FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมล่อน Melon กับปัญหาไวรัส,เชื้อรา,แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค

แปลงเมล่อนที่อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ 
แปลงนี้เป็นของคุณสำรวย สุขทวี
มีทั้งแบบปลูกในโรงเรือน และที่โล่งแจ้ง ซึ่งปัญหาของเมล่อนหรือพืชตระกูลเถา จะมีเยอะอยู่พอสมควร  ไม่ว่าจะเป็นโรคเหี่ยว โรคเน่า ราน้ำค้าง  ใบหงิกใบหด ใบด่าง เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย

ปัญหาที่คุณสำรวยพบคือไวรัสทำให้ใบหงิก ยอดหงิก  จึงได้หาตัวยาที่จะใช้มารักษา เพราะลงทุนไปเยอะแล้ว

เดี๋ยวจะให้ดูภาพ ตอนที่เป็นไวรัส กับหลังจากฉีดฆ่าเชื้อและหยุดการลุกลาม ว่าสามารถให้ผลผลิตต่อได้หรือไม่นะครับ



 หลังจากเจอไวรัส ใช้อีเรเซอร์วันฉีดเพื่อฆ่าเชื้อและหยุดการลุกลามแล้ว ก็สามารถเจริญเติบโตได้ปกติ


จนมาถึงตอนนี้ติดดอกออกผลเรียบร้อยแล้ว


 ดีที่มาเจอ "อีเรเซอร์ - วัน" ได้ทันเวลาครับ



 เก็บเกี่ยวผลผลิต รอบสุดท้ายแล้วครับ


ส่วนภาพข้างล่างนี้ปลูกอีกรุ่นครับ 




ขอบคุณคุณสำรวย สุขทวีที่เปิดแปลงให้ชม และก็ทีมงานคุณสายสมรที่นำภาพมาแบ่งปันด้วยครับ



สิ่งที่สำคัญคืออยากให้ป้องกันไว้ก่อนครับ

ปลูกพืชตระกูลแตงจะกูลเถา  มี "อีเรเซอร์-วัน" ติดสวนไว้ เสมือนมียาสามัญประจำบ้าน เริ่มพบอาการเมื่อใดให้ ใช้อีเรเซอร์-วัน ฉีดพ่น เพื่อฆ่าเชื้อ และหยุดการลุกลาม เสมือนมีไม้หน้าสามไว้น็อคครับ
กรณีนี้คือเมื่อพบการระบาดแล้วนะครับ เลยแนะนำ "อีเรเซอร์-วัน"







แต่สำหรับท่านที่ต้องการดูแลและป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม 
จะทำอย่างไร?

จะขออธิบายถึงกลไกลการทำงาน ที่มาที่ไปว่ากรดอินทรีย์แต่ละตัว ทำหน้าที่ได้อย่างไรก่อนนะครับ



" วัคซีนพืช "
หยุดไวรัสพืช ด้วย ORG- Model
พืช ต่างๆ อาทิ มะละกอ ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ฯลฯ ที่ถูกไวรัสเข้าทำลายและระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกิดความเสียหาย เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุน และเกษตรกรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มีแต่ต้องเสียหายและทำลายทิ้ง การแก้ปัญหาไวรัสพืชที่เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจกระบวนการและกลไกในการดูแลและป้องกันปัญหามันยังมีทางออก เพื่อหยุดความสูญเสียรายได้จากความเสียหายตรงนี้ เราลองมาศึกษาวิธีที่เป็นไปได้ภายใต้ "องค์ความรู้" ใหม่ๆกันดีไหม





มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสพืช กันเถอะ
หลักการหยุดไวรัสพืช ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์

กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสพืชต่างๆ ทั้ง ใบด่าง ใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบจู๋

1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่ง จะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ใน กลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่ม ที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช

4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อ ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณ ต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อ เป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น

5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่ง พืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ในระบบ ORG-Model By Organellelife



1. ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One ) (ต่อต้านเชื้อโรคและส่งสัญญาณขับไล่แมลง)

สาร ส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและแมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น






2. ซาร์คอน ( SARCON) (สร้างเกราะป้องกันเชื้อโรคและแมลง)

เพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญคือ
2. 1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์ของพืช อาทิ การฟื้นฟูเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ การบำรุงเซลล์ให้สมบูรณ์ ไม่แบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ การซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ

2.2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ

2.3 กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และ หนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้วเมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มี ส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืช เมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น


     กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช



3. อีเรเซอร์-1 (Eraser-1) (ฆ่าเชื้อและหยุดการลุกลาม)


สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น"วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )



การ ออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)

คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1

ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัส เชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค  ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจน ตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วน ต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัส กับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์

ใช้ กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อ โรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

เสริม ประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สามารถ ใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อี เรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะ กับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว






 4.คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (เหมาะกับโรคเหี่ยว โรคเน่า)


คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า 
สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน

คุณสมบัติพิเศษ
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขื่อเทศ มันฝรั่ง , โรคเน่าและกระหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ

อัตราการใช้ 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)

กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น


กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล

• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)






ภาพพืชเจอไวรัส


































ภาพพืชปลอดไวรัส

















แมลงหวี่ขาว


แมลง หวี่ขาว อาจจะไม่ใช่แมลงที่พบเห็นทั่วไปได้บ่อยนัก แต่ก็เป็นศัตรูพืชอีกตัวหนึ่งซึ่งสร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ได้อย่างน่ากลัว อาทิ เช่น พืชตระกูลยาสูบ พริก มะเขือเทศ แตงกวา แตงโม แมลงหวี่ขาวจะระบาดมากในช่วงที่อากาศร้อน แล้ง อากาศแห้งๆ และสิ่งที่น่ากลัวที่จะติดตามมาจากการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาว นั่นก็คือ เชื้อไวรัส ที่จะก่อให้เกิดอาการใบด่าง ใบหงิก ใบหด ยอดหด ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิตได้มาก

 แต่ถ้าหากเรารู้จักป้องกันแมลงหวี่ขาวไว้ได้เสียแต่เนิ่นๆ ความเสียหายก็จะไม่มาเยือนพืชของเรา
มาบริหารจัดการกับ"แมลงหวี่ขาว"และ"เชื้อไวรัส" ก่อนที่จะสายเกินไป "กันไว้ดีกว่าแก้"กันดีกว่าไหม?..ครับ
หลักการหยุดไวรัสใบหด(TLCV)ในพืชตระกูล Solanaceae อาทิ ยาสูบ มะเขือเทศ พริก มันฝรั่ง ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้งไวรัสใบด่าง ใบหด ใบหงิก

1.อาศัย กลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

2.อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่ม ที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช





การบริหารจัดการพืชตระกูลแตงที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่งทาง
เบื้องต้น อย่าลืม..ป้องกันแมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเชื้อไวรัส ตลอดจนโรคราน้ำค้างด้วย "ซิกน่า+ซาร์คอน" การป้องกันที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
และเมื่อพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรค "ราน้ำค้าง" โรคที่ทำความเสียหายได้รวดเร็ว
ให้ ฉีดพ่นแบบประหารชีวิตราน้ำค้างด้วย"อีเรเซอร์-1"

ที่สำคัญถ้ามีฝนตกชุกอาจเกิดอาการโรคโคนเน่าหรือต้นเน่าหรือโรคเหี่ยวเฉาได้ ให้เราเอา "คาร์บ๊อกซิล-พลัส"  ฉีดพ่นป้องกันไว้ตั้งแต่เริ่มต้นก็จะดี นี่คือ..วิธี่ที่ดีที่สุดที่จะทำ"ประกันชีวิต" ให้กับแตงกวาของเรา แตงกวาของเราโตเร็ว แตกยอด แตกใบดี อย่างน่าอัศจรรย์ ถ้าเราฉีดพ่นให้มันด้วย "ไบโอเจ็ท" สุดยอด "ฮอร์โมน อาหารเสริม โปรตีน สารให้พลังงาน" ชั้นดีที่ไม่มีใครเทียบ
สุดท้ายก็มาถึงซึ่งช่วงสำคัญที่ เราจะเอา "ผลผลิตที่สูง ผลผลิตที่สวย" ต้องใช้ "ตัวช่วย" คู่นี้เลย"คู่บุญ"..ซูการ์+เพาเวอร์-5 แตงกวาจะ "มหาดก" ดอกดก ผลดก ผลสวย เนื้อแน่น น้ำหนักดี มีผลสม่ำเสมอไม่เน่าเสียง่าย เก็บขายจนเบื่อ เลยทีเดียวเชียวแหล่ะครับ ย้ำอีกครั้ง..อย่าพลาดพลั้งเรื่อง "โรคไวรัส" กับ "ราน้ำค้าง" ต้องวางใจใช้  "วัคซีนพืช" ..ซิกน่า+ซาร์คอน" ก่อนที่จะสายเกินแก้ ถ้าแย่จะแก้ไม่ทัน นะครับ


หมายเหตุ: ที่สำคัญทุกอย่างปลอดสารพิษ ชีวิตยืนยาว





วิธีใช้สินค้าสำหรับเมล่อน
1. ทางดิน
- ใช้ ซอยล์ไลฟ์ 10 กรัม/น้้า 20 ลิตร ราด ฉีดพ่น หรือให้ทางน้้าหยด


2. ก่อนปลูก
- ใช้ ซิกน่าฉีดพ่นต้นกล้าก่อนจะปลูก เพื่อขับไล่แมลงพาหะน้าเชื้อไวรัส
อัตราผสม 10 ซีซี / น้้า 20 ลิตร


3. หลังปลูก
- หลังปลูกได้ 3 วัน ใช้ ซาร์คอน 20 ซีซี + คาร์บ็อกซิล 20 ซีซี ผสมในน้้า 20 ลิตร ฉีดพ่น เพื่อป้องกันโรคเน่า



**พอ ครบ 7 วัน กลับมาทำขั้นตอนที่ 2 ฉีดพ่นซิกน่า หลังจากฉีดพ่นซิกน่าผ่านไป 3 วันก็ทำตามขั้นตอนที่ 3 ฉีดพ่น ซาร์คอน + คาร์บ็อกซิล หมายเหตุ : ซิกน่า ควรฉีดให้ได้ 2-3 ครั้ง / ซาร์คอน + คาร์บ็อกซิล ควรฉีดให้ได้ 3-4 ครั้ง


- ไบโอเจ็ท ฉีดพ่นทางใบเพื่อบำรุงต้น เร่งการเจริญเติบโต กระตุ้นการแตกยอด แตกใบ แตกดอก 7- 10 วันครั้ง ฉีดได้ตลอดทุกช่วง(ยกเว้นช่วงติดดอก)

- พอโตแล้ว ให้สังเกตดูว่าถ้าเริ่มเห็นอาการ มีจุดตรงใบ ,ใบไหม้,เริ่มมีราน้ำค้าง,ยอดหงิก ให้ใช้
อีเรเซอร์วัน 20 ซีซี / น้้า 20 ลิตร ฉีดพ่น 4 - 5 วันครั้ง (ซัก 2 รอบ) เพื่อฆ่าเชื้อ แต่ถ้าไม่พบอาการก็ไม่ต้องฉีด



*** ถ้าอยากเพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต  เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับทุกส่วนของพืช ติดดอก ออกผลดี  รสหวาน ผิวสวย  แนะนำคู่ ORG-1 + ORG-2  อย่างละ 20 ซีซี / น้ำ  20 ลิตร(ฉีดได้ทุกช่วงตั้งแต่ปลูกใหม่)















อีเรเซอร์-วัน เป็นทั้งวัคซีนป้องกัน และตัวฆ่าเชื้อแบบเฉียบพลัน เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย

วัคซีนแบบดูดซึมครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เหมาะสำหรับป้องกันโรคเหี่ยวเฉา รากเน่า โคนเน่า


ส่งสัญญาณขับไล่ตัวพาหะนำเชื้อ และมีกรดอะมิโน ธาตุอาหารช่วยเพิ่มความสมบูรณ์


สร้างเกราะป้องกันโรคและแมลงเข้าทำลาย กระตุ้นการเจริญเติบโต

































ในภาพนี้ ไม่ใช่เชื้อราครับ  แต่เกิดจาก "แบคทีเรีย"






สอบถามเพิ่มเติม 

บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
084 -8809595, 084-3696633

Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ https://lin.ee/nTqrAvO






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น