FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ทำไม..ถึงต้องใช้ "ซาร์คอน" (SARCON) และ "แอคซอน"(AXZON)

ทำไม..ถึงต้องใช้ "ซาร์คอน" (SARCON) ?...แช่ท่อนพันธุ์

แช่.."ซาร์คอน" (SARCON)?...แล้วดีอย่างไร ?

ตอบไม่ยาก หากเราเข้าใจและศึกษามันดีๆ




เหตุที่ต้องแช่ "ซาร์คอน" ก็เพราะว่า "ซาร์คอน" ช่วยให้มันสำปะหลังของท่าน "รากดก รากสมบูรณ์ รากแข็งแรง" อีกทั้งยังช่วยสร้างภูมิต้านทาน (Systemic Acquired Resistance:SAR) เพื่อป้องกันโรคและแมลง ตลอดจนช่วยให้พืชของท่านทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought Toterance) ได้ดีขึ้นอีกด้วย

"ซาร์คอน" เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์ที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งต่อกระบวนการ "Revitalize" เซลล์ราก และการแช่ "ซาร์คอน" ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ได้รากที่ดี รากที่เยอะ รากที่สมบูรณ์และที่สำคัญรากนั้นๆต้องพร้อมที่จะเป็นราก "Tuberous root" (รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณที่มากพอจากกระบวนการทำงานในระบบเซลล์รากที่สมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งถ้าพืชมี "ระบบราก" ที่ดีและสมบูรณ์ก็จะนำมาซึ่งผลผลิตที่สวยงามและคุ้มค่ากับการลงทุน






"ซาร์คอน" (SARCON)?..ยังทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (Plant Growth Stimulating) และสร้างภูมิต้านทานโรคต่างๆ( Systemic Acquired resistance: SAR) เพื่อให้พืชเสมือนได้รับ "วัคซีน" ป้องกันโรคต่างๆ อีกทั้งยังช่วยในการสร้างผนังเซลล์(Cell Wall) ให้แข็งแกร่งดั่งคอนกรีตด้วย Silicon(ในรูป Orthosilicic acid) เพื่อเป็นเกราะป้องกันเพลี้ยและแมลงต่าง ๆ ไม่ให้เข้าทำลายพืชได้ ตลอดจนที่สำคัญในปัจจุบันกับปัญหาเรื่อง"ภาวะแล้ง" (Drought Stress).. เป็นภัยธรรมชาติที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้ แต่..สิ่งหนึ่งที่เราพึงกระทำได้นั่นก็คือการสร้าง "ความทนทานต่อสภาพแล้ง" ( Drought Tolerance) ให้แก่พืชด้วยการใช้ "ตัวช่วย" บางอย่างที่สำคัญนั่นก็คือ การใช้กรดอินทรีย์บางตัวที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน" (Hydroxybenzoic acid) ซึ่งได้ทำงานตามหน้าที่ของเขาก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งเท่าที่มีที่เราจะสามารถช่วยพืชได้ในภาวะที่พืชขาดน้ำในช่วงระยะสำคัญของการเจริญเติบโต(Vegetative Growth Stage) "ตัวช่วย" นี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้กลไกในกระบวนการทำงานภายในของพืชเกิดการสะดุดหรือเสียหายลงไป และ..นี่จึงเป็นคำตอบเดียวที่ว่า.. "ทำไม..หลายๆคนจึงต้องใช้ "ซาร์คอน" แช่ท่อนพันธุ์ และฉีดพ่นต้นมันสำปะหลังด้วย "ซาร์คอน" ตลอดไป












สรุป: หน้าที่หลักๆบางอย่างของ"ซาร์คอน"

1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และพร้อมที่จะเป็นรากสะสมอาหาร(Tuberous root )เป็นส่วนใหญ่

2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคเสมือนพืชได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)

3) Drought Tolerance พืชทนทานความแห้งแล้ง ความร้อนของอากาศ ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ ได้ดีขึ้น

4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังเซลล์แข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูดน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัส

5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้าง รวมทั้งธาตุโลหะหนักในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดสารพิษไว้

6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน อาทิ ฟอสเฟต เป็นต้น


























สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
084-8809595 , 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (อย่าลืม ใส่@ หน้าorganellelife.com ด้วยนะครับ)

www.organellelife.com
http://www.organelle1.blogspot.com/2015/08/tuberization.html
http://www.organelle1.blogspot.com/2016/02/blog-post_14.html





ทำไม..ถึงต้องใช้ "แอคซอน" (AXZON) ?..สั่งมันลงหัว

ใช้.."แอคซอน" (AXZON) แล้วดีอย่างไร ?

ตอบไม่ยาก หากเข้าใจและศึกษามันดีๆ




แอคซอน (AXZON) : มีบทบาทต่อการทำงานในกระบวนการ Tuberization (ลงหัว)

แอคซอน (AXZON) คือส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ Tuberization (กระบวนการลงหัว)

เหตุที่ต้องใช้ "แอคซอน" ก็เพราะว่า "แอคซอน" (AXZON) เป็นสารสำคัญที่ช่วยให้มัน "ลงหัว" ช่วยให้มันสำปะหลังของท่านลงหัวเร็ว ลงหัวดี "หัวดก หัวใหญ่" ตลอดจนถึงยังช่วยให้มันสำปะหลังของท่านทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought Toterance) ได้ดีขึ้นอีกด้วย

"แอคซอน" (AXZON) : ไม่ใช่ปุ๋ยน้ำ ไม่ใช่ปุ๋ยเหลว ไม่ใช่ปุ๋ยเทวดา ไม่ใช่ฮอร์โมนนางฟ้า ไม่ใช่สารจากดาวอังคาร หรือสารนาโนใดๆทั้งสิ้น

แต่.."แอคซอน" (AXZON) คือกรดอินทรีย์สังเคราะห์ (The Synthesis of Organic acid)ที่จำเป็นและที่มีประโยชน์หลายๆตัว ซึ่งทำหน้าที่สำคัญต่อการทำงานในกระบวนการลงหัว (Tuberization) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในพืชลงหัวทุกชนิดที่จะขาดเสียมิได้




กระบวนการ "TUBERIZATION"

เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลังเมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีนอีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน

กระบวนการลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว(Momosaccharides)ตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงเองได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น( ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์" (ZUKAR-Highway) ร่วมด้วยจึงมีผลดีอย่างยิ่งต่อมันสำปะหลัง)




“Photoperiod” : ในธรรมชาติ “Photoperiod” หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก

“การลงหัว”(Tuberization) : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ JA ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้


1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) : เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน

2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) : เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”


3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) : ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวอย่างมีประสิทธิภาพ,สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว และการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น



ไม่ว่าจะไปปลูกพืชอะไรๆ ที่ไหนๆ ปัจจัยอื่นๆจะเป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างเรื่องพันธุ์ เรื่องดิน เรื่องน้ำ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม อาทิ สภาพดินฟ้าอากาศ อาจร้อนแล้งหรือหนาวเย็น หรือสภาพพื้นที่ สภาพที่ดิน สภาพการดูแลปฏิบัติ และอื่นๆ แต่สิ่งที่ยังคง "เหมือนกัน" อยู่ไม่ว่าจะปลูกพืชที่ใดและมีปัจจัยอื่นๆแตกต่างกันอย่างไรก็ตามทีนั่นก็คือ "กระบวนการทำงานต่างๆภายในของพืช" ทั้งทางด้าน Physiological ,Biological หรือ Biochemical ก็ยังคงเป็นกระบวนการเดิมเหมือนกัน เพียงแต่กระบวนการทำงานต่างๆของพืชเหล่านี้ของมันจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์และเป็นปกติได้หรือไม่ หรือจะทำอย่างไรให้มันมีประสิทธิภาพมากที่ดีที่สุดให้ได้ก็เท่านั้น ซึ่งเราต้องติดตามดูกันอย่างใกล้ชิดและเข้าใจต่อไป




สำหรับ..มันสำปะหลัง "รากคือหัว หัวคือราก" แต่..รากทุกราก จะเป็นหัวหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวแปร

แต่ถ้าจะหา "ตัวช่วย" ที่ใช่ ให้มันลงหัวสมบูรณ์ "หัวดก หัวใหญ่ ลงหัวไว"

โปรดให้ความไว้วางใจใน "แอคซอน" (AXZON) : สารสำคัญในกระบวนการลงหัว( Tuberization) ให้ทำหน้าที่สำคัญ เพื่อ "ประกันมันลงหัว" ของท่านต่อไป








































สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
084-8809595 , 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (อย่าลืม ใส่@ หน้าorganellelife.com ด้วยนะคะ)

www.organellelife.com
http://www.paccapon.blogspot.com/2015/08/tuberization.html
http://www.paccapon.blogspot.com/2015_11_01_archive.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น