FB

fbq('track', 'ViewContent');

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565

การปรับสมดุลย์ฮอร์โมนให้พืช

 ● มารู้จัก “การปรับสมดุลย์ฮอร์โมนให้พืช” กันเถอะ !!

ทั้งพืชให้ผล และพืชหัว จะมีช่วงของการปรับสมดุลย์
ฮอร์โมน เพื่อการสร้างผลผลิตใน Growth & Development Stage of Plant Cycle

- รถยนต์เอง ยังต้องมีเกียร์ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์
พืชเองก็มี “ฮอร์โมน” ที่เสมือนเป็น”เกียร์” รถ เพื่อ
ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของเขา

- ซึ่งพืชเอง ก็ต้อง มีการ “ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนพืช”
ให้เหมาะสม ในแต่ละช่วง การเจริญเติบโต
(Growth Stage) เหมือนการ “เปลี่ยนเกียร์” รถให้
เหมาะสมในการขับเคลื่อนรถยนต์

● การปรับสมดุลฮอร์โมนให้เหมาะสมต่อพืช ในแต่ละ
ช่วงของ Growth Development Stage หัวใจ
สำคัญ ของการสร้างผลผลิตให้กับพืช

๏ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนใน Growth Stage ของพืช
ในช่วง Vegetative Growth Stage กับช่วง
Reproductive Growth Stage

● ความสมดุลย์ของฮอร์โมนพืช (Balance of Plant
Hormone) แต่ละช่วง คือ หัวใจสำคัญ ของการ
เจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืช

- เราเชื่อว่า..การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายของพืช เกิด
จากการกระตุ้น หรือการ “สั่งการ” จากฮอร์โมน
พืชแต่ละชนิด หรือพร้อมๆกันหลายชนิด

- เราเชื่อว่า..การเปลี่ยนสถานภาพ จากช่วงการ
เจริญเติบโตทางด้านลำต้น, กิ่งก้าน-สาขา และใบ
(Vegetative growth) ไปสู่ช่วงการเจริญพันธุ์ หรือ
การสร้างผลผลิต (Reproductive growth) หมาย
ถึง การสร้างดอก-สร้างผล, การสร้างหัว มีส่วน
สัมพันธ์กับ ปริมาณ “ฮอร์โมนพืช” (Plant
Regulator) ที่สมดุลในแต่ละช่วงด้วย

● มาเตรียมความดก ให้กับ “พืชให้ดอก-ให้ผล” กันเถอะ !!
● ด้วยการ “ปรับสมดุลย์ฮอร์โมน” จากช่วง Vegetative
Growth Stage ที่เหมาะสมให้เขา ก่อนเข้าสู่ช่วง
Reproductive Growth Stage (ระยะสืบพันธุ์) เพื่อเข้าสู่
การสร้างดอก-ผล เพื่อสร้างผลผลิต
๏ ติดดอกดี ติดผลดี
๏ ผลดก ผลใหญ่ เนื้อแน่น
๏ รสชาติดี ผิวดี สีสวย

ด้วย "สารปรับสมดุลฮอร์โมน & สารปรับสมดุล
อาหารและพลังงาน”
แอคซอน#3 + ซูการ์
(AXZON #3 + ZUKAR)
※ Jasmonic acid (JA)
※ Glutamic acid (GluA)
※ Other Organic acid (OA)
※ Amino acid (AA)
※ Carbohydrate as Monosaccharides
※ Fulvic acid (FuA)
※ Magnesium chelate (Mg)
※ Potassium (K)
**ใช้ได้กับทุกพืช **







🟣 สำหรับ..พืชหัว ต่างๆ
hormone ให้กับพืชหัว กันเถอะ !!

● มาเตรียม “ความดก ความใหญ่”
ให้กับ “มันสำปะหลัง” ของคุณ กันเถอะ !!
ด้วยการ “ปรับสมดุลย์ฮอร์โมน” ให้กับเขา
ก่อนเข้าสู่ระยะ Reproductive Growth Stage
หรือระยะสร้างหัว (Tuberization)
๏ หัวดก หัวใหญ่
๏ ลงหัวไว หัวใหญ่เร็ว
๏ เนื้อแน่น หัวหนัก แป้งสูง

🔴 หัวใจสำคัญ ในการสร้างผลผลิตของพืช เกือบทุก
พืช ด้วยการปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนพืช (Balance of hormone) กันเถอะ

● ความสมดุลย์ของฮอร์โมนพืช (Balance of Plant Hormone) คือ หัวใจสำคัญ ที่ต้องให้
ความสำคัญ ช่วงรอยต่อระหว่าง Vegetative
Growth Stsge (ระยะเจริญต้น, เจริญใบ) กับ
Reprpductive Stage (ระยะสร้างผลผลิต ติด
ดอก-ออกผล, สร้างหัว) นั่นคือ..
๏ เราเชื่อว่า..การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายของพืช
เกิดจากการกระตุ้น หรือการ “สั่งการ” จาก
ฮอร์โมนพืชแต่ละชนิด หรือพร้อมๆกันหลายชนิด

๏ เราเชื่อว่า..การเปลี่ยนสถานภาพจากช่วงการ
เจริญเติบโตทางด้านลำต้น, กิ่งก้าน-สาขา
และใบ (Vegetative growth) ไปสู่ช่วงการ
เจริญพันธุ์ (Reproductive growth) หรือ
การสร้างผลผลิต ซึ่งหมายถึง การสร้างหัว
หรือการสร้างดอก-สร้างผล นั้น มีส่วน
สัมพันธ์กับปริมาณ “ฮอร์โมนพืช” (Plant
Regulator) ที่สมดุลในแต่ละช่วงด้วย นั่นเอง

● ดังนั้น..ในพืชหัว การสร้างผลผลิตคือ การสร้าง
หัว (ลงหัว) เราจึงเลือกรอยต่อระหว่าง 2 ช่วง
ของ Growth Stage คือจากช่วง Vegetative growth) ไปสู่ช่วง Reproductive growth
๏ สำหรับในมันสำปะหลัง จะเป็นช่วงอายุ 75-90 วัน,
ในมันเทศ จะเป็นช่วงอายุ 35-40 วัน,
ในถั่วลิสงจะเป็นช่วงอายุ 35-40 วัน (โดยประมาณ) ที่จะปรับสมดุลฮอร์โมน เพื่อเข้าสู่
ช่วงการสร้างผลผลิต ของพืชแต่ละพืชนั่นเอง




...........................................................................
🟢 ภาคผนวก :
● กระบวนการ "TUBERIZATION"
- กระบวนการลงหัวของพืชหัวต่างๆ
๏ เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็น ที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth) เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน

๏ การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้น (ดังนั้นการใช้ ซูการ์ "ZUKAR-Highway”) ร่วมด้วย จึงมีความจำเป็นและเป็นตัวช่วยที่ดี
๏ ช่วงอายุประมาณ 75-90 วันจะเป็นช่วงอายุ (Growth Stage) ของมันสำปะหลังที่จะเปลี่ยนการเจริญเติบโตมาเป็นการ "ลงหัว" เพื่อสะสมอาหารที่หัว มันจะมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาควบคุมกระบวนการลงหัว (TUBERIZATION)

ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มันสำปะหลังสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ของปริมาณแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าความสัมพันธ์ของแสงและอุณหภูมิไม่สัมพันธ์กัน มากไปหรือน้อยไป มันก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ขึ้นมา การลงหัวก็จะสะดุดและลงหัวได้ไม่ค่อยดี หรือไม่มีการลงหัว เพราะมัวแต่หลงทางไปงามต้นงามใบ ไม่มีหัว หรือมีหัวจำนวนน้อย

ถ้าฮอร์โมนตัวนี้มีเพียงพอการลงหัวก็จะดี ทุกอย่างเป็น
กระบวนการทางชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ถึงกลไกต่างๆ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติโดยการสร้างสารบางอย่าง หรือฮอร์โมนบางอย่างที่มันพร่อง หรือมันขาดแคลน และมีการนำสารหรือฮอร์โมนนั้นๆมาใช้เพื่อทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนนี้ให้แก่พืชได้ พืชย่อมสามารถทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆได้ต่อไปอย่างสมบูรณ์

๏ การลงหัว : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์
ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell)
ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช หลัง
จากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่เหมาะสม
ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้าง
ของเซลล์ดังนี้
1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) :
- เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้ง
และโปรตีน

2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) :
- เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุด
แบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิด
ลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว” (Tuber)

3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพ&หน้าที่)
- ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำ
หน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อ
ลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพ
เพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวอย่าง
มีประสิทธิภาพ, สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูก
สะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้
ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัว
ดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น


๏ Photoperiod
- ในธรรมชาติ “Photoperiod”: หรือระยะเวลาที่พืช
ได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัว
ของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสง
เหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์
“Jasmonic acid” (JA) ที่ใบ และหลังจากนั้นก็จะ
ถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไป
ตามดิน (Stolon) หรือไปที่ราก (Root) จนทำให้
เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก

๏ อัตราและวิธีการใช้ :
- ใช้ แอคซอน อัตรา 20 ซีซี.+ ซูการ์ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นทางใบให้เปียกชุ่มเพียงครั้งเดียว ในช่วงที่พืชเริ่ม
ลงหัว อาทิ
- มันสำปะหลัง พ่นที่อายุ 75 -90 วัน
- ขิง, ข่า พ่นที่อายุ 50-60 วัน
- เผือก พ่นที่อายุ 45 วัน
- แห้ว พ่นที่อายุ 45-60 วัน
- กระชาย พ่นที่อายุ 50-60 วัน
- ถั่วหรั่ง พ่นที่อายุ 40-45 วัน
- ถั่วลิสง พ่นที่อายุ 35-40 วัน
- มันเทศ มันแกว พ่นที่อายุ 35-40 วัน
- หอม, กระเทียม พ่นที่อายุ 35 วัน
- มันฝรั่ง พ่นที่อายุ 35-40 วัน
ฯลฯ



........................................................................
กระบวนการ Tuberization



📝สอบถามปรึกษาก่อนได้นะครับ
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
(โทร. จ-ศ 9.30-17.00 ,ส 9.30-12.00)

📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ
หรือ ทักไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น