วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระเทียม (Garlic)

 ● กระเทียม (Garlic)

เป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยาก แต่ที่ยาก คือ ทำอย่างไร?
ให้กระเทียม “ลงหัวดี หัวใหญ่ ไม่ฝ่อ เนื้อแน่น มีน้ำ
หนัก หัวแข็ง กลีบใหญ่ ลงหัวไว”



๏ ตัวช่วย : แอคซอน + ซูการ์” : สารปรับสมดุลย์
ฮอร์โมน เพื่อการลงหัว (สารสั่งลงหัว) ใน
กระบวนการลงหัว Tuberization ช่วยท่านได้ เพื่อให้
กระเทียมของท่าน เป็นกระเทียมชั้นดี ผลผลิตดี
คุณภาพดี ยุค 4.0- 5.0

จำไว้ว่า..กระเทียมคุณภาพดี จะเป็นที่ปรารถนาของลูกค้า ต้อง

“ไม่ฝ่อ ไม่รา กลีบใหญ่ สวย หัวแข็งแรง เนื้อแน่น
เก็บได้นานปลอดภัย ไร้สารพิษ รสชาดดี กลิ่นหอม เผ็ดร้อน”





 
● ภาคผนวก :
- เพื่อการสร้างผลผลิตที่ดีและสูงให้กับพืชหัว “หัวดก
หัวใหญ่ ลงหัวไว หัวใหญ่เร็ว”
- เก็บเกี่ยวเร็ว ขายเร็ว รับตังค์เร็ว ตังค์เต็มเป๋า
- ก็ยังมีเกียร์ เพื่อขับเคลื่อนให้แล่นไปข้างหน้า
สู่..เป้าหมาย
#พืช..เอง
- ก็ต้องมี “เกียร์” (นั่นคือ..#ฮอร์โมน) เพื่อขับ
เคลื่อนการทำหน้าที่ในการสร้างผลผลิต เช่นกัน
ขับรถ..ยังต้องมีการ “#เปลี่ยนเกียร์” แต่ละเกียร์ ให้เหมาะสม เพื่อให้รถ “วิ่งช้า วิ่งเร็ว วิ่งแรง” ขับเคลื่อนไปสู่จุดหมายปลายทาง “ขึ้นดอย-ลงดอย” ได้ตามใจเรา




#พืชหัว..เอง ก็เหมือนกัน จะสร้างผลผลิตให้ดี ก็
จำเป็นที่จะต้องมีการ “#เปลี่ยนเกียร์” เช่นกัน
นั่นคือ..การ “ปรับเปลี่ยนฮอร์โมน” (#ปรับสมดุลย์ฮอร์โมน) ให้ถูกต้อง และเหมาะสม ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต (Growth Stage) เพื่อการสร้างผลผลิตที่ดีของพืชหัว เพื่อให้ “#หัวดก #หัวใหญ่ #ลงหัวไว #หัวใหญ่เร็ว” เนื้อแน่น หนัก ผลผลิตสูง ต่อไปนั่นเอง
พืชหัว : ถ้าไม่มีตัว Cell Differentiation (#เปลี่ยนหน้าที่ หรือ การปรับสมดุลย์ฮอร์โมน) ในช่วงที่ต้องทำหน้าที่ “ลงหัว” มันก็มัวแต่จะมุ่งไปทำหน้าที่ ”สร้างต้น สร้างใบ” (Vegetatuve Griwth) จนไม่ยอมไปทำหน้าที่ “สร้างหัว” (Tuber Formation) ในกระบวนการ Tuberization เสมือนขับรถแล้วไม่ยอม “เปลี่ยนเกียร์”
๏ ปุ๋ย = น้ำมันเชื้อเพลิง (Fertilizer = Fuel) ในพืช
๏ ฮอร์โมนพืช = เกียร์ (Plant Regurator = Gear)
#ชุดสั่งลงหัว ก็เปรียบเสมือนตัวช่วย “เปลี่ยนเกียร์”

👉 ชี้..”ทางออก” ให้กับพืชหัวทุกตัว (มันสำปะหลัง มัน
ฝรั่ง มันเทศ มันแกว ถั่วลิสง หอม กระเทียม ขิง ข่า
กระชาย และ อื่นๆ) ที่ต้องการ “การเพิ่มผลผลิต” ที่
ถูกทาง โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาทางออก ด้วย
การลองผิด-ลองถูก กันอีกต่อไป ด้วยแนวทางที่ถูก
ต้อง..ที่ใช่ !! ในการ “ปรับสมดุลย์ฮอร์โมน” ใน
การทำงานของพืชหัว เพื่อให้ทำหน้าที่ใน
กระบวนการ Tuberization ได้อย่างถูกต้อง
- มันสำปะหลัง พ่นที่อายุ 75 -90 วัน
- ขิง, ข่า พ่นที่อายุ 50-60 วัน
- เผือกหอม พ่นที่อายุ 45 วัน
- แห้ว พ่นที่อายุ 45-60 วัน
- กระชาย พ่นที่อายุ 50-60 วัน
- ถั่วหรั่ง พ่นที่อายุ 40-45 วัน
- ถั่วลิสง พ่นที่อายุ 35-40 วัน
- มันเทศ พ่นที่อายุ 35-40 วัน
- หอม, กระเทียม พ่นที่อายุ 35 วัน
- มันฝรั่ง พ่นที่อายุ 35-40 วัน
- มันแกว พ่นที่อายุ 35-40 วัน
- แครอต หัวไชเท้า พ่นที่อายุ 30-35 วัน
- ฯลฯ



 
🧿 ภาคผนวก :
● Tuberization (กระบวนการลงหัว)
- เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth) เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน
- การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้น (ดังนั้นการใช้ "ZUKAR-Highway” ร่วมด้วย จึงมีความจำเป็นและเป็นตัวช่วยที่ดี
- ช่วงอายุประมาณ 60-90 วันจะเป็นช่วงอายุ (Growth Stage) ของมันสำปะหลังที่จะเปลี่ยนการเจริญเติบโตมาเป็นการ "ลงหัว" เพื่อสะสมอาหารที่หัว มันจะมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาควบคุมกระบวนการลงหัว (TUBERIZATION) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มันสำปะหลังสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ของปริมาณแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าความสัมพันธ์ของแสงและอุณหภูมิไม่สัมพันธ์กัน มากไปหรือน้อยไป มันก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ขึ้นมา การลงหัวก็จะสะดุดและลงหัวได้ไม่ค่อยดี หรือไม่มีการลงหัว เพราะมัวแต่หลงทางไปงามต้นงามใบ ไม่มีหัว หรือมีหัวจำนวนน้อย



- ถ้าฮอร์โมนตัวนี้มีเพียงพอการลงหัวก็จะดี ทุกอย่างเป็นกระบวนการทางชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ถึงกลไกต่างๆ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติโดยการสร้างสารบางอย่าง หรือฮอร์โมนบางอย่างที่มันพร่องหรือมันขาดแคลน และมีการนำสารหรือฮอร์โมนนั้นๆมาใช้เพื่อทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนนี้ให้แก่พืชได้ พืชย่อมสามารถทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆได้ต่อไปอย่างสมบูรณ์
● การลงหัว : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์
ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell)
ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช หลัง
จากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่
เหมาะสม ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้าง
ของเซลล์ดังนี้
1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) :
- เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้ง
และโปรตีน
2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) :
- เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุด
แบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิด
ลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว” (Tuber)
3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพ&หน้าที่)
- ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำ
หน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อ
ลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพ
เพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวอย่าง
มีประสิทธิภาพ, สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูก
สะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้
ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัว
ดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น
● Photoperiod
- ในธรรมชาติ “Photoperiod”: หรือระยะเวลาที่พืช
ได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัว
ของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสง
เหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์
“Jasmonic acid” (JA) ที่ใบ และหลังจากนั้นก็จะ
ถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไป
ตามดิน (Stolon) หรือไปที่ราก (Root) จนทำให้
เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวน
มาก



กระบวนการ Tuberization

ประสบการณ์ผู้ใช้ส่งมาให้


📝สอบถามปรึกษาเพิ่มเติม
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
(โทร. จ-ศ 9.30-17.00 ,ส 9.30-12.00)
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ
หรือ ทักไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น