FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ทำไม..ถึงต้องใช้ "แอคซอน" (AXZON) ?..สั่งมันลงหัว

ทำไม..ถึงต้องใช้ "แอคซอน" (AXZON) ?..สั่งมันลงหัว

ใช้.."แอคซอน" (AXZON) แล้วดีอย่างไร ?

ตอบไม่ยาก หากเข้าใจและศึกษามันดีๆ




แอคซอน (AXZON) : มีบทบาทต่อการทำงานในกระบวนการ Tuberization (ลงหัว)

แอคซอน (AXZON) คือส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ Tuberization (กระบวนการลงหัว)


เหตุที่ต้องใช้ "แอคซอน" ก็เพราะว่า "แอคซอน" (AXZON) เป็นสารสำคัญที่ช่วยให้มัน "ลงหัว" ช่วยให้มันสำปะหลังของท่านลงหัวเร็ว ลงหัวดี "หัวดก หัวใหญ่" ตลอดจนถึงยังช่วยให้มันสำปะหลังของท่านทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought Toterance) ได้ดีขึ้นอีกด้วย


"แอคซอน" (AXZON) : ไม่ใช่ปุ๋ยน้ำ ไม่ใช่ปุ๋ยเหลว ไม่ใช่ปุ๋ยเทวดา ไม่ใช่ฮอร์โมนนางฟ้า ไม่ใช่สารจากดาวอังคาร หรือสารนาโนใดๆทั้งสิ้น

แต่.."แอคซอน" (AXZON) คือกรดอินทรีย์สังเคราะห์ (The Synthesis of Organic acid)ที่จำเป็นและที่มีประโยชน์หลายๆตัว ซึ่งทำหน้าที่สำคัญต่อการทำงานในกระบวนการลงหัว (Tuberization) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในพืชลงหัวทุกชนิดที่จะขาดเสียมิได้




กระบวนการ "TUBERIZATION"

เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลังเมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีนอีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน

กระบวนการลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว(Momosaccharides)ตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงเองได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น( ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์" (ZUKAR-Highway) ร่วมด้วยจึงมีผลดีอย่างยิ่งต่อมันสำปะหลัง)




“Photoperiod” : ในธรรมชาติ “Photoperiod” หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก

“การลงหัว”(Tuberization) : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ JA ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้


1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) : เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน

2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) : เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”


3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) : ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวอย่างมีประสิทธิภาพ,สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว และการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น



ไม่ว่าจะไปปลูกพืชอะไรๆ ที่ไหนๆ ปัจจัยอื่นๆจะเป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างเรื่องพันธุ์ เรื่องดิน เรื่องน้ำ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม อาทิ สภาพดินฟ้าอากาศ อาจร้อนแล้งหรือหนาวเย็น หรือสภาพพื้นที่ สภาพที่ดิน สภาพการดูแลปฏิบัติ และอื่นๆ แต่สิ่งที่ยังคง "เหมือนกัน" อยู่ไม่ว่าจะปลูกพืชที่ใดและมีปัจจัยอื่นๆแตกต่างกันอย่างไรก็ตามทีนั่นก็คือ "กระบวนการทำงานต่างๆภายในของพืช" ทั้งทางด้าน Physiological ,Biological หรือ Biochemical ก็ยังคงเป็นกระบวนการเดิมเหมือนกัน เพียงแต่กระบวนการทำงานต่างๆของพืชเหล่านี้ของมันจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์และเป็นปกติได้หรือไม่ หรือจะทำอย่างไรให้มันมีประสิทธิภาพมากที่ดีที่สุดให้ได้ก็เท่านั้น ซึ่งเราต้องติดตามดูกันอย่างใกล้ชิดและเข้าใจต่อไป




สำหรับ..มันสำปะหลัง "รากคือหัว หัวคือราก" แต่..รากทุกราก จะเป็นหัวหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวแปร

แต่ถ้าจะหา "ตัวช่วย" ที่ใช่ ให้มันลงหัวสมบูรณ์ "หัวดก หัวใหญ่ ลงหัวไว"

โปรดให้ความไว้วางใจใน "แอคซอน" (AXZON) : สารสำคัญในกระบวนการลงหัว( Tuberization) ให้ทำหน้าที่สำคัญ เพื่อ "ประกันมันลงหัว" ของท่านต่อไป








































สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
084-8809595 , 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (อย่าลืม ใส่@ หน้าorganellelife.com ด้วยนะครับ)

www.organellelife.com
http://www.paccapon.blogspot.com/2015/08/tuberization.html
http://www.paccapon.blogspot.com/2015_11_01_archive.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น