรวจไร่ปลูกยาสูบ ที่ปลูกรุ่นกลางเดือนธันวาคม 2559



(ปลูกวันที่ 15 ธ.ค.) ที่เพิ่งจะเริ่มเก็บใบยาชั้นยาตีน 1,2 ต้นยาสูบปกติสมบูรณ์ดีครับ ปลอดโรค ปลอดไวรัส ปลอดสารพิษ (รุ่นนี้เจออุปสรรคที่พนักงานตรวจไร่รายงานว่า เจอปัญหาฝนหลงฤดูที่ตกติดต่อกัน ในช่วงกลางเดือนธ.ค. ที่ช่วงปลูกเสร็จใหม่ๆ จนน้ำแช่ขัง ต้นยาสูบเลยชะงักงันไปกว่า 2 สัปดาห์) แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดี

OK กับ ORG-Model :
Thailand Tobacco 4.0
- High Yield
- High Quality
- Low Cost
- Low Losses
- Low Ratio
- High Profit

- High Safety

7 มีนาคม 2560
อากาศเริ่มร้อนอบอ้าว เพราะย่างเข้าฤดูร้อน ลงตรวจดูแปลงยาสูบของชาวไร่ที่ปลูกรุ่น 15 ธันวาคม 2559 ซะหน่อย ต้นยาสมบูรณ์ดี ปลอดโรค ปลอดไวรัส ปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย
ส่วนรุ่นที่ปลูกไปก่อนหน้า (20 พฤศจิกายน 2559) ที่กำลังเอาเข้าบ่มช่วงนี้ มีใบยาที่เหลือในไร่ประมาณ 50% ของต้น เริ่มเห็นผลของใบยาที่มีการสุกแก่ไม่ค่อยสมบูรณ์เกิดขึ้นให้ได้เห็น ด้วยปัจจัยต่างๆไม่เอื้ออำนวย ทั้งในเรื่องของน้ำที่ต้นยาสูบต้องได้รับและสภาพดินฟ้าอากาศที่ร้อนอบอ้าว อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการสุกแก่และคุณภาพใบยาสดในไร่ ซึ่งคงต้องได้รับการแก้ไขครับ




พรุ่งนี้จะลง "ตัวช่วย" ด้วยสารตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่นี้ในพืช เพื่อทดสอบเรื่องของการกระตุ้นการแก่ (Senescences) ของใบยาดู เพื่อหาทางออกของการสุกแก่ที่จะส่งผลดีต่อคุณภาพใบยาต่อไป






แปลงศึกษาเรื่องการสุกแก่ของใบยาสูบ Flue-Cured Tobacco รุ่นปลูกต้นเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งเก็บเกี่ยวใบยาไปแล้วกว่า50% ของต้น ซึ่งต่อจากนี้ไปใบยาจะต้องเจอกับสภาพแวดล้อมด้านดินฟ้าอากาศที่ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการสุกแก่ (ร้อน & แล้งจัด) จึงจำเป็นต้องหา "ตัวช่วย" มาช่วยในการกระตุ้น การแก่ (Senescence) ด้วย "สารสำคัญ" บางอย่าง เพื่อให้ใบยาสุกแก่สมบูรณ์ตามเวลาและอายุของเขา และนำเอามาบ่มได้เป็นใบยาสูบแห้งที่มีคุณภาพดีและได้เกรดสูงต่อไป


(ซึ่งถ้าการสุกแก่ไม่สมบูรณ์ ย่อมยากต่อการเก็บเกี่ยวให้ได้ดีและถูกต้อง และจะมีความเสียหายด้านคุณภาพใบยาติดตามมาต่อไป)





เป้าหมายการศึกษา : เพื่อต้องการได้ใบยาเกรดสูงเกือบร้อยเปอร์เซนต์ และให้มีอัตราแปรสภาพ (Ratio) แคบๆ เพื่อที่จะให้ต้นทุนการผลิตใบยาแห้ง :ใบยาสด ต่ำลง กับปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศของโลกวิกฤติและมีการเปลี่ยนแปลงไปที่ต้องเจอเป็นประจำ






ใบยาสด ชั้นที่ 3 (แต่เป็นใบยากลางชั้นแรก) กับสภาพใบยาแห้งที่บ่มแล้ว อัตราแปรสภาพ (Ratio) ออกมา 6.6 : 1




เริ่มมีความหวังว่า เป้าหมายใกล้เคียงความจริงเข้ามาทุกที เพราะใบยาสดในไร่ที่ยังเหลือให้เก็บเกี่ยวอีกประมาณ 60% (หรือเหลือใบยาในต้นอีกประมาณอีก 10-12 ใบ/ต้น เก็บเกี่ยวไปแล้วประมาณ 8-10 ใบ/ต้น)







#จำเหลือง
#ชิงสุกก่อนห่าม

- เหลืองแดด
- เหลืองอากาศร้อน
- เหลืองขาดอาหารที่สมดุลย์
- เหลืองเพราะฮอร์โมนพร่อง
- ฯลฯ


#เหลืองแต่ไม่สุกแก่ที่แท้จริง
#ลูกน้องตกใจจนเสียงสั่น !!!



ลูกน้องที่โรงบ่มใบยาได้ส่งรูปมาให้ พร้อมรายงานมาด้วยเสียงที่สั่นแล้วบอกว่า ทำไม ?..ฉีดพ่น "สารกระตุ้นการแก่" (Senescence) ให้ใบยาสูบไป แล้วทำไม ? ใบยามันกลับเขียวขึ้นมากว่าเก่า ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นใบยามันก็ออกสีเหลืองแล้ว





เลยต้องอธิบายไปว่า "ไม่ต้องตกใจ"
"นั่นแหล่ะ..!! คือสิ่งที่ใช่ เรากำลังเดินมาถูกทางแล้ว" เพราะที่ผ่านๆมาปัญหาคุณภาพใบยาของเราที่ยังทำคุณภาพที่ดีตามเป้าหมายไม่ได้ทั้งหมด 100% เพราะอะไร ที่ยังไม่ได้ก็เพราะใบยาสุดท้าย (ยายอด) ของเราไม่เคยสุกแก่ที่สมบูรณ์ได้เลย เราเองนึกว่า.."ใบยาที่เราเห็นว่ามันเหลืองแล้ว" มันคงสุกแก่ดีแล้ว แต่..แท้ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ มันไม่สุกแก่ที่แท้จริง เราเลยได้ใบยาที่มีคุณภาพสูงทั้งหมด 100% ไม่ได้ นั่นไง !! (ได้ใบยาเกรดสูงแค่ 90-95 % ถือว่ายังสอบไม่ผ่าน)

ที่ผ่านมา มันเป็นแค่เพียงว่า..ใบยา

#จำสุก
#จำแก่
#จำเหลือง ต่างหาก

- เหลืองเพราะอากาศร้อน
- เหลืองเพราะแสงแดดแรงจัด
- เหลืองเพราะขาดอาหารที่สมดุลย์
- เหลืองเพราะระบบฮอร์โมนพร่อง
- ฯลฯ

คงเปรียบเสมือนว่ามันเป็นแบบกล้วยหรือมะม่วงที่ "เหลือง" แต่เหลืองเพราะอบแก๊สเอทธิลีน ที่มันเห็นว่า "เหลือง" แต่มันไม่สุกแก่อย่างแท้จริง แก่แต่ภายนอก แต่ภายในไม่แก่ มันเลยไม่หวานหอม มีแต่ความเปรี้ยวฝาด นี่คือ..ความสุกแก่ที่ไม่สมบูรณ์ไม่สุกแก่จริง เลยไม่มีคุณภาพที่ดี นั่นเอง

ตอนนี้..เราให้สิ่งที่จะไปเติมเต็มในสิ่งที่พืชขนาด ในเรื่องของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแก่หรือชราภาพของใบพืช (Senescence) ให้พืชไป เพื่อให้วงจรชีวิตมันสมบูรณ์ตามอายุและวัยของมัน มันก็จะสุกแก่ได้ตามวัยและให้คุณภาพที่ดีได้

#ต้องไม่ชิงสุกก่อนห่าม
.
.
ติดตามกันต่อไปครับ กับการหา "ทางออก" ที่ใช่ ให้ใบยา เพราะว่ามันเป็นจุดชี้เป็นชี้ตาย ในการแก้ปัญหาคุณภาพใบยา เพื่อให้ได้มาซึ่งใบยาที่มีคุณภาพดีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในต้นทุนที่ต่ำเพราะไม่มีความเสียหายจากใบยาที่มีคุณภาพต่ำมาทำลายรายได้ของเกษตรกร


อัตราแปรสภาพ (Ratio) มีความสำคัญอย่างไร?

ทำไม?..ต้องให้ความสำคัญกับ อัตราแปรสภาพ (Ratio)

อัตราแปรสภาพ (Ratio) คือ สัดส่วนการแปรสภาพจาก "ผลผลิตสด"เป็น "ผลผลิตแห้ง"

ตัวอย่าง : กรณีศึกษาใบยาสูบ

อาทิเช่น ผลผลิตใบยาสูบ(สด) 8 กิโลกรัม แปรสภาพเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม แสดงว่ามี อัตราแปรสภาพ (Ratio) เท่ากับ 8 : 1

แล้วมันส่งผลดีอย่างไรบ้าง? ต่อการพยายามปรับ อัตราแปรสภาพ (Ratio)

สิ่งที่เราจะพบเห็นได้ก็คือ :

1. ต้นทุนการผลิต ใบยาสูบ(แห้ง) ลดลง
2. ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ต่อไร่ เพิ่มขึ้น
3. คุณภาพของผลผลิต เพิ่มขึ้น

ถ้าเราต้องผลิตสินค้าพืชผลทางการเกษตรจาก "ผลผลิตสด"ให้ออกมาเป็น "ผลผลิตแห้ง" เราควรคำนึงถึง "อัตราแปรสภาพ" (Ratio) เพราะนั่นหมายถึง ต้นทุนการผลิตที่ลดลง คุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้น และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

อาทิเช่น

1. ต้นทุนการผลิต ใบยาสูบ(แห้ง) ลดลง

1.1) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 8 กิโลกรัม ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท

บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 56 บาท

1.2) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 7 กิโลกรัม ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท

บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 49 บาท

1.3) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 6 กิโลกรัม ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท

บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 42 บาท

จะเห็นว่าถ้าทำให้ อัตราแปรสภาพ (Ratio) ลดลงได้ 1 หน่วย (การแปรสภาพ) เราก็จะลดต้นทุนการผลิตใบยาแห้งได้เท่ากับราคารับซื้อใบยาสูบ(สด) 1 กิโลกรัม (ลดลงเท่ากับ 7.00 บาท) ถ้าทำให้อัตราแปรสภาพ (Ratio) ลดลงได้ 2 หน่วย (การแปรสภาพ) เราก็จะลดต้นทุนการผลิตใบยาแห้งได้เท่ากับราคารับซื้อใบยาสูบ(สด) 2 กิโลกรัม (ลดลงเท่ากับ 14.00 บาท) ซึ่งสามารถลดต้นทุนใบยาสูบ(แห้ง) ลงได้ตั้งแต่ 7-14 บาทต่อกิโลกรัมใบยาสูบ(แห้ง) เลยทีเดียว

นั่นคือ..กำไรใบยาสูบ(แห้ง) ที่เราควรจะได้ มันจะเพิ่มขึ้นจากการลดต้นทุนจากค่ารับซื้อใบยาสดที่ลดลงจาก อัตราการแปรสภาพ (Ratio) ที่ลดลง ว่าเราทำให้ลดลงได้กี่หน่วยของ อัตราแปรสภาพ (Ratio) นั่นเอง

2. ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ต่อไร่ เพิ่มขึ้น

อาทิเช่น กรณีเรามีพื้นที่ปลูกยาสูบ 700 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 4000 กิโลกรัมต่อไร่ เราจะได้ผลผลิตใบยาสด(รวม) เท่ากับ 2,800,000 บาท

2.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 8:1 เราจะได้ใบยาแห้ง 350,000 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
2.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 7:1 เราจะได้ใบยาแห้ง 400,000 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
3.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 6:1 เราจะได้ใบยาแห้ง 466,600 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)

จะเห็นนะครับว่า ปลูกยาสูบพื้นที่ 700 ไร่ เท่ากัน แต่..ได้ผลผลิตใบยาแห้งออกมาไม่เท่ากัน

ดังนั้นพื้นที่ปลุก 700 ไร่ ถ้าเราพัฒนาคุณภาพใบยาสูบ(สด) ให้ดีและให้มี อัตราแปรสภาพ (Ratio) แคบได้มากเท่าไหร่เราก็จะได้ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น (ดังตัวอย่าง)

และอีกเช่นกันผลผลิตใบยาสด 2,800,000 กิโลกรัม (จากพื้นที่ปลูก 700 ไร่) ถ้าราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาทใช้เงินรับซื้อผลผลิตไปทั้งสิ้น 19,600,000 บาท จากผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ที่ได้

1. ใบยาสูบ(แห้ง) 350,000 กิโลกรัม เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กิโลกรัมละ 56.00 บาท (จาก Ratio 8:1)

2. ใบยาสูบ(แห้ง) 400,000 กิโลกรัม เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กิโลกรัมละ 49.00 บาท (จาก Ratio 7:1)

3. ใบยาสูบ(แห้ง) 466,000 กิโลกรัม เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กิโลกรัมละ 42.00 บาท (จาก Ratio 6:1)

3. คุณภาพของผลผลิตทั้งใบยาสูบ(สด,แห้ง) เพิ่มขึ้น : อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่ดี มีอัตราที่แคบจะหมายถึง "คุณภาพ" ที่ดีทั้งใบยาสูบ(สด)และใบยาสูบ(แห้ง) จะมีคุณภาพดีมากและมีเกรดสูงมากขึ้น มีส่วนที่เป็นใบยาสูบคุณภาพต่ำน้อย นั่นหมายถึง..จะทำให้เราขายใบยาสูบ(แห้ง)ได้ในราคาสูงขึ้น จนนำมาซึ่งราคาใบยาสูบ(สด) ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อๆไป นั่นเอง

มาถึงตรงนี้...จึงอยู่ที่ว่า "เราจะทำอย่างไร?" และ "เราจะทำได้ไหม?"

ตอบว่า.."ไม่ยาก" หาก..เราเข้าใจ "ปัจจัยต่างๆของพืช" ได้ดี

ปัจจัยใดๆ ที่มีส่วนสำคัญในการทำให้บรรลุเป้าหมายตรงนี้ เราต้องเร่งศึกษา เพราะว่าในปัจจุบันนี้..พื้นที่ปลูกก็มีจำกัด , เกษตรกรที่ปลูกก็มีจำนวนจำกัด เราคงต้องเน้นเรื่องของการ "เพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพ" ให้สูงขึ้นและสัมพันธ์กันกับราคาผลผลิต จนทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ

ดังนั้น..เราคงต้องออกแรงและหา "ตัวช่วย" ที่ "ใช่" เพื่อให้อาชีพการผลิตพืชชนิดต่างๆ สามารถยืนอยู่ได้ให้นานที่สุด

หมายเหตุ : แนวคิดเกี่ยวกับ อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่กล่าวมานี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางกับพืชอื่นๆ ที่ต้องมีการแปรรูปจาก "ผลผลิตสด" ไปเป็น "ผลผลิตแห้ง" ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยางพารา มันสำปะหลัง ลำไย พริก หอม กระเทียม ฯลฯ เป็นต้น เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพสูงและต้นทุนต่ำ สามารถแข่งขันกับเขาได้และเป็นที่ต้องการของตลาด

"โลกเปลี่ยน พืชต้องปรับ"

"โลกเปลี่ยน เกษตรไทยต้องปรับ"







ภาคภนวก

ทำไม?  แมลงจึงระบาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ



ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน อากาศบ้านเราร้อนอบอ้าวมากขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือ..ผลพวงมาจากการเกิดภาวะ "โลกร้อน" (Global Warming) นั่นเอง และผลกระทบดังกล่าวนี้ก็มิได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษยชาติแค่เท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบและผลเสียหายต่อการดำรงชีวิตของพืชอีกด้วย โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีผลการวิจัยที่บ่งชี้ว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้อย่างมากที่ปัญหาโลกร้อนจะส่งผลให้พืชอ่อนแอลงในขณะที่แมลงศัตรูพืชจะแข็งแรงยิ่งขึ้นและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนทำลายพืชผลให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง อย่างที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน ที่มีเพลี้ยต่างๆระบาดอย่างมากมายตลอดมาไม่ว่าจะพื้นที่ใดๆ และทำลายได้เกือบทุกพืช โดยไม่เลือกเวลาหรือฤดูกาล และท่านอาจจะสงสัยว่าภาวะ "โลกร้อน" ทำไม? มันจึงทำให้แมลงแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร? ลองมาฟังคำตอบกันดีไหมครับ

โลกร้อน (Global Warming) ทำพืชอ่อนแอ "แมลง" เรืองอำนาจแทน




ไซน์เดลี - หวั่นในอนาคตอันใกล้โลกร้อนจะเพิ่มปัญหาอีกเรื่อง นักวิจัยมะกันศึกษาผลคาร์บอนไดออกไซด์ต่อพืช พบหากมีมากทำให้พืชอ่อนแอลง และไม่สามารถต้านทานแมลงศัตรูได้เหมือนก่อน
ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ (University of Illinois) สหรัฐอเมริกา ทดลองปลูกถั่วเหลืองร่วมกับพืชชนิดอื่น เพื่อจำลองให้คล้ายกับการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาวะโลกร้อน พบว่าพืชในแปลงถูกแมลงศัตรูกัดกินใบจนเสียหาย และประชากรแมลงศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยได้รายงานผลการวิจัยลงในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences)
เมย์ เบอเรนบวม (May Berenbaum) หัวหน้าและคณะนักวิจัยได้ดำเนินการทดลองดังกล่าวโดยใช้พื้นที่ในส่วนซอยเฟซ (Soybean Free Air Concentration Enrichment: Soy FACE) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นส่วนปฏิบัติการวิจัยในสภาพแวดล้อมจริง พวกเขาปลูกพืชชนิดต่างๆ และปลูกถั่วเหลืองร่วมด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และโอโซนในแปลงปลูก ซึ่งควบคุมให้มีปริมาณก๊าซทั้ง 2 ชนิดในระดับมากน้อยต่างกันไป ส่วนปัจจัยเรื่องแสง ปริมาณน้ำฝน และแมลงนั้นเหมือนกัน


ผลการทดลองปรากฏว่าเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ในแปลงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พืชทำกิจกรรมการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ได้มากขึ้นเช่นกัน เป็นผลให้พืชมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเก็บสะสมไว้ที่ใบได้มากขึ้น พร้อมๆ ปริมาณไนโตรเจนที่มากขึ้นในปริมาณที่สัมพันธ์กัน
ก่อนทำการทดลอง นักวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่าเมื่อพืชแปรเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศไปเป็นคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น และนำไปใช้ในกระบวนการสร้างกรดอะมิโนและสารสำคัญอื่นๆ ที่จำเป็นในเซลล์ ร่วมกับแร่ธาตุไนโตรเจนที่ได้จากดินได้ในปริมาณมาก จะทำให้แมลงมากัดกินใบพืชมากตามไปด้วย เพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของพวกมัน
นักวิจัยพบว่า เมื่อถั่วเหลืองทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในแปลงเพิ่มมากขึ้น จะเป็นสิ่งล่อให้แมลงศัตรูพืชบุกเข้ามาในแปลงจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ เช่น ด้วงญี่ปุ่น (Japanese beetle), หนอนเจาะรากข้าวโพด (corn rootworm) และเพลี้ย (aphid) เป็นต้น
ทั้งนี้ หนอนผีเสื้อและตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชต้องการธาตุไนโตรเจนสำหรับสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในร่างกาย ส่วนแมลงตัวเต็มวัยจะสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารอันอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตปริมาณมาก ดังนั้นนักวิจัยจึงเข้าใจได้ทันทีเลยว่าทำไม่แมลงเหล่านั้นจึงอพยพเข้ามาอยู่ในแปลงพืชที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

นักวิจัยทำการทดลองต่อไปเพื่อศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลต่อแมลงศัตรูพืช โดยเลี้ยงแมลงปีกแข็ง (beetle) ใน 3 สภาพแวดล้อม ได้แก่ ในแปลงพืชที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำร่วมกับให้น้ำตาลเสริม
ผลการทดลองสร้างความตื่นเต้นให้กับนักวิจัยเป็นอย่างมากเมื่อพวกเขาพบว่าแมลงในแปลงที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงมีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่า แพร่พันธุ์ได้มากกว่า
"น้ำตาลเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงในสภาพที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง แต่จะไม่มีผลต่อแมลงโดยตรงโดยปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์" อีวาน เดอลูเซีย" (Evan DeLucia) นักชีววิทยาในทีมวิจัยเผยข้อสรุป

นอกจากนี้ พวกเขายังศึกษาถึงกลไกการตอบสนองต่อแมลงศัตรูของพืช โดยปกติเมื่อแมลงมากัดกินใบของพืชไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลืองหรือพืชอื่นๆ พืชเหล่านี้จะสร้างฮอร์โมน "จัสโมนิคแอซิด" (Jasmonic acid) ขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนอง ซึ่ง "จัสโมนิค แอซิด" เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการและกลไกการป้องกันตัวเองของพืชจากแมลงศัตรู และขั้นสุดท้ายพืชจะสร้างสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส (Protease inhibitor) เมื่อแมลงกัดกินพืชและได้รับสารนี้เข้าไปด้วยจะไปยับยั้งกระบวนการย่อยใบพืชที่แมลงกินเข้าไป

"เราพบว่าเมื่อปลูกพืชในสภาวะที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง พืชจะสูญเสียความสามารถในการสร้าง "จัสโมนิค แอซิด" (Jasmonic acid) ซึ่งเป็นการตัดกระบวนการป้องกันตัวเองของพืช และขณะที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบพืชสูง แต่พืชขาดสารเคมีที่จะปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรู ส่งผลให้พวกแมลงมีแหล่งอาหารอันโอชะ เพื่อการดำรงชีพที่ยืนยาวและดำรงเผ่าพันธุ์ได้นานในบริเวณนั้น " เดอลูเซีย" อธิบายซึ่งการทดลองของพวกเขานั้นมีส่วนมาจากการที่ด้วงญี่ปุ่นบุกรุกทำลายความเสียหายในแปลงถั่วเหลืองของสถานีวิจัยดังกล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอันเป็นผลจากป่าไม้ที่ลดลงและการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างมาก ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ในช่วงเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 280 ppm (Part per million: ส่วนในล้านส่วน) และจากผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 380 ppm ซึ่งหากเป็นปรากฏการณ์โดยธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 600,000 ปี
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าหากยังไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าว จะส่งผลให้โลกของเรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปกคลุมมากถึง 550 ppm ในอีกราว 40 ปีข้างหน้า และภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนและอินเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็วอาจเป็นตัวเร่งชั้นยอดที่เร่งให้วันนั้นมาถึงเร็วยิ่งขึ้น.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 
31 มีนาคม 2551 



นี่จึงเป็นเหตุผลว่า... 


ทำไม? เราจึงต้องใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) 
และทำไม? เมื่อใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) ไปเรื่อยๆแล้ว ปัญหาเรื่องแมลงจะค่อยๆลดน้อยถอยลงไป ไม่สร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับเราในระยะยาว ถ้าขืนใช้แต่สารเคมี ปัญหามีแต่จะยิ่งแย่ไปใหญ่ 
เพราะ..คุณจะไม่มีวันรบชนะแมลงต่างๆได้เลย ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เพื่อเข่นฆ่ามัน ด้วยสารเคมี ในสภาวะที่ดินฟ้าอากาศของ "โลกวิกฤติ" หรือ "โลกเปลี่ยน" ไปแบบนี้ เพราะเรารู้ดีว่า..สาเหตุใหญ่คือ.."สภาวะโลกร้อน" นั่นเอง








สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://paccapon.blogspot.com/2015/12/systemic-acquired-resisitance-sar.html




084-8809595, 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ค่ะ http://line.me/ti/p/%40organellelife.com