วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

ปัญหาที่พบในเมล่อน Melon

เพื่อนๆ ท่านใด‎ปลูกเมล่อน‬ แล้วพบปัญหา ‪ไวรัสใบหงิก‬ หรือ ไวรัสอื่นๆ หรือเมล่อน ‪‎ขาดธาตุอาหาร‬ แก้ไขยังไงก็เอาไม่อยู่ ลองศึกษาแนวทางแก้ปัญหาแบบ ‪‎ออร์กาเนลไลฟ์‬ ไว้เป็นทางเลือกดูนะครับ

ขออนุญาตนำข้อมูลจากเพื่อนๆ แฟนเพจมาแบ่งปันกันนะครับ

วันนี้มีแฟนเพจส่งภาพมาถามอาการของ ‪‎เมล่อน‬ ที่ปลูกครับ
ตอนนี้อายุเมล่อนบางต้น 2 สัปดาห์ บางต้นประมาณ 1 เดือน และมีอาการที่เห็นตามภาพ เป็นเฉพาะบางต้น เป็นมาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ถามว่า

เป็นโรคอะไร ?
เกิดจากอะไร ?
แล้วจะใช้ ‎อีเรเซอร์-วัน‬ แก้ได้ไหม ?



คำตอบดูจากภาพนะครับ (ไม่เห็นสภาพจริง)


ภาพที่ 1 เป็นอาการของการ ‪ขาดธาตุแมกนีเซียม‬ (Mg) เกิดที่ใบแก่ก่อน แล้วจึงลุกลามต่อไปยังใบอ่อน ขาดคลอโรฟีลล์ มีลักษณะเป็นรอยไหม้บริเวณระหว่างเส้นใบ จะเห็นอาการสีเหลืองเริ่มเกิดจากขอบของใบ ขณะที่เส้นใบยังมีสีเขียวอยู่ สีจะซีด และใบจะร่วงไปในที่สุด

วิธีแก้ไข ให้ธาตุอาหาร แมกนีเซียม (Mg) เพิ่มเท่านั้นเองครับ

ศึกษาความรู้เรื่องธาตุอาหารพืชเพิ่มเติมคลิก >>
http://paccapon.blogspot.com/2015/06/blog-post_11.html




ภาพที่ 2 เป็น ไวรัส‬ ทำให้ใบหงิก งอ
วิธีแก้ไข กรณีที่เป็นไม่มาก พึ่งเริ่มเป็นโรคที่เกิดจาก ไวรัส , แบคทีเรีย , เชื้อรา สามารถใช้ อีเรเซอร์-วัน ฆ่าเชื้อยับยั้งควบคุมการลุกลามได้ครับ


ศึกษาการปลูกเมล่อน กับปัญหาไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคเพิ่มเติมคลิก >>
http://www.organelle1.blogspot.com/2015_11_01_archive.html


ภาพที่ 3 ‪ หนอนชอนใบ‬ (หนอนแมลงวัน) ลักษณะ ใบจะมีรอยเส้นสีขาว วน จะส่งผลทำให้ใบบิดเบี้ยวผิดรูป หงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ ทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล นอกจากนั้นจุดที่หนอนชอนใบเจาะไว้ ยังเป็นช่องทางให้เชื้อโรค เชื้อราและแบคทีเรียสามารถเข้ามาทำร้ายต้นได้ครับ

วิธีแก้ไข กรณีเราไม่มีสินค้าจำพวกนี้ อาจจำเป็นต้องหาซื้อยาสำหรับหนอนชอนใบตามท้องตลาดทั่วไปได้ครับ

...................................................




ส่วนภาพนี้มีแฟนเพจที่ราชบุรีส่งภาพมาปรึกษาครับ
ว่าเป็นโรคอะไร ? แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร ?


#‎ปลูกเมล่อน‬ อายุได้เดือนกว่าๆ แปลงเปิดแล้วพบปัญหา คือ ต้นเมล่อนมีอาการ ‪‎ใบหงิก‬ เหลือง ยอดแห้ง เหี่ยวตาย 

ดูจากภาพ (ไม่เห็นแปลงจริง) ถ้าใบเหลืองแล้วตายจากยอด แห้งยืนต้นตาย จะเป็น "เหี่ยวเหลือง" (Fusarium Wilt) จากเชื้อรา ฟิวซาเรียม เพราะท่อน้ำท่ออาหารถูกทำลาย


**แนวทางแก้ไข** 
สำหรับต้นที่ยังไม่เป็น หรือยังไม่มีอาการ
1. พ่น ด้วย ‪#‎คาร์บ๊อกซิลพลัส‬ ทุก 5 วัน ซัก 2 ครั้ง อัตรา 20 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันและยั้บยั้งเชื้อที่ทำลายภายในท่อน้ำท่ออาหาร


2. รด ด้วย ‪#‎อีเรเซอร์วัน‬ ต้นละ 1 กระป๋องนม ซัก 1-2 ครั้ง อัตรา 10-20 cc ต่อน้ำ 10 ลิตร เพื่อฆ่าเชื้อและป้องกันการลุกลามของเชื้อที่อยู่ภายนอก




สำหรับต้นที่เป็นแล้ว หรือมีอาการแล้ว ควรถอนทิ้ง เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อไปยังต้นที่ยังไม่เป็นครับ



......................................

เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องไวรัส


อีเรเซอร์-1 (Eraser-1) (ฆ่าเชื้อและหยุดการลุกลาม)
อีเรเซอร์-วัน




สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น"วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่
1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )



การ ออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)

คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1

ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัส เชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค  ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจน ตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วน ต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัส กับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์

ใช้ กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรค แอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อ โรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

เสริม ประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น  และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สามารถ ใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพอื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อี เรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะ กับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว










สอบถามข้อมูล
084 -8809595, 084-3696633

www.organellelife.com
www.facebook.com/AntiVirusPlant 

Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ http://line.me/ti/p/%40organellelife.com

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

ลำไยนอกฤดู




         ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู  



(1)ระยะฟื้นสภาพต้น (หลังเก็บเกี่ยว)
(1.1) ฟื้นฟูดิน ให้ดินหลวม ร่วนซุย  รากชอนไชได้ดี มาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยใช้   ซอยล์ไลฟ์ อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบทรงพุ่ม และใช้ ORG-5 อัตรา 1 กก.คลุกกับปุ๋ยเคมี 50 กก.หว่านใต้ทรงพุ่ม


(1.2) เร่งใบเร่งราก บำรุงใบให้สมบูรณ์ ฉีดทางใบด้วย  Bio-jet 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และใช้   ORG – 1   20 ซีซี, ORG – 2  20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 -15 วัน

คำแนะนำ
1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง 1 กิ่งหลักควรมีไม่เกิน 3 กิ่งแขนง
2. รดน้ำสม่ำเสมอเพื่อเร่งการแตกใบอ่อน




(2) ระยะสะสมอาหาร ก่อนราดสาร  1 เดือน สะสมตาดอกเพื่อให้ดอกออกดีขึ้นฉีดใช้
ORG-1 200 ซีซี
ORG-2 200 ซีซี
      ปุ๋ยเกร็ด 0-53-36         50   กรัม

ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง ทุกๆ 7 วันครั้ง   (ควรใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8 – 24 – 24)

คำแนะนำ
1. ควรให้ลำไยแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 - 3 ชุด
2. ก่อนราดสารควรงดการให้น้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์
3.การให้ ORG-1,ORG-2 จะเป็นการเร่งการสะสมอาหารให้สมบูรณ์เร็วขึ้น
4. ระยะสะสมอาหารมีเวลา 3- 4 เดือนเท่านั้น จึงต้องเร่งสร้างชุดใบเพื่อช่วยในการสะสมอาหารให้มากพอ




(3)ระยะราดสาร ฉีดหรือราดทางดินด้วย โดยใช้
                                  KCIO4  หรือ NaCIO4 อัตรา 10 กิโลกรัมผสม ปุ๋ยเกร็ด 11-0-40 + 4Zn  
 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดทางดินให้ทั่ว บริเวณใต้พุ่ม ครั้งเดียว



(4)ระยะแทงช่อดอก
(4.1) หลังราดหรือฉีดสารทางดิน 7 – 14 วัน ฉีดสารทางใบใช้

ORG-1 20 ซีซี
ORG-2 20 ซีซี
ไบโอเจ็ท   10    กรัม
โปรแตสเซี่ยมคลอเร็ท    30  กรัม      ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 2 ครั้ง


(4.2) หยุดตาใบเพิ่มความแข็งแรงของตาดอก

ปุ๋ยเกร็ด0-53-36  30 กรัม
                                              ORG-1 20 ซีซี
ORG-2 20 ซีซี
ไบโอเจ็ท   10   กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 2 ครั้ง 5 วันครั้ง หลังราดสารหรือฉีดสารครั้งแรกได้ 21 วัน

คำแนะนำ
1. ลำไยจะออกดอหหลังราดสารประมาณ 15 วัน
2.  ระยะหลังราดสารจนถึงเริ่มแทงช่อยาว 5 ซม.  ให้รดน้ำพอชุ่มและห้ามฉ๊ดพ่นอาหารเสริมใดๆ
3. ระยะหลังแทงช่อดอกยาว 5 ซม.แล้วให้ฉีดพ่นบำรุงด้วยอาหารเสริมทางใบได้เลย ปัจจัยที่ช่วยในการแทงช่อดอก
        1. อุณหภูมิต่ำจะทำให้การพัฒนาและการแทงช่อดอกช้า
        2.  แสงแดดน้อยจะทำให้การพัฒนาและการแทงช่อดอกช้า
        3. น้ำก่อนที่ช่อดอกจะยาวและพัฒนาเต็มที่ถ้าได้รับน้ำ จะทำให้ช่อดอกเปลี่ยนเป็นใบ
4. ความสมบูรณ์ของต้นและใบจะทำให้การแทงช่อดอกเร็วดก และสม่ำเสมอ



(5) ระยะก่อนดอกบาน  เมื่อมีดอกที่แข็งแรง บำรุงรักษาดอกให้ติดผลดก,ขั้วเหนียว ลดปัญหาหลุดร่วง

                                                ORG-1 20 ซีซี
ORG-2 20 ซีซี
ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 3 ครั้ง ทุกๆ 7 วันครั้ง
ในช่วงดอกตูม ดอกบาน เว้นการฉีดเพื่อให้ลำไยได้ผสมเกสร

(1)ใช้  “ซอยล์ไลฟ์”  อัตรา 10 – 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม
(ทางดิน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 คลุกด้วย “บีเอ็มซี-มิกซ์” 1 กก. ต่อปุ๋ย 50 กก.

คำแนะนำ 1. ก่อนดอกบานจะเป็นช่วงที่ช่อดอกจะยืดยาวเต็มที่ และทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 15 -30 วัน



(6) ระยะติดผลอ่อน ระยะสร้างเปลือกให้หนา สร้างเมล็ดให้โต
(ตอนขยายเนื้อจะได้ไม่แตก และผลจะโตมากสุด)

ORG-1 20 ซีซี
ORG-2 20 ซีซี
ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 3 ครั้ง 7 วันครั้ง หากมีโรคและแมลงรบกวน สามารถผสมไปด้วยกันได้

ทางดิน ใส่ปุ๋ย 25 - 7 -7 ,20-10-10 ผสม บีเอ็มซี-มิกซ์ อัตรา 1 กก./ปุ๋ย 50 กก. ใส่อัตรา 1 – 2.5 กิโลกรัมต่อต้น

คำแนะนำ ระยะติดผลอ่อนเป็นช่วงที่ลำไยจะสร้างเปลือกเพื่อ พร้อมรับการขยายลูก และต้นลำไย ที่ติดผลดกจะสลัด ลูกทิ้ง มากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น



(7) ระยะมะเขือพวง ผลเท่าหัวแม่มือ   (2- 3 เดือนครึ่งหลังดอกบาน หรือ 5 เดือนหลังราดใช้) ช่วงนี้จะสร้างเมล็ดเป็นหลัก ผลอ่อนจะขยายอย่างรวดเร็ว จะสร้างเมล็ดมากกว่าสร้างเนื้อ

                                                              Bio-Jet 10 กรัม
ORG-1 20 ซีซี
                                                              ORG-2 20 ซีซี
                                             ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 3 ครั้ง 7 วันครั้ง

ทางดิน ใส่ปุ๋ย 15-7-18, 14-9-20 หรือ 15-15-15  หว่านปลายรอบทรงพุ่มรอบต้น

คำแนะนำ 1. ควรฉีดพ่นฮอร์โมน&อาหารเสริมพืชเป็นระยะๆ  อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างเมล็ดและเปลือกให้แข็งแรง พร้อมขยายตัวของลูกลำไยตอนสร้างเนื้อ 2.  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3. พ่นยาโรค & แมลงอย่างสม่ำเสมอ



(8)ระยะเม็ดในดำ ขยายผลโตผิวเหลืองสวย เนื้อหนาหวานกรอบ
หลังเม็ดในดำ (ประมาณ 100 วัน หลังอกบาน ลำไยจะเริ่มสร้างเนื้ออย่างรวมเร็ว (ใช้เวลาประมาณ 60 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ดังนั้น ช่วงนี้จึงต้องบำรุงด้วยปุ๋ย อาหารเสริมอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างเนื้อ สร้างเปลือก สร้างความหวาน สร้างสีและลดการหลุดล่วง

ORG-1 30 ซีซี
                                                 ORG-2 20 ซีซี
                                   ปุ๋ยเหลว 0 -0-24 30 ซีซี
                                         ORG-4 10 – 20 ซีซี
ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีด 3 ครั้ง 7 วันครั้ง  ในช่วงก่อนเก็บ 1 เดือน (ใช้สูตรนี้ผิวสวยมาก ผลโตมาก โดยไม่ต้องขัดผิว)    ทางดินใส่ปุ๋ย 12-12-17    7 ขีด – 2 กิโลกรัมต่อต้น ให้น้ำให้เยอะๆและต้องสม่ำเสมอ หรือใช้ปุ๋ยเกร็ด  11 - 0 - 40 + 4Zn   อัตรา 1-2 กก./ต้น

ทางดิน : ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-50, 8-12-24, 12-12-17, 13-13-21 เป็นต้น

หมายเหตุ  (1)  ทางดินควรใช้ “ฮอร์โมนและอาหารเสริมพืช(ชนิดเม็ด)”  “กรีนอัพ” ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ใช้
                 (2)  ควรมีการผสมสารเสริมประสิทธิภาพ “ออร์ซ่า” ทุกครั้งที่มีการฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมน



.................................














ส้ม ก็ใช้คู่นี้ครับ



สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 084 - 8009595 , 084-3696633
Line ID :     @organellelife.com     ( พิมพ์ @ ด้วยครับ)

หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ http://line.me/ti/p/%40organellelife.com