FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การดูแลไร่ยาสูบ

มารู้จัก..พืชเศรษฐกิจ อีกพืชหนึ่ง
ของเกษตรกรในภาคเหนือและภาคอีสานบางจังหวัด

• ยาสูบกับการค้นพบ

ยาสูบมีแหล่งกำเนิดตอนกลางของทวีปอเมริกา แม้มนุษย์จะรู้จักใบยาสูบมาประมาณสองพันปีแล้ว แต่ก็มิได้สูบกันอย่างเป็นนิสัย จนกระทั่งพวกอินเดียแดงซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของอเมริการุ้จักใช้ยาสูบกันอย่างแพร่หลาย จึงได้มีการทำไร่ยาสูบกันทั่วไป


การบันทึกประวัติของยาสูบมีขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2035 เมื่อโคลัมบัส (Chistopher Columbus) ขึ้นฝั่งที่ซานซัลวาดอร์ (San Salvador) ในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ได้เห็นชาวพื้นเมืองเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมามวน จุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ตามบันทึกกล่าวว่า ชาวพื้นเมืองมวนยาสูบด้วยใบข้าวโพด



ชาวสเปน เรียกยามวนนี้ว่า ซิการา (cigara) ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นคำว่าซิการ์ (cigar) จากหลักฐานและการขุดพ้นซากปรักหักพังของเมืองเก่าของพวกมายา บนคาบสมุทรคาร์เทน (Cartan) ประเทศเม็กซิโก ได้พบกล้องยาสูบสมัยโบราณ ลักษณะตรงโคนสำหรับดูดยา แยกออกเป็นสองง่ามสำหรับอัดเข้าไปในจมูก ด้วยเหตุนี้ที่ชาวอเมริกันโบราณจึงสูบยากันทางจมูก และกล้องชนิดนี้ คนพื้นเมืองเรียกว่า ทาบาโค (tabaco) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า โทแบคโค (tobacco)



การเพาะปลูกยาสูบในแหล่งอื่นๆ ได้เริ่มที่หมู่เกาะไฮติ เมื่อ พ.ศ. 2074 โดยได้เมล็ดพันธุ์จากเม็กซิโก และขยายไปยังหมู่เกาะข้างเคียงจนกระทั้ง พ.ศ. 2123 จึงได้เริ่มปลูกในคิวบาและต่อไปจนถึงกายอานา และบราซิล ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 แพร่หลายไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์ในสมัยโบราณรู้จักการปลูกยาสูบเพื่อนำไปซอยและมวนสูบ นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันว่ายาสูบมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อโรคที่ดีอย่างหนึ่งด้วย

สำหรับประเทศแรกที่เริ่มปลูกยาสูบในเอเชีย คือ ประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปยังประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศอินโดนีเซีย ตามลำดับ



ในประเทศไทยแม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคนไทยเริ่มการสูบยาเมื่อใด แต่จากหลักฐานที่พบและรวบรวมได้ เช่น กล้องยาสูบในสมัยสุโขทัยก็อาจทำให้เชื่อได้ว่าคนไทยมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับยาสูบมาประมาณ 700 ปี แต่ถ้าจากหลักฐานทางลายลักษณ์อักษร ก็เชื่อได้ว่าวัฒนธรรมการสูบยาในประเทศไทยมีมานานกว่า 300 ปีแล้ว จากการบันทึกของหมอสอนศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยบันทึกไว้ว่าเมื่อเขาเข้ามาในเมืองไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นพบว่า คนไทยสูบยากันทั่วไป โดยชาวเปอร์เซียเป็นผู้นำเข้ามา เป็นการสูบยาในลักษณะหั่นใบยา ที่มวนด้วยใบตองหรือใบบัว และมีการสูบจากกล้องหรือเคี้ยวเส้นยาสูบ และบางทีก็ป่นเป็นผงสูดเข้าจมูกแบบยานัตถุ์

ลักษณะของยาสูบมี 3 ลักษณะคือ การเอายาเส้นมามวนด้วยกระดาษ หรือเรียกกันว่า “บุหรี่” แต่ถ้านำเอายาเส้นมาใส่ลงไปในปลายกล้องยาแล้วสูบผ่านกล้องจะเรียกว่า “ไปป์” (Pipe) และถ้านำเอายาสูบมาพันกันไปมาจนเป็นมวนโตแล้วสูบเรียกว่า “ซิการ์” (Cigar)

นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงชานุภาพได้บันทึกว่ามองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตชาวฝรั่งเศสได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่าคนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใบยาที่ใช้นั้นได้มาจากเกาะมะนิลาบ้าง เมืองจีนบ้างและปลูกในพื้นเมืองบ้าง ลักษณะของยาสูบหรือมวนบุหรี่ในสมันนั้นจะมีก้นแหลม มวนด้วยใบตองหรือใบจากตากแห้ง ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าสิงหนาทดุรงฤทธิ์ก็ได้ทรงประดิษฐ์ก้นป้านขึ้นมาเพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผู้ดัดแปลงบุหรี่ก้นป้าน โดยตัดยาเส้นให้พอดีกับวัสดุที่ใช้มวนคือ ใบตองแห้ง ใบตองอ่อนและใบบัว และได้รับความนิยมอย่างมาก


คนไทยแต่เดิมเรียกยาสูบเป็นคำกลางๆ ว่า “ยา” และใช้คำว่ายาไปประกอบกับคำอื่นๆ ที่บอกลักษณะของยาสูบแต่ละประเภท เช่น ยาเส้น ยาฉุน ยาจืด ยามวน เป็นต้น

คำว่า “ยา” ในความหมายที่เป็นยาสูบในระยะแรกเข้าใจว่าคงไม่มีความหมายในเชิงลบ เพราคนไทยสมัยก่อนใช้ยาสูบในการบำบัดรักษาโรค เช่น ใช้ใบรักษาฝี ห้ามเลือด ใช้สูบเพื่อรักษาโรคหืดหรือบดใบยาสูบทำยาฆ่าแมลง ทั้งนี้เพราะสารนิโคตินในใบยาสูบมีคุณสมบัติในการฆ่าสิ่งมีชีวิตสามารถใช้ผสมยารักษาสัตว์ และที่สำคัญคือ มีผลกระตุ้นระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดการผ่อนคลายรู้สึกสบายใจในขณะสูบ

แต่มีหลักฐานในการนำเข้าสายพันธุ์ยาสูบพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาปลูกในสยามครั้งแรก โดยเป็นการทดลองปลูกครั้งแรกที่สถานีทดลองกสิกรรม ห้วยแม่โจ้

การเพาะกล้าและปลูกยาสูบครั้งนั้น เป็นพันธุ์เวอร์ยิเนีย (Verginia) ซึ่งเป็นพันธุ์ต่างประเทศมีอยู่ราว 10 สายพันธุ์ แต่ที่ปลูกได้ในเวลานั้นมี 4 สายพันธุ์เท่านั้น คือ Hickory, White Berley, Maryland และ Joiner โดยสายพันธุ์ที่นำมาทดลองปลูกครั้งแรกได้แก่พันธุ์ Joiner และ White Berley มีหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร อธิบดีกรมตรวจกสิกรรม เป็นองค์ประธานในการปลูกต้นแรก เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2476

ในเวลาต่อมาวิชาการด้านยาสูบได้ปฏิบัติติดต่อกันจนจัดตั้งสาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2518 ด้วย และยังได้เน้นเรื่องยาสูบเป็นสาขาวิชาเอกอีกด้วย


โรงงานยาสูบจัดสร้างเรือนเพาะยาสูบขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกร ในปี พ.ศ. 2501
ธรรมชาติของยาสูบแตกต่างจากพืชอื่นใบของยาสูบมีสารประกอบไนโตรเจนจนหมู่หนึ่งที่เรียกว่า “แอลคาลอยด์” ซึ่งมีนิโคตินเป็นส่วนใหญ่นิโคตินเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวของยาสูบ หรืออาจกล่าวได้ว่านิโคตินคือยาสูบ ต้นยาสูบจะผลิตสารนิโคตินที่รากแล้วส่งไปเก็บไว้ที่ใบดังนั้นถ้าต้นยาสูบมีรากมากก็มีแนวโน้มที่จะผลิตสารนิโคตินได้มากตามไปด้วย ใบยาเหล่านี้เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ อีกจำนวนมากทำให้เกิดกลิ่นสีและรสต่างๆ ความหอม และความฉุน ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของยาสูบ

ใบยาสูบแต่ละประเภทจะมีปริมาณสารประกอบเคมีทำให้เป็นลักษณะเด่นแตกต่างกันเช่น
• ใบยาเวอร์ยิเนีย ใบยาบ่มไอร้อนที่มีนิโคตินปานกลาง
• ใบยาเบอร์เลย์ ซึ่งมีนิโคตินสูง
• ใบยาเตอร์กิซ มีประมาณสารหอมระเหยสูง

จากความแตกต่างของปริมาณสารประกอบเป็นเหตุผลหนึ่งที่อุตสาหกรรม ผลิตบุหรี่จำเป็นต้องผสมใบยาประเภทต่างๆ เข้าด้วยกันตามสัดส่วน เพื่อให้ได้ทั้งกลิ่นและรสเป็นที่พอใจของผู้สูบ อย่างไรก็ดี ใบยาสูบทุกประเภทหากนำมาสังเคราะห์องค์ประกอบเคมีต่างๆ จะได้เหมือนกันหมด เพียงแต่มีปริมาณแตกต่างกันเท่านั้น นอกจากนี้ระดับความแก่สุกของใบยาและตำแหน่งของใบบนลำต้น เช่น ใบยาส่วนยอด ส่วนกลางและส่วนล่าง ก็มีส่วนประกอบทำให้ทางเคมีและคุณสมบัติอื่นๆ เช่น กลิ่นและรสแตกต่างกันด้วย
ที่มา: thaitobacco.or.th 17/01/2015
.
โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_23.html?m=0
.
คู่มือบริหาร&จัดการยาสูบ

http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_30.html?m=0


ยาสูบ
พืชเศรษฐกิจที่หลายๆท่านอาจจะไม่คุ้นเคย
แต่ถ้าได้ศึกษาและถ้าสนใจ
สามารถนำแนวคิดในการดูแลไปปรับใช้ในพืชอื่นๆได้หลายพืชเลยทีเดียว

#พืชครู

• สำหรับ..
ผู้ปลูกยาสูบมืออาชีพ
• ไม่ว่าจะปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย
• ไม่ว่าจะปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เล่ย์
• ไม่ว่าจะปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิช หรือ..
• ไม่ว่าจะปลูกยาสูบพันธุ์พื้นเมือง (ยาเส้น, ยาตั้ง)
ต้องชุด.."Tobacco Pro Set" นี้เลย


1) ชุด "ปุ๋ย 3 สหายยาสูบ"
1.1) Base Dressing : 8-12-24+4Mgo+0.05B
1.2) Side Dressing : 15-0-0+26 Ca as NO3-
form
1.3) Top Dressing : Trace Elements
• Sulphate Form
• Free Chlorides
• Ca, Mg, S, B-Plus
เพื่อสร้างผลผลิตและคุณภาพให้กับยาสูบ และ..
2) ชุด "ปกป้อง & คุ้มครอง" ผลผลิตและคุณภาพ
ใบยาสูบ (ยาสามัญประจำไร่ยาสูบ)
ไม่ให้เสียหายจากโรคร้ายและแมลงต่างๆ
• Virus (TLCV, TMV, TYDV, TSWV ฯลฯ)
• Bacteria (Bacterial Wilt ฯลฯ)
• Fungal (Black shank, Fusarium Wilt, Blue
Mold, Anthracnose ฯลฯ)
#ซิกน่า #ซาร์คอน #คาร์บ๊อกซิล #อีเรเซอร์วัน
3) ชุด "คู่หู..ยาสูบ" เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต
ให้สูงขึ้น ทั้งการสร้างสารนิโคตินและสร้าง
คุณภาพเนื้อ, สี, กลิ่นใบยา ให้เนื้อแน่น, หนา,
หนัก, นุ่ม ตลอดจนมีสีสวย กลิ่นหอม เป็นต้น
#พาร์เวย์เพาเวอร์ไฟว์ #ซูการ์ไฮเวย์






























• ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ปัญหาที่พบในยาสูบ ที่สร้างความเสียหาย
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post.html?m=0

คู่มือบริหาร & จัดการยาสูบด้วย "ตัวช่วย" ที่จำเป็น
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_30.html?m=0

โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติยาสูบ (แนวทาง)
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_23.html?m=0

คู่หู..หยุดโรค
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post.html?m=0
.
ซิกน่า และ อีเรเซอร์-1 เปลี่ยนความคิด ชีวิตแมลงหวี่ขาว เปลี่ยน

http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=0


การพัฒนาเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรชาวไร่ยาสูบเวอร์จิเนีย (Flue-Cured Tobacco) ให้เพิ่มสูงขึ้น

กับแนวทางการพัฒนาไร่ยาสูบ ด้วย
- Intensive Agriculture (เกษตรเข้มข้น) และ
- Precision Agriculture (เกษตรแม่นยำ )


หัวใจสำคัญ เราจะเน้นพัฒนาใน 3 เรื่องหลักๆที่
สำคัญ ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
นั่นคือ..
1) การเพิ่มผลผลิตใบยาสด
2) การเพิ่มคุณภาพใบยาสด
3) การลดความเสียหาย




1) การเพิ่มผลผลิตใบยาสด สิ่งที่ให้ความสำคัญคือ
• การให้ปริมาณธาตุอาหารหลัก (ปุ๋ย) ในจำนวนที่
เหมาะสมกับสภาพดินและตามความต้องการของยาสูบเพื่อการสร้างต้น,ใบ ที่สมบูรณ์เหมาะสมและพอดีเพื่อที่จะสร้างผลผลิตได้สูงสุดและมีคุณภาพใบใหญ่ ใบหนา เนื้อแน่น มีน้ำหนัก บ่มเป็นใบยา
แห้งดี

2) การเพิ่มคุณภาพใบยาสด  สิ่งที่ให้ความสำคัญคือ
• การให้สัดส่วน (Ratio)ธาตุอาหารหลัก (ปุ๋ย) ที่ถูกต้องต่อการสร้างคุณภาพของสีและเนื้อใบยา และการให้ธาตุอาหารรอง/เสริมที่จำเป็นต่อการสุกแก่และสร้างคุณภาพ ตลอดจนการให้สารสำคัญบาง
อย่างที่จำเป็นต่อการสร้างสารให้คุณภาพใบยาและอัตราแปรสภาพใบยา (Ratio) ที่แคบลง

3) การลดความเสียหาย ของผลผลิต   สิ่งที่ให้ความสำคัญคือ
• การลดความเสียหายจากโรคและแมลง โดย
เฉพาะโรคต่างๆ ที่เกิดทั้งจากเชื้อไวรัสหลาย
ชนิด ที่เป็นภัยเงียบ (TMV, TLCV, TDYV,TEV
TSWV, PVY, ฯลฯ) ตลอดจนโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (อาทิ Bacterial Wilt, Angular Leaf Spot ฯลฯ) และโรคที่เกิดจากเชื้อราที่
สำคัญ (อาทิ Black Shank, Fusarium Wilt,
Blue mold, Brown Spot, Shore shin, Anthracnose ฯลฯ) อันจะทำความเสียหายให้แก่ผลผลิตที่ลดลงมากกว่า 30-50% จากโรค
ต่างๆเหล่านี้ อีกทั้งยังนำมาซึ่งความเสียหายด้านคุณภาพ อันเกิดจากใบยาสุกแก่ไม่สมบูรณ์, จำแก่ หรือสุกแก่ก่อนกำหนด ซึ่งนำมาบ่มไม่ได้คุณภาพใบยาแห้งที่ดี ใบยาแห้งมีคุณภาพต่ำทำให้อัตราแปรสภาพใบยา (Ratio) สูง นั่นเอง




• เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)
• เกษตรประณีต (Intensive Agriculture)

ตามแนวทาง #เกษตรออร์กาเนลไลฟ์

• ติดกระดุมเม็ดแรกถูก ถูกทั้งตัว (การดูแลดิน, การ
เตรียมดิน)

• เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง (การเตรียมคน, การ
เตรียมกล้าปลูก)

• ลดความเสียหายได้คือ..กำไร (ป้องกันโรคต่างๆ)


• เน้นการสร้างเสริมมากกว่าการเยียวยาและรักษา
(ให้วัคซีนและสร้างภูมิต้านทานพืช)

• เน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา (ใบยาสด
จากในไร่ต้องดี ก่อนที่จะนำมาบ่ม)

• เน้นความปลอดภัย ไร้สารพิษ ให้มากที่สุด (หลีก
เลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ เน้นชีวิตไว้ก่อน)


--------------------------------------------
ปัญหาที่พบในยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post.html?m=0

คู่มือบริหาร&จัดการยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_30.html?m=0

โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติยาสูบ
http://paccapon.blogspot.com/2017/06/blog-post_23.html?m=0

ยาสูบ Thailand 4.0
http://paccapon.blogspot.com/2017/03/thailand-tobacco-40.html?m=0

วายร้าย ไวรัส & Plant Defenses
http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0

แมลงหวี่ขาว
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=0

ทำไม..แมลงจึงระบาดและเรืองอำนาจ
http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0










นี่คือ..ตัวอย่างอันเจ็บปวด
ในการผลิตพืช ในยุคปัจจุบัน


• นี่คือ..ความสูญเสีย
• นี่คือ..ความเสียหาย

ต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร
จากโรคร้ายต่างๆ ที่ดาหน้าเข้ามา
เมื่อผลผลิตเสียหาย 




ต้นทุนค่าใช้จ่ายก็พลอยสูงขึ้น
และ..อีกทั้งยังทำให้รายได้ลดต่ำลงอีก



โดยไม่เกิดผลดีกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเลย
ที่สำคัญ..ปัญหาที่ถูกศัตรูพืชเข้าทำลาย
โดยเฉพาะโรคร้ายต่างๆ นานา
ทั้งทางราก ทางใบ ทางลำต้นและทางผล 
ตลอดจนดาหน้ามาทั้งจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา ก็เลยทำให้.."คุณภาพผลผลิต" ต้องเสียหายตามไปด้วย "ซวย 4 ต่อ" เลยทีเดียว 


เสียหายทั้งผลผลิต เสียหายทั้งคุณภาพ 
เสียหายทั้งราคา เสียหายทั้งรายได้
เราจะมองข้ามไปเรื่องนี้ไปไม่ได้เลย
ในยุคนี้ ที่ต้องทำ

"เกษตรแม่นยำ" (Precision Agriculture)
ควบคู่ไปกับ..
"เกษตรประณีต" (Intensive Agriculture)












ซาร์คอน : สร้างเกราะป้องกัน


ซิกน่า : ขับไล่แมลงศัตรูพืช & ดึงดูดแมลงพิฆาต
(Predator & Parasitoids) ศัตรูพืช



แมลงศัตรูพืชต่างๆเหล่านี้
"ฆ่า" ด้วยสารเคมีอย่างไร 
ก็ไม่เคย มีวันชนะมันได้เลย
ลองมาหา "วิธีการใหม่ๆ" ที่ปลอดภัย ดีกว่าไหม?
โดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่มีพิษภัยไปไล่ "ฆ่า" มัน
เผื่อ..บางทีอาจจะพอมีชัยต่อมันได้บ้าง?


ต้องลองดูนะ

• "สร้างเกราะป้องกัน" อันแข็งแกร่ง ปากเจาะแทงและปากกัดกิน เข้าได้ยาก จะดีกว่าไหม?
• "ขับไล่" ให้ออกไป หรือ
• "ดึงดูดแมลงพิฆาตศัตรูพืช" มาพิฆาตมัน

จะดีกว่าไหม?
ลองดูนะ...

•เป้าหมาย..ไม่ให้มันทำลายพืชเราได้
โดยเน้นชัยชนะในระยะยาว  และต้องปลอดภัยต่อชีวิตผู้ใช้และผู้บริโภค ซึ่งต้องดีต่อสุขภาพเป็นหลักด้วย
.

ซาร์คอน (SARCON)
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก (Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง
กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น


 ซิกน่า(ZIGNA) : 
อาศัยกลไกการทำงานในกระบวนการชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช ซึ่งกลไกในการป้องกันตนเองของพืช (Plant Defense Response) มีลักษณะหลายๆอย่าง เช่น

1.การป้องกันทางกายภาพ(Physical barriers)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชสภาพปกติ) : Leafhairs, waxy, cuticles, actinmicrofilament, etc.
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น) : Cell wall strengthening, lignification, cell death, etc.

2. การป้องกันทางเคมี(Chemical defenses)
-Preformed (มีอยู่แล้วในพืชสภาพปกติ) :
ได้แก่ สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆเช่น alkaloids, saponins, สารterpenoid ในน้ำยาง ฯลฯเป็นต้น
-Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น) :
1. Local resistance เช่นphytoalexins, No, ROI, ect.
2. Systemic resistance (signaling defenses) เช่น SAR, ISR, SWR



Cell Signaling in Resistance (การส่งสัญญาณเซลล์เพื่อป้องกันตนเอง)

1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor)ให้เกิดสัญญาณซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรคปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ(Receptor) ที่เข้ากันได้ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืชทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆและเกิดสัญญาณขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (messengers)ไปยังเซลล์อื่นๆทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุกสารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ

3. การรับรู้ที่เกิดขึ้นยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองของเซลล์ต่อการบุกรุก

4. การรับรู้ที่เกิดขึ้นส่งสัญญาณให้defense genesสร้างสารต่อต้านการบุกรุกต่างๆ

• ข้อสังเกต : Nonhost plant และHost plant ที่ต้านทานโรคจะมีผนังเซลที่สามารถรับรู้การบุกรุกจากสารชักนำของเชื้อโรคชนิดหนึ่งๆได้ขณะที่พืชที่ไม่ต้านทานโรคไม่สามารถรับรู้สารชักนำของเชื้อโรคนั้นๆได้



Plant Systemic Defenses
ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วต้น(systemic Resistance)ภายในพืชโดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. Systemic Acquired Resistance (SAR) กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย(Pathogen attack)ส่งสัญญาณทางSA-signaling pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR) กระตุ้นโดยPlant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPR)ส่งสัญญาณทั้ง JA-signaling pathway และ SA-signaling pathway
3. Systemic Wound Response (SWR)กระตุ้นโดย Herbivores และ แมลงเข้าทำลายส่งสัญญาณทางJA-signaling pathwaySA-Signaling Pathway


 SA-Signaling Pathway
- avr-gene (Elicitor)จากเชื้อโรคเมื่อจับกับ R-gene (Receptor) ของพืช จะเกิดHypersentitive Response (HR)ทำให้เกิดการตอบสนองในเซลและสังเคราะห์ Salicylic acid (SA)เป็นการส่งสัญญาณระหว่างเซลไปทั่วต้นและกระตุ้นให้ PR-genes สร้าง PR-proteins มาต่อต้านเชื้อโรค

-PR-proteins ที่เกิดขึ้นมีหลายตัวมีกลไกลต่อต้านเชื้อโรคแตกต่างกันไปทำให้สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้หลายตัวพร้อมๆกัน (broad spectrum)และออกฤทธิ์ดีกับ Biotrophic และHemi-biotrophic pathogens ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส

-PR-proteins จาก SAR เป็นacidic PR-proteinsและอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์(intercellular space)
-แบคทีเรียบางชนิดบริเวณราก(PGPR) สามารถทำให้เกิด SA-Signaling Pathway ในระบบ ISR


http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
Plant Defenses & วายร้าย ไวรัส


http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
ซิกน่า ทำไมแมลงจึงระบาด






โดยธรรมชาติของพืชเองแล้ว เขาก็มี

"กลไกในการป้องกันตนเอง" (Plant Defense)
จากศัตรูพืชของเขา
เพียงแค่เราเลียนแบบ กลไกในการทำงานทางชีวเคมีที่ใช้ในการป้องกันตนเองของเขาได้
ก็ง่ายต่อการบริหารจัดการศัตรูพืชต่างๆให้เขาได้
ก็น่าจะดีนะ?

Plant Defenses พืชมีระบบป้องกันตนเองอย่างไร?

ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ

วิธี (1) ก็จะเป็นการป้องกันเชิงกายภาพ นั่นก็คือชั้น Cuticle และ Cell Wall ที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคเข้ามารุกราน ก็จะมีพวกสาร คิวติน (Cutin), แวกซ์ (Wax) และซูเบอริน (Suberin) เคลือบอยู่

วิธีที่ (2) เรียกว่า Hypersensitive response เมื่อการรุกรานของเชื้อประสบความสำเร็จก็จะมีการตอบสนองโดย receptor ที่รับรู้ถึงการบุกรุก ไปกระตุ้นให้มีการสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งได้แก่ O2 radical hydrogenperoxide และ hydroxyl radicle ที่เป็นอนุมูลอิสระซึ่งจะแตกตัวเป็นลูกโซ่กับสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ และต่อโมเลกุลของเชื้อที่รุกรานเข้ามา ส่งผลให้บริเวณที่มีการตอบสนองมีการตายของเซลล์เกิดขึ้น ช่วยในการทำลายแหล่งอาหาร และยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้ออีกด้วย เรียกกระบวนการนี้ว่า Programmed Cell Death (PCD) แต่กระบวนการนี้ยังต้องอาศัยสารสัญญาณอีกอย่างคือ NO (Nitric Oxide) จึงจะประสบความสำเร็จ เมื่อภายในเซลล์มี NO และ Reactive Oxygen Species เกิดขึ้น จะกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์เอ็นไซม์ต่าง ๆ ที่กระทำหน้าในวิถีการสังเคราะห์สารปกป้อง เช่น lignin, Phytoalexin, Salicylic acid ที่จะช่วยป้องกันและทำลายเชื้อโรคและเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโดยตรงคือกลุ่มของ Hydrolytic Enzyme


วิธีที่ (3) เรียกว่า Systemic Acquired Resistance (SAR) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับสารสัญญาณที่มาจาก Hypersensitive Response สารตัวหนึ่งที่ทราบกันดีคือ Salicylic Acid สัญญาณดังกล่าวจะไปกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์สารทุติยภูมิหรือ Secondary Metabolite เช่น พวก anthocyanin, limonene, menthol, curcumin ที่ในบางชนิดเรานำมาใช้งานในรูปแบบของยาสมุนไพร ตัวหนึ่งเลยที่ผมกำลังศึกษาอยู่คือ Curcumin ซึ่งเป็นยาสารพัดโรค มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและมีผลการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถเป็น freeradical-scavenger หรือ antioxidant, chemoresistance agent, antimutative agent อย่างกว้างขวาง ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นหลังกระบวนการติดเชื้อและพืชสามารถรอดตายจากการติดเชื้อนั้น

การควบคุมกลไกต่าง ๆ นั้นถูกกำหนดโดยยีนที่เรียกว่า R-genes ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดควบคุมความตอบสนองต่อเชื้อ และกระบวนการต่อต้านเชื้อ R-genes นั้นพบได้หลายชนิดในต้นเดียวและมักจะอยู่เป็นชุด ๆ ผลผลิตของ R-genes ส่วนหนึ่งจะกระจายไปอยู่ตาม membrane เพื่อเป็น receptor เมื่อมีการเกาะของเชื้อ หรือกระจายอยู่ใน Cytoplasm เพื่อตอบสนองต่อโมเลกุลของเชื้อที่เกิดมาจากการรุกราน R-genes นี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานสูง ซึ่งการคัดเลือกด้วยยีน เราจะเรียกว่า Marker assisted selection (MAS)

อ้างอิง: Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006.
และวิชา 416457 Genome & DNA Markers สอนโดยอาจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล และ อาจารย์ดร.วิภา หงษ์ตระกูล




พืชป้องกันตัวจากแมลงได้อย่างไร?

โดยปกติแล้ว พืชมีระบบป้องกันตัว 2 แบบ คือ 1) แบบ Constitutive Defense Response
2) แบบ Induced Defense Response
ซึ่งความแตกต่างอยู่ตรงที่ระบบจะตอบสนองก่อนหรือหลังจากถูกโจมตี การตอบสนองนั้นในบางครั้งได้ผลลัพธ์เป็นสารต่อต้านตัวเดียวกัน นั่นก็คือพวก "สารทุติยภูมิ" (secondary metabolite)

1) แบบ Constitutive Defense Response : คือระบบจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีความจำเพาะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของพืช(species-specific) และระบบจะมีการเก็บรวบรวมสาร ซึ่งอาจใช้เป็น Precursor สำหรับตอบสนองได้ทันทีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นหรือเป็นสารทุติยภูมิที่เป็นพิษต่อแมลง หรือน้ำมันหอมระเหยที่จะดึงดูดแมลงศัตรูธรรมชาติ (Predator) ให้มาจัดการครับ
2) แบบ Induced Defense : เป็นระบบที่เปิดขึ้นเมื่อตรวจพบการโจมตี ซึ่งจะมีการตอบสนองขึ้นอยู่กับระดับการโจมตี ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ชนิด

1. Phloem feeders พวกเจาะกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะทำให้มีบาดแผลเล็กน้อยที่ Epidermis และ Mesophyll cells แต่จะมีการตอบสนองไปในแนวทางของการรับมือกับเชื้อก่อโรคที่ติดตามมากับบาดแผลมากกว่า
2. Cell content feeders พวกกินเนื้อไม้ จะทำให้เกิดบาดแผลปานกลางแก่ต้นพืช
3. Chewing insects พวกปากกัดแทะ เช่นพวกหนอนผีเสื้อ หนอนกินใบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่พืช ซึ่งจะมีระบบตอบสนองแบบจำเพาะ

"ระบบตอบสนองแบบจำเพาะ" ต่อน้ำลายของแมลง : เมื่อมีการโจมตีโดยแมลงศัตรูคู่อาฆาต โมเลกุลในน้ำลายของแมลงจะมีส่วนช่วยในกระบวนการกระตุ้นระบบป้องกันโดยตรง ยกตัวอย่างในหนอนผีเสื้อบางชนิด น้ำลายของมันจะมี "กรดอะมิโน กลูตามิน" อยู่มาก ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับกรดไขมัน, ไลโนเลนิคและ ไลโนเลอิค โดยใช้เอ็นไซม์ที่อยู่ในพืช รวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ Fatty acid-Amino acid หรือ Fatty acid Amides แล้วมีการเติมหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่งที่ 17 ของไลโนเลนิค เรียกชื่อสารนี้ว่า Volicitin ซึ่งสารตัวนี้จะมีความสามารถในการชักนำให้มีการสร้างสารหอมระเหย(Volatine) ในพืชและเมื่อพืชได้รับสัญญาณนี้ก็จะมีการกระตุ้นวิถีป้องกันหลักที่ชื่อว่า Octadecanoid Pathway ที่จะนำไปสู่การสร้างสารสัญญาณ Jasmonic acid (JA)

Jasmonic acid (JA) : จะมีบทบาทต่อไปในการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนพืชบางชนิดที่มีคุณสมบัติขัดขวางการย่อยของแมลงศัตรูพืช อาทิเช่นสาร Alpha amylase inhibitors ที่จะไปเอนไซม์ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตของแมลง และ/หรือ Lectin ที่จะเข้าไปจับกับคาร์โบไฮเดรต หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตโปรตีนหลังจากการย่อย Lectin จะไปจับอยู่กับ Epithelial cells ส่งผลยับยั้งการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย สารตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ "Proteinase Inhibitors" ที่จะไปทำหน้าที่ยับยั้งการย่อยสลายโปรตีน โดยจะไปจับจำเพาะกับเอ็นไซม์เช่น trypsin, chymotrypsin ของแมลงนั้น ๆอย่างไรก็ดี แมลงบางชนิดก็มีการปรับตัวเพื่อให้ตัวมันเองมีความสามารถในการทำลายหรือนำสารต่อต้านของพืชมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้การรุกรานประสบผลสำเร็จแต่พืชเองก็มีการปรับตัวต่อต้านเช่นกันเกิดเป็นวิวัฒนาการร่วมกันต่อเนื่องมาหลายล้านปีต่อมา

แหล่งอ้างอิง : 
1) Linconln Taiz & Eduaro Zeiger, Plant Physiology Fourth Edition, 2006. (Secondary metabolite and plant defence)
2) Molecular Plant Pathology, Annual Plant Reviews V.4Matthew Duckinson และ Jin Beynon
.
Plant Defenses
http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0






 ติดกระดุมเม็ดแรกถูก ถูกทั้งตัว

• เตรียมดินดี
- ไถพรวน
- ปรับสภาพดิน (ด้วย CaSO4)


• เตรียมแปลงดี
- ชักร่อง, ขึ้นแปลง
- มีการ Mulching ด้วยวัสดุธรรมชาติ (ฟางข้าว)


• ระยะปลูกดี
- ระยะะหว่างแถว 120 ซม.
- ระยะต้น 60 ซม.


• กล้าดี
- ปลอดโรค
- รากเยอะ


• ใส่ปุ๋ยดี
- ถูกสูตร
- ถูกเวลา
- ถูกจำนวน
- ถูกวิธี



• ดูแลรักษาดี
- กำจัดวัชพืช
- พ่นยาและวัคซีนเพื่อป้องกันและกำจัดโรค
- พ่นสารป้องกันแมลง (ขับไล่ & สร้างเกราะ
ป้องกัน การเข้าทำลาย)





• เอาอกเอาใจดี
- ให้สารอาหารเสริมที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
- ให้สารอาหารเสริมชนิดพิเศษที่สำคัญและ
เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ)






• เท่านี้..ก็มีชัยไปกว่า 99 % แล้ว ครับท่าน





สอบถามปรึกษาก่อนได้ครับ
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :    @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ