"ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส"
แนวทางการสร้างภูมิต้านทานโรค : โรคไวรัสในพืชตระกูลแตง" ในระบบ : ORG
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคไวรัสใบหด,ใบด่างในพืชตระกูลแตงบางตัวกันก่อน คิดว่าทุกท่านคงคุ้นเคยกับโรคนี้ดีอยู่แล้ว เริ่มจากอาการของโรคที่มีลักษณะใบงอหงิก เหลืองสลับเขียว บ้างก็เป็นจุดด่าง พบได้ในทุกส่วนของแตง และยังเป็นได้ทุกส่วนของแตงตั้งแต่ใบ ลำต้น และผล ทำให้สร้างปัญหาต่อผู้ปลูกพืชตระกูลนี้มาก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้และร้ายแรงมากเพราะเกิดจากเชื้อไวรัสหลายตัว อาทิ
1) Cucumber Mosaic Virus (CMV) จากแมลงพาหะ Several Aphid Species
2) Cucumber Vein-Yellow Virus (CVYV) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci)
3) Cucurbit Aphid-Borne Yellows Virus (CABYV) จากแมลงพาหะ Several Aphid Species
4) Cucurbit Yellow Stunting Disorder Virus (CYSDV) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci Biotypes B and Q)
5) Beet Pseudo-Yellows Virus (BPYV) จากแมลงพาหะGreenhouse Whitefly (Trialeurodes vaporariorum )
6) Geminiviruses ( SLCV,PYVMV,TLCV,WCMV ฯลฯ) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci Biotypes A,B and Q)
การแพร่ระบาดด้วยเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว เพราะเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว หลายชนิดสามารถนำโรคจากพืชที่เป็นไปสู่พืชที่ยังไม่เป็น โดยมีหลักการคือ ไวรัสตัวนี้จะถูกเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ดูดเข้าไปในทางเดินอาหารของเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ในตัวเพลี้ยและแมลงหวี่ขาวในช่วงสั้นๆ จะขยายพันธุ์ไม่ได้ แต่ไปสะสมอยู่ในต่อมน้ำลาย ก่อนที่เพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ตัวนี้จะไปเกาะที่พืชอื่นแล้วจัดการถ่ายเชื้อไปที่พืชที่เกาะใหม่จนทำให้เกิดโรค ซึ่งสามารถติดต่อได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
แนวทางการป้องกันโรคไวรัสที่พอจะสรุปได้มี 3 แนวทาง คือ
ข้อ 1. เป็นวิธีทางเกษตรกรรมที่พอฟังแล้วจะเกิดความเข้าใจได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติกลับมีความยากมาก เพราะการปลูกพืชตระกูลแตงแห่งหนึ่งจะย้ายไป-มา หรือจะไม่ให้ใครมารบกวนเป็นเรื่องยากมาก เพราะฉะนั้นวิธีนี้ฟังเข้าใจง่าย แต่ปฏิบัติยาก แล้วเป็นวิธีที่ทางเกษตรกรได้มีการแนะนำอยู่แล้ว เช่น ไม่ปลูกพืชทับที่เดิม ปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ควรปลูกพืชใกล้กับพืชที่มีการระบาดของโรค หรือเวลาเจอต้นที่เป็นโรคจะต้องรีบกำจัดทิ้งทันที
ข้อ 2. เป็นแนวทางชีวพันธุกรรม ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์เป็นวิธีที่ดีมาก ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจสูง
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาและอุปสรรคใน 2 แนวทางดังกล่าว อย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ทางธรรมชาติ จะพบว่าต้องใช้เป็นเวลานานนับสิบปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ต้องการ และเมื่อได้แล้วกลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีก หรือความต้านทานโรคอาจมีเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น
ข้อ 3. เป็นแนวทางสุดท้ายคือด้านเคมีที่ทุกคนคงทราบดีว่าเมื่อพบปัญหาต้องไปที่ร้านขายยา สำหรับแนวทางนี้ก็พบปัญหาเช่นกัน เพราะการปราบศัตรูพืช เช่น เพลี้ย เมื่อปราบได้เดี๋ยวก็กลับมาอีก เพราะมีวงจรชีวิตสั้น
ทางออกกับปัญหาโรคจากไวรัส
การทำ.."วัคซีนพืช" : เพื่อการป้องกันโรค ที่ได้ผลและยั่งยืน
การทำวัคซีนพืช โดยเทคนิคการสร้างภูมิต้านทานด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ (Systemic Acquired Resistance:SAR ) แล้วจะทำอย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าพืชมีระบบการป้องกันตัวเอง (Plant Defense) มิเช่นนั้นพืชคงไม่สามารถอยู่บนโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างยาวนาน
ถึงวันนี้มีการค้นพบกระบวนการหรือวิธีป้องกันตัวเองของพืชมากมาย แต่มีวิธีหนึ่งที่พืชสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ที่เราเรียกว่าเป็นวิธี SAR หรือ Systemic Acquired Resistance ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันตัวเองของพืชจากเชื้อโรค
หากจำลองภาพของแตงกวาขณะที่ถูกไวรัสเข้าทำลาย หมายถึง เป็นช่วงที่เพลี้ยหรือแมลงหวี่ขาวเจาะดูดแล้วปล่อยไวรัสเข้าไปในต้น สิ่งแรกที่แตงกวาจะตอบสนองคือการตอบสนองแบบตื่นตัว เหมือนคนที่ถูกมีดบาดแล้วจะเกิดอาการสะดุ้ง จากนั้นพืชจะป้องกันตัวเองด้วยการหลั่งสารเพื่อป้องกันตัวเองเฉพาะหน้าก่อน ยกตัวอย่างอาทิเช่น กับยางพารา อาจสร้างน้ำยางออกมาเพื่อเป็นการสมานแผล นอกจากพืชจะสร้างระบบป้องกันตัวเองในแบบเฉพาะที่แล้ว ยังมีการสังเคราะห์สารที่เป็นสัญญาณอีกตัวขึ้นมาขณะที่พืชถูกกระตุ้นแล้วส่งสารดังกล่าวไปทั่วต้น ตั้งแต่ปลายยอดไปจนถึงปลายราก เป็นการเตือนเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในต้นเพื่อให้รู้ว่ากำลังมีการบุกรุก จากนั้นจะเป็นกระบวนการเพื่อจะได้สังเคราะห์โปรตีนที่เรียกว่า PR -Proteins ออกมาเพื่อต้านทานโรค
เมื่อรู้ทฤษฎีที่มาและข้อมูลแล้ว ต่อไปเป็นการปฏิบัติที่จะต้องทำ"วัคซีนพืช" แนวทางนี้จะได้ผลและยั่งยืน วัคซีนพืชทำให้พืชมีภูมิต้านทานเชื้อโรคก่อนที่จะเป็นโรค แต่ต้องทำให้พืชมีภูมิต้านทานก่อนที่เชื้อโรคจะเข้ามา
"วัคซีนพืช"..สร้างภูมิต้านทานก่อนที่เชื้อโรคจะเข้าสู่พืชของเรา
Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ (SAR Signal) ส่งไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา (PR-Proteins) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
กลไกการทำงานของกระบวนการ SAR
1) เชื้อโรคเข้าทำลายเซลล์พืช พืชเกิดการการตอบสนอง ตื่นตัว Hypersensitive Response (HR)
2) พืชหลั่งสารป้องกันตนเองเฉพาะที่ต่างๆ เช่น ROI, NO
3) พืชหลั่งสาร Salicylic acid ส่งสัญญาณ SAR ไปทั่วต้น
4) กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรค (PR-Proteins) ขึ้นมาป้องกันตนเองจากเชื้อโรค
ที่จะลุกลามต่อไปทั่วทั้งต้น
เรามารู้จักกับ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ว่าคืออะไร
"อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) จะเป็น Salicylic acid ในรูปวัคซีนพืชที่รวมแคลเซียมและโบรอน ซึ่ง Salicylic acid มีความสำคัญมาก เพราะตัวนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ โดยที่ธรรมชาติกำหนดว่าต้องมีการสังเคราะห์ออกมาเมื่อมีเชื้อโรคเข้าทำลายพืช แต่เราใช้ Salicylic acid ในรูปแบบของ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) คือพร้อมให้มีการกระตุ้น(Active) ทันที เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำ Salicylic acid ในรูปที่ถูกต้องและนำมาใช้ในปริมาณ (Percentages) ที่เหมาะสมด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง พืชก็จะสังเคราะห์ PR-Proteins ออกมา ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสด้วย มันเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ก่อนที่จะมีไวรัสเข้าและ เป็น Salicylic acid ที่ไม่มีอันตรายต่อพืช เพราะในความจริงในธรรมชาติของพืชก็จะสร้างกรดนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว
แล้วจะนำมาใช้กับพืชตระกูลแตง ได้อย่างไร? ในประเด็นนี้มีการแยกไว้ 2 กรณี
กรณีที่(1) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) เพื่อป้องกันโรคไวรัสใบด่างแตง ซึ่งเป็นกรณีที่อยากจะแนะนำมาก แต่เกษตรกรชาวสวนไม่นิยมใช้กันและมักปล่อยให้เป็นโรคก่อนจึงรักษา ดังนั้น อยากให้ใช้วิธีนี้เพราะเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดและเป็นวิธีของการใช้วัคซีนพืช โดยมีอัตราหรือสัดส่วนการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่เป็นอัตรามาตรฐานของชาวสวน โดยมีเทคนิคการใช้คือให้ฉีดพ่นทางใบให้ชุ่มทุก 7-10 วัน ให้เริ่มฉีดตั้งแต่เป็นต้นกล้าเล็กๆ ก่อน และนั่นเป็นการให้วัคซีนในช่วงเด็ก เหตุผลที่ต้องฉีดตลอดเพราะ PR-Protiens ที่พืชสร้างขึ้นมีอายุการใช้งานและมีการหมดอายุลง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดกระตุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เซลล์พืชมีการสร้างออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดช่วง
กรณีที่(2) คือถ้าเป็นโรคแล้วจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร ความจริงไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้สักเท่าไร เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุและค่อนข้างยากโอกาสเกิดความล้มเหลวสูง แต่อาจพอมีหวังด้วยการให้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ในอัตรามาตรฐานข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องการให้เพราะพืชติดโรคแล้ว จึงต้องย่นเวลาการให้โดยให้มีความถี่มากขึ้น คือให้ 3-5 วันต่อครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้ง ในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้นจะเริ่มทิ้งระยะเป็นเวลา 7-10 วัน ต่อครั้ง แล้วพืชจะค่อยเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเกษตรกรจะเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ จะมียอดอ่อนแตกออกมาใหม่และจะไม่มีไวรัสมารบกวนอีก ซึ่งเป็นยอดใหม่ที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ค่อยอยากแนะนำ เพราะพืชเคยผ่านการติดโรคมาแล้ว กว่าจะฟื้นตัวต้องใช้เวลาในการปรับสภาพภายในของพืชเองเพื่อให้ดีขึ้น แต่การปล่อยให้พืชที่เคยติดโรคกลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้งต้องอาศัย"ตัวช่วย" เพราะลำพังให้พืชสร้างระบบภายในเองคงใช้เวลานานมาก ถึงกระนั้นการที่จะให้ได้ผลต้องมีการเสริม Proteins ให้มากขึ้นยิ่งดี เพราะการเสริมโปรตีนเข้าไปจะทำให้แตงกวาฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้แตงกวาที่เป็นโรคแล้วได้ฟื้นตัวดีขึ้นคือ"อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) มีสารที่จะช่วยกำจัดเชื้อโรคเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ภายนอกและกำลังจะเข้าไปทำลายพืชที่ถือว่าเป็นการแทรกซ้อน ซึ่งก็คือ "สารเสริมประสิทธิภาพ" ที่ช่วยเสริมการกำจัดเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
อยากบอกถึงบทสรุปและประโยชน์ของแนวทางการรักษาป้องกันด้วยวิธีการสร้างภูมิต้านทาน ( Systemic Acquired Resistance:SAR ) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล ถูกต้องและยั่งยืน เพราะจะใช้เมื่อต้องการทำวัคซีนให้กับพืชเพื่อป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดหรือก่อนเชื้อโรคจะเข้าทำลาย
และ..ที่บอกว่ายั่งยืนก็เพราะว่า หากเราย้อนกลับไปสมัยก่อน มนุษย์ได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค และทำมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน ต่อมาทฤษฎีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคถูกนำมาใช้ในสัตว์เพราะมีเหตุผลที่ต้องการให้สัตว์มีอายุที่ยั่งยืน แต่การฉีดวัคซีนไม่ได้หมายถึงจะไม่ตาย เพียงแต่ทำให้เกิดโรคน้อยลง
ผมมีความเชื่อว่าวิธีนี้จะถูกนำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจของเรา และยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอีกไม่นานจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนในพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะพืชที่หายารักษายาก เช่น โรคไวรัสใบจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya Ring Spot Virus:PRSV) โรคใบด่างแตง(CMV) โรคใบหดยาสูบ(TLCV) เป็นต้น จะช่วยลดการระบาดและลดความรุนแรงของโรคลงได้ พร้อมกับยังช่วยฟื้นฟูพืชที่เป็นโรคให้กลับมาเจริญเติบโตได้ใหม่อีก ที่สำคัญยังสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีที่อันตรายไปได้อย่างมาก ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พืช และสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราบริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ ปรารถนาเป็นอย่างยิ่งมากว่า 15 ปีแล้ว และได้รับความสนใจที่จะนำไปใช้เป็นทางเลือกในการแก้ไขโรคต่างๆในยาสูบในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในผู้ประกอบการยาสูบรายใหญ่หลายพันไร่ ติดต่อกันมานานมากกว่า 15 ปี
สุดท้าย..อยากจะย้ำอีกครั้งว่าอยากให้ใช้ในแบบของการ "ป้องกัน"มากกว่า"เยียวยา" เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การที่รอให้เป็นโรคแล้วไปรักษาอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะการฉีดในช่วง 10-15 วันต่อครั้ง จะมีความประหยัดกว่าการที่พืชกำลังจะให้ผลผลิตและเกิดเป็นโรคขึ้นมา จนทำให้ผลผลิตที่กำลังจะสร้างรายได้กลับเสียหายลงไป
ดังนั้น ใครที่กำลังทำพืชเศรษฐกิจอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น เมล่อน แตงกวา แตงโม ยาสูบหรือมะละกอก็ตามที ควรนำไปใช้ป้องกันโรคให้กับพืช เพราะคุ้มค่ากว่ามากครับ
และสุดท้ายอยากฝากไว้กับการใช้สารเคมีมากๆอาจทำให้พืชอ่อนแอ และทำให้เกิดการติดโรคง่ายขึ้น หนทางที่จะช่วยคือการใช้ "วัคซีน" ในพืช และการใช้อย่างถูกหลักจะทำให้พืชมีภูมิต้านทานแม้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เพราะ PR-Protiens จะมีสะสมอยู่ทุกแห่งถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปแล้วเซลล์ยังคงทำงานอยู่ยังสามารถสร้างโปรตีนออกมาต้านทานได้
ติดตามดูประสบการณ์จริงในการแก้ปัญหาโรคจากไวรัสพืชในบางพืช อาทิยาสูบ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพืชอื่นๆ ได้ที่
http://paccapon.blogspot.com
ศึกษาการกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้พืชด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ Systemic Acquired Resistance : SAR ได้ที่
http://organelle1.blogspot.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
084-8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (พิมพ์@ด้วยนะครับ)
ไวรัส ไวรัส ไวรัส : "ภัยเงียบ"..สำหรับพืช
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ที่ให้ได้ผลที่ดีกว่า
ควรแก้ปัญหากันอย่างไรดี?
การแก้ปัญหา "ไวรัสพืช"..มีอะไรดีๆ ที่มากกว่าการใช้ยาเคมีเพื่อการ "ฆ่า..ฆ่า" และก็ฆ่า "แมลงพาหะ" แบบที่ผ่านๆมา
หรือไม่ว่าจะเป็นการ "ถอน เผา " ทำลายพืชที่ติดเชื้อไวรัสทิ้งไป แบบที่ฝังใจในตำราที่เขาว่าไว้
การ "ฆ่า..ฆ่า" แมลงพาหะ และ "การถอน เผา" เพื่อทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้งไป เป็นเพียงแนวทางหนึ่งซึ่งใช้กันมานานกว่า 30 ปี แบบที่ไม่ยอมคิดว่าจะหาทางเลือกอื่นใด เท่าที่จำความได้ คิดเพียงเพื่อจะทำลายแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสให้ตายไป แล้วคิดว่ามันน่าจะหมดปัญหา แต่มันก็หาใช่แบบนั้นก็หาไม่ ปัญหายังไม่หมดไปกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ยิ่งถ้าเรายังฝังใจกับการใช้สารเคมีดูดซึมชนิดรุนแรงเพื่อฆ่าแมลงพาหะ เราจะไม่มีวันชนะมันอย่างแน่นอน ฆ่าแมลงพาหะมันตายได้ พืชก็รับเชื้อไวรัสร้ายเข้าไปไว้ในต้นพืชแล้ว ก็เพราะหลังจากที่แมลงพาหะมันเข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช มันก็ได้ปล่อยเชื้อร้ายนั้นไว้ในพืชก่อนที่มันจะต้องตายไป เพราะพิษร้ายจากสารเคมีที่ได้ถูกฉีดไว้ในพืชซึ่งมันได้ดูดกินเข้าไป พืชเองก็เลยติดเชื้อไวรัสร้ายนั้นไปด้วย
แมลงพาหะมา 1,000 ตัวมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช 1,000 ต้น ถึงแม้ว่าตัวแมลงพาหะจะถูกฆ่าตายไปแต่เชื้อไวรัสร้ายก็ยังคงอยู่ในพืชทั้ง 1,000 ต้น ซึ่งก็ไม่พ้นต้องติดเชื้อและเป็นโรคอยู่ดี แต่ถ้ามันโชคดีมี "ภูมิต้านทาน" จากกระบวนการกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานภูมิ (กระบวนการ SAR) เสมือนมันมี " วัคซีน" ป้องกันโรคก็โชคดีไป เพราะเชื้อมันจะไม่สามารถทำลายพืชนั้นๆได้ และสารต้านเชื้อก็สามารถ "ควบคุม" เชื้อร้ายนั้นไว้ได้ พืชก็ปลอดภัยแม้จะได้รับเชื้อร้ายนั้นมา และสิ่งที่สำคัญกว่าคือ การพยายามทำอย่างไรที่จะไม่ให้แมลงพาหะนั้นๆมันเข้ามาปล่อยเชื้อไวรัสร้ายให้กับพืชของเราได้ นั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าไป "ฆ่า" มัน เพราะความจริงมันเองก็ไม่รู้ว่าเรา "วางยา" ดูดซึมร้ายแรงไว้ในพืชเราเพื่อฆ่ามัน
เราคงต้องหาคาถา 2 ข้อนี้ไว้ เพื่อเป็นทางออกที่ดี จะดีกว่าไหม?
(1) "ขับไล่" ไปไกลๆ ไม่ให้เข้ามาหาพืชของเรา
(2) เสริมสร้าง "เกราะ" ป้องกันอันแข็งแกร่ง แทงไม่เข้า
(ถ้าจะมีหลงหลุดรอดเข้ามาเจาะพืชเราได้บ้าง ก็ขอให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)
ต้องท่องจำให้ขึ้นใจ "การป้องกัน" สำคัญที่สุด และต้องปลอดภัย ไม่ใช่อะไร อะไรก็คิดได้แต่จะใช้แต่ "สารเคมี" เพื่อฆ่าตัวแมลงพาหะมัน เท่านั้น
การ "ฆ่า" (แมลงพาหะ) ยังไม่จบปัญหา ที่แท้จริงอย่างแน่นอน
การ "ถอน เผา" ทำลายทิ้ง ยิ่งไม่ใช่การแก้ปัญหา เพราะน้ำตาอดไหลไม่ได้ทุกครั้งที่ต้องตัดใจทำลายทิ้งต้นที่ติดโรคเป็นร้อยต้นพันต้น นะครับท่าน
และที่ผ่านมาแนวคิดเรื่อง "การกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน" และ "การสร้างความแข็งแรง" ให้พืช ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เราจึงควรหันมาสนใจในวิธีการควบคุมไวรัสด้วยแนวทางของกระบวนการ SAR (Systemic Acquired Resistance) โดยนำพาการใช้สาร Elicitor (อีลิซิเตอร์) ชั้นดีที่ใช่ไปกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้พืช เสมือนพืชได้รับ "วัคซีน" นะครับกับแนวทางใหม่ในการป้องกันและกำจัดไวรัสในพืช
แนวทางการป้องกันและกำจัดไวรัส แบบบูรณาการ นั่นคือ
1. ป้องกันแมลงพาหะ นำเชื้อไวรัส
1.1) ขับไล่ตัวพาหะ ( Insect Vector ) ที่นำพาเชื้อทำให้เกิดโรคพืช ด้วยการส่งสัญญาณขับไล่ตามกลไก ISR ( Induced Systemic Resistance ) ด้วยสารที่มีส่วนผสมของกรดอินทรีย์ที่ทำหน้าที่นี้หลายชนิด ซึ่งมีโปรตีนในรูปกรดอะมิโน มีธาตุอาหารเสริมหลายชนิดที่จำเป็นและสำคัญ อาทิแคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสีในรูปโมเลกุลเล็กสุด ที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เป็นองค์กระกอบหลักๆ ด้วย "ซิกน่า" ออล อิน วัน ( ZIGNA All in One )
1.2) สร้างผนังเซลล์ที่แข็งแกร่งเสมือนเป็นเกราะป้องกัน ด้วยสารที่สามารถสร้างผนังเซลล์ (Cell Wall) ให้ "แข็ง..จนเจาะไม่เข้า" อย่างสาร OSA ( Orthosilicic acid) เพื่อป้องกันแมลงและเพลี้ยต่างๆมาเจาะดูด ด้วย "ซาร์คอน" ( SARCON )
2. ป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัส ด้วยกระบวนการกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคพืช กับกระบวนการ Systemic Acquired Resistance : SAR ด้วย "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1)
2.1) สำหรับการป้องกันกำจัด & ควบคุมไวรัส ในเบื้องต้น ให้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน/ครั้ง ตั้งแต่เพาะกล้า,ย้ายปลูก
2.2) กรณีที่พบอาการแล้ว (ในระยะเริ่มต้น) ให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 - 5 วัน/ครั้ง ประมาณ 3 ครั้ง แล้วค่อยเว้นเป็น 7 - 10 วัน/ครั้ง
ติดตามดูประสบการณ์จริงในการแก้ปัญหาโรคจากไวรัสพืชในบางพืช อาทิยาสูบ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพืชอื่นๆ ได้ที่ http://paccapon.blogspot.com
ศึกษาการกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้พืชด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ Systemic Acquired Resistance : SAR ได้ที่ http://organelle1.blogspot.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
084-8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (พิมพ์@ด้วยนะครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น