วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คู่จี๊ดจ๊าด .. จัดจ๊าน

"ตัวช่วย" ที่ "ใช่" ในภาวะ "Climate Change" สำหรับพืช
การนำ "วิทยาการ" และ "การจัดการพืช" ใหม่ๆออกมาใช้ จึงจำเป็นต้องใช้ "ตัวช่วย" ที่ดีแล้วก็ "ใช่" ซึ่งจะมีอะไรบ้างที่จะทำให้การจัดการผลิตพืชนั้นๆประสบความสำเร็จให้จงได้โดยต้องมีผลผลิตที่สูงขึ้นควบคู่กับคุณภาพที่สูงขึ้นด้วย การใช้"ตัวช่วย"จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งซึ่งต้องใช้การบูรณาการหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจนอกเหนือจากในตำรา

Climate Change คืออะไร  
Climate Change  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอันเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนองค์ประกอบ ของบรรยากาศโลกโดยตรงหรือโดยอ้อมและที่เพิ่มเติมจากความแปรปรวนของสภาวะ อากาศตามธรรมชาติที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ สภาพภูมิอากาศในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่

เราเริ่มได้ยินการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศบ่อยขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุสำคัญที่ให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas) ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) หรือภาวะโลกร้อน (global warming)

ภาวะโลกร้อนนี้มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมี ชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น ทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ ก็จะค่อยๆ ตายลงและอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด สำหรับผลกระทบต่อมนุษย์นั้น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักเนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบโดยตรง อาจทำให้บางพื้นที่จมหายไปอย่างถาวร ดังนั้น ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นปัญหาสำคัญที่มวลมนุษยชาติจะ ต้องร่วมมือกันป้องกัน และเสริมสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น (ที่มา: องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน))

 1) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา)

2) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หมายถึงผลโดยตรง หรือโดยอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศโลก และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงจากความแปรปรวนทางสภาพภูมิ อากาศที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน (ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์บริการ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

สำหรับผลกระทบต่อภาคการเกษตร

ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเร่งการเจริญเติบโตของพืช แต่ในบริเวณที่มีการจัดสรรน้ำในการชลประทานได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเกษตรกรรม อากาศที่ร้อนขึ้นจะเร่งการระเหยและการคายน้ำของพืช ทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวแห้งตาย ในขณะเดียวกัน อากาศร้อนยังเร่งการเจริญเติบโตของแมลงและจุลินทรีย์บางชนิดที่ทำลายพืช โดยเฉพาะพืชที่เหลือรอดจากการตัดไม้ทำลายป่าฝนที่ทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินจากการกัดเซาะของน้ำ โดยการระบาดนี้จะทำลายพืชซึ่งอ่อนแออยู่แล้วให้ตายไป (สาวิตรี จันทรานุรักษ์, 2547)

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการผลิตอาหาร

อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า และระดับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศจะเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งจะทำให้อุณหภูมิอากาศผิวพื้น ในภูมิภาคต่าง ๆ เปลี่ยนไปและจะส่งผลกระทบ ต่อการเจริญเติบโตของพืชผล เช่น อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ข้าวสาลีแก่เร็วขึ้น นั่นหมายถึงว่า ช่วงเวลาการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวสาลีสั้นลงซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อ ขนาดของเมล็ดข้าวสาลีนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้สร้างแบบจำลอง โดยรวมอิทธิพลของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น 3°C การเพิ่มขึ้น ของปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (สูงถึง 560 ppmvในประมาณปี ค.ศ. 2050) การเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและความชื้นในดินเข้าด้วยกันสรุปได้ว่าพืชผลที่แก่เร็วให้ผลผลิตลดลงครึ่งหนึ่ง

จากการแบ่งพืชออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พืช C3 (ได้แก่ ข้าวสาลีถั่วเหลือง ข้าวและมันสำปะหลัง) และพืช C4 (ได้แก่ เดือย ข้าวฟ่างและข้าวโพด) พบว่า การได้ปุ๋ยจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลกระทบต่อพืชทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันไป เช่น พืช C3 ซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญ มานานนับหมื่นนับแสนปีมาแล้วนั้น จะให้ผลผลิตสูงหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ สูงขึ้นส่วนพืช C4 ซึ่งเป็นพืชที่เพิ่งมีความสำคัญ เมื่อไม่นานมานี้เองรวมทั้งอ้อยและวัชพืชเจริญเติบโตได้ดี อย่างเหมาะสมกับระดับของ ปริมาณก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ที่มีอยู่ในบรรยากาศปัจจุบันดังนั้น หากปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงขึ้น ผลผลิตจากพืช C4 จะเพิ่มขึ้นน้อยมาก

ผลผลิตจากพืชผลยังอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นในดินอีกด้วยแบบจำลอง ภูมิอากาศทั้งหมด พยากรณ์ว่า หยาดน้ำฟ้าในระดับโลก จะเพิ่มมากขึ้น (ส่วนใหญ่ฝนจะตกรุนแรงมากขึ้น กล่าวคือ ปริมาณฝนต่อวัน สูงขึ้น)ถึงแม้ว่า ฝนมรสุมแถบศูนย์สูตร จะขยายขอบเขตเข้าไปยังแถบละติจูดที่สูงขึ้นไปในเขตทะเลทรายสะฮาร่า ของทวีปแอฟริกาและทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศอินเดีย จะแบ่งเบา ภาวะความแห้งแล้งลงได้บ้างก็ตามแต่หยาดน้ำฟ้าที่รุนแรงขึ้นจะก่อให้เกิดน้ำท่วมและการชะล้างพังทลายของดิน ผลที่ตามมาคือ พืชผลได้รับความเสียหายและสูญเสียพื้นที่ ที่เหมาะกับการเกษตร ไปในบริเวณอื่น ๆ เช่น ในเขตร้อนที่อยู่กลางทวีปบางแห่ง หยาดน้ำฟ้า อาจลดลง รูปแบบหยาดน้ำฟ้าประจำปีอาจเปลี่ยนฤดูกาล จะมีผลต่อความชื้นในดิน ระหว่างฤดูกาลเพาะปลูกและเป็นไปได้ว่า จะทำให้การเจริญเติบโต ของพืชผลจำนวนมาก สูญเสียไปมีข้อโต้เถียงกันว่า ขีดจำกัดทางธรรมชาติ ทางสรีระวิทยาของพืชที่จะทำให้เกิดการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องของภูมิอากาศในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังมีผลกระทบต่อการเกษตรอีกทางหนึ่ง คือทำให้ระบบนิเวศการเกษตร ในระยะยาวเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจาก ความถี่และความรุนแรงมาก ๆ ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ที่จะเพิ่มสูงขึ้น เช่นการเกิดคลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำท่วมและพายุไซโคลน ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้การชะล้าง พังทลายของดิน รุนแรงขึ้นกระทบต่อรูปแบบของโรคพืชและการระบาดของศัตรูพืชแผนการคาดหมายภูมิอากาศที่มีอยู่ยังไม่แม่นยำพอเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศเหล่านี้ดังนั้นการพยากรณ์รายละเอียดมากกว่านี้ ยังกระทำไม่ได้

อิทธิพลโดยตรงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อผลผลิต

IPCC ยังคงมีความระมัดระวังในการคาดหมายผลกระทบทั้งหมดของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มี่ต่อผลผลิตทางการเกษตรโลกอย่างไรก็ตามได้มีการเห็นที่ตรงกันประการหนึ่งว่าอิทธิพลโดยรวมจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อผลผลิตจากพืชผล น่าจะเลวลงแต่ไม่รุนแรงและค่อนข้างแน่นอนว่า ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนซึ่งเป็นที่โชคร้ายว่า ประชากรที่อาศัยในเขตนี้ ส่วนใหญ่ถูกคุกคามจากการขาดอาหารอยู่แล้ว และประชากรที่อาศัยในแถบละติจูดต่ำ เขตกึ่งแห้งแล้งและแห้งแล้ง มีรายได้ต่ำ ทำการเกษตร โดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการชลประทานนั้นจะเป็นบริเวณที่มีความอ่อนไหว มากที่สุดประชากรเหล่านี้ ได้แก่ ประชากรที่อาศัยในบริเวณ กึ่งทะเลทรายสะฮาร่าทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกบางเกาะ

การพยากรณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรดังกล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น จะหมายถึง ผลที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลกระทบที่อาศัยการทดลอง ให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราวสามารถสร้างแบบจำลอง ผลกระทบที่น่าเป็นไปได้ ที่จะมีต่อผลผลิตทางการเกษตรภายใน 2-3 ทศวรรษหน้า และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในลักษณะนี้เป็นไปได้มากกว่า ให้ผลการคาดหมาย ได้ดีกว่าวิธีการที่กำหนดให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยิ่งกว่านั้นยังไม่มีแผนการคาดหมายใด ที่กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงการกระจายของแมลงที่เป็นศัตรูพืช วัชพืช และโรคพืช ที่เกิด ขึ้นแต่อย่างใด

อิทธิพลทางอ้อมของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากศัตรูพืช และโรคพืช

การกระจายของศัตรูพืชและตัวนำโรคพืช ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและพืชสำหรับที่อยู่อาศัย ศัตรูพืชทางการเกษตรบางชนิด เช่น เพลี้ยชอบสภาพความแห้งแล้ง แต่ตั๊กแตน แพร่ระบาดในสภาพอากาศชื้นอย่างไรก็ตามแมลงที่กินพืชเป็นอาหารทั้งหมด เชื้อรา บักเตรีและตัวนำโรคพืชต่างเจริญเติบโตได้ดี ภายใต้ขีดจำกัดทางนิเวศวิทยาที่แน่นอนและคาดหมายได้ว่า จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ศัตรูพืชจำนวนมากที่มีอัตราการเพิ่มปริมาณสูง และมีความอ่อนไหวต่อภูมิอากาศ เป็นไปได้ว่า จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อย่างเร็วกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า การกระจาย และความหนาแน่น ของศัตรูพืช ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนคาดว่า จะขยายกว้างขึ้น ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นการเจริญเติบโต และผลผลิตของพืชผลจะลดลงจากการศึกษาต่าง ๆจำนวนมากที่เกี่ยวกับศักยภาพผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการกระจายของศัตรูพืช ในประเทศญี่ปุ่นคาดหมาย ได้ว่าศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น หนอนทำลายยาสูบ ตัวทำลายข้าว ตัวทำลายถั่วเหลืองจะขยายพื้นที่กระจายขึ้นไปทางเหนือแต่พื้นที่การกระจายของศัตรูพืชบางชนิด เช่น แมลงปีกแข็ง ที่ทำลายใบข้าว จะจำกัดพื้นที่แคบลงในประเทศออสเตรเลีย ภาวะการร้อนขึ้น สามารถทำให้ศัตรูพืชหลายชนิดขยายขอบเขตเข้าไป ในบริเวณอากาศหนาวเย็น ที่อยู่ทางใต้ลงไปได้

ความถี่และความรุนแรงของการเกิดศัตรูพืช (เช่น ตั๊กแตน)ในอนาคตอาจได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงความถี่ของสภาพอากาศที่รุนแรงมาก ๆซึ่งบางกรณีสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ ENSO เช่น โรค Brown Plant Hopper ที่เป็นศัตรูของข้าวประจำถิ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะถูกพัดพาไปยังประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นประจำทุกปีโดยมรสุมการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลา และสถานที่ของลมนี้ สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ ENSO ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างมาก ต่อขอบเขตความเสียหายของข้าว

การแพร่ระบาดของศัตรูพืชอาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศได้อีกด้วย แม้ว่ายังขาดรายละเอียดที่แน่นอนก็ตาม บางการทดลองพบว่า แมลงจะลดลงเนื่องจากคุณภาพของอาหารจากใบไม้ต่ำลง แต่บางการทดลองพบว่าแมลงจะกินใบไม้มากขึ้น เพื่อชดเชยคุณภาพอาหารที่ต่ำลง ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าอิทธิพลการได้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นไปในทางลบ

การประมาณการสูญเสียพืชผลที่อาจเกิดขึ้นถ้าศัตรูพืช โรคพืชและวัชพืชเพิ่มมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เช่นถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก สูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส บริเวณที่จะแห้งแล้งมากขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ ผลผลิตจากพืชผล จะลดลง 30% เนื่องจากเกิดโรคพืชมากขึ้นและพืชผลบางชนิดในทวีปแอฟริกา จะลดลงมากกว่านี้ถึง 2 เท่า ในบริเวณที่ร้อนและชื้นมากขึ้น นอกจากนี้การแก่งแย่งจากวัชพืช จะรุนแรงมากขึ้นซึ่งหมายถึงว่าพืชผลในประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้รับความเสียหายมากขึ้นต่อไปอีก ประมาณ 5-50% (ขึ้นอยู่กับชนิดพืชผล)เพราะว่าวัชพืช สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพความแห้งแล้ง ได้ดีกว่าพืชผล

ที่มา www.komchadluek.net

ลิ้งค์เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid; SA)
 http://paccapon.blogspot.com/2016/02/salicylic-acid-sa.html




BIO-JET : สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช


ไบโอเจ็ท -  ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ  ตายอด ตาดอก ตาใบ
ไบโอเจ็ท   -  ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง  น้ำตาล  ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว  หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
ไบโอเจ็ท    -  ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป
 และพืชที่แพ้สารเคมี ให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
 ไบโอเจ็ท  -  สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
ไบโอเจ็ท  -  พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี




ไบโอ-เจ็ท   ประกอบด้วย
ฮอร์โมนต่างๆ   -  อ๊อกซิน (Auxin) , จิบเบลเรลริน (Gibberellin) , ไซโตไคนิน (Cytokinin)
น้ำตาลและกรดอินทรีย์    -  แมนนิทอล (Mannitol)  ,  อัลจีนิค แอซิด (Alginic acid)  ,  ลามินาริน (Laminarin)  ,  น้ำตาลต่างๆ (Other sugar)
ธาตุอาหารหลัก  -  ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P)   โปแตสเซียม (K)
ธาตุอาหารรอง   -  แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)
ธาตุอาหารเสริม -  สังกะสี (Zn)  ,   เหล็ก (Fe)  , แมงกานีส (Mn) ,  โบรอน (B),  คอปเปอร์  (Cu)


BIO-JET
BIO-STIMULANTS  are biological compounds that stimulate both microbial and plant growth processes
    - reduces stresses,
    - encourages strong plant development, providing increased plant health, quality and productivity
Four Basic Effects
Greater soil
Microbe activity.
Bio-Jet stimulates beneficial soil microbe activity – especially those around the plant roots.
These improve rooting as well as helping fight-off disease and soil pests, at the same time as working
within the soil to release more nutrients to the plant.
Increased chlorophyll
Bio-Jet increases levels of plant chlorophyll – the green pigment essential for plant development.
This ensures better use of energy from the sun, fuelling strong, healthy growth.
Stress relief
Bio-Jet acts within the plant, raising its natural defense mechanisms to a higher level.
As a result, it is better equipped to resist pests and diseases, diverting more of its energies into growth,
with reduced stress.
Increased  Frost tolerance
Bio-Jet helps the plant withstand the pressures of frost, reducing damage at critical stages of growth.
INCREASE  PLANT HEALTH, YIELD AND QUALITY…..
Used regularly throughout the life of the plant, Bio-Jet  will
- improve turf wear
- ensure strong growth and better flowering
- Increase fruit crop yields
- ensure good grainfill and top quality cereal yields
- minimize transplanting shock
- boost potato size and crop development
- harden plants during periods of stress
- maximize nutrient and moisture uptake
- reduce the effects of pest and disease attack
- raise crop quality and storage life



ฉันคือ..ไบโอเจ็ท
เป็นสุดยอดหัวเชื้อฮอร์โมน CK,GA3
ผสานกับธาตุอาหารเสริม(Trace Elements) ในรูป Chelate
ครบเครื่องด้วย Amino acid ที่จำเป็นต่อพืช และOrganic Sugar ที่สำคัญต่อพืช
ไบโอ-เจ็ท(Bio-jet) สินค้าดีที่ไม่มีใครเหมือน




"ความหิวโหย ที่ซ่อนเร้น"(The Hidden Hunger ) คืออะไร



ก็อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วไงว่า เราเข้าใจ "ความหิวโหย ที่ซ่อนเร้น" ของพืชหรือยังและ "เราจะทำอย่างไร เพื่อให้เข้าใจ "ความหิวโหย ที่ซ่อนเร้น" อยู่ของพืช ที่ในสภาวะปัจจุบันของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกๆด้าน ทั้งดินฟ้าอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ในดิน และอื่นๆ

         

บล๊อคโคลี่ขาด(Mg)                            อ้อยขาด(Mg)      

ส้มขาด(Mg)                            ข้าวโพดขาด(Mg)

ฝ้ายขาด(Mg)                            องุ่นขาด(Mg)

องุ่นขาด(Mg)                                   ส้มขาด(Mg)

พริกไทยขาด(Mg)                       ถั่วเหลืองขาด(Mg)

อาการขาดธาตุทองแดง(Cu)
อาการขาดโบรอน(B)

อาการขาดโบรอน(B)
 เมื่อเราเข้าใจ เราก็ถึงจะช่วยเขาได้ มีอยู่ 2 เรื่องที่เราต้องจับตามองดู เรื่องแรกก็คือความต้องการ"จุลโภชนาหาร (Micro Nutrients) ของพืช ซึ่งในปัจจุบันเราจะเข้าใจว่าเราให้อาหารพืช แค่เพียงธาตุอาหารหลักแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอแล้ว ทั้งนี้เพราะการใช้ธาตุอาหารในกลุ่ม"จุลโภชนาหาร"(Micro Nutrients) มันเริ่มขาดแคลน ทำให้ร่างกายของพืชอ่อนแอลง การเจริญเติบโตก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ปกติเหมือนเดิมเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

อาการขาดไนโตรเจน(N)

อาการขาดไนโตรเจน(N)

 นี่คือปัญหาที่พบ ไม่เพียงแต่ในด้านการเจริญเติบโตแต่มันยังมีผลกระทบไปถึงเรื่องการให้ผลผลิตและการสร้างผลผลิตด้วย อีกทั้งเมื่อร่างกายของพืชอ่อนแอ ปัญหาแทรกซ้อนต่างๆก็จะตามมา ไม่ว่า โรคภัยไข้เจ็บของพืช เพราะพืชมีภูมิต้านทานน้อยลง



อาการขาดแคลเซียม(Ca)

อาการขาดแคลเซียม(Ca)

อาการขาดแคลเซียม(Ca)

อาการขาดแคลเซียม(Ca)

นี่คือปัญหาที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ที่ผมเรียกว่า "ความหิวโหย ซ่อนเร้น" (The Hidden Hunger) นั่นไง และอีกเรื่องหนึ่งที่มีผลกระทบจาก"ความหิวโหย ซ่อนเร้น" คือเมื่อร่างกายพืชอ่อนแอ เพราะไม่ได้รับสารอาหารในกลุ่ม"จุลโภชนาหาร" ก็อาจทำให้กระบวนการทำงานต่างๆในระดับเซลล์ของพืช เกิดอาการรวนขึ้น


อาการขาดสังกะสี(Zn) ในข้าว

อาการขาดสังกะสี(Zn)

อาการขาดสังกะสีในหอม(Zn)

อาการขาดสังกะสี(Zn)กับแมนกานีท(Mn)
กระบวนการทำงานทางชีวเคมีต่างๆภายในเซลล์พืชเกิดอาการระส่ำระสาย "เซลล์ป่วย พืชก็ป่วย" เราจึงต้องหันมาดูแลทั้งสองส่วนนี้ให้ครบ

บล๊อกโคลี่ขาดธาตุ Mg              อ้อยขาดธาตุ mg
ส้มขาดธาตุ Mg                             ข้าวโพดขาดธาตุ  Mg
ฝ้ายขาดธาตุ Mg                              องุ่นขาดธาตุ Mg
องุ่นขาดธาตุ Mg                      ส้มขาดธาตุ Mg
                   พริกไทยขาดธาตุ Mg                       ถั่วเหลือขาดธาตุ Mg    
อาการขาดแมงกานีส(Mn)

อาการขาดแมงกานีส(Mn)


อาการขาดเหล็ก (Fe)

อาการขาดเหล็ก(Fe)

ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืช


นี่คือหน้าที่และภารกิจของเรา "ออร์กาเนลไลฟ์" ที่ต้องทำให้พืชมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข ด้วยการบริหารและจัดการสุขภาพของพืช และเป็นหน้าที่หลักของ"ศูนย์สุขภาพพืช โอ อาร์ จี" เรามีวิธีและเข้าใจพืช เราจึงต้องจัดสินค้าที่มาตอบสนองต่อปัญหานี้ ปัญหาที่ต้องการ การแก้ไขที่ถูกจุดและถูกต้อง เพื่อไม่ให้พืชมี  "ความหิวโหย ที่ซ่อนเร้น" อีกต่อไป "ไบโอ-เจ็ท" (Bio-jet) คือคำตอบ

เมล่อน อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์

แตงกวา ติดดอก ออกผลดก ต้นสมบูรณ์

แปลงยาสูบที่ใช้ "ไบโอเจ็ท"
ไบโอเจ็ท ช่วยกระตุ้นการแตกราก


มะละกอ ที่ฉีดพ่นด้วยไบโอเจ็ท

ไบโอเจ็ท กับฝักทอง
แปลงมันสำปะหลัง ที่ฉีดพ่นด้วย "ไบโอเจ็ท"  ต้นเขียว สมบูรณ์ ทนแล้ง

หลากหลายพื้นที่กับการใช้ "ไบโอเจ็ท" กับแปลงข้าวโพด


ไซโตไคนิน (cytokinins) 
ไซโตไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ 6-furfuryladenine มีสูตรโครงสร้างแบบพูรีน(Purine)

จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่าไคเนติน(Kinetin) หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีกหลายชนิด จึงรวมเรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน(Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไคนินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช

 เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอกจากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอและผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิดร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน(co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช 
ไซโตไคนินในพืชจะมีน้ำตาลเพนโทส (คาร์บอน 5 อะตอม) เกาะติดอยู่หรือมีฟอสเฟสอยู่ด้วยหมายความว่า ไซโตไคนินเกิดขึ้นแบบไรโบไซด์ (riboside) หรือไรโบไทด์ (ribotide) ตัวอย่างเช่น อนุพันธ์ของซีอะทินที่พบว่าในผลอ่อนข้าวไรโบไทด์ชนิดหนึ่ง


ปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์ไซโตไคนินขึ้นในห้องปฏิบัติการหลายชนิดและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการเกษตรและการค้า ไซโตไคนินเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยในการแบ่งเซลล์และสามารถใช้ชะลอหรือยืดอายุของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และผลให้สดอยู่ได้นาน มีการนำมาใช้ในสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างแพร่หลาย ไซโตไคนินสังเคราะห์ที่สำคัญและนิยมใช้กันมากได้แก่ เบนซิลอะดีนิน(Benzyl aminopurine หรือ BAP) เททระไฮโดรไพรานิล เบนซิลอะดีนิน(Tetrahydropyranyl benzyl adenine หรือ TBA) เป็นต้น



ประโยชน์ของไซโตไคนิน 


ไซโตไคนินมีคุณสมบัติกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ การเจริญทางด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอด รักษาระดับการสังเคราะห์โปรตีนให้นานขึ้น ป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลง ทำให้ใบเขียวอยู่นานและร่วงหล่นช้าลง ช่วยทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยาย ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด เป็นต้น ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 

1.ส่งเสริมเซลล์ให้แบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ของพืช หน้าที่หลักของไซโตไคนิน คือ ช่วยให้ไซโตพลาสซึมแบ่งตัว ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถ้าไม่ใส่ไซโตไคนินจะมีการแบ่งตัวของนิวเคลียสเท่านั้น ทำให้ได้เซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสหรือพอลิพลอยด์
ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นสัดส่วนของไซโตไคนินและออกซินมีความสำคัญมาก ถ้ามีไซโตไคนินมากกลุ่มเซลล์จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่จะแปลงสภาพไปเป็นส่วนของยอดคือตา ลำต้น และใบ แต่ถ้ามีไซโตไคนินต่ำจะเกิดรากมาก ดังนั้นการใช้สัดส่วนของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้อย่างเหมาะสมกลุ่มเซลล์จะสามารถพัฒนาไปเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ต้องอาศัยเมล็ดและงานด้านพันธุวิศวกรรม
ผักชี ที่อ.ปะคำ ก็ใช้ "ไบโอเจ็ท"

2.กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง สารไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างของพืชเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ จึงมีประโยชน์ในการควบคุมทรงพุ่ม ส่วนใหญ่ใช้กับไม้กระถางประดับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นตาที่นำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาให้เจริญออกมาเป็นกิ่งใหม่ได้เร็วขึ้นโดยการทาสารที่ตาซึ่งติดสนิทดีแล้ว จะทำให้ตานั้นเจริญออกมาภายใน 7-14 วัน ภายหลังการใช้สาร ไซโตไคนินที่นิยมใช้ในกรณีนี้คือสาร BAP โดยนำมาผสมกับลาโนลิน (Lanolin) เพื่อให้อยู่ในรูปครีมซึ่งสะดวกต่อการใช้
ถั่วฝักยาว ฝักยาว ดกๆ ต้นใบเขียวมสมบูรณ์ ด้วย "ไบโอเจ็ท"

3.ช่วยชะลอความแก่ของพืช ไซโตไคนินเฉพาะอย่างยิ่ง BAP สามารถชะลอความแก่ของพืชได้หลายชนิด เช่น ผักกาดหอมห่อ หอมต้น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี่ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง โดยการพ่นสาร BAP ในความเข้มข้นต่ำๆ บริเวณใบพืชเหล่านี้ภายหลังเก็บเกี่ยวหรือจุ่มต้นลงในสารละลาย BAP โดยตรง จะมีผลทำให้ผักเหล่านี้คงความเขียวสดอยู่ได้นาน เป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผักเหล่านี้ได้ เชื่อว่าไซโตไคนินชะลอความแก่โดยการรักษาระดับการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอและโปรตีนให้คงอยู่ได้นาน ตลอดจนช่วยชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผสมลงในสารละลายที่ใช้ปักแจกันเพื่อยืดอายุการปักแจกันของ คาร์เนชั่นได้ด้วย

4.ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหาร ไซโตไคนินมีคุณสมบัติช่วยให้การเคลื่อนย้ายสารอาหารจากส่วนอื่นๆ ไปยังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้และเกิดการสะสมอาหาร ณ บริเวณนั้น ต้วอย่างเช่น ใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินอยู่มากจะสามารถเคลื่อนย้ายสารอาหารจากใบแก่มาเก็บสะสมไว้ในใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ไซโตไคนินยังช่วยป้องกันไม่ให้คลอโรฟิลล์เสื่อมสลายง่าย ใบพืชที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถ้าให้ได้รับไซโตไคนินจะทำให้ใบสามารถสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ขึ้นได้อีก

5.กระตุ้นการเกิดดอกและผล โดยไซโตไคนินสามารถชักนำการออกดอกของพืชวันยาวหรือพืชที่ต้องการอากาศเย็นได้ และยังช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างผลแบบพาร์ทีโนคาร์ปิค ฟรุ๊ท ในพืชบางชนิดได้ แต่อย่างไรก็ตามไซโตไคนินที่นำมาใช้ในแปลงเกษตรยังมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ไบโอเจ็ทช่วยเรื่องการติดดอก ออกผล มะนาวผลดก (เดิมไม่ค่อยติดลูก)









การใช้ ไบโอเจ็ท ในแปลง "มันฝรั่ง"









ซาร์คอน  : SARCON

สารกระตุ้นการเจริญเติบโตและสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต้านทานแมลง
คุณสมบัติ

ซาร์คอนมีส่วนผสมของกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายชนิด อาทิ กรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืชโดยจะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะให้ชั้นเซลผิวนอก (Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลและจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น ทำให้พืชแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันโรคหลายชนิดพร้อมกัน (Broad Spectrum) สามารถใช้เป็นวัคซีนป้องกันโรคพืชได้ ทำให้พืชทนต่อการระบาดและไม่เป็นโรคง่ายในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลผิวนอกชนิดต่างๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, cork cell, guard cell, micro – hair, prickle  hair, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง (mesophyll cell) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ปกติพืชได้รับ silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

กรดซิลิซิคที่รวมตัวเป็นชั้นปกป้องพืช ยังช่วยให้พืชมีความทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆได้ดี เช่น ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนดินเค็ม เป็นต้น ในดินกรดซิลิซิคยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยว ดูดซับน้ำและรักษาความชื้นในดิน ช่วยทำให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้ดี กรดซิลิซิคในดินจะช่วยการปลดปล่อยปุ๋ยที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะปุ๋ยฟอสเฟต และยังสามารถจับสารพิษที่ตกค้างในดินไม่ให้ดูดซึมเข้าไปทำลายพืชได้ ทำให้การเจริญเติบโตของพืชดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพิ่มคุณภาพผลผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ สามารถเห็นผลได้ชัดเจนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น รวมทั้งพืชผัก ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ

ส่วนประกอบ 
Monohydroxy acid  , Orthosilicic acid  and additives

คุณประโยชน์
๏ ช่วยให้พืชมีความแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี
๏ ช่วยป้องกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
๏ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน ให้เกิดประโยชน์ต่อพืชโดยเฉพาะฟอสเฟต
๏ ช่วยลดความเค็มของดิน
๏ ช่วยให้ผลผลิตพืชต่างๆ มีคุณภาพ รสชาติดีเยี่ยม
๏ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่า 100 – 200 % ในบางพืช อาทิ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ข้าว, ข้าวโพด)หรือพืชพลังงาน อาทิ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
๏ ช่วยให้พืชทนดินเปรี้ยว ทนร้อน ทนแล้ง ทนหนาว ทนดินเค็มได้ดี
๏ ช่วยให้พืชใบตั้งชัน ลำต้นแข็งไม่ล้มง่าย แผ่นใบแข็งตั้งรับแสงได้ดีทำให้เพิ่มการสังเคราะห์ได้มากขึ้น
๏ ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบใบของพืช
๏ ขัดขวางการล่วงล้ำของเชื้อโรค เข้าไปในเซลล์
๏ เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลด์ให้สูงขึ้นในบางพืช อาทิ แตงกวา และช่วยยืดอายุใบ ทำให้ใบหลุดร่วงช้าลง
๏ ป้องกันความเป็นพิษของแมงกานีสและเหล็กในดินต่อพืชบางชนิด
สรุป:หน้าที่บางอย่างในหลายๆอย่างของ"ซาร์คอน"
1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่
2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)
3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ
4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้
5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้
6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน

อัตราและวิธีการใช้
1. ทางใบ ใช้ ซาร์คอน 20 ซี.ซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบจนเปียกชุ่ม ทุก 7 – 10 วัน
2. ทางดิน ใช้ ซาร์คอน 20 – 40 ซี.ซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดดิน บริเวณที่มีความชุ่มชื่นจนเปียกชุ่ม ทุก 7 – 10 วัน
ซาร์คอน....กับพืชต่างๆ  อาทิ  ๏ ยางพารา  ๏ ปาล์มน้ำมัน   ๏ นาข้าว  ๏ พืชผักผลไม้  ๏ มันสำปะหลัง

ยางพารา
๏ ป้องกันหน้ายางตายนึ่ง
๏ ป้องกันโรครากขาว โรคเส้นดำ และโรคใบร่วง
๏ หน้ายางนิ่ม เปลือกนุ่ม ทำให้กรีดง่าย
๏ เพิ่มผลผลิตน้ำยางได้มากถึง 100 %
๏ ใช้ทางดินทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ลดความเค็มของดินทำให้ดินมีค่า PH ที่เหมาะสม   ปลดปุ๋ยธาตุอาหารได้ดี
๏ ช่วยให้พืชทนทานต่อความร้อน ความหนาวเย็น ฯลฯ
๏ เปอร์เซ็นต์น้ำยางเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 – 10 %

ปาล์มน้ำมัน
๏ ช่วยเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันได้มากถึง 100
๏ ปาล์มน้ำมันแข็งแรง เติบโตดี ไม่ชะงักวัน
๏ ช่วยให้ปาล์มมีคุณภาพมากขึ้น ได้น้ำมันมาก ผลใหญ่ น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง
๏ ทำให้ปาล์มออกผลผลิตทั้งปี ติดลูกได้ดี
๏ ช่วยให้ปาล์มมีดอกตัวเมียในสัดส่วนที่มากขึ้น
๏ ป้องกันโรคที่จะเกิดกับปาล์มน้ำมัน อาทิ โรคใบไหม้ โรคโคนเน่า โรคยอดเน่า และโรคผลเน่า เป็นต้น

นาข้าว, ข้าวโพด, อ้อย
๏ ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึง 100%
๏ ช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่ล้มง่าย ใบตั้งชัน (erectness) และเขียวเข้ม สังเคราะห์แสงได้ดี
๏ ช่วยทำให้ข้าวมีน้ำหนักดี เมล็ดแกร่ง เปอร์เซ็นต์แป้งสูง
๏ ช่วยป้องกันแมลงศัตรูของข้าว ไม่ว่าจะเป็น หนอนกอ หรือเพลี้ยต่างๆ     อาทิ เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยไฟ เป็นต้น
๏ ช่วยป้องกันโรคพืชศัตรูข้าวต่างๆ อาทิ โรคใบขาว โรคเน่าคอรวง โรคเมล็ดด่าง และโรคราอื่นๆ
๏ มีธาตุอาหารที่ข้าวต้องการเฉพาะ ช่วยให้ต้นข้าวออกรวงดี มีผลผลิตสูง
๏ สำหรับข้าวโพด เจริญเติบโตดี ใบตั้งชัน เขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ได้ฝักเต็ม ฝักใหญ่กว่าปรกติ
๏ สำหรับอ้อย ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์และถ้าขาดจะทำให้ผลผลิตลดลงครึ่งหนึ่ง

พืชผัก & ผลไม้
๏ ช่วยให้ผลไม้มีรสชาติดี หวานกรอบ และผลดก อาทิ ส้มโอ, ส้มเขียวหวาน, เงาะ, ลองกอง ฯลฯ
๏ ช่วยให้พืชผักมีผลผลิตเพิ่มมากกว่า 100 % ทั้งน้ำหนักดี มีความทนทานไม่เน่าเสียง่าย
๏ ช่วยให้พืชผักไม่ถูกแมลงรบกวน หรือรบกวนน้อย ไม่ว่าจะเป็นหนอน หรือเพลี้ยต่างๆ
๏ ช่วยให้ผลไม้ไม่เน่าเสียง่าย ได้ผลผลิตสู มีน้ำหนักดี
๏ ช่วยป้องกันโรคเน่า โรคเหี่ยว ในผักได้เป็นอย่างดี
๏ ช่วยให้ผลไม้ออกดอกออกผลเร็วกว่าปรกติ โดยทั่วไปทำให้ขายผลผลิตเร็วกว่าคนอื่น
๏  สำหรับพืชตระกูลแตง จะช่วยเพิ่มผลผลิต ถ้าขาดจะทำให้ผลผลิตลดลงใบรูปทรงบิดเบี้ยวและเหี่ยวง่าย ละอองเรณูไม่งอกและไม่ติดผล

มันสำปะหลัง
๏ ช่วยให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น 100 – 200 % หรือประมาณ 2 – 3 เท่าตัว
๏ ช่วยให้มันสำปะหลังมีหัวใหญ่ น้ำหนักดี หัวดก เนื้อแน่น
๏ ช่วยให้มันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงขึ้น
๏ ช่วยป้องกันโรคหัวเน่าที่จะเกิดกับหัวมันสำปะหลัง
๏ ช่วยป้องกันแมลงที่จะมารบกวนไม่ว่าจะเป็นเพลี้ยแป้งหรือหนอนอื่นๆ
๏ ช่วยให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้นมากกว่า 1 – 2 เดือน
๏ ช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปรกติ

ลิ้งค์เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid; SA)
 http://paccapon.blogspot.com/2016/02/salicylic-acid-sa.html



การแช่ "ซาร์คอน" (SARCON)
 SARCON:ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก ไม่ใช่สารเคมีฆ่าเพลี้ยฆ่าแมลง ไม่ใช่สารเคมีกำจัดโรคพืช แต่เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายตัวที่ทำหน้าที่ๆสำคัญต่างๆต่อกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry) และทำหน้าที่ได้ในหลายๆด้าน)


ความจำเป็นที่ต้องแช่ท่อนพันธุ์ ด้วย"ซาร์คอน"(SARCON)

คุณประโยชน์ 3 ประการของสารสำคัญที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน"(SARCON)

1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์รากพืช อาทิ การสร้างราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากๆ

2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ

3. กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นคือกระบวนการ"Revitalize" เซลล์รากและสร้างสัดส่วนราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร)กับราก"Fibrous root"(รากหาอาหาร) ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากพอต่อการสร้างเป็น"Tuber"(โดยผ่านกระบวนการTuberization)
และอีกหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว



เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น

กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช

การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย "ซาร์คอน"(SARCON) 
ไม่ใช่เป็นการแช่ "ฮอร์โมนเร่งราก" เพื่อให้รากเยอะอย่างเดียว(เพราะ "ซาร์คอน" ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการ "Revitalize" เซลล์ราก) แต่การแช่ "ซาร์คอน" ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ได้รากเยอะๆและที่สำคัญรากนั้นๆต้องเป็นราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากพอจากกระบวนการทำงานในระบบเซลล์รากที่สมบูรณ์ เมื่อได้"รากสะสมอาหาร"ที่มากพอก็รอเข้าสู่ "กระบวนการลงหัว"(Tuberization) ด้วย "แอคซอน"(AXZON) ต่อไป


   นี่เพียงแค่หนึ่งในหลายๆคุณประโยชน์ของกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ใน"ซาร์คอน"หลายๆชนิด ที่ทำหน้าที่ได้มากมายในระดับเซลล์ ทั้ง
1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่
2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)
3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ
4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้
5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้
6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน




มหัศจรรย์ “ซาร์คอน”( ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค) 
ซิลิคอนกับการเจริญเติบโตของพืช
แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช แต่ได้มีการพิสูจน์ในเชิงวิชาการแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตดังนี้จากการวิจัย เราจะพบว่า การเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ จะมีการขนย้ายซิลิคอนออกจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดูการเพาะปลูก แม้ว่าในดินเองจะมีซิลิคอนในปริมาณสูง แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณซิลิคอนในดินเปลี่ยนรูป มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จากงานวิจัยเราจะพบว่า กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
1. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หัก ล้มง่าย ผนังเซลล์ที่แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น
2. ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย เมื่อได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะทำให้โครงสร้างใบ แข็งแรง ใบจะตั้งขึ้น ทำให้รับแสงแดดได้เต็มที่ ขณะเดียวกันสารละลายกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนที่ฉีดพ่น เมื่อแห้งจะเคลือบใบพืชไว้ ทำให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าทำลายใบพืชได้
3. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้น หลังจากฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน พืชจะสร้างรากใหม่ และเสริมสร้างระบบรากให้ซับซ้อนขึ้น
4. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน ที่แทรกอยู่ในโครงสร้างใบ จะทำให้แสงผ่านใบได้น้อยลง หรือใบพืชดักจับแสงได้มากขึ้น ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นใบมีสีเขียวขึ้น
5. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะมีองค์ประกอบของโปแตสเซียมไอออนซึ่งกระตุ้นการลำเลียงอาหารภายในต้นพืช การสังเคราะห์แสงที่ดี ลำเลียงอาหารดีและระบบรากที่ดี จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน สามารถดูดซับพิษของโลหะในดิน เช่นโซเดียม อลูมิเนียม แมงกานีส ฯลฯ ได้
7. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะเคลือบใบ ทำให้พืชคายน้ำน้อยลงทำให้พืชสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้นานขึ้น และมากกว่าพืชปกติ
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid; SA)
 http://paccapon.blogspot.com/2016/02/salicylic-acid-sa.html



......................
การคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเกษตรตามภูมิภาคต่าง ๆ

จากการวิจัยในแคว้นควีเบก ประเทศแคนาดา พบว่าภายใต้แผนการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ GISS ผลผลิตของข้าวโพดถั่วเหลือง มันสำปะหลังและข้าวฟ่าง จะเพิ่มสูงขึ้นและผลผลิตของธัญพืชและพืชที่เมล็ดให้น้ำมันจะลดลง
การประมาณจากแบบจำลองสำหรับผลผลิต ข้าวโพดทานตะวัน และถั่วเหลือง ในประเทศสมาคมยุโรปโดยการใช้แผนการคาดหมายจากการทดลอง ให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคงที่ พบว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของพืชผลเหล่านี้ จะขยับขึ้นไปทางเหนือ 700-1900 กิโลเมตร

ผลผลิตจากแบบจำลอง GCM จำนวนมาก พบว่าผลผลิตทางการเกษตร ในบริเวณตอนเหนือ ของประเทศรัสเซียในทวีปยุโรปและไซบีเรีย อาจเพิ่มมากขึ้น และเขตพืชผลในบริเวณนี้จะขยับขึ้นไปทางเหนือและยังคาดหมายว่า เมื่อนำเอาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาพิจารณาด้วยแล้ว ผลผลิตของพืชผลในประเทศรัสเซีย จะสูงขึ้นมากถ้าระดับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าอย่างไรก็ตาม ภายใต้การคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศบางแผน คาดหมายว่าการใช้ปุ๋ย จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์การเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นทรอพอสเฟียร์ และการสูญเสียอินทรียวัตถุในดินจะทำให้ผลผลิตจากพืชผลลดลง ประมาณ 10%

ในประเทศอังกฤษ อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเป็นสาเหตุให้ผลผลิตธัญพืชลดลง ผลผลิตจากมันสำปะหลังหัวบีทที่ใช้ทำน้ำตาล และการปลูกสวนป่า จะเพิ่มมากขึ้นผลผลิตจากสัตว์ทางเหนือของประเทศจะดีขึ้นแต่ต้องลงทุนมากขึ้นด้วยในการก่อสร้างอาคาร

ในประเทศเซเนกัลประมาณว่าถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส ในกลางศตวรรษหน้าผลผลิตจากพืชผลจะลดลง 30% ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร 1-2 ล้านคนในประเทศซิมบับเว ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส ผลผลิตที่ปัจจุบันนี้ได้ผล 7 ปี ภายใน 10 ปี จะได้ผลเพียง 2-4 ปี ภายใน 10 ปี เท่านั้น ในประเทศเคนยาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นแต่ในบริเวณกึ่งแห้งแล้ง จะประสบกับการขาดแคลนอาหาร จากการวิเคราะห์ผลผลิตจากพืชผลในปัจจุบัน ถึงศักยภาพผลผลิตจากพืชผลในอนาคตตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศจำนวนศัตรูพืช และระดับรังสีอุลตราไวโอเลต-บี พบว่า ในทวีปแอฟริกาหยาดน้ำฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น 10% จะทำให้ผลผลิตจากพืชผลอยู่ในขอบเขตที่จำกัดลง

ในประเทศนิวซีแลนด์อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ศักยภาพทางการเกษตร ขยับเลื่อนไปอย่างแน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งธัญพืชจะปลูกได้ในพื้นที่ที่อยู่ทางใต้ลงไปจากปัจจุบันถึง 200 กิโลเมตรและขยับสูงขึ้นได้อีก 200 เมตร ทุก ๆ อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส

ประเทศไทย จากการศึกษาจากแบบจำลองภูมิอากาศโลกภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์จำลองที่ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นสองเท่าซึ่งโดยปกติแล้วการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มแต่หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทำให้ผลผลิตลดลงผลจากแบบจำลองภูมิอากาศโลกทั้ง 3 แบบจำลองแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิในอนาคตจะสูงขึ้นประมาณ 4-5 องศาเซลเซียสและปริมาณฝนเพิ่มขึ้น 8-15% โดยผลจากแบบจำลอง ORYZA พบว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยในอนาคตภายใต้เงื่อนไขสภาพภูมิอากาศอนาคตจากแบบจำลองทั้ง 3 จะเปลี่ยนแปลงไปโดยอยู่ในช่วงระหว่าง +9.3% ถึง -0. 9% และการคาดการณ์โดยแบบจำลอง SIMRIW พบว่าผลผลิตข้าวในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง +6.4% ถึง -11.6% (Matthews et al., 1997) อีกการศึกษาหนึ่งพบว่าการจำลองผลผลิตข้าวบริเวณพื้นที่ศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีโดยข้อมูลจากแบบจำลองผลผลิตจาก DSSAT และข้อมูลภูมิอากาศจากแบบจำลอง CCAM ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะส่งผลดีต่อผลผลิตข้าวในพื้นที่ดังกล่าวสภาพอากาศในอนาคตทำให้ผลผลิตจากข้าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นโดยอยู่ในช่วง +1.48% ถึง +15.29% และในบางพื้นที่ผลผลิตจะสูงขึ้น 10-15% (Southeast Asia START Regional Center 2006) (Chinvanno et al., 2008a) และผลจากการวิเคราะห์ข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ KDML 105 บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ก็ได้ผลดีขึ้นเช่นเดียวกัน (วิเชียรเกิดสุขและคณะ, 2547)

ผลผลิตทางการเกษตรในประเทศไทยโดยทั่วไปไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยกเว้นมันสำปะหลังอย่างไรก็ตามรูปแบบความแปรปรวนของสภาพอากาศในอนาคตส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีความแปรปรวนไปด้วยเช่นกันนอกจากนั้นถึงแม้ว่าผลผลิตโดยรวมของประเทศจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากนักแต่บางพื้นที่จัดว่าเป็นพื้นที่วิกฤตต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งผลผลิตในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงมากทั้งนี้พื้นที่วิกฤตได้แก่พื้นที่ทำนาน้ำฝนหรือข้าวนาปีตลอดจนพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังทางภาคเหนือของประเทศและในช่วงฤดูแล้งพื้นที่ทำนาข้าวและพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่ได้รับผลกระทบจะขยายขอบเขตไปในหลายพื้นที่ผลจากการประเมินพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงได้แก่ธาตุอาหารในดินและการกระจายตัวของฝนส่วนสาเหตุที่ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเนื่องจากคุณสมบัติของดินและปริมาณน้ำฝนที่ไม่สัมพันธ์กันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นปัญหาหลักในบริเวณภาคเหนือตอนล่างและผลผลิตข้าวโพดที่ลดลงเนื่องจากการขาดน้ำในระยะออกดอกโดยเฉพาะในช่วงข้าวโพดออกไหมและช่วงที่ปรากฏช่อเกสรตัวผู้ (เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชรและคณะ, 2552)

นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตรและคณะรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อทุเรียนในประเทศไทยจากรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีพบว่าทุเรียนในจังหวัดจันทบุรีในช่วงปี 2548 และ2550 ออกดอกและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นกว่าในปีก่อนๆ  3-4 สัปดาห์ รวมถึงส่งผลให้มังคุดในภาคตะวันออกดอกค่อนข้างล่าช้า ปีการผลิต 2553/2554 มังคุดออกดอกล่าช้ามากในราวเดือนกุมภาพันธ์โดยปกติมังคุดจะออกดอกประมาณเดือนธันวาคมจึงมีผลกระทบต่อคุณภาพของมังคุดเนื่องจากต้องไปเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝนทำให้ผลผลิตมังคุดในปีนี้มีแนวโน้มที่จะมีเกิดอาการเนื้อแก้วยางไหลมาก

กรมอุตุนิยมวิทยา.ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร. http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=88 สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2557

นวลศรี  โชตินันทน์. 2554. จดหมายข่าว ผลิใบ. กรมวิชาการเกษตร. ฉบับที่ 9 เดือนตุลาคม 2554.
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2554. โครงการศึกษาด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของ สภาพภูมิอากาศในอนาคตและการปรับตัวของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 369 หน้า

สาวิตรี จันทรานุรักษ์, 2547. ปรากฎการณ์ที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมระดับโลก เอกสารประกอบการสอนวิชา บูรณาการสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีและชีวิต รหัสวิชา 999213 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ภาวะโลกร้อน ( Global Warming) จะเกิดอะไรขึ้นกับการเกษตร และปศุสัตว์ ?

1. ผลกระทบและความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการเกษตร

พื้นที่เกษตรของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีประชากรที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2553) ระบบการเกษตรร้อยละ 75 เป็นระบบเกษตรอาศัยน้ำฝนมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและฤดูกาล การศึกษาสภาพความแห้งแล้งในรอบหลายร้อยปีของประเทศไทย (Buckley et al., 2007) พบว่ามีผลต่อระบบนิเวศน์รวมทั้งพื้นที่ป่าและระบบเกษตร

การศึกษาความเสี่ยงของน้ำใต้ดินซึ่งเกษตรกรใช้เป็นแหล่งน้ำสำรอง โดยใช้โครงการชลประทานพลายชุมพลจังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ศึกษา พบว่าปริมาณฝนรวมทั้งปีในช่วงอนาคตอาจจะลดลงบ้าง แต่ฝนจะตกมากขึ้นในช่วงฤดูแล้งซึ่งจะทำให้อัตราการเติมน้ำในฤดูแล้งดีขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าไม่มีการควบคุมการทำนาปรังในฤดูแล้ง เกษตรกรอาจจะทำนาปรังมากขึ้นจึงนำให้อัตราการใช้น้ำบาดาลเพิ่มสูงขึ้นด้วย และจะส่งผลให้ระดับน้ำบาดาลลดลงกว่าปัจจุบันได้อีกถึง 1 เมตร ดังนั้นการควบคุมพื้นที่เพาะปลูกให้เป็นไปตามกลไกปีน้ำจึงจะเป็นกุญแจสำคัญของการลดความเสี่ยงต่อภูมิอากาศในอนาคต (JIID, 2010; Chulalongkorn University, 2010)

ความต้องการใช้น้ำในอนาคตโดยเฉพาะภาคการเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้นจากนโยบายการเพิ่มผลผลิตต่างๆโดยพื้นที่การเกษตรในปี พ.ศ. 2567 น่าจะเพิ่มขึ้นจากในปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 81 ล้านไร่ เป็นประมาณ 94 ล้านไร่โดยในจำนวนนี้พื้นที่ชลประทานถ้ามีการพัฒนาได้เต็มตามแผนที่วางไว้จะเพิ่มขึ้นจาก 22 ล้านไร่ในปัจจุบัน เป็นประมาณ 27 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2567 และจะส่งผลให้มีความต้องการน้ำในพื้นที่ชลประทานอยู่ที่ประมาณ 22,000-25,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยเป็นความต้องการน้ำเพื่อการทำนาปรังในฤดูแล้งถึงประมาณ 6,000-7,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี หรือประมาณเกือบร้อยละ 30 (สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และคณะ, 2549) ดังนั้นถ้าไม่สามารถจัดสรรน้ำหรือจัดการการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรกลุ่มนี้ก็จะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ พืชผักและไม้ดอก แต่ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะพืชไร่หลัก 5 ชนิด ซึ่งมีการศึกษาเกี่ยวกับผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศค่อนข้างมากกว่าพืชอื่นๆ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด


1.1 ข้าว

ข้าวบางสายพันธุ์มีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ (Baker et al., 1992; Rotter and van DeGeijn, 1999) โดยทำให้อายุข้าวจะสั้นลงและส่งผลทำให้ผลผลิตข้าวลดลง รวมทั้งอาจจะมีผลต่อการระบาดของแมลงและโรคของข้าว (Pinnschmidt et al., 1995; Savary et al., 2005) การขาดน้ำทำให้การผสมเกสรลดลงและลดผลผลิต ข้าวได้ (Ekanayake et al., 1989)

ข้าวนาปีมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ในอนาคตถึงอุณหภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นแต่ข้าวส่วนใหญ่ก็ยังสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ปริมาณน้ำฝนรายปีที่อาจจะเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและลดลงในพื้นที่ภาคกลางอาจจะส่งผลต่อการผลิตข้าวบ้าง แต่ปัจจัยที่สำคัญคือการเริ่มต้นของฤดูฝน หากการแปรปรวนของภูมิอากาศทำให้ฝนมาล่าจะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเตรียมแปลงกล้าได้ ความแปรปรวนของภูมิอากาศและพายุที่อาจจะมีมากขึ้นอาจจะทำให้มีภาวะน้ำท่วมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ รวมทั้งพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียผลผลิตข้าว (Clermont-Dauphin et al., 2010)

ข้าวนาปรังมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานในภาคกลาง เป็นระบบการผลิตที่จะเปิดรับกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอากาศโดยเฉพาะในช่วงปลายฤดู ระบบการผลิตมีความอ่อนไหวต่อการควบคุมและระบายน้ำของภาครัฐซึ่งมีทั้งเพื่อการชลประทานในฤดูแล้งและการจัดการน้ำท่วมในฤดูฝน

1.2 มันสำปะหลัง

การเพาะปลูกการศึกษาการผลิตมันสำปะหลังเป็นระยะเวลายาวทำให้ความเข้าใจด้านการตอบสนองต่อภูมิอากาศที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมีพอสมควร (Wongwiwatchai et al., 2002) การใช้แบบจำลองทำให้คาดด้วยว่ามันสำปะหลังปลูกในพื้นที่ดอนของพื้นที่ผลิตหลักในประเทศมีการเปิดรับต่อปริมาณน้ำฝนที่อาจจะเพิ่มขึ้น ทำให้หัวมันสำปะหลังมีโอกาสเน่าเสียได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตลดลง (เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร และคณะ, 2552)

อุณหภูมิและความชื้นในอากาศและในดินที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอาจจะทำให้ศัตรูของมันสำปะหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ได้แก่ เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว ไรแดง ปลวกและแมลงนูนหลวง (Bellotti and van Schoonhoven, 1978; Srinives, 1995) แต่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้โดยตรง

1.3 อ้อย

การเพาะปลูกอ้อยโรงงานที่ปลูกข้ามแล้งจะเปิดรับกับช่วงหน้าแล้งที่ยาวนานขึ้นกว่าอดีต อ้อยอาจจะประสบปัญหาขาดน้ำและทำให้ประชากรและความหนาแน่นของอ้อย ต่อพื้นที่ลดลงและส่งผลกระทบให้ผลผลิตลดลงด้วย นอกจากนี้ในฤดูฝนซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณฝนมากขึ้นอาจจะทำให้อ้อยเปิดรับต่อภาวะนํ้าขังทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ (Jintrawet et al., 2000; Jintrawet and Pramanee, 2005) นอกจากนี้ ศัตรูของอ้อย เช่น หนอนกอด้วงหนวดยาวและปลวก (Long and Hensley, 1972) ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

1.4 ข้าวโพด

การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนจะเปิดรับกับความไม่แน่นอนของวันเริ่มต้นของฤดูฝน ทำให้การเริ่มต้นของฤดูปลูกไม่แน่นอน ความแปรปรวนของฝนในฤดูการผลิตอาจจะมีผลทำให้ข้าวโพดโดยเสี่ยงต่อการระบาดของแมลงและโรคข้าวโพดอีกด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาโดย เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร และคณะ (2552) คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

















นาข้าว ใช้ ไบโอเจ็ท + ซาร์คอน
หอมแบ่ง กับการใช้ ไบโอเจ็ท + ซาร์คอน






..........................
ภาคภนวก

ไซโตไคนิน (Cytokinins)
               การค้นพบฮอร์โมนในกลุ่มนี้เริ่มจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ    โดยในปี ค.ศ. 1920  Haberlandt ได้แสดงให้เห็นว่ามีสารชนิดหนึ่งเกิดอยู่ในเนื้อเยื่อพืชและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อพาเรนไคมาในหัวมันฝรั่งกลับกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้  ซึ่งแสดงว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์  ต่อมามีการพบว่าน้ำมะพร้าวและเนื้อเยื่อของหัวแครอทมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์เช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น Skoog และ Steward   ทำการทดลองในสหรัฐอเมริกา    โดยศึกษาความต้องการสิ่งที่ใช้ในการเจริญเติบโตของกลุ่มก้อนของเซลล์ (Callus) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว  แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพเกิดขึ้นของ pith  จากยาสูบและรากของแครอท  จากผลการทดลองนี้ทำให้รู้จักไซโตไคนินในระยะปี   ค.ศ. 1950    ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันพบว่าไซโตไคนิน  ยังเกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ (Senescence) และการควบคุมการเจริญของตาข้างโดยตายอด (Apical Dominance)

จากการศึกษาของ Skoog โดยเลี้ยงเนื้อเยื่อ pith ของยาสูบ พบว่าการที่เนื้อเยื่อจะเจริญต่อไปได้นั้นจะต้องมีอาหารและฮอร์โมน เช่น ออกซิน โดยถ้าให้ออกซินในอาหารจะมีการเจริญของเนื้อเยื่อนั้นน้อยมาก  เซลล์ขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่แบ่งเซลล์     นอกจากนั้นจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ อย่างไรก็ตามหากเพิ่มพิวรีน เบส (Purine Base) ชนิดอะดีนีน (Adenine) ลงไปในอาหารรวมกับ IAA พบว่า  เนื้อเยื่อจะกลายเป็นกลุ่มเซลล์ (Callus) ถ้าใส่อะดีนีนอย่างเดียวรวมกับอาหาร     เนื้อเยื่อจะไม่สร้างกลุ่มเซลล์ขึ้นมา  ดังนั้นจึงมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง อะดีนีน และ IAA  ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์ขึ้น อะดีนีนเป็นพิวรีนเบส   ซึ่งมีสูตรเป็น   6-อะมิโนพิวรีน (6-aminopurine) และปรากฏอยู่ในสภาพธรรมชาติโดยเป็นส่วนประกอบของกรด นิวคลีอิค

ในปี 1955 Miller ได้แยกสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงแต่มีประสิทธิภาพดีกว่าอะดีนีน  ซึ่งได้จากการสลายตัวของ DNA ของสเปิร์มจากปลาแฮร์ริง   สารชนิดนี้ คือ 6-(furfuryl-amino) purine ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายอะดีนีน  เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์โดยร่วมกับออกซิน จึงได้รับชื่อว่าไคเนติน (Kinetin)

ไคเนติน เป็นสารที่ไม่พบตามธรรมชาติในต้นพืช แต่เป็นสารสังเคราะห์  ต่อมาได้มีการค้นพบไซโตไคนินสังเคราะห์อีกหลายชนิด  สารสังเคราะห์ที่มีกิจกรรมของไซโตไคนินสูงที่สุดคือ เบนซิลอะดีนีน (Benzyladenine หรือ BA) และเตตระไฮโดรไพรานีลเบนซิลอะดีนีน (tetrahydropyranylbenzyladenine หรือ PBA)

ไซโตไคนินที่พบในพืช

แม้ว่าไคเนติน BA และ PBA  เป็นสารที่ไม่พบในต้นพืช    แต่สารซึ่งพบในอวัยวะของพืชหลายชนิด เช่น ในน้ำมะพร้าว ในผลอ่อนของข้าวโพด ให้ผลทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกับสาร BA และ PBA สารที่เกิดตามธรรมชาติและสารสังเคราะห์หลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนไคเนตินนั้น เรียกโดยทั่วๆ ไปว่า ไซโตไคนิน ซึ่งเป็นสารที่เมื่อมีผลร่วมกับออกซินแล้วจะเร่งให้เกิดการแบ่งเซลล์ในพืช

มีหลักฐานเด่นชัดชี้ว่าไซโตไคนินที่เกิดในธรรมชาติเป็นสารประกอบพิวรีน  ในปี 1964   Letham    ได้แยกไซโตไคนินชนิดหนึ่งจากเมล็ดข้าวโพดหวาน และพบว่า เป็นสาร          6-(4-hydroxy-3-methyl but-2-enyl) aminopurine  ซึ่ง Letham ได้ตั้งชื่อว่า ซีเอติน (Zeatin)

นับตั้งแต่มีการแยกไซโตไคนินชนิดแรกคือซีเอตินแล้ว    ก็มีการค้นพบไซโตไคนิน อีกหลายชนิดซึ่งทุกชนิดเป็นอนุพันธ์ของอะดีนีน คือ เป็น 6-substituted amino purines ซีเอตินเป็นไซโตไคนินธรรมชาติซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

การสังเคราะห์ไซโตไคนิน

การสังเคราะห์ไซโตไคนินในต้นพืชเกิดโดยการ substitution ของ side chain  บนคาร์บอนอะตอมที่ 6 ของอะดีนีน ซึ่ง side chain  ของไซโตไคนินในสภาพธรรมชาติ ประกอบด้วยคาร์บอน 5 อะตอม   จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่าเกิดมาจากวิถีการสังเคราะห์ ไอโซพรีนอยด์  (Isoprenoid) ต่อมาพบว่า กลุ่มของไซโตไคนิน  เกิดขึ้นบน t-RNA ได้ และเมื่อใช้เมวาโลเนต (Mavalonate หรือ MVA)     ที่มีสารกัมมันตรังสี จะสามารถไปรวมกับกลุ่ม   อะดีนีนของ t-RNA เกิดเป็นไดเมทธิลอัลลิล (Dimethylallyl side chain) เกาะด้านข้าง  ในเชื้อรา Rhizopus นั้น Dimethylallyl adenine สามารถเปลี่ยนไปเป็น Zeatin ได้ จึงคาดกันว่า Zeatin อาจจะเกิดจากการออกซิไดซ์ Dimethylallyl adenine

การเกิดกลุ่มของไซโตไคนินใน t-RNA นี้ หมายความว่า ไซโตไคนิน  อาจจะเกิดขึ้นมาจากการสลายตัวของ  t-RNA   ซึ่งความเป็นจริงก็พบเหตุการณ์ดังกล่าวบ้าง  อย่างไรก็ตามยังมีข้อสงสัยอีกมากที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไซโตไคนินจาก t-RNA  อาจจะมีวิถีเฉพาะที่ก่อให้เกิดการสังเคราะห์ไซโตไคนิน  ดังแสดงในรูปที่ 12.4  ซึ่งเป็นวิถีที่แยกอย่างเด็ดขาดจากการเกิดไซโตไคนินโดยการสลายตัวของ t-RNA

พบไซโตไคนินมากในผลอ่อนและเมล็ด   ในใบอ่อนและปลายรากซึ่งไซโตไคนิน อาจจะสังเคราะห์ที่บริเวณดังกล่าวหรืออาจจะเคลื่อนย้ายมาจากส่วนอื่น ๆ   ในรากนั้นมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนินสังเคราะห์ที่บริเวณนี้ได้เพราะเมื่อมีการตัดรากหรือลำต้น พบว่าของเหลวที่ไหลออกมาจากท่อน้ำจะปรากฏไซโตไคนินจากส่วนล่างขึ้นมา   ติดต่อกันถึง 4 วัน  ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าไซโตไคนินสังเคราะห์ที่รากแล้วส่งไปยังส่วนอื่น ๆ  โดยทางท่อน้ำ  หลักฐานที่แสดงว่าสังเคราะห์ที่ส่วนอื่นยังไม่พบและการเคลื่อนย้ายของไซโตไคนินจากส่วนอ่อน เช่น ใบ เมล็ด ผล ยังเกิดไม่ดีและไม่มาก

การสลายตัวของไซโตไคนิน

 ไซโตไคนินสามารถถูกทำลายโดยการออกซิเดชั่น ทำให้ side chain หลุดจากกลุ่มอะดีนีน   ติดตามด้วยการทำงานของเอนไซม์  แซนทีนออกซิเดส   (Xanthine Oxidase) ซึ่งสามารถออกซิไดซ์  พิวรีนเกิดเป็นกรดยูริค (Uric Acid) และกลายเป็นยูเรียไปในที่สุด อย่างไรก็ตามในใบพืชไซโตไคนินอาจจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกลูโคไซด์     โดยน้ำตาลกลูโคสจะไปเกาะกับตำแหน่งที่  7  ของอะดีนีนเกิดเป็น 7-กลูโคซีลไซโตไคนิน (7-glucosylcyto- kinins)  หน้าที่ของไซโตไคนิน  กลูโคไซด์ ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก อาจจะเป็น "detoxification" ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเมตาบอลิสม์หรืออาจจะเป็นรูปที่ไซโตไคนินอาจจะถูกปลดปล่อยออกมาในบางสภาวะได้    จากการศึกษาโดยใช้ Radioactive BA พบว่าสามารถสลายตัวกลายเป็นกรดยูริคแล้วอาจจะรวมกับ RNA ได้

การเคลื่อนที่ของไซโตไคนิน

ยังไม่มีหลักฐานว่าเคลื่อนที่อย่างไรแน่        จากการทดลองพบว่าระบบรากเป็นส่วนสำคัญในการส่งไซโตไคนินไปยังใบ และป้องกันการเสื่อมสลายของใบก่อนระยะอันสมควร เป็นหลักฐานที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ไซโตไคนินมีการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ยอด    ยิ่งไปกว่านั้นยังพบไซโตไคนินในท่อน้ำ  ซึ่งมาจากระบบรากด้วย  ในทางตรงกันข้ามไซโตไคนินซึ่งพบที่ผลซึ่งกำลังเจริญเติบโตไม่เคลื่อนที่ไปส่วนอื่นเลย    ในทำนองเดียวกันจากการศึกษากับการให้ไซโตไคนินจากภายนอก เช่นให้ไคเนติน พบว่าจะไม่เคลื่อนย้ายเป็นเวลานาน  แม้ว่าสารอื่น ๆ จะเคลื่อนย้ายออกจากจุดนี้ก็ตาม  มีหลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนินอาจจะเคลื่อนย้ายในรูปที่รวมกับสารอื่น ๆ เช่น น้ำตาล (Ribosides หรือ glucosides)  ซึ่งไซโตไคนินในรูปที่รวมกับน้ำตาลนั้นพบเสมอในท่อน้ำท่ออาหาร

ในการให้ไฃโตไคนินกับตาข้างเพื่อกำจัด Apical dominance นั้น พบว่าไซโตไคนินจะไม่เคลื่อนที่เลยเป็นระยะเวลานานมาก ในการทดลองกับ BA พบว่า BA สามารถเคลื่อนที่ผ่านก้านใบและมีลักษณะแบบ Polar เหมือนกับออกซิน ในทุกการศึกษาพบว่า       ไซโตไคนินในใบจะไม่เคลื่อนที่รวมทั้งในผลอ่อนด้วย    ส่วนผลของรากในการควบคุมการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินอาจจะอธิบายได้ถึงไซโตไคนินที่เคลื่อนที่ในท่อน้ำ ซึ่งพบเสมอในการทดลองว่าไซโตไคนินสามารถเคลื่อนที่จากส่วนรากไปสู่ยอด          แต่การเคลื่อนที่แบบ Polar ยังไม่เป็นที่ยืนยันการเคลื่อนที่ของไซโตไคนินในพืชยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง

การหาปริมาณของไซโตไคนิน

1. ใช้ Tobacco callus test   โดยให้ไซโตไคนินกระตุ้นการเจริญของ tobacco pith cell โดยการชั่งน้ำหนักเนื้อเยื่อพืชที่เพิ่มขึ้น  แต่เป็นวิธีที่ใช้เวลานาน

2. Leaf senescence test ไซโตไคนินทำให้คลอโรฟิลล์ไม่สลายตัวในแผ่นใบที่ลอยอยู่ในสารละลายไซโตไคนินในที่มืด แล้วหาจำนวนของคลอโรฟิลล์ที่เหลืออยู่           หลังจากลอยไว้ 3-4 วัน วิธีนี้ให้ผลไม่ดีเท่าวิธีแรก

กลไกการทำงานของไซโตไคนิน

ไซโตไคนินมีบทบาทสำคัญคือควบคุมการแบ่งเซลล์   และไซโตไคนินที่เกิดในสภาพธรรมชาตินั้นเป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนทั้งสิ้น ดังนั้นงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการทำงานจึงมีแนวโน้มในความสัมพันธ์กับกรดนิวคลีอิค     กลไกการทำงานของไซโตไคนินยังไม่เด่นชัดเหมือนกับออกซิน และจิบเบอเรลลิน แต่ไซโตไคนินมีผลให้เกิดการสังเคราะห์ RNA  และโปรตีนมากขึ้นในเซลล์พืช  ผลการทดลองบางรายงานกล่าวว่า หลังจากให้ไซโตไคนินกับเซลล์พืชแล้วจะเพิ่มปริมาณของ m-RNA, t-RNA และ r-RNA

การศึกษากลไกการทำงานของไซโตไคนิน ในช่วงทศวรรษ 1960 ได้เน้นไปในแง่ที่ว่าไซโตไคนินอาจจะส่งผลของฮอร์โมนผ่าน t-RNA บางชนิด เนื่องจากมีการค้นพบว่ามีกลุ่มไซโตไคนินปรากฏอยู่ร่วมกับ t-RNA หลายชนิด ทั้ง t-RNA ของซีรีน (Serine) และไธโรซีน (Thyrosine) มี  อะดีนีนเบสซึ่งมี side chain และมีคุณสมบัติเป็นไซโตไคนินซึ่งมีประสิทธิภาพสูง       ยิ่งไปกว่านั้นในกรณี อะดีนีนซึ่งมีคุณสมบัติของไซโตไคนินจะอยู่ถัดจากแอนติโคดอน (Anticodon) ของ t-RNA  จึงเป็นที่เชื่อกันว่าการปรากฏของไซโตไคนินบน t-RNA อาจจะจำเป็นต่อการเกาะกันของโคดอน (Codon) และแอนติโคดอนระหว่าง m-RNA และ t-RNA  บนไรโบโซม   ซึ่งสมมุติฐานที่ว่าไซโตไคนินควบคุมกระบวนการ Translation ผ่านทาง t-RNA จึงได้รับความเชื่อกันมากในขณะนั้น

อย่างไรก็ตามสมมุติฐานนี้ ในเวลาต่อมาได้รับการวิจารณ์อย่างรุนแรง  เช่นในการสังเคราะห์ t-RNA ตามปกตินั้น อาจจะเกิดการเปลี่ยนรูปของเบส หลังจากที่มีโพลีนิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide) แล้ว       ซึ่งหมายความว่า side chain  บนตำแหน่งที่ 6 ของอะดีนีนนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่อะดีนีนได้อยู่บน t-RNA เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ไคเนตินและซีเอตินหรือไซโตไคนินอื่นๆ จะเข้าร่วมกับ t-RNA   ในรูปที่เป็นโมเลกุลที่สมบูรณ์ หลักฐานอีกข้อที่ไม่สนับสนุนสมมุติฐานนี้คือ การพบว่า t-RNA ของเมล็ดข้าวโพดซึ่งมีซีส-ซีเอติน (Cis-Zeatin) ในขณะที่ไซโตไคนินที่เกิดในธรรมชาติในเมล็ดเดียวกันเป็นทรานส์-ซีเอติน (trans-Zeatin)         ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเชื่อว่าไซโตไคนินเป็นสารเริ่มต้นของการสังเคราะห์ t-RNA แม้ว่างานทดลองจะยังสับสนและขัดแย้งกัน      แต่โดยทั่วไปการรวมของไซโตไคนินเข้าไปใน t-RNA  นั้นเกิดในอัตราที่ต่ำมากจนไม่น่าเชื่อสมมุติฐานดังกล่าว

งานวิจัยได้เปลี่ยนแนวและสนับสนุนว่าไซโตไคนินอาจจะทำงานโดยควบคุม        กิจกรรมของเอนไซม์โดยตรงมากกว่าที่จะเกี่ยวกับการสังเคราะห์เอนไซม์ ไซโตไคนินมีอิทธิพลต่อเอนไซม์หลายชนิด เช่น ไคเนส (Kinases) ที่ใช้ในกระบวนการหายใจ นอกจากนั้นกิจกรรมของเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงก็เพิ่มขึ้น

ผลของไซโตไคนิน

1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพใน   tissue culture   โดยต้องใช้ร่วมกับ Auxin      ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นหากให้ฮอร์โมน     ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน จะทำให้เนื้อเยื่อนั้นเจริญเป็น ตา ใบ และลำต้น แต่ถ้าหากสัดส่วนของออกซินมากขึ้นกว่าไซโตไคนินจะทำให้เนื้อเยื่อนั้นสร้างรากขึ้นมา  การ differentiate  ของตาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจาก Callus จากส่วนของลำต้นนั้น auxin จะระงับ และไซโตไคนินนั้นจะกระตุ้นการเกิด และต้องมีความสมดุลระหว่างไซโตไคนินและออกซินชิ้นเนื้อเยื่อจึงจะสร้างตาได้

2. ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย  เช่น กรณีของใบที่เจริญเต็มที่แล้วถูกตัดออกจากต้น  คลอโรฟิลล์ RNA  และโปรตีนจะเริ่มสลายตัวเร็วกว่าใบที่ติดอยู่กับต้น   แม้จะมีการให้อาหารกับใบเหล่านี้ก็ตาม   ถ้าหากเก็บใบเหล่านี้ไว้ในที่มืดการเสื่อมสลายยิ่งเกิดเร็วขึ้น  อย่างไรก็ตามหากใบเหล่านี้เกิดรากขึ้นที่โคนใบหรือก้านใบ จะทำให้การเสื่อมสลายเกิดช้าลง  เพราะไซโตไคนินผ่านขึ้นมาจากรากทางท่อน้ำ  อย่างไรก็ตามการให้ไซโตไคนินกับใบพืชเหล่านี้จะชะลอการเสื่อมสลายได้เหมือนกับรากเช่นกัน   นอกจากนั้นไซโตไคนินยังทำให้มีการเคลื่อนย้ายอาหารจากส่วนอื่นมายังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้ เช่น กรณีของใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินมากกว่าใบแก่จะสามารถดึงอาหารจากใบแก่ได้
ในกรณีเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคราสนิม  ซึ่งทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อแล้วบริเวณเนื้อเยื่อที่ตายจะเกิดสีเขียวล้อมรอบขึ้นมาซึ่งบริเวณสีเขียวนี้มีแป้งสะสมมากแม้กระทั่งส่วนอื่นๆ  ของใบตายไปแล้ว       ส่วนสีเขียวอาจจะยังคงอยู่ ลักษณะนี้เรียกว่า Green Island  ซึ่งบริเวณนี้จะมี   ไซโตไคนินสูง   คาดว่าเชื้อราสร้างขึ้นมาเพื่อดึงอาหารมาจากส่วนอื่น

3. ทำให้ตาข้างแตกออกมาหรือกำจัดลักษณะ Apical Dominanceได้      การเพิ่ม     ไซโตไคนินให้กับตาข้างจะทำให้แตกออกมาเป็นใบได้  ทั้งนี้เพราะตาข้างจะดึงอาหารมาจากส่วนอื่นทำให้ตาข้างเจริญได้ เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชเกิดการแตกตาจำนวนมากมีลักษณะผิดปกติ เช่น โรค Fascination   นอกจากนั้นยังเร่งการแตกหน่อของพืช เช่น บอน และโกสน

4. ทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยายตัว    กรณีเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่งอกในความมืด ใบเลี้ยงจะเหลืองและเล็ก   เมื่อได้รับแสงจึงจะขยายตัวขึ้นมา   ซึ่งเป็นการควบคุมของไฟโตโครม  แต่ถ้าหากให้ไซโตโคนินโดยการตัดใบเลี้ยงมาแช่ในไซโตไคนิน ใบเลี้ยงจะคลี่ขยายได้เช่นกัน  ลักษณะดังกล่าวพบกับ  แรดิช  ผักสลัด  และแตงกวา   ออกซินและจิบเบอเรลลินจะไม่ให้ผลดังกล่าว

 5. ทำให้เกิดการสร้างคลอโรพลาสต์มากขึ้น     ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพอย่างหนึ่ง เช่น เมื่อ Callus ได้รับแสงและไซโตไคนิน  Callus  จะกลายเป็นสีเขียว เพราะพลาสติคเปลี่ยนเป็นคลอโรพลาสต์ได้  โดยการเกิดกรานาจะถูกกระตุ้นโดยไซโตไคนิน

6. ทำให้พืชทั้งต้นเจริญเติบโต

7. กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด

http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น