FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

อัตราแปรสภาพ (Ratio)

ทางออก..อีกหนึ่งทาง
ของอาชีพการปลูกพืชบางพืช ที่ต้องมีการแปรสภาพจากสดเป็นแห้ง  (อาทิ ยาสูบ, พริก, หอม, กระเทียม, ลำไย, ยางพารา
ฯลฯ)

อัตราแปรสภาพ (Ratio)   มีความสำคัญอย่างไร?

ทำไม?..ต้องให้ความสำคัญ  กับ..”อัตราแปรสภาพ” (Ratio)

อัตราแปรสภาพ (Ratio) คือ
สัดส่วนการแปรสภาพจาก "ผลผลิตสด" เป็น "ผลผลิตแห้ง"

ตัวอย่าง : กรณีศึกษาใบยาสูบ

อาทิเช่น ผลผลิตใบยาสูบ(สด) 8 กิโลกรัม
แปรสภาพเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม
แสดงว่ามี “อัตราแปรสภาพ” (Ratio) เท่ากับ 8 : 1





แล้วมันส่งผลดีอย่างไรบ้าง? 
ต่อการพยายามปรับ  “อัตราแปรสภาพ” (Ratio)

สิ่งที่เราจะพบเห็นได้ก็คือ :

1. ต้นทุนการผลิตใบยาสูบ (แห้ง) ลดลง

2. ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น

3. คุณภาพของผลผลิตใบยาสด สูงขึ้น

ถ้าเราต้องผลิตสินค้าพืชผลทางการเกษตรจาก "ผลผลิตสด" ให้ออกมาเป็น "ผลผลิตแห้ง"
เราควรคำนึงถึง "อัตราแปรสภาพ" (Ratio)
เพราะ..นั่นหมายถึง
ต้นทุนการผลิตที่ลดลง คุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้น
และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

อาทิเช่น

1. ต้นทุนการผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ลดลง

1.1) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 8 กิโลกรัม
บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม (เรโช 8:1)
ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท
เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม (แห้ง) = 56 บาท

1.2) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 7 กิโลกรัม
บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม (เรโช 7:1)
ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท
เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 49 บาท

1.3) ใบยาสูบ(สด) น้ำหนัก 6 กิโลกรัม
บ่มเป็นใบยาสูบ(แห้ง) ได้ 1 กิโลกรัม (เรโช 6:1)
ราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท
เราจะมีต้นทุน/ 1 กิโลกรัม(แห้ง) = 42 บาท

จะเห็นได้ว่า
- ถ้าเราทำให้ “อัตราแปรสภาพ” (Ratio)
ลดลงได้ 1 หน่วย (การแปรสภาพ)
เราก็จะลดต้นทุนการผลิตใบยาแห้ง
ไปได้เท่ากับราคารับซื้อใบยาสูบ (สด) 1 กิโลกรัม
(หรือลดต้นทุนลงได้เท่ากับ 7.00 บาท)
- ถ้าเราทำให้ “อัตราแปรสภาพ” (Ratio)
ลดลงได้ 2 หน่วย (การแปรสภาพ)
เราก็จะลดต้นทุนการผลิตใบยาแห้ง
ไปได้เท่ากับราคารับซื้อใบยาสูบ (สด) 2 กิโลกรัม
(หรือลดต้นทุนลงได้เท่ากับ 14.00 บาท)

ซึ่ง..ถ้าเราสามารถลดเรโช (Ratio) ลงได้ 1-2 เรโชเราก็สามารถลดต้นทุนใบยาสูบ(แห้ง) ลงได้ตั้งแต่
7-14 บาทต่อกิโลกรัมใบยาสูบ(แห้ง) เลยทีเดียว

นั่นคือ..
กำไรใบยาสูบ(แห้ง) ที่เราควรจะได้รับ
โดยไม่ทิ้งไปให้สูญเปล่า
กำไรมันจะเพิ่มขึ้นจากค่ารับซื้อใบยาสดที่ลดลง
จากการใช้จำนวนใบยาสด/1 กิโลกรัมใบยาแห้งที่ลดลงไป
ว่าเราทำให้ลดลงได้กี่กิโลกรัม/กิโลกรัมใบยาแห้ง ( ลดลงได้กี่ “เรโช” (Ratio) นั่นเอง)

2. ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ต่อไร่เพิ่มขึ้น

อาทิเช่น
กรณีเรามีพื้นที่ปลูกยาสูบ 700 ไร่
ผลผลิตใบยาสดเฉลี่ยต่อไร่ 4,000 กิโลกรัม/ไร่
เราจะได้ผลผลิตใบยาสด(รวม)
= 2,800,000 กิโลกรัม

2.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 8 : 1
เราจะได้ใบยาแห้ง 350,000 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
(หรือ 500 กก/ไร่)

2.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 7 : 1
เราจะได้ใบยาแห้ง 400,000 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
(หรือ 571 กก/ไร่)

3.1) ถ้าอัตราแปรสภาพ (Ratio) 6 : 1
เราจะได้ใบยาแห้ง 466,600 กิโลกรัม (ใบยาแห้ง)
(หรือ 666 กก/ไร่)

จะเห็นนะครับว่า ปลูกยาสูบพื้นที่ 700 ไร่ เท่ากัน ผลผลิตใบยาสด/ไร่ เท่ากัน
แต่..ได้ผลผลิตใบยาแห้ง/ไร่ ไม่เท่ากัน

ดังนั้นพื้นที่ปลูก 700 ไร่
ถ้าเราพัฒนาคุณภาพใบยาสูบ(สด) ให้มีคุณภาพดี
และ..ให้มี อัตราแปรสภาพ (Ratio) แคบได้มากเท่าไหร่ เราก็จะได้ผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น (ดังตัวอย่าง)

และอีกเช่นกัน
ผลผลิตใบยาสด 2,800,000 กิโลกรัม (จากพื้นที่ปลูก 700 ไร่)
ถ้าราคารับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาทใช้เงินทุนรับซื้อผลผลิตใบยาสดไปทั้งสิ้น 19,600,000 บาท


และ..จากผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) ที่ได้

1. ใบยาสูบ(แห้ง) 350,000 กิโลกรัม
เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กก.ละ 56.00 บาท (จาก Ratio 8 : 1)

2. ใบยาสูบ(แห้ง) 400,000 กิโลกรัม
เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กก.ละ 49.00 บาท (จาก Ratio 7 : 1)

3. ใบยาสูบ(แห้ง) 466,000 กิโลกรัม
เฉลี่ยต้นทุนผลผลิตใบยาสูบ(แห้ง) กก.ละ 42.00 บาท (จาก Ratio 6 : 1)

3. คุณภาพของผลผลิตทั้งสดและแห้งเพิ่มขึ้น :
อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่ดี มีอัตราที่แคบ
จะหมายถึง "คุณภาพ" ที่ดีทั้งใบยาสูบ(สด)
และใบยาสูบ(แห้ง) จะคุณภาพดีมากและมีเกรดสูงมากขึ้น มีส่วนที่เป็นใบยาสูบคุณภาพต่ำน้อย
นั่นหมายถึง..จะทำให้เราขายใบยาสูบ(แห้ง)
ได้ในราคาสูงขึ้น จนนำมาซื้อราคาใบยาสูบ (สด) ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อๆไปได้นั่นเอง

มาถึงตรงนี้...
จึงอยู่ที่ว่า "เราจะทำอย่างไร?"
และ "เราจะทำได้ไหม?"
ตอบว่า.."ไม่ยาก"
หาก..ชาวไรเข้าใจ และให้ความร่วมมือ

ปัจจัยใดๆ ที่มีส่วนสำคัญ
ในการทำให้บรรลุเป้าหมายตรงนี้
เราต้องเร่งศึกษา เพราะว่าในปัจจุบันนี้..
พื้นที่ปลูกก็มีจำกัดมากขึ่นไปเรื่อยๆ
จำนวนเกษตรกรที่ปลูกก็มีน้อยลง
เราคงต้องเน้นเรื่องของการ "เพิ่มผลผลิต/ไร่” ให้สูงขึ้น และ “เพิ่มคุณภาพ" เพื่อลดเรโช (Ratio) ให้แคบลง และตั้งราคารับชื้อผลผลิตใบยาสดให้สัมพันธ์กัน
มากที่สุด เพื่อทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้นเป็นลำดับนั่นเอง

ดังนั้น..เราคงต้องหา
"แนวทาง” ที่เหมาะสม
และ..ตัวช่วย" ที่ใช่ต่อไป
เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ นั่นคือ
“เพิ่มคุณภาพ” และ “ลดความเสียหาย”
ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ “อัตราแปรสภาพ” (Ratio) ให้แคบลงได้มากที่สุด
เพื่อให้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด
และ..เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้มากที่สุด

หมายเหตุ :
แนวคิดเกี่ยวกับ อัตราแปรสภาพ (Ratio) ที่กล่าวมานี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางกับพืชอื่นๆ ที่ต้องมีการแปรรูปจาก "ผลผลิตสด" ไปเป็น "ผลผลิตแห้ง" ได้ทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นยางพารา มันสำปะหลัง ลำไย พริก, หอม กระเทียม ฯลฯ เป็นต้น เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพสูงและต้นทุนต่ำ และสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้
และเป็นที่ต้องการของตลาด

"โลกเปลี่ยน พืชต้องปรับ"
"โลกเปลี่ยน เกษตรต้องปรับ"





สอบถามเพิ่มเติม
📞084-8809595, 084-3696633
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ

https://lin.ee/nTqrAvO


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น