FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

มหันตภัยไวรัสใบด่าง กับ Long-Mosaic Virus

 มหันตภัย..ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Virus Deseases : CMVD)

ภัยที่ยิ่งใหญ่ และร้ายแรง สำหรับอาชีพการปลูกมันสำปะหลัง
ที่จะทำลายให้เกิดความเสียหาย ได้ทั้งผลผลิต และรายได้
โดยเฉพาะ “ภัยเงียบ” จาก “ผลอันไม่พึงประสงค์” (Long Mosaic Virus : LMV) ที่จะเกิดขึ้นตามมา หลังจากที่ต้นมันสำปะหลังได้รับเชื้อไวรัส และเป็นโรคแล้ว

👉 “การป้องกัน” สำคัญกว่า “การรักษา”


🔴 วัคซีนพื้นฐาน
สำหรับ ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง
👉 “ซาร์คอน + ซิกน่า”

🟣 ปลูกมันสำปะหลัง จะต้องทำอย่างไร ไม่ให้ติดไวรัส
ใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Virus
Desease : CMVD) จะดีที่สุด เพราะว่า ถ้าติดไวรัส
ขึ้นมาแล้ว ผลที่ติดตามมา มันน่ากลัว และความ
เสียหายของมัน ก็ร้ายแรงมาก

👉 เพราะ..สิ่งที่สำคัญ คือ ผลอันไม่พึงประสงค์จาก
“Long-Mosaic Virus”
- ระบบราก ผิดปกติ
- ลงหัว ไม่สมบูรณ์
- หัวผิดปกติ เนื้อฟ่าม
- หัว เน่าง่าย เสียหาย
- ราก/ โคนต้น เน่า
👉 “การป้องกัน” สำคัญกว่า “การรักษา”
👉 “การป้องกัน” ที่ถูกวิธี จะเป็นสิ่งที่ดี และถูกต้องที่สุด
…………………………………………………………………..
● ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Virus
Desease : CMVD)
- มันติดกันง่าย แพร่กระจายเร็วมากที่สุด มันน่ากลัว
น่าวิตกกังวลมาก เพราะมีตัวพาหะนำเชื้อ อย่าง
แมลงหวี่ขาว (Whitefly : Bemisia tabaci) ช่วย
แพร่เชื้อได้เร็วมาก ตัวเลขพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่
ติดไวรัสใบด่าง จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และลามไป
ทั่วในเกือบทุกจังหวัดที่มีการปลูกมันสำปะหลัง ทั้ง
ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง
และภาคเหนือ
● วัคซีน ที่ควรมีติดไร่-ติดสวน ไว้ อย่าให้ได้ขาด ใน
เบื้องต้น คือ..”ซิกน่า + “ซาร์คอน” (ชุดคุ้มครอง &
ป้องกัน) และวัคซีนตัวถัดไป ก็คือ “ซิกน่า + อีเร
เซอร์-1” (ชุดพิชิตไวรัส”) เป็นต้น
- หลังยับยั้งเชื้อไวรัสได้ ไม่ให้ลุกลาม พืชก็สามารถ
ไปต่อได้ แต่ท่านก็อย่าวางใจทั้งหมด เพราะที่น่า
กังวลมากที่สุด คือ เมื่อพืชหายแล้ว ไม่พบอาการ
แต่ต้นมันสำปะหลัง อาจยังมี “อาการไม่พึง
ประสงค์” แฝงอยู่ที่เรารู้ว่ามันเป็นผลเสียหาย ที่
เรียกว่า “Long-Mosaic” (คล้ายๆ กับ Long-
COVID-19 ในคนเรา) มันสำปะหลังหลายๆ ต้น
หนีไม่พ้น ผลเสียนี้ ที่จะให้หมดไป แบบ 100%
👉เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้..เถอะ !! ครับ
อย่า..ไปรอให้ติดไวรัสเสียก่อน แล้วค่อยกระตือรือล้น
หาทางแก้ปัญหา อย่า..ไปรอให้ “วัวขาย แล้วค่อย
มาล้อมคอก” มันจะได้ไม่เท่าเสีย
🟣 การป้องกันที่ถูกวิธี จะเป็นสิ่งที่ดี และถูกต้องที่สุด
…………………………………………………………………..
🔴 แนวทางเบื้องต้น ในการแก้ปัญหาไวรัสใบด่าง
มันสำปะหลัง
1. การประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ทราบถึง
ความเสียหาย และความรุนแรงของโรคนี้ ซึ่งนับ
ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากถึงมากที่สุด
2. หมั่นสำรวจแปลงให้บ่อยขึ้น หากพบโรคหรือ
พาหะโรคให้รีบแจ้งเกษตรตำบล เกษตรอำเภอใน
พื้นที่โดยด่วน
3. ซื้อท่อนพันธุ์ที่จะใช้ปลูก จากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่า
ไม่พบการระบาดของโรคนี้
4. ทำลายต้นมันที่เป็นโรคไวรัสใบด่างทิ้ง เพื่อตัด
ต้นตอของแหล่งแพร่เชื้อไวรัส
5. แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ด้วยสารที่ปลอดภัย เพื่อ
ป้องกันแมลงพาหะนำเชื้อ พร้อมทั้งกระตุ้นการ
สร้างภูมิต้านทานไวรัส (เสมือนพืชได้รับ “วัคซีน”
ป้องกันโรค)
6. ฉีดยาป้องกันแมลงพาหะ (แมลงหวี่ขาว) ให้มัน
สำปะหลังที่ยังปกติไว้แต่แรก เพื่อป้องกันไม่ให้มี
การนำเชื้อมาสู่พืช
7. ฉีดสารกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคไวรัส
(Systemic Acquired Resistance : SAR) ไว้ให้
พืช เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันโรค ป้องกัน, ยับยั้ง, และ
ควบคุมเชื้อ ให้กับต้นที่ยังไม่เป็นไวรัสใบด่าง
หรือต้นที่ได้รับเชื้อแล้ว แต่เป็นในระยะแรกๆ เพื่อ
ไม่ให้เชื้อลุกลาม แพร่ขยาย และระบาดต่อไป
● แนวทางนี้ อาจจะช่วยให้ต้นมันสำปะหลัง ที่ยังไม่ได้
รับเชื้อ สามารถไปต่อได้ แต่ต้องปฏิบัติอย่างต่อ
เนื่อง




…………………………………………………………………..
🚫 การ์ด อย่า !! ตก
👉 และวิธีที่ดีที่สุด คือการป้องกันตั้งแต่แรกปลูก ตั้งแต่
การคัดท่อนพันธุ์ที่ปลอดเชื้อไวรัส, การแช่ท่อน
พันธุ์, การฉีดยาป้องกันทั้งยาป้องกันแมลงพาหะ
(แมลงหวี่ขาว) และยาสร้างภูมิคุ้มกันไวรัส (SAR)
ทำร่วมกัน ก็จะป้องกันปัญหาได้ในระดับดีทีเดียว
👉 อย่ามองข้ามความร้ายแรง ของโรคไวรัสใบด่างมัน
สำปะหลัง เพราะมันสามารถทำให้เกิดความเสีย
หายจนทำลายอาชีพการปลูกมันสำปะหลังไปได้
โดยไม่รู้ตัว “การป้องกัน” ทุกแนวทางที่คิดว่าจะแก้
ปัญหาได้ให้ครบถ้วนจะดีที่สุด ดีกว่าจะมา “แก้
ปัญหาเฉพาะหน้า” เพราะว่าไวรัสรักษาไม่ได้
นอกจากจะป้องกันและยับยั้งเชื้อไว้ไม่ให้แพร่
ระบาดต่อไป
● คู่..ปกป้องและคุ้มครอง โรคและแมลง
“ซิกน่า + ซาร์คอน” (Zigna + Sarcon)
คือ..ทางออก ที่สำคัญและจำเป็นในยุคนี้
👉 “ตัวช่วย” ที่สำคัญและจำเป็นในเบื้องต้น เพื่อ
ปกป้องและคุ้มครองพืช ทั้งโรคและแมลง ตลอด
จนจากสภาวะแวดล้อมด้านดินฟ้าอากาศ (ร้อน,
แล้ง, หนาว ฯลฯ)
▪️ซิกน่า : SA + JA + MA + AmA
▪️ซาร์คอน : SA + MSA
- SA : Salicylic acid, JA : Jasmonic acid
- MSA : Monosilicic acid, MA : Malic acid
- AmA : Amino acid
.......................................................................
🟣 ซิกน่า :
- สารชักนำการส่งสัญญาณ (ISR) เพื่อการขับไล่
แมลงศัตรูพืช ที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัส
- ส่งสัญญาณดึงดูดแมลงพิฆาต (Attraction of
Predator) เพื่อมากำจัดศัตรูของพืชด้วย
- ส่งสัญญาณ HR เพื่อการกระตุ้นการสร้างภูมิ
ต้านทานโรคพืช (SAR)
- กระตุ้นการสร้างสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์
Protease Inhibitor ที่เมื่อแมลงกัดกินพืชและ
ได้รับสารนี้เข้าไปด้วย ก็จะไปยับยั้งกระบวน
การย่อยใบพืชที่แมลงกินเข้าไป
- ส่งเสริม & กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
(Phytohormone)
- กระตุ้นการสร้างความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ที่ไม่เหมาะสม (Abiotic Stress) อาทิ สภาวะ
ทนทานแล้ง (Drought Tolerance) เป็นต้น
.......................................................................
🔴 ซาร์คอน (+ออร์ซ่า)
- สร้างเกราะป้องกัน “การเจาะดูด” น้ำเลี้ยง
และปล่อยเชื้อไวรัส
- สร้างผนังซิลิก้าให้หนา และแข็ง/แกร่ง” ต้นและใบ
แข็งแรง แบบผนังคอนกรีต เสมือนพืชสวม “เสื้อ
เกราะ “ป้องกันตัว ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายใดๆ
- ใช้กระบวนการสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่ง
เพื่อเป็นเกราะป้องกัน (Cell Wall Barrier) การ
เข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ด้วยกลไกของ
Silicon ในรูปของ Orthosilicic acid
● กลไกการทำงานของกรดซิลิซิค แอซิค ใน
“ซาร์คอน” (SARCON)
1. เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการส่งสัญญาณระหว่างพืช
อาศัยและเชื้อโรคเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้พืชแสดง
อาการโต้ตอบการเข้าทำลายของเชื้อ (Plant
Defense Mechanism) เร็วขึ้น ปกติเวลาพืชถูกเชื้อ
เข้าทำลาย จะมีการป้องกันตัวเอง เช่น มีการสะสม
Phenolics compound หรือ สารอัลคาลอยด์ บาง
ตัว และสารประกอบเหล่านี้จะไปยับยั้งการเจริญของ
เชื้อรา (Fungistatic Activity) ได้
2. เป็นสิ่งกีดขวาง (Physical Barrier) ป้องกันการแทง
ผ่านของเส้นใยเชื้อรา (Hypal Penetration)
เพราะ ”ซิลิสิค แอซิค” จะสะสมอยู่บริเวณ Cell wall
นั่นเอง
.......................................................................
🟢 ภาคผนวก :
🟣 ซิกน่า (ZIGNA) : สารชักนำให้เกิดการสร้างภูมิ
ต้านทานโรคและแมลง
● การป้องกันตนเองของพืช (Plant Defense
Response)
1. การป้องกันทางกายภาพ (Physical Barriers)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ) ได้แก่
Leaf hairs, Waxy cuticles, Actin
microfilament, ect.
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น)
Cell wall Strengthening, Lignification, Cell
death, etc
2. การป้องกันทางเคมี (Chemical Defenses)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชที่สภาพปกติ) ได้แก่
สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ อาทิเช่น
Alkaloids, Saponins, Terpenoids ในน้ำยาง
เป็นต้น
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น)
1) Local Resistance อาทิ Phytoalexins, NO,
ROI, etc.
2) Systemic Resistance (Signaling
Defense) อาทิ SAR, ISR, SWR เป็นต้น
.......................................................................
● Plant Systemic Defenses
ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วทั้งต้น (Systemic Resistance) ภายในพืช โดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. Systemic Acquired Resistance (SAR)
กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen Attack)
ส่งสัญญาณทาง SA-Signaling Pathway
2. Induced Systemic Resistance (ISR)
กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting
Rhizobacteria (PGPT) ส่งสัญญาณทั้ง JA-
Signaling Pathway และ SA-Signaling Pathway
3. Systemic Wound Response (SWR)
กระตุ้นโดย Herbivores และแมลง เข้าทำลาย ส่ง
สัญญาณทาง JA-Signaling Pathway
.......................................................................
● JA-Signaling Pathway
กับการต่อต้านแมลง
▪️สารต่อต้านแมลงที่ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. Alkaloids ต่างๆ อาทิ Nicotine, Saponin, เป็นต้น
ทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง มีผลต่อ
เอนไซม์ต่างๆ
2. Proteinase Inhibitors (PIs) มีผลต่อเอนไซม์ใน
การย่อยของแมลง ทำให้ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อ
การเจริญเติบโตของแมลงและทำให้สร้างน้ำย่อยใน
ทางเดินอาหารมากเกินไป
3. Volatile Signals อาทิ Terpenes, Indoles, ฯลฯ
สารระเหยส่งเป็นสัญญาณ มีผลทางตรงในการไล่
แมลงศัตรูพืช และมีผลทางอ้อมโดยเรียกแมลงล่า
เหยื่อ (Predators) มากำจัดแมลงศัตรูพืชนอกจาก
นั้นยังส่งสัญญาณเตือนภัยไปให้กับพืชอื่นๆที่อยู่ข้าง
เคียงด้วย
.......................................................................
🔴 ซาร์คอน (SARCON)
- สร้างผนังซิลิก้าให้หนาและแข็ง/แกร่ง ต้นและ
ใบแข็งแรง แบบผนังคอนกรีต เสมือนพืชสวม “เสื้อ
เกราะ“ ป้องกันตัว ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายใดๆ
- ใช้กระบวนการสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่ง เพื่อ
เป็นเกราะป้องกัน (Cell Wall Barrier) การเข้า
ทำลายของแมลงศัตรูพืช ด้วยกลไกของ Silicon
ในรูปของ Orthosilicic acid
- Orthosilisic acid ที่แตกตัวเป็นสารในรูป
"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ
“Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร
"Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ
"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็น “ผลึก
แข็ง” (Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้าย
ไปสะสมที่ "ผนังเซลล์" (Cell Walls) ต่อไป “ผนัง
เซลล์” ก็จะแข็งแกร่งเสมือน "ผนังคอนกรีต" ที่
เป็น “เกราะป้องกัน” (Cell Wall Barrier) พืชต่อไป
- ในใบพืช : ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์
ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells)
ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell,
long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell,
subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลล์ชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง
(vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง
(vascular bundle cells)
- ซิลิคอน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้อง
การบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้าย
ต่าง ๆ และโดยปกติพืชจะได้รับ Silicon ทีละน้อย
จากการดูดซึมทางราก และเคลื่อนย้ายไปยังผนัง
เซลล์ (Cell Wall) ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้น
ซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนัง
เซลล์ในรูป Silicon – Cellulose membrane
ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
.......................................................................
▪️สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ค่ะ
● ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง
(Cassava mosaic Disease : CMD)
- สาเหตุมาจากเชื้อ Cassava Mosaic Virus :
(CMV)
- ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่ม Begomovirus ซึ่งมีรายงานก่อความเสียหายต่อผลผลิตของปลูกมันสำปะหลังในประเทศอินเดียและศรีลังกามากกว่า 80% คือ Sri Lankan Cassava Mosaic Virus (SLCMV) ซึ่งปัจจุบันกำลังสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงกับผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศเพื่อนบ้านเราเช่น เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น และมีความเสี่ยงสูงมากที่เชื้อไวรัสตัวนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับมันสำปะหลังในประเทศของเรา
- ประเทศไทยของเรา มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังติดต่อกับเขตชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชาซึ่งพบการระบาดของโรคไวรัสชนิดนี้ ซึ่งมีการปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากและไม่ห่างจากชายแดนบ้านเรามากนัก ทำให้ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคจากฝั่งกัมพูชา มีโอกาสเคลื่อนย้ายเข้ามาในพื้นที่ของประเทศเราได้
▪️อีกทั้งแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Whitefly) ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสตัวนี้ เป็นแมลงที่มีพืชอาหาร (Host) กว้างมากในบ้านเรา แมลงหวี่ขาวจึงมีพืชอาศัยตลอดเวลา จึงทำให้เป็นพาหะนำเชื้อได้ตลอดซึ่งโรคนี้จึงไม่ใช่ติดมาจากท่อนพันธุ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการถ่ายทอดเชื้อจากแมลงหวี่ขาวยาสูบได้ด้วย ซึ่งแปลงที่พบการระบาดของโรคใบด่าง จะพบแมลงหวี่ขาวยาสูบค่อนข้างเยอะมาก (เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่พบแมลงหวี่ขาวยาสูบจำนวนน้อยกว่า)
การบริหารจัดการไวรัสพืช ด้วยระบบ ORG
ประสบการณ์ไวรัสในพืชยาสูบ
มหัศจรรย์ “จัสโมนิก แอซิด”
(Jasmonic acid)
มหัศจรรย์ “โมโนซิลิซิค แอซิค”
(Monosilicic acid)
ไวรัสใบด่าง มันสำปะหลัง
ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง แนวทาง
การแก้ปัญหาในเบื้องต้น
ติดกระดุมเม็ดแรกถูก ถูกทั้งตัว (แช่ท่อนพันธุ์)
ทำไม? แมลงจึงระบาด
วัคซีนพืช 4 กุญแจทอง สำหรับพืช
===================================
สอบถามข้อมูลหรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยค่ะ)
หรือคลิ๊กลิงค์ไลน์ด้านล่าง เพื่อสอบถามข้อมูล
และขอคำแนะนำได้