วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การดูแล หอม , กระเทียม

การดูแลหอม กระเทียม




โรคที่มักพบในหอม หรือกระเทียม

โรคใบจุดสีม่วง (purple blotch)

สาเหตุโรค : Alternaria porri

อาการของโรค โรคใบจุดสีม่วง เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีความชื้น ค่อนข้างสูง มีฝนและบางพื้นที่เริ่มมีหมอกลงบางแล้วซึ่งสภาพดังกล่าวเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุดสีม่วง สำหรับอาการของโรคใบจุดสีม่วงนี้มีลักษณะคล้าย โรคแอนแทรกโนสของหอม โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นจุดขนาดเล็กบนใบ แผลเป็นรูปไข่ หลังจากนั้น ตรงบริเวณแผลสีขาว จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนม่วง ขอบแผลสีเหลือง มีสปอร์เป็นผงละเอียดอยู่บนแผล ต่อมาขยายใหญ่และยาวตามความยาวใบ ทำให้ใบหอมหักพับ ปลายใบเป็นแผลแห้ง ถ้าเป็นมากใบจะแห้งตายหมดทั้งแปลง ถ้าเกิดบนกระเทียมและกระเทียมต้น จะทำให้ส่วนปลายใบ ที่อยู่บริเวณแผล มีอาการแห้งเหลือง


แผลจะขยายโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มตรงกลางซีดจางกว่าเล็กน้อย ส่วนรอบนอกจะมีแถบเซลล์ตายสีขาวหรือส้มล้อมรอบ แผลเหล่านี้เมื่อขยายโตจนรอบใบก็จะมีผลให้ใบดังกล่าวเหลืองเหี่ยวแห้งทั้งใบ เมื่ออากาศชื้นบริเวณแผลจะมีสปอร์สีน้ำตาล หรือดำ ซึ่งเกิดบนก้านสั้นๆ เป็นจำนวนมาก ต้นหอมหรือ กระเทียมที่เป็นโรคนี้จะโทรมหรือแห้งตายทั้งต้นภายใน 3-4 สัปดาห์ เชื้อจะเจริญจากใบลามลงมายังหัว ทำให้เกิดอาการเน่าช้ำมีนํ้าเยิ้มในระยะแรกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สุดท้ายจะมีสีนํ้าตาลเข้มหรือดำ อาการที่หัวอาจจะเกิดเพียงหนึ่งหรือสองกาบที่ต่อเชื่อมกับใบที่แสดงอาการหรืออาจจะเน่าเสียหมดทั้งหัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

Alternaria porri เป็นราที่ต้องการความชื้นสูงระบาดได้ดีและสร้างความเสียหายรุนแรงในฤดูฝนหรือช่วงที่มีหมอกน้ำค้างจัด สำหรับอุณหภูมิสามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงที่ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ต่ำสุดระหว่าง 6°ซ ไปจนสูงถึง 39°ซ แต่จะดีที่สุดระหว่าง 25° – 28° ซ.



โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) โรคหอมเลื้อย (Onion Twister)

สาเหตุโรค : Colletotrichum circinans หรือ Colletotrichum gloeosporioides

รายละเอียดของโรค โรคแอนแทรคโนส หรือโรคหอมเลื้อยเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่ง ระบาดทำความเสียหายในฤดูฝน เกิดโรครุนแรงกับหอมหัวใหญ่เกิดโรคปานกลางกับหอมแดงและหอมแบ่งที่ปลูกเพื่อเก็บหัวทำพันธุ์ เป็นโรคเดียวกับโรคใบเน่าแอนแทรคโนส ชนิดที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides โดยเชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการ ใบเน่าและอาการเลื้อยไม่ลงหัวด้วย สำหรับกุยช่ายเป็นโรคใบเน่าแอนแทรคโนสแต่ไม่แสดงอาการเลื้อย ส่วนกระเทียมต้านทานต่อโรคนี้

ลักษณะอาการ ต้นหอมที่เป็นโรคแอนแทรคโนสหรือโรคหอมเลื้อย เป็นลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงอาการเลื้อยไม่ลงหัวของหอมคือ มีลักษณะแคระแกร็นไม่ลงหัว หัวลีบยาวบิดโค้งงอใบบิดเป็นเกลียว ส่วนคอมักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติทำให้รากขาดหลุดจากดินได้ง่าย จึงเกิดการเน่าก่อนถึงเวลาเก็บเกี่ยว หรือเน่าหลังเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว บนต้นพืชที่เป็นโรค มักพบแผลเป็นรูปรี เนื้อเยื่อของแผลยุบตัวต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย บนแผลจะพบหลุ่มสปอร์ของเชื้อราเป็นของเหลวข้นสี


ส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นตุ่มสีดำเล็ก ๆ เรียงซ้อนกันเป็นวงหลายชั้น ที่บริเวณใบ โคนกาบ ใบ คอ หรือส่วนหัว เกิดร่วมกับอาการแคระแกร็น เลื้อยไม่ลงหัวเสมอ





โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่ (bacterial soft rot of onion)

เชื้อสาเหตุโรค ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเชื้อ Erwinia carotovora

อาการโรค ขณะที่ยังอยู่ในแปลงปลูก การเกิดโรคมักจะเริ่มขึ้นในระยะที่พืซลงหัวโตเต็มที่ใกล้เก็บเกี่ยวได้แล้ว การเข้าทำลายของเชื้อมักจะเริ่มตรงส่วนคอหรือโคนต้น โดยผ่านทางแผลที่ใบแก่ที่เหี่ยวหรือหักพับ จากนั้นเชื้อก็จะเจริญเติบโตเคลื่อนลงมายังกาบ (scale) ของหัวที่ต่อเชื่อมกับใบหรือลึกเข้าไปภายในต้นก่อให้เกิดอาการแผลเน่าขยายลุกลามกว้างขวางออกไป มองดูภายนอกแผลจะมีลักษณะช้ำ เป็นสีน้ำตาลหรือเทาอ่อนๆ เมื่อเอามือจับหรือกดดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม พร้อมกับจะมีน้ำเหลวๆ ซึมออกมาจากแผลดังกล่าว เชื้ออาจจะเข้าทำลายโดยตรงที่ส่วนของหัวหอมขณะเก็บเกี่ยว โดยผ่านทางแผลรอยช้ำ และหากนำไปเก็บไว้ในที่อับชื้นอุณหภูมิสูงก็จะก่อให้เกิดอาการเน่าขึ้นกับกาบของหัวหอมชั้นนอกๆ ที่ถูกเชื้อเข้าไปในตอนแรก และถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ในที่สุดอาจจะเน่าเสียหมดทั้งหัว อาการเน่าเละของหอมที่เกิดจากเชื้อ E. carotovora ปกติจะมีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวเช่นเดียวกับเน่าเละในผักชนิดอื่นๆ แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถันหรือกลิ่นเปรี้ยว คล้ายกรดนํ้าส้มเกิดขึ้นตามมา ทั้งนี้เนื่องจากมีเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเข้าไปช่วยทำลายต่อทำให้กาบที่เรียงซ้อนเป็นชั้นๆ ของหัวหอมที่เน่าจะล่อนลื่นหลุดออกมาได้โดยง่าย เมื่อไปจับต้องหรือสัมผัสเข้า ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคเน่าเละในผักอื่นๆ


นอกจากนั้นยังพบว่ามี Pseudomonas alliicola และ Pseudomonas cepacia อีกสองชนิดที่ก่อให้เกิดอาการเน่าในลักษณะคล้ายๆ กัน หรือร่วมเข้าทำลายอยู่ด้วย




ไส้เดือนฝอย (Nematode)

ลักษณะอาการของโรค

1. อาการเหนือดิน(Above ground symptoms)

- แคระแกรน โตช้า ลำต้นเหี่ยว ใบเปลี่ยนสี ใบผิดปกติ บิดเบี้ยว

- ตาดอกหรือจุดงอกของเมล็ดตาย ไส้เดือนฝอยทำลายตาได้แก่ Aphelenchoides besseyi กินตา กล้วยไม้ สตรอเบอรี่ ทำให้ตาดอกและจุดงอก เสียไป

- เมล็ดบิดเบี้ยวหรือพองบวมผิดปกติ (Seed gall) ส่วนมากมักจะเป็นกับเมล็ดธัญญพืช โดยที่พวกไส้เดือนฝอยเข้าไปอาศัยกินอยู่และออกลูกภาย ในเมล็ด ทำให้เมล็ดบวม พองโตผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการชนิดนี้ เช่น Anguina tritici

2. อาการใต้ดิน (Below ground symptoms)

- รากเป็นจุดหรือแผลสีน้ำตาล ( Root lesions ) อาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชที่ส่วนรากถูกไส้เดือนฝอยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้เกิดแผลได้ทั้ง ขนาดเล็ก จนถึงแผลขนาดใหญ่ซึ่งเกิดโดยรอบของรากได้ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่ Pratylenchus spp.

- รากเป็นปุ่มปม (Root knots or gall) อาการนี้นับเป็นอาการของโรคที่พบมากที่สุด รากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงจะพองโตเป็นปุ่ม เป็นปม ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการปุ่มปมเช่น Meloidogyne spp., Heterodera spp. เป็นต้น

- รากเน่า (Root rot) นอกจากไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายที่รากพืชแล้วยังมีเชื้อราและแบคทีเรีย ทั้งที่เป็นสาเหตุของโรคและเป็นแซโพรไฟต์ (saprophyte) เข้าทำลายซ้ำทำให้เกิดอาการรากเน่าได้

- รากกุด( Stubby root) ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายโดยการดูดกินที่ปลายรากทำให้ปลายรากชะงักการเจริญเติบโต กุดและสั้น






ORG-5 (โออาร์จี - ไฟว์)

 จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช

ORG-5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช
ORG-5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ

2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต

3. Humic acid ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้

4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย

5.Anti root rot substances ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.






คาร์บ็อกซิล - พลัส เอ็กซ์ตร้า


คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน 
คุณประโยชน์
เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น

ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น เชื้อราไฟทอปเทอร่า โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง, โรคเน่าและกะหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ

ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ

เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกค้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ




แอคซอน


AXZON (แอคซอน) :

“สารสั่งลงหัว” ในพืชตระกูลลงหัวทุกชนิด อาทิ มันสำปะหลัง, มันฝรั่ง, มันเทศ, หอม, กระเทียม, เผือก อื่นๆ ไม่ยอมลงหัว มัวแต่ “หลงงามต้น หลงงามใบ” ต้องให้ “AXZON” ออกคำสั่ง มันฝรั่ง, มันสำปะหลัง, หอม, กระเทียม ถึงจะยอมลงหัว

นวัตกรรมใหม่สำหรับพืชมีหัวด้วยกระบวนการ Tuberization  

AXZON มีส่วนผสมของกรดอินทรีย์และกรดจัสโมนิคที่ส่งเสริมขบวนการลงหัวให้พืช (Tuberization)

AXZON  ทำให้พืชเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางด้านยาว (Elongation growth) มาเป็นการเจริญเติบโตทางด้านกว้าง (Lateral growth) แทน โดย AXZON จะทำให้ระดับน้ำตาลในเซลล์สูงขึ้นทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในแนวรัศมีของลำต้นมากขึ้นเซลล์ขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีพื้นที่พร้อมที่จะสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น

AXZON ประกอบด้วยสารเคมีที่โดยปกติพืชลงหัวต้องสร้างขึ้นตามธรรมชาติในช่วงระหว่างเริ่มลงหัว AXZON จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่อันตรายไม่ตกค้างในผลผลิต

อัตราและวิธีการใช้
ใช้ AXZON 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร (1ช้อนแกง ผสม น้ำ 1 ปิ๊ป) ฉีดพ่นที่ใบจนเปียกชุ่มครั้งเดียวช่วงที่พืชกำลังจะเริ่มลงหัว)

คุณประโยชน์
- ช่วยกระตุ้นขบวนการลงหัวของพืช (Tuberization) โดยใช้กรดอินทรีย์เลียนแบบธรรมชาติช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์สะสมแป้งและเพิ่มขนาดเซลล์สะสมแป้งทำให้ได้หัวใหญ่ขึ้น มากขึ้น
- ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยวิธีง่ายๆและประหยัด โดยการฉีดพ่นทางใบเพียงครั้งเดียว
- ปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย ไม่มีสารตกค้าง
- สามารถใช้ได้กับพืชลงหัวทุกชนิดโดยไม่เกิดอันตราย

ส่วนประกอบสำคัญ Mixture of Organic Acids and Inert  Ingredients.








   



อีเรเซอร์-วัน
ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที 
      อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์
ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที
เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 

สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรดและพืชตระกูลถั่ว

( หมายเหตุ เฉพาะ อีเรเซอร์-1  ห้าม..ผสมสารเสริมประสิทธิภาพทุกชนิด ที่เป็นประจุ )




ติดต่อสอบถาม
Line ID : @organellelife.com (พิมพ์ @ ด้วยครับ)
โทร. 084-8809595, 084-3696633






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น