FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ทางเบี่ยงเลี่ยงสารพิษ BypassChemicalPesticides

ทางเบี่ยงเลี่ยงสารพิษ 
BypassChemicalPesticides

▪️ซิกน่า : ZIGNA
สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง


▪️การป้องกันตนเองของพืช
(Plant Defense Response)

1. การป้องกันทางกายภาพ (Physical Barriers)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ) ได้แก่Leaf hairs, Waxy cuticles, Actin microfilament, ect.
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น)Cell wall Strengthening, Lignification, Cell death, etc

2. การป้องกันทางเคมี (Chemical Defenses)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ) ได้แก่
สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ อาทิเช่น Alkaloids, Saponins, Terpenoids ในน้ำยาง เป็นต้น
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น)
1) Local Resistance อาทิ Phytoalexins, NO, ROI, etc.
2) Systemic Resistance (Signaling Defense) อาทิ SAR, ISR, SWR เป็นต้น




Plant Systemic Defenses
ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack) ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway

2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway

3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่งสัญญาณทาง JA-Signaling Pathway



Cell Signaling in Resistance
(การส่งสัญญาณเซลล์เพื่อป้องกันตนเองของพืช)

1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitors) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธ์เชื้อโรคบางชนิด ปล่อยสารชักนำ (Elicitors) ไปยังพืชที่มีตัวรับสัญญาณ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำ (Elicitors) นั้นๆ และเกิดสัญญาณเซลล์ขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (Messengers) ไปยังเซลล์อื่นๆทั่วทั้งต้น ที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณ (Messengers) ที่สำคัญได้แก่ Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ

3. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองของเซลล์ต่อการถูกบุกรุก

4. การรับรู้ที่เกิดขึ้น ได้ส่งสัญญาณให้ Defense genes สร้างสารต่อต้านการบุกรุกต่างๆขึ้นมา

ข้อสังเกต : Nonhost Plant และ Host Plant ที่ต้านทานโรค จะมีผนังเซลล์ที่สามารถรับรู้การถูกบุกรุกจากสารชักนำ (Elicitors) ของเชื้อโรค ชนิดหนึ่งๆ ได้ ขณะที่พืชไม่ต้านทานโรคจะไม่สามารถรับรู้สารชักนำ (Elicitors) ของเชื้อโรคนั้นๆได้






กลไกการทำงานของ ซิกน่า (ZIGNA)

JA-Signaling Pathway

1. เกิดจากชิ้นส่วนผนัง Cell Wall ของพืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลงได้เป็น Oligosaccharides, Systemin หรือสารชักนำ (Elicitors) ไปจับกับ Receptors ของพืชที่ผนัง Cell Membrane ทำให้พืชย่อยสลายไขมันของผนังเซลล์ และเปลี่ยน Linoleic acid เพื่อสังเคราะห์เป็น Jasmonic acid ซึ่งจะเป็นสารส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วทั้งต้น และกระตุ้นให้ Plant Defense genes สร้างสารหลายๆชนิดออกมาเพื่อต่อต้านโรคและแมลง

2. ในกรณี ISR โมเลกุลรูปแบบของเชื้อโรค (PAMPs) ที่อยู่ในผนังเซลล์ด้านนอกของ PGRP จะเป็นสารชักนำ (Elicitors)

3. เอนไซม์ในน้ำลายหรือสารหลั่งของแมลงบางชนิดอาจจะย่อยสลาย Linoleic acid ไปเป็น Jasmonic acid (JA) ได้โดยตรง



.......................................................................

JA-Signaling Pathwayกับการต่อต้านเชื้อโรค

1. สารต่อต้านเชื้อโรคเป็นลักษณะ Broad Spectrum ออกฤทธิ์ได้ดีกับ Necrotrophic Pathogens ทุกชนิด

2. สารต่อต้านเชื้อโรคประกอบด้วย Defense Proteins หลายชนิดเช่น Defensins, Basic PR-Proteins, Hevein-like Proteins, Thionins,etc.

3. PR-Proteins เหมือน SAR แต่เป็น Basic PR-Proteins และอยู่ในช่องว่างในเซลล์ (Vacuole)

4. เกิด Priming Effect ทำให้พืชตอบสนองและต่อต้านการติดเชื้อโลกครั้งต่อไปได้เร็วและมากขึ้น

5. เสริมฤทธิ์กับ SA-Signaling Pathwayในการต่อต้านเชื้อโรค เพราะสารต่อต้านเชื้อโรคต่างชนิดกัน


JA-Signaling Pathway กับการต่อต้านแมลง

▪️สารต่อต้านแมลงที่ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. Alkaloids ต่างๆ อาทิ Nicotine, Saponin, เป็นต้น ทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง มีผลต่อเอนไซม์ต่างๆ

2. Proteinase Inhibitors (PIs) มีผลต่อเอนไซม์ในการย่อยของแมลง ทำให้ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแมลงและทำให้สร้างน้ำย่อยในทางเดินอาหารมากเกินไป

3. Volatile Signals อาทิ Terpenes, Indoles, ฯลฯ สารระเหยส่งเป็นสัญญาณ มีผลทางตรงในการไล่แมลงศัตรูพืช และมีผลทางอ้อมโดยเรียกแมลงล่าเหยื่อ (Predators) มากำจัดแมลงศัตรูพืชนอกจากนั้นยังส่งสัญญาณเตือนภัยไปให้กับพืชอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงด้วย





SA-Signaling Pathway กับการต่อต้านเชื้อโรค

1. avr-gene (Elicitor) จากเชื้อโรคเมื่อจับกับ R-gene (Receptor) ของพืช จะเกิด Hypersentitive Response (HR) ทำให้เกิดการตอบสนองในเซลล์และสังเคราะห์ Salicylic acid (SA) ออกมา เป็นสารส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วทั้งต้น และกระตุ้นให้ PR-gene สร้าง PR-Proteins ออกมาต่อต้านเชื้อโรค

2. PR-Proteins ที่เกิดขึ้นมีหลายตัว ซึ่งมีกลไกต่อต้านเชื้อโรคที่แตกต่างกันออกไป ทำให้สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้หลายตัวพร้อมๆกัน (Broad Spectrum) และออกฤทธิ์ดีกับ Biotrophic และ Hemi-Biotrophic Pathogens ทั้งในเชื้อราแบคทีเรีย และไวรัส

3. PR-Proteins จาก SAR เป็น Acidic PR-Proteins และอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular Space)

4. แบคทีเรียบางชนิดบริเวณราก (PGPT) สามารถทำให้เกิด SA-Signaling Pathway ในระบบ ISR ได้
.......................................................................















ประโยชน์ของการใช้ซิกน่า

1. ใช้เพื่อเป็น “วัคซีนพืช” : สร้างภูมิต้านทานโรค
และแมลงก่อนที่เชื้อโรคและแมลงจะเข้าทำลาย

2. ใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคพืชทั่วไป และโรคพืช
ที่รักษายาก และยังไม่มียารักษาโดยตรง อาทิเช่น
โรคที่เกิดจากไวรัส (ใบหงิก, ใบด่าง ฯลฯ)
โรคกรีนนิ่ง เป็นต้น

3. ใช้เพื่อช่วยลดการระบาดของแมลงที่เป็นศัตรูพืช
และแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆสู่พืช

4. ทั้งประหยัด ทั้งปลอดภัย เพราะสามารถลดการใช้
ยาเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคและฆ่าแมลง ที่มีพิษสูง

5. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ใช้ได้จนกระทั่งถึงช่วงเก็บ
เกี่ยว เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง

6. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและความแข็งแรงให้
แก่พืช ช่วยฟื้นฟูสภาพของต้นพืชที่สุดโทรม และ
ยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชด้วย




เทคนิคการใช้ ซิกน่า

1. แนะนำควรใช้เป็นวัคซีนพืช ในการป้องกัน
มากกว่าที่จะใช้รักษา

2. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงอาจ
เพิ่มอัตราการผสมจากปกติ 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
(อัตรา 1 : 2,000) เป็น 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
(อัตรา 1 : 1,000) และฉีดพ่นถี่ขึ้นมาเป็นทุกๆ 5
วัน

2. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลง อาจ
ใช้ร่วมกับยาตัวอื่นๆอาทิ “อีเรเซอร์-1” หรือ
“คาร์บ๊อกซิล-พลัส” ได้

3. ถ้าพบมีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลง ควรมี
การใช้ร่วมกับ พาร์ทเวย์, พาร์ทเวย์-เพาเวอร์ไฟว์
หรือซูการ์-ไฮเวย์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์สารสร้าง
ภูมิต้านทานโรคและแมลงให้เพียงพอ
........................................................................

http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=0
Plant Defenses & วายร้าย ไวรัส

http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
โลกร้อน แมลงเรืองอำนาจ

https://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=1
ซิกน่า และ อีเรเซอร์-1

————————————————————



ข้อมูลอ้างอิง
https://www.frontiersin.org/ar…/10.3389/fpls.2018.01065/full

https://www.semanticscholar.org/…/6f4ce6ac23c369e2854d50fb5…

https://bioone.org/…/Three-Way-Intera…/10.1603/EC13476.short

http://www.seer.ufu.br/…/biosc…/article/viewFile/22754/16452

http://www.tropentag.de/2008/abstracts/full/342.pdf

https://uknowledge.uky.edu/cgi/viewcontent.cgi…

https://stud.epsilon.slu.se/3834/1/markgren_j_120126.pdf

https://www.cambridge.org/…/EA41BDA0DEF5B962997C12A311DCD7A0

https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/pce.12257

https://www.degruyter.com/…/znc-2004-1…/znc-2004-11-1215.pdf

https://bmcplantbiol.biomedcentral.com/…/10.…/1471-2229-9-97

https://journals.plos.org/plosone/article…



-------------------------------------


สอบถามปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
(โทร. จ-ศ 9.30-18.00 ,ส 9.30-12.00)

📲Line id :   @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยนะครับ)

คลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อสอบถามและขอคำแนะนำ หรือสั่งซื้อได้
https://lin.ee/nTqrAvO
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น