วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัคซีนพืช Systemic Acquired Resisitance (SAR) การกระตุ้นภูมิต้านทานโรค โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ

 มารู้จัก.."วัคซีนพืช" กันเถอะ
หยุดไวรัสพืช ด้วย ORG- Model

พืช ต่างๆ อาทิ มะละกอ ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ฯลฯ ที่ถูกไวรัสเข้าทำลายและระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกิดความเสียหาย เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุน และเกษตรกรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มีแต่ต้องเสียหายและทำลายทิ้ง การแก้ปัญหาไวรัสพืชที่เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจกระบวนการและกลไกในการดูแลและป้องกันปัญหามันยังมีทางออก เพื่อหยุดความสูญเสียรายได้จากความเสียหายตรงนี้ เราลองมาศึกษาวิธีที่เป็นไปได้ภายใต้"องค์ความรู้"ใหม่ๆกันดีไหม

มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสพืช กันเถอะ
หลักการหยุดไวรัสพืช ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสพืชต่างๆ ทั้ง ใบด่าง ใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบจู๋

1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่ง จะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ใน กลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่ม ที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช

4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อ ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณ ต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อ เป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น

5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่ง พืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ


แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ในระบบ ORG-Model By... Organellelife











































สอบถามข้อมูล
084 -8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)


 หรือคลิ๊กลิงค์ไลน์ด้านล่าง เพื่อสอบถามข้อมูลและขอคำแนะนำได้
http://line.me/ti/p/%40organellelife.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น