วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบริหารจัดการไวรัสพืช ด้วย.."ระบบ ORG"


"สร้างเกราะป้องกันแมลงพาหะ  พร้อมๆจังหวะขับไล่มันออกไป ไม่ให้มาปล่อยเชื้อ เป็นเบื้องต้น

หวังผลที่การสร้าง  "ภูมิคุ้มกัน"(Immunization) เพื่อให้เชื้อไวรัสมันทำอะไรไม่ได้และตายในที่สุด"


ไวรัส กลายเป็นปัญหาใหญ่ และกลายเป็นขาประจำสำหรับพืชหลายๆพืช ไปแล้วในปัจจุบัน
"ไวรัส  ต้องเรียนรู้ เพื่อให้เรา..เข้าใจมัน"
ต้องเรียนรู้ "ไวรัส" ..เราถึงจะได้ไม่ต้องเสี่ยงและเสียหายไปกับ "ไวรัส"
เรียนรู้วิธีบริหารและจัดการกับมัน เรียนรู้วิธีการควบคุมและการป้องกัน เพื่อแก้ปัญหาให้กับพืช ไม่ให้เสียหายไปกว่านี้

เมื่อก่อนคำตอบในการแก้ปัญหาไวรัส ของเกษตรกรโดยทั่วไป คืออะไร? 

ไม่มีอะไรจริงๆ อะไร..อะไร ก็จะให้..ถอนทิ้ง..เผาทิ้ง..ตัดทิ้ง ลูกเดียว โดยคิดอย่างเดียวว่าไม่มียารักษาหาย และก็บอกกันต่อๆมาว่า ให้ฉีดพ่นยาเคมีที่แรงๆเพื่อป้องกันและฆ่าแมลงพาหะ อาทิ เพลี้ยต่างๆ หรือแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นั่นคือ..เหตุผลที่ไม่เคยหนีพ้นปัญหาไวรัสได้เลย และก็ไม่เคยแก้ปัญหาได้หาย เสียดายกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืชจริงๆ และยังคงล้มเหลวในการแก้ปัญหาตลอดมา ยาฆ่าแมลงพาหะเลยขายกันบานตะไท แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาจากความเสียหายตรงนี้ได้ จนทำให้หลายๆพืชหลายๆแปลงเสียโอกาสดีๆ ที่จะมีทางออกให้หลุดพ้นจากการต้องเสี่ยงต่อไวรัสได้เสียที จะว่ารู้ดีกันก็ไม่ใช่แต่กลับปล่อยให้พืชเสียหายไปต่อหน้าต่อตา การฆ่าแมลงพาหะด้วยสารเคมีดูดซึมแรงๆ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ว่ากันว่าดีที่สุด เพราะว่าถึงฆ่ามันตาย พืชก็ได้รับเชื้อไวรัสร้ายไปแล้ว พืชก็ติดเชื้อและเป็นโรคตามมา ถามว่า..มันจะมีประโยชน์อันใด ถ้าแมลงพาหะมันบินมาพร้อมกัน1,000 ตัว พืชก็ติดเชื้อไปแล้ว 1,000 ต้น (ปล่อยเชื้อตัวละต้น) พืชก็เสียหายไป1,000 ต้น ต่อหน้าต่อตา แล้วถ้าเราเอาแบบนี้จะดีกว่าไหม? เรามา สร้าง"เกราะป้องกัน" ให้พืชมันมีผนังเซลล์ที่แข็งแกร่ง ไม่ให้แมลงพาหะมันมาเจาะเข้าไปปล่อยเชื้อไวรัสได้ พืชก็ไม่ติดเชื้อร้าย สบายใจกว่าไหม? หรือว่าจะเอาวิธีแบบนี้ร่วมด้วยจะดีกว่าไหม?  เราก็มาใช้วิธี "ขับไส" หรือ "ไล่ส่ง" แมลงพาหะมันให้ออกไปไกลๆไม่ให้มันเข้ามาหาพืชของเรา ให้ออกไปที่อื่นไกลๆ จะได้ไม่เข้ามาปล่อยเชื้อให้พืชเรา พืชของเราก็จะได้ไม่ติดเชื้อร้าย แบบนี้จะดีกว่าไหม ถ้าใช่และดีกว่า เราก็มาหาวิธีจาก 2 แนวทางนี้ดูในเบื้องต้น คิดค้นสารบางอย่างที่มีผลต่อกลไกทั้ง 2 วิธีที่ว่ามา เพื่อให้เกิดผลในในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นที่สำคัญต่อมาก็คือว่า ถ้า.."แมลงพาหะ" ตัวร้ายหลงหลุดเข้ามาและนำพาเชื้อไวรัสเข้ามาปล่อยในพืชของเราได้ เราจะว่าอย่างไรดี เราก็ต้องมีวิธีควบคุมมันให้อยู่หมัด ไม่ให้เชื้อไวรัสนั้นแพร่กระจายจนทำลายพืชของเราได้ ทำให้มันตายไปด้วยกลไกของกระบวนการ "SAR" ควบคุมและฆ่ามันด้วยโปรตีนกลุ่ม PR อย่างเลือดเย็นและเป็นผล

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงนับเป็นวิธีที่ดี ที่มีการนำมาใช้ปฏิบัติจริงและลดความเสียหายจากปัญหาไวรัสได้จริงมากว่า 15 ปีแล้ว ยืนยันได้จากประสบการณ์จริง ได้ที่

http://www.paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_8.html




หลักการโดยทั่วไปของวัคซีนคือ การทำให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันโรค 
นี่..จึงเป็นแนวคิดและเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
ในการจัดการพืชในยุคปัจจุบัน ที่ต้องมีการให้ "วัคซีนพืช" เพื่อลดความเสี่ยหายและความเสี่ยงในหลายๆด้าน

เฉกเช่น..เด็กสมัยนี้ที่เกิดมา หมอยังต้องบังคับให้ไปรับวัคซีนบางตัว อาทิ "คอตีบ ไอกรนบาดทะยัก" และ "โปลิโอ"ตั้งแต่แรกเกิดเลย เพราะแพทย์เขามีวัคซีนที่ป้องกันโรคดังกล่าว ถ้าไม่ไปรับวัคซีนอย่างไรเสียก็ต้องเสี่ยงที่จะต้องเป็นโรคดังกล่าว
สำหรับพืชเองก็เช่นกัน เราก็น่าจะมีการให้ "วัคซีน" ป้องกันโรคต่างๆ ไม่ว่าจะไวรัส  "ใบหด ใบหงิก ใบด่าง ราน้ำค้าง" และโรคราทั่วไปทั้ง "ใบจุด ใบลาย ใบไหม้ ใบเหี่ยว" 

"วัคซีนพืช" พื้นฐานสำหรับพืชต้อง "วัคซีน" กลุ่มนี้เลย เมื่อเริ่มต้นปลูกพืชลงดิน  เราก็ต้องให้ไว้ก่อน ตามลำดับ
ถ้าเราช่วยกันรณรงค์สร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกร ให้เขายอมรับแนวคิดเรื่อง "วัคซีนพืช" นี้ได้ ก็จะลดความเสียหายแก่พืชได้มากมายมหาศาล เหมือนที่พ่อแม่ดูแลทารกที่เป็นลูกน้อยของตัวเองที่เกิดมา ที่ตอนนี้ต้องยอมรับว่าวัคซีนนั้นสำคัญ เพื่อป้องกันโรคบางอย่างไม่ว่าจะเป็นวัคซีน "คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ"ที่ให้แก่ทารกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันโรคได้ (ซึ่งในอดีตไม่ให้ความสำคัญ เป็นโรคแล้วค่อยไปหาหมอรักษากัน)  ถ้าเกษตรกรเข้าใจความสำคัญเรื่อง"วัคซีนพืช"ตรงกัน รับรองว่า"วัคซีนพืช" จะมีความจำเป็นอันยิ่งยวด เพราะว่าในปัจจุบันภาวะโลกเปลี่ยนแปลงไป โลกของเรามันเกิดวิกฤตดินฟ้าอากาศหนัก แค่หย่อนต้นพืชลงดินไปเท่านั้น เชื้อโรคมันก็จ้องจะเล่นงานแล้ว ท่านเชื่อหรือไม่หล่ะ








มหันตภัยจากภาวะโลกร้อน(Global Warming) ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก นำมาซึ่งปัญหาและผลกระทบต่างๆกับภาคการเกษตรของไทยและหลายๆประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะผลผลิตและคุณภาพของพืชตกต่ำอย่างน่าใจหาย เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดขึ้นมาอย่างรุนแรง หน่วยงานวิจัยของประเทศต่างๆ ก็ได้พยายามศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่พืชได้รับจากภาวะวิกฤตโลกร้อนนี้ ที่ทำให้พืชเองมีอาการวิปริตเกิดขึ้นมากมายนั้น เท่าที่เรารู้เราเห็นได้ก็คือ..

- ผลผลิตพืชตกต่ำ คุณภาพของผลผลิตพืชแย่ลง  การเจริญเติบโตของพืชมีอาการผิดปกติ ชะงักงัน แคระแกร็น ไม่สมประกอบ  การให้ผลผลิตของพืชมีปัญหา การติดดอกออกผลไม่ดี ดอกร่วง ผลร่วง รูปทรงผิดปกติ

- ภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงน้อยของพืชลดน้อยลง  พืชอ่อนแอต่อสิ่งที่มากระทบ ทั้งร้อนจัด หนาวจัด
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เพราะกระบวนการทางชีวเคมีของพืช กระบวนการทำงานต่างๆภายในพืช เกิด “ภาวะบกพร่อง” และมีปัญหาอย่างน่าใจหาย จากที่เคยได้ผลผลิตดี ก็มีอันตกต่ำลง ศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลงสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย และพร้อมที่จะเข้าทำลายได้ทุกเมื่อ เพราะโรคและแมลงเหล่านี้พร้อมที่จะปรับสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่เพื่อต่อต้านสารเคมีต่าง ๆ ที่เกษตรกรใช้อยู่เป็นประจำและเข้าทำลายพืชอย่างเลือดเย็น  มันดื้อยาแล้ว "แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี?"

แต่ก็มีข่าวดี ว่ามีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมา เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องกระบวนการสร้าง "ภูมิคุ้มกัน"ของพืชขึ้นมา เสมือนเป็น "วัคซีนพืช"  จำลองขึ้นมาแล้วโดยใช้กลไกบางอย่างที่เลียนแบบธรรมชาติของพืช ซึ่งพืชเองเคยสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องและต่อต้าน เชื้อโรคที่จะเขาทำลาย และตอนนี้เราสามารถเลียนแบบสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันตรงนี้ขึ้นมาได้  เราเรียกระบวนการนี้ว่า กระบวนการ SAR (Systemic Acquired Resistance) เป็นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้พืช เสมือนพืชได้รับ "วัคซีน" โดยการใช้กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งในกลุ่ม Monohydroxy acid ส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้พืชสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้นมา ที่เราเรียกว่า PR- Protein  โปรตีนตัวนี้จะทำหน้าที่ต้านเชื้อโรคที่จะเข้ามาทำลายพืช  นี้จึงนับว่าเป็นวิทยาการใหม่ๆ และเป็นงานวิจัยล่าสุดของโลก  และเป็นที่ทราบกันดีว่าโรคพืชบางชนิดที่เกิดจากเชื้อไวรัส เราไม่สามารถรักษาหายได้ มีเพียงแต่การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แก่พืชเท่านั้นที่จะควบคุมปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ ดังนั้นโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่ว่าจะเป็นโรคใบด่าง, ใบหด, ใบหงิกในพืชต่างๆ  คงมีวิธีเดียวเท่านั้นที่จะลดความเสียหายให้ลดลงได้ นั้นคือการให้ วัคซีนแก่พืชหรือคือการ สร้างภูมิคุ้มกันให้พืชล่วงหน้านั่นเอง   และนี้จึงเป็นคำตอบว่า..ถ้าไม่อยากให้พืชของเราเสียหายเราควรทำ "วัคซีน" ให้พืช เปรียบเสมือนการทำประกันชีวิตให้กับพืชของเราล่วงหน้า โดยการให้ "วัคซีน" ก่อนที่พืชจะรับเชื้อโรคร้ายนั้นๆเข้าไป

ด้วยความปรารถนาดีจาก   ศูนย์ดูแลสุขภาพพืช  บริษัทออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย)จำกัด

สายด่วนสุขภาพพืช  :  084-880-9595

โปรดระวัง! การแอบอ้างและเลียนแบบ วัคซีนพืช ของออร์กาเนลไลฟ์  วัคซีนพืชที่เป็นของแท้ต้องมีสัญลักษณ์ตรา ผีเสื้อมรกต เท่านั้น






มารู้จัก "วัคซีนพืช" 
หรือกระบวนการ SYSTEMIC ACQUIRED RESISTANCE (SAR)  กันเถอะ  (กระบวนการสร้างสารกระตุ้นภูมิต้านทานโรค โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ)

การป้องกันโรคพืชโดยวิธีกระตุ้นภูมิต้านทานโรค (SAR) คืออะไร?
การป้องกันโรคพืชโดยวิธกระตุ้นภูมิต้านทานโรคเป็นการใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงบางอย่างไปกระตุ้นระบบการป้องกันตนเองต่อเชื้อโรคของพืชตามธรรมชาติ สารเคมีดังกล่าวให้กับพืชโดยวิธีฉีดพ่นทางใบและสารเคมีบางอย่างสามารถให้โดยการแช่เมล็ดด้วย  สารเคมีเหล่านี้สามารถไปกระตุ้นให้พืชต่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อโรคก่อนที่จะเกิดการเสียหายได้โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ  เทคโนโลยีนี้ยังสามารถใช้เสริมร่วมกับการป้องกันโรคในแบบเดิมๆได้

วิธีนี้จะช่วยอะไรบ้าง?
- วิธีนี้ช่วยลดการระบาดและความรุนแรงของโรคต่อพืชและผลผลิตได้
- วิธีนี้ช่วยเพิ่มระยะเวลาป้องกันโรคพืชและลดระยะเวลาการเป็นโรคได้
- วิธีนี้ช่วยให้ยุทธวิธีการควบคุมป้องกันโรคพืชครบทุกด้าน โดยช่วยการป้องกันโรคที่ต้นทางนอกจากเหนือจากการรักษาที่ปลายทางหรือเมื่อพืชเป็นโรคเกิดความเสียหายแล้ว
- วิธีนี้ช่วยสิ่งแวดล้อมโดยทำให้ลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษสูงในการป้องกันรักษาโรคพืช
- วิธีนี้ช่วยป้องกันโรคที่รักษายากหรือยังไม่มียารักษาเมื่อเกิดการระบาด เช่น โรคจากเชื้อไวรัส
- วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคในกรณีของกรดซาลิไซลิค เพราะเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

 กลไกการกระตุ้นภูมิต้านทานโรค
การกระตุ้นภูมิต้านทานโรคพืชเป็นวิธีที่ใกล้เคียงเลียนแบบธรรมชาติมากที่สุดในการป้องกันตนเองของพืชโดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเมื่อพืชเริ่มติดโรค  วิธีนี้ไม่เพียงแต่เป็นการใช้สารเคมีใหม่ๆ ในพืชแต่ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สมบูรณ์แบบอีกด้วย โดยการเน้นที่การป้องกันมากกว่าการรักษา

ในธรรมชาติเมื่อพืชถูกเชื้อโรคเข้าทำลาย จะเกิดการกระตุ้นเฉพาะที่ เช่น บริเวณใบที่ติดเชื้อโรค ทำให้เกิดการตอบสนองของพืชในรูปของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์พืช  และนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่พืชสร้างขึ้นหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งจะเป็นสารเคมีสำคัญในการกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรค (PR-proteins) ขึ้นมาป้องกันตนเอง โปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรคเหล่านี้เป็นแบบที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรคใดๆ แต่จะครอบคลุมเชื้อโรคได้กว้าง (broad spectrum) ดังนี้นจึงสามารถต้านทานโรคที่เกิดได้ทั้งจากแบคทีเรีย รา และไวรัส อย่างไรก็ตามโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรคเหล่านี้จะมีอายุไม่ยาวนัก ประมาณ 15-30 วันก็จะหมดไป

ข้อได้เปรียบเมื่อใช้สารเคมีกระตุ้นภูมิต้านทานโรค
การที่พืชป้องกันตนเองได้ตามธรรมชาติก็มีจุดอ่อนหลายๆ อย่าง ได้แก่ การที่พืชจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ต้องมีระดับความเสียหายค่อนข้างมากแล้ว เพราะต้องรอให้มีการสร้างกรดซาลิไซลิคในปริมาณมากพอที่จะกระตุ้นได้  และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นเฉพาะพืชต้นนั้นไม่สามารถจะควบคุมหรือป้องกันพืชทั้งแปลงได้  ดังนี้การระบาดก็จะยังเกิดขึ้นตลอดเวลา การให้สารเคมีในปริมาณเพียงเล็กน้อยกระตุ้นจะช่วยให้สามารถป้องกันโรคพืชก่อนเกิดความเสียหายและยังสามารถควบคุมและป้องกันโรคจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ได้ในพืชที่กว้าง
ปัญหาและข้อควรระวัง  การป้องกันโรคพืชด้วยวิธีการกระตุ้นภูมิต้านทาน (SAR) กำลังเป็นที่สนใจและเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสามารถใช้ร่วมเสริมกับการใช้สารกำจัดโรคพืชโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี เพื่อลดการใช้ที่มีพิษสูงเหล่านั้น อย่างไรก็ตามการใช้สารกระตุ้นภูมิต้านทานนี้ควรจะเริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเพาะปลูก หรือก่อนที่จะเกิดโรค และควรฉีดเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ สารเคมีกระตุ้นภูมิต้านทาน (SAR chemicals) กำลังถูกพัฒนาขึ้นมาอีกหลายๆ ตัว จากบริษัทชั้นนำของโลก  ซึ่งเน้นไปที่การค้นหาสารเคมีสังเคราะห์ที่สามารถไปกระตุ้นภูมิต้านทานตามกลไกเลียนแบบธรรมชาติ แต่การใช้สารเคมีสังเคราะห์จะเกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ยังคงต้องวิจัยและทดสอบความเป็นพิษ  และความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคต่อไปอีกระยะหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามการใช้สารเคมีที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเองอยู่แล้ว เช่น กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในวงการแพทย์มานานนับศตวรรษแล้วนั้น  คงจะเป็นสิ่งยืนยันความปลอดภัยแก่ผุ้ใช้และผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี


สินค้าที่มีจำหน่าย
อีเรเซอร์-1
คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า
ซาร์คอน
อิมมูนซาน
ซิกน่า



Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR  เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) ส่งไปยังเซล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

กลไกการทำงานของกระบวนการ SAR
เชื้อโรคเข้าทำลายเซลล์พืช  พืชเกิดการการตอบสนอง ตื่นตัว Hypersensitive Response (HR)
พืชหลั่งสารป้องกันตนเองเฉพาะที่ต่างๆ เช่น  ROI, NO
พืชหลั่งสาร Salicylic acid ส่งสัญญาณ SARไปทั่วต้น
กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรค (PR-Proteins) มาป้องกันตนเองจากเชื้อโรค
ที่จะลุกลามต่อไป ทั่วทั้งต้น

กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัส
 1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR  เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
2. อาศัยกลไกในการทำงานของ  Induced Systemic Resistance (ISR)  โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.
3. อาศัยกลไกในการทำงานของ  Induced Systemic Resistance (ISR)  โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ 
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal  อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช






ขั้นตอนที่ 1: ขับไล่ไสส่ง ตัวพาหะ

ซิกน่า(ZIGNA)
สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง
(Induced Systemic Resistance : ISR)

คุณสมบัติ  ซิกน่า ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า มีกรดอินทรีย์บางชนิด ที่เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น

ซิกน่า มีกรดอะมิโน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการสร้างโปรตีนต่อต้านโรคและแมลง ทำให้พืชสามารถนำมาใช้ผลิตโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานได้อย่างต่อเนื่องและไม่ทำให้ต้นพืชโทรม ซิกน่า ยังมีมาเลท ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสาร สำคัญของพืชต่างๆ รวมทั้งสารที่พืชสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านโรคและแมลงด้วย
ซิกน่า มีแคลเซียมในรูปคีเลท ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่พืชและเคลื่อนย้ายในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนต้านทานโรคและช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็งแรงเสริมการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลงได้อย่างดี ซิกน่า ยังมีสังกะสีในรูปคีเลท ที่ช่วยส่งเสริมขบวนการส่งสัญญาณเซลและขบวนการสังเคราะห์ภูมิต้านทานโรคและแมลงด้วย
1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรค ปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆ และเกิดสัญญาณขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (messengers) ไปยังเซลอื่นๆ ทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่ (SA), และ (JA) และอื่นๆ

3. Induced Systemic Resistance (ISR) กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria  (PGPR)ส่งสัญญาณทั้ง JA-signaling pathway และ SA-signaling pathway

ซิกน่า  สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง  (Induced Systemic Resistance : ISR)
คุณสมบัติ  "ซิกน่า"(ZIGNA) ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง

สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น


 แมลงหวี่ ขาว...หนึ่งในแมลงศัตรูพืชสำคัญที่ ทำความเสียหายให้กับพืชผักเกือบทุกชนิด




ขั้นตอนที่ 2: สร้างเกราะป้องกัน 
ซาร์คอน ( SARCON)


เพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญคือ
2. 1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์ของพืช อาทิ การฟื้นฟูเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ การบำรุงเซลล์ให้สมบูรณ์ ไม่แบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ การซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ

2.2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ

2.3 กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และ หนึ่งในนั้นก็คือ "กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย "Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้วเมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง


มี ส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืช เมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น


     กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช



ขั้นตอนที่ 3 : คุ้มครองป้องกัน&กำจัดเชื้อภายใน


คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า(Carboxyl-Plus Extra)
กลไกการออกฤทธิ์ของ คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า
คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิคและกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์ สรุปได้ดังนี้
1. กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
2. กรดในสภาพไม่แตกตัวจะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์ทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว
3. กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัว ทำให้ pH ในเชื้อโรคลดลง และเปลี่ยนคุณสมบัติโปรตีนทำให้สูญเสียคุณสมบัติการเป็นเอ็มไซม์ที่จำเป็นของเชื้อโรค
4. เชื้อโรคเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลาทำให้สูญเสียพลังงานจนตาย
5. กรดแตกตัวประจุลบ ( RCOO-) จะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและรบกวนขบวนการสังเคราะห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย






องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra  (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)  
กรดอินทรีย์ (Organic acid)  - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )
กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid)  - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล
กรดไขมัน (Fatty acic)  - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น


















กลไกการออกฤทธิ์  Carboxyl-Plus Extra
•  ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+  จนอยู่ในสภาพสมดุล
RCOOH     RCOO-  +  H+
•  ที่จุดสมดุลย์  กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว
RCOO-     =  สภาพแตกตัว  (ไม่สามาถผ่านชั้นผนังเซลล์ได้)
RCOOH   =  สภาพไม่แตกตัว  (สามารถผ่านชั้นผนังเซลล์ได้)
• ที่จุดสมดุลย์  กรดคาร์บ๊อกไซลิค  แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า  pKa (ค่าการแตกตัว)  ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด
•  กรดที่มี  pKa  สูง  จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า  กรดที่มี pKa ต่ำ  (เมื่อมี PH สูงขึ้น)




ขั้นตอนที่ 4: ฆ่าให้ตายแบบเฉียบพลัน ภายนอก

อีเรเซอร์-1(ERASER-1)



กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 (Eraser-1)
สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่
1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป
การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง 
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)






คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1
ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย


คุณประโยชน์
ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น
เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที
เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 
สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้
อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์
เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรดและพืชตระกูลถั่ว
( หมายเหตุ เฉพาะ อีเรเซอร์-1  ห้าม..ผสมสารเสริมประสิทธิภาพทุกชนิด ที่เป็นประจุ )





















































ติดต่อสอบถาม
084-8809595 , 084-3696633
Line ID :  @organellelife.com  (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยนะครับ)
www.organellelife.com
www.facebook.com/AntiVirusPlant 


บ.ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น