วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในแตงกวา มะละกอ เมล่อนและยาสูบ

"ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส"

ชนะไวรัสได้ มีชัยไปกว่าครึ่ง

แนวทางการสร้างภูมิต้านทานโรค : โรคไวรัสในพืชตระกูลแตง  ในระบบ : ORG
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคไวรัสใบหด,ใบด่างในพืชตระกูลแตงบางตัวกันก่อน คิดว่าทุกท่านคงคุ้นเคยกับโรคนี้ดีอยู่แล้ว เริ่มจากอาการของโรคที่มีลักษณะใบงอหงิก เหลืองสลับเขียว บ้างก็เป็นจุดด่าง พบได้ในทุกส่วนของแตง และยังเป็นได้ทุกส่วนของแตงตั้งแต่ใบ ลำต้น และผล ทำให้สร้างปัญหาต่อผู้ปลูกพืชตระกูลนี้มาก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้และร้ายแรงมากเพราะเกิดจากเชื้อไวรัสหลายตัว อาทิ
1) Cucumber Mosaic Virus (CMV) จากแมลงพาหะ Several Aphid Species
2) Cucumber Vein-Yellow Virus (CVYV) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci)
3) Cucurbit Aphid-Borne Yellows Virus (CABYV) จากแมลงพาหะ Several Aphid Species
4) Cucurbit Yellow Stunting Disorder Virus (CYSDV) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci Biotypes B and Q)
5) Beet Pseudo-Yellows Virus (BPYV) จากแมลงพาหะ Greenhouse Whitefly ( Trialeurodes vaporariorum )
6) Geminiviruses ( SLCV,PYVMV,TLCV,WCMV ฯลฯ) จากแมลงพาหะ Whitefly ( Bemisia tabaci Biotypes A,B and Q)

การแพร่ระบาดด้วยเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว เพราะเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว หลายชนิดสามารถนำโรคจากพืชที่เป็นไปสู่พืชที่ยังไม่เป็น โดยมีหลักการคือ ไวรัสตัวนี้จะถูกเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ดูดเข้าไปในทางเดินอาหารของเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ในตัวเพลี้ยและแมลงหวี่ขาวในช่วงสั้นๆ จะขยายพันธุ์ไม่ได้ แต่ไปสะสมอยู่ในต่อมน้ำลาย ก่อนที่เพลี้ยและแมลงหวี่ขาว ตัวนี้จะไปเกาะที่พืชอื่นแล้วจัดการถ่ายเชื้อไปที่พืชที่เกาะใหม่จนทำให้เกิดโรค ซึ่งสามารถติดต่อได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

แนวทางการป้องกันโรคไวรัสที่พอจะสรุปได้มี 3 แนวทาง คือ
ข้อ 1. เป็นวิธีทางเกษตรกรรมที่พอฟังแล้วจะเกิดความเข้าใจได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติกลับมีความยากมาก เพราะการปลูกพืชตระกูลแตงแห่งหนึ่งจะย้ายไป-มา หรือจะไม่ให้ใครมารบกวนเป็นเรื่องยากมาก เพราะฉะนั้นวิธีนี้ฟังเข้าใจง่าย แต่ปฏิบัติยาก แล้วเป็นวิธีที่ทางเกษตรกรได้มีการแนะนำอยู่แล้ว เช่น ไม่ปลูกพืชทับที่เดิม ปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ควรปลูกพืชใกล้กับพืชที่มีการระบาดของโรค หรือเวลาเจอต้นที่เป็นโรคจะต้องรีบกำจัดทิ้งทันที

ข้อ 2. เป็นแนวทางชีวพันธุกรรม ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์เป็นวิธีที่ดีมาก ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจสูง
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาและอุปสรรคใน 2 แนวทางดังกล่าว อย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ทางธรรมชาติ จะพบว่าต้องใช้เป็นเวลานานนับสิบปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ต้องการ และเมื่อได้แล้วกลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีก หรือความต้านทานโรคอาจมีเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

ข้อ 3. เป็นแนวทางสุดท้ายคือด้านเคมีที่ทุกคนคงทราบดีว่าเมื่อพบปัญหาต้องไปที่ร้านขายยา สำหรับแนวทางนี้ก็พบปัญหาเช่นกัน เพราะการปราบศัตรูพืช เช่น เพลี้ย เมื่อปราบได้เดี๋ยวก็กลับมาอีก เพราะมีวงจรชีวิตสั้น

ทางออกกับปัญหาโรคจากไวรัส
การทำ.."วัคซีนพืช" : เพื่อการป้องกันโรค ที่ได้ผลและยั่งยืน
การทำวัคซีนพืช โดยเทคนิคการสร้างภูมิต้านทานด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ (Systemic Acquired Resistance:SAR ) แล้วจะทำอย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าพืชมีระบบการป้องกันตัวเอง (Plant Defense) มิเช่นนั้นพืชคงไม่สามารถอยู่บนโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างยาวนาน
ถึงวันนี้มีการค้นพบกระบวนการหรือวิธีป้องกันตัวเองของพืชมากมาย แต่มีวิธีหนึ่งที่พืชสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ที่เราเรียกว่าเป็นวิธี SAR หรือ Systemic Acquired Resistance ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันตัวเองของพืชจากเชื้อโรค
หากจำลองภาพของแตงกวาขณะที่ถูกไวรัสเข้าทำลาย หมายถึง เป็นช่วงที่เพลี้ยหรือแมลงหวี่ขาวเจาะดูดแล้วปล่อยไวรัสเข้าไปในต้น สิ่งแรกที่แตงกวาจะตอบสนองคือการตอบสนองแบบตื่นตัว เหมือนคนที่ถูกมีดบาดแล้วจะเกิดอาการสะดุ้ง จากนั้นพืชจะป้องกันตัวเองด้วยการหลั่งสารเพื่อป้องกันตัวเองเฉพาะหน้าก่อน ยกตัวอย่างอาทิเช่น กับยางพารา อาจสร้างน้ำยางออกมาเพื่อเป็นการสมานแผล นอกจากพืชจะสร้างระบบป้องกันตัวเองในแบบเฉพาะที่แล้ว ยังมีการสังเคราะห์สารที่เป็นสัญญาณอีกตัวขึ้นมาขณะที่พืชถูกกระตุ้นแล้วส่งสารดังกล่าวไปทั่วต้น ตั้งแต่ปลายยอดไปจนถึงปลายราก เป็นการเตือนเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในต้นเพื่อให้รู้ว่ากำลังมีการบุกรุก จากนั้นจะเป็นกระบวนการเพื่อจะได้สังเคราะห์โปรตีนที่เรียกว่า PR -Proteins ออกมาเพื่อต้านทานโรค
เมื่อรู้ทฤษฎีที่มาและข้อมูลแล้ว ต่อไปเป็นการปฏิบัติที่จะต้องทำ"วัคซีนพืช" แนวทางนี้จะได้ผลและยั่งยืน วัคซีนพืชทำให้พืชมีภูมิต้านทานเชื้อโรคก่อนที่จะเป็นโรค แต่ต้องทำให้พืชมีภูมิต้านทานก่อนที่เชื้อโรคจะเข้ามา

"วัคซีนพืช"..สร้างภูมิต้านทานก่อนเชื้อโรคจะเข้าพืช




เรามารู้จักกับ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ว่าคืออะไร
"อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) จะเป็น Salicylic acid ในรูปวัคซีนพืชที่รวมแคลเซียมและโบรอน ซึ่ง Salicylic acid มีความสำคัญมาก เพราะตัวนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ โดยที่ธรรมชาติกำหนดว่าต้องมีการสังเคราะห์ออกมาเมื่อมีเชื้อโรคเข้าทำลายพืช แต่เราใช้ Salicylic acid ในรูปแบบของ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1)คือพร้อมให้มีการกระตุ้น(Active) ทันที เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำ Salicylic acid ในรูปที่ถูกต้องและนำมาใช้ในปริมาณ(Percentages) ที่เหมาะสมด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง พืชก็จะสังเคราะห์ PR-Proteins ออกมา ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสด้วย มันเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ก่อนที่จะมีไวรัสเข้าและ เป็น Salicylic acid ที่ไม่มีอันตรายต่อพืช เพราะในความจริงในธรรมชาติของพืชก็จะสร้างกรดนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว


แล้วจะนำมาใช้กับแตงกวาได้อย่างไร? ในประเด็นนี้มีการแยกไว้ 2 กรณี

กรณีที่(1) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) เพื่อป้องกันโรคไวรัสใบด่างแตง ซึ่งเป็นกรณีที่อยากจะแนะนำมาก แต่เกษตรกรชาวสวนไม่นิยมใช้กันและมักปล่อยให้เป็นโรคก่อนจึงรักษา ดังนั้น อยากให้ใช้วิธีนี้เพราะเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดและเป็นวิธีของการใช้วัคซีนพืช โดยมีอัตราหรือสัดส่วนการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่เป็นอัตรามาตรฐานของชาวสวน โดยมีเทคนิคการใช้คือให้ฉีดพ่นทางใบให้ชุ่มทุก 7-10 วัน ให้เริ่มฉีดตั้งแต่เป็นต้นกล้าเล็กๆ ก่อน และนั่นเป็นการให้วัคซีนในช่วงเด็ก เหตุผลที่ต้องฉีดตลอดเพราะ PR-Protiens ที่พืชสร้างขึ้นมีอายุการใช้งานและมีการหมดอายุลง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดกระตุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เซลล์พืชมีการสร้างออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดช่วง




กรณีที่(2) คือถ้าเป็นโรคแล้วจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร ความจริงไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้สักเท่าไร เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุและค่อนข้างยากโอกาสเกิดความล้มเหลวสูง แต่อาจพอมีหวังด้วยการให้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ในอัตรามาตรฐานข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องการให้เพราะพืชติดโรคแล้ว จึงต้องย่นเวลาการให้โดยให้มีความถี่มากขึ้น คือให้ 3-5 วันต่อครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้ง ในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้นจะเริ่มทิ้งระยะเป็นเวลา 7-10 วัน ต่อครั้ง แล้วพืชจะค่อยเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเกษตรกรจะเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ จะมียอดอ่อนแตกออกมาใหม่และจะไม่มีไวรัสมารบกวนอีก ซึ่งเป็นยอดใหม่ที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ค่อยอยากแนะนำ เพราะพืชเคยผ่านการติดโรคมาแล้ว กว่าจะฟื้นตัวต้องใช้เวลาในการปรับสภาพภายในของพืชเองเพื่อให้ดีขึ้น แต่การปล่อยให้พืชที่เคยติดโรคกลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้งต้องอาศัย"ตัวช่วย" เพราะลำพังให้พืชสร้างระบบภายในเองคงใช้เวลานานมาก ถึงกระนั้นการที่จะให้ได้ผลต้องมีการเสริม Proteins ให้มากขึ้นยิ่งดี เพราะการเสริมโปรตีนเข้าไปจะทำให้แตงกวาฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้แตงกวาที่เป็นโรคแล้วได้ฟื้นตัวดีขึ้นคือ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) มีสารที่จะช่วยกำจัดเชื้อโรคเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ภายนอกและกำลังจะเข้าไปทำลายพืชที่ถือว่าเป็นการแทรกซ้อน ซึ่งก็คือ "สารเสริมประสิทธิภาพ" ที่ช่วยเสริมการกำจัดเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
อยากบอกถึงบทสรุปและประโยชน์ของแนวทางการรักษาป้องกันด้วยวิธีการสร้างภูมิต้านทาน ( Systemic Acquired Resistance:SAR ) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล ถูกต้องและยั่งยืน เพราะจะใช้เมื่อต้องการทำวัคซีนให้กับพืชเพื่อป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดหรือก่อนเชื้อโรคจะเข้าทำลาย
และ..ที่บอกว่ายั่งยืนก็เพราะว่า หากเราย้อนกลับไปสมัยก่อน มนุษย์ได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค และทำมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน ต่อมาทฤษฎีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคถูกนำมาใช้ในสัตว์เพราะมีเหตุผลที่ต้องการให้สัตว์มีอายุที่ยั่งยืน แต่การฉีดวัคซีนไม่ได้หมายถึงจะไม่ตาย เพียงแต่ทำให้เกิดโรคน้อยลง

ผมมีความเชื่อว่าวิธีนี้จะถูกนำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจของเรา และยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอีกไม่นานจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนในพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะพืชที่หายารักษายาก เช่น โรคไวรัสใบจุดวงแหวนมะละกอ(Papaya Ring Spot Virus:PRSV) โรคใบด่างแตง(CMV) โรคใบหดยาสูบ(TLCV)จะช่วยลดการระบาดและลดความรุนแรงของโรคลงได้ พร้อมกับยังช่วยฟื้นฟูพืชที่เป็นโรคให้กลับมาเจริญเติบโตได้ใหม่อีก ที่สำคัญยังสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีที่อันตรายไปได้อย่างมาก ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พืช และสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราบริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ ปรารถนาเป็นอย่างยิ่งมากว่า15 ปีแล้ว และได้รับความสนใจที่จะนำไปใช้เป็นทางเลือกในการแก้ไขโรคต่างๆในยาสูบในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในผู้ประกอบการยาสูบรายใหญ่หลายพันไร่ ติดต่อกันมามากว่า 15 ปี

สุดท้าย..อยากจะย้ำอีกครั้งว่าอยากให้ใช้ในแบบของการ "ป้องกัน" มากกว่า "เยียวยา" เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การที่รอให้เป็นโรคแล้วไปรักษาอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะการฉีดในช่วง 10-15 วันต่อครั้ง จะมีความประหยัดกว่าการที่พืชกำลังจะให้ผลผลิตและเกิดเป็นโรคขึ้นมา จนทำให้ผลผลิตที่กำลังจะสร้างรายได้กลับเสียหายลงไป

ดังนั้น ใครที่กำลังทำพืชเศรษฐกิจอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น เมล่อน แตงกวา แตงโม ยาสูบหรือมะละกอก็ตามที ควรนำไปใช้ป้องกันโรคให้กับพืช เพราะคุ้มค่ากว่ามากครับ
และสุดท้ายอยากฝากไว้กับการใช้สารเคมีมากๆอาจทำให้พืชอ่อนแอ และทำให้เกิดการติดโรคง่ายขึ้น หนทางที่จะช่วยคือการใช้วัคซีนในพืช และการใช้อย่างถูกหลักจะทำให้พืชมีภูมิต้านทานแม้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เพราะ PR-Protiens จะมีสะสมอยู่ทุกแห่งถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปแล้วเซลล์ยังคงทำงานอยู่ยังสามารถสร้างโปรตีนออกมาต้านทานได้


หมายเหตุ : (1) ถ้ามีการให้โปรตีน (ในรูป Amino acid ชนิดที่พืชสร้างได้เอง) อาทิ
ซูการ์-ไฮเวย์,เพาเวอร์-5 (หรือORG1,ORG-2) เสริมเพิ่มเติมแก่พืชพร้อมกับการทำ "วัคซีนพืช" ด้วย "อีเรเซอร์-1 " ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

(2) ถ้ามีการป้องกันแมลงพาหะ (Insect Vector) ด้วย" วัคซีน 2 พลัง" (ซิกน่า และ ซาร์คอน ) ด้วยการทำงาน 2ประสาน "ขับไล่และสร้างเกราะ" เพื่อป้องกันแมลงพาหะนำเชื้อมาสู่พืช (เพิ่มเติมจากการใช้แค่ "อีเรเซอร์-1") ให้แก่พืชเสร็จใหม่ๆ ตั้งแต่ก่อนที่พืชจะติดเชื้อไวรัสก็จะเป็นแนวทางที่ถูกต้องและมี
ประสิทธิภาพมากที่สุดต่อไป

http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_3.html

http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html





ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในแตงกวา 




https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/904283463032771?pnref=story     ไวรัสแตง


https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/896709250456859       แตงกวา ORG กับ  SA

https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/media_set?set=a.896701093791008.1073743972.100003533767367&type=3   แตงกวา  สวนแตงกวา ตะวันเลิฟ จ.หนองคาย


ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในมะละกอ 




https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/904252686369182?pnref=story    ไวรัสมะละกอ

https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/media_set?set=a.896832667111184.1073743974.100003533767367&type=3  ไวรัสมะละกอ

ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ในเมล่อน


เทคนิคการเพิ่มผลผลิตเมล่อน ระบบ ORG ที่ปลอดภัยไร้สารพิษ
1. รองพื้นด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 จำนวน 11 กก./โรงเรือน
2. นำต้นกล้าอายุ 8 วัน (หลังจากเพราะเมล็ด)ลงปลูกในโรงเรือน
3. ให้ปุ๋ยเกร็ดสูตรเสมอ 20-20-20ผ่านระบบน้ำ โดยผสมปุ๋ยในอัตราส่วน 200 กรัม/น้ำ 2,000 ลิตร/โรงเรือน
4. ฉีดพ่นด้วย ซิกน่า+ ซาร์คอน อัตราผสม 20 ซีซี + 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน สลับกับ อีเรเซอร์-วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7-10 วัน เป็นประจำ
5. ฉีดพ่นด้วย ไบโอเจ็ท อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน
6. เมื่อต้นกล้า อายุ 22-25 วัน (หลังจากย้ายลงปลูก)ทำการผสมดอก ซึ่งมีระยะเวลาในการผสม 4 วัน โดยเลือกผสม 4 ดอก/ต้น (ผสมดอกช่วงเช้า ประมาณ 08.00 น.)
7. ประมาณ 4-5 วัน หลังจากผสมดอกให้เมล่อน จะเริ่มติดผล ให้คัดเหลือ 1 ผล/ต้น เลือกตำแหน่งกิ่งที่ีสมบูรณ์ และอยู่ในแนวเดียวกัน
8. หลังจากคัดผลแล้วให้เปลี่ยนสูตรการให้ปุ๋ยเป็นสูตรที่เน้นธาตุอาหาร ตัวท้ายสูง เช่น 10-20-30 ในอัตราส่วน 300-450 กรัม/น้ำ 2,000 ลิตร : 1โรงเรือน ให้ประมาณ 20 วัน
9. ฉีดพ่นด้วย ORG-1+ORG-2 อัตรา 20 ซี.ซี. + 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง
10. หลังจากให้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 จนครบกำหนด 20 วันให้ทำการเปลี่ยนสูตร 13-0-46 ในอัตราส่วน 300-450 กรัม/น้ำ 2,000 ลิตร :1 โรงเรือน ให้ประมาณ 10 วัน
11. หลังจากให้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 จนครบกำหนด 10 วัน ให้ทำการเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 0-0-50 ในอัตราส่วน 3-4 ขีด : น้ำ 2,000 ลิตร :1 โรงเรือน ให้ประมาณ 5 วัน
12. เมื่อไกล้ครบกำหนดตัด (อายุเฉลี่ย75-80 วัน หลังจาก ย้ายกล้าลงปลูก) จะงดการให้น้ำ ประมาณ 2-3 วัน หรือขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ (เพื่อให้เมล่อนมี รสชาติหวานชวนให้รับประทาน)
หมายเหตุ :
(1) ขนาดโรงเรือน 6.50 x 32 เมตร ปลูกเมล่อนได้ประมาณ 800 ต้น
(2) การให้น้ำระบบน้ำหยด ประมาณ 2 - 3 ครั้งต่อวัน (ครั้งละประมาณ 3-5 นาที)
(3) เมื่อพบว่ามีโรค ไวรัส ปรากฏให้เห็นในระยะเริ่มต้น ให้ฉีดพ่นด้วย อีเรเซอร์-1+ เพาเวอร์-5 หรือ ซูก้าร์ ทุก 5 วัน 2 ครั้งและทุก 7 วัน 1-2 ครั้ง



https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/media_set?set=a.904111879716596.1073743989.100003533767367&type=3&pnref=story ไวรัสเมล่อน

https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/902617639866020              เมล่อน คุณสำรวย สุขทวี







ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้า..เราเข้าใจไวรัส ใน ยาสูบ




https://www.facebook.com/paccapon.sriklai/posts/896853490442435        ไวรัสยาสูบ




สนใจติดต่อได้ที่ 
084 - 8809595,084-3696633
Line ID :  @organellelife.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น