ขบวนการสังเคราะห์แสงกับการสร้างสารสะสม
ขบวนการสังเคราะห์แสง เป็นขบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมี น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ
ขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช C3 พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 3 ตัว คือ G3P (Glyceraldehyde-3phosphate) ใน Calvin Cycle และสาร G3P จะถูกเปลี่ยนเป็นสารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาลโดยตรงต่อไป
ในพืช C4 และพืช CAM พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 4 ตัว คือ มาเลท (Malate) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็นสารสะสมต่างๆ ในพืชต่อไป ดังนี้
1. สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาล – พืช C4 และ CAM จะใช้มาเลทเป็นสารตั้งต้นให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ Calvin Cycle ได้สาร G3P ก่อนสังเคราะห์เป็นแป้งและน้ำตาลต่อไป
2. สารสะสมประเภท โปรตีน น้ำมัน น้ำยาง อัลคาลอยด์ สี กลิ่น ฮอร์โมนพืช ฯลฯ – พืช C4 และ CAM จะใช้ Pyruvate ที่ได้จาก Malate หลังจากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภทต่างๆ โดยมีขั้นตอน (Pathway) ตามลำดับต่อไป เช่น Pyruvate เป็นน้ำมันต่างๆ ได้โดยผ่าน Mevalonic Pathway เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง
1. สภาพของพืช ได้แก่ สภาพทางสรีรวิทยา เช่น สรีระของใบ อายุของใบ การเข้าทำลายใบของโรคพืช ที่มีผลต่อสภาพรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสง สภาพทางพันธุกรรม ได้แก่ C3, C4, CAM มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นๆ
2. แสง ได้แก่ ความเข้มของแสง ความเข้มของแสงสูงอัตราการสังเคราะห์แสงจะสูงแต่ถ้าเกินจุดอิ่มตัวจะทำให้ใบไหม้ได้ ความเข้มของแสงต่ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะต่ำ แต่อัตราการหายใจไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้นถ้าความเข้มของแสงต่ำเกินจุดอัตราสมดุลย์ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และ O2 พืชก็จะเริ่มไม่เจริญและตายในที่สุด ความยาวช่วงแสง อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับความยาวของช่วงวัน ความยาวคลื่นแสง พบว่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและสีน้ำเงินมีผลต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าแสงในช่วงคลื่นอื่นๆ
3. อุณหภูมิ ถ้าสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของเอ็มไซม์ในขบวนการ Dark Reaction ในอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้ปากใบปิดอัตราการหายใจสูงและอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง
4. ความเข้มข้นของก๊าซในบรรยากาศ เช่น CO2 มากทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวอัตราการสังเคราะห์ก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีก O2 มากจะลดการสังเคราะห์แสงของพืช C3 เพราะแย่งการใช้วัตถุดิบ RuBP ตัวเดียวกับ CO2
5. ธาตุอาหาร มีผลต่อการสังเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ธาตุอาหารหลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการสังเคราะห์แสง
6. ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ เพราะน้ำเป็นแหล่งอิเลคตรอนที่ใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง น้ำมีผลต่อการปิดเปิดปากใบทำให้มีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้าไปใบ น้ำมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในระดับเซล
ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด จากปัจจัยที่มีผลได้ข้างต้น "พาร์ทเวย์"(PATHWAY#Ipp) สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือมาเลท(MALATE) แก่พืชโดยตรง เพื่อชดเชยการขาดมาเลท(MALATE)จากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาของพืช
ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารามีส่วนประกอบของสาร cis-polyisoprene(C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ
Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA
GAP/Pyrubate Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้น จาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10), FPP(C15), และ GGPP(C20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลีเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT) โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis-polyisoprene
กว่าจะมาเป็น"น้ำยางพาราธรรมชาติ" ต้องผ่านกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) โดยมีสาร"ตั้งต้น"(Precursor) ในการเริ่มต้นสังเคราะห์น้ำยาง ให้มั่นใจว่า"พาร์ทเวย์" (PATHWAY)ที่มี"สารตั้งต้น"ในกระบวนการสร้างน้ำยาง ยิ่งใช้ยิ่งดี น้ำยางยิ่งมีน้ำหนัก เนื้อแน่น (โมเลกุลน้ำยางยาวขึ้น) เปอร์เซนต์น้ำยางสูงขึ้น เปอร์เซนต์น้ำยางไม่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเจอภาวะอากาศแปรปรวนใดๆก็ตามที "พาร์ทเวย์"(PATHWAY)จะไปช่วยให้ต้นยางที่สร้าง"สารตั้งต้น" (Precursor) ไม่ดีหรือมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสังเคราะห์น้ำยาง ให้มี"สารตั้งต้น"(Precursor) ที่เพียงพอต่อการสังเคราะห์น้ำยางได้มากขึ้นหรือเป็นปกติขึ้น ไม่ต้องถามว่าเป็น"สารเร่ง" หรือไม่? ตอบได้เลยว่า"ไม่ใช่" เพราะมันไม่มี "เอทธิลีน"(Ethylene) จริงๆแล้วต้นยางพาราขาด"สารตั้งต้น"( Malate) ตัวนี้ไม่ได้จริงๆ ถ้ายังคิดว่าต้องการน้ำยางพาราอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไป การสร้าง"น้ำยางพารา" จึงต้องผ่านสารตัวนี้อยู่ดี
(ที่ให้ใช้"พาร์ทเวย์"ควบคู่กับ"อีเรเซอร์-1" ก็เพราะมันมีความจำเป็นต้องรักษาแผลที่หน้ายางตลอดเวลาไม่ให้ติดเชื้อโรค และต้องฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงที่จะเข้าทำลายบริเวณแผลที่หน้ายางด้วยสารฆ่าเชื้อแบบเฉียบพลัน และยังต้องป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับหน้ายางอีกด้วย ที่สำคัญต้นยางเองยังต้องมีการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อเปลือกทดแทน(Revitalize) ส่วนที่เสียหายไปจากการกรีดให้กลับคืนมาเป็นหน้าปกติอีกด้วย ซึ่งกรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่ม Hydroxy acid บางตัวที่มีอยู่ใน"อีเรเซอร์-1"สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
Natural rubber latex biosynthesis
Latex in rubber trees contains cis-polyisoprene (C5H8) and
high quality latex, with long molecular particles, contains a high proportion
of this compound.
A precursor to natural latex production is Malate which is
converted to Acetyl-CoA and Pyruvate before being biochemically processed to
become IPP, the smallest molecular particles in natural rubber.
The Isoprenoid Pathway is a biosynthesis of IPP, through a
conversion of Malate into Acetyl-CoA.
GAP/Pyruvate Pathway is a synthesis of IPP, through a
conversion of Malate into Pyruvate.
The IPP substance derived will be combined, through an IPPI
enzyme with Mg2+ as a catalyst, and becomes a substance with a high carbon
content, changing from IPP (C5) to DMAPP (C5), GPP (C10), FPP (C15) and GGPP
(C20) respectively. In the final process, each molecule of GGPP forms a polymer
chain, by the Rubber Transferase enzyme (RuT), employing IPP as a connector for
GGPP and developing a long molecular chain in the form of Cis-polyisoprene.
ในธรรมชาติต้นยางที่ถูกกรีดจะสร้างภูมิต้านทานตนเอง
โดยจะหลั่งกรดอินทรีย์ Hydroxy acid
กระตุ้นให้เซลล์ สร้างโปรตีนและสารต่างๆ ออกมาเพื่อสมานแผลจากการกรีด ป้องกันโรคแทรกซ้อน และสร้างหน้ายางใหม่ ขึ้นมาทดแทน
กลไกป้องกันตนเองของต้นยางด้วย Hydroxy acid
- กระตุ้นการสมานแผลจากการกรีด โดยกระตุ้นการสร้างและสะสม lignin เสริมความแข็งแรงที่ผนังเซลล์
- กระตุ้นการสร้าง phenolics ,phytoalexin , PR-proteins เพื่อช่วยป้องกัน เชื้อโรคแทรกซ้อน จาก
บาดแผลที่กรีด
- กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและสารอาหาร (water circulation ) ในระบบท่อลำเลียงดีขึ้น มากขึ้น
- เพิ่มการแบ่งเซลล์ของเยื่อเจริญสร้างเป็นหน้ายางใหม่ได้เร็วขึ้น และรักษาสมดุลของเซลล์ ทำให้การแบ่งเซลล์
สมบูรณ์ไม่ผิดรูปร่าง
- ฟื้นฟูสภาพและการทำหน้าที่ต่างๆของเซลล์ให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเซลล์ใหม่ (revitalize)
ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)
โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยต้นยางไม่โทรมด้วยวิธีทางชีวเคมีเคมี เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยวิธีทางชีวเคมีที่ดีและถูกต้อง เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการบำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง และไม่ใช่วิธีเร่งแบบเดิมๆ ด้วยการใช้สารเร่งการแก่ของพืชอย่าง เอทีฟอน (Ethephon) ซึ่งสามารถ
เพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ดี แต่ก็จะทำให้ต้นยางโทรม ต้นยางตายและต้นยางอาจตายก่อนอายุกำหนดในที่สุด
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยสารเคมีที่เหมาะสมอย่างถูกวิธีประกอบด้วย 3 แนวทางประกอบกัน ได้แก่
1. การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง
2. การบำรุงสภาพหน้ายางและเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer)
ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
3. ให้ต้นยางแบ่งเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น
การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง
น้ำยางที่เกิดขึ้นต้องมีวัตถุดิบในการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสงแดด ดังนั้น ถ้าต้องการน้ำยางมากก็จำเป็นต้องให้วัตถุดิบเหล่านี้มากตามไปด้วยแต่ในสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม หรือสภาพต้นยางที่ไม่สมบูรณ์ ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางจะไม่สมบูรณ์ ทำให้บางครั้ง การนำปุ๋ยและธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ไม่เต็มที่ การให้ สารตั้งต้น(Precursor) อย่างสาร Malate ( PATHWAY )
เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาจากสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ เพิ่มวัตถุดิบในการผลิตน้ำยางได้ทันทีทุกสภาพแวดล้อม
บำรุงสภาพหน้ายางและเซลผลิตน้ำยางให้สมบูรณ์แข็งแรง
ถ้าเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) แข็งแรงไม่เกิดเชื้อโรคเข้าทำลาย การผลิตน้ำยางก็จะสม่ำเสมอเป็นปกติ การใช้เอทีฟอน เป็นประจำจะเร่งการตายของเซลล์ผลิตน้ำยาง น้ำยางได้มากช่วงแรก แต่เมื่อเซลล์ตายก็ไม่สามารถผลิตน้ำยางได้ในที่สุด การทำให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรงและการลดเชื้อโรคบริเวณหน้ายาง ทำได้โดยการกระตุ้นภูมิต้านทานป้องกันตนเอง
(self defense mechanism) ให้ต้นยาง ด้วยกรดอินทรีย์ Hydroxy acid
(อย่าง ERASER-1) ทำให้สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าทำลายเซลล์ผลิตน้ำยาง
บริเวณหน้ายางได้ดีขึ้น และยังส่งเสริมให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรง ผลิตน้ำยางสม่ำเสมอ สร้างหน้ายางใหม่สมบูรณ์และกรีดง่าย
การเพิ่มจำนวนเซลล์ผลิตน้ำยาง
ถ้ามีเซลล์ผลิตน้ำยางมากก็จะมีผลผลิตน้ำยางมาก ซึ่งโดยธรรมชาติเซลล์ผลิตน้ำยาง
จะเกิด จากการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อเจริญที่อยู่ใต้ชั้น เปลือกของต้นยาง (ลึกกว่ารอยกรีดเล็กน้อย) การให้ MeJA (อย่าง LATEK) เพียงเล็กน้อย จะทำให้การแบ่งตัวของเยื่อเจริญได้เป็นเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น
ERASER-1 (อีเรเซอร์-1 )
ในธรรมชาติต้นยางที่ถูกกรีดจะสร้างภูมิต้านทานตนเองขึ้นมา
โดยจะหลั่งกรดอินทรีย์ Hydroxy acid เพื่อ กระตุ้นให้เซลล์ สร้างโปรตีนและสารต่างๆ ออกมาเพื่อสมานแผลจาก
การกรีด และ ป้องกันโรคแทรกซ้อน ตลอดจนสร้างหน้ายางใหม่ ขึ้นมาทดแทน
กลไกป้องกันตนเองของต้นยางด้วย Hydroxy acid
- กระตุ้นการสมานแผลจากการกรีด โดยกระตุ้นการสร้างและสะสม lignin เสริมความแข็งแรงที่ผนังเซลล์
- กระตุ้นการสร้าง phenolics ,phytoalexin , PR-proteins เพื่อช่วยป้องกัน เชื้อโรคแทรกซ้อน จาก
บาดแผลที่กรีด
- กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและสารอาหาร (water circulation ) ในระบบท่อลำเลียงดีขึ้น มากขึ้น
- เพิ่มการแบ่งเซลล์ของเยื่อเจริญสร้างเป็นหน้ายางใหม่ได้เร็วขึ้น และรักษาสมดุลของเซลล์ ทำให้การแบ่งเซลล์
สมบูรณ์ไม่ผิดรูปร่าง
- ฟื้นฟูสภาพและการทำหน้าที่ต่างๆของเซลล์ให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเซลล์ใหม่ (revitalize)
ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)
โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยต้นยางไม่โทรมด้วยวิธีทางชีวเคมีเคมี เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยวิธีทางชีวเคมีที่ดีและถูกต้อง เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการบำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง และไม่ใช่วิธีเร่งแบบเดิมๆ ด้วยการใช้สารเร่งการแก่ของพืชอย่าง เอทีฟอน (Ethephon) ซึ่งสามารถ
เพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ดี แต่ก็จะทำให้ต้นยางโทรม ต้นยางตายและต้นยางอาจตายก่อนอายุกำหนดในที่สุด
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยสารเคมีที่เหมาะสมอย่างถูกวิธีประกอบด้วย 3 แนวทางประกอบกัน ได้แก่
1. การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง
2. การบำรุงสภาพหน้ายางและเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer)
ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
3. ให้ต้นยางแบ่งเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น
การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง
น้ำยางที่เกิดขึ้นต้องมีวัตถุดิบในการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสงแดด ดังนั้น ถ้าต้องการน้ำยางมากก็จำเป็นต้องให้วัตถุดิบเหล่านี้มากตามไปด้วยแต่ในสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม หรือสภาพต้นยางที่ไม่สมบูรณ์ ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางจะไม่สมบูรณ์ ทำให้บางครั้ง การนำปุ๋ยและธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ไม่เต็มที่ การให้ สารตั้งต้น(Precursor) อย่างสาร Malate ( PATHWAY )
เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาจากสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ เพิ่มวัตถุดิบในการผลิตน้ำยางได้ทันทีทุกสภาพแวดล้อม
บำรุงสภาพหน้ายางและเซลผลิตน้ำยางให้สมบูรณ์แข็งแรง
ถ้าเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) แข็งแรงไม่เกิดเชื้อโรคเข้าทำลาย การผลิตน้ำยางก็จะสม่ำเสมอเป็นปกติ การใช้เอทีฟอน เป็นประจำจะเร่งการตายของเซลล์ผลิตน้ำยาง น้ำยางได้มากช่วงแรก แต่เมื่อเซลล์ตายก็ไม่สามารถผลิตน้ำยางได้ในที่สุด การทำให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรงและการลดเชื้อโรคบริเวณหน้ายาง ทำได้โดยการกระตุ้นภูมิต้านทานป้องกันตนเอง
(self defense mechanism) ให้ต้นยาง ด้วยกรดอินทรีย์ Hydroxy acid
(อย่าง ERASER-1) ทำให้สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าทำลายเซลล์ผลิตน้ำยาง
บริเวณหน้ายางได้ดีขึ้น และยังส่งเสริมให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรง ผลิตน้ำยางสม่ำเสมอ สร้างหน้ายางใหม่สมบูรณ์และกรีดง่าย
การเพิ่มจำนวนเซลล์ผลิตน้ำยาง
ถ้ามีเซลล์ผลิตน้ำยางมากก็จะมีผลผลิตน้ำยางมาก ซึ่งโดยธรรมชาติเซลล์ผลิตน้ำยาง
จะเกิด จากการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อเจริญที่อยู่ใต้ชั้น เปลือกของต้นยาง (ลึกกว่ารอยกรีดเล็กน้อย) การให้ MeJA (อย่าง LATEK) เพียงเล็กน้อย จะทำให้การแบ่งตัวของเยื่อเจริญได้เป็นเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น
"วงจรการสังเคราะห์น้ำยางพาราธรรมชาติ"
ออร์กาเนลไลฟ์ เข้มข้นกว่าที่คุณคิด คนออร์กาเนลไลฟ์ต้อง" รู้ลึก รู้จริง" อาทิเช่น กว่าจะมาเป็นน้ำยาง มันมาได้อย่างไร? ไม่ใช่..ไปบอกอะไรกับเกษตรกรแบบง่ายๆ เพียงเพราะว่าอยากให้ได้ขายสินค้า แต่ไม่รู้ว่าที่มาที่ไปของกลไกการทำงานของสารต่างๆที่มีอยู่ในสินค้าว่ามันคืออะไร มันมีกลไกทำงานอย่างไร? ใครก็พูดได้ว่าฉีดสินค้าตัวนั้นตัวนี้แล้วดี น้ำยางจะไหลดี น้ำยางจะมีน้ำหนักมาก (น้ำยางหนักมากได้เพราะอะไร) หรือไปบอกว่าใช้สินค้าตัวนี้แล้วปาล์มน้ำมันให้น้ำมันดี มีเปอร์เซนต์น้ำมันสูง (ปาล์มน้ำมันให้น้ำมันดีเพราะอะไร? และกลไกมันเป็นอย่างไร? และน้ำมันปาล์มให้มีเปอร์เซนต์สูงๆได้เพราะอะไร?) "สาร"อะไรหรือ?..ที่มีอิทธิพลในการทำงานของกระบวนการต่างๆที่พืชมี นี่คือ..สิ่งที่เราต้องอธิบายให้เกษตรกรได้รู้เพื่อให้เกิดปัญญาในการตัดสินใจว่าอะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง และให้พวกเขาได้รับรู้ความจริงที่ถูกต้องจริงๆ ไม่ใช่..ไปบอกแค่เพียงว่า"ใช้เลยน่า ใช้แล้วดีจริงๆนะ มันดีนะ ใครๆเขาก็ใช้กัน " มันยังไม่เพียงพอ มันต้องให้ข้อมูลและ"องค์ความรู้"ที่ถูกต้องให้เขามากกว่านั้น ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไรแห่ง"องค์ความรู้"นั้นๆ ไม่ใช่..ไปบอกเพียงว่า" ลุงมา แกก็ใช้ ป้าประไพแกก็ว่าดี อ้ายมี อ้ายจันทร์ มันก็ใช้และบอกว่าใช่ "ผมว่ามันยังไม่พอนะ เพราะต่อไปใครจะมาทำงานการเกษตรกับเกษตรกรต้องใส่ใจเรื่องนี้ให้มาก ต้องมี"ความจริง"ให้เขา ไม่สุกเอาเผากินโดยไม่บอก"ความจริง"อะไรให้พวกเขาเลย ไม่ง่ายเลยใช่ไหม? ถ้าต่อไปใครจะทำงานขายสินค้าให้กับเกษตรกรจะต้องใช้"องค์ความรู้"ที่เป็นความจริงเพื่อขายสินค้าที่แก้ปัญหาให้พืชได้จริงๆ ต้อง" รู้ลึก รู้จริง" ต้องอบรมเรียนรู้ เพื่อให้" รู้ลึก รู้จริง" เป็นที่พึ่งพิงแก่เกษตรกรได้ และต้องไม่ไปเป็นตัวภาระต่อเกษตรกร เพราะต่อไปมีทางเลือกให้อยู่ 2 ทาง ให้เลือกในการขายสินค้าเกษตรให้เกษตรกร คือเราจะเลือกขายสินค้าเพื่อ"สร้างบาป". หรือเราจะเลือกขายสินค้าเพื่อ"สร้างบุญ" ท่านต้องเลือกเอาเองแล้วครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น