วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

"แมกนีเซียม" พืชขาด..ลำบากแน่

"แมกนีเซียม"  พืชขาด..ลำบากแน่









Role of magnesium in plants
Magnesium is an indispensable mineral for plant growth, for it plays a major role in the production of chlorophyll, on which photosynthesis depends. Without a ready source of magnesium the plant cannot grow. Magnesium plays a part in many processes :
• Chlorophyll formation
     o Light-absorbing green pigment
     o Capture's the energy of sunlight and turns it into chemical energy
     o Allows synthesis of organic compounds that are
        useful for plant growth and functioning
       (carbohydrates, lipids, proteins)
• Synthesis of amino acids and cell proteins
• Uptake and migration of phosphorus in plants
• Vitamin A and C concentrations
• Resistance to unfavourable factors (drought,
  cryptogamic disease)

ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ Magnesium for Plant บางส่วนได้ที่
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S221451411500121X





ธาตุแมกนีเซียม (MAGNESIUM) : Mg

หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช

- เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟิลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้น
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
- มีส่วนสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสง
- กระตุ้นการสร้างแป้ง น้ำตาล และ ไขมัน
- มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต ให้ความสม่ำเสมอของการสุกแก่ที่เร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอของผลไม้
- ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
- เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่างๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
- ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านท่านต่อโรคพืชต่างๆ
- พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
- เป็นตัวเร่ง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ของพืชหลายชนิด


การแสดงอาการของพืขที่ขาดธาตุุแมกนีเซียม
- จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
- ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อน ก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม
- สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
- เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายไปในที่สุด
- ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
- ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่าที่ควร
- ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ




สีเขียวสดใสของพืชที่สวยสดงดงามที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ เราจะต้องเป็นหนี้บุญคุณธาตุแมกนีเซียมเป็นอย่างมาก     เพราะว่าแมกนีเซียมเป็นธาตุหลัก ซึ่งเป็นองค์ประกอบของจุดสีเขียวในใบพืช  จุดสีเขียวเหล่านี้จะเป็นผู้ประสานงานในต้นพืช ก่อให้เกิดการผลิตอาหารและเส้นใย จนเกิดประโยชน์กับชีวิตของมนุษย์




นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังมีบทบาทเกี่ยวกับปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของพืช และมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังงานในการใช้สารประกอบฟอสฟอรัส
พืชจะดูดแมกนีเซียมขึ้นไปใช้ในต้นพืชหลังจากที่พืชงอกมาแล้ว 5-6 สัปดาห์ แมกนีเซียมจะช่วยเพิ่มให้พืชมีความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมและโรคพืชได้
พวกพืชที่ให้น้ำตาล เช่น พืชไม้ผลทุกชนิด ข้าวโพด มันฝรั่ง เป็นต้น พืชพวกนี้ต้องการแมกนีเซียมมากกว่าพืชให้เมล็ด เช่น ข้าว ข้าวสาลี เป็นต้น


ปัญหาต่าง ๆ ที่พืชขาดแมกนีเซียม
1. มีแมกนีเซียมในดินต่ำ
2. ในดินมีแคลเซียม โซเดียม หรือโพแทสเซียมสูง
3. ในดินมีพวกเกลือแร่สูง
4. อากาศเย็น
5. พืชดูดไนโตรเจนไปใช้อย่างรวดเร็ว

การให้แมกนีเซียมแก่พืชอย่างเพียงพอ ไม่เพียงแต่จะทำให้แมกนีเซียมอยู่ในระดับที่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังจะทำให้เกิดสมดุลของอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและแมกนีเซียมอีกด้วย
ธาตุโพแทสเซียมก็เป็นธาตุอาหารหนึ่งที่ทำให้แมกนีเซียมขาดได้ โดยที่มันจะไปเป็นตัวรบกวนการดูดซับแมกนีเซียมที่บริเวณผิวของรากขนของพืช
ขณะที่แมกนีเซียมเป็นสารละลายอยู่ในดินพืชจะดูดเข้าทางราก โดยซึมผ่านเข้าทางผนังเซลล์ หรือโดยการแลกเปลี่ยน
อิออน (ions) กัน ก็จะมีการแข่งขันการเข้าสู่ต้นพืชเกิดขึ้นจากธาตุไนโตรเจน แคลเซียม และโดยเฉพาะตัวโพแทสเซียมเองจะรบกวนการดูดซับของแมกนีเซียมด้วย

         ดังนั้นขณะที่พืชดูดใช้ไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างไนโตรเจนกับแคลเซียม แมกนีเซียมและเกลือแร่อื่น ๆ โดยเฉพาะถ้าเกิดในทุ่งหญ้าอาหารเลี้ยงสัตว์ จะทำให้เกิดไนโตรเจนเป็นพิษกับสัตว์ หรือที่เรียกว่า โรคกร๊าสเทตานี่หรือโรคกระแตเวียน (Grass Tetany) เป็นต้น
สำหรับโรคกระแตเวียนในสัตว์เราไม่มีทางรักษาแก้ไขได้ นอกจากจะทำให้บรรเทาอาการได้เท่านั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้แมกนีเซียมกับพืชให้พอเพียงตลอดเวลา
การขาดแมกนีเซียมในพืชตระกูลถั่ว จะทำให้เกิดการกีดกันการตรึงไนโตรเจนในปมถั่ว ถ้าระยะที่ต้นถั่วมีการดูดไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว จะทำให้แมกนีเซียมขาดได้ง่าย
อากาศหนาวเย็นพืชจะดูดแมกนีเซียมน้อยลงดินที่มีเกลือโซเดียมจะทำให้ธาตุแมกนีเซียมเกิดประโยชน์ต่อพืชได้น้อย
ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น ต้องการแมกนีเซียมมากที่สุดเมื่อเริ่มแตกใบอ่อน และต้องการในปริมาณค่อนข้างสูง

หัวใจสำคัญเลย คือแมกนีเซียมใช้เป็นสารในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ หากพืชขาดแมกนีเซียมจะทำให้พืชสร้างคลอโรฟิลล์ที่เป็นรงควัตถุสีเขียวได้น้อยลง ใบพืชมีสีซีดเหลือง ไม่เจริญเติบโต ลำต้นแคะแกรน และเหี่ยวตายในที่สุด หากขาดในระยะที่พืชกำลังสะสมอาหารในผลหรือหัวก็จะทำให้ปริมาณแป้งในผลหรือหัวลดลง
โดยทั่วไปดินที่มักมีแมกนีเซียมที่ไม่เพียงพอต่อพืชมักเป็นดินเนื้อหยาบที่เป็นกรดจัด pH ต่ำกว่า 5.5 ซึ่งดินประเภทนี้จำเป็นต้องให้แมกนีเซียมประมาณ 0.7-1.1 กิโลกรัม/ไร่
แมกนีเซียม พืชขาด..ลำบากแน่

แหล่งที่มาของแมกนีเซียม

1. โดโลไมท์(Dolomite) จะให้แมกนีเซียมอยู่ในรูปของแมกนีเซียม-คาร์บอเนต การเกิดประโยชน์จะขึ้นอยู่กับความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ของดินและขนาดของเม็ดโดโลไมท์ ปกติแล้วเราใช้โดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดิน โดโลไมท์จะให้แมกนีเซียมแก่พืชช้า เราใช้ลดความเป็นกรดของดินได้
มีการค้นคว้าอย่างมากมาย แสดงว่าในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) สูงกว่า 6.5 จะทำให้เกิดปัญหาอย่างมากเกี่ยวกับการขาดแมกนีเซียมของพืช การใช้โดโลไมท์จะไม่เกิดผลดี เมื่อดินมีความเป็นกรดเป็นด่างสูงกว่า 6.5 ถ้ายิ่งใช้ไปก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหามากขึ้นสำหรับโดโลไมท์ที่ใส่กับดินที่เป็นกรดบางประเภทก็ไม่ให้ผลดีเช่นกัน

              จุดเด่น                                             จุดด้อย

      ก. ราคาถูก                                               ก. เกิดประโยชน์ช้ากับพืช

      ข. ปรับปรุงดินในระยะยาว                        ข. อาจจะปรับปรุงดินทรายที่เป็นกรดและพืชต้องการ          แมกนีเซียมไม่ได้

                                                                       ค. ใช้ในดินด่างไม่ได้          

                                                               

         2. แมกนีเซียมออกไซด์(Magnesium oxide) มีทั้งชนิดผงและชนิดเม็ด ชนิดผงจะละลายน้ำได้ช้าอยู่แล้ว ชนิดเม็ดยิ่งละลายไม่ดี ถ้าจะใช้เมล็ดผงคุณภาพก็จะเทียบกับโดโลไมท์

              จุดเด่น                                             จุดด้อย

      ก. ปรับปรุงดินได้                                  ก. เกิดประโยชน์ช้ากับพืช

      ข. ค่อนข้างแพง                                   ข. อาจจะปรับปรุงดินทรายที่เป็นกรดและพืชต้องการแมกนีเซียมสูง ไม่ดี


                                                                   
         3. โพแทสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟต เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ชนิดหนึ่งการละลายตัวดีปานกลาง แต่ดีกว่าแมกนีเซียมออกไซด์ หรือโดโลไมท์ เมื่อผสมรวมเป็นปุ๋ยอันเดียวกันกับปุ๋ย N-P-K ในรูปเม็ด การละลายตัวของมันจะสูญเสียไปมากเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในรูปของแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต ถ้าใช้กับรูปของปุ๋ย N-P-K (ชนิดน้ำ) จะมีการตกตะกอนให้เห็น เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ย N-P-K จะไม่มีปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้น ผลิตภัณฑ์จะให้แมกนีเซียมออกมามากที่สุดในปีแรกของการใช้ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ยังจะให้กำมะถันซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งกับพืชอีกด้วย

         การใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปนี้ใช้ร่วมกับปุ๋ย N-P-K โดยไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นก็ตาม แต่มีปัญหาที่ว่าผลิตภัณฑ์นี้มีโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย โพแทสเซียมจะเป็นตัวปัญหาของแมกนีเซียม คือกีดกันการดูดซับของแมกนีเซียมของพืชที่บริเวณรากขน เราจึงได้ข้อคิดว่าไม่ควรใส่โพแทสเซียมและแมกนีเซียมร่วมกัน ถ้าจะให้แมกนีเซียมดูดซับเข้าพืชได้มากที่สุด


                จุดเด่น                                             จุดด้อย

      ก. เหมาะสมกับเศรษฐกิจที่จะใช้         ก. มีส่วนประกอบของโพแทสเซียม
                                                                     จะกีดกันการเกิดประโยชน์ของแมกนีเซียม                                              

      ข. การละลายตัวค่อนข้างดี                 ข. ถ้ารวมเนื้อเดียวกันกับปุ๋ย เอ็น-พี-เค
                                                                     จะทำให้การละลายตัวน้อยลง                                              

      ค. มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบด้วย  

                                                                     

         4. แมกนีเซียมซัลเฟต(Magnesium sulphate) ละลายน้ำได้ดีมาก เป็นแหล่งผลิตที่ดีของแมกนีเซียมชนิดหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

         5. แมกนีเซียม-อ๊อกซี่ซัลเฟต ชนิดเม็ดจะมีส่วนผสมของแมกนีเซียมอ๊อกไซด์กับแมกนีเซียมซัลเฟต(ละลายน้ำได้ดีประมาณ 50%)  ผลิตภัณฑ์นี้เป็นส่วนที่จะใช้ได้ดีสมบูรณ์แบบโดยใช้ผลิตภัณฑ์รวมกันระหว่างแมกนีเซียมอ๊อกไซด์ผง และแมกนีเซียมซัลเฟต เมื่อเม็ดของผลิตภัณฑ์ละลายน้ำซัลเฟตจะละลายตัวทำให้เม็ดของผลิตภัณฑ์แตกตัวละเอียดออกไปได้รูปของแมกนีเซียมอ๊อกไซด์ แมกนีเซียมอ๊อกซี่ซัลเฟต ไม่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมรวมอยู่ด้วย จึงทำให้แมกนีเซียมถูกพืชดูดซับเข้าได้ง่ายโดยปราศจากสิ่งกีดขวาง

                                     จุดเด่น                                        จุดด้อย

      ก. เหมาะสมกับเศรษฐกิจที่จะใช้          ก. ใช้ผสมกับปุ๋ยเอ็น-พี-เค จะมีส่วนที่ทำให้การละลายตัวเสีย                                                                         บ้างเล็กน้อย

      ข. ให้ผลเร็วและยาวนาน                            

      ค. ให้กำมะถันด้วย                                                                    

           6. แมกนีเซียมคีเลต ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้พ่นทางใบ ใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบหรือใช่ร่วมกับยากำจัดศัตรูพืชก็ได้ ผลิตภัณฑ์ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีม-เกษตร ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า แมกนีเซียมคีเลตมีประสิทธิภาพสูง 20-40 เท่า ของแมกนีเซียมในรูปอื่น ๆ ยกเว้นการใช้แมกนีเซียมซัลเฟต (ยิปซัม) ใส่ทางดิน

         การใส่แมกนีเซียมคีเลตทางดินจะไม่ช่วยในการปรับสภาพของดิน แต่ก็สามารถเคลื่อนตัวเข้าสู่รากพืชได้ดี ใช้ได้กับพืชทั่ว ๆ ไป  จุดที่สำคัญที่สุดในการใช้แมกนีเซียมคีเลตให้เกิดประโยชน์ เราจะต้องใส่ให้ใกล้กับเมล็ดพืชที่กำลังจะงอก จะให้ผลดีมาก

                         จุดเด่น                                            จุดด้อย

      ก. ใช้ร่วมกับปุ๋ยทุกชนิดได้                       ก. ราคาค่อนข้างแพง เมื่อคิดการใช้ในพื้นที่เท่ากัน
                                                                           ปรับสภาพดินไม่ได้        

      ข. ประสิทธิภาพสูง                                      

      ค. ใช้ร่วมกับยากำจัดศัตรูพืชได้

      ง.  ใช้พ่นทางใบได้

         7. แมกนีเซียมคลอไรด์เหลว  มีข้อดีกว่าแมกนีเซียมซัลเฟต แม้ว่าจะใช้ร่วมกับปุ๋ย เอ็น-พี-เค ชนิดน้ำไม่ได้ก็ตาม แต่ก็สามารถใช้ร่วมกับพวกไนโตรเจนชนิดเหลวได้ และใช้ร่วมกับยากำจัดวัชพืชได้เช่นกัน

                         จุดเด่น                                        จุดด้อย

      ก. ละลายน้ำได้ดี                                 ก. รวมกับปุ๋ย เอ็น-พี-เค ชนิดน้ำไม่ได้

      ข. เหมาะที่จะใช้ในการเกษตร             ข. ต้องใช้เดี่ยว ๆ หรือร่วมกับ ไนโตรเจน


การใช้แมกนีเซียมให้ถูกต้อง-ได้ผล-ประหยัด
         ในดินแมกนีเซียมเคลื่อนตัวได้พอประมาณพอ ๆ กับแคลเซียม โดยเทียบกับ ไนโตรเจน โพแทสเซียม และกำมะถัน แม้ว่าแมกนีเซียมจะมีการสูญเสียอย่างรวดเร็วแต่ความจริงแล้วปริมาณส่วนใหญ่ที่สูญเสียนั้นจะถูกพืชนำไปใช้มาก กว่าการสูญเสียโดยการถูกชะล้าง การใช้แมกนีเซียมในรูปที่ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น มันก็จะทำให้เราต้องเสียเงินมากขึ้น แต่ในเมื่อเราต้องการจะใช้มันเพราะความสำคัญของมัน  เราจึงต้องยึดหลักว่าเสียเงินแล้วต้องใช้มันให้เกิดประโยชน์ อย่าทำให้มันสูญเสียไป


สิ่งที่ควรพิจารณาในการใช้ให้ถูกต้อง
         1.  พืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว(พวกพืชไร่)  จะแสดงอาการขาดแมกนีเซียมประมาณ 40 วัน หลังจากปลูก แต่ถ้าไม่แสดงอาการขาดในช่วงนี้พืชจะค่อย ๆ แสดงอาการหลังจาก 40 วัน
         2.  พืชที่ให้เมล็ด ต้องการแมกนีเซียมมากที่สุดในระยะแรกของการเจริญเติบโต
         3.  พืชไม้ผลต้องการมากในช่วงแตกใบอ่อน และต้องการปริมาณสูงกว่าพืชชนิดอื่น         สารละลายของแมกนีเซียมในดินที่รากพืชดูดเข้าโดยการซึมผ่านเซลล์หรือซึมผ่านโดยการแลกเปลี่ยน อิออน(ions) ก็ตาม  ระบบของรากพืชที่อยู่ในระยะอ่อน ๆ อยู่ก็มีปัญหาในการดูดซับแมกนีเซียมเช่นกัน เนื่องจากเกิดการแข่งขันการดูดซับเข้าต้นพืชจากแคลเซียม โพแทสเซียม และไนโตรเจน

         อาจจะกล่าวได้ว่า โพแทสเซียมเป็นศัตรูที่ร้ายกาจมากของแมกนีเซียมเลยที่เดียวก็ว่าได้ แต่ละปีเรามักจะใส่โพแทสเซียมให้กับพืชมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อต้องการให้พืชมีผลผลิตสูง จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการใช้แมกนีเซียมของพืชอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ปัญหานี้หลาย ๆ ท่านพยายามค้นคว้าหาอัตราส่วนการใช้โพแทสเซียมกับต้นพืช เพื่อที่เราจะใส่แมกนีเซียมกับพืชให้มากขึ้น              

         การค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เปรียบเสมือนเรากำลังต่อสู้กับความพ่ายแพ้ในสงครามนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากว่า
           1.  อัตราส่วนของธาตุทั้งสองชนิดจะแตกต่างกันไปในการใช้กับพืชแต่ละชนิด
           2.  อัตราส่วนของธาตุทั้งสองชนิดจะแตกต่างกันไปในการใช้กับพืชแต่ละพันธุ์
           3.  อัตราส่วนของธาตุทั้งสองชนิดจะแตกต่างกันไปในการใช้กับที่ดินแต่ละชนิด
ที่ดินแปลงหนึ่งอาจมีความแตกต่างของชนิดของดินหลายชนิด
เมื่อเห็นว่าเราไม่มีทางจะหาอัตราส่วนของการใช้โพแทสเซียมและแมกนีเซียม กับพืชได้ เราจะแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้แน่นอน

ลองพิจารณาตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 สำหรับพืชไร่ ให้ไถลึกสักหน่อย ต่ำกว่าระดับที่ให้ปุ๋ยโพแทสเซียม เมื่อโรยเมล็ดพืชแล้ว ให้ใส่แมกนีเซียมไปเลย พืชจะงอกออกราก รากที่เกิดใหม่จะอยู่บริเวณที่ห่างไกลจากชั้นของธาตุโพแทสเซียม รากพืชก็จะได้รับแมกนีเซียมทันที
ในระยะแรก ๆ ของพืชจะไม่มีปัญหาของการใช้โพแทสเซียมมากนัก ยกเว้นในช่วงที่พืชจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกันกับไนโตรเจน

ขั้นที่ 2 ให้ใส่แมกนีเซียมให้ใกล้ต้นพืช “บริเวณที่รากพืชจะเจริญ” โดยปฏิบัติดังนี้
         ก.ใส่พร้อมกับปุ๋ยเร่ง ไนโตรเจนและฟอสเฟต หรือ
         ข.หว่านในแปลงเพาะกล้า แล้วเกลี่ยคลุกให้เข้ากับดินส่วนผิวของแปลงกล้า
         ค.ใช้วิธีพ่นทางใบ ขณะที่พืชเล็ก ๆ อยู่ ก่อนที่จะมีใบ 4 ใบหรือสำหรับพืชไม้ผลให้ใช้ในช่วงผลิใบอ่อนจะดีที่สุด
ขั้นที่ 3 อย่าใส่โพแทสเซียมร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต เพราะมันจะทำให้เกิดปัญหากับแมกนีเซียม

ข้อควรคำนึง
แมกนีเซียมจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่จะต้องมีอยู่จึงจะเกิดประโยชน์ให้กับพืชในช่วง  ที่พืชต้องการ






ข้อควรคำนึง
การใส่โพแทสเซียมและ/หรือแคลเซียม จะทำให้เกิดปัญหากับแมกนีเซียมการแก้ปัญหานี้ก็คือ การใส่แมกนีเซียมทางดิน ในอัตราเต็มตามที่แนะนำต่อเนื้อที่ให้สมบูรณ์แบบ เพื่อให้แมกนีเซียมทำหน้าที่ของมันได้เต็มที่ แม้ว่าบางส่วนจะถูกตรึงไว้บ้างก็ตาม วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ออกจะแปลกสักหน่อย สำหรับความคิดของนักวิชาการทางปุ๋ยหรือนักพืชกรรม แต่อย่างไรก็ดี หนทางที่เราเห็นแล้วว่าดีก็ต้องปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาได้

         การแก้ปัญหา จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้ายิ่งไม่ปฏิบัติเลยก็ยิ่งจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายไปอีก ถ้าเราพยายามเข้าใจอย่างถ่องแท้ในปัญหา ก็จะทำให้การแก้ไขง่ายยิ่งขึ้น

– มนุษย์เราต้องเป็นหนี้กับความเขียวของพืช อันเกิดจากแมกนีเซียมอันเป็นส่วนสำคัญของโมเลกุลคลอโรฟีลล์-เม็ดสีเขียวในพืช สีเขียวนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการผลิตอาหารและเส้นใย โดยเริ่มต้นจากพืชสีเขียวและเกิดประโยชน์ไปจนถึงสัตว์และมนุษย์

– แมกนีเซียมมีบทบาทที่สำคัญในปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิดในการ ดำรงชีวิตของพืช และมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังงานที่ได้รับจากสารประกอบฟอสฟอรัส
– แมกนีเซียมจะทำให้พืชมีความสามารถในการต่อต้านกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและโรคพืชด้วย
– พืชที่ผลิตน้ำตาล เช่น ข้าวโพด, มันฝรั่ง และพืชไม้ผลทุกชนิดต้องการแมกนีเซียมมากกว่าพืชพวกให้เมล็ดเช่น ข้าว, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น


ธาตุแมกนีเซียม
เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว ทั้งที่ใบและส่วนอื่น ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช
อาการขาดแมกนีเซียมจะสั่งเกตได้จาบใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบที่อยู่ใกล้กับผล ถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน
การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึง ดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ สำคัญ
การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที



Mg คือ แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแกนกลางของโครงสร้างของคลอโรฟีลล์ที่เป็นตัวกระตุ้นของเอนไซม์ที่เกี่ยว ข้องกับการสังเคราะห์แสง และการหายใจ ฯลฯ พืชดูดกินในรูปแมกนีเซียมไอออน (Mg+2)  สารเคมีที่ให้แมกนีเซียมคือ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4)

ธาตุอาหารพืช ธาตุแมกนีเซียม (Mg)

แมกนีเซียมจะเข้าสู่ต้นพืชในรูปของแมกนีเซียมไอออน(Mg2+) แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของคลอโรฟิลล์และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะเอนไซม์ในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์อาการที่พืชแสดงภาวะขาดแมกนีเซียมที่จะปรากฏก่อนคือภาวะพร่องคลอโรฟิลล์ในใบแก่เนื่องจากเกิดการสลายของคลอโรฟิลล์ในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเส้นใบส่วนคลอโรฟิลล์ในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณเส้นใบจะตอบสนองต่อการขาดแมกนีเซียมได้ช้ากว่าจึงมักจะชะลอการสลายตัวไว้ได้นานกว่าแมกนีเซียม(Mg)แมกนีเซียมจะเข้าสู่ต้นพืชในรูปของแมกนีเซียมไอออน(Mg2+) แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของคลอโรฟิลล์และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะเอนไซม์ในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์

 ใบมะนาวสีเขียวสดใส สวย สด งดงามเพราะว่าแมกนีเซียมเป็นธาตุหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบของจุดสีเขียวในใบพืช  จุดสีเขียวเหล่านี้จะเป็นผู้ประสานงานในต้นพืช ก่อให้เกิดการผลิตอาหารและเส้นใย  นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีบทบาทเกี่ยวกับปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของมะนาวมีอิทธิพลเกี่ยวกับให้ความสม่ำเสมอของการสุกการแก่ที่เร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอของผลมะนาวและมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังงานในการใช้สารประกอบฟอสฟอรัส ต้นมะนาวจะดูดแมกนีเซียมขึ้นไปใช้ในต้นหลังจากที่ปลูกแล้ว ประมาณ 4สัปดาห์แมกนีเซียมจะช่วยเพิ่มให้ต้นมะนาวมีความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมและโรคของมะนาวได้

ธาตุแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด หรือบางคนนิยมเรียกว่า น้ำย่อย หากขาดธาตุแมงกานีสแล้ว ใบส่วนกลางของต้นมะนาวจะเกิดเป็นแผลขึ้นระหว่างเส้นใบแต่โดยธรรมชาติแล้วต้นมะนาวขาดธาตุแมงกานีส เนื่องจากดินส่วนใหญ่จะมี pH ต่ำกว่า 7 ซึ่งจะแสดงการขาดธาตุแมงกานีสก็ต่อเมื่อดินปลูกมี pH เกิน 7 ขึ้นไปหรือดินมีฤทธิ์เป็นด่างนั่นเอง แต่ถ้าหากเกิดการขาดธาตุนี้ขึ้นแก้ไขด้วยการใส่แมงกานีสซัลเฟต ในอัตรา 1-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการของการขาดธาตุแมงกานีสก็จะหมดไป ขณะที่แมกนีเซียมเป็นสารละลายอยู่ในดินพืชจะดูดเข้าทางรากโดยซึมผ่านเข้าทางผนังเซลล์ หรือโดยการแลกเปลี่ยน อิออน(ions) กันก็จะมีการแข่งขันการเข้าสู่ต้นพืชเกิดขึ้นจากธาตุไนโตรเจน แคลเซียมและโดยเฉพาะตัวโพแทสเซียมเองจะรบกวนการดูดซับของแมกนีเซียม


แมกนีเซียม
แมกนีเซียม จึงจัดเป็นธาตุอาหารรองที่พืชต้องการในกลุ่มเดียวกันกับ แคลเซียม และกำมะถัน โดยถูกดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชในรูปของประจุ Mg2+ แต่อัตราการดูดซึมจะลดลงมาก หากดินนั้นมีประจุของธาตุอื่น ได้แก่ โพแทสเซียม, แอมโมเนียม, แคลเซียม, แมงกานีส และ ไฮโดรเจน และอัตราผลกระทบจะเรียงลำดับจากมากของโพแทสเซียมลงมาจนถึงไฮโดรเจน




แมกนีเซียมใช้เป็นสารในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ หากพืชขาดแมกนีเซียมจะทำให้พืชสร้างคลอโรฟิลล์ที่เป็นรงควัตถุสีเขียวได้น้อยลง ใบพืชมีสีซีดเหลือง ไม่เจริญเติบโต ลำต้นแคะแกรน และเหี่ยวตายในที่สุด หากขาดในระยะที่พืชกำลังสะสมอาหารในผลหรือหัวก็จะทำให้ปริมาณแป้งในผลหรือหัวลดลง

โดยทั่วไปดินที่มักมีแมกนีเซียมที่ไม่เพียงพอต่อพืชมักเป็นดินเนื้อหยาบที่เป็นกรดจัด pH ต่ำกว่า 5.5 ซึ่งดินประเภทนี้จำเป็นต้องให้แมกนีเซียมประมาณ 0.7-1.1 กิโลกรัม/ไร่
ปริมาณแมกนีเซียมในดินที่มีผลต่อพืชของแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
• 0-25 มก./กก. : พืชทั่วไปจะแสดงอาการขาด เช่น ใบเหลือง จำเป็นต้องใส่ให้เพิ่ม
• 26-50 มก./กก. : มักพบอาการขาดในต้นบีท มันฝรั่ง ไม้ผลชนิดอื่นๆ  และพืชในเรือนกระจก (มะเขือเทศ แตงกวา และพริกไทย เป็นต้น) ยกเว้นในพืชที่เป็นเมล็ดธัญพืช
• 51-100 มก./กก. :  เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับพืชไร่ และพืชผัก แต่ไม่เพียงพอสำหรับพืชในเรือนกระจก และหากมีอาการขาดมักเกิดจากปัจจัยด้านอื่น อาทิ อัตราส่วนของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในดิน
• 101-175 มก./กก. : เป็นมาตรฐานสำหรับพืชในเรือนกระจกชนิดต่างๆ
• 176-250 มก./กก. : สำหรับพืชในเรือนกระจกเพียงอย่างเดียว
(เอกสารอ้างอิง 1. สุวรรณ สุนทรีรัตน์, 2529. “แมกนีเซียม”.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).





ภาคผนวก :
แมกนีเซียม  (สารประกอบ)
 มีหลายชนิด แต่อาจจำแนกได้ 2 พวก คือ สารที่ละลายน้ำง่าย และ สารที่ละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย
– สารประกอบของแมกนีเซียมที่ละลายน้ำได้ง่าย มี 4 ชนิด ได้แก่

1. แมกนีเซียมซัลเฟตโมโนไฮเดรต หรือคีเซอร์ไรด์ (kieserite) ซึ่งมี 18%Mgและ 27%S กับแมกนีเซียมเฮปตาไฮเดรตหรือดีเกลือฝรั่ง (epsom salt) มี 10% Mg ใช้เป็นปุ๋ยทางดินหรือละลายน้ำฉีดให้ทางใบเพื่อแก้ไขการขาดแมกนีเซียม

2.แมกนีเซียมไนเทรต เป็นเกลือที่มีน้ำผลึก 6 โมเลกุล เมื่อบริสุทธิ์มีแมกนีเซียม 9.5%Mg เนื่องจากสารนี้ละลายน้ำได้ง่าย จึงใช้เป็นปุ๋ยที่ให้ทางใบได้เป็นอย่างดี

3. แมกนีเซียมคลอไรด์ มี25%Mg และ 75%Cl เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ง่าย นำมาใช้กับพืชทางใบที่ทนต่อคลอไรด์ได้เท่านั้น

4. เกลือซึ่งมีทั้งแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ได้แก่ เกลือเชิงคู่ ดังต่อไปนี้ แลงไบไนต์ (langbeinite) ไคไนต์ (kainite) โซไนต์ (schoenite) ลีโอไนต์ (leonite) แลงไบไนต์เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารถึง 3 ชนิด ส่วนไคไนต์ โซไนต์และลีโอไนต์ ต่างก็เป็นเกลือเชิงคู่ที่มีแมกนีเซียมซัลเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ เพียงแต่มีจำนวนโมเลกุลของน้ำแตกต่างกัน
– สารประกอบของแมกนีเซียมที่ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีหลายชนิด ได้แก่ โดโลไมต์ แมกนีไซต์และแมกนีเซีย
1.โดโมไลต์ เป็นทั้งปูนและปุ๋ยแมกนีเซียม จึงเหมาะที่จะใช้ในดินกรด โดโมไลต์มีแมกนีเซียม 8-20% ขึ้นอยู่กับปริมาณของสิ่งเจอปน
2.โดโลมิติกไลม์ เกิดจากการเผาโดโมไลต์ที่อุณหภูมิ 900-1000 C แร่จะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากลายเป็นโดโลมิติกไลม์ แต่ถ้าเผาที่อุณหภูมิเพียง 550-600 C และพ่นด้วยไอน้ำเฉพาะแมกนีเซียมคาร์บอเนตเท่านั้นที่แปรสภาพเป็นแมกนีเซียมออกไซด์ ส่วนแคลเซียมคาร์บอเนตยังไม่สลายตัว ซึ่งเมื่อใส่ในดินจะสลายเป็นประโยชน์แก่พืชได้ง่ายกว่าโดโลไมต์ธรรมดา
3.แมกนีต์ มีอยู่ในธรรมชาติ แต่ไม่มากเหมือนโดโลไมต์
4.แมกนีเซียหรือแมกนีเซียมออกไซด์ ผลิตโดยนำแมกนีเซียมคาร์บอเนตมาเผาเพื่อให้คาร์บอนไดออกไซด์ระเหยไป จะได้แมกนีเซียซึ่งมีแมกนีเซียม 50-55%
5.เซอร์เพนทีน (serpentine) แร่ชนิดนี้มีแมกนีเซียมประมาณ 26% ใช้เป็นปุ๋ยแมกนีเซียมได้ดี


LACENA (ลาเซน่า)
คุณประโยชน์  ใช้ได้กับพืชทุกชนิด เพิ่มคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชใบเขียว เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการปรุงอาหาร (Photosynthesis) ของพืช พืชปรุงอาหารได้เต็มที่ ช่วยการถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสง ช่วยในการสร้างแป้ง น้ำตาล และไขมัน ช่วยในการสร้างโปรตีน เสริมสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง ลดความเครียดจากสภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้ใบพืชมีความแข็งแรง ทนทานต่อโรค ทำให้เจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตดี พืชสุกแก่ดีน้ำหนักดี และมีคุณภาพดี

สำหรับยาสูบ  ทำให้ใบยาสุกแก่ดี สุกแก่สม่ำเสมอ โครงสร้างใบยาโปร่ง ไม่แน่นทึบ มีความยืดหยุ่นสูง สีดี สีเข้ม กลิ่นหอม คุณภาพสูง เกรดสูง

สำหรับยางพารา  ใบเขียวเข้ม โปร่งใบดี ใบใหญ่ ให้น้ำยางดี มีเปอร์เซนต์น้ำยางสูง

สำหรับปาล์มน้ำมัน  เจริญเติบโตดี  ใบเขียวเข้ม ผลปาล์มดก ให้ผลผลิตน้ำมันสูง  เปอร์เซนต์น้ำมันดี


สำหรับมันสำปะหลัง  เจริญเติบโตดี  มีการสร้างหัวที่ดี หัวสม่ำเสมอ  มีเนื้อแน่น น้ำหนักดี เปอร์เซนต์แป้งดี













สอบถามเพิ่มเติม
084 - 8809595 , 084 - 3696633
www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
📱Line ID : @organellelife.com (อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนใน Line@ เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ>>>  http://line.me/ti/p/%40organellelife.com 



1 ความคิดเห็น:

  1. มีแม็กนีเซียมเฮปต้าไฮเดรต จำหน่ายทางไหนที่ไหนบ้างคะ

    ตอบลบ