วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ราคายางพารา

• ราคาน้ำยางไม่ดี   แต่..น้ำยางไหลดี ยังมีเงินเหลือ
• ราคาน้ำยางไม่ดี   น้ำยางไหลไม่ดี อันนี้..แย่สุดๆ 
• ราคาน้ำยางดี น้ำยางไหลดี อันนี้..สุดยอดเลย
• ราคาน้ำยางดี แต่..น้ำยางกลับไม่มี อันนี้..เซ็ง
จุงเบย !!

ต้นยางพารา (Hevea brasiliensis) 
จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกผลผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก แนวโน้มความต้องการผลผลิตยางธรรมชาติยังมีสูงขึ้นไปในอนาคต ตราบใดที่ยังมีอุตสาหกรรมยานยนต์ อนาคตของการทำสวนยางของไทยก็ยังจะยังจะอนาคต การทำให้ผลผลิตน้ำยางพาราต่อไร่สูงขึ้น ชาวสวนยางพาราก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก (แม้ว่าเราจะกำหนดราคายางพาราเองไม่ได้ก็ตามที)

• น้ำยางพาราเป็นผลผลิตแรกที่ชาวสวนได้ ก่อนนำไปแปรรูปเป็นยางแผ่นหรือยางแผ่นรมควัน หรือยางแท่งต่อไป การเพิ่มผลผลิตน้ำยางจึงเป็นที่ต้องการของชาวสวนเป็นอย่างมาก
• การใช้สาร "เอทีฟอน" (Ethephon) สามารถเพิ่มน้ำยางได้ แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องต้นยางโทรม หน้ายางเสีย น้ำยางใส ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น แต่ชาวสวนยางที่ต้องการเร่งน้ำยางก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพราะไม่มีสารอื่นใดๆที่ดีกว่า นอกจากการใช้ JA ในการเพิ่มน้ำยาง
.
• JA เป็นฮอร์โมนพืชในยุคใหม่ จากการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้โดยการเพิ่มท่อสร้างน้ำยาง (Laticifer) ซึ่งเป็นท่อที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ของแคมเบียม (Cambium Cell) ในต้นยางซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ เพราะเป็นการสร้างโครงสร้างของต้นยางให้สมบูรณ์มากขึ้น กว่าการใช้เอทีฟอน (Ethephon) เร่ง เพราะจะไม่ช่วยในการสร้างท่อน้ำยางเพิ่ม ท่อน้ำยางเดิมมักจะชำรุดหรือโทรมลงอย่างรวดเร็ว และทำให้น้ำยางไม่มีคุณภาพและน้อยลงเรื่อยๆ


• โดยปกติการกรีดยาง เป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างท่อน้ำยางทดแทนขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีการค้นพบว่าการกรีดยางทำให้พืชสังเคราะห์ JA ขึ้น ซึ่งเป็นขบวนการป้องกันตนเองของพืช JA ที่เกิดขึ้นจะมีผลไปกระตุ้นให้พืชป้องกันตนเอง (Plant Defenses) โดยไปเร่งการแบ่งตัวของ "เซลล์
แคมเบียม" (Cambium Cell) ให้มีลักษณะเฉพาะสำหรับสร้างน้ำยางซึ่งเรียกว่า "เซลล์ท่อน้ำยาง" (Laticifer) ที่ท่อน้ำยางนี้เองจะทำหน้าที่ผลิตน้ำยางเอาไว้ป้องกันตนเอง ซึ่งในน้ำยางจะมีสารต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียอยู่ด้วย


• การให้ JA จากภายนอกเข้าไปในต้นยาง จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้มีการสร้าง "ท่อน้ำยาง" (Laticifer) เพิ่มขึ้นโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ สามารถเพิ่มได้มากขึ้นกว่าปกติที่ JA จะเกิดขึ้นเฉพาะที่จะเกิดเองหลังจากการกรีดยาง เมื่อมี "ท่อน้ำยาง" มากขึ้นก็หมายถึงการมี "ท่อผลิตและเก็บน้ำยาง" มากขึ้น ทำให้การกรีดยางแต่ละครั้งจะมีน้ำยางไหลมากขึ้นกว่าปกติ


 การผลิตน้ำยางพาราที่มีคุณภาพ

• น้ำยางพาราเป็นสารจำพวก Polyisoprene ในกลุ่ม Isoprenoid Compounds ที่มีลักษณะต่อกันเป็นสายยาว ๆ ความสั้นยาวของสายเหล่านี้จะแสดงถึงคุณภาพของน้ำยางที่ได้ แน่นอนการผลิตน้ำยางในต้นยางต้องมีวัตถุดิบเริ่มต้น ซึ่งได้แก่ น้ำ อากาศ ปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมน และเอ็นไซม์ ที่เกี่ยวข้องมากมาย


• ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางในต้นยางมีขั้นตอนมากมายและมีความซับซ้อนมาก เริ่มจากสารตั้งต้น (Precursors) หลายชนิด จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีจนได้ Acetyl-Coenzyme A ก่อนที่จะผ่าน Isoprenoid pathway ในต้นยางผลิตเป็น IPP (Isopentenyl pyrophosphate) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสายโซ่ที่ต่อกันในน้ำยาง
ดังนั้นการให้สารตั้งต้นและสารสำคัญ ที่เกี่ยวข้องในขบวนการสังเคราะห์ยางตามธรรมชาติจึงมีความจำเป็นในการผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ


• นั่นคือ..สิ่งที่ยางพาราจะขาดเสียไม่ได้ ซึ่งการใช้ “พาร์ทเวย์” (PATHWAY) ซึ่งมีสารตั้งต้น (Precusor) และ “ลาเท็กซ์” (LATEK) ซึ่งมีสาร JA ซึ่งมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์ยางตามธรรมชาติให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ

สั่งคู่ขวัญ คลิ๊กที่ภาพนี้ได้เลย


ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ 
น้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)
โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene


การใช้  "สารตั้งต้น" (Precursor) ในขบวนการสังเคราะห์น้ำยางธรรมชาติ (Latex Biosynthesis) "เปลี่ยนน้ำตาล เป็นน้ำยาง" ตามกระบวนการทางชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช อาทิ Malate, Glutamate ร่วมกับกรดอินทรีย์ในกลุ่ม Hydroxy acid บางชนิดในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลผลิตและคุณภาพยางพาราไทย









ตอบข้อสงสัยยางพารา
http://paccapon.blogspot.com/2017/01/blog-post.html?m=1 
.
ฝากติดตามเพจดีๆเกี่ยวกับยางพารา
www.facebook.com/PathwayEraser1
.
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตยางพารา
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_24.html?m=0
.
สารานุกรมยางพาราไทย
https://www.facebook.com/pg/PathwayEraser1/photos/?tab=album&album_id=1209089865873831
.
หรือเว็บไซต์
www.ยางตายนึ่ง.com
www.organellelife.com 


สั่งคู่ขวัญ คลิ๊กที่ภาพนี้ได้เลย

.
สอบถามปรึกษาก่อนได้
☎️:084 - 8809595 , 084-3696633
📲Line id :    @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ https://lin.ee/nTqrAvO


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น