วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

การเจริญเติบโตของพืช

เมื่อรู้เหตุและปัจจัย.. 
การจัดการอะไรๆ..ก็ไม่ยากแล้ว
เมื่อรู้ปัจจัยของการเจริญเติบโตของพืช
การบริหารจัดการปัญหาต่างๆก็จะง่ายขึ้น


• การเจริญเติบโต หรือ Growth 
เป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ
ซึ่งการเจริญเติบโตของพืช
จะมี 4 ระยะ ได้แก่

1) Lag Phase คือจุดเริ่มต้นการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ

2) Log Phase คือจุดที่การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีความต้องการอาหารเพียงพอและ
ฮอร์โมนด้วย

3) Final Phase การเจริญเติบโตเริ่มช้าลงๆ

4) การเจริญเติบโตคงที่ พืชเข้าสู่สภาพโตเต็มที่(Maturity) และหลังจากนั้น พืชก็เข้าสู่สภาพชรา
(Senescence of Decline) และตายในที่สุด

(มนู สัตยวณิช, 2532, หน้า 36)
.



• การเจริญเติบโตของพืช 
เป็นการเพิ่มขนาดและน้ำหนักของพืช เป็นผลโดยตรงจากการแบ่งเซลล์ (Cell Division) และการขยายขนาดของเซลล์ (Cell Enlargement) เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน เห็นได้อย่างชัดเจนคือ “รากอ่อน” ซึ่งจะงอกพ้นเปลือกของเมล็ดและชอนไชไปในวัสดุที่ปลูก
ต่อมา..ก็มียอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนของลำต้นจะมีใบและกิ่งที่เพิ่มขึ้นมา พร้อมการเพิ่มขนาดและปริมาณในระยะต่อมาของ ดอก ใบ ผล และเมล็ด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะมีระเบียบแบบแผน และมีพันธุกรรมเป็นสิ่งที่กำหนด รวมทั้ง
สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพืชชนิดนั้นๆ ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก เช่น แสงสว่าง, อุณหภูมิ, ความชื้นและธาตุอาหาร เป็นต้น (ชวนพิศ แดงสวัสดิ์, 2554, หน้า 308-309)
.
• ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชมีหลาย
อย่าง สรุปได้หลัก ๆ
ประกอบด้วย 2 ด้านคือ

1) Environmental Factor คือปัจจัยที่เป็นผลมา
จากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพดิน ลมฟ้า
อากาศ สิ่งที่มีชีวิตอยู่รอบๆ
2) Heredity Factor คือปัจจัยที่มาจาก
พันธุกรรมพืช (มนู สัตยวณิช, 2532, หน้า
36)





(1) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งพืชจะเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่นั้น ได้แก่

1.1) แสงสว่าง ในการเจริญเติบโตของพืชพวกที่มีท่อน้ำ ท่ออาหารนั้นแสงสว่างนับว่าเป็นปัจจัยที่
สำคัญดังนี้

1.1.1) ความเข้มข้นของแสงสว่าง ( LightIntensity )  พืชที่ขึ้นในที่มีแสงมากกับที่มีแสงน้อยมีการเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน และขึ้นอยู่กับชนิดของพืชด้วย ในสภาพปกติถ้าความเข้มข้นของแสงต่ำจะทำให้เซลล์ของพืชขยายตัวได้มากและรวดเร็ว มีการแบ่งเซลล์มาก
แต่ในขณะเดียวกันเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงน้อย กับพืชที่อยู่ในที่มีความเข้มข้นของแสงต่ำมักจะมีลำต้นอ่อนและยาว

1.1.2) คุณภาพของแสง ( Light Quality ) คุณภาพของแสงขึ้นอยู่กับความยาวของคลื่นแสง ซึ่งมี 7 สี สีแดงเป็นคลื่นแสงยาวที่สุด สีม่วงสั้นที่สุด แสงที่มีความยาวคลื่นมาก (สีแดง) จะมีผลต่อการยืดตัวของลำต้นน้อย สำหรับแสงที่มีความยาวของคลื่นสั้น (สีม่วง) จะมีผลต่อการยืดตัวของลำต้นมาก สำหรับแสงที่มีประโยชน์ต่อการยืดตัวของใบจะมีผลตรงข้ามกับการยืดตัวของลำต้น ถ้าปลูกพืชในที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตมากพืชจะตาย และ รังสีอินฟราเรดที่มีความเข้มข้นสูงก็ทำอันตรายต่อพืชได้เช่นกัน

1.1.3) ช่วงเวลาของการให้แสง(Photoperiodism)
การที่พืชได้รับแสงสว่างนานหรือเร็วนั้น กับธรรมชาติสำหรับในประเทศไทยกลางวันและกลางคืนไม่ต่างกันมากนัก พืชจะได้รับแสงสว่างในเวลากลางวันประมาณวันละ 12 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับความมืดในเวลากลางคืน  แต่สำหรับประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลก ความยาวของกลางวันและกลางคืนจะเปลี่ยนไป ความยาวของกลางวันไม่เท่ากัน ทำให้การเจริญเติบโตของพืชต่างกัน การที่พืชเติบโตในช่วงเวลากลางวันที่ไม่เท่ากันหรือการเจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแสงเรียกว่า Photoperiodism ช่วงเวลาความยาวของวันเรียกว่า Photoperoid ซึ่งนอกจาก Growth ด้วย จะควบคุมการเจริญเติบโตของ Vegetative Growth แล้วยังควบคุมการเจริญเติบโตทาง Reproductive และยังมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของพืชในแง่ต่างๆ กัน ได้แก่

• อิทธิต่อการออกดอกของพืช

- การที่พืชได้รับแสงสว่างชั่วระยะหนึ่งและได้รับความมืดอีกระยะหนึ่ง จะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต การออกดอกและการเกิดผลของพืช ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยสำคัญต่อการออกดอกของพืชมี 2 ปัจจัย ได้แก่
• อุณหภูมิ และ
• ช่วงเวลาของแสง
ในปี ค.ศ. 1920 มีนักสรีรวิทยา 2 คน
ชื่อ W.W. Garner และ H.H. Allard เป็นผู้ค้นพบเกี่ยวกับ Photoperiodism จึงทำให้พืชชนิดต่างๆ ออกดอกในฤดูที่แตกต่างกัน และจากอิทธิพลของช่วงเวลาที่พืชได้รับแสงสว่างนี้ Garner และ Allard ได้แบ่งพืชออกเป็น 3 พวกด้วยกันดังนี้
1) Short – day plant เป็นพืชที่ต้องการเวลากลางวันสั้นจึงจะออกดอก เช่น พืชที่ออกดอกในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูที่มีช่วงกลางวันสั้น ได้แก่ ต้นคริสต์มาส เบญจมาศ ถั่วเหลือง เป็นต้น
2) Long – day plant เป็นพืชที่ต้องการกลางวันยาวจึงจะออกดอก ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ออกดอกในฤดูร้อน อาจจะรวมในฤดูฝนด้วย เช่น ข้าว
3) Day neutral plant เป็นพืชที่ออกดอกตามปกติ ไม่ต้องการกลางวันสั้นหรือยาวเหมือนสองพวกแรก เช่น มะเขือเทศ แตงกวา พริก ซึ่งจะออกดอกได้ทุกเวลา เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่

1.2) อุณหภูมิ
เป็นปัจจัยสาคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ปฏิกิริยาเคมีภายในพืชเปลี่ยนแปลงได้
ในสาหร่ายบางชนิดที่เป็นพืชชั้นต่ำ สามารถเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส เช่น เจริญเติบโตบนหิมะ บางชนิดเจริญเติบโตในอุณหภูมิที่ร้อนจัด เช่น บ่อน้ำร้อน เป็นต้น
ส่วนในพืชชั้นสูงหรือไม้ดอก จะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่จำกัดประมาณ 21 – 32 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้พืชเมืองร้อนที่อยู่บนภูเขาสูงๆ เช่น พืชที่ขึ้นบนดอยอ่างขาง ในการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกะทันหัน ทำให้พืชชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโต

จึงสรุปได้ว่า..อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโต
3 ขั้นตอน ได้แก่

1.2.1) Minimum Temperature
เป็นอุณหภูมิต่ำที่สุดที่ทาให้พืชเจริญเติบโตได้ ถ้าต่ำกว่านี้พืชจะไม่เจริญเติบโต ในแถบร้อนอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส

1.2.2) Maximum Temperature
เป็นอุณหภูมิสูงสุดที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้ ถ้าต่ำกว่านี้พืชไม่เจริญเติบโตในแถบร้อน อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส

1.2.3) Optimum Temperature
เป็นอุณหภูมิที่เหมาะที่สุดต่อการเจริญเติบโตของพืชทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด อุณหภูมินี้อยู่ระหว่าง Minimum กับ Maximum ประมาณ 30 – 35 องศาเซลเซียส กับ 20 – 25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิมีผลทำให้พืชมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป และเป็นปัจจัยสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ต่อการออกดอก ออกผลอย่างมาก พืชล้มลุกบางชนิดมีวงจรชีวิตสองปี เช่น กะหล่ำ จะเกิดดอกในปีที่สอง แต่ถ้าอากาศไม่เย็นกะหล่ำปลีก็จะไม่ออกดอกเป็นต้น และการงอกของพืชผักชนิดต่างๆ ด้วย

1.3) ความชื้นในดิน
อนุภาคดินและอินทรียวัตถุของดินสามารถอุ้มน้ำได้ดี อาศัยแรงดึงดูด ยึดระหว่างสารกับน้ำ มีลักษณะเป็นเยื่อของน้ำหุ้มโดยรอบ แรงดึงดูดของอนุภาคดินกับน้ำลดลงเรื่อยๆ เมื่อความหนาของเยื่อมากขึ้น จนดินอิ่มตัวด้วยน้ำ แล้วปล่อยน้ำออกมาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก


• ความชื้น มีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างมาก พืชที่เจริญเติบโตในที่มีน้ำหรือความชุ่มชื้นมาก ลำต้นจะอวบ น้ำในเซลล์จะอยู่กันอย่างหลวม มีช่องอากาศมาก สำหรับพืชที่อยู่ในที่มีน้ำน้อยมีเนื้อเยื่อแข็งแรง ผนังเซลล์มีคิวทิน (Cutin) และ
ซูเบอลิน (suberin)
ซึ่งพืชสามารถแบ่งตามความต้องการน้ำ
ได้ 3 ชนิด ได้แก่
- Hydrophyte
- Xerophyte
- Mesophy
(ยังมีพืชบางชนิดจะเจริญได้ดี ในที่มีความเข้มข้นของเกลือสูง เช่น ต้นโกงกาง ต้นชะคราม เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า Halophyte)

1.4) ดินและธาตุอาหารของพืช (Soil and
minerals )
- ดินเป็นวัตถุทึบแสงที่ปกคลุมผิวโลก เกิดจากการแปรสภาพของหินแร่และรากของสิ่งมีชีวิตที่ทับถมกันตามธรรมชาติจนกลายเป็นดิน
ดินทำหน้าที่เป็นที่ยึดรากและลำต้นของพืชไว้ตั้งตรงอยู่ได้เป็นแหล่งน้ำที่ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นในทางชีวภาพได้แก่ อนินทรียสาร และอินทรียวัตถุ

1.5) น้ำ (Water)
- พืชดูดน้ำในดินโดยผ่านทางรากขนอ่อน
ดังนั้นหากดินมีน้ำไม่เพียงพอหรือมีมากเกินไป
ก็จะกระทบกระเทือนการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากน้ำทำหน้าที่ช่วยลำเลียงอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ภายในเซลล์ไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้นพืช

สรุปคร่าวๆ :
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย
- แสงสว่าง (ช่วงยาวของกลางวันและกลางคืน)
- อุณหภูมิ
- ความชื้น
- ความร้อน
- ดินและแร่ธาตุอาหาร
- น้ำ
เป็นต้น

(2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในพืช
- ปัจจัยภายในพืชที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
ได้แก่
- สารเคมีต่างๆ
- ฮอร์โมนในพืช ซึ่งสารเคมีบางชนิดนั้น
สามารถสังเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งนัก
วิทยาศาสตร์เรียกสารเหล่านั้นว่า “สารควบคุมการ
เจริญเติบโตของพืช”

www.paccapon.blogspot.com

http://paccapon.blogspot.com/2017/05/blog-post_18.html?m=0
เพิ่มผลผลิตลำไย

http://www.paccapon.blogspot.com/2015_07_01_archive.html 
กระบวนการเกิดดอก

http://www.paccapon.blogspot.com/2015/…/1-org-1-2-org-2.html 
ORG-1+ORG-2


ปรึกษาเพิ่มเติมทางไลน์ คลิ๊ก https://lin.ee/nTqrAvO

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น