FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แคลเซียม - โบรอน

มารู้จักกับ..แคลเซียม-โบรอน กันเถอะ

แคลเซียม-โบรอน สำคัญและจำเป็นต่อพืชอย่างไร?? 

      ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในภาคของเกษตรกรรมอาชีพที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน  แต่ยิ่งนานวันยิ่งทำให้เกษตรกรต้องพบกับปัญหาด้านการจัดการที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ย  การให้อาหารเสริม  ตลอดจนหลักการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ  ตรงความต้องการของพืช  เกษตรบางส่วนยังไม่ได้ทำความเข้าใจถึงหลักความต้องการของพืชอย่างแท้จริงว่าการให้ปุ๋ย  อาหารเสริม  หรือผลิตภัณฑ์อะไรก็ตามที่ให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างไร?  
กระบวนการทำงานระหว่างพืชและสิ่งที่ใส่ลงไปทำงานร่วมกันอย่างไร?  โดยเฉพาะการทำผลไม้นอกฤดู  พืชมีความต้องการ  จนเรียกว่ามีความจำเป็นต้องใช้  “แคลเซียม-โบรอน”  อย่างมากเพราะอะไร

                แคลเซียมโบรอน  เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดและพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที  ประกอบด้วย  แคลเซียม , โบรอน  กรดอะมิโน 17  ชนิด  และอื่นๆ  ในสัดส่วนที่เหมาะสม  ช่วยเพิ่มผลผลิต  เพิ่มการผสมเกสร  ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล  ขยายขนาดผล  กระตุ้นการแตกตาดอก  ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี  ทำให้พืชแข็งแรง ใบเขียว  ป้องการอาการก้นดำในมะเขือเทศ  ไส้ดำในกะหล่ำปลี  ทำให้โครงสร้างพืชแข็งแรง  ต้านทานโรคได้ดี




                พืชมีความต้องการธาตุอาหารต่างๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต  ซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน  16  ธาตุ  คือ  คาร์บอน , ไฮโดรเจน , ออกซิเจน , ไนโตรเจน , ฟอสฟอรัส , โพแตสเซียม , แมกนีเซียม , กำมะถัน , แคลเซียม , เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง , โบรอน ,โมลิบดีนัมและคลอรีน  โดยธาตุคาร์บอน , ไฮโดรเจน  และออกซิเจน พืชได้จากน้ำและอากาศ  ส่วนที่เหลืออีก  13  ธาตุแบ่งออกเป็นธาตุหลัก  6 ธาตุ  และธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ  ดังนี้
                ธาตุหลักและธาตุอาหารรอง  6  ธาตุ  ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณมากที่มาจากดินคือ  ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส , โพแตสเซียม , แมกนีเซียม , กำมะถัน , แคลเซียม 

                ธาตุอาหารเสริม  7  ธาตุ  ที่พืชใช้ในปริมาณที่น้อยแต่พืชจะขาดธาตุอาหารเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน  คือ  เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง , โบรอน , โมลิบดีนัม  และคลอรีน

                ปกติแล้วธาตุอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว  แต่ในปริมาณที่น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช  ดังนั้นเราจึงต้องมีการเสริมธาตุในดินทดแทน 
               
“แคลเซียม โบรอน”  มีความจำเป็นอย่างไรต่อการทำผลไม้นอกฤดู?  ตลอดจนกระบวนการทำงานของพืช

                 ธาตุแคลเซียม  เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต  ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น  ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ด  พืชจะมีความจำเป็นต้องใช้มาก  เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช  เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป  ประกอบกับเป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์  ช่วยในการแบ่งเซลล์  การผสมเกสร  การงอกของเมล็ด  และช่วยให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี

                อาการของพืชที่ขาดแคลเซียม  จะพบมากในบริเวณยอดใบที่เจริญใหม่ๆ  หงิกม้วนงอและขาดเป็นริ้วๆ ตายอด
ไม่เจริญ  อาจมีจุดดำที่เส้นใบ  รากสั้น  ยอดอ่อนจะแห้งตายทั้งนี้แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว  หินปูนบด  หินปูนเผา  เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน  หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน

                นอกจากนี้แคลเซียมยังเกี่ยวข้องกับการคายน้ำเพราะฉะนั้นในสภาพอากาศที่ร้อนต้องให้แคลเซียมมากขึ้น  “แล้วถ้าเกิดติดดอกมากในช่วงนอกฤดูความชื้นในอากาศมันต่ำกว่า  มันก็ต้องคายน้ำออกเพื่อ  การที่จะคายน้ำได้ดีก็ต้องใช้พลังมากไปเผาผลาญน้ำตาลจึงต้องใช้แคลเซียมโบรอนโดยเฉพาะการทำผลไม้นอกฤดูจึงจำเป็นมาก

          ธาตุโบรอน มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดึงดูดธาตุอาหารพืช  ช่วยให้พืชดูดธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น  มีบทบาทในการสังเคราะห์แสงการย่อยโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และเพิ่มคุณค่าทั้งรสชาติ  ขนาด  และน้ำหนักของผล  เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต  เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง  ในขณะที่ช่วยการออกดอกและผสมเกสร  ช่วยในการติดผล  และเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล  การเคลื่อนย้ายฮอร์โมนการใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนในการแบ่งเซลล์



                หากขาดธาตุโบรอน  ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคือ  ส่วนยอดและใบอ่อน  จะบิดงอ  ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ  เส้นกลางใบหน้ากร้าน  และตกกระ  มีสารเหนียวๆ  ออกมาตามเปลือกของลำต้น  ตายอดตายแล้วมีตาข้าง  แต่ตาข้างก็จะตายเหมือนกัน  ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว  กิ่งก้านใบจึงชิดกัน  ใบเล็ก  หนา  ผลเล็กและแข็งผิดปกติ  มีเปลือกหนาบางทีผลแตกเป็นแผลได้




                อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมากๆ ควรทำการปรับปรุงดินอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก  และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย

                “แคลเซียมเพิ่มความหวาน  สร้างน้ำตาล  แต่การเคลื่อนย้ายเกี่ยวข้องกับโบรอน  แคลเซียมเผาผลาญไนโตรเจนเพราะฉะนั้นแคลเซียมกับไนโตรเจนจึงไปด้วยกัน  ถ้าขาดแคลเซียม  ไนโตรเจนก็ไม่เกิดขึ้น  เพราะฉะนั้นที่ถามว่าทำไมถึงต้องใช้แคลเซียม-โบรอน  ตามหลักวิชาการก็คือเราใช้ตอนที่ดินมันขาด  หรือเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในช่วงที่ต้องใช้พลังงานเยอะ  เพราะมันต้องเผาผลาญไนโตรเจน  แล้วถามอีกว่าแคลเซียมเกี่ยวข้องอะไร  ก็อย่างที่บอกว่าการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลเกี่ยวข้องกับโบรอน  เพราะฉะนั้นจึงสำคัญมากในการทำผลไม้นอกฤดู” 




                นอกจากนั้นหลักการให้แคลเซียม-โบรอน  จะต้องพิจารณาสภาพอากาศในช่วงนั้นๆ  ด้วย ยกตัวอย่าง  ต้นไม้อาจจะเจอกับสภาพอากาศไม่เหมาะสม  ดินมีธาตุอาหารที่เพียงพอที่พืชสะสมไว้  อย่างในช่วงที่ดอกกำลังจะบาน  และช่วงผลจะติด  หากพบว่าดอกกำลังตูมอยู่ในช่วงกำลังจะบานสามารถใช้แคลเซียม-โบรอนได้  เพราะจะไปช่วยให้รังไข่สมบูรณ์ขึ้น  ในขณะเดียวกันเมื่อใช้แคลเซียมโบรอนในช่วงนี้ได้แคลเซียม และ โบรอน  ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของโพแทสเซียมในการสังเคราะห์น้ำตาล  แป้ง  และเคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ผล  จากนั้นให้แคลเซียมโบรอนอีกครั้งช่วงติดผล  อย่างเช่นมะม่วง  ครั้งแรกฉีดก่อนดอกบาน  เมื่อดอกบานไปแล้วเว้นไว้ประมาณ  5-7  วัน  แล้วจึงฉีดแคลเซียม-โบรอนอีกครั้ง




                บทบาทสำคัญของแคลเซียมโบรอน กับผลไม้นอกฤดู ขอทิ้งท้ายไว้ว่า  แคลเซียม ช่วยในการคายน้ำ  พืชที่ต้องออกดอก  ออกผลในช่วงที่อากาศไม่เป็นใจเพราะฉะนั้นแคลเซียมจึงมีส่วนสำคัญ  เช่น  พืชคายน้ำจากใบพืช  1 ซีซี  จะสามารถลดอุณหภูมิได้  15 องศาเซลเซียส  จากผิวใบซึ่งเป็นหลักทั่วๆ ไปของพืช  เมื่อใบสังเคราะห์แสงทั้งวันสมมุติที่อุณหภูมิ  40  องศาเซลเซียส  อาจจะทำให้ใบไหม้แต่หากมีการสะสมแคลเซียมที่เพียงพอจะช่วยไม่ให้ใบไหม้ได้
                ด้านโบรอน ก็เป็นตัวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้ง  และน้ำตาลให้กับพืช  ที่เป็นสารพลังงานซึ่งเป็นโปรดักส์ที่ได้จากโพแทสเซียม  เพราะฉะนั้นในช่วงที่ต้องคายน้ำมาก  ต้องใช้พลังงานมาก  โบรอนจึงทำหน้าที่จูงสารพลังงานมาให้  “เหมือนเตาเชื้อเพลิง  ถ้าเชื้อเพลิงหมด  ก็เผาผลาญไม่ได้”  ดังนั้น แคลเซียมโบรอน  จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการทำผลไม้นอกฤดู

                “ฉีดแคลเซียมโบรอนช่วงก่อนดอกบาน  เพื่อช่วยในการขยายเซลล์  อย่างเช่นในมะม่วง  หนึ่งก้านจะติดดอกจำนานมาก   ทำให้เกิดการแข่งขันใช้เซลล์  แต่ต้องระวังหากใช้ผิดจังหวะมีผลเสียแน่นอน  เพราะจะทำให้ธาตุอาหารไม่สมดุลกัน  อย่างฉีดในช่วงที่ดอกบานมันอาจเสียหายได้  หรือยกตัวอย่างเมื่อมีฝนตกหนักดินบริเวณนั้นๆ จะเป็นกรด  เมื่อได้รับแคลเซียมโบรอนเข้าไปอีกก็กลายเป็นกรดไปเลย  เป็นต้น”

                แคลเซียมโบรอน นับเป็นธาตุอาหารพืช  ที่เกษตรกรใช้กันมาก  เพราะนอกจากจะช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็งแรงแล้วยังช่วยพืชออกดอกออกผลได้ง่าย  ขั้วเหนียว  สีสวย  เนื้อแน่น  รสชาติดี  ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี  หากแต่เกษตรกรต้องใช้หลักความรู้ความเข้าใจให้มากในกระบวนการใช้สำหรับไม้ผล หรือพืชให้ผล ประโยชน์ของ แคลเซียมโบรอน พอจะสรุปได้ดังนี้ 
1.เร่งการขยายขนาดของผลได้อย่างรวดเร็ว เนื้อแน่น 
2.ป้องกันการแตกของผลขณะขยายขนาดผลหรือช่วงฝนตกได้ดี 
3.เร่งการงอก เพิ่มการติดเมล็ด เมล็ดงอกไว ได้ต้นใหญ่และแข็งแรง 
4.เร่งการแตกรากแตกยอดใหม่ ช่วยสร้างระบบรากให้แข็งแรง รากแผ่กระจายมากขึ้น ดูดกินอาหารดีขึ้น 
5.ขยายตาดอก สร้างตาดอก ตาดอกที่เล็กแกร็น ไม่สมบูรณ์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ เสริมสร้างการเจริญเติบโต 
6.ขยายรังไข่ในดอก ช่วยทำให้รังไข่ขยายโตแข็งแรง รอรับการผสมเกสรตัวผู้ได้ดี ทำให้ติดผลได้มากขึ้น


ท่านทราบไหมว่า..แคลเซียม-โบรอน มีอยู่ใน ...
พาร์ทเวย์ เพาเวอร์-ไฟว์ (POWER-5) และใน "โออาร์จี - วัน (ORG-1)"

สำหรับ พาร์ทเวย์ -เพาเวอร์-ไฟว์ (POWER-5) และ โออาร์จี - วัน (ORG-1)
มีแคลเซียม – โบรอน เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง ในรูป อะมิโน คีเลท (Amino Chelate) เมื่อใช้กับพืชทั่วๆไป แคลเซียม-โบรอน จะช่วยให้เกิดผลแตกต่างจาก แคลเซียม-โบรอนทั่วๆไปคือ

• ช่วยแก้ไขอาการขาดธาตุแคลเซียมและธาตุโบรอนในพืชได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน ในรูปของ อะมิโน คีเลท ซึ่งมีโมเลกุลเล็กมากทำให้ดูดซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อเทียบกับคีเลทชนิดอื่นๆ และยังสามารถเคลื่อนที่ง่ายและรวดเร็ว เพื่อไปยังส่วนต่างๆได้อย่างสมบูรณ์

• ช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์ (Cell Wall) ให้แข็งแกร่งในรูปของ แคลเซียม แพคเตท (Calcium Pectate) ทำให้ช่อดอกแข็งแรง ขั้วดอก ขั้วผลเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วงของทั้งดอกและผล และลดปัญหาการแตกของผล  


• ช่วยสร้างและน้ำตาลที่ใบ และควบคุมการเคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ผลได้ดี

• ช่วยให้การติดผล การติดเมล็ด การติดฝักของพืชแต่ละชนิดดีขึ้น โดยการกระตุ้นเกสรตัวผู้ให้งอกไปผสมกับไข่ในเกสรตัวเมียได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตสูง

• ช่วยให้มะเขือเทศ ไม่มีอาการก้นผลเน่า และพริกไม่มีอาการ กุ้งแห้งเทียม


• ผลไม้ต่างๆ จะมีรูปทรงดี ไม่มีผลที่รูปร่างบิดเบี้ยว ไม่ได้รูปทรง ทรงจึงสวย เป็นที่ต้องการของตลาด

• คุณภาพของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวดีขึ้น ไม่เน่าช้ำง่าย ทนแรงกระแทก ทนต่อการขนส่งดี

• ทำให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรง ทนต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง
• ลดความสูญเสียระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่ง

สรุป: ประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน (CaB) ใน พาร์ทเวย์ เพาเวอร์-ไฟว์ (POWER-5) และ โออาร์จี - วัน (ORG-1) จะช่วยเร่งการขยายขนาดของผลได้อย่างรวดเร็ว เนื้อแน่น ป้องกันการแตกของผลขณะขยายขนาดผลหรือช่วงฝนตกได้ดี เร่งการงอก เพิ่มการติดเมล็ด เมล็ดงอกไว ได้ต้นใหญ่และแข็งแรง เร่งการแตกรากแตกยอดใหม่ ช่วยสร้างระบบรากให้แข็งแรง รากแผ่กระจายมากขึ้น ดูดกินอาหารดีขึ้น ขยายตาดอก สร้างตาดอก ป้องกันตาดอกที่เล็กแกร็นไม่สมบูรณ์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ เสริมสร้างการเจริญเติบโต ทำให้ดอกโปนใหญ่ ทนร้อน ทนหนาว ทนแดด ทนฝน ขยายรังไข่ในดอก ช่วยทำให้รังไข่ขยายโตอวบอ้วนแข็งแรง รอรับการผสมเกสรตัวผู้ได้ดี ทำให้ติดผลได้มากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง    
ดร.สุนทร  พิพิธแสงจันทร์  คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา






 หน้าที่ ที่สำคัญของ พาร์ทเวย์ -เพาเวอร์-ไฟว์ (POWER-5)
1. กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ และสังเคราะห์โปรตีน
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์
3. การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน
4. ช่วยให้พืชสามารถนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดีขึ้น และก็ช่วยให้การดูดซึมจุลธาตุอาหารทางใบดีขึ้น
     ช่วยปรับปรุงการดูดซึมธาตุอาหารทางราก
5. เพิ่มการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน
6. กระตุ้นการสร้างดอก  ช่วยการผสมเกสร ติดผลดก ลดการหลุดร่วง
7. ช่วยขยายขนาดผล  เร่งการสุกของผล
8. ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
9. พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง

คุณประโยชน์ของ พาร์ทเวย์ -เพาเวอร์-ไฟว์ (POWER-5)
- ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้



 หน้าที่ ที่สำคัญของ ORG-1
1. กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ และสังเคราะห์โปรตีน
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์
3. การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน
4. ช่วยให้พืชสามารถนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดีขึ้น และก็ช่วยให้การดูดซึมจุลธาตุอาหารทางใบดีขึ้น
     ช่วยปรับปรุงการดูดซึมธาตุอาหารทางราก
5. เพิ่มการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน
6. กระตุ้นการสร้างดอก  ช่วยการผสมเกสร ติดผลดก ลดการหลุดร่วง
7. ช่วยขยายขนาดผล  เร่งการสุกของผล
8. ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
9. พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง

คุณประโยชน์ของ ORG-1
- ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้

หมายเหตุ :  "แนะนำให้ใช้ร่วมกับ ORG-2 จะเกิดประโยชน์สูงสุด"






สั่งดอก สั่งดก ORG-1 & ORG-2 : สำหรับพืช
ต้องคู่นี้จริงๆ
• จะสั่งดอก
• จะสั่งช่อ
• จะสั่งผล
• จะสั่งหนัก
• จะสั่งหวาน
• จะสั่งใหญ่

จะหนีไปจาก “คู่นี้” ไม่ได้จริงๆ
ก็มีให้มากมายและครบเครื่องซะขนาดนี้ มีหรือพืชไม่เปรมปรี ถ้ายังไม่เปรมปรี ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้วล่ะ

• Amino acid
• Carbohydrate as Monosaccharides
• Malate Compound
• Calcium-Boron (CaB)
• Magnesium chelate
• Potassium (K)
• Nitrogen  as No3 form

ORG-1 และ ORG-2 มีสาร Precursor ที่สำคัญในกระบวนการ Metabolism และมีคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharides) ที่เป็นพลังงานชั้นสูงในรูปน้ำตาลทางด่วนที่พืชต้องการและอยู่ในรูป Amino acid Chelateหลายชนิดที่สำคัญที่พืชต้องการ และยังมีสารสำคัญๆ อีกหลายชนิดที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Magnesium Chelate ( Mg), Calcium-Boron Chelate (CaB) , Nitrogen as NO3 และธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ Potassium (K) เป็นต้น ใช้ได้ดีกับทุกช่วงการเจริญเติบโตของพืช เหมาะสำหรับช่วงสะสมอาหาร เร่งใบแก่ เพิ่มคาร์โบไฮเดรต(แป้งและน้ำตาล) ให้พร้อมเต็มที่เพื่อการออกออก ช่วยเพิ่มอาหารยามพืชอ่อนแอหรือสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารเองได้ไม่เต็มที่ในช่วงแล้งจัด หนาวจัด หรือช่วงอากาศแปรปรวน ฟ้าปิดแสงแดดน้อย ที่สำคัญช่วยเพิ่มอาหารยามที่พืชต้องการในระยะแทงช่อดอกให้ช่อดอกแข็งแรง แทงช่อดอกออกมาได้ดี ช่อใหญ่สมบูรณ์ เพิ่มแป้งน้ำตาลเมื่อพืชต้องการขยายขนาดผลเพิ่มน้ำหนัก ช่วยเร่งความหวาน เพิ่มขนาด และสีผลเข้มสวย ทำให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง

ORG-1 และ ORG-2 มีลักษณะเป็นโมเลกุลที่พืชดูดซึมได้ง่าย พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที สามารถใช้ได้ดีทั้งแบบฉีดพ่นทางใบ ผสมน้ำราดดินรากสามารถดูดซึมได้ หรือให้ไปกับระบบน้ำ พืชสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางใบและทางราก

คุณประโยชน์ :
-ช่วยการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืชของพืช  ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว หรือแก้อาการต้นโทรม
-ช่วยให้พืชแตกใบใหม่ได้พร้อมๆกันทั้งลำต้น ยอด และใบที่สมบูรณ์
-ช่วยสะสมอาหาร ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลให้พืช พืชมีใบหนา ใบใหญ่เขียวเข้มสมบูรณ์
-ช่วยเติมสารอาหารแบบเร่งด่วนยามที่พืชอ่อนแอ เมื่อสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่
-ช่วยเปิดตาดอก เร่งแทงช่อดอก ให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
-ช่วยเร่งดอก ออกดอกดก  ช่วยให้ช่อดอกยืดยาว ช่อดอกอวบอ้วนสมบูรณ์
-ช่วยผสมเกสร ให้ติดผลดี ติดผลดก  ช่วยให้ขั้วเหนียว ลดการหลุดร่วง
-ติดผลดก ไม่หลุดร่วงง่าย ขยายขนาดผล เร่งผลโต อย่างสม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเปลือกให้หนา ยืดหยุ่นดี ไม่มีเปลือกแตกง่าย
-ช่วยให้พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน แห้งแล้ง
-ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง

อัตราใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองให้ทั่วทั้งต้น




ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้นะครับ
http://www.paccapon.blogspot.com/2015/06/1-org-1-2-org-2.html     ORG-1+ORG-2

http://paccapon.blogspot.com/2016/08/c6h12o6.html     การสังเคราะห์กลูโคส



ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
084-8809595 , 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยครับ)
คลิ๊กเพื่อถามทางไลน์ >>https://lin.ee/nTqrAvO


www.facebook.com/organellelife.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น